เมษายน 19, 2024, 10:07:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่  (อ่าน 18201 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2012, 11:32:38 AM »

Permalink: หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่
กรรม
หัวข้อเรื่องที่ ๑ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

การบรรยายในวันนี้ ท่านกำ หนดให้พูดเรื่องกรรม เรื่องกรรม เป็นหลักธรรมที่สำ คัญมากในพระ
พุทธศาสนานอกจากสำ คัญแล้ว ก็เป็นหัวข้อ ที่มีคนมักมีความสงสัยเข้าใจกันไม่ชัดเจนในหลายแง่ หลาย
อย่าง บางครั้ง ก็ ทำ ให้นักเผยแผ่พระพุทธศาสนาประสบความยากลำ บากในการที่จะชี้แจง อธิบาย หรือ
ตอบปัญหา ไขข้อสงสัย แนวการอธิบาย เรื่องกรรมการ อธิบายเรื่องกรรมนั้น
โดยทั่วไปมักจะพูดกันเป็น ๒ แนว แนวที่ได้ยินกันมากคือ แนวที่พูดอย่างกว้างๆ เป็นช่วงยาวๆ เช่น
พูดว่า คนนี้ เมื่อสมัยก่อนเคยหักขาไก่ไว้ แล้วต่อมาอีก ๒๐ ถึง ๓๐ ปี โดนรถชนขาหัก ก็บอกว่า เป็นกรรมที่
ไปหักขาไก่ไว้ หรือ คราวหนึ่ง หลายสิบปีแล้วไปเผาป่า ทำ ให้สัตว์ตาย ต่อมา อีกนานทีเดียว อาจจะแก่เฒ่า
แล้วมีเหตุการณ์เป็นอุบัติภัยเกิดขึ้น ไฟไหม้บ้าน แล้วถูกไฟคลอกตาย นี้เป็นการอธิบาย เล่าเรื่อง หรือ
บรรยายเกี่ยวกับกรรมแบบหนึ่ง ซึ่ง มักจะได้ยินกันบ่อยๆ การอธิบายแนวนี้มีความโลดโผน น่าตื่นเต้นน่าสน
ใจ บางทีก็อ่านสนุก เป็นเครื่องจูงใจคนได้ประเภทหนึ่ง แต่คนอีกพวกหนึ่งก็มองไปว่า ไม่เห็นเหตุผลชัดเจน
การไปหักขาไก่ไว้กับ การมาเกิดอุบัติเหตุรถชน ในเวลาต่อมาภายหลังหลายสิบปีนั้น มีเหตุผลเชื่อมโยงกัน
อย่างไร ผู้ที่เล่าก็ไม่อธิบายชี้แจงให้เห็นทำ ให้เขาเกิดความสงสัย คนที่หนักในเรื่องเหตุผล เมื่อไม่สามารถชี้
แจงเหตุปัจจัย เชื่อมโยงให้เขามองเห็นชัดเจน เขาก็ไม่ยอมเชื่อยิ่งสมัยนี้เป็นสมัยที่ถือว่าวิทยาศาสตร์เจริญ
คนต้องพูดจากันให้มีเหตุผล อธิบายให้เห็นจริงเห็นจังได้ว่าเรื่องโน้นกับเรื่องนี้สัมพันธ์กันอย่างไร เมื่อเราไม่
ชี้แจงเหตุผล เชื่อมโยงให้เขาเห็นเขาก็ไม่ยอมเชื่อ ก็เป็นปัญหาเกิดขึ้น และเราก็ชอบอธิบายกันในแง่นี้ด้วย
เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถน้อมใจ คนจำ นวนมิใช่น้อยที่ถือตนว่าเป็นคนมีเหตุผลหรือ เป็นผู้มี
ลักษณะจิตใจ หรือมีท่าทีแบบวิทยาศาสตร์ การอธิบายแบบที่ ๒ ก็คืออธิบายในแง่ของเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยง
ให้เห็นชัด ซึ่งกลายเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง เป็นเรื่องที่ยากอยู่จะต้องอาศัยการพินิจพิจารณา และการศึกษา
หลักวิชามาก การอธิบายในแนวแยกแยะเหตุผลนี้บางทีเป็นเรื่องที่หาถ้อยคำ มาพูดให้มองเห็นชัดเจนได้ยาก
จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยมีผู้ใช้หรือเราไม่ค่อยมีเวลาที่จะอธิบาย เพราะคนส่วนใหญ่จะมาพบกันในที่ประชุมเพียง
ชั่วเวลา ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ซึ่งจะพูดกันได้ก็แต่เรื่องในขั้นตัว อย่างหยาบๆ มองช่วงไกลๆ เท่านั้น สำ หรับ
เรื่องที่จะพูดกันในวันนี้คิดว่า เราควรจะมาหาทางพิจารณาในแง่วิเคราะห์ หรือแยกแยะความเป็นเหตุ เป็นผล
เท่าที่จะเป็นไปได้ ขอให้ลองมาพิจารณาดูกันว่า จะอธิบายได้อย่างไร
หัวข้อเรื่องที่ ๒ : หนี้ชีวิต
โดย : ท. เลียงพิบูลย์
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่ง ท.เลียงพิบูลย์ ได้เคยรวบรวมเอาไว้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น ก่อนสงครามโลกครั้ง
ที่ ๒ ไม่นานนักเป็นเรื่องราวของผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่ง ชื่อ "กำ นันแต้ม" แต่เดิมกำ นันแต้มเป็นคนที่ฉลาด
แกมโกง หากินกับการรับจำ นองที่ที่มีคนเอาไปจำ นอง เนื่องจากเดือดร้อนเรื่องการเงิน และในไม่ช้าที่ทาง
เหล่านั้นก็จะตกไปเป็นของเขาหมด และเขาก็จะจัดการขับไล่เจ้าของเดิมออกไปโดยไม่มีความเห็นใจใดๆ
ทั้งสิ้น ถ้าใครถูกไล่แล้วไม่ไปก็จะถูกอิทธิพลมืดคุกคาม จนเป็นที่หวาดเกรงของคนในย่านนั้น วันหนึ่ง
กำ นันแต้มได้โดยสารเรือเมล์จะกลับบ้าน
ระหว่างทางเกิดพายุใหญ่ทำ ให้เรือล่ม กำ นันแต้มลอยคออยู่กลางนํ้า โดยอาศัยเกาะท่อนไม้ท่อน
หนึ่งพยุงตัวเอาไว้ และแล้วไม่นานนัก...แรงก็ค่อยๆ หมด ท่อนไม้ก็ค่อยๆ หลุดออกไปจากมือ ในขณะที่แก
กำ ลังจะจมนํ้านั้นก็พอดีมีสองพ่อลูกพายเรือผ่านไปเห็น และได้ช่วยชีวิตไว้ทัน สองพ่อลูกที่ว่านั้นก็คือคนที่
กำ นันแต้มเคยริบบ้านช่องไร่นาและขับไล่เขาออกไปนั่นเอง แต่สองพ่อลูกหาได้ผูกใจเจ็บต่อกำ นันแต้มไม่
นอกจากจะช่วยชีวิตแล้วแถมยังให้ข้าวปลาอาหารและที่พักแก่กำ นันแต้มอีกด้วย ทำ ให้กำ นันแต้มรู้สึก
ซาบซึ้งในความมีนํ้าใจของสองพ่อลูกเป็นยิ่งนัก
"ถึงแม้เขาจะจนเงิน แต่เขาก็ไม่จนนํ้าใจ... เราเสียอีก รวยเงิน แต่แล้งนํ้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน"
นับจากนั้น นิสัยของกำ นันแต้มก็ได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนเป็นคนละคน จากที่เคย
เป็นคนเค็ม เห็นแก่ได้ ไม่เคยเห็นใจใคร ก็กลับเป็นคนมีเมตตา ช่วยเหลือทุกคนที่เดือดร้อน ครอบครัวใดที่
กำ นันแต้มเคยทำ ให้เขาเดือดร้อนมาก่อนก็กลับให้การช่วยเหลือ ทำ ให้ครอบครัวเหล่านั้นได้รับความสุข
สบายตามควรแก่อัตภาพ ด้วยเหตุนี้ "กำ นันแต้ม" จึงกลายเป็นที่รักของทุกๆ คนในหมู่บ้าน แต่อยู่ต่อมา
กำ นันแต้มก็ล้มป่วยเข้าโรงพยาบาล สองพ่อลูกที่เคยช่วยชีวิตกำ นันแต้มเอาไว้ เมื่อรู้ข่าวก็จะไปเยี่ยมในตอน
เช้าวันนั้น ขณะที่สองพ่อลูกกำ ลังจะก้าวขึ้นรถโดยสาร ก็ได้เห็นกำ นันแต้มนั่งอยู่ในรถโดยสารอีกคันหนึ่งซึ่ง
วิ่งสวนทางมา พอมาถึงตรงสองพ่อลูก กำ นันแต้มก็ชะโงกหน้าออกมาแล้วโบกไม้โบกมือ คล้ายจะบอกว่า
ไม่ต้องไป สองพ่อลูกคิดว่ากำ นันแต้มหายป่วยแล้ว ก็จึงลงจากรถโดยสารคันนั้นตอนบ่ายจึงได้ทราบข่าวว่า
รถโดยสารคันที่จะขึ้นไปนั้นได้ประสบอุบัติเหตุ มีผู้โดยสารเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำ นวนมากโชคดีที่
สองพ่อลูกผู้มีใจเมตตาไม่ได้ไปกับรถคันนั้นด้วย สองพ่อลูกรู้สึกเป็นหนี้ชีวิตกำ นันแต้ม ที่มาโบกไม้โบกมือ
ห้ามเอาไว้ไม่ให้ไปกับรถคันนั้น กำ ลังคิดที่จะไปขอบคุณกำ นันแต้มที่บ้าน แต่ก็ต้องสะดุ้ง เมื่อลูกสาวของ
กำ นันแต้มมาบอกกับสองพ่อลูกว่า "กำ นันแต้มได้ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อเช้านี้เอง" นั่นแสดงว่ากำ นันแต้มที่
สองพ่อลูกเห็นเมื่อเช้า นั่นก็คงเป็นวิญญาณของกำ นันแต้มที่มาบอกเตือนสองพ่อลูกล่วงหน้า คนใจดีมีเมตตา
อย่างสองพ่อลูกขนาดผียังคุ้มครอง ให้แคล้วคลาดปราศจากภัย สาธุ... สมควรแล้ว สำ หรับกรรมดีที่สองพ่อ
ลูกได้กระทำ
หัวข้อเรื่องที่ ๓ : กรรมของคนอกตัญญู
โดย : หลานสมเด็จ
เรื่องนี้เกิดขึ้นที่เขตอำ เภอป้อมปราบ ในตระกูลพ่อค้าที่มีความมั่งมี มีพ่อ แม่ และลูกชายคนหนึ่ง
จากการที่ตามใจลูกมาตั้งแต่เด็กจนเป็นหนุ่ม ลักษณะและอุปนิสัยของลูกชายนั้น นิสัยขี้โมโห โกรธง่าย
เพราะถูกพ่อแม่เลี้ยงมาแบบเอาใจมาก เลยทำ ให้นิสัยเสียจึงเป็นคนแข็งกร้าว ชอบเอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่
พอพ่อแม่อายุย่างเข้า ๖๐ ปี ก็ได้มอบทรัพย์สมบัติ และกิจการต่างๆ ให้เป็นของลูกโดยให้ลูกเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น
เมื่อได้รับมรดกดังกล่าวแล้ว ลูกชายคนนี้ก็ยิ่งมีความหยิ่งจองหองและปากเปราะมาก บางครั้งแม่ของตัวเอง
จะทานข้าว จะไปธุระ หรือจะไปนอน ตัวเองซึ่งเป็นลูกชาย ไม่เคยที่จะมาดูแลทุกข์สุขแต่อย่างใด
บางครั้งแม่จะขอเงินบางส่วนไปทำ บุญ ปล่อยนก ปล่อยสัตว์ ลูกชายก็ตะคอกใส่ โดยไม่คำ นึงว่าผู้
นั้นเป็นผู้บังเกิดเกล้าของเขาโดยไม่กลัวบาป และบางครั้งแม่พูดผิด หรือทำ ของหกหล่นเป็นที่ไม่พอใจลูกก็
ด่าว่าโดยไม่มีการให้อภัย เป็นเรื่องที่บาปมากที่สุด จนบ้านใกล้เรือนเคียงรู้สึกมีความหดหู่ใจต่อบุตรชายที่
เนรคุณต่อผู้มีพระคุณ ครั้นต่อมาเมื่อแม่ของตัวเองได้สิ้นบุญลงกิจการต่างๆ ก็เริ่มทรุดลงตาม สำ หรับตัวเองก็
เสเพลดื่มเหล้า เที่ยวผู้หญิง แล้วก็เล่นการ-เพียงไม่เกิน ๕ ปี กิจการต่างๆ ก็ล้มละลาย และภายในครอบ
ครัวก็มีเรื่องแตกแยกกัน สภาพการเงินก็เลวลงกว่าที่เป็นอยู่ จนตัวเองคิดมากและสุขภาพไม่แข็งแรงป่วยเป็น
สารพัดโรค ทำ ให้ตนเองจากที่เคยขี่รถเบ็นซ์ ก็กลายเป็นต้องมาขี่จักรยาน ๒ ล้อแทน และไปทำ งานบริษัท
ในหน้าที่เด็กเดินหนังสือไม่ถึง ๒ เดือน ก็ถูกไล่ออก เพราะนิสัยเดิม ที่เป็นคนมุทะลุ โกรธง่ายจองหองจึง
เป็นเหตุให้ทำ งานไม่ได้ ผลสุดท้ายต้องไปนั่งขอทานตามสะพาน ตามศาลเจ้าต่างๆ
เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ให้เห็นว่า ผู้บังเกิดเกล้าเป็นสิ่งที่เราต้องยกย่องนับถือ และเทอดทูนเหนือสิ่งอื่น
ใด และต้องไม่เนรคุณลบหลู่ต่อท่านอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นแล้วกรรมจะตามสนองเหมือนอย่างนี้ และฟ้าดิน
จะต้องลงโทษอย่างหนัก
หัวข้อเรื่องที่ ๔ : อาจคลาดเคลื่อน ต้องเตือนให้ระวัง ( ๑ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต )
ลักษณะของหลักกรรมนี้ เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา เพราะกรรมเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาจะ
ต้องมีการเน้นอยู่เสมอ หลักการของศาสนานั้นก็เหมือนกับหลักการปฏิบัติทั่วไปในหมู่มนุษย์ เมื่อเผยแพร่
ไปในหมู่มนุษย์วงกว้าง ซึ่งมีระดับสติปัญญาต่างกัน มีความเอาใจใส่ต่างกัน มีพื้นเพภูมิหลังต่างๆ กัน นานๆ
เข้าก็มีการคลาดเคลื่อนเลือนลางไปได้ จึงจะต้องมีการทำ ความเข้าใจกันอยู่อย่างสมํ่าเสมอ
เรื่องกรรรมนี้ก็เหมือนกัน เมื่อเผยแพร่ไปในหมู่ชนจำ นวนมากเข้า ก็มีอาการที่เรียกว่าเกิด
ความคลาดเคลื่อน มีการเฉไฉ ไขว้เขวไปได้ ทั้งในทางการปฏิบัติและความเข้าใจ หลักกรรมในพระพุทธ
ศาสนานี้ ท่านสอนไว้เพื่ออะไร ที่เราเห็นชัดก็คือ เพื่อไม่ให้แบ่งคนโดยชาติกำ เนิด ให้แบ่งโดยความ
ประพฤติ โดยการกระทำ นี่เป็นประการแรก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าประพฤติดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "กมฺ
มุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ"
คนไม่ใช่ตํ่าทรามเพราะชาติกำ เนิด แต่คนจะเป็นคนตํ่าทรามก็เพราะกรรม คือการกระทำ คนมิใช่จะ
เป็นพราหมณ์เพราะชาติกำ เนิด แต่เป็นพราหมณ์ คือผู้บริสุทธิ์ คือคนดีคนประเสริฐ ก็เพราะกรรม คือการ
กระทำ ตามหลักการนี้ พระพุทธศาสนายึดเอาการกระทำ หรือความประพฤติมาเป็นเครื่องแบ่งแยกมนุษย์ ใน
แง่ของความประเสริฐหรือความเลวทราม ไม่ให้แบ่งแยกโดยชาติกำ เนิด ความมุ่งหมายในการเข้าใจหลัก
กรรมประการที่สองที่ท่านเน้น ก็คือการรับผิดชอบต่อตนเอง คนเรานั้นมักจะซัดทอดสิ่งภายนอก ซัดทอด
ปัจจัยภายนอก ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำ ของตนเอง เวลามองหาความผิดต้องมองไปที่ผู้อื่นก่อน มองที่สิ่ง
ภายนอกก่อน แม้แต่เดินเตะกระโถน ก็ต้องบอกว่าใครเอากระโถนมาวางซุ่มซ่าม ไม่ว่าตนเดินซุ่มซ่าม เพราะ
ฉะนั้นจึงเป็นลักษณะของคนที่ชอบซัดทอดปัจจัยภายนอก แต่พระพุทธศาสนาสอนให้รับผิดชอบการกระทำ
ของตนเองให้มีการสำ รวจตนเองเป็นเบื้องต้นก่อน
ประการต่อไป ท่านสอนหลักกรรม เพื่อให้รู้จักพึ่งตนเอง ไม่ฝากโชคชะตาไว้กับปัจจัยภายนอก ไม่
ให้หวังผลจากการอ้อนวอนนอนคอยโชค ให้หวังผลจากการกระทำ หลักกรรมในพระพุทธศาสนาสอนว่า "
ความสำ เร็จเกิดขึ้นจากการกระทำ ตามทางของเหตุผล"
หัวข้อเรื่องที่ ๕ : ทำ ไมเกิดมาไม่เหมือนกัน?
โดย : สุชีพ ปุญญานุภาพ
การที่คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เช่นบางคนฉลาด บางคนโง่ บางคนรูปร่างงาม บางคนตรงกันข้าม
บางคนเกิดในตระกูลตํ่า บางคนเกิดในตระกูลสูง เมื่อถามว่าทำ ไมจึงเป็นเช่นนี้ ? ถ้าตอบแบบวิทยาศาสตร์ ก็
ตอบว่าการที่ฉลาดหรือโง่ ร่างกายสมประกอบหรือไม่ จนหรือมั่งมี ก็เพราะไปเกิดในมารดาบิดาที่มีเหตุแวด
ล้อมดีเลวผิดกัน ความเป็นไปจึงผิดกันเป็นอันว่าบิดา มารดา ถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ให้ด้วย เหตุแวดล้อมประกอบ
ด้วย จึงเป็นเช่นนั้น จึงเป็นอันว่าตอบด้วยหลักพันธุกรรมและเหตุแวดล้อม คราวนี้ถ้าถามต่อไปว่า เหตุไฉน
เล่าจึงไปเกิดเป็นลูกของคนมีบ้าง จนบ้าง มีส่วนประกอบทางกายและจิตใจสมบูรณ์บ้างบกพร่องบ้าง ทำ ไม
จึงต่างๆ กันไป ทำ ไมจึงไม่เกิดในที่ดีๆ เหมือนกันหมด? ในที่สุดก็จะต้องซัดให้ความบังเอิญ แต่ในปัจจุบัน
เราเลิกทฤษฎีบังเอิญกันแล้ว ทุกสิ่งต้องมีเหตุผล ไม่ใช่บังเอิญ บังเอิญเป็นคำ ที่เราใช้กันในเมื่อยังหาเหตุผล
ไม่ได้เท่านั้น
ทางพระพุทธศาสนาสอนว่า กรรม คือการกระทำ ในชาติก่อน ได้จัดสรรเสร็จ ให้ไปเกิดในฐานะ
นั้นๆ ได้รับการถ่ายทอดทางกายดีหรือเลว ได้ประสบสิ่งแวดล้อมดีหรือเลว แล้วแต่กรรมนำ ไป ไม่ใช่พระ
เจ้าสร้าง ทุกคนสร้างตัวเอง ด้วยการกระทำ ของตน ในกรณีเช่นนี้เราจะไม่ไปโทษคนโน้นคนนี้ว่าสร้างเราไม่
ดี แต่เราจะสร้างตัวเราใหม่ในชาตินี้ด้วยการทำ ดี อบรมให้เกิดอุปนิสัยใจคอที่ดีงามได้ตามประสงค์ อาจมีผู้
แย้งจะให้เห็นด้วยตาตามเคยว่า กรรมรูปร่างเป็นอย่างไรจึงจัดสรรได้ และติดตามคนได้?
ข้อนี้เปรียบด้วยพลังงานซึ่งติดไปกับลูกศรเวลายิงไปในอากาศ ลูกศรแล่นไปเรื่อยๆ นั้นเราเห็นพลัง
งานหรือเปล่า? หรือผู้ที่ได้รับสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ ถ้าไม่แสดงพระองค์เสด็จปะปนไปในที่ต่างๆ
และเราไม่รู้มาก่อน มีอะไรติดตามไปเป็นเครื่องแสดงให้เห็นบ้างว่าท่านผู้นี้เป็นพระราชา เพราะพระองค์ก็มี
อวัยวะร่างกายเหมือนคนธรรมดาทุกอย่าง แต่ท่านก็คงเป็นพระราชาอยู่นั่นเอง การที่กรรมติดตามคนนั้น
ท่านเปรียบเหมือนเงาของคน จะขู่หรือปลอบไม่ให้ติดตามก็ไม่ได้ พระพุทธศาสนาเปรียบกรรมว่า เป็นเนื้อที่
วิญญาณเป็นพืช แสดงว่ากรรมกับวิญญาณมีส่วนสัมพันธ์กัน เนื้อที่ดี พืชก็งอกงามดี คนเราจะดีเลว เพราะ
การกระทำ ของตนเช่นนี้ จึงควรอย่างยิ่งที่จะเลือกทำ แต่กรรมดี ละเลิกความชั่วเสีย เมล็ดทุเรียนเก็บความ
สามารถในการเป็นต้น มีใบ ดอก และลูกทุเรียนไว้ได้ในตัวเอง เมื่อถึงคราวก็เจริญเติบโตเป็นต้นทุเรียนฉัน
ใด วิญญาณก็มีกรรมติดไปด้วยอย่างซ่อนเร้น ไม่เห็นตัว แต่เมื่อปรากฏตัวออกมา ก็ปรากฏตามลักษณะที่
กำ หนดของกรรมนั้นๆ
หัวข้อเรื่องที่ ๖ : กรรมที่ทำ ให้หย่าร้าง ( ตอน ๒ )
โดย : ธรรมะไทย
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้เล่าค้างเอาไว้ เกี่ยวกับเรื่องราวของพระภิกษุณีรูปหนึ่ง ที่มีนามว่า "อิสิทาสี"
ท่านกำ ลังจะเล่าถึงวิบากกรรม ที่ทำ ให้ท่านต้องหย่าร้างจากสามีคนแล้วคนเล่า วิบากกรรมที่ทำ เอาไว้เป็น
อย่างไร เราลองมาฟังจากการบอกเล่าของท่าน
"ดิฉันจะเล่าวิบากแห่งกรรมนั้นให้ท่านฟัง ขอท่านจงมีใจเป็นหนึ่ง ตั้งใจฟังวิบากแห่งกรรมนั้นเถิด
ในสมัยนั้น ดิฉันเกิดเป็นนายช่างทอง มีทรัพย์สมบัติมาก อยู่ในนครเอรกกัจนะ เป็นคนมัวเมาลุ่มหลง ด้วย
ความเป็นหนุ่มจึงได้คบชู้กับภรรยาของชายอื่น ครั้นเมื่อดิฉันได้จุติ ( ตาย ) จากชาตินั้นแล้ว ต้องหมกไหม้อยู่
ในนรกตลอดกาลนาน เมื่อพ้นจากนรกแล้วก็ได้ไปเกิดในท้องของนางวานร พอคลอดได้ ๗ วัน วานรใหญ่ที่
เป็นหัวหน้าฝูงก็ได้กัดอวัยวะสืบพันธุ์ของดิฉันเสีย นี่เป็นผลกรรมเก่าของดิฉันที่ได้คบชู้กับภรรยาของชาย
อื่น เมื่อดิฉันตายจากกำ เนิดวานรนั้นแล้ว ก็ได้ไปเกิดในท้องนางแพะตาบอด อยู่ในแคว้นสินธุ เมื่อมีอายุได้
๑๒ ปี ก็ถูกเด็กตัดอวัยวะสืบพันธุ์ทิ้งเสีย ต่อมาก็เป็นโรค ถูกหมู่หนอนฟอนเฟะที่อวัยวะสืบพันธุ์ นี่เพราะ
โทษที่ดิฉันได้คบชู้กับภรรยาของชายอื่น ดิฉันจุติจากกำ เนิดแพะนั้นแล้ว ก็ได้ไปเกิดในท้องแม่โคของพ่อค้า
คนหนึ่ง เป็นลูกโคมีขนสีแดงเหมือนสีครั่ง พอมีอายุได้ ๑๒ เดือนก็ถูกตอน ดิฉันถูกเขาใช้เทียมไถและเข็น
เกวียน ต่อมาเป็นโรคตาบอด เป็นโคกระจอก เป็นโคขี้โรค
นี่ก็เพราะโทษที่ดิฉันได้คบชู้กับภรรยาของชายอื่นดิฉันจุติจากกำ เนิดโคนั่นแล้ว ก็ไปเกิดในเรือน
ของนางทาสี จะเป็นหญิงก็ไม่ใช่ จะเป็นชายก็ไม่เชิง นี่ก็เพราะโทษที่ดิฉันได้คบชู้กับภรรยาของชายอื่น ดิฉัน
มีอายุได้ ๓๐ ปีก็ตาย แล้วมาเกิดเป็นลูกหญิงในสกุลของช่างสานเสื่อเป็นสกุลขัดสน มีทรัพย์น้อย ถูกแต่เจ้า
หนี้รุมทวงอยู่เป็นนิตย์ ต่อมาเมื่อเป็นหนี้มากขึ้น พ่อค้าเกวียนคนหนึ่งมาริบทรัพย์สมบัติแล้วก็ฉุดเอาดิฉันลง
จากเรือนไป ภายหลังที่ดิฉันมีอายุครบ ๑๖ ปี บุตรของพ่อค้าเกวียนนั้น มีชื่อว่า "คิริทาส" ได้เห็นดิฉันเป็น
สาว กำ ลังรุ่น มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ ขอไปเป็นภรรยา แต่ว่านายคิริทาสนั้น มีภรรยาอยู่ก่อนแล้วคนหนึ่ง ซึ่ง
เป็นคนมีศีล ทรงคุณสมบัติ ทั้งมียศ รักใคร่สามีเป็นอย่างดียิ่ง ดิฉันได้บังคับนายคิริทาส ให้ขับไล่ภรรยาของ
ตนไป... นี่ก็เป็นต้นเหตุทำ ให้สามีต้องหย่าร้างกัน ดิฉันผู้ได้บำ รุงสามีเหมือนทาสีไป นี่เป็นผลแห่งการคบชู้
กับภรรยาของชายอื่น และได้บังคับสามีให้ขับไล่ภรรยาเก่าของเขาไปที่สุดผลแห่งบาปกรรมนั้น ดิฉันก็ได้
ทำ เสร็จแล้ว"
ทั้งหมดนี้ เป็นคำ บอกเล่าของพระอิสิทาสีเถรี ปรากฏอยู่ในอิสิทาสีเถรีคาถา พระไตรปิฎกเล่มที่
๒๒ หน้า ๕๐๐ เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงได้นำ มาถ่ายทอดเล่าสู่กันฟัง
หัวข้อเรื่องที่ ๗ : พุทธบุพกรรม ( ตอน ๑ )
โดย : ธรรมะไทย
พุทธบุพกรรม หมายถึง กรรมเก่าที่พระพุทธเจ้าได้เคยกระทำ ไว้ในสมัยที่บารมียังอ่อนอยู่บางภพ
บางชาติ พระองค์ก็เคยประมาทพลาดพลั้ง ทำ กรรมอันเป็นบาปไว้ และพอมาชาตินี้ หลังจากที่ได้ตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมนั้นก็ยังตามมาให้ผล หลายครั้ง หลายหนด้วยกัน
ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ มีปรากฏอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย พุทธาปทานปุพพกรรม
ปิโลติที่ ๑๐ ข้อ ๓๙๒ แสดงไว้ว่า
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สระใหญ่อโนดาต ได้ตรัสเล่าถึงอกุศลบุพกรรมโดยมีใจความว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอจงฟังกรรมที่เราได้ทำ แล้วในอดีต ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่
โคกำ ลังดื่มนํ้าขุ่นมัว จึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น มาในชาตินี้ แม้เรากระหายนํ้า ก็ไม่ได้ดื่มตามความ
ปรารถนา"
เหตุการณ์ตอนนั้น ก็คือตอนที่พระพุทธเจ้ากำ ลังจะเสด็จ เพื่อไปปรินิพพานที่เมืองกุสินาราระหว่าง
ทาง รู้สึกกระหายนํ้าเป็นกำ ลัง จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักนํ้าที่ลำ ธารมาให้ แต่ก็ไม่สามารถได้ดื่มในทัน
ทีทันใด เนื่องจากเกวียน ๕๐๐ เล่ม เพิ่งผ่านลำ ธารไป ทำ ให้นํ้าบริเวณนั้นขุ่น เราดูเหตุที่สร้างไว้ เราอาจจะคิด
ว่า เป็นเหตุเพียงเล็กน้อย แต่ขึ้นชื่อว่าบาปกรรมแล้ว แม้เพียงเล็กน้อย ก็ให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อน
เสมอ
หัวข้อเรื่องที่ ๗ : ทำ กรรมร่วมกันมา
โดย : พระธรรมกิตติวงศ์ ( ทองดี )
คำ ว่า กรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติ หมายความว่าอย่างไร เพราะบางคนพ่อแม่ดี แต่ลูกไม่ดีบางคน
ครอบครัวดี แต่มีบริวารนำ ความเดือดร้อนมาให้ บางคนลูกดีแต่บุพพการีไม่ดี ถ้าจะถือว่าชาติก่อนมีความ
สัมพันธ์กับชาตินี้ ก็จะต้องหมายความว่า พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อนฝูง ที่เคยพัวพันกันมา จะต้องไปพบกันทุกชาติ
เช่นนั้นหรือ จึงมีการกล่าวถึงคำ ว่า "ทำ กรรมร่วมกันมา"
คำ ว่า "กรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติ" เป็นคำ ที่หมายถึงคนสองคน หรือสองฝ่ายเคยทำ อะไรร่วมกัน
มา จะเป็นทางดีก็ได้ ทางไม่ดีก็ได้ เช่นเคยทำ บุญร่วมกันมา เคยร่วมปล้นฆ่าคนมาด้วยกันเป็นต้น การกระทำ
ที่ทำ ร่วมกันอย่างนี้แหละ ที่เรียกว่า “กรรมร่วมกันมา” ถ้าเป็นกรรมในชาติก่อนๆ ก็เรียกว่า เป็นกรรมในอดีต
ชาติความจริงมิใช่ เพราะกรรมเท่านั้นที่จะส่งผลให้มาพบกันในชาตินี้ แม้เวรที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผูกกันไว้ หรือ
ผูกไว้ทั้งสองฝ่าย ก็เป็นเหตุส่งให้มาพบกันในชาตินี้ได้เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงมักพูดติดต่อกันว่า "กรรมเวร"
ความเข้าใจที่ว่า ถ้าถือว่าชาติก่อนมีความสัมพันธ์กับชาตินี้ ก็จะต้องหมายความว่า พ่อแม่ พี่น้องเพื่อนฝูงที่
เคยพัวพันกันมาจะต้องไปพบกันทุกชาตินั้น ยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด อันที่จริงชาติก่อนมีความ
สัมพันธ์กับชาตินี้จริง ในฐานะเป็นชาติที่เป็นเหตุให้เกิดมีชาตินี้ขึ้น แต่พ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตรในชาติก่อนนั้น
หาได้เกิดพบกันทุกชาติไม่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตรนั้นๆ ได้ทำ กรรมจะดีหรือไม่
ก็ตาม หรือได้มีเวรต่อกันมา กรรมและเวรอันนั้นแหละก็จะส่งผลให้เกิดมาพบกันในชาติต่อไป แต่จะทุกชาติ
หรือไม่ ก็แล้วแต่กรรมเวรที่จะก่อใหม่อีก
นัยตรงข้าม หากพ่อแม่ พี่น้อง ญาติมิตร มีความผูกพันกันเพียงสายเลือดซึ่งเป็นเรื่องของ ธรรมชาติ
หาได้ทำ กรรมดีกรรมชั่ว หรือผูกเวรกันไว้ไม่ อย่างนี้ก็ไม่มีสาเหตุอันใดที่จะทำ ให้ไปเกิดพบกันอีก คือไม่มี
กรรมเวรร่วมกันนั่นเอง เรื่องกรรมเรื่องเวร เป็นเรื่องลึกซึ้งและละเอียดอ่อนมาก ยากที่จะอธิบายให้เห็นแจ้ง
ด้วยหน้ากระดาษเพียงเท่านี้ได้ แต่ผู้สนใจในเรื่องนี้ศึกษาได้จากตำ ราและจากการสังเกตชีวิตจริงของตนและ
ของคนอื่น จะช่วยความเข้าใจได้มาก
เราอาจแบ่งบุคคลในกรณีนี้ ได้ ๓ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. ประเภทดีด้วยกัน คือทั้งสองฝ่ายหรือทั้งหมด ได้เคยทำ บุญทำ ความดี สร้างบารมีร่วมกันมา เรียก
ว่ามีดีเท่ากันว่างั้นเถอะ ประเภทนี้ก็มักจะเกิดมาดีด้วยกัน ได้ดีพอๆ กันเช่นตำ นานเรื่องมฆมาณพสร้างถนน
สร้างศาลามาด้วยกัน กับพวกอีก ๓๒ คน ตายไปแล้วได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น ประเภทนี้
ความดีมีเท่ากัน จึงได้ดี ได้พบความดีมีสุข และเสวยความดีอยู่ด้วยกันได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้มีคุณธรรม
เสมอกันนั่นเองที่เห็นง่ายๆ ในประเทศนี้ก็คือ ถ้าเป็นสามีภรรยากัน สามีก็ดี ภรรยาก็ดี ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง
กันเห็นอกเห็นใจกัน เรียกว่าดีทั้งคู่ถ้าเป็นพ่อแม่ลูกกัน ก็ดีทั้งพ่อ ทั้งแม่ ทั้งลูกพ่อแม่ก็รักลูก ทำ เพื่อลูก และ
เป็นผู้นำ ที่ดีของลูกฝ่ายลูกก็เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาท รักเคารพพ่อแม่ด้วยใจจริงถ้าเป็น
เพื่อนก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกันด้วยนํ้าใจ ไม่ชักชวนกันไปในทางเสียหาย เป็นต้น
๒. ประเภทเสียด้วยกัน คือทั้งสองฝ่ายเคยทำ บาปทำ กรรมร่วมกันมา มีความชั่วพอๆ กัน ชอบเรื่อง
ร้ายๆ พอกันอย่างนี้ก็เกิดมาพบกันอีก และอยู่ด้วยกันได้ แม้จะลุ่มๆ ดอนๆ ก็ไม่ค่อยแยกกันถึงคราวสุขก็สุข
ด้วยกัน ถึงคราวทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกันได้ประเภทนี้ก็เช่นกัน ถ้าเป็นสามีภรรยากันก็ประเภทหญิงร้ายชายเลวนั่น
แหละ หรืออย่างพวกนักเลงเที่ยว นักเลง- นักเลงสุรา จนกระทั่งนักเลงปล้นจี้ เป็นต้นคือชอบอย่างเดียว
กัน ย่อมไปด้วยกันได้
๓. ประเภทมีเวรต่อกัน คือประเภทที่อีกฝ่ายหนึ่งอาจดี แต่อีกฝ่ายอาจเสีย ฝ่ายดีก็จะถูกฝ่ายเสียคอย
รบกวน คอยรังควาน คอยทำ ลายอยู่เรื่อย ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมอย่างกรณีที่ยกตัวอย่างมา เช่นบางรายพ่อแม่ดี
แต่ลูกไม่ดี บางรายครอบครัวดี แต่บริวารนำ ความเดือดร้อนมาให้นั่นแหละ กรณีอย่างนี้เกิดขึ้น เพราะทั้ง
สองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ยังผูกเวรจองกรรมไว้ จึงต้องมาพบกัน คอยขัดขวางกันอยู่รํ่าไปไม่ต้องอื่นไกล
หรอก แม้แต่พระพุทธองค์ยังทรงมีมารคอยผจญ มีพระเทวทัตคอยทำ ลาย และมีนักบวชต่างศาสนาคอยล้าง
ผลาญเลยนี่แหละอำ นาจของเวรล่ะ ลองได้ก่อไว้ หรือถูกก่อไว้ ก็เป็นได้ตามผจญกันไม่สิ้นสุดสักที ประดุจ
เวรของงูกับพังพอน เวรของกากับนกเค้า และเวรของมนุษย์ผู้ถือตัวจัดในเรื่องศาสนากับผิวในปัจจุบัน พระ
พุทธเจ้าจึงสอนให้ละเวรเสีย อย่างน้อยก็ด้วยการรักษาศีล ตั้งมั่นอยู่ในศีล เพราะศีลเป็นเวรมณีเป็นข้อปฏิบัติ
ที่ทำ ให้หมดเวรได้ แม้อย่างกรรมก็เช่นกัน ไม่ว่าจะทำ คนเดียว หรือร่วมทำ กับใคร หากเป็นกรรมชั่วกรรม
เสียแล้ว ท่านว่าไม่ควรทำ ทั้งนั้น
หัวข้อเรื่องที่ ๑๙ : ทำ อย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
เพราะเป็นที่เข้าใจในหมู่พุทธศาสนิกชนอยู่ทั่วไปแล้วว่า เป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา ความ
จริงหลักธรรมใหญ่มีอยู่หลายหลัก เช่น เรื่องอริยสัจ เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องไตรลักษณ์ เป็นต้น
ซึ่งธรรมะ แต่ละข้อๆ เหล่านั้น ล้วนแต่เป็นหลักใหญ่ หลักสำ คัญทั้งสิ้น แต่สำ หรับหลักกรรม นี้
ประชาชนทั่วไปมีความรู้สึกว่า เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง ใกล้ชิดมาก เพราะฉะนั้น ความ คุ้นเคยกับคำ ว่า
กรรมนี้ ก็อาจจะมีมากกว่าหลักธรรมอื่นๆ อย่างไร ก็ดี เป็นอัน รวมความในที่นี้ว่า
กรรมเป็นหลักธรรมสำ คัญและเป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชน สนใจมาก และเป็นเรื่องที่มีความข้อง ใจ
กันอยู่มากด้วย ที่ข้องใจนั้น ก็เกิดจาก ความที่ ยังคลางแคลง สงสัยในแง่มุมต่างๆ ไม่เข้าใจ ชัดเจน เหตุที่
หลักกรรม เป็นปัญหาแก่ เรามากนั้น ไม่ใช่ว่า เพราะเป็นหลักธรรมใหญ่ หรือ สำ คัญอย่างเดียว แต่เป็นเพราะ
ว่า ได้มีความเข้าใจคลาด เคลื่อน และสับสนเกิดขึ้น เกี่ยวกับ หลักกรรมอยู่มาก เพราะฉะนั้น ในการทำ ความ
เข้าใจเรื่องกรรมนอกจากจะทำ ความเข้าใจใน ตัวหลักเองแล้ว ยังมีปัญหาเพิ่มขึ้นคือจะต้องแก้ความเข้าใจ
คลาดเคลื่อนสับสนในเรื่องกรรม นั้นด้วย
เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงรู้สึกว่า ในการพูดทำ ความเข้าใจเรื่องกรรมนั้นถ้าเราจะมาแก้ ความ เข้าใจ
คลาดเคลื่อนสับสนออกไปเสียก่อน อาจจะทำ ให้ความเข้าใจง่ายขึ้น คล้ายกับว่าหลักกรรม นี้ไม่มีเฉพาะตัว
หลักเองเท่านั้น แต่มีของอะไรอื่นมาปิดบัง มาเคลือบคลุมอีกชั้นหนึ่งด้วย ถ้าหากว่า เราจะทำ ความเข้าใจเนื้อ
ใน เราจะต้องเปลื้องสิ่งที่ปิดบังนี้ออกไปเสียก่อน"
หัวข้อเรื่องที่ ๗ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๔ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ใครก็ตามที่ยึดถือว่า อะไรๆทุกอย่าง ล้วนเป็นผลเกิดมาจากกรรมทั้งสิ้นนั้น
เป็นคนที่ถือผิดเช่นในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ พระองค์ก็ตรัสไว้ มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งว่าโรคบางอย่างเกิดจากการ
บริหารกายไม่สมํ่าเสมอก็มี เกิดจากอุตุคือสภาพแวดล้อมเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี
เกิดจากดีเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากสมุฏฐานต่างๆประกอบกันก็มี เกิดจากกรรมก็มีแปลว่าโรคบางอย่างเกิด
จากกรรม แต่หลายอย่างเกิดจากอุตุเกิดจากการแปรปรวนของร่างกาย
การบริหารร่างกายไม่สมํ่าเสมอ เช่นพักผ่อนน้อยเกินไป ออกกำ ลังมากเกินไปเป็นต้น กรรมนี้เป็น
เพียงเหตุหนึ่งเท่านั้น จะโทษกรรมไปทุกอย่างไม่ได้ ยกตัวอย่าง คนเป็นแผลในกระเพาะอาหาร โรคชนิดนี้
บางทีเป็นเพราะฉันแอสไพริน หรือยาแก้ไข้แก้ปวดในเวลาที่ท้องว่าง พวกยาแก้ไข้แก้ปวดเหล่านี้มันเป็น
กรด บางทีมันก็กัดกระเพาะทะลุ อาจจะทำ ให้ถึงกับมรณภาพไปเลย พวกยาแก้ไข้แก้ปวดนี้มีอันตรายมาก
เขาจึงห้ามฉันเวลาที่ท้องว่าง ต้องให้มีอะไรในท้องจึงฉันได้ บางคนเลือดไหลในกระเพาะ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะ
เหตุใด ที่แท้เป็นเพราะฉันยาแก้ไข้แก้ปวดนี่เอง นี้ก็เป็นเหตุอันหนึ่ง แต่บางคนเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
เพราะเป็นโรควิตกกังวล คิดอะไรต่างๆ ไม่สบายใจ กลุ้มใจมาก กลุ้มใจบ่อยๆ คับเครียดจิตใจอยู่เสมอเป็น
ประจำ จึงทำ ให้มีกรดเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร แล้วกรดนั้นมันก็กัดกระเพาะของตัวเองเป็นแผล จนกระทั่ง
เป็นโรคร้ายแรง ถึงกับต้องผ่าตัดกระเพาะทิ้งไปครึ่งหนึ่งก็มี
จะเห็นว่าผลอย่างเดียวกัน แต่เกิดจากเหตุคนละอย่าง ที่ฉันแอสไพริน หรือยาแก้ปวดแก้ไข้แล้ว
กระเพาะทะลุ เป็นอุตุนิยามแต่ที่คิดวิตกกังวล กลุ้มใจอะไรต่ออะไรแล้วเกิดแผลในกระเพาะเป็นกรรมนิยาม
จิตใจไม่ดีมีอกุศลมากก็ทำ ให้โรคเกิดจากกรรมได้มากมาย แต่อย่างไรก็ตามเราต้องเอาหลักเรื่องนิยาม ๕ มา
วินิจฉัย อย่าไปลงโทษกรรมทุกอย่าง แล้ว บางอย่างก็เกิดจากนิยามต่างๆ หลายนิยามมาประกอบกันเป็นอัน
ว่า เราควรรู้จักนิยาม ๕ ไว้ เวลาสอนชาวบ้านจะได้ให้พิจารณาเหตุผลโดยรอบคอบ นี้อันหนึ่ง
หัวข้อเรื่องที่ ๗ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๘ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
แง่ต่อไป คือจะต้องแยกหลักกรรมออกจากลัทธิผิดๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เรียกว่าติตถายตนะ แปล
ว่า ประชุมแห่งลัทธิเดียรถีย์ ซึ่งมีอยู่ ๓ ลัทธิ
ลัทธิที่ ๑ ถือว่า บุคคลจะได้สุขก็ดี จะได้ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ทำ ไว้แต่
ปางก่อนทั้งสิ้น ฟังให้ดีนะ ระวังนะ จะสับสนกับพระพุทธศาสนา ลัทธินี้เรียกว่าบุพเพกตวาท
ลัทธิที่ ๒ บอกว่า บุคคลจะได้สุขก็ดี จะได้ทุกข์ก็ดี ได้ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี ล้วนเป็นเพราะเทพผู้ยิ่งใหญ่
บันดาลให้ทั้งสิ้น คือพระผู้เป็นเจ้าบันดาลให้เป็น ลัทธินี้เรียกว่า อิศวรนิรมิตวาท หรืออิสสรนิมมานเหตุวาท
ลัทธิที่ ๓ ถือว่า บุคคลจะได้สุขก็ดี ได้ทุกข์ก็ดี ได้ไม่สุขได้ไม่ทุกข์ก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องบังเอิญเป็น
ไปเองลอยๆ แล้วแต่โชคชะตา ไม่มีเหตุปัจจัย ลัทธินี้เรียกว่า อเหตุวาทหลักเหล่านี้มีมาในพระคัมภีร์ทั้งนั้น




บันทึกการเข้า
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2012, 11:33:24 AM »

Permalink: หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่
ติตถายตนะทั้ง ๓ ท่านกล่าวไว้ทั้งในพระสูตรและในอภิธรรม ในพระอภิธรรมท่านเน้นไว้แต่ใน
พระสูตรก็มีมาในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต แต่เรามักไม่เอามาพูดกันส่วนนิยาม ๕ นั้น อยู่ในคัมภีร์ฝ่าย
อภิธรรม ซึ่งอธิบายถึงเรื่องกฎเกณฑ์ของความเป็นเหตุปัจจัยนิยาม ๕ นั้น สำ หรับเอาไว้พิจารณาความเป็น
เหตุปัจจัยให้รอบคอบ อย่าไปเอาอะไรเข้ากรรมหมดส่วนติตถายตนะ หรือ ประชุมลัทธิ ๓ พวก ก็ผิดหลัก
พระพุทธศาสนา
๑. บุพเพกตวาท ถือว่าอะไรๆ ก็เป็นเพราะกรรมที่ทำ ไว้ปางก่อน
๒. อิศวรนิรมิตวาท ถือว่าจะเป็นอะไรๆ ก็เพราะเทพผู้ยิ่งใหญ่บันดาล หรือพระผู้เป็นเจ้าบันดาล
๓. อเหตุวาท ถือว่าสิ่งทั้งหลายอะไรจะเกิดขึ้น ไม่มีเหตุปัจจัย แล้วแต่ความบังเอิญ เป็นไป ลัทธิโชค
ชะตา ๓ ลัทธินี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นลัทธิที่ผิด เหตุผลคือ
เพราะมันทำ ให้คนไม่มีฉันทะ ไม่มีความ เพียรที่จะทำ อะไร เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นไปอย่างไม่มีหลัก
เกณฑ์ หรือไม่ขึ้นต่อตัวการภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ ไม่ขึ้นกับการกระทำ ของเราโดยเฉพาะลัทธิที่ ๑ นั้น
ถือว่าอะไรๆก็แล้วแต่กรรมปางก่อน มันจะเป็นอย่างไร ก็จะเป็นไป เราจะทำ อะไรก็ไม่มีประโยชน์ กรรม
ปางก่อนมันกำ หนดไว้หมดแล้ว แล้วเราจะไปทำ อะไรได้ ก็ต้องปล่อย แล้วแต่มันจะเป็นไป
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลัทธินี้เป็นลัทธิของพวกนิครนถ์ หัวหน้าชื่อว่านิครนถนาฏบุตรให้ไปดู พระ
ไตรปิฎก เล่ม ๑๔ พระสูตรแรก เทวทหสูตร ตรัสเรื่องนี้โดยเฉพาะก่อนเลย ในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตรัส
เรื่องนี้ไว้รวมกัน ๓ ลัทธิแล้ว แต่ในเทวทหสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ก็ตรัส
เฉพาะเรื่องลัทธิที่ ๑ ไม่ตรัสลัทธิอื่นเลย
ลัทธินิครนถ์นี้ถือว่า อะไรๆก็เป็นเพราะกรรมที่ทำ ไว้ในชาติก่อน เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำ ให้สิ้น
กรรม โดยไม่ทำ กรรมใหม่ และเผากรรมเก่าให้หมดสิ้นไป ด้วยการบำ เพ็ญตบะลัทธินี้ต้องแยกให้ดีจากพุทธ
ศาสนา ต้องระวังตัวเราเองด้วย ว่าจะผลุนผลันตกลงไปใน ๓ ลัทธินี้โดยเฉพาะลัทธิกรรมเก่าที่ถือว่า แล้วแต่
กรรมเก่าเท่านั้นคำ ว่า กรรม นี้เป็นคำ กลางๆ เป็นอดีตก็ได้ปัจจุบันก็ได้ อนาคตก็ได้ พุทธศาสนาเน้นปัจจุบัน
มาก กรรมเก่าไม่ใช่ไม่มีผล มีผลสำ คัญแต่มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผลในปัจจุบัน ซึ่งเราจะต้องทำ กรรมที่
ดี และแก้ไขปรับปรุงตัว เพื่อให้เกิดผลที่ดีต่อไปภายหน้า นี่พูดกันทั่วๆ ไป
โดยหลักการก็คือ ต้องพยายามแยกให้ถูกต้อง มี ๓ ลัทธินี้ ที่จะต้องทำ ความเข้าใจ เสียก่อนเป็นเบื้อง
ต้น
หัวข้อเรื่องที่ ๑๒ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๑๑ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
ความหมายของคำ ว่า กุศล ก็ให้เข้าใจตามลักษณะที่ว่ามานี้ ส่วนที่เป็นอกุศลก็ตรงกันข้ามดังได้ยก
ตัวอย่างไปแล้ว เช่นเมื่อเมตตาเกิดขึ้นในใจเป็นอย่างไร โทสะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ลักษณะก็จะผิดกันให้เห็น
ชัดๆ ว่าผลมันเกิดทันที อย่างที่เรียกว่า เป็นสันทิฏฐิโก เห็นเอง เห็นทันตาคำ ที่เนื่องกันอยู่ กับคำ ว่า "กุศล"
และ "อกุศล" ก็คือคำ ว่า "บุญ" และ "บาป"
บุญกับกุศล และ บาปกับอกุศล ต่างกันอย่างไร?
ในที่หลายแห่งใช้แทนกันได้ อย่างในพุทธพจน์ที่ตรัสถึงเรื่อง ปธาน คือความเพียร ๔ ก็จะตรัสคำ ว่า
"อกุศล" กับคำ ว่า "บาป" ไปด้วยกัน อยู่ในประโยคเดียวกัน คือเป็นข้อความที่ช่วยขยายความซึ่งกันและกัน
เช่นว่า....
ภิกษุยังฉันทะให้เกิดขึ้น ระดมความเพียร เพื่อปิดกั้นบาปอกุศลธรรม ซึ่งยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้นนี้
เรียกว่า สังวรปธานแสดงให้เห็นว่า บาปกับอกุศลมาด้วยกัน แต่สำ หรับบุญกับกุศล ท่านบอกว่า มันมีความ
กว้างแคบกว่ากันอยู่หน่อย คือกุศลนั้น ใช้ได้ทั้ง โลกียะ และ โลกุตตระ เป็นคำ กลางๆ และเป็นคำ ที่ใช้ในทาง
หลักวิชาการมากกว่า บางทีก็ระบุว่า โลกิยกุศล โลกุตตรกุศลแต่ถ้าพูดเป็นกลางๆ จะเป็นโลกิยะก็ได้ เป็นโล
กุตตระก็ได้
ส่วนคำ ว่า บุญ นั้น นิยมใช้ในระดับโลกิยะ แต่ก็ไม่เสมอไป มีบางแห่งเหมือนกันที่ท่านใช้ในระดับ
โลกุตตระ อย่างที่แยกเรียกว่า โอปธิกปุญญะ แปลว่าบุญที่เนื่องด้วยอุปธิและอโนปธิกปุญญะ ไม่เนื่องด้วย
อุปธิ เป็นต้น หรือบางทีใช้ตรงๆ ว่า โลกุตตรปุญญะบุญในระดับโลกุตตระแต่โดยทั่วไปแล้ว บุญใช้ในระดับ
โลกิยะ ส่วนกุศล เป็นคำ กลางๆ ใช้ได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระนี่เป็นความกว้างแคบกว่ากันนิดหน่อย
ระหว่างบุญกับกุศลในแง่รูปศัพท์ ซึ่งก็อาจเอาไปช่วยประกอบเวลาอธิบายเรื่องกรรมได้ แต่เป็นเรื่องเกร็ดไม่
ใช่เป็นตัวหลักแท้ๆ บุญ นัยหนึ่งแปลว่าเป็นเครื่องชำ ระสันดาน เป็นเครื่องชำ ระล้างทำ ให้จิตใจสะอาด ใน
เวลาที่เป็นเครื่องชำ ระสันดาน เป็นเครื่องชำ ระล้างทำ ให้จิตใจสะอาด ในเวลาที่สิ่งซึ่งเป็นบุญเกิดขึ้นในใจ
เช่นมีเมตตาเกิดขึ้น ก็ชำ ระจิตใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์หรือศรัทธาเกิดขึ้น จิตใจก็ผ่องใส ทำ ให้หายเศร้าหมอง
หายสกปรกความหมายต่อไป พวกนักวิเคราะห์ศัพท์ แปลบุญว่า นำ มาซึ่งการบูชา หรือทำ ให้เป็นผู้ควรบูชา
คือใครก็ตามที่สั่งสมบุญไว้ สั่งสมความดี เช่นสั่งสมศรัทธา เมตตา กรุณา มุทิตา ผู้นั้นก็มีแต่คุณธรรมมาก
มาย ซึ่งทำ ให้เป็นผู้ควรบูชา
ฉะนั้น ความหมายหนึ่งของบุญก็คือ ทำ ให้เป็นคนน่าบูชา และอีกความหมายหนึ่งก็คือ ทำ ให้เกิดผล
ที่น่าชื่นชม เพราะว่าเมื่อเกิดบุญแล้ว ก็มีวิบากที่ดีงามน่าชื่นชม จึงเรียกว่ามีผลอันน่าชื่นชม ใกล้กับพุทธพจน์
ที่ว่า "สุขสฺเสตํ อธิวจนํ ยยิทํ ปุญฺญานิ" ซึ่งแปลว่า ภิกษุทั้งหลาย
คำ ว่า บุญ นี้ เป็นชื่อของความสุขเมื่อบุญเกิดขึ้นในใจแล้ว จิตใจก็สบายมีความเอิบอิ่มผ่องใส บุญก็
จึงเป็นชื่อของความสุขนี้เป็นอย่างๆ ที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องบุญ ส่วนบาปนั้นตรงกันข้ามบาปนั้น โดยตัว
อักษร หรือโดยพยัญชนะแปลว่า สภาวะที่ทำ ให้ถึงทุคติ หรือทำ ให้ไปในที่ชั่ว หมายถึงสิ่งที่ทำ ให้จิตตกตํ่า
พอบาปเกิดขึ้น ความคิดไม่ดีเกิดขึ้น โทสะ โลภะ เกิดขึ้น จิตก็ตกตํ่าลงไป และนำ ไปสู่ทุคติด้วย และท่านยัง
ให้ความหมายโดยพยัญชนะอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่คนดี พากันรักษาตน ให้ปราศจากไป หมายความว่า คน
ดีทั้งหลายจะรักษาตนเองให้พ้นไปจากสิ่งเหล่านี้ จึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นบาป เป็นสิ่งที่คนดีละทิ้ง พยายาม
หลีกหลบเลี่ยงหนี ไม่อยากเกี่ยวข้องด้วย นี่เป็นความหมายประกอบ ซึ่งอาจจะเอาไปใช้อธิบายเป็นเกร็ดได้
ไม่ใช่ตัวหลักแท้ๆ เอามาพูดรวมไว้ด้วยในแง่ต่างๆ ที่เราจะต้องทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง "กรรม"
หัวข้อเรื่องที่ ๑๓ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๑๔ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
แม้แต่สังคมมนุษย์ที่จะเป็นไปอย่างไร ก็เริ่มมาจากมโนกรรม อย่างที่ปัจจุบันนี้ชอบเรียกว่า ค่านิยม
สังคมมีค่านิยมอย่างไร ก็จะชักนำ ลักษณะการดำ เนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมนั้นให้เป็นอย่างนั้นยก
ตัวอย่างเช่น คนในสังคมหนึ่ง ถือว่าถ้าเรารักษาระเบียบวินัยได้เคร่งครัด ก็เป็นคนเก่งความเก่งกล้าสามารถ
อยู่ที่ทำ ได้ตามระเบียบแบบแผนการนิยมความเก่งในแง่นี้ ก็เรียกว่า เป็นค่านิยม ที่จะรักษาระเบียบ คนพวกนี้
ก็จะพยายามรักษาระเบียบวินัยให้ เคร่งครัด จนอาจทำ ให้ประเทศนั้น สังคมนั้นมีระเบียบวินัยดี ส่วนในอีก
สังคมหนึ่ง คนอาจจะมองอีกอย่างหนึ่ง มีค่านิยมอีกแบบหนึ่ง โดยมีความชื่นชมว่า ใครไม่ต้องทำ ตาม
ระเบียบได้ ใครฝืนระเบียบได้
ใครมีอภิสิทธิ์ ไม่ต้องทำ ตามกฎหมายได้ เป็นคนเก่ง ในสังคมแบบนี้ คนก็จะไม่มีระเบียบวินัย
เพราะถือว่า ใครไม่ต้องทำ ตามระเบียบได้ คนนั้นเก่งขอให้ลองคิดดูว่า สังคมของเรา เป็นสังคมแบบไหน มี
ค่านิยมอย่างไร นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ความใฝ่ ความชอบ อะไรต่างๆ ที่อยู่ในใจ เป็นตัวนำ เป็น
เครื่องกำ หนดวิถีชีวิตของบุคคล และเป็นเครื่องชี้นำ ชะตากรรมของสังคม สังคมใดมีค่านิยมที่ดีงาม เอื้อต่อ
การพัฒนา สังคมนั้นก็มีทางที่จะพัฒนาไปได้ดี สังคมใดมีค่านิยมตํ่าทราม ขัดถ่วงการพัฒนา สังคมนั้นก็มี
แนวโน้มที่จะเสื่อมโทรม พัฒนาได้ยากจะประสบปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอย่างมากมาย
ถ้าจะพัฒนาสังคมนี้ให้ก้าวหน้า ถ้าต้องการให้สังคมเจริญ พัฒนาไปได้ดี ก็จะต้องแก้ค่านิยมที่ผิด
พลาดให้ได้ และต้องสร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นด้วย เรื่องค่านิยมนี้เป็นตัวอย่างเด่นชัดอย่างหนึ่งของ
มโนกรรม มโนกรรม เป็นสิ่งสำ คัญมาก มีผลระยะยาวลึกซึ้งและกว้างไกลครอบคลุมไปทั้งหมด พระพุทธ
ศาสนาถือว่า ค่านิยมนี้เป็นสิ่งสำ คัญมาก และมองที่จิตใจเป็นจุดเริ่มต้น เพราะฉะนั้น ในการพิจารณาเรื่อง
กรรม จะต้องให้เข้าใจถึงหลักการของพระพุทธศาสนา ที่ถือว่า มโนกรรมสำ คัญที่สุด และให้เห็นว่าสำ คัญ
อย่างไร นี้คือจุดที่หนึ่ง"
หัวข้อเรื่องที่ ๑๔ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๑๕ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
สืบเนื่องจากเรื่องมโนกรรมนั้น ก็ทำ ให้ต้องมาศึกษาเรื่องจิต จิตใจของคนเรานี้ คิดนึกอะไรต่ออะไร
สิ่งที่พูดและทำ ก็เป็นไปตามจิตใจ
แต่จิตใจเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน บางครั้งและในเรื่องบางอย่าง เราบอกไม่ถูกด้วยซํ้าว่า ตัวเราเอง
เป็นอย่างไร บางทีเราทำ อะไรไปสักอย่าง เราบอกไม่ถูก ว่าทำ ไมเราจึงทำ อย่างนี้ เพราะว่าจิตใจนั้น มีความ
สลับซับซ้อนมากตามหลักพุทธศาสนานั้น มีการแบ่งจิตเป็น ๒ ระดับ คือจิตระดับวิถี กับ จิตระดับภวังค์
จิตระดับภวังค์ เป็นจิตที่เป็นองค์แห่งภพ เป็นระดับที่เราไม่รู้ตัว เรียกว่า จิตไร้สำ นึกภพจะเป็นอย่าง
ไร ชีวิตแท้ๆ ที่กรรมออกผลจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่ที่ภวังค์ แม้แต่จุติ-ปฏิสนธิก็เป็นภวังคจิตฉะนั้น เราจะมา
พิจารณา เฉพาะจิตในระดับที่เรารู้สำ นึกกันนี้ไม่ได้
การพิจารณาเรื่องกรรมนี้ จะต้องลึกลงไปถึงขั้นจิต ตํ่ากว่าสำ นึกลงไป อย่างที่เราใช้ศัพท์ว่าภวังค์ ใน
จิตวิทยาสมัยนี้ ก็มีหลายสาขา หลายสำ นัก ซึ่งมีกลุ่มสำ คัญ ที่เขาศึกษาเรื่องจิตแบบนี้เหมือนกัน เขาแบ่งจิต
เป็น จิตสำ นึก กับ จิตไร้สำ นึก จิตสำ นึกก็คือจิตที่รู้ตัว ที่พูดสิ่งต่างๆ ทำ สิ่งต่างๆ อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ เรียกว่า
"จิตสำ นึก"
แต่มีจิตอีกส่วนหนึ่ง เป็นจิตไร้สำ นึก ไม่รู้ตัว จิตที่ไร้สำ นึกนี้ เป็นจิตส่วนใหญ่ของเราเขาเทียบ
เหมือนภูเขานํ้าแข็งที่อยู่ในนํ้า นํ้าแข็งส่วนที่อยู่ใต้นํ้ามีมากกว่า และมากกว่าเยอะแยะด้วย ส่วนที่โผล่มามีนิด
เดียว คือจิตสำ นึกที่เรารู้ตัวกันอยู่พูดจากันอยู่นี้ แต่ส่วนที่ไม่รู้สำ นึก หรือไร้สำ นึกนั้นเหมือนก้อนนํ้าแข็งที่อยู่
ใต้พื้นนํ้า ซึ่งมีมากกว่าเยอะแยะ เป็นจิตส่วนใหญ่ของเราการศึกษาเรื่องจิตนั้น จะต้องศึกษาไปถึงขั้นจิตไร้
สำ นึก ที่เป็นจิตส่วนใหญ่มิฉะนั้นแล้วจะรู้นิดเดียวเท่านั้นเอง
การพิจารณาเรื่องกรรมก็จะต้องเข้าไปให้ถึงจุดนี้ ในเรื่องไร้สำ นึกนี้ มีแง่ที่เราควรรู้อะไรบ้าง?
แง่ควรรู้ที่หนึ่ง คือที่บอกว่า สิ่งที่เราได้รับรู้เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านี้ จิตจะบันทึกเก็บไว้
หมด ไม่มีลืมเลย นี้เป็นแง่ที่หนึ่ง ตามที่เข้าใจกันธรรมดานี้เราลืมสิ่งทั้งหลายที่ได้ประสบนั้น เราลืมเยอะแยะ
ลืมแทบทั้งหมด จำ ได้นิดเดียวเท่านั้นเอง นี่เป็นเรื่องของจิตสำ นึก แต่ตามความเป็นจริง ความจำ เหล่านั้นยัง
คงอยู่ในจิตไร้สำ นึก สิ่งที่ประสบทราบคิดนึกทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดมา มันจำ ไว้หมด แล้วถ้ารู้จักทำ ดีๆ ก็ดึงเอา
มันออกมาได้ด้วยนักจิตวิทยาบางสมัยสนใจเรื่องการสะกดจิตมาก เพราะเหตุผลหลายอย่างเหตุผลอย่างหนึ่ง
ก็คือ เมื่อสะกดจิตแล้ว ก็สามารถที่จะทำ ให้คนนั้นระลึกเอาเรื่องราวเก่าๆ สมัยเด็ก เช่นเมื่อ ๑ ขวบ ๒ ขวบ
เอาออกมาได้ ซึ่งแสดงว่าประสบการณ์เหล่านั้น ไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่หมด นี้เป็นแง่ที่หนึ่ง" เมื่อเราพอเข้า
ใจเกี่ยวกับความหมายของคำ ว่า "จิตไร้สำ นึก" แล้ว
หัวข้อเรื่องที่ ๑๕ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๒๑ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
ท่านกำ ลังจะพูดถึงเงื่อนไขสำ คัญ ซึ่งทำ ให้การทำ ดี ได้ผลดีสมดังปรารถนาเงื่อนไขที่ว่านั้นท่านเรียก
ว่า สมบัติ ๔ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต ) ท่านได้ให้คำ อธิบายไว้ว่า พระพุทธ
เจ้าทรงให้หลักอีกหลักหนึ่ง ดังที่ปรากฏในอภิธรรม บอกไว้ว่าการที่กรรมจะให้ผลต่อไป จะต้องพิจารณา
เรื่องสมบัติ ๔ และวิบัติ ๔ ประกอบด้วย คือตอนได้มะม่วง แล้วจะรวยหรือไม่ ต้องเอาหลักสมบัติ ๔ วิบัติ ๔
มาพิจารณาสมบัติ คือองค์ประกอบที่อำ นวยช่วยเสริมกรรมดี สมบัตินี้มี ๔ อย่าง เรียกว่า คติ อุปธิ กาล ปโยค
๑. คติ คือถิ่นที่ ทางไปต่างๆ เกี่ยวกับสถานที่ เทศะ
๒. อุปธิ คือร่างกาย
๓. กาล คือกาลเวลา ยุคสมัย
๔. ปโยค คือการประกอบ หรือการลงมือทำ
นี้เป็นความหมายตามศัพท์ ฝ่ายตรงข้าม คือวิบัติ ก็มี ๔ เหมือนกัน คือถ้าคติ อุปธิกาลปโยค ดี ช่วย
ส่งเสริม ก็เรียกว่า เป็นสมบัติ ถ้าหากไม่ดี มาทำ ลาย ก็เรียกว่าเป็น วิบัติ ลองมาดูว่า หลัก ๔ นี้ มีผลอย่างไร?
สมมติว่า คุณ ก. กับ คุณ ข. มีวิชาดีเท่ากัน ขยัน นิสัยดีทั้งคู่ แต่เขาต้องการรับคนงานที่เป็นคนต้อน
รับ ปัจจุบันเรียก Receptionist ทำ หน้าที่รับแขก ปฏิสันถาร คุณ ก. ขยัน มีนิสัยดี ทำ หน้าที่รับผิดชอบดี แต่
หน้าตาไม่สวย คุณ ข. หน้าตาสวยกว่า เขาก็ต้องเลือกเอาคุณ ข. แล้วคุณ ก. จะบอกว่า ฉันขยัน อุตส่าห์ทำ ดี
ไม่เห็นได้ดีเลย เขาไม่เลือกไปทำ งาน... แสดงว่า "ตัวเองมีอุปธิวิบัติ เสียหายด้านร่างกาย"
หรืออย่างคน ๒ คน ต่างก็มีความขยันหมั่นเพียร มีความดี แต่ว่าคนหนึ่งร่างกายไม่แข็งแรงมีโรค
ออดๆ แอดๆ เวลาเลือก คนขี้โรคก็ไม่ได้รับเลือก นี้เรียกว่า อุปธิวิบัติในเรื่องคติ คือที่ไปเกิด ถิ่นฐาน ทาง
ดำ เนินชีวิต ถ้าจะอธิบายแบบช่วงยาว ข้ามภพข้ามชาติ ก็เช่นว่า คนหนึ่งทำ กรรมมาดีมากๆ เป็นคนที่สั่งสม
บารมีมาตลอดแต่พลาดนิดเดียว ไปทำ กรรมชั่วนิดหน่อย แล้วเวลาจะตาย จิตไปประหวัดถึงกรรมชั่วนั้น
กลายเป็นอาสันนกรรม ทำ ให้ไปเกิดในนรก สมมติอย่างนี้ พอดีช่วงนั้น พระพุทธเจ้ามาตรัส ทั้งที่แกสั่งสม
บุญมาเยอะ ถ้าได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัส แกมีโอกาสมาก ที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงได้ แต่แกไปเกิดอยู่ในภพที่ไม่
มีโอกาสเลย ก็เลยพลาดนี่เรียกว่า คติวิบัติทีนี้ พูดช่วงสั้นในชีวิตประจำ วัน
สมมติว่าท่านเป็นคนมีสติปัญญาดี แต่ไปเกิดในดงคนป่า แทนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งกล้า
สามารถ อย่างไอน์สไตน์ ก็ไม่ได้เป็น อาจจะมีปัญญาดีกว่าไอน์สไตน์อีก แต่เพราะไปเกิดในดงคนป่า จึงไม่
มีโอกาสพัฒนาปัญญานั้นนี่เรียกว่า คติเสีย ก็ไม่ได้ผลนี้ขึ้นมา นี่คือเรื่องคติบัติ
หัวข้อเรื่องที่ ๑๖ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๒๒ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
ข้อต่อไป กาลวิบัติ เช่นท่านอาจจะเป็นคนเก่งในวิชาการบางอย่าง ศิลปะบางอย่าง แต่ท่านมาเจริญ
เติบโตอยู่ในสมัยที่เขาเกิดสงครามกันวุ่นวาย และในระยะที่เกิดสงครามนี้ เขาไม่ต้องการใช้วิชา-การหรือ
ศิลปะด้านนั้น เขาต้องการคนที่รบเก่ง มีกำ ลังกาย กล้าหาญเก่งกล้าสามารถแข็งแรง และคนมีวิชาที่ต้องใช้ใน
การทำ สงครามท่านก็ไม่ได้รับการยกย่องเชิดชู วิชาการและศิลปะพวกนี้ เขาก็ไม่เอามาพูดถึงกัน เขาก็พูดถึง
แต่คนที่รบเก่ง สามารถทำ ลายศัตรูได้มากเป็นต้น นี่เรียกว่า กาลวิบัติ สำ หรับท่าน หรือนายคนนี้
ข้อสุดท้ายคือ ปโยควิบัติ มีตัวอย่างเช่น ท่านเป็นคนวิ่งเร็ว ถ้าเอาการวิ่งมาใช้ในการแข่งขันกีฬา
ท่านก็อาจมีชื่อเสียง เป็นผู้ชนะเลิศในทีมชาติหรือระดับโลก...แต่ท่านไม่เอาความเก่งในการวิ่งมาใช้ในทางดี
ท่านเอาไปวิ่งราว ลักของเขาก็ได้รับผลร้าย เลยเสียคนไปเลย นี้เป็นปโยควิบัติ ว่าที่จริง ถ้าไม่มุ่งถึงผลภาย
นอก หรือผลข้างเคียงสืบเนื่อง การเป็นคนดี มีความสามารถ การเป็นคนป่าที่มีสติปัญญาดี การมีศิลปะวิชา
การที่ชำ นาญอย่างใดอย่างหนึ่ง ตลอดจนการวิ่งได้เร็ว มันก็มีผลดีโดยตรงของมันอยู่แล้ว และผลดีอย่างนั้น
มีอยู่ในตัวในทันทีตลอดเวลา
แต่ท่านบอกว่า ในการที่จะได้รับผลต่อเนื่องอีกขั้นหนึ่งนั้น เราจะต้องเอาหลักวิบัติสมบัติ เข้าไป
เกี่ยวข้อง เหมือนปลูกมะม่วง ผลที่แน่นอน คือท่านปลูกมะม่วง ท่านได้มะม่วง นี้ตรงกันเป็นระดับผลกรรม
ขั้นต้น ส่วนในขั้นต่อมา ถ้าต้องการให้ปลูกมะม่วง แล้วรวยด้วย ท่านจะต้องรู้จักทำ ให้ถูกต้องตามหลัก
สมบัติวิบัติ เหล่านี้ด้วยต้องรู้จักกาละ เป็นต้นว่า
กาลสมัยนี้ คนต้องการมะม่วงมากไหม?
ตลาดต้องการมะม่วงไหม?
มะม่วงพันธุ์อะไรที่คนกำ ลังต้องการ?
สภาพตลาดมะม่วงเป็นอย่างไร?
มีมะม่วงล้นตลาดเกินความต้องการไหม?
จะประหยัดต้นทุนในการปลูก และส่งถึงตลาดได้อย่างไร?
เราควรจะจัดดำ เนินการในเรื่อง เหล่านี้ให้ถูกต้องด้วย ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าฉันขยันหมั่นเพียรแล้วก็
ทำ ไป ต้องพิจารณาเรื่องสมบัติ วิบัติ ๔ นี้เข้ามาประกอบ สถานที่แหล่งนี้เป็นอย่างไร? กาลสมัยนี้เป็นอย่าง
ไร? การประกอบการของเรา เช่นการจัดการขายส่งต่างๆ นี้ เราทำ ได้ถูกต้องดีไหม? ฉะนั้น ถ้าเราปลูกมะม่วง
ได้มะม่วงดีแล้ว แต่เราปลูกไม่ถูกกาลสมัย เราไม่รู้จักประกอบการให้ถูกต้อง อย่างน้อยก็มีกาลวิบัติ ปโยค
วิบัติ ขึ้นมา เราก็ขายไม่ออกก็ขาดทุน ถึงขยันปลูกมะม่วงก็ไม่รวย
หัวข้อเรื่องที่ ๑๗ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ๒๓ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
เป็นอันว่า ถ้าชาวพุทธเราจะฉลาดรอบคอบในการทำ กรรม ก็จะต้องทำ ให้ถูกทั้ง ๒ ชั้น
ชั้นที่ ๑ ตัวกรรมนั้น ต้องเป็นกรรมดี ไม่ใช่กรรมชั่ว แล้วผลดีชั้นที่ ๑ ก็เกิดขึ้นคือจิตใจของเราก็ดี ได้
รับผลดีที่เป็นความสุข มีความสุขเป็นวิบากเบื้องต้น ผลดีที่ออกมา ทางวิถีชีวิตทั่วๆ ไป เช่นความนิยมนับถือ
ต่างๆ ก็มีดี มีเข้ามาในตัวอยู่แล้วแต่ในชั้นที่ ๒ เราจะให้การงานกิจการของเราได้ผลดีมาก ดีน้อย เราก็ต้อง
พิจารณาเรื่องคติ อุปธิ กาล ปโยค เข้ามาประกอบด้วยต้องพิจารณา ๒ ชั้น ไม่ใช่คิดจะทำ ดีก็ทำ ดีดุ่มๆ ไป
เฉยๆอย่างไรก็ตาม คนบางคนอาจจะเอาเรื่อง คติ อุปธิ กาล ปโยค เข้ามาใช้ โดยวิธีฉวยโอกาส เช่นกาล
สมบัติ ฉวยโอกาสว่า กาลสมัยนี้คนกำ ลังต้องการสิ่งนี้ ฉันก็ทำ สิ่งที่เขาต้องการ โดยจะดีหรือไม่ก็ช่างมัน ให้
ได้ผลที่ต้องการก็แล้วกัน นี้เรียกว่า มุ่งแต่ผลชั้นที่ ๒ แต่ผลชั้นที่ ๑ ไม่คำ นึง ก็เป็นสิ่งที่เสียหายในทางธรรม
ฉะนั้น ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ก็จะต้องมองผลชั้นที่ ๑ ก่อน คือจะทำ อะไรก็หลีกเลี่ยงกรรมชั่วและ
ทำ กรรมดีไว้ก่อน เมื่อได้พื้นฐานดีนี้แล้ว ก็คำ นึงถึงชั้นที่ ๒ เป็นผลภาย นอก ซึ่งขึ้นต่อคติ อุปธิ กาล ปโยค
ด้วย ก็จะทำ ให้งานของตนนั้น ได้ผลดีโดยสมบูรณ์ เป็นอันว่าการสอนเรื่องกรรมตอนนี้ มี ๒ ชั้นคือตัวกรรม
ที่ดีที่ชั่วเอง และองค์ประกอบเรื่อง คติ อุปธิ กาล ปโยค ถ้าเราต้องการผลภายนอกเข้ามาร่วม เราจะต้องให้
ชาวพุทธรู้จักพิจารณา และมีความฉลาดในเรื่อง คติ อุปธิ กาล ปโยค ด้วย สมมติว่าคน ๒ คนทำ งานอย่าง
เดียวกัน โดยมีคุณสมบัติเหมือนกัน ดีเหมือนกันทั้งคู่ ถ้าร่างกายคนหนึ่งดี อีกคนหนึ่งไม่ดี คนที่ร่างกายไม่ดี
ย่อมเสียเปรียบ ก็ต้องยอมรับว่า ตัวเองมี อุปธิวิบัติ
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงตัว ถ้าแก้ที่ร่างกายไม่ได้ ก็ต้องเพิ่มพูนคุณสมบัติที่ดี ให้ดียิ่ง
ขึ้น เมื่อดียิ่งขึ้น คนที่ร่างกายไม่ดี แต่มีคุณสมบัติอื่นเช่นในการทำ งาน มีความชำ นิชำ นาญกว่าจนกระทั่งมา
ชดเชยคุณสมบัติในด้านร่างกายดีของอีกคนหนึ่งไปได้ แม้ตัวเองจะร่างกายไม่ดี เขาก็ต้องเอา เพราะเป็นคนมี
ความสามารถพิเศษ นี้ก็เป็นหลักที่มาช่วย
นี้คือเรื่องการให้ผลของกรรมในแง่ต่างๆ นำ มาแสดงให้เป็นแง่คิด เพื่อให้เห็นว่าเรื่องกรรมนี้ต้องคิด
หลายๆ แง่ หลายๆ ด้าน แล้วเราอาจจะเห็นทางออกในการอธิบายได้ดียิ่งขึ้น มีความรอบต้องการเชื่อมโยงให้
เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อเราจะไม่ใช่พูดแต่เพียงว่ามีเหตุอันนี้เกิดขึ้นในที่แห่งหนึ่ง ในเวลาหนึ่ง นาน
มาแล้ว สัก ๒๐ - ๓๐ ปี ต่อมาเกิดผลดีอันหนึ่ง แล้วเราก็จับมาบรรจบกัน โดยเชื่อมโยงเหตุปัจจัยไม่ได้ ซึ่งแม้
จะเป็นจริง แต่ก็มีนํ้าหนักน้อย ไม่ค่อยมีเหตุผลให้เห็น คนก็อาจจะไม่ค่อยเชื่อเราจึงควรพยายามศึกษา สืบ
สาวเหตุปัจจัยให้ละเอียดยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่ามันจะยังไม่ชัดละเอียดออกมา ไม่ปรากฏออกมาเต็มที่ แต่มันก็พอให้
เห็นทางเป็นไปได้คนสมัยนี้ก็ต้องยอมรับในเรื่องความเป็นไปได้ เพราะมันเข้าในแนวทางของเหตุปัจจัย
แล้ว"
หัวข้อเรื่องที่ ๑๘ : หลักกรรมสำ หรับคนสมัยใหม่ ( ตอนจบ )
โดย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
มีปัญหาที่ท่านถามมาหลายข้อด้วยกัน ปัญหาหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องบุพเพกตวาท เป็นเรื่องที่ถามในหลัก
นี้ น่าจะตอบ ถามว่าทารกที่คลอดมา บางครั้งมีโรคที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือถือกำ เนิดในครอบครัวที่ลำ บาก
ขาดแคลน ถ้าไม่อธิบายในแนวบุพเพกตวาทแล้ว เราควรอธิบายอย่างไรให้เข้าใจง่าย
ในการตอบปัญหานี้ ต้องพูดให้เข้าใจกันก่อนว่า การปฏิเสธบุพเพกตวาทไม่ได้หมายความว่าเราถือ
ว่ากรรมเก่าไม่มีผล แต่ลัทธิบุพเพกตวาท ถือว่าเป็นอะไรๆ ก็เพราะกรรมเก่าทั้งสิ้น เอาตัวกรรมเก่าเป็นเกณฑ์
ตัดสินโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นทำ อะไรก็ไม่มีความหมาย เพราะแล้วแต่กรรมเก่า ต่อไปจะเป็นอย่างไร กรรมเก่าก็
ให้เป็นไป ทำ ไปก็ไม่มีประโยชน์ นี้คือลัทธิกรรมเก่า แต่ในทางพระพุทธศาสนา กรรมเก่านั้น ท่านก็ถือว่า
เป็นกรรมอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นแล้วมีผลมาถึงปัจจุบัน
ทีนี้มาถึงเรื่อง ที่เด็กคลอดออกมา มีโรคที่หาสาเหตุไม่ได้ เกิดในครอบครัวที่ลำ บากขาดแคลนนี้เรา
สามารถอธิบายด้วยเรื่องกรรมเก่า ตามหลักกรรมนิยมได้ด้วย และอธิบายตามหลักนิยามอื่นๆ ด้วย เช่น ใน
ด้านพีชนิยามว่า พ่อแม่เป็นอย่างไรในส่วนกรรมพันธุ์ เพราะกรรมพันธุ์เป็นตัวกำ หนดได้ด้วย ถ้าพ่อแม่มี
ความบกพร่องในเรื่องบางอย่าง เช่นเป็นโรคเบาหวาน ลูกก็มีทางเป็นไปได้เหมือนกัน นี้พีชนิยามส่วนกรรม
นิยาม ถ้าจะอธิบายออกมาในรูปที่ว่าความเหมาะสมของคนที่จะมาเกิด กับคนที่จะเป็นพ่อแม่ มันเหมาะกัน
ในแง่กรรมก็สงเคราะห์ตรงนี้ ทำ ให้มาเกิดเป็นลูกของคนนี้ และมีความบกพร่องตรงนี้ โดยมีพีชนิยามเข้ามา
ประกอบช่วยกำ หนดสำ หรับกรณีที่มาเกิดในครอบครัวที่ลำ บากขาดแคลน ถ้าเราจะยกให้เป็นเรื่องกรรมเก่า
ก็ตัดตอนไป ในเมื่อเขาเกิดมาแล้วในครอบครัวอย่างนี้ เราก็ตามไม่เห็น แต่ก็ต้องตัดตอน ไปว่าทำ กรรมเก่า
ไม่ดี จึงมาเกิดในครอบครัวขาดแคลนแต่เมื่อเกิดแล้วตามกรรม ที่ถูกต้องก็ต้องคิดไปอีกว่า เพราะเหตุที่เกิด
ในครอบครัวขาดแคลน แสดงว่าเรามีทุนเก่าที่ ดีมาน้อย ก็ยิ่งจะต้องพยายามทำ กรรมดีให้มากขึ้น เพื่อจะให้
ผลต่อไปข้างหน้าดี ไม่ใช่คิดว่าทำ กรรมมาไม่ดีก็ต้องปล่อยแล้วแต่กรรมเก่าจะให้เป็นไป ถ้าคิดอย่างนี้ก็ไม่
ถูก
แต่ในทางที่ถูก จะต้องคำ นึงให้ครบทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่ ในเมื่อกรรมเดิมมีมาไม่ดี ก็ยิ่งทำ ให้
จะต้องมีกำ ลัง มีความเพียรพยายามแก้ไขปรับปรุงเช่นถ้าหากคนที่เขาเกิดมารํ่ารวยแล้วเขามีความเพียร
พยายามเพียงเท่านี้ เขาก็สามารถประสบความสำ เร็จก้าวหน้าได้ เราเกิดมาในตระกูลที่ขาดแคลนเราก็ต้องยิ่ง
มีความเพียรพยายามให้มากกว่าเขาอีกมากมาย เราจึงจะมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าได้ ต้องตั้งจิตอย่างนี้จึงจะถูก
ต้องในส่วนที่เป็นกรรมเก่านี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ ชื่อว่า
กรรมเก่า"
กรรมเก่าก็คือ สภาพชีวิตที่เรามีอยู่ในปัจจุบันขณะนี้ สภาพชีวิตของเราก็คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่
เป็นอยู่ มีอยู่นี้ คือกรรมเก่า คือผลจากกรรมเท่าที่เป็นมาก่อนหน้าเวลานี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะได้ทำ อะไรมา สั่งสม
อะไรมา ก็รวมอยู่ที่นี้กรรรมเก่ามีเท่าไร ก็เรียกว่ามีทุนเท่านั้น จะทำ งานอะไรก็ตาม จะต้องมองดูทุนในตัว
ก่อน เมื่อรวมทุน รู้กำ ลังของตัวถูกต้องแล้ว ก็เริ่ม งานต่อไปได้ ถ้าเรารู้ว่าทุนของเราน้อย แพ้เขา เราก็ต้อง
พิจารณาหาวิธีที่จะลงทุนให้ได้ผลดีบางคนทุนน้อย แต่มีวิธีการทำ งานดี รู้จักลงทุนอย่างได้ผล กลับได้
ประสบความสำ เร็จดีกว่าคน ที่มีทุนมากก็มี
ฉะนั้น แม้ว่ากรรมเก่าอาจจะไม่ดี คือร่างกาย ตลอดจนสภาพชีวิตทั้งหมดของเราไม่ดี แต่เราฉลาด
และเข้มแข็ง ไม่ท้อถอย เราก็พยายามปรับปรุงตัว หาวิธีการที่ดีมาใช้ ถึงแม้ทุนไม่ค่อยดีมีน้อย ก็ทำ ให้เกิดผล
ดีได้ กลับบรรลุผลสำ เร็จ ก้าวหน้ายิ่งกว่าคนที่ทุนดีด้วยซํ้าไป ส่วนคนที่ทุนดีนั้น หากรู้จักใช้ทุนดีของตัว ก็
ยิ่งประสบความสำ เร็จมากขึ้น บางคนทุนดี แต่ไม่รู้จักใช้ มัวเมา ประมาทเสียก็หมดทุน กลับยิ่งแย่ลงไปอีก
ดังนั้น การปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่มัวท้อแท้ ท้อถอย อยู่กับทุนเก่าหรือกรรมเก่ากรรมเก่านี้ถือเป็น
ทุนเดิม ซึ่งจะต้องกำ หนดรู้ แล้วพยายามแก้ไข ปรับปรุงส่งเสริมเพิ่มพูนให้ดี ให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มกราคม 23, 2024, 01:04:01 PM