เมษายน 19, 2024, 05:16:04 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเจริญสติ  (อ่าน 14907 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 02:16:56 PM »

Permalink: การเจริญสติ
การเจริญสติ
บทนำ
ตลอดระยะเวลาร่วม 10 ปี ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาองค์ความรู้ของพระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ มา
อย่างต่อเนื่อง ความรู้ เทคนิค อุบาย แนวทาง หรือวิธีการที่พระอาจารย์นำ มาสอนให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนมีมากเกิน
กว่าจะบรรยายได้หมด และเนื่องจากความสามารถ ความเพียรพยายาม ความอดทนในการประพฤติปฏิบัติแตก
ต่างกัน จึงทำ ให้ลูกศิษย์แต่ละคนมีความเข้าใจในองค์ความรู้ได้ละเอียดลึกซึ้ง เอาชนะกิเลส ลดอนุสัยในจิต
วิญญาณได้มากหรือน้อยไม่เท่ากัน
ผู้เขียนสามารถรับความรู้จากพระอาจารย์ได้ไม่มากนัก แต่คิดว่าประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกปฏิบัติเป็น
ประจำ ทุกวันน่าจะเป็นประโยชน์สำ หรับผู้อื่นบ้าง เพราะทุกระยะของการก้าวเดิน (หมายถึงการฝึกปฏิบัติ) จะมี
สิ่งทดสอบคือ กิเลสอยู่ล้อมรอบตัวเราเสมอ กว่าจะผ่านไปได้ในแต่ละก้าว ผู้เขียนต้องซอยเท้าอยู่กับที่เป็นเวลา
นาน จึงจะสามารถก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคงไม่เซล้มลงไปก่อน
การฝึกจิตก็เปรียบเหมือนกับการปลูกต้นไม้ กล้าไม้ หรือต้นอ่อนที่ปลูกลงไปในดิน ผู้ปลูกต้องหมั่นรด
นํ้าพรวนดิน และรอเวลาที่กล้าไม้นั้นสามารถฝังรากแก้วลึกลงไปในดินได้อย่างมั่นคง แข็งแรง และให้ดอกผล
ตามประโยชน์ของต้นไม้เหล่านั้น


ผู้เขียนจึงอยากแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้แก่ผู้อื่นบ้าง เพราะอย่างน้อยที่สุดผู้อ่านจะได้รับรู้ข้อมูลพื้น
ฐานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
ความรู้ที่ท่านสอนแก่ลูกศิษย์แต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันตามภาวะของ “จิต” และ “คุณธรรม” ที่มีอยู่
ฉะนั้นความรู้ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การฝึกปฏิบัติ (การฝึกจิต) นรก สวรรค์ จนถึง
ระดับของความรู้ที่ละเอียดขึ้นคือ สภาวะมรรค และนิพพานนั้น ท่านจะมีวิธีอธิบายให้แต่ละกลุ่มเข้าใจ โดยที่เนื้อ
หาของความรู้จะมีความละเอียดลึกซึ้งไม่เหมือนกันเพื่อให้ทุกกลุ่มได้ประโยชน์ และนำ ไปเป็นแนวทางของการ
ดำ รงตนตาม “สมมุติ” หรือ “หน้าที่” ของแต่ละบุคคล อย่างเช่นกรณี “พระพุทธรูป” ท่านสอนให้ลูกศิษย์ได้รู้จัก
พระพุทธเจ้าโดยสมมุติ และพระพุทธเจ้าโดยปรมัตถ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ชาวพุทธทุกคนคุ้นเคยกับการกราบไหว้พระพุทธรูปที่ถูกสมมุติขึ้นว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เป็น
รูปสมมุติที่แสดงความเป็นพระพุทธศาสนาซึ่งได้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 2 (พ.ศ. 200-
300) ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะ ประเทศอินเดีย (โบราณ) ซึ่งในครั้งนั้นยังคง
ยึดถือพระพุทธดำ รัสที่ทรงไม่อนุญาตให้สร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าเป็นรูปเหมือนของมนุษย์ พระเจ้าอโศก
มหาราชจึงทรงโปรดให้สร้างรูปอื่นที่สื่อความหมายและเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เช่น ปางแสดงปฐม
เทศนา (ปางแสดงธรรมจักร) ได้สร้างเป็นรูปธรรมจักรและมีรูปกวางหมอบอยู่ เพื่อสื่อความหมายว่าพระพุทธเจ้า
ทราบแสดงธรรมจักรในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ปางมหาภิเนษกรมณ์ สร้างเป็นรูปม้าทรงผูกเครื่องไม่มีคนขี่ เพื่อ
ระลึกถึงการออกพรรพชา (พระพุทธรูปที่สร้างเป็นรูปมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 (พ.ศ. 600-
700) โดยฝีมือของช่างแห่งแคว้นคันธาระ)
ในครั้งนั้นมีการแข่งขันค่อนข้างสูงระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ซึ่งจะมีรูปเคารพ
ของเทพเจ้าอยู่หลายองค์ เช่น พระศิวะ พระนารายณ์ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี ฯลฯ และทุกองค์จะมีฤทธิ์ที่
สามารถดลบันดาลให้สำ เร็จตามที่สวดอ้อนวอนร้องขอ ในขณะที่ศาสนาพุทธสอนให้ยึดหลักของพระธรรมคำ
สอน และฝึกปฏิบัติจนเห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และศาสดาผู้สอนยังเป็นเพียง
มนุษย์เดินดินธรรมดา รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรบุคคลทั่วๆ ไปนึกไม่ออก มิหนำ ซํ้าบทสวดอ้อนวอนใดๆ ก็ไม่มี
พระเจ้าอโศกมหาราชมีความมุ่งมั่นต้องการให้พระพุทธศาสนาเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวางไปสู่ชนทุก
กลุ่มได้ง่ายจึงได้สร้างรูปสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาขึ้น เพื่อให้ผู้คนได้เห็นด้วยตา และกราบไหว้ สวดมนต์
บูชา เฉกเช่นเดียวกับศาสนาฮินดู (พราหมณ์)
เวลาผ่านไปร่วม 2500 ปีเศษ ชาวพุทธส่วนใหญ่รับรู้และเคยชินกับการกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปว่า
เป็นตัวแทนระลึกถึงพระพุทธองค์ ดังนั้นการกระทำ ใดๆ ก็ตามที่แสดงการดูหมิ่น ทำ ลาย ฯลฯ พระพุทธรูปจึง
เท่ากับเป็นการทำ ลายสมมุติบัญญัติของศาสนาพุทธด้วยเช่นกัน
เมื่อพระพุทธรูปได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธเจ้าโดยสมมุติ ดังนั้นพระพุทธเจ้าโดยปรมัตถ์จะเป็น
อย่างไร


ในครั้งพุทธกาลเคยมีพระสงฆ์สาวกตั้งคำ ถามต่อพระพุทธองค์หลายครั้งว่าถ้าพระพุทธองค์ปรินิพพาน
ไปแล้วจะให้ยึดถือสิ่งใดเป็นดั่งตัวแทนของพระพุทธองค์ เพราะแม้แต่รูปเคารพก็ทรงตรัสห้ามไม่ให้สร้าง พระ
พุทธองค์ทรงตอบดังนี้ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ตถาคตไม่สามารถสัมผัสได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และ ใจ” และเนื่องจากธรรมะหรือตถาตาเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน จึงเป็นสิ่งที่จะนำ มาพูดอธิบายหรือวิธีการที่
จะไปเท่านั้น (วิธีฝึกปฏิบัติ) ดังนั้นผู้ที่เห็นธรรมแล้วจึงย่อมเข้าใจความจริงอันสูงสุด (ปรมัตถสัจจะ) ว่าพระ
ธรรมคือสิ่งใด พระพุทธรูปมีความหมายลึกซึ้งเพียงใด และบุคคลผู้นั้นจะคงกราบไหว้พระพุทธรูปตามสมมุติที่
ตั้งขึ้น เป็นการไม่ขัดต่อสมมุติบัญญัติ หรือสมมุติสัจจะไม่สร้างความแปลกแยกแตกต่างไปจากผู้อื่น
การสร้างพระเครื่อง หรือเครื่องลางของขลังเป็นการแสดงความสามารถด้านพลังจิต หรืออภิญญาของ
พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างสิ่งเหล่านั้น พลังมโนธาตุจะถูกบรรจุลงไปในวัตถุที่สร้างขึ้น ถ้าพระเกจิอาจารย์มีความ
ชำ นาญหรือเก่งในเรื่องของธาตุศูนย์ สิ่งที่ปลุกเสกสร้างขึ้นจะมีฤทธิ์ในทางแคล้วคาด อยู่ยงคงกระพัน ธาตุเมตตา
จะเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของบุคคลทั่วไป ธาตุบริสุทธิ์จะดึงดูดสิ่งที่ดีงามเข้าสู่ตัว ฉะนั้นพลังที่ถูกบรรจุลงไปในวัตถุ
ที่สร้างขึ้นมาจึงเป็นเพียงพลังที่ยังเป็นของคู่ ไม่ใช่ “ความเป็นเช่นนั้นเองของพระตถาคต” จึงไม่สมควรอ้างพระ
พุทธคุณในทุกกรณี


นรก สวรรค์ วิญญาณ ฯลฯ จะเป็นสถานที่หรือภพภูมิที่มีอยู่จริงหรือไม่มีเลย ถ้ามีจะมีสภาพเป็นเช่นไร
นั้นขึ้นอยู่กับ “ปัญญา” หรือ “คุณธรรม” ของแต่ละบุคคล ถ้าบุคคลหลุดพ้นออกมาได้จากการครอบงำ (ยึดติด)
ในขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ซึ่งเป็นผู้ที่พบ “ทาง” หรือ “มรรค” หรือ “ตถาตา” หรือ “ธรรม”
แล้วบุคคลเหล่านั้นย่อมได้เห็นและเข้าใจสภาพธรรมชาติของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายขันธ์ 5 ที่ไหลไปตาม
กระแสอยู่เนื่องนิจ (ไม่มีแม้แต่ยมฑูตที่คอยคร่าชีวิต)


ขันธ์ 5 (รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ประกอบรวมกันเป็นร่างกายของมนุษย์ (สัตว์) ซึ่งแยกออก
อย่างหยาบๆ ได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เห็นเป็นรูปของร่างกายและใจ ซึ่งใจนี่แหละเป็นตัวบงการเป็นเจ้านายคอย
กำ ชับสั่งการไม่เคยว่างเว้น เริ่มตั้งแต่เกิดมาเป็นมนุษย์ไปจนกว่าบุคคลนั้นจะหลุดพ้นเป็นอิสระพ้นจากอำ นาจ
แรงดึงของใจได้เสียก่อน ฉะนั้นถ้าบุคคลใดมีอุบายหรือวิธีการใดๆ ที่ช่วยให้ตนเองหลุดพ้นไปจากอำ นาจการบง
การของ “ใจ” ได้ซึ่งวิธีหรืออุบายเหล่านี้เรียกว่า “วิปัสสนา” เป็นกระบวนการที่ทำ ให้เกิดปัญญารู้เห็นตามความ
เป็นจริง เป็นปัญญาที่แรงกล้าสามารถตัดกระชากแรงดึงของใจที่เคยยึดเหนี่ยวผูกมัดบุคคลไว้ให้ขาดผึงออกไป
ได้ เราจึงเรียกบุคคลผู้ที่ตัดขาดจาก “ใจ” ได้ว่าเป็นผู้พบทาง (มรรค) เป็นผู้ที่พบความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถาตา) ซึ่ง
เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกนี้หรือไม่ “ตถาตา” ก็มีอยู่แล้วเป็นธรรม
ชาติของสัตว์ทุกผู้ทุกนาม เพียงแต่การที่บุคคลไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริงได้ เพราะยังก้าวไม่พ้นไปจากอำ นาจ
การบงการของ “ใจ” ด้วยเหตุนี้ในบางครั้งจึงเรียกตถาตาว่า “จิตอิสระ” ก็เพราะเป็นอิสระ เป็นไทพ้นไปจากแรง
มัดแรงดึงของ “ใจ” ได้แล้วนั่งเอง และถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะเข้าถึงมรรค เขาก็ยังมีใจอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ว่า
บุคคลผู้นั้นจะมิอิสระในการที่จะเลือกใช้ หรือไม่ใช้ “ใจ” ในทางตรงกันข้าม “ใจ” ก็ยังไม่เลิกรายังคงพยายามหา
อุบายที่ละเอียดซับซ้อน เพื่อเพิ่มกำ ลังของ “แรงดึง” ให้มากขึ้นตามลำ ดับ ดังนั้นบุคคลที่เพิ่งพบทาง (มรรค) จึง
เปรียบเสมือนผู้ที่มีพละกำ ลังและเชาว์ปัญญาไหวพริบน้อย จึงควรหมั่นเจริญทางของตนเองให้โล่งโปร่ง
ปราศจากสิ่งกีดขวางรกรุงรังที่ “ใจ” พยายามนำ มาปรนเปรอล่อหลอกอยู่ทุกวัน จนกว่าจะพ้นจากอำ นาจแรงดึง
ของ “ใจ” และไม่กลับมาคบหากับ “ใจ” ได้อย่างถาวรตลอดไป


“ใจ” ของทุกคนนี้แหละคือผู้ที่ทำ หน้าที่จดความดี ความชั่ว (บุญบาป) เอาไว้ทั้งหมด ดังนั้นนักปราชญ์
จึงมักจะเตือนสติไว้ว่า “บุคคลกระทำ การสิ่งใดลงไปไม่ว่าจะเป็นบุญเป็นบาป ถึงแม้จะไม่มีใครรู้ ใครเห็น แต่จะ
หนี “ใจ” ของตนเองไปไม่ได้ “ใจ” จึงเปรียบเสมือนเทปหรือหน่วยบันทึกความจำ ที่ทำ หน้าที่จดจารึกบันทึกข้อ
มูลไว้อย่างละเอียด และซื่อตรงจนกว่าถ่านจะเสื่อมหรือหมดสภาพไปเสียก่อน (เจ็บ ชราภาพ หรือตาย)
บุคคลที่สามารถก้าวพ้นออกไปจากอำ นาจบงการของ “ใจ” แล้วทำ ตัวเป็นนายหรือ “ใจ” ได้ ข้อมูลส่วน
ใหญ่ที่เก็บไว้จะเป็นข้อมูลด้านดี เป็นกุศลสำ หรับบุคคลที่เพียรพยายามหาทางเอาชนะกิเลสและลดบทบาท
อำ นาจของ “ใจ” ลงได้บ้างแล้วนั้น คงจะสะสมข้อมูลด้านกุศลไว้มากพอสมควร และบุคคลที่ยังมี “ใจ” เป็นนาย
คอยฉุดรั้งบังคับ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่บันทึกไว้จะอัดแน่นเต็มไปด้วยขยะ และสิ่งปฏิกูลรอเวลาที่ม้วนเทปจะกรอก
กลับโดยมีความสัมพันธ์กับแรงของกุศลกรรมและอกุศลกรรม และเมื่อนั้นนรกหรือสวรรค์จะปรากฎให้เห็นเป็น
อย่างไรขึ้นอยู่กับอำ นาจ “แรงดึง” ของ “ใจ” ซึ่งจะสัมพันธ์กับ “ปัญญา” ของแต่ละบุคคลอีกด้วย
พระพุทธศาสนาได้แบ่งระดับของการปฏิบัติตนไว้ 3 ระดับ คือ การให้ทาน (บริจาคทาน) การรักษาศีล
และการปฏิบัติภาวนา


การให้ทาน (บริจาคทาน) เป็นกิจกรรมที่ทุกคนรู้จักและประพฤติปฏิบัติกันจนชำ นาญ มีจุดมุ่งหมายที่
สำ คัญเพื่อให้แต่ละบุคคลรู้จักการเสียสละละเสียซึ่งความตระหนี่ ให้สิ่งซึ่งเป็นของของตนแก่ผู้อื่นด้วยความเต็ม
ใจไม่รู้สึกเสียดาย และไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับคำ ว่า “ทำ บุญ” มากกว่า เช่น การทำ
บุญตักบาตร (การบริจาคอาหารเพื่อเป็นทานถวายพระสงฆ์) การทำ บุญถวายสังฆทาน การทำ บุญทอดผ้าป่า
(กฐิน) ฯลฯ หรือ การบริจาคเงินช่วยเด็กกำ พร้า การบริจาคเงินช่วยช้างไทย การเสียสละแรงกายเพื่อขุดถนน ลอก
ท่อระบายนํ้า ฯลฯ การกระทำ ทั้งหมด นี้เรียกว่า การทำ บุญ (การสร้างกุศลคุณงามความดี) หรือให้ทาน (ให้ออก
ไปโดยไม่เสียดาย) ล้วนเป็นกุศลกรรมที่ควรกระทำ ทั้งสิ้น
ความรู้สึกอิ่มเอิบหัวใจพองโต หรือสุขใจจนบางครั้งอาจจะมีนํ้าตาคลอดเบ้า ลำ คอที่ตีบตันจนพูดไม่
ออกถึงแม้เวลาจะผ่านไปนานสักเท่าใดแต่ “ใจ” ไม่เคยลืมได้จดบันทึกไว้เรียบร้อยแล้วนึกขึ้นมาเวลาใดก็ยังได้
ความรู้สึกเดิมเป็นความรู้สึกที่ “อิ่มบุญ” บุญกุศลเหล่านั้นเปรียบได้ดั่งเป็น อริยทรัพย์ เป็นกองทุนบุญหรือ
ธนาคารบุญอยู่ในจิตใจของแต่ละคน เป็นทรัพย์ที่ใครอื่นจะมาขอหรือแย่งชิงไปไม่ได้
ถ้าจะเปรียบวงจรชีวิตของบุคคลคนหนึ่งก็เหมือนกับการเดินทางไกล เพราะต้องวนตายเวียนเกิดอยู่ใน
สังสารวัฏนาน (จนกว่าจะพบ “ธรรม”) สิ่งจำ เป็นที่ต้องใช้ในระหว่างการเดินทาง คือบุญหรืออริยทรัพย์ที่จะบัน
ดาลได้ดังประสงค์ดุจแก้วสารพัดนึก
อย่างไรก็ดีการทำ บุญตามอัตภาพ ซึ่งหมายถึงการทำ บุญหรือบริจาคทานตามฐานะ หรือตามความ
สามารถของตนเองยังคงมีความสำ คัญอยู่สมํ่าเสมอ เพราะถ้าทำ บุญเกินฐานะจนเป็นสาเหตุให้ตนเองและครอบ
ครัวได้รับความเดือดร้อน สิ่งนั้นไม่ควรจะเรียกว่าบุญ ดังนั้นศรัทธาและปัญญาจึงควรจะดำ เนินไปควบคู่กัน
การรักษาศีล “ศีล” หมายถึง “ปกติ” หรือ “ความเป็นปกติ” แต่พวกเรามักจะเข้าใจว่า ศีล คือ ข้อห้าม
เพราะทุกครั้งที่พวกเราสมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8 คำ แปลในภาษาไทยจะเริ่มต้นด้วยคำ ว่า “ห้าม” เช่น ห้ามฆ่าสัตว์
หรือ “ห้าม” อื่นๆ จนครบ 5 ข้อ 8 ข้อ แต่หากจะแปลให้ตรงกับความหมายที่แท้จริงของ “ศีล” ควรจะแปลว่า
ปกติไม่ฆ่าสัตว์ ปกติไม่ลักทรัพย์ ฯลฯ
ดังนั้นมนุษย์ที่เป็นปกติทุกคนจึงควรมีศีลให้ครบเป็นปกติเช่นกัน เปรียบดังบ้านเรือนแต่ละหลังมีเสา
เรือนคอยคํ้ายันไว้ไม่ให้บ้านล้มลงฉันใด ศีลแต่ละข้อที่บุคคลควรรักษาไว้ให้เป็นปกติตามสมมุติของตนก็มีความ
สำ คัญฉันนั้น


คำ ว่า “สมมุติ” หมายถึง สถานะ หรือฐาน หรือตำ แหน่งที่แต่ละบุคคลกำ ลังดำ รงอยู่ในขณะนั้น เพราะแต่
ละบุคคลสวมบทบาทกันหลายสมมุติ เช่น เมื่ออยู่ที่โรงเรียนทำ หน้าที่สอนหนังสือให้ความรู้แก่นักเรียนสมมุติใน
ขณะนั้นคือเป็นครูเป็นอาจารย์ และเมื่อกลับเข้าบ้านสมมุติของบุคคลนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นพ่อ แม่ ลูก พี่ชาย น้อง
สาว ฯลฯ ตามฐานะ และหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัว ดังนั้นการรักษาศีลตามสมมุติที่ตนเองดำ รงอยู่
เช่น ฆราวาส ควรรักษาความเป็นปกติให้ครบ 5 ข้อ หรือ 8 ข้อ และถ้าเป็นพระภิกษุสงฆ์ต้องรักษาความเป็นปกติ
ให้ครบ 227 ข้อ ถ้าประพฤติปฏิบัติได้ครบถ้วนตามสมมุติของตนเองความสงบสุขจะบังเกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ
การปฏิบัติภาวนาเป็นการปฏิบัติตนในขั้นสุดท้ายที่ละเอียดมากขึ้น คือการ “ฝึกจิต” ซึ่งบุคคลจะก้าวมา
ถึงจุดนี้ได้ต้องผ่านการให้ทาน และการรักษาศีลซึ่งเป็นพื้นฐานของ “จิต” มาบ้างแล้ว การฝึกจิตของศาสนาพุทธ
ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
สมถกรรมฐาน คือ วิธีหรือหลักของการฝึกจิตให้รวมเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งแต่ละวิธีมีทฤษฎีของการฝึกแตก
ต่างกันออกไปตามความชำ นาญของแต่ละครูอาจารย์ เช่น กำ หนดจิตไว้ที่ท้องบ้าง หรือ ที่หัวใจบ้าง หรือที่ภาย
ในโพรงจมูกบ้าง ฯลฯ ถ้าสามารถ “นิ่ง” หรือ “สงบ” หรือ “รวมจิต” ไว้ในที่เดียวที่กำ หนดได้เรียกกระบวนการนี้
ว่า “สมาธิ”

ผลที่ได้จากการที่จิตเป็นสมาธิ คือ ความสว่าง สะอาด สงบ และว่าง ปรากฏการณ์ทางจิตเหล่านี้ยังอยู่ใน
ระดับโลกียธรรมเท่านั้น คือยังมีของคู่หรือมีสิ่งตรงกันข้ามให้เปรียบเทียบอยู่เสมอ เช่น ถ้าจิตได้ความสว่างแล้ว
จิตไม่สามารถดำ รงหรือยู่กับความสว่างได้ตลอดไปความมืดจะแทรกเข้ามาให้เห็นในทันที และถ้ามีความสะอาด
ย่อมมีความสกปรก มีสงบย่อมมีวุ่นวาย และมีว่างย่อมจะต้องมีความมีอยู่เป็นของคู่กัน
วิปัสสนากรรมฐาน คือหัวใจของพระพุทธศาสนาเป็นการสอนให้แต่ละคนเกิดปัญญา และใช้ปัญญานั้น
มาแก้ไข “ทุกข์” ที่เกิดขึ้นจากขันธ์ 5 วิปัสสนาเป็นหลักหรือวิธีการที่สอนให้แต่ละบุคคลรู้วิธีเข้าไปพบ (เห็น)
ธรรมชาติ หรือสภาพจิตเดิมของตนเองที่เป็นอิสระเป็นตัวคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะเรียกว่า “ตถาตา” หรือ
“ธรรมะ” ได้ทั้งนั้น (โลกุตรธรรม)
พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงหลักของการตัดสิน “ธรรม” ไว้ดังนี้ “ธรรมอันใดที่เป็นไปเพื่อการปล่อยการวาง
สิ่งนั้นและคือธรรมอันแท้จริง” ดังนั้นอุบายหรือวิธีของการฝึกจิตแบบใดก็ตามที่ผู้ฝึกนำ มาฝึกปฏิบัติอย่างต่อ
เนื่อง แล้วทำ ให้ผู้ฝึกเข้าถึงความรู้สึก หรือสัมผัสได้ว่าตนเองมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ซึ่งพอจะมีกรอบ
หรือหลักเกณฑ์เป็นสังเขปอยู่บ้าง ดังนี้
1. กิเลสที่สำ คัญ 3 ตัว คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ได้ลดน้อยลงไปตามลำ ดับ เพราะอุบาย
หรือวิธีการที่ฝึกปฏิบัติช่วยลดอำ นาจแรงดึงของ “ใจ” ได้
2. ครูอาจารย์ต้องมีความสามารถช่วยชี้แนะให้ศิษย์ก้าวเดินต่อไป จนถึงขั้นตอนของการแยก “จิต” ออก
จาก “ใจ” ได้ ถ้าบุคคลก้าวมาถึงจุดนี้ได้แล้วแต่ละคนจะมีความรู้สึกที่คล้ายคลึงกัน คือ “เหมือนกับจะตาย” ทุก
คนต้องต่อสู้กับความตาย ความทรมาน ความกลัว ฯลฯ ที่ “ใจ” จะสร้างภาพลวงเพื่อดึงไม่ให้ “จิต” หลุดพ้นไป
จากการยึดติดในขันธ์ 5 ฉะนั้นครูอาจารย์จึงต้องสามารถสอนให้ศิษย์เห็นความจริงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงย่อมมี
การเกิดขึ้น ตั้งดำ รงอยู่ได้เพียงชั่วคราว และจะต้องดับสลายกลายเป็นความว่างในที่สุด เพราะความไม่มีตัวตนที่
ถาวร และถ้าเมื่อใดที่ “จิต” สามารถแยกออกจาก “ใจ” ได้เมื่อนั้นผู้ฝึกจะเข้าใจความหมายของประโยคที่ว่า “ผู้รู้ก็
รู้ได้เฉพาะตน” ว่ามีคำ จำ กัดความเช่นนั้นจริงๆ ไม่ใช่จำ นนหรือจนด้วยเหตุผลที่จะหามาตอบ ผู้ฝึกจะหมดความ
สงสัยในครูอาจารย์ผู้สอน หมดความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
3. เมื่อผู้ฝึกเข้าถึง “มรรค” หรือ “ทาง” หรือ “ธรรม” แล้วไม่ได้หมายความว่าผู้ฝึกไม่เหลือกิเลสอีกแล้ว ผู้
ฝึกยังต้องฝึกปฏิบัติเพื่อไม่ให้กิเลสพอกพูน รวมทั้งต้องมีเวลาในการขุดรากถอนโคนกิเลสที่อัดแน่นอยู่ในใจ
(อนุสัย) ซึ่งจะเรียกกระบวนการนี้ว่า “การเจริญทาง” คือการทำ ให้มรรคหรือทางเดินของตนเองโล่งโปร่งอยู่
เสมอปราศจากขยะสิ่งปฏิกูล ซึ่งหมายถึงกิเลสแรงดึงจากทุกๆ ด้านไม่ให้มีโอกาสเข้ามาแผ่กิ่งก้านปกคลุมจนรก
รุงรังเหมือนการลุกลามอย่างรวดเร็ว และทำ ลายได้ยากของต้นไมยราบที่ขึ้นปกคลุมถนน บ้านพักอาศัย
4. ผู้ที่ได้ “ทาง” แล้วต้องทำ ภาระกิจหลักในการต่อสู้กับกิเลสไปจนกว่ากิเลสจะหมดหรือหมดพลังงาน
ที่ได้สร้างเหตุไว้เรียกว่าหมด “เชื้อ” ของการกลับมาเกิดอีกเป็นสภาวะ “นิพพาน” ฉะนั้น “นิพพาน” จึงไม่ใช่
สภาวะที่รู้ได้ด้วยใจ หรือเป็นเมือง เป็นสถานที่ เป็นวัตถุสิ่งของ ฯลฯ ที่จะหามาได้ด้วยทรัพย์สินเงินทอง หรือ


การสวดอ้อนวอนร้องขอ
วิธีการสอนของครูอาจารย์บางท่าน อาจจะมีวิธีการที่ลัดสั้น สามารถนำ ศิษย์เข้าไปถึงข้อ 2 คือการได้พบ
“ทาง” ก่อน แล้วจึงค่อยนำ ศิษย์ไปเก็บรายละเอียดในข้อ 1-3-4 ตามลำ ดับ
ครู-อาจารย์ผู้สอนทุกคนล้วนแต่สอนได้ถูกต้องเพราะความถูกต้องมีด้วยกันหลายระดับ
1. ถ้าสอนให้ลูกศิษย์มุ่งแต่ทำ บุญ (บริจาคทาน) และยึดติดในบุญเหล่านั้น ทางไปเบื้องหน้าคือสวรรค์
และจะกลับมาเกิดอีกเมื่อหมดอำ นาจของบุญ
2. ถ้าสอนให้ลูกศิษย์ติดในฌาน (ความสงบนิ่ง) ทางไปเบื้องหน้า คือ พรหม และจะกลับมาเกิดอีกเมื่อ
หมดอำ นาจของฌาน
3. ถ้าสอนให้ลูกศิษย์เห็น “ธรรม” จิตหลุดพ้นไปจากการยึดติดในขันธ์ 5 ได้ ทางไปเบื้องหน้าคือการไม่
กลับมาเกิดอีก เพราะเชื้อหรือเหตุของการเกิดคือกิเลสได้ถูกทำ ลายไปจนหมดสิ้น (ในกรณีที่ยังชำ ระกิเลสให้
หมดโดยสิ้นเชิงไม่ได้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้นั้นจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ”)
สำ หรับงานสอนด้านสมาธิวิปัสสนา พระอาจารย์จะปูพื้นฐานให้ผู้ฝึกได้สัมผัสกับความนิ่งสงบก่อน ใน
อดีตพระอาจารย์จะสอนและนำ ไปถึงฌาน 4 แต่โดยประมาณตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา การสอนให้ไปถึง
ฌาน 4 ทำ ได้ยาก เนื่องจากแรงดึงของพลังงานตามธรรมชาติมีกำ ลังมากขึ้น (จะอธิบายเรื่องของพลังงานในเรื่อง
“พลังจิต”)
พระอาจารย์ให้ความรู้เรื่องญาณอย่างละเอียดและคอยกำ ชับไม่ให้ลูกศิษย์ติดอยู่ในฌาน เพราะถ้าถูก
“ใจ” หลอกลวงซํ้าแล้วซํ้าอีกจะทำ ให้ถอนออกมาได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อผู้ฝึกเข้าไปถึงรูปละเอียดที่เป็นแสงสว่าง
จะทำ เกิดภาพนิมิตที่เป็นจริงบางหรือลวงตาบ้าง จนคิดว่าตนเองเก่กล้าสามารถรู้เห็นทุกอย่างได้และกลายเป็นผู้
วิเศษไปตามอารมณ์ของ “ใจ” ขั้นสุดท้ายจะอยู่ในฌานลึกที่สุดคือความว่างที่ไม่มีอะไรเลย ซึ่งเป็นจุดอันตราย
และผู้ฝึกส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดกันอยู่เสมอว่า “ความว่าง” ที่มีตนเข้าไปถึงและกำ ลังดำ รงอยู่นั้นคือสภาวะ
“นิพพาน” ถ้าผู้ฝึกไม่สามารถถอนความรู้สึกออกมาจาก “ใจ” ได้จะมีผลต่อไปอีกนานทีเดียว คือเมื่อหมดอายุขัย
บุคคลผู้นั้นจะบังเกิดในสวรรค์ชั้นอรูปพรหมและเสวยอารมร์ของฌานตราบนานเท่านาน เป็นที่น่าเสียดายที่ต้อง
หยุดชะงักความเพียรลงไปชั่วคราว (เทวดาหรือพรหมไม่สามารถฝึกจิตเพื่อบรรลุธรรมชั้นสูงได้ เนื่องจากขันธ์ 5
ไม่ครบ เพราะขาดตัวรูปและเวทนา)
ผู้ฝึกที่ฝึกปฏิบัติจนไปถึง “แสงสว่าง” ได้แล้วถ้ารู้อุบายอีกเพียงนิดเดียวก็จะสามารถแทงทะลุผ่านพ้น
แรงถึงของ “ใจ” ได้ก่อนอื่นผู้ฝึกควรจะรับรู้ความจริงเกี่ยวกับ “ใจ” ไว้บ้างว่า “ใจ” ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5
เป็นอายตนะภายในที่คอยรับอารมณ์ และเป็นต้นเหตุของทุกข์ ทุกข์ที่เกิดมาจากตาเห็นรูป จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส
กายรับสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง และใจรับอารมณ์ แล้วนำ มาปรุงแต่งจนกลายเป็นเรื่องใหญ่พอกพูนเป็นกิเลส
ตัณหา อุปทาน ฯลฯ


อุบายของการพ้นออกไปจาก “ความว่าง” มีอยู่หลายวิธี และอุบายวิธีหนึ่งที่พระอาจารย์ได้แนะนำ ไว้คือ
วงจรของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลาย เรียกเป็นภาษาบาลีว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นแสดงให้เห็นถึงธรรม
ชาติของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่าเมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วสิ่งเหล่านั้นสามารถตั้งดำ รงอยู่ (ทุกขัง) ได้เพียงชั่วคราวเท่า
นั้นจะต้องสลายกลายเป็นความว่าง (อนัตตา) เพราะไม่มีตัวตนที่ถาวร เมื่อใดมีความว่างปรากฏให้เห็น ความมีอยู่
ก็ต้องโผล่ออกมาให้เห็นด้วยเช่นกัน เมื่อถึงเวลาลงไม่สามารถเสพความว่างได้ตลอดกาล ฉะนั้นหลักหรืออุบายที่
จะช่วยให้พ้นออกไปจากความว่างได้ก็ด้วยการทำ ความว่างนั้นให้กลายเป็นความปกติ เห็นการวนรอบของกฎ
ไตรลักษณ์จากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง ฯลฯ โดยการนึกส่งความรู้สึก (จิต) ไปหาความว่าง (จะกำ หนดคำ
บริกรรมหรือไม่กำ หนดก็ได้) อาจจะใช้คำ บริกรรมว่าตั้งอยู่ๆ กำ หนดลงไปที่ความว่างจะใช้เวลาในการทำ งาน
ครั้งนี้ให้เสร็จเร็วหรือช้า นานเท่าใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นเคยชินกับการเสพความว่างมานานแล้วหรือไม่ กำ หนด
ตั้งอยู่ๆ ไปจนกระทั่งเห็นความว่างเปลี่ยนไปเป็นอนิจจังคือมีการกระเพื่อมเห็นอาการเกิดดับๆ เป็นปัจจุบันขณะ
ให้ผู้ฝึกปล่อยวางอาการเกิดดับๆ ที่เป็นของไม่เที่ยงจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ จิตจะพลิกเข้าถึงธรรม (วาง
เพราะไม่ยึดมั่น วางเพราะไม่ถือมั่น แรงดึงจาก “ใจ” จึงหมดอิทธิพล) ศาสนาพุทธสอนเรื่องของทุกข์และการดับ
ทุกข์ แต่ถ้าชาวพุทธไม่เข้าใจคำ สอนให้ถูกต้องแล้วจะพ้นไปจากทุกข์ได้อย่างไร
ความว่างไม่ใช่นิพพาน ดังนั้นนิพพานจึงไม่ใช่สภาวะที่ไม่มีอะไรเลย ตายแล้วย่อมไม่สูญเพราะบุญและ
บาปเป็นพลังงานของเหตุที่ได้สร้างไว้เรียบร้อยแล้ว
พระอาจารย์ไม่เน้นอยู่กับความนิ่งสงบมากนักเพียงแต่มีความประสงค์ให้ลูกศิษย์รู้จักอุบายของสมถ
กรรมฐานที่ถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากความนิ่งสงบให้เป็น พระอาจารย์จะมุ่งสอนวิปัสสนาที่ศึกษาการ
เคลื่อนที่ของจิตเป็น “ปัญญาวิมุติ” มุ่งเป้าหมายไปที่การทำ ให้จิตพลิกหลุดพ้นไปจากการยึดติดในขันธ์ 5 เข้าสู่
ทาง (มรรค)


ขอบเขตการสอนของพระอาจารย์จะครอบคลุมหลักการที่สำ คัญ 3 อย่าง คือ ธรรมชาติของการกระทบ
ผัสสะจะมีอยู่ 2 ส่วนเสมอ คือ นอกกับใน ซึ่ง “นอก” หมายถึง อายตนะภายนอก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ
“ใน” หมายถึง อายตนะภายใน คือ “ใจ” และ “ใจ” เป็นแหล่งของธาตุรู้ (วิญญาณธาตุ) ที่มากที่สุดของร่างกาย
ในขณะเดียวกันพระอาจารย์จะให้ความสำ คัญกับปัจจุขณะซึ่งมีจังหวะเท่ากับ 1 วินาที ซึ่งเป็นเวลาที่มนุษย์เราถูก
ดึงเข้าและผลักออกตามแรงดึงดูดของโลก (แรงโน้มถ่วง) ถ้าเราต้องการหลุดพ้นไปจากการยึดติดในขันธ์ 5 จึงจำ
เป็นที่จะต้องเลียนแบบจังหวะของแรงดึงดูดนี้ และข้อสุดท้ายอุบายส่วนใหญ่พระอาจารย์จะสอนให้ศิษย์เข้าถึง
ธรรมด้วยการเห็นกฎไตรลักษณ์ตัวแรก คือ อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)
เนื้อเรื่อง


ก่อนอื่นต้องตั้งคำ ถามก่อนว่าฝึกเจริญสติไปเพื่ออะไร เช่น เจริญสติเพื่อให้เกิดความระลึกรู้ คือมี
สติสัมปชัญญะในทุกอิริยาบถ หรือเจริญสติเพื่อให้เห็นความจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เรา
จะเข้าไปยึดไม่ได้ หรือเจริญสติเพื่อให้เห็นว่าเหตุเกิดขึ้นที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราต้องหาทางดับเหตุนั้นให้ทัน
เป็นปัจจุบันขณะ หรือเจริญสติเพื่อให้สติเต็มรอบพร้อมที่จะพลิกเข้าถึงธรรม (มรรค)
อุปสรรคสำ คัญที่คอบขัดขวางทำ ให้ผู้ฝึกปฏิบัติเข้าถึงธรรมได้ยากนอกจาก “ความว่าง” และ “ใจ” แล้ว
ยังมีอยู่อีกอย่างหนึ่งคือ “การสะสมตัวรู้วิญญาณธาตุ” เนื่องจากตัวรู้จะคอยตามรู้ ตามเห็นในทุกขั้นตอน ถ้าสะสม
ตัวรู้ไว้มากเท่าไรก็จะปล่อยตัวรู้ได้ยากเท่านั้น
มนุษย์เราทุกคนไม่ใครหนีความตายได้พ้นแม้แต่สักคนเดียว เพราะความตายเป็นของคู่กับการเกิด ดัง
นั้นมนุษย์จึงเกิดมาเพื่อรอความตาย แต่ในระหว่างเวลาที่การตายยังมาไม่ถึง มนุษย์ควรจะจัดสรรเวลาที่เหลืออยู่
ให้มีค่าเกิดประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่นมากที่สุด เคยมีใครตั้งคำ ถามถามตัวเองบ้างแล้วหรือยังว่า “ถ้าไม่มีการ
เกิดแล้วจะมีการตายได้อย่างไร หรือทำ อย่างไรจึงจะไม่กลับมาเกิดอีก”
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตรซึ่งในขณะนั้นยังคงเป็นผู้แสวงหาธรรมได้มีโอกาสพบกับพระ
อัสสชิที่มีลักษณะน่าเลื่อมใส แตกต่างจากนักบวชอื่นๆ ที่ตนเองเคยพบจึงได้เข้าไปหาและถามพระอัสสชิว่า
พระสารีบุตร ถาม ใครคือศาสดาของท่าน
พระอัสสชิ ตอบ พระสมณโคดมคือศาสดาของเรา
พระสารีบุตร ถาม ศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร
พระอัสสชิ ตอบ ศาสดาของเราสอนว่า “ธรรมอันใดเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุเกิด ผลย่อม
เกิด เมื่อเหตุดับผลย่อมดับ”
หลังจากนั้นพระสารีบุตรได้ออกบวชและเป็นกำ ลังสำ คัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา
การฝึกรับการกระทบนอกสามารถใช้ฐานได้ทั้งส่วนที่เป็นอายตนะภายนอกซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
หรืออายตนะภายใน ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่าใจและตั้งอยู่ภายในหัวใน หรืออาการของความเจ็บความปวดซึ่งเป็น
อาการเวทนาของกาย
การกระทบของผัสสะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ไม่สามารถรับรู้การกระทบที่มี
ทั้งการเกิด และการดับอย่างรวดเร็วภายใน 1 วินาที จึงจำ เป็นต้องมีการฝึกเพื่อให้ผู้ฝึกมีสติเห็นการกระทบของ
ผัสสะที่เกิดขึ้นที่ฐานต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ฯลฯ และผู้ฝึกต้องทำ หน้าที่ดับการกระทบนั้นให้ทันเป็นปัจจุบันขณะ
ภายใน 1 วินาทีให้ได้ เช่นเมื่อมีแสงมากระทบที่ตา (เกิด) ผู้ฝึกต้องดับที่ตาทันที จึงจะไม่เกิดเป็นภาพหรือเก็บเป็น
อารมณ์ค้างไว้ที่สมองหรือใจ ถ้าผู้ฝึกสามารถดับเหตุที่เกิดขั้นได้เป็นปัจจุบันขณะจัดได้ว่าเป็นบุคคลที่มีสติเป็น
ยอด และถ้าได้ฝึกอย่างต่อเนื่องไปสักระยะหนึ่ง ผู้ฝึกจะสัมผัสกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติด้วยตนเอง เป็นความ
รู้สึกตึ๊บๆ ตึ๊บๆ เหมือนจังหวะการเต้นของชีพจรเกิดที่ขึ้นที่ฐานที่ใช้ทดลองฝึก เช่น ตา หู จมูก ฯลฯ และแผ่ขยาย
ออกไปทั่วทุกส่วนของร่างกายความรู้สึกตึ๊บๆตึ๊บๆ ในช่วงแรกๆ จะเกิดขึ้นเป็นปกติเป็นปัจจุบันขณะซึ่งมีความถี่
เร็วเท่ากับเวลา 1 วินาที ความรู้สึกตึ๊บๆ ตึ๊บๆ นี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบถไม่ใช่เฉพาะเวลานั่งฝึก
ปฏิบัติเท่านั้น


กานํ้าที่ร้อนที่ตั้งอยู่บนเตาไฟ เมื่อถึงเวลานํ้าในกาเดือดไอนํ้าจะพุ่งออกมาจากพวยกา แรงดันของนํ้าจะ
ทำ ให้ฝาที่ปิดอยู่เผยอขึ้นลง จังที่ฝากากระทบกับตัวกาจะทำ ให้เกิดเสียงดัง และเสียงจะถี่เร็วขึ้นๆ ตามลำ ดับ และ
ถ้าหากเราไม่ยกกานํ้าร้อนลงจากเตานํ้าจะพุ่งทะลักออกทางพวยกา เนื่องจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ฝึกได้เห็นความจริงแล้วว่าอาการที่ขันธ์รับการกระทบของผัสสะนั้นมีอยู่ตามธรรมชาติ เพราะตราบใด
ที่เรายังมี ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เราต้องได้รับรู้ถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“แรง” ที่เกิดจากการกระทบมีการเกิดดับเป็นปกติรับความรู้สึกเป็นจังหวะตึ๊บๆ ตึ๊บๆ และจังหวะของ ตึ๊บๆ ตึ๊บๆ
จะเกิดถี่เร็ว และแรงขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ฝึกรู้สึกว่าตนเองแทบจะรับแรงสั่นสะเทือนนั้นไม่ไหวอีกต่อไป เพราะภาวะ
ที่เกิดขึ้นเป็นวิถีของจิตที่ได้เกิดขึ้นตามลำ ดับจากการฝึกเจริญสติ ตั้งแต่เห็นการกระทบเป็นปกติและเป็นปัจจุบัน




บันทึกการเข้า
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 02:17:36 PM »

Permalink: การเจริญสติ
ขณะ จนกระทั่งถึงการมีสติที่เต็มรอบ ผู้ฝึกจะมีความรู้สึกเหมือนกับร่างกายจะระเบิดออก ขณะที่ผู้ฝึกก้าวมาถึง
ขั้นตอนสุดท้ายของอุบายแล้ว คือการ “วาง” หรือ “ปล่อย” ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลว่าจะ “วาง” หรือ
“ปล่อย” อย่างไรจิตจึงจะพลิกเข้าถึงธรรม เข้าถึงมรรคเห็นทางเดิน
คำ ตอบสุดท้ายที่ผู้ฝึกจะตอบได้ด้วยตนเองโดยปราศจากข้อสงสัยทั้งปวงอีกต่อไป คือคำ ถามที่เคยถามว่า
“มรรค” ที่เรียกว่าทางเดิน หรือ “ธรรมะ” คืออะไร มีลักษณะเป็นเช่นไร อยู่ที่ไหน ฯลฯ
ผู้ฝึกจะเข้าใจชัดเจนว่าทำ ไม ครูอาจารย์จึงกล่าวเสมอว่า “ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน หรือ ครูอาจารย์ บอกได้
เฉพาะวิธีที่จะไปเท่านั้น แต่ไม่สามารถพาใครไปได้”
การเจริญสติเพื่อให้เห็นอาการเกิดและดับที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ อาจจะดัดแปลงให้เป็นอีกหลายๆ
อุบาย แต่จะอยู่บนพื้นฐานของ “แรง” ตามธรรมชาติที่มากระทบเป็นจังหวะ 1 วินาทีเสมอ เนื่องจากจิตจะหลุด
พ้นไปจากแรงดึงของขันธ์ 5 ที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของแรงดึงของโลกอีกทอดหนึ่งได้ อุบายของการฝึกจะต้องมี
เวลาเท่ากับจังหวะของแรงดึงเหล่านั้น
การที่จิตจะพลิกเข้าถึงภาวะนั้นไม่ได้เกิดจากการมีสติเต็มรอบเพียงอย่างเดียว เพราะในบางอุบายผู้ฝึก
อาจจะต้องผ่านขั้นตอนของการเห็นรูปหยาบจนถึงรูปละเอียด หรือในบางครั้งผู้ฝึกอาจจะได้รู้วิธีคลายปมแต่ละ
ปมในร่างกายที่ถูกผูกถูกยึดไว้ด้วย “แรงของตัณหา” จนกว่าปมเหล่านั้นจะถูกคลายได้หมด หรืออาจจะได้ศึกษา
อาการของการ “ตั้งอยู่” (ทุกขัง) หรือ “ความว่าง” (อนัตตา) ว่าในที่สุดแล้วธรรมชาติของการตั้งอยู่ หรือความว่าง
จะมีลักษณะของการเกิดและการดับอยู่เสมอไม่สามารถตั้งอยู่ หรือว่างได้ตลอดกาล
บทสรุปสั้นๆ ของการเจริญสติ มีดังนี้
การเจริญสติจะกำ หนดการฝึกที่ฐานใดก็ได้ เมื่อกระทบแล้วให้ปล่อยเป็นปัจจุบันขณะ (ถูกปล่อย) หรือ
ดับที่เหตุ คือดับที่จุดรับการกระทบ และปล่อยเป็นความว่างให้เป็นปัจจุบันขณะ จิตจึงจะหลุดพ้นเข้าถึงธรรมได้
การเจริญสติเพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะจะเป็นสติที่ยังเนื่องด้วยการรู้ตัว จิตไม่สามารถหลุดพ้นเข้าถึง
ธรรมได้ เพราะยังติดตัวรู้
พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่คงเคยเห็นพระพุทธรูปปางแสดงธรรมจักรกันบ้างแล้ว (ปางแสดงปฐมเทศนา)
และมักจะมีจะมีประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมจักรผ่านตาอยู่เสมอๆ เช่น
ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร : ซึ่งใจความสำ คัญในพระสูตรบทแรกนี้มีความเกี่ยวข้องกับธรรมจักรอย่างไร
บ้าง
ธรรมจักรหํ้าหั่นหมู่มาร : หมายความว่าธรรมจักรเป็นอาวุธชนิดหนึ่งหรืออย่างไร และหมู่มารหมายถึง
สิ่งใดกันแน่
พุทธบริษัท 4 ช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักร : ความหมายของพุทธบริษัท 4 เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนต่าง
เข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่ทำ ไมต้องช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักร มีความนัยอะไรซ่อนเร้นอยู่หรือเปล่า และพระพุทธ
รูปปางแสดงธรรมจักร (ปางแสดงปฐมเทศนา) ที่มีลักษณะเด่น คือ ทั้งพระหัตถ์ขวาและซ้ายอยู่ในท่าจีบเป็นวง
กลม และยกอยู่เสมอพระอุระนั้นสื่อความหมายว่าอย่างไร
พระพุทธศาสนามีอายุสืบทอดมายาวนานจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้นับเป็นเวลามากกว่า 2,500 ปี ความผิด
พลาดย่อมเกิดขึ้นได้จากการแปล หรือการตีความหมายของภาษาเดิมเป็นภาษาไทย จึงเป็นเหตุให้หลักธรรม
สำ คัญบางข้อขาดหายไป ทำ ให้การประพฤติปฎิบัติจึงลบเลือนไปตามหลักธรรมที่ถูกแปลเพี้ยนไปจากเดิม
เราลองมาย้อนทบทวนพุทธประวัติกันอีกสักครั้ง
เมื่อพระเจ้าสิทธัตถะทรงออกบรรพชา ความรู้ครั้งแรกได้ทรงศึกษาจากอาจารย์ที่เป็นฤาษี ชื่อ อาฬาร
ดาบส และอุทกดาบส ซึ่งสอนให้บำ เพ็ญเพียรอยู่ใน “ฌาน” คือการอยู่กับความสงบนิ่งภายในใจ กำ หนดดิ่งลงไป
ลึกที่สุดขนาดเกิดฟ้าผ่าใกล้ๆ ตัวยังไม่ได้ยินเสียง หรือรู้สึกตัว ทรงอยู่กับ “ฌาน” นานจนแน่ใจแล้วว่าไม่ใช่หน
ทางของการพ้นทุกข์ จึงทรงถอนความรู้สึกออกมาจาก “ใจ” ซึ่งเป็นอายตะภายในจากนั้นได้ทรงเริ่มบำ เพ็ญเพียร
ใหม่ โดยการอดอาหารทรมานกายซึ่งเป็นอายตนะภายนอก (บำ เพ็ญทุกกิริยา) จนซูบผอม และหมดแรง (แทบจะ
เรียกได้ว่าเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก) จึงทรงรู้ชัดเจนอีกครั้งว่าการทรมานกายก็มิใช่หนทางที่จะนำ ไปสู่การบรรลุ
ธรรมเช่นกัน ซึ่งทรงเลิกอดอาหารหันมาดูแลเอาใจใส่ร่ายกาย และทรงเสวยพระกระยาหารเป็นปกติ ทำ ให้ปัญจ
วัคคีย์ เหล่านักบวชทั้ง 5 รูปที่คอยดูแลปรนนิบัติอยู่ในขณะนั้นเสื่อมศรัทธา และหนีจากไป หลังจากทรงฟื้นฟู
ร่างกายดีขึ้นพอสมควรแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้เริ่มบำ เพ็ญเพียรใหม่อีกครั้ง โดยทรงกำ หนดจิตเข้าไปอยู่กึ่ง
กลางระหว่างสองส่วน คือไม่ติดในที่เป็นความสุขในฌาน (ใจ) และไม่ติดนอก คือการทรมานกาย จนกระทั่งใน
ที่สุดได้ทรงบรรลุธรรม รู้แจ้งในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เรียกว่าทรงตรัสรูเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บุคคลแรกที่ทรงคิดจะไปเทศนาโปรด คือพระอาจารย์ฤาษีทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้ที่ติดใน หรือติดในฌาน (ติด
ความสุขในใจ) แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าพระอาจารย์ฤาษีเสียชีวิตไปแล้ว และกำ ลังเสวยอำ นาจของฌานอยู่บน
พรหมโลก จึงทรงนึกต่อไปถึงปัญจวัคคีย์ที่เคยอุปัฏฐากดูแลพระองค์มา และเป็นกลุ่มที่ติดนอก คือชอบการ
ทรมานกาย ได้ทรงตามไปพบปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันและทรงแสดงพระสูตรบทแรกเป็นปฐมเทศนา
ที่เรียกว่า “ธรรมจักกัปปวัตนสูตร” ซึ่งมีใจความสำ คัญตอนหนึ่งว่า “บรรพชิตไม่เสพสิ่งสุดโต่ง 2 ส่วน” ซึ่งเมื่อ
ท่านโกณฑัญญะได้ฟังก็เข้าใจความหมายได้ทันทีว่าให้กำ หนดจิต (ความรู้สึก) ไม่ให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดไม่ว่าจะ
เป็นส่วนนอก (กาย) หรือส่วนใน (ใจ) และเมื่อจิตของท่านโกณฑัญญะไม่ติดทั้งนอกและใน จึงเกิดหมุนวนของ
จิตระหว่างนอกในนอกสัมพันธ์กัน ทำ ให้ท่านโกณฑัญญะบรรลุธรรมในทันที
ใจความในพระสูตรบทแรก “ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร” ตอนหนึ่งที่เขียนไว้ว่า “บรรพชิตไม่เสพสิ่งสุด
โต่ง 2 ส่วน คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตถกิมลถานุโยค” ซึ่งต่อมาได้ แปลกามสุขัลลิกานุโยคว่าเป็นสิ่งที่น่า
ปรารถนา หรือความติดใจในกาม เรียกว่า กามคุณ 5 ซึ่งได้แก่ ความติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส โดย
ลืมไปว่าอารมณ์ติดสุขในฌานก็ถือว่าเป็นกามเก็บสะสมไว้ใน “ใจ” ฉะนั้นเมื่อลืมเหตุที่สำ คัญ คือ “ใจ” จึงเป็น
เหตุให้ “ธรรมจักร” ไม่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อมา เพราะไม่รู้จริงว่าส่วนสุดโต่ง 2 ส่วน ที่ถูกต้องคือสิ่งใด
ภาพของพุทธบริษัท 4 ซึ่งได้แก่ พระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักรหํ้า
หั่นหมู่มาร จึงน่าจะให้ความหมายได้ดังนี้
ธรรมจักร แยกคำ ออกได้เป็น ธรรม + จักร
ธรรม ธรรมะ หมายถึง ธรรมชาติของการกระทบ
จักร หมายถึง สิ่งหรือวัตถุที่มีการเหวี่ยงหมุน หรือหมุนเป็นวง
ธรรมจักร จึงหมายถึงธรรมชาติของการกระทบที่มีการเหวี่ยงหมุนเคลื่อนที่อยู่เสมอ ไม่ติดนิ่งอยู่กับที่
หนึ่งที่ใดเพียงที่เดียว พุทธบริษัท 4 จึงควรมีสติตามทันเป็นธรรมชาติของการกระทบที่เคลื่อนที่หมุนวนอยู่เสมอ
จากนอกในนอก เหมือนการหมุนของจักรจึงจะสามารถต่อสู้กับหมู่มารทั้งหลาย โดยเฉพาะขันธมารที่ประกอบ
ด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดุจเดียวกับพระพุทธรูปปางแสดงธรรมจักร (ปางแสดงปฐมเทศนา)
ที่ยกพระหัตถ์ทั้งขวาและซ้ายสูงเสมอพระอุระในท่าจีบเป็นวงกลมทั้งสองข้าง เพื่อสื่อความหมายของการเคลื่อน
ที่ของจิตที่หมุนวนสัมพันธ์กันระหว่างกาย (นอก) กับใจ (ใน) จึงจะทำ ให้กิเลส อนุสัย ลดลงได้
การฝึกเจริญสติเพื่อให้เห็นอาการเกิดดับ เป็นปัจจุบันขณะผู้ฝึกจะดับได้ทันที่เหตุ หรือดับได้ทันทีที่จุด
รับการกระทบ (อายตนะ) ซึ่งเป็นอุบายที่ค่อนข้างยากทีเดียว
เมื่อแสงมากระทบที่ตา (ถูก) ผู้ฝึกต้องปล่อยเป็นความว่างเป็นปัจจุบันขณะทันที ถูกปล่อย ถูกปล่อย ไป
เรื่อยๆ
สำ หรับอุบายใหม่ที่ง่ายกว่าจะเป็นดังนี้
เมื่อแสงมากระทบที่ตา (ถูก) ผู้ฝึกดับที่ตาไม่ทันเพราะการกระทบเกิดขึ้นเร็วมาก ความรู้สึก (จิต) จะ
เคลื่อนไหวไปถึงใจ (รู้) ผู้ฝึกตามมาทันที่ใจ และดันจากใจเป็นความว่าง (ปล่อย)
วงโคจรของการเจริญสติแบบนี้จึงเป็น ถูกรู้ปล่อย ถูกรู้ปล่อย หมุนวนต่อเนื่องระหว่างนอกในนอก
ธรรมจักรทำ หน้าที่กวาดขยะอารมณ์ กิเลส ตัณหา และหากผู้ฝึกได้ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ผู้ฝึกจะเห็นว่าอาการ
หมุนวนนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องกันอยู่ ความรู้สึกปล่อยวางไม่ยึดในอาการหมุนวน
นั้น หรือจะเรียกว่าปล่อยวางการหมุน จิตจะพลิกเข้าถึงมรรค (ทาง) หมดความสงสัยในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
สำ หรับบางท่าน อาจจะเกิดการหมุนของธรรมจักรที่เร็วและแรงขึ้นตามลำ ดับ จนเต็มรอบเกินจะต้านไว้
ได้ ผู้ฝึกต้องปล่อยวางการหมุนนั้นจิตจึงจะพลิกเข้าถึงธรรมเช่นกัน
อาการที่จะเกิดขึ้นกับผู้ฝึกทุกคน เมื่อฝึกมาถึงการมีสติเต็มรอบแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ถูกปล่อย (เกิดดับ) หรือ
ถูกรู้ปล่อย (สมาธิหมุนการหมุนธรรมจักร) ผู้ฝึกจะรู้สึกเหมือนใจกำ ลังจะขาด หรือกำ ลังจะตาย เพราะจิตกับใจ
กำ ลังจะขาดออกจากกัน ผู้ฝึกต้องรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมการหลอกล่อของ “ใจ” และความรู้สึกเหล่านั้นจากเกินกว่าจะ
บรรยายให้รู้ซึ้งได้ ผู้ฝึกน่าจะพยายามก้าวไปให้ถึง เพื่อจะได้รับรู้ว่าเป็นความรู้สึกแบบใด
ถ้าตราบใดที่ธรรมจักรยังหมุนอยู่ตราบนั้นจะยังมีผู้บรรลุธรรมอยู่เสมอ
ธรรมะที่แท้จริง ไม่มีธรรมะ
ไม่มีธรรมะนั้นแหละ คือ ธรรมะ
ปัจจุบันถ่ายทอด ไม่มีธรรมะแล้ว
ธรรมะจะเป็นธรรมะ ไปได้อย่างไรกัน
บทส่งท้าย
ศาสนาพุทธของพระสมณโคดมได้สืบทอดอายุมาจนถึงปัจจุบันนี้ รวมเวลาได้ 2,547 ปีแล้ว และจะดำ รง
อยู่ต่อไปจนครบ 5,000 ปี ยุคปัจจุบันนี้ เรียกกันว่า เป็น “ยุคกึ่งพุทธกาล” ที่หลักธรรมคำ สอนของพระสมณโค
ดมถูกบิดเบือนจนผิดเพี้ยนไปจากคำ สอนเดิมที่ได้รับการชำ ระและสังคายนาในครั้งแรก หลังจากพระพุทธองค์
ปรินิพพาน เมื่อพุทธศตวรรษที่ 2 (พ.ศ. 200-300) ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งในครั้งนั้นพระองค์ได้
โปรดให้ส่งพระสมณฑูต 2 รูป นามว่า พระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระ ออกเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธ
ศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ
พระโสณะเถระเป็นพระอรหันต์
พระอุตตระเถระเป็นพระสงฆ์ที่ทรงพลังจิต (มีฤทธิ์) ได้แสดงฤทธิ์โดยการสร้างเท้าขวาให้มีขนาดใหญ่
ขึ้นมากและกดประทับฝ่าเท้าลงบนแผ่นหิน ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในหลายบริเวณของดินแดนสุวรรณภูมิ สร้าง
ความเข้าใจผิดให้แก่เหล่าพุทธศาสนิกชนและผู้พบเห็นในยุคต่อมาตราบจนปัจจุบัน โดยเข้าใจว่าเป็นรอยเท้าของ
พระพุทธองค์ ซึ่งถ้าศึกษาจากประวัติศาสตร์แล้วจะพบว่าในช่วงที่ทรงมีพระชนม์ชีพและทรงเผยแพร่พระพุทธ
ศาสนานั้น พระสมณโคดมไม่เคยเดินทางมายังดินแดนแถบสุวรรณภูมิเลย
พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงทำ นุบำ รุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญสูงสุด จนเรียกได้ว่าเป็น “ยุค
ทอง” ของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว หลังจากเวลาที่ผ่านไปกว่า 1,000 ปี พระพุทธศาสนาได้แยกย่อยออกเป็น
หลายนิกายหลายลัทธิ และลัทธิสำ คัญได้เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิอีกครั้งในรัชสมัยของพ่อขุนราม
คำ แหงมหาราช คือลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งมีสิ่งที่แตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชอยู่หลาย
ประการ เช่น พระสงฆ์เริ่มฉันเนื้อสัตว์ มีการแต่งตั้งพระสงฆ์ให้มีสมณศักดิ์ ฯลฯ
จากยุคสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา-กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะเวลาผ่านไปอีกร่วม 1,000 ปี การ
ถ่ายทอดและสืบทอดหลักธรรมคำ สอนย่อมมีความผิดเพี้ยนเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน หลักธรรมและวิธีฝึกปฏิบัติที่
ถูกต้องยังคงมีเหลืออยู่ไม่ได้สูญหายไปจนหมดสิ้น เพียงแต่บุคคลที่สนใจจะมีโอกาสได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ในสิ่ง
ที่เป็นความถูกต้องเหล่านั้นหรือไม่ (หรือจะรอเวลาให้เกิดเหตุการณ์ “การวนรอบ” เสียก่อนจึงค่อยคิด)
พลังงานเสียง พลังงานแสง ตลอดจนธาตุบริสุทธิ์ของพระสมณโคดมยังคงเป็นพลังงานที่มีอยู่ในโลกนี้
ฉะนั้นผู้รู้ ผู้มีพลังจิตยังคงสามารถเข้าไปค้นพบพลังงานเสียง พลังงานแสง (ภาพพระพุทธองค์) และพระบรม
สารีริกธาตุของพระพุทธองค์ได้อยู่เสมอ ตราบจนกระทั่งครบ 5,000 ปี ซึ่งในวันนั้นพลังงานเก็บพลังงานตกค้าง
ทุกชนิดของพระสมณโคดมจะมารวมตัวกันและถูกทำ ลายโดยเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) จนหมดสิ้น เป็นการปิดฉาก
พระพุทธศาสนาที่มีศาสดาทรงพระนามว่า “พระสมณโคดม” และจะเป็นการเริ่มต้นของศาสดาองค์ใหม่ที่ทรง
พระนามว่า “ศรีอารยเมตไตรย” ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้คนในยุคนั้นจะมีอายุยืน มีโอกาสในการประพฤติ
ปฏิบัติธรรมได้นาน เนื่องมาจาก “แกนพลังงานโลก” ได้คืนกลับมาสู่ความเป็นปกติเรียบร้อยแล้ว
บันทึกการเข้า
สันต์ ธรรมะ
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 51
กระทู้: 21
สมาชิก ID: 1794


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 11:38:09 PM »

Permalink: การเจริญสติ
ขอเสนอแนวทางปฏิบัติ ตาแนวพระพุทธเจ้าครับ
http://www.dharma-of-buddha.blogspot.com/search/label/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กุมภาพันธ์ 03, 2024, 01:05:57 AM