เมษายน 20, 2024, 03:12:50 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร  (อ่าน 53301 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 11:57:25 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ถึงคุณ man123 ตอนนี้เป้นอย่างไรบ้างปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้างครับมีอะไรมาแลกเปลี่ยนกันบ้างครับ

ส่วนผมได้รับรู้ ได้รับฟังมา และ ได้ลองมาปฏิบัติดูมาซักระยะหนึ่งแล้วได้เห็นดังนี้ครับ

- เวลาเรารู้มากจากการอ่าน ฟัง เราก็จะคิดมากจนสิ่งที่รู้เป้นแต่ความคิด ทำให้ตัดคิดเห็นสภาพจริงไม่ได้
- ผมจึงได้ลองปฏิบัติโดยทิ้งสิ่งที่รู้ที่เห็นจากกัมมัฏฐานที่จดจำไว้ทั้งหมดทิ้งไป แล้วมาเริ่มกัมมัฏฐานใหม่เหมือนแรกๆที่ไม่รู้ในธรรมอะไรนอกจากหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ มันให้ให้เข้าสู่สภาวะธรรมได้ง่ายขึ้น ไม่รู้ว่าสภาพจริงที่สัมผัสนั้นคืออะไร รู้แต่สภาพไม่มีบัญญัติ มันก็ก้าวขึ้นสูงขึ้น
- ผมจึงมาแลกเปลี่ยนกับคุณman123 ดูครับหากนั่งปฏิบัติไปแล้วมัวแต่จดจ้องปรุงแต่งจนไม่เห้นสภาพปรมัตถธรรม ลองล้างความรู้หรือสิ่งที่สนทนา หรือที่เห็นออกให้หมด แล้วลองปฏิบัติกัมมัฏฐานเริ่มให่มแบบที่ยังไม่รู้สิ่งใด หากเข้าถึงสภาวะของเอกัคตา จิตมันก็รับรู้สภาพเอกัคตาอยู่แต่มันจะไม่คิดต่อ ไม่รับรู้สภาวะภายนอกที่กระทบทางกาย เราก็แค่รู้สภาวะนั้นๆไปดูความรู้สึกปรุงแต่งนั้นๆไป จะเข้าเห็นถึงสภาพจิตเกิดดับ เห็นสภาพจิตที่ตัดจากการไหลตามความปรุงแต่งที่เป้นไปในรัก โลภ โกรธ หลง รู้เวทนาขณะนั้นเป้นอย่างไร ขณะที่เกิดจิตรู้ จิตคิด จิตเสพย์เสวยอารมณ์เป็นอย่างไร ขณะเดียวกัน หรือคนละขณะจิตกัน เป็นตัวเดียวกันหรือคนละตัวกัน

หากคุณแมนได้รับรู้อะไรมาใหม่ๆขอเชิญสนทนาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ




บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 06, 2012, 07:41:10 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับคุณเกียรติคุณ การปฎิบัติของผมก็ยังไม่ค่อยเห็นอะไรมากนักเพราะตอนนี้ผมต้องเรียนหนังสืออะไรบ้าง ไม่ค่อยมีเวลาว่างเท่าไรแต่ก็ปฏิบัติอยู่เป็นประจำครับ ผมก็ได้เห็นการเกิดดับของอารมณ์ต่างๆบ้างครับเห็นว่าจิตมันสงบบ้างฟุ้งซ่านบ้างเมื่อเวลาผ่านไปเกิดดับอย่างนี้เรื่อยๆ
และสาเหตุที่ทำให้จิตมันเกิดอารมณ์ต่างๆเช่นรัก โลภ โกรษ หลง ก็จะมีสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้นไม่ใช่เราไปบังคับให้มันเกิดขึ้นเองครับ
เช่นเผลอไปคิดเรื่องราวต่างๆทำให้จิตเกิดอารมณ์ต่างๆ หรือถูกอาจารย์ว่าจิตเราก็รู้สึกเสียใจอย่างนี้เป็นต้นครับ
ในตอนนี้ผมก็ยังไม่เห็นธรรมอะไรมากครับ แค่รู้อะไรเล็กน้อยแค่นั้นเองครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #17 เมื่อ: กันยายน 09, 2012, 09:24:55 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
สาธุกับคุณแมนครับ

- ผมได้หาแนวทางยุติความฟุ้งซ่านของจิตให้สามารถทรงสภาวะความรู้สึกของเรามากขึ้น(อารมณ์ทางโลก) เนื่องมาจากเพราะผมปฏิบัติแล้วเห้นเยอะจนแยกแยะไม่ออกว่าอันไหนคิดอันไหนจริง อันไหนอุปาทาน อันไหนปรมัตถธรรม
- ผมจึงได้ทิ้งการปฏิบัติไประยะหนึ่งเพราะกลัวความหลงตนจะเกิดขึ้นจนเกินจำกัดได้
- แล้วผมก็ได้พบทางหนึ่งซึ่งก่อนหน้าเคยค้นพบปฏิบัติด้วยตนเองมา แต่ในสภาวะนั้นไม่รู้จักปรมัตถธรรมจึงตกอยู่ในสภาวะคิดเอามากกว่าจึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร พอมาอ่านเจอที่หลวงพ่อฤๅษี พระราชหรมญาณ ท่านสอนไว้ง่ายๆคำหนึ่งว่า "ทรงอารมณ์"
- การทรงอารมณ์นี้พูดเหมือนง่าย แต่ยากมากหากไม่ทำเป็นประจำและไม่รู้สภาพปรมัตถธรรม ดังนั้นการทรงวภาวะอารมณ์ความสู้สึกจึงต้องอาศัยสภาวะที่เป็นสติและปรมัตถธรรมเป็นหลัก
- เช่นเวลาที่เราอยู่ในสมาธิจิตหรือฌาณจิตนี่เราตัดแล้วในอกุศลจิต แต่พอหลุดออกจากฌาณจิตเราก็มักจะหลงไปตามสังขารขันธ์ปรุงแต่งจนเกิดเป็น รัก โลภ โกรธ หลง แล้วก็หลุดจากจิตที่เป้นกุศล ยกตัวอย่าง อยู่ในสมาธิเราไม่โกรธมีใจกลางๆพอออกจากสมาธิมีอะไรมากระทบให้รับรู้อารมณ์(ทางธรรม) หน่อยเกิดปรุงแต่งไปก็เหกิดเป็นโทสะแล้วเป้นต้น
- การทรงอารมณ์นี้จึงสำคัญหากคุณรู้สภาพจริงของกุศลจิต รู้สภาพจริงของสมาธิจิตในแต่ละระดับ โดยสภาพปรมัตถธรรมนี้คุณต้องได้รู้สัมผัสด้วยตนเองจึงจะเข้าใจ เมื่อรู้สภาพปรมัตถธรรมก็ให้จดจำสภาพนั้นๆไว้แล้วกำหนดสมาธิระลึกถึงสภาพนั้นแล้วตั้งจิตเข้าสภาพนั้น หรือ ออกจากสภพานั้น นี่เรียกว่าทำให้เรากำหนดรู้สภาพที่เข้าออกของกุศลจิตและสมาธิจิตที่เราเรียกกันว่าฌาณ

เพิ่มเติมที่นี่ครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8682.0

หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่คุณแมน123ด้วยเช่นกันครับ หากไม่สมควรหรือไม่เกิดประโยชน์ใดๆก็ขออภัยไว้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 09, 2012, 07:57:19 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณครับ ทรงอารมณ์คือการทำให้ความรู้สึกหรืออารมณ์อยู่ในอารมณ์เดียวใช่ป่าวครับ
และสมมุติในสมาธิเรามีความสงบและเมื่อออกจากสมาธิแล้วมีอะไรมากระทบให้รับรู้อารมณ์อารมณ์ต่างๆจนทำให้จิตเราคิดปรุงแต่ง
ก็ให้เราระลึกรู้อารมณ์นั้นหรือระลึกรู้จิตที่กำลังปรุงแต่งอยู่ก็คือการมีสติอยู่กับปัจจุบันและรู้ไปตามที่มันเป็นอยู่เราก็จะเห็นความเป็นจริงไปตามนั้น
และทำให้เราปล่อยวางจากรูปนามได้มากขึ่นเรื่อยๆเมื่อสติมีกำลังมากการปรุงแต่งของเราก็จะน้อยลงและสติจะเกิดได้ต่อเนื่องนานมากขึ้น
ผมก็อธิบายได้เท่าที่ผมรู้มาถูกผิดอย่างไรก็ขออภัยไว้ด้วยเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #19 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 09:26:58 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ครับโดยรวมกว้างๆเป็นเช่นนั้นตามที่คุณกล่าวมาครับ

- ส่วนเวลาจะเจาะเข้าระดับกลางและลึกเข้ามาอีกในการ "ทรงอารมณ์" เราต้องเคยเข้าสู่สภาวะความรู้สึกรู้สภาพปรมัตถธรรมในสภาพจิตใดๆ เช่น เมื่อคุณรู้ว่ากุศลจิตเกิด(กุศลจิตจริงๆนะครับ ไม่ใช่ที่ปนไปด้วยโลภะที่มีความพอใจยินดีที่ติดข้องใจ) คุณระลึกรู้สภาพปรมัตถธรรมของกุศลจิตไว้ ซึ่งกุศลจิตนี้ จะตัดขาดจากความ รัก โลภ โกรธ หลง มีความสงบอบอุ่น ผ่องใส เบาบางจิต ตรงนี้หากคุณสัมผัสและรู้ในสภาพปรมัตถธรรมได้คุณจะสามารถระลึกเข้าสู่สภาพจิตที่เป้นกุศลจิตจริงๆได้
- แม้แต่ในฌาณจิตเช่นกัน เมื่อคุณเข้าถึงสมาธิจิตระดับใดระดับหนึ่ง รู้สภาพปรมัตถธรรมในฌาณระดับต่างๆ คุณก็จะกำหนดจิตทรงอารมณ์เข้าสภาพฌาณจิตนั้นๆได้
- ดั่งที่ผมเคยกล่าวว่า หลวงปู่มั่นท่านบอกให้จดจำการเข้าถึงในครั้งแรกให้ได้ มันคือการจำสภาพปรมัตถธรรมของสภาวะฌาณจิต ญาณจิตนั้นๆ และ การดำเนินไปเพื่อเข้าถึงในระดับนั้นๆ เพื่อไว้กำหนดทรงอารมณ์การเข้าออกสมาธิในภายหลัง
- คุณจะเห็นว่า การทรงอารมณ์นี้ จะสัมพันธ์กับวิปัสนา คือรู้สภาพ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นปรมัถธรรม กำหนดในสภาพนามธรรมเป็นใหญ่
- หากคุณไม่เคยเห็นสภาพปรมัตถธรรมหรือลืมสภาพปรมัตถธรรมของสภาวะธรรมใด คุณก็จะไม่สามารถกำหนดจิตเข้าสู่สภาวะธรรมนั้นๆได้
- สิ่งที่ผมนำมาบอกกล่าวต่อนี้ผมได้ปฏิบัติอยู่เนืองๆเป็นประจำซึ่งเป็นผลได้เร็วมาก เป็นการผสานระหว่าง สมถะ วิปัสนา ของหลวงปู่ฤๅษี และ หลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รู้ในสมถะและวิปัสนามาแล้ว ได้รับรู้สภาพปรมัตถธรรม และ รู้รูปนามมาแล้ว ช่วยในการกำหนดจิตเข้าออกในสภาวะธรรมต่างๆ จนถึง แยกกายกับจิต
- กายกับจิตคือขันธ์๕ แยกขันธ์๕ เป็นกองๆได้ ก็สามารถเรียนรู้แยกรูปนามได้ครับ รูปนามจะกว้างกว่า แต่พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้พิจารณาขันธ์ 5 เป็นหลัก เพราะรูปนามก็คือ ขันธ์ 5 เช่นกัน ซึ่งมันอยู่ในตัวเรา สามารถรู้สึกรับรู้ได้ด้วยตัวเราเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2012, 12:05:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #20 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 07:13:46 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ครับก็คือต้องรู้ธรรมที่เป็นปรมัถธรรมหรือรู้รูปนามที่เกิดขึ้นจริงกับตนเองว่าขณะนี้เป็นอย่างไรจึงจะเห็นสภาพปรมัถธรรมและเข้าสู่สภาวะธรรมได้และการ ทรงอารมณ์ ก็คือการทรงสภาวะอารมณ์ให้อยู่ในอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านจึงจะทำให้เห็นสภาพปรมัถธรรมได้ง่ายขึ้นและให้ผลได้เร็วในการปฏิบัติ
สรุปก็คือการปฏิบัติต้องใช้เวลาในการปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นทางไหนถ้าไม่ขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทางนั้นก็ดีหมด ขอบคุณมากครับ สำหรับวิธีปฏิบัติที่ดีและเป็นประโยชน์ครับ
บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:57:56 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
สวัสดีครับหายไปนาน ตอนนี้ผมปฏิบัติวิปัสสนาได้ประมาณ1ปีกว่าแล้วครับรู้สึกมีสติอยู่กับกายใจต่อเนื่องมากขึ้นกว่าตอนที่เพิ่งปฏิบัติครับเห็นว่าเดี่ยวจิตมันก็คิดเดี๋ยวมันก็รู้สึกโน่นนี่และรู้สึกนึ่ง สงบมากขึ้นเมื่อเกิดปัญหาให้รู้สึกทุกข์ก็สามารถใช้สติแก้ไขได้มากขึ้นครับเหมือนใช้ปัญญาอะครับคือการพิจารณาว่ามันเป็นมาอย่างไรแล้วใช้สติคิดทบทวนแก้ไขมันได้ทำให้ทุกข์น้อยลงครับและระหว่างปฏิบัติบางทีก็รู้สึก ปิ๊ง แบบเกิดปัญญาขึ้นมาอะครับเช่นการตามรู้รูปนามแล้วก็เห็นความจริงต่างๆว่าอย่างนี้เราไม่ควรไปยึดมัน พอเห็นรูปนามดับไปก็รู้ว่ามันไม่เที่ยงและก็รู้สึกอีกหลายๆอย่างอะครับรวมๆผมรู้สึกว่ามันทำให้ผมทุกข์น้อยลงและรู้สึกจิตปรุงแต่งกับสิ่งต่างๆที่มากระทบน้อยลงด้วยครับคือจิตเป็นกลางมากขึ้นครับ และถ้าผมรู้ตัวว่ากำลังกังวลหรือคิดฟุ้งซ่านอยู่ก็จะทำให้ผมหยุดคิดมันได้โดยไม่ได้ไปบังคับมันถ้ารู้ทันมันก็ดับไปเองครับหรือบางทีกังวลมากๆผมใช้สติพิจารณาเช่นเรื่องนี้ไม่ควรไปคิด กังวลไปก็ไม่สามารถช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ก็สามารถทำให้คลายกังวลได้ครับ

แต่เรื่องที่แปลกของผมอยู่อย่างคือวันไหนที่ผมนั่งสมาธิแล้ววันต่อมาผมจะเจอเรื่องที่ทำให้ทุกข์ผมเจอแบบนี้บ่อยมากครับอย่างเช่นเจอเรื่องไม่ดีที่โรงเรียน และการนั่งสมาธิเหมือนทำให้ผมมีสติรู้กายใจได้น้อยลงจิตมันจะอยู่กับความว่างและก็จะเผลอคิดบ้าง และการนั่งสมาธิของผมเมื่อก่อนรู้สึกสงบบ้างฟุ้งซ่านบ้างแต่ตอนนี้ผมรู้สึกฟุ้งซ่านเป็นส่วนใหญ่ไม่รู้ทำไมครับหรือการที่ผมนั่งสมาธิแล้วผมรู้สึกสงบจริงๆก็จะเป็นตอนเช้าอะครับประมาณ9โมง10โมงอะครับบางครั้งก็มีฟุ้งซ่านบ้าง การปฏิบัติธรรมของผมจึงไม่ค่อยใช้การนั่งสมาธิครับ ส่วนมากผมจะตามรู้กาย ใจ หรือถ้าตอนไหนว่างๆก็จะเดินไปมาและตามรู้กายที่กำลังเดินอยู่หรือจิตที่กำลังคิดอยู่ในขณะนั้นก็ทำให้ผมรู้สึกสงบได้ึครับ(ถ้ารู้ว่าเป็นเพราะอะไรก็ช่วนแนะนำด้วยนะครับ)

และที่ผมเคยบอกว่าผมเป็นโรคหวาดกลัวสังคม และโรคย้ำคิดย้ำทำด้วยครับสาเหตุหลักมาจากความกลัวทำให้ผมใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านเจอผู้คนได้ลำบากมากครับการปฏิบัติธรรมของผมช่วยได้บ้างครับแต่ผมก็ยังรู้สึกกลัวอยู่ดีทำให้ผมไม่อยากเรียนปริญญาตรีด้วยครับผมจบ ม.6แล้วก็จะทำงานเลยครับ ถ้าแนะนำอะไรผมได้ก็ช่วยหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 07:25:49 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #22 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 07:23:04 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
- เรื่องความไม่สงบ ฟุ้งซ่าน คิดนั่น คิดนี่ ก็เพราะมีความมีความกังวลอยู่มากทั้งเรื่องที่พอใจยินดีและไม่พอใจยินดีคละเคล้ากันเกิดสลับกันไปมาทำให้จิตเกิดประกอบกับความปรุงแต่ง ทางแก้คือละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี หรือ ความชอบใจและไม่ชอบใจใดๆไปเสีย ด้วยละความติดข้องใจใดๆที่เกิดแก่เราเมื่อรู้อารมณ์ใดๆทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้ ผมอาจจะเึคย นั่นก็คือรู้วิธีเจริญเข้าในอุเบกขาจิตนั่นเอง ถ้าจำไม่ผิดผมเคยโพสท์ตอบคุณแล้วครั้งนึงครับเมื่อนานมาแล้ว

- เราจะสามารถเข้าถึงสมาธิได้ง่ายจะมากหรือน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพจิตของเราว่ามันมีความสุขแค่ไหน เสพย์อารมณ์ใดๆอยู่ ครูบาอาจารย์ท่านจึงให้ระลึกในสิ่งที่เป็นความสุขกายสุขใจมีความยินดีก่อนทำสมาธิ แล้วให้เราเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิเพื่อปรับสมดุลย์และสภาพจิต เมื่อสุขอันเกิดแต่กุศลตั้งอยู่ สืบเนื่องให้สมาธิจิตเกิดตั้งอยู่ ดับความพยาบาท และ กามราคะ นิ่งสงบสุขโดยวิเวก นี่เรียกว่า ฌาณ ๑ ก็คือสมาธิที่ควรแก่การพิจารณาธรรมแล้วนั่นเอง

ดูเพิ่มเติมในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร ตาม Link นี้
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd24.htm

- สมถะและวิปัสนาเป็นของคู่กัน เวลาอยู่บ้านก่อนนอนหรือเมื่อตอนเช้าก็นั่งสมาธิ เวลาใช้ชีวิตประจำวันก็เจริญสติ จะช่วยให้ทั้งสมถะและวิปัสนาเจริญมากขึ้น เป็นการปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสนาควบคู่กันไป เพราะวิปัสนาก็ต้องใช้สมาธิจิตที่มีความจดจ่อเป็นหนึ่งเดียวของสมถะตั้งแต่ อัปปนาสมาธิ ขึ้นไป

- ดูตาม Link นี้นะครับวิธีละความชอบใจและไม่ชอบใจ ด้วยการเจริญจิตให้เสมอด้วยธาตุ๕
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระราหุลไว้


http://www.thammaonline.com/15123/36163634362336093634364836263617362936043657362336183608363436053640-3669

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผมขอคัดเฉพาะบางส่วนในธรรมที่เป็น เจโตวิมุตติ มาบอกกล่าวนะครับ เอาส่วนที่คิดว่าน่าจะเข้ากันได้กับคุณมาลงให้อ่านปฏิบัติดูครับ เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสให้พระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้ง 500 รูป เป็นธรรมชั้นสูงทั้งสิบหมวดเพื่อถึงซึ่งพระนิพพาน

[๔๒๙] ธรรม ๖ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน

 คือธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ ๖ อย่าง

 ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

 เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้วไม่ดีใจไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑

 ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ



ศีกษาแนวปฏิบัติเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7016&pagebreak=0


 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  บรรทัดที่ ๗๓๔๗ - ๘๑๓๗.  หน้าที่  ๓๐๒ - ๓๓๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7347&Z=8137&pagebreak=0
 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364
 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๑
http://84000.org/tipitaka/read/?index_11


เจโตวิมุตตินี่ถ้าเจริญได้ดังนี้นะ จะไม่มีทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี
แม้ความกลัวของคุณก็จะหายไปได้แน่นอน 100%




.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 08:10:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
man123
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 22


เพศ: ชาย
อายุ: 29
กระทู้: 35
สมาชิก ID: 1324


« ตอบ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 08:34:46 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ขอบคุณมากครับแต่ว่าจะทำให้หายจากอาการกลัวไปเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ต้องใช้เวลาปฏิบัติและการไม่ยินดียินร้ายก็ไม่ได้เป็นการบังคับให้รู้สึกอย่างนั้นต้องใช้เวลาปฏิบัติให้เป็นผู้วางเฉยต่อรูปนามที่มากระทบเหมือนกันใช่ไหมครับ ขอบคุณครับ ผมรู้มาว่าโรคกลัวมันเเป็นโรคทางจิตใต้สำนึกอะครับเราไม่สามารถบังคับความรู้สึกส่วนนั้นได้อะครับ แต่คงต้องใช้เวลาปฏิบัติขอบคุณมากครับ
ปล.ให้ลิ้งมาเยอะผมก็อ่านไม่หมดเหมือนกันนะครับ แฮะๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 08:41:46 PM โดย man123 » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #24 เมื่อ: มีนาคม 02, 2013, 02:37:52 AM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ความกลัวคือ
ทำผิดไว้1 นี่ต้องยอมรับความจริงหรือผลกรรมคือการกระทำใดๆโดยเจตนา
มีความปารถนาไว้มาก1 ต้องยอมรับความจริงและละความปารถนา
มีความพอใจยินดีมากจึงเกิดความไม่พอใจยินดีมาก1 จึงเกิดความกลัวที่จะผิดพลาดจากความพอใจทื่ตนปารถนาไว้
หากที่คุณบอกว่าเห็นด้วยปัญญานั้นไม่ได้เป็นไปในอริยะสัจ4 นั่นมันวิปัสสนึกไม่ใชของจริง
หากคุณไม่เห็นในอริยะสัจ4 ไม่เห็นในสมุทัยคุณก็ไม่ถึงธรรม และ ใช้ธรรมนั้นแก้ความกลัวไม่ได้ครับ
คุณเป็นคนฉลาด ยิ่งฉลาดมากก็ยิ่งคิดมากกว่าทำ
คนโง่นี่เขาบรรลุธรรมเพราะปฏิบัติมากกว่ามานั่งคิด
คุณปฏิบัติธรรมด้วยตัณหาไม่ใช่เพราะรู้เห็นู้ด้้วยปัญญาว่า นี่คือทางออกจากทุกข์
ดังนั้นธรรมที่เป็นความคิดของคุณจึงไม่เห็นเหตุของทุกข์ทีแทัจริง
คุณควรพิจารณาให้ถึง อริยะสัจ๔ จริงๆถึงจะพบทางแก้ ธรรมในพระพุทธศาสนานี้มีผลกับใจเป็นหลัก

ผมขอไม่กล่าวธรรมกับคุณอีกเพราะมันหาประโยชน์ใดๆให้คุณไม่ได้ ที่ผมพยายามหาข้อธรรมที่คิดว่าดีให้คุณกลับกลายเป็นผมทำร้ายคุณมากขึ้นเพราะมันเพิ่มได้แค่ อุปาทาน และ อนุมาน(ความนึกคิดคาดคะเน)ในความคิดของคุณ ผมขอโทษที่ช่วยคุณไม่ได้ครับและเกรงว่าหากชี้ธรรมให้คุณมากขึ้นก็ยิ่งเพิ่มใน 2 ส่วนนั้นให้คุณจึงขอละไว้ก่อนครับ

คุณควรไปหาหมอแล้วกินยาคลายเครียดเสียจะดีกว่าครับ จะช่วยคุณได้มากกว่าครับเหมือนที่คุณคิดไว้ว่าเป็นโรคทางจิตแก้ทางธรรมไม่ได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2013, 02:11:32 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ผู้เริ่มต้นศึกษาพระธรรม
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 38
กระทู้: 8
สมาชิก ID: 2573


« ตอบ #25 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2013, 06:53:13 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ยากจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
navara254
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 5
สมาชิก ID: 2593


« ตอบ #26 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 12:06:42 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
ผมเพิ่งเป็นมาชิกใหม่ครับเห็นหัวข้อของกระทู้แล้วสนใจจึงเข้ามาดู
ผมเองก็พูดไม่ได้หรอกครับว่าปฏิบัติมานาน
เข้ามาเห็นความคิดเห็นของ"ท่านเกียรติคุณ"  ผมเห็นด้วยครับเป็นแนวทางเดียวกับที่ผมคิดเลย
ความคิดเห็นของ"ท่านเกียรติคุณ" เป็นประโยชน์มากจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
guk
ผู้ดูแลบอร์ด
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 32
กระทู้: 25
สมาชิก ID: 2218


« ตอบ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 12:29:16 PM »

Permalink: ใครรู้เรื่องการปฎิบัติวิปัสสนาบ้างคร
เท่าที่เคยได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์หลายท่านมานะคะ ท่านจะพูดเสมอว่า

"สติ" ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็มีประโยชน์มากเท่านั้น

ไม่ว่าเราจะไปทางสมถะหรือวิปัสสนาก็ดี ขอให้มีสติเป็นผู้รู้เสมอ

ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 09:57:29 AM