เมษายน 20, 2024, 10:28:51 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้กับไม่รู้ต่างกันตรงไหน  (อ่าน 9691 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ประวิต
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 19


อายุ: 52
กระทู้: 265
สมาชิก ID: 1634


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 08:44:18 PM »

Permalink: รู้กับไม่รู้ต่างกันตรงไหน
ท่านที่เปิดอ่านข้อความ  ช่วยตอบหน่อย  ปุจฉา




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 18, 2013, 01:20:54 PM »

Permalink: รู้กับไม่รู้ต่างกันตรงไหน
แนวท่านประวิตจะมาทางสายมหายาน

คำตอบอยู่ที่แนวคติสอนใจที่คุณประวิตรู้อ่านมา


ดังนั้นคำตอบนี้ จะไม่ต่างจาก..
- กินข้าว กับ ไม่กินข้าว..ต่างกันไหม
- หนาวแล้วห่มผ้าให้หนาขึ้น ทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น กับ หนาวแต่อยู่เฉยๆไม่ทำอะไรเลย ต่างกันไหม
- บุคคลที่หนาวแล้วนำผ้ามาห่มให้ร่างกายอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา กับ อีกบุคคลหนึ่งก่อไฟผิงแก้หนาว..แต่ไม่นำผ้าห่มหรือเสื้อกันหนาวมาห่มสวมใส่ร่วมด้วย ต่างกันยังไง
- ผู้มีปัญญาเห็นชอบ มีความคิดชอบ ย่อมเห็นข้อแตกต่างตามจริงในคำตอบข้างต้นนี้
- สัมมาทิฐิ ที่พระตถาคตเจ้าบัญญัติในมรรคคือ ความเห็นตามจริง คือ เห็นใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นความไม่คงอยู่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นความแปรเปลี่ยนไม่จีรังของสิ่งทั้งหลาย เห็นความไม่มีตัวตนอันเราจะไปยึดถือจับต้อง บังคับให้เป็นไปดั่งใจได้ ความเข้าไปยึดถือในสิ่งทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ จนรู้เหตุแห่งความยึดเกาะนั้น เห็นทางพ้นทุกข์เข้าสู่ความดับทุกข์ตามจริงในอริยะสัจนี้

ดูคำแปลบทสวดมนต์มรรค๘ ตามข้างล่างนี้นะครับ จะเข้าใจว่า "สัมมาทิฐิ ที่แท้จริงที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงคืออะไร"

ทางอันประเสริฐทั้ง ๘ ข้อเป็นไฉน มรรคมีองค์ ๘ พอจะสรุปได้ดังนี้

1.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2.สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3.สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4.สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5.สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป
6.สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7.สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8.สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ



อริยมรรค มีองค์ ๘ จากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็น เครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง
องค์แปดคือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำาริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) วาจาชอบ (สัมมาวาจา) การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ).


ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำาริในการออกจากกาม ความดำาริในการไม่พยาบาท ความดำาริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่าการงานชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สาเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว, นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำางับลง,เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่, นี้เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


มหา. ที. ๑๐/๓๔๓-๓๔๕/๒๙๙.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2013, 01:55:17 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ประวิต
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 19


อายุ: 52
กระทู้: 265
สมาชิก ID: 1634


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 18, 2013, 07:55:31 PM »

Permalink: รู้กับไม่รู้ต่างกันตรงไหน
อื้อหือยาวจัง  ก้าบท่าน
บันทึกการเข้า
ประวิต
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 19


อายุ: 52
กระทู้: 265
สมาชิก ID: 1634


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 08:34:36 PM »

Permalink: รู้กับไม่รู้ต่างกันตรงไหน
วันนีี้วันพระ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 2  จึง(อยาก)เขียนต่ออีก............รู้กับไม่รู้ต่างกันตรงไหน.....
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ ธันวาคม 01, 2023, 05:23:20 AM