เมษายน 20, 2024, 01:49:37 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต  (อ่าน 11346 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2013, 09:31:54 PM »

Permalink: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
ควรเข้าใจว่า  จิตคือ ธรรมชาติ  ชนิดหนึ่ง

ธรรมชาตินี้  บางครั้งก็เรียกว่า  "สภาวะ"

เป็นสภาวะเพราะ  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่มีตัวตน  ไม่มีกลิ่น   ไม่มีสี   ไม่มีรส  ฯลฯ

จิตมีชื่อต่างๆที่ใช้เรียกขานกันถึง ๑๐ ชื่อ ดังแสดงว่า
                   
ยํ  จิตฺตํ  มโน  หทยํ  มานสํ  ปณฺฑรํ  มนายตนํ  มนินฺทฺริยํ  วิญฺญาณํ  วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา  มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ
                   
อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายไว้ว่า
           
ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า  "จิต"
                   
ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า   "มโน"
                   
จิตที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายในนั่นแหละชื่อว่า    "หทัย"
                   
ธรรมชาติฉันทะ  คือความพอใจที่มีอยู่ในใจนั้นชื่อว่า      "มนัส"
                   
จิตเป็นธรรมชาตฺที่ผ่องใส จึงชื่อว่า     "ปัณฑระ"
                   
มนะที่เป็นอายตนะ คือเครื่องต่อ จึงชื่อว่า     "มนายตนะ"
                   
มนะที่เป็นอินทรีย์  คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า   "มนินทรีย์"
               
ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์  ธรรมชาตินั้นชื่อว่า   "วิญญาณ"
                   
วิญญาณที่เป็นขันธ์ จึงชื่อว่า      "วิญญาณขันธ์"

มนะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์ จึงชื่อว่า    "มโนวิญญาณธาตุ"

ทั้งหมดนี้คือจิตทั้งหมดที่ทำหน้าที่ที่มีสภาวะต่างๆกันไป
.........................


เนื้อความที่รับรอง  จากพระไตรปิฏก  (โปรดสังเกตที่หัวข้อ)

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

[๙๒] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
            จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์  มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๓] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๔] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.

            [๙๕] มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า  มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.

             [๙๖] ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้นเป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
 
            [๙๗] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2013, 08:07:04 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2013, 09:32:04 PM »

Permalink: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
สภาพหรือลักษณะของจิต

จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ

สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ

จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล

จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป

จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย

และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น


ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ คือ

วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ

ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ

สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ

นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2013, 08:08:25 PM »

Permalink: ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
จิต มี ๔ ประเภท คือ  กามาวจร  รูปาวจร  อรูปาวจร  โลกุตตร  

จิต มี ๔ ชาติ (ชนิด) คือ อกุศล  กุศล  วิบาก  กริยา

*********

เจตสิก ๕๒ ดวง ที่ประกอบเข้ากับจิต  ทำให้จิตนี้วิจิตรเป็น ๘๙ อย่าง (นับแบบพิศดาร ๑๒๑)

จิต จะต้องมีเจตสิกเข้าประกอบ อย่างน้อยที่สุด ๗ ดวง   อย่างมากสุด ๓๘ ดวง

จิต ที่เป็น อกุศล ย่อมต้องมี อกุศลเจตสิก เข้าประกอบ

จิต ที่เป็น  กุศล ย่อมต้องมี โสภณเจตสิก เข้าประกอบ

*************************

อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง คือ

 โมหะ   อหิริกะ   อโนตตัปปะ  อุทธัจจะ   โลภะ    ทิฏฐิ      มานะ

 โทสะ   อิสสา     มัจฉริยะ     กุกกุจจะ  ถีนะ    มิทะ

 วิจิกิจฉาเจตสิก

********************

โสภณ เจตสิก มี ๒๕ ดวง คือ


สัทธา  สติ  หิริ  โอตตัปปะ  อโลภะ  อโทสะ  ตัตรมัชฌัตตตา

กายลหุตา จิตตลหุตา  กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญัตตา จิตตกัมมัญญัตตา

กายุชุตา จิตตุชุตา  กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ  กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

กรุณา มุทิตา

ปัญญา

****************

ขอเจริญในธรรม

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 29, 2024, 02:15:50 AM