เมษายน 19, 2024, 11:10:23 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมตตาภาวะ  (อ่าน 9506 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
๑ บาท
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 57
สมาชิก ID: 2008


« เมื่อ: กันยายน 13, 2012, 09:13:54 PM »

Permalink: เมตตาภาวะ
เมตตาภาวสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดให้ทานประมาณ 100 หม้อใหญ่ในเวลาเช้า ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ 100 หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ 100 หม้อใหญ่ ในเวลาเย็น

 ผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้า โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค

การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว 3 ครั้ง ในวันหนึ่งนั้น.






แม้ให้ทาน ร้อยหม้อใหญ่ ในยามเช้า

อีกร้อยเท่า เที่ยง-เย็น จนเป็นนิตย์

ยังผลด้อย น้อยกว่า..แผ่  เมตตาจิต

เพียงสักนิด แม้หยดหนึ่ง ซึ่งนมโค












เมตตาเจโตวิมุตติ

พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงสั่งสอนให้เจริญเมตตา แผ่จิตออกไปด้วยเมตตา คือความมีไมตรีจิต  รักสนิทด้วยไมตรีจิต
มุ่งดีปรารถนาสุข  ทั้งไม่เจือด้วยสิเน่หา  ความเยื่อใยผูกพัน

การแผ่จิตด้วยเมตตานี้ก็ด้วยอาศัยการคิดแผ่ไปก่อน ว่าถึงเป็นอัปปมัญญา  คือไม่มีประมาณ
ก็คิดแผ่ไปในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า ให้มีความสุขทุกถ้วนหน้า

ในทิศเบื้องหน้า  ในทิศเบื้องขวา  ในทิศเบื้องหลัง ในทิศเบื้องซ้าย  ในทิศเบื้องบน  ในทิศเบื้องล่าง
ในทิศขวางโดยรอบ

ให้จิตผ่องพ้นจากพยาบาท  ความมุ่งร้าย ตลอดจนพ้นจากราคะสิเน่หา ในบุคคล  ในสัตว์ทั้งหลายที่แผ่จิตไปนั้น
เมื่อจิตปรากฏเป็นเมตตาจิตขึ้นมา หากจะมีพยาบาทหรือราคะสิเน่หาใด ๆ มาก่อน กิเลสเหล่านี้ก็จะหลุดไปจากจิต

จึงเป็นเจโตวิมุตติ ความพ้นแห่งใจข้อหนึ่งเรียกว่าเมตตาเจโตวิมุตติ เมื่อเป็นชื่อของธรรมข้อนี้ ก็แปลว่า
ธรรมที่ทำให้ได้ความพ้นแห่งใจคือเมตตา





เมตตานี้ตรัสแสดงว่า มีความงามเป็นอย่างยิ่ง คือจะรู้สึกว่างามด้วยความสุขอันบริสุทธิ์ไปทั่วทุกทิศ ทั่วทุกบุคคลสัตว์ทั้งหลาย
ไม่ปรากฏความรู้สึกน่าเกลียดน่าชังใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีความรู้สึกที่เป็นพยาบาท หรือที่เป็นราคะสิเน่หาอันน่าเกลียดน่าชัง
ไม่มีรูปพรรณสัณฐานของบุคคลและสัตว์ใด ๆ ที่น่าเกลียดน่าชัง แม้ผู้ที่เคยเกลียดจิ้งจก  ตุ๊กแก

แต่ว่าเมื่อได้เจโตวิมุตติข้อนี้ ย่อมจะรู้สึกว่า จิ้งจกตุ๊กแกก็งามไปหมด  ไม่น่าเกลียด  ไม่น่าชังอะไร
จึงได้ตรัสว่า มีความงามเป็นอย่างยิ่ง คือน่ารักน่าใคร่ไปหมด แต่ว่า เป็นความรักใคร่ที่บริสุทธิ์ไม่เจือด้วยราคะสิเน่หา

คัดลอกจาก... ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน-หน้า ๖๑-๖๒
พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า  สกลมหาสังฆปริณายก




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2012, 10:49:48 PM โดย หนึ่งบาท » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มกราคม 14, 2024, 12:32:35 PM