เมษายน 19, 2024, 10:43:47 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์  (อ่าน 8157 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 09:41:54 PM »

Permalink: กรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์
กรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์

เราเจริญกรรมฐานมา ๓๕ ปี เจริญ “อานาปา” มา ๒๐ ปี เศษ มโนมยิทธิมา ๑๐ ปีเศษ เพ่งกสิณได้ธรรมกายได้ ทำนองนี้ เป็นต้น มันต้องทำได้ ถ้าทำไม่ได้สอนเขาอย่างไร อย่างนี้นักปฏิบัติธรรมโปรดทราบ ต้องสอนตัวเองก่อนอื่นใด


ถ้าเจริญสมถภาวนา ก็พิจารณาตั้งมั่นในบัญญัติ เพื่อให้จิต สงบ มีอานิสงส์ให้บรรลุ ฌานสมาบัติ


ถ้าเจริญวิปัสสนาภาวนา สติพิจารณาตั้งมั่นอยู่ในรูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอานิสงส์ให้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน


กรรมฐาน ใช้หนี้ข้าวและน้ำนมแม่ ดีที่สุด และ กรรมฐาน เป็นบุญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับ ผู้ที่ฆ่าตัวตายจะได้รับบุญอื่นส่งไม่ถึง


การเจริญพระกรรมฐาน จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง วัฒนาสถาพร และจะรุ่งเรืองต่อไปถึงลูกหลาน โยมลองดูได้เลย


การบำเพ็ญจิตภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของพระ พุทธเจ้าของเรานี้ วิธี ปฏิบัติ เบื้องต้น ต้องยึดแนวหลัก สติ เป็นตัวสำคัญ


สติ เป็นตัวกำหนด เป็นตัวหาเหตุเป็นตัวแจงเบี้ย บอกให้รู้ถึงเหตุผล สัมปชัญญะ รู้ ทั่ว รู้นอก รู้ใจ นั่นแหละคือตัวปัญญา ความรู้มันเกิดขึ้น สมาธิ หมายความว่า จับจุดนั้นให้ได้


เวทนาปวดเมื่อย เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติมาก จึงต้องให้กำหนด ไม่ใช่ว่ากำหนดแล้วมันจะหายปวดก็หามิได้ ต้องการจะใช้สติไปควบคุมดูจิตที่มันปวดว่ามันปวดมากน้อยแค่ไหน


อุเบกขาเวทนา ไม่สุขไม่ทุกข์ ใจลอยหาที่เกาะไม่ได้ ส่วนใหญ่ จะประมาทพลาดพลั้งในข้อนี้ จึงต้องกำหนด รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ ที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ ลึก ๆ สบาย ๆ


ถ้า ทบทวนอารมณ์ ก็ต้องไปกำหนดอย่างนี้ หายใจยาว ๆ นั่งท่าสบายอยู่ตรงไหนก็ตาม อยู่บนรถก็ได้ ทบทวนชีวิต ทบทวนอารมณ์ว่า อารมณ์ลืมอะไรไปบ้าง เลยก็หายใจยาว ๆ มีประโยชน์มาก ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ ดวงหทัยเรียกว่า เจตสิก อาศัยหทัยวัตถุอยู่ที่ลิ้นปี่ วิธีปฏิบัติอยู่ตรงนี้นะ หายใจลึก ๆ ยาว ๆ เข้าไว้ คิดหนอ คิดหนอ คิดหนอ เพราะทางปัญญาอยู่ตรงจมูกถึงสะดือของเรานะ สั้นยาวไม่เท่ากันอย่างนี้


การเจริญ สติปัฏฐาน ๔ ทางสายเอกของพระพุทธเจ้านี้ ถ้าทำได้

๑. ระลึกชาติได้จริง ระลึกได้ว่า เคยทำอะไรดีอะไรชั่วมาก่อน ไม่ใช่ระลึกว่าเคยเป็นผัวใครเมียใคร
๒. รู้กฎแห่งกรรม จะได้ใช้หนี้เขาไปโดยไม่ปฏิเสธทุกข้อหา
๓. มีปัญญาแก้ไขปัญหาชีวิต ไม่ใช่ไปหาพระรดน้ำมนต์ ไปหาหมอดู
 

จากหนังสืออนุสาสนีปาฏิหาริย์ รวบรวมโดย คุณชินวัฒก์ รัตนเสถียร




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มกราคม 29, 2024, 08:25:39 AM