เมษายน 20, 2024, 10:52:40 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๑. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย "นิวรณบรรพ(นิวรณ์๕)"  (อ่าน 7062 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 03:00:36 PM »

Permalink: ๑. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย "นิวรณบรรพ(นิวรณ์๕)"


๑. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย "นิวรณบรรพ(นิวรณ์๕)"

       [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ นิวรณ์ ๕
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า   ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   หรือ
    เมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย(เกิดได้ด้วยการผัสสะของอายตนะทั้ง๖)
    กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย (ละเสียได้ด้วยการไม่ยึดมั่นคือการไม่พัวพันด้วยอาการอุเบกขาเสียนั่นเอง)
    กามฉันท์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  อีกอย่างหนึ่ง (ด้วยการสำรวมระวังในอายตนะทั้ง๖ ๑  อีกทั้งสมาธิ ๑)
        เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
    เมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   อนึ่ง
    พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  (เกิดได้ด้วยการผัสสะของอายตนะทั้ง๖)  
    พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย (ละเสียได้ด้วยการไม่ยึดมั่นคือการไม่พัวพันด้วยอาการอุเบกขาเสียนั่นเอง แลสมาธิ)
    พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย   อีกอย่างหนึ่ง (ด้วยการสำรวมระวังในอายตนะทั้ง๖ ๑  อีกทั้งสมาธิ ๑)
        เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   หรือ
    เมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   อนึ่ง
    ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  
    ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย   อีกอย่างหนึ่ง
        เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ณ ภายใน จิตของเรา  หรือ
    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา  อนึ่ง
    อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย    
    อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย    
    อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  
        อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา  หรือ
    เมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา  อนึ่ง
    วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  
    วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย      
    วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
            ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายในบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในตนบ้าง)
            พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในบุคคลอื่นๆบ้าง)
            พิจารณาเห็นธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นทั้งในตนเองบ้าง หรือในบุคคลอื่นบ้าง)
            พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง (เห็นการเกิดขึ้นของธรรมนี้บ้าง)
            พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
            พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการเกิด ทั้งการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
            ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น  เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน  จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ  (นิวรณ์ ๕)


จบนิวรณบรรพ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2013, 03:12:39 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 31, 2024, 05:19:58 PM