เมษายน 19, 2024, 07:30:20 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากรู้ว่าที่ทำเรียกว่ารักหรือว่ายอม(โง่)  (อ่าน 8115 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
การรอคอยที่เจ็บปวด
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 35
กระทู้: 1
สมาชิก ID: 2242


« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2012, 08:08:58 PM »

Permalink: อยากรู้ว่าที่ทำเรียกว่ารักหรือว่ายอม(โง่)
เค้าบอกรักฉันทุกวัน ไม่เคยมีวันไหนเลยที่เค้าพูดว่าไม่รัก แต่เค้ามีภรรยาอยู่แล้วมีลูกด้วย แต่เค้าบอกว่าเค้าอยู่กับภรรยาเค้าก็เพื่อลูกของเค้า. เค้ากับภรรยาไม่ได้ยุ่งกันแบบสามีภรรยาทั่วไป. เค้าบอกว่าเค้ารักฉันมากอยากอยู่ด้วย มันเหมือนในละครเลยนะแต่ไม่รู้สิทำใมฉันถึงคิดว่าเค้าไม่ได้โกหกฉัน แต่ก็มีบ้างนะเวลาดูละครที่มันตรงกับตัวเองก็ยอมรับนะมีบ้างที่แอบคิดเหมือนกันว่าเค้าโกหกเรา แฟนเค้าก็เคยโทรมาหาเรานะว่าเรากับเค้าเป็นอะไรกัน.
แต่ฉันไม่รู้คิดอะไรในตอนนั้นฉันตอบเค้าว่าเราไม่ได้เป็นอะไรกัน แต่เค้าบอกนะว่าภรรยาเค้ารู้ว่าเราสองคนคบกัน เราคบกับผ่านไปประมาณหนึ่งปีครึ่งเค้าก็เริ่มที่จะพูดขอเลิกกับเรา แต่เราไม่เลิกเป็นแบบนี้อยู่หลายครั้งจนเราพูดกับเค้าว่า วันไหนที่พี่.....เลิกบอกรักหนูวันนั้นหนูก็จะยอมไปจากพี่เอง ในความคิดของเราคือเราไม่สามารถจะจากกับเค้าได้ทั้งที่เค้ายังบอกว่ารักเราอยู่และเราก็รักเค้าอยู่ด้วย. เราเลยไม่รู้ว่าต้องทำยังไง พูดตรงๆอยากเลิกกะเค้านะแต่ทำงานอยู่ที่เดี่ยวกันมันทำใจยากจริงๆ ตอนนี้เราก็คิดอยู่ล่ะว่าจะทำยังไงต่อไปดี




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2012, 04:29:37 PM »

Permalink: อยากรู้ว่าที่ทำเรียกว่ารักหรือว่ายอม(&#
- ลองมองน้อมเจ้ามาสู่ตนเองดุนะครับว่า.. คุณมีความปารถนาดีต่อผู้อื่นไหม มีความแบ่งปันต่อผู้อื่นไหใ มีความอนุเคราะห์ให้แก่ผู้อื่นไหม มีความยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุขไหม ซึ่งบุคคลที่คุณควรจะทำให้ในสิ่งที่ผมกล่าวมานั้นคือ เด็กตัวเล็กๆที่ไม่รู้ปะสีปะสาในสิ่งที่พ่อแม่และคุณทำแต่ต้องมาแบกรับอะไรที่มันแย่ๆอย่างนี้
- ตอนนี้คุณก็รู้สึกดูแย่มากใช่ไหมครับ นี่เพราะรักและติดในกามคุณทั้งหลายนี่มันทำให้ลืมความถูกต้องไปเลย ลืมไปเลยว่าเด็กตัวเล็กๆนั้นต้องมาแบกรับกับสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำทั้งๆที่ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องได้เสียอะไรด้วยเลย และ เด็กก็ยังไม่สามารถที่จะรับอะไรได้มาก ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เด็กต้องการพ่อและแม่แท้ๆที่ให้กำเนินเขาคอยดูแลเป็นครอบครัวที่อบอุ่นของเขา นี่แล้วเวลานี้ที่คุณเจอนี่เจ็บมากใช่ไหมครับ แล้วเด็กล่ะครับ ที่เค้าไม่รู้อะไรเลย ช่วยตนเองยังไม่ได้เลยจะสุญเสียแค่ไหน อันนี้ให้คิดเอานะครับว่าคุณโตและสามารถจะดูแลตัวเองได้แล้วแก้ปัญหาเองในสิ่งที่ดีที่ถูกได้แล้ว แยกแยะถูกผิดได้แล้ว กับเด็กตัวเล็กๆที่ไม่รู้อะไรช่วยเหลือตนเองก็ไม่ได้ คุณว่าใครลำบากกว่ากันและควรเห็นใจใครมากกว่ากันครับ
- ทีนี้คุณควรจะรู้แล้วนะครับว่าควรจะให้ความปารถนาดีกับเด็ก เอื้ออนุเคราะห์ให้เด็ก ยินดีเมื่อเด็กเป็นสุข นั่นคือการก้าวถอยออกมาเสียเพื่อเด็ก ไม่ใช่การยอมแพ้แต่เป็นการเสียสละที่ทรงคุณค่าเป็นอันมากแก่เด็กตัวน้อยๆ เป็นการสร้างทานบารมีที่ประเสริฐแล้ว

- การกระทำตัวในตอนนี้จะเป้นปกติก็คงยาก มองหน้ากันก็เจ็บใช่ไหมครับ ดังนั้นให้พึงระลึกตั้งมั่นและถือเจตนาที่จะปฏิบัติตนดังนี้ครับ เพื่อลดความสำคัญมั่นหมายของใจคุณลง และ สร้างเจตนาที่จะทำเพื่อเด็กและมีความสุขที่จะทำในสิ่งที่ดีงาม
๑. การปฏิบัติมีศีล 5 เป็นเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติตนไม่เป็นผู้เบียดเบียนตนเองและคนอื่น ปฏิบัติดีงามด้วยกายและวาจา ศีล 5 มีความหมายคือ
๑.๑ เว้นจากทำลายชีวิต ลองคิดดูว่าหากทีคนคิดปองร้ายเรา หมายเอาชีวิตเรา แล้วมาฆ่าเรา พรากชีวิตเราไปจากโลกที่เราอยากจะอยู่จะเป็น เราชอบ เรารู้สึกดีไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๒ เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ลองคิดดูว่าหากมีคนมาขโมยของๆเรา หรือหยิบเอาสิ่งที่เราไม่ให้ ไม่อนุญาติด้วยความหวงแหน เป็นสิ่งมีค่าของเรา เราจะรู้สึกดีพอใจกับการกระทำนั้นไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๓ เว้นจากประพฤติผิดในกาม คือ ผิดต่อ ลูก ภรรยา สามี พี่ น้อง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา ลุง ป้า ของตนเองและคนอื่นเป็นต้น ลองคิดดูนะครับว่าหากคนที่เรารักหรือใครก็ตามมากระทำผิดในกามต่อครอบครัวเรา เราจะชอบไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๔ เว้นจากพูดเท็จ-โกหก ส่อเสียดให้ร้ายหรือทำร้ายคนอื่น ลองคิดดูนะครับว่า หากคนอื่นบางคน หรือทุกคน คอยรักแต่โกหกปิดบังความจริงเรา พูดส่อเสียด พูดให้ร้ายเรา ด่าเรา เราคงไม่ชอบใช่ไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๕ เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ลองคิดดูนะครับว่า การดื่มสุรานั้นทำให้เราเสียเงินโดยไม่จำเป็น เสียจากส่วนที่ควรจะใช้ประโยขน์ได้มากกว่านั้น คนที่รักก้อไม่ชอบใจ อาจจะหนีเราไปเลยเพราะชอบเมาสุรา เงินที่ควรจะเก็บไว้ใช้จ่ายเพื่อภาระต่างๆ กองทุนต่างๆที่คาดไว้ก็หายไป  เงินไม่พอใช้ ต้องมากู้หนี้ ยืมสินใหม่อีก มีแต่เสียกับเสีย บางครั้งอาจจะฆ่าคนตายเพราะฤทธิ์แห่งสุราได้ด้วย หรือจะกระทำพลาดพลั้งใดๆก้อได้ แล้วก็มาเสียใจในภายหลัง   เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ ไม่อยากจะได้รับผลกระทบเช่นนี้ๆ เราก็ไม่ควรที่จะดื่มสุราเมรัย เพื่อจะได้ไม่กระทำหรือรับผลกระทบเช่นนั้น
- ตรงนี้จะสอนให้ผู้ปฏิบัตินั้นรู้จักข้อศีลหรือความผิดที่ตนเองกระทำ จนถึงมีจิตเป็นกุศลตั้งในความไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย วาจา ฯ ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัว ทำด้วยความไม่ยึดมั่นฝืนใจทำของเรา

๒. นั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม ไม่ก็นอนแล้วตั้งจิตมั่นทำสมาธิ ซักวันละ 10-30 นาที อาจจะระลึกบริกรรมถึงพุทธานุสสติ คือ หายใจเข้ายาวๆ ระลึก "พุทธ" หายในออกยาวๆ ระลึก "โธ" การหายใจเข้า-ออกยาวๆ เริ่มต้นซักประมาณ 3-10 ครั้ง แล้วจึงปล่อยลมหายใจอยู่ในสภาพที่หายใจปกติ เพื่อปรับสภาพธาตุ ลมปราณ เพื่อให้มีสมาธิตั้งมั่นในเบื้องต้น เป็นประตูผ่านจุดแรกให้เข้าสมาธิง่ายๆ ทำให้ใจเย็นขึ้น อุ่นขึ้น ขยะในสมองหรือความคิดฟุ้งซ่านจะลดลง ใจเต้นสูบฉีดเลือดในสภาวะปกติมากขึ้น ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป (สังเกตุสภาวะเมื่อทำสมาธิเช่นนี้ๆจิตใจเราจะสั่นเครือ อัดอั้น ตันใจ คับแค้นใจน้อยลง มีสติมากขึ้น ใจไม่เต้นแรง หรือ ถี่จนสั่นเครือ) หากว่าหายใจ เข้า-ออก ยาวๆแล้วรู้สึกดีขึ้นทั้งสภาพกายและใจก็สามารถที่จะกระทำไปเรื่อยๆจนร่างกายและสภาพของธาตุในร่างกายเริ่มชินกับกายหายใจเข้า ออก ยาวๆ ก็ได้
หากว่าเรานั้นเวลาทำสมาธิหรือก่อนทำมีใจที่ฟุ้งไปในความโกรธ หรือ โทสะ ให้เราระลึกถึงการมี ทาน และ พรหมวิหาร๔ (อธิบายไว้ในข้อ ๓-๔) จากนั้นระลึกถึงเรื่องดีๆเป็นกุศลให้เรามีความผ่อนคลายจนถึงแก่ความนิ่งว่างแห่งสมาธิ
หากว่าเรากำลังเสียใจกับเรื่องราวต่างๆมีความพลัดพรากตั้งอยู่ ก็เริ่มจากคิดถึงเรื่องที่ดีเป็นกุศลผ่อนคลาย จนถึงแก่เรียนรู้พิจารณาถึงความเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ในทุกสิ่งทุกอย่างว่า
- ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ตลอดไปกับเราได้ ย่อมจะสุญสลายจากไปตามกาลเวลา และ การดูแลรักษาของเรา ไม่ว่าจะเป็นความตาย หรือ การจากลา เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่คงอยู่กับเราเที่ยงแท้แน่นอน
- ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา เราเพียงแค่ยืมเขามาใช้เพื่อเสพย์ความสุขพอใจยินดีในช่วงเวลาหนึ่งไม่นานก็ต้องปล่อยเขาคืนกลับไป ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเราไม่สามารถไปบังคับ จับต้อง ให้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ทุกอย่าง ไม่สามารถบังคับแม้แต่ใจเราเอง น้ำตาเราเอง ว่าไม่ให้เสียใจ ไม่ให้ร้องไห้ ไม่สามารถไปบังคับจับต้องสิ่งใดๆได้เลย
- เมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน เมื่อเราไม่อาจจะไปบังคับจับต้องให้เป็นไปดั่งที่ใจปารถนาต้องการได้ มันจึงก่อเกิดเป็นความทุกข์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
พิจารณาเช่นนี้ไปควบคู่กับ ทาน และ พรหมวิหาร ๔ จนจิตใจเราวางใจกลางๆได้มากขึ้น (อธิบายไว้ในข้อ ๓-๔)
ความโลภ ใคร่ได้ต้องการก็เช่นกัน ให้พิจารณาตามข้อ ๓-๖
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติคุมสติให้นิ่งได้ง่ายขึ้น ใจเย็นลง จิตใจจะลดความฟุ้งซ่าน โมโห กลัว สับสน ลดใจที่สั่นเครือลง

วิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพื่อเจริญสมาธิเบื่องต้น ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ที่เห็นผลได้ ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0
ในหัวข้อ ก. การเจริญสมาธิ (ตามวิถี Admax)

๓. การระลึกปฏิบัติ ทำไปเพื่อการให้ที่เรียกว่า ทาน
๓.๑ ทาน คือ การให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆจากผู้รับ ให้เพราะหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราให้นั้น ให้ไปแล้วไม่มาคิดเสียดายหรือเสียใจในภายหลัง ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๓.๒. เมตตาทาน คือ การให้เพื่อหวังให้ผู้อื่นได้รับความสุข ได้พบประสบความสุขจากการให้ของเรา หรือ จากสิ่งที่เราได้ให้เขาไป ด้วยสภาพจิตผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๓.๓ อภัยทาน คือ การให้เพื่อความเว้นจากความพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น ให้เพื่อผู้อื่นได้รับอิสระสุขจากการให้นั้นของเรา รู้ให้อภัยด้วยจิตใจที่เป็นกุศล เป็นการเว้นไว้ซึ่งโทษ งดโทษ อดโทษแก่คนอื่น เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจ ให้เพราะความมีใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ อนุเคราะห์ อยากให้เขาไม่รู้สึกอึดอัด อัดอั้นใจ เป็นทุกข์ ทรมาน ทั้งกาย-ใจ ให้เพราะอยากให้ผู้รับมีจิตใจเบิกบาน ไม่ขุ่นข้องหมองใจ ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รู้จักการให้เพื่อคนอื่นไม่ใช่แต่จะรับอย่างเดียว ลดความเห็นแก่ตัว-เอาแต่ได้ของตัวเองลง โดยการที่เราจะสามารถเข้าถึงสภาพจิตและการดำเนินไปใน ทาน เป็นผลสำเร็จสมบูรณ์ได้นั้น เราต้องเจริญปฏิบัติและเข้าถึงในสภาพจิตของ เมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิต ให้ได้ก่อน สภาพจิตที่เป็นไปใน ทาน ของเรานั้นจึงจะเป็นผลสมบูรณ์เต็ม

๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔ คือ
๔.๑ เมตตา คือ สภาพที่จิตมีความปารถนาให้คนอื่นเป็นสุข หรือ กระทำเพื่อต้องการให้ผู้อื่นได้รับความสุขจากการกระทำของตน ด้วยจิตผ่องใส ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๔.๒ กรุณา คือ สภาพที่จิตมีความสงสารเห็นอก-เห็นใจคนอื่น เข้าใจผู้อื่น หรือ กระทำเพื่อคนอื่นด้วยความอนุเคราะห์ ความเอื้อเฟื้อ-เผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารีย์ รู้แบ่งปันให้แก่ผู้อื่น ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๔.๓ มุทิตา คือ สภาพที่จิตมีความยินดีแจ่มใส เมื่อเห็นคนอื่นเขาพ้นทุกข์ได้ประสบกับความสุข ด้วยจิตที่ดีงามเป็นกุศล ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา
๔.๔ อุเบกขา คือ สภาพที่จิตมีความวางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี จิตจะวางเป็นกลางได้ก็เอาก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เราได้กระทำดีที่สุดแล้ว ไม่ตั้งความยึดมั่นถือมั่นทะยานอยากได้ ไม่อยากได้อีกต่อไป ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัวของเรา  
- การเจริญในพรหมวิหาร๔ หรือ เจริญใน เมตตา กรุณา มุทิตา หลวงปู่แหวนท่านกล่าวไว้ว่า ให้พึงกระทำและระลึกแบบความรู้สึกของ พ่อ-แม่ ที่มีต่อลูก ที่อยากให้ลูกมีสุข ได้ดี แบ่งปัน อื้อนเฟื้อ เมื่อลูกทำได้ หรือได้ดีมีสุข พ่อ-แม่ก็ยินดีมีสุขกับความสุขสำเร็จนั้นของลูกด้วย โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แนวทางการปฏิบัติและเข้าสู่สภาพจิตของเมตตานี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้วใน "กรณียเมตตสูตร" ท่านทั้งหลายสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากพระสูตรต่างๆที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วได้ ที่ได้แปลความหมายเป็นภาษาไทยเพื่อความเข้าใจง่าย เพราะนั่นคือแนวทางการเจริญกัมมัฏฐานและปฏิบัติทั้งหลายนั่นเองครับ
- ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้จักคิดและทำเพื่อคนอื่น เห็นใจคนอื่น เมตตาสงสารคนอื่น รู้จักเอื้อเฟื้อคนอื่น มากกว่าที่จะทำเพื่อความพอใจยินดีของตนเอง (ความพอใจยินคือก็คือความโลภนั้นเองครับ) จะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้จักคิดและทำเพื่อสิ่งที่ดีที่ถูกต้องแก่ตนเองและคนอื่นมากขึ้น จนถึงแก่ขั้นวางใจกลางๆ มีจิตเป็นกลางไม่ยึดมั่นถือมั่นในความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี การระลึกใน พรหมวิหาร๔ เช่นนี้จะช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติผ่อนคลายเป็นกุศลจิต มีใจไม่ยึดมั่นติดข้องต้องใจจากความพอยินดีของตนเอง แต่จะเริ่มรู้จักการคิด-ทำเพื่อคนอื่น และจะเชื่อมโยงให้ผู้ปฏิบัติมี ขันติ ได้เองโดยอัตโมัติ

ดูอุบายวิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ตาม Link นี้ได้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

วิธีการเข้าสู้อุเบกขาจิตนั้น ดูแนวทางพิจารณาได้ตาม Link นี้ครับ เน้นดูที่หัวข้อที่ ๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2012, 08:06:27 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 12, 2024, 03:58:20 PM