เมษายน 19, 2024, 09:59:17 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรักของฉัน  (อ่าน 11503 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ออย
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 43
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2651


« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2013, 02:42:36 PM »

Permalink: ความรักของฉัน
สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นสมาชิกใหม่ค่ะมีเรื่องอยากปรึกษา
ดิฉันมีปัญหาเรื่องความรัก ครั้งแรกตอนเข้าปี 1 และไม่สมหวังหลังจากนัั้นก็ค่อยข้างระวังตัว และปิดตัวเอง ตอนนี้ก็มีเพื่อนที่ทำงานคนหนึ่งเป็นคนต่างชาติ อายุน้อยกว่า 4 ปี ดิฉันรู้สึกพิเศษกับเขาแต่ยังไม่ถึงขนาดเรียกแฟน พูดคุยปรึกษาเรื่องงาน เรื่องปัญหาต่างๆ เขาก็ให้เกียรติเรา สุภาพกับเรา แต่ปัญหาคือที่สำนักงานใหญ่เขาห้ามเรื่องชู้สาวหากมีกรณีนี้ จะต้องถูกสั่งย้าย เวลาอยู่ที่ทำงานเราจึงไม่สามารถแสดงความสนิทสนมกันได้ ไปไหนด้วยกันสองต่อสองก็ไม่ได้ เพราะจะถูกเพ่งเล็ง เวลาเขาจะไปไหนเขาก็จะไลน์มาบอก กลับจากต่างประเทศก็จะบอกเรา ซึ่งเราไม่รู้ว่าเพราะเราก็สึกพิเศษกับเรา หรือมันเป็นมารยาท เราเคยเจ็บมาแล้วก็กลัวๆ อีกอย่างไม่มีความชัดเจนเรื่องความสัมพันธ์เลยรู้สึกเหนื่อยๆ ตอนนี้ก็พยายามสวดมนต์ และอธิษฐานจิตให้เรามีสติมองเห็นความจริง  ก็สงบบ้าง ฟุ้งซ่านบ้างไปตามเรื่อง
  .... ขอถามเพื่อนๆค่ะว่า สำหรับผู้ชายคุณจะบอกเพื่อนผู้หญิงของคุณไหมว่าจะไปไหน ทำะไร กับใคร หรือคุณจะบอกเฉพาะคนที่คุณรู้สึกพิเศษเท่านั้น ดิฉันไมารู้จะทำยังไงกับความสัมพันธ์ครั้งนี้ดีค่ะ




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2013, 06:05:05 PM »

Permalink: ความรักของฉัน
- เรื่องการบอกว่ากำลังจะไปทำอะไร ยังไง เวลาไหน อย่างไร มันแล้วแต่คนครับ ไม่สามารถเอามารวมๆกันได้ ดังนั้นเรื่องนี้ให้ละความสำคัญหรือละการใส่ใจไปก่อน ให้ระลึกถึงว่าเขานั้นมีไมตรีที่ดีกับเรา ไม่ได้รู้สึกรังเกลียดอะไรเรา เพื่อไม่ให้ตนเองสำคัญตนหรือใส่ใจมากเกินไปจนเกิดเป็นทุกข์หรือคิดไปเองฝ่ายเดียว
- แต่ไม่ใช่ว่าคุณจะต้องปิดกั้นใครนะครับ เพราะคนเราทุกคนต้องพานพบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี คนที่ดีหรือไม่ดี สิ่งที่ดีหรือไม่ดี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดั่งสัจจะธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า
           ๑. เพราะเรามี หู ตา ลิ้น จมูก กาย ใจ จึงต้องมีการกระทบสัมผัส คือ รู้การกระทบสัมผัสจาก รูป เสียง กลิ่น รส การกระทบสัมผัสทางกาย การกระทำทางใจคือสิ่งที่ใจรู้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เรานั้น พอใจยินดี-สุขกายและใจ หรือ ไม่พอใจยินดี-ทุกข์กายและใจ เป็นธรรมดาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
           ๒. ด้วยประการข้างต้นในข้อที่ ๑. ฉะนี้ เมื่อเรามีความพอใจยินดีแกละไม่พอใจยินดี ใจเราย่อมเกิดความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์อารมณ์ในสิ่งนั้นๆ อยากจะมี-อยากจะได้-อยากจะเป็นในสิ่บงนั้นๆ ไม่อยากมี-ไม่อยากเป็น-ไม่อยากพบเจอ-อยากจะผลักหนีให้ไกลตน จึงเป็นเหตุให้เกิดสัจจะธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า
                  ๒.๑ ปารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ หรือ ถึงแม้เราได้เสพย์สมดั่งใจใคร่ปารถนาแล้ว-เราก็จะพยามดิ้นรนโหยหาทะยานไขว่คว้าที่จะได้เสพย์ในอารมณ์นั้นๆอีก อย่างไม่รู้จักหยุดไม่รู้จักพอ..นั่นก็เป็นทุกข์(ลองหวนระลึกในสิ่งที่ผ่านๆมาดูก็ได้นะครับว่าจริงไหม)
                  ๒.๑ ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญใจทั้งสิ้นไป(คนที่รัก-สัตว์ที่รัก-สิ่งที่รัก-อรารมณ์ความรู้สึก-รูป-รส-กลิ่น-เสียง-รส-การกระทบสัมผัสทางกาย-การกระทบสัมผัสทางใจคือสิ่งที่ใจรู้ใดๆ ที่เราชอบใจพอใจปารถนาใคร่ได้ทั้งหลาย)..นั่นก็เป็นทุกข์
                  ๒.๑ ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ(คนที่รัก-สัตว์ที่รัก-สิ่งที่รัก-อรารมณ์ความรู้สึก-รูป-รส-กลิ่น-เสียง-รส-การกระทบสัมผัสทางกาย-การกระทบสัมผัสทางใจคือสิ่งที่ใจรู้ใดๆ อันที่เราไม่ชอบไม่พอใจไม่พึงปารถนาใคร่ได้ทั้งหลาย)..นั่นก็เป็นทุกข์

- คุณจะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหลายทั้งปวงบนโลกใบนี้ เรานั้นจะต้องประสบพบเจอและมีความเป็นไปดั่งสัจธรรมในข้อที่ ๑-๒ เหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


- ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงทางโลก ในชีวิตคุณนั้น..การที่คุณจะเปิดใจยอมรับใครมันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย บางครั้งอาจจะเป็นเรื่องดีที่ทำให้คุณได้พบเจอกับความรักที่ดีงามก็ได้
- ขอเพียงแต่คุณนั้นต้องรู้วิธีที่จะรับมือกับสัจธรรมเหล่านี้ในเวลาต่อมาก็เท่านั้นเอง นั่นก็คือการศึกษาปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนอยู่เนืองๆเป็นประจำทุกวัน ซึ่งทางที่จะรับมือใดๆนั้นคือความมีใจไว้กลางๆ ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งใดๆ ไม่ตั้งความพอใจยินดีและไำม่พอใจยินดีไว้กับสิ่งใด โดยพึงเจริญในใจไว้ดังนี้
           ก. ให้คุณพึงระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า..สิ่งนี้ๆไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือ การกระสัมผัสและการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆมันไม่เที่ยง มันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันไม่เที่ยงไม่คงอยู่จีรังต้องสูญสลายและดับไปไม่ด้วยการดูแลรักษา สภาพแวดล้อม กาลเวลา หรือ สภาวะความปรุงแต่งทางกายและใจของสิ่งนั้นๆไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่งนี้
           ข. ให้คุณพึงระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า..สิ่งนี้ๆไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือ การกระสัมผัสและการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆมันไม่มีตัวตน อันที่เราจะไปบังคับ-ยื้อยึด-ฉุดรั้งให้มันเป็นไปดั่งใจเราปารถนาได้ เพราะมันไม่มีตัวตนดังนี้
           ค. ให้คุณพึงระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า..อย่าไปปารถนาใคร่ได้ยินดี อย่าไปตรึกนึกคิดคาดคะเนอนุมานเอาเองทั้งที่ยังไม่เห็นจริงหรือสิ่งที่เป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ควรพึงอยู่กับปัจจุบันขณะรู้แค่สภาวะในปัจจุบัน อย่าไปตั้งความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจกับสิ่งใดๆที่ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา หรือ สิ่งใดๆที่ไม่เที่ยง-ไม่มีตัวตน เพราะมันหาประโนชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์
           ง. ให้คุณพึงระลึกรู้อยู่เนืองๆคุณก็จะสามารถเข้าสู่ความมีใจวางไว้กลางๆเอง เรียกว่ามี อุเบกขาโดยเห็นในสัจธรรมหรือสภาพจริงในเบื้องต้น
           จ. ข้อธรรมที่คุณควรเจริญอยู่เนืองๆเป็นประจำทุกวันไม่ว่าคุณจะสมหวังหรือผิดหวัง เพื่อให้คุณนั้นได้มีชีวิตและจิตใจที่ผ่องใส สงบ และ เป็นปกติสุข คือ
                   - สติ(ความระลึกรู้ ตามระลึก ตามรู้กาย-ใจในปัจจุบัน หรือ หวนระลึกรู้)
                   - สัมปชัญญะ(ความรู้ตัวรู้ใจทั่วพร้อม รู้ชัดในปัจจุบันขณะ ความไม่หลง ความวิจัยสภาวะความปรุงแต่งนึกคิดกระทำทางกายและใจใดๆที่เกิดขึ้น)
                   - ศีล(ความมีปกติไม่เบียดเบียนทางกายและวาจา ทำพูดดี ทำดี)
                   - พรหมวิหาร๔(ความีปกติไม่โลภ-ไม่พยาบาทเบียดเบียน มีจิตผ่องใส คิดดี)
                   - ทาน(การสละให้ คือ การให้โดยไม่หวังผลตอบแทนและไม่คิดมาเสียใจเสียดายในภายหลัง ให้เพื่อให้รับได้ประโยชน์สุขจากสิ่งที่เราได้สละให้นั้น)
                   - ขันติ(ความอดทน คือ รู้อดใจไว้ รู้ละกายกระทำทางกายและวาจาไว้ รู้ปล่อย รู้อดโทษไว้)
                   - สมาธิ(ความมีจิตสงบสุขตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านใจ สลัดความคิดฟุ้งซ่านใจใดๆ)

อ่านเพิ่มเติมได้ตาม Link นี้ครับ http://www.thammaonline.com/forum/index.php/topic,15083.msg17152/topicseen.html#new

- หากเมื่อคุณเจริญปฏิบัติอย่างนี้อยู่เนืองๆเป็นประจำทุกวัน รับรองว่าความเศร้าหมองทุกข์ใจใดๆย่อมไม่เกิดแก่คุณแน่นอน


- สุดท้ายนี้บุญใดที่ผมเผยแพร่พระพุทธศาสนามา ใดปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมา เจริญมาแล้วทั้งสมถะและวิปัสนาเพื่อความได้รู้เห็นในธรรมจริงที่ถูกและตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเพื่อให้เผยแพร่พระธรรมในพระพุทธศาสนาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยนหรือบิดเบือน ด้วยอนุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง ด้วยอนุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง ด้วยอนุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง ด้วยเดชแห่งบุญนั้น ขอให้คุณออยได้พบเจอกับชีวิตที่ดีงาม มีความปกติสุขยินดี มีกาย-วาจา-ใจที่ดีงาม สมหวังในความรัก หน้าที่การงานเจริญสมหวังเป็นสุขนับแต่บัดนี้ด้วยเทอญ ด้วยเดชแห่งบุญนั้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2013, 06:10:05 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ออย
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: หญิง
อายุ: 43
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 2651


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2013, 10:32:34 AM »

Permalink: ความรักของฉัน
ขอบคุณค่ะ สำหรับคำแนะนำ ตอนนี้พยายามสวดมนต์บทพาหุงกับชินบัญชร ตามคำสอนของหลวงพ่อจรัญ สงบเป็นพักๆ ฟุ้งซ่านเป็นช่วง และรู้สึกว่าเย็นลงนะคะ แม้จะไม่ตลอดแต่จะพยายามสวดต่อไปค่ะ


ออย
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2013, 07:30:05 PM »

Permalink: ความรักของฉัน


คุณรู้คำแปลของบทสวดพาหุงไหม สวดๆไปไม่เข้าใจอานิสงส์น้อยมากนะครับ ดังนั้นควรจะสวดมนต์แปล แล้วดูในความหมายนั้นด้วยครับ ผมใคร่ขออนุญาตชี้แจงให้คุณได้รู้ตามจริงในบทสวดพาหุงเพื่อให้คุณเจริญตามและปฏิบัติเพื่อให้มีอานิสงส์มากนะครับ ดังนี้..

๑. พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง เมื่อพญามารเนรมิตแขนมากเป็นพัน ถืออาวุธในมือ
คิริเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ขี่ช้างคิริเมขละ สะพรึบพร้อมด้วยกองทัพอันน่าสะพรึงกลัว
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยทานบารมีเป็นต้นอันชอบธรรม
ตันเตชะสา ภะวะ เม* ชะยะมังคะลานิ ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะพญามารด้วยทานบารมีเป็นต้น
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะมาร คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด
ที่เป็นการคอยผูกเวร พยาบาท กลั่นแกล้ง ทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องเจริญในทานเป็นเบื้องต้นเช่นกัน
จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติและเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นอันมาก (ความหมายของทานผมบอกคุณไปแล้ว)


๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง เมื่ออาฬวกยักษ์ผู้ดุร้าย หยาบช้า และโหดเหึ้ยม
โฆรัง ปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง เข้ามาราวีตลอดทั้งคืนยิ่งกว่าพญามาร
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยการใช้พระขันติเป็นอุบายสั่งสอน
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะอาฬวกยักษ์ด้วยขันติบารมี
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะยักษ์ คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด
ที่เป็นการทำอกุศลจิต-อกุศลกรรมใดๆทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องเจริญในขันติเป็นเบื้องต้นเช่นกัน
จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติและเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นอันมาก (ความหมายของขันติผมบอกคุณไปแล้ว)


๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง เมื่อพญาช้างนาฬาคิรีตกมันหนักดุร้ายเหลือ
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง แล่นเข้ามาราวกับไฟไหม้ป่า ดุจจักราวุธ เหมือนฟ้าผ่า
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยน้ำพระเมตตา
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะพญาช้างนาฬาคิรีด้วยเมตตาบารมี
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะพญาช้างนาฬาคิรีตกมัน คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด
ที่มีโทสะดุร้าย เกรี้ยวกราด หรือ สิ่งที่ไม่พอใจยินดีทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องเจริญในเมตตา(พรหมวิหาร ๔)เป็นเบื้องต้นเช่นกัน
จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติและเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นอันมาก (ความหมายของเมตตาผมบอกคุณไปแล้วตาม Link ที่ให้ไว้)


๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง เมื่อโจรองคุลีมารผู้ดุร้าย ถือดาบเงื้อง่า
ธาวัง ติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง วิ่งไล่ติดตามไปเป็นหนทาง ๓ โยชน์
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยการบันดาลอิทธิฤทธิ์
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะโจรองคุลีมารด้วยอิทธิฤทธิ์บารมี
(หากคุณอ่านประวัติพระองคุลีมารเถระ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าชนะด้วยฤทธิ์ธรรมที่ชี้ตรัสบอกให้เห็นถึงในความถูก-ผิด หนีออกจากมิจฉาทิฐิ คือ ความเห็นผิด)
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะโจรองคุลีมาร คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด ที่มีความเห็นผิด เป็นมัจฉัตตะสิ่งที่ผิดไม่ถูกไม่ดีไม่งามทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องเจริญในฤทธิ์ธรรม คือ เจริญในสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบเป็นเบื้องต้นเช่นกัน
จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติและเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นอันมาก


๕. กัคตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา เมื่อนางจิญจาเอาผ้าห่อไม้ทำเป็นท้องเหมือนหญิงมีครรภ์
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ กล่าวคำใส่ร้ายในท่ามกลางหมู่ชน
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยความสงบนิ่งอันประเสริฐ
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะนางจิญจาด้วยปัสสัทธิ(ความสงบ)บารมี
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะนางจิญจา คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด ที่มีมิจฉาวาจา คือ มีวาจาเท็จ-ส่อเสีย-พร่ำเพ้อ-เพ้อเจ้อทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องเจริญในสัมมาวาจา ไม่พูดโกหก ไม่พูดพร่ำเพ้อ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดส่อเสียด
มีสติเจริญจิตเข้าในปัสสัทธิ คือ มีจิตตั้งอยู่ในความสงบ นิ่งอยู่ดับความฟุ้งซ่านเป็นเบื้องต้นเช่นกัน
จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติและเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นอันมาก


๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง เมื่อสัจจกนิครนถ์ละทิ้งความจริงแท้ ชูธงประกาศความเห็นของตนว่าถูกต้อง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง เป็นผู้มืดบอดอย่างยิ่ง ประสงค์จะโต้คารม
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยพระปัญูญูาดุจประทีปอันโชติช่วง
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะสัจจกนิครนถ์ด้วยการแสดงธรรมที่เป็นเหตุและผลในกายภาวนาและจิตตภาวนาตามจริงมีสัมมาสมาธิเป็นต้น
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะสัจจกนิครนถ์ คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด
ที่มีมานะทิฐิ ความหลงตน ถือตัว สำคัญตนทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องเจริญในความคิด-พูด-ทำที่เป็นเหตุและผล ขยันหมั่นนเพียรศึกษาปฏิบัติให้รู้แจ้งจริงไม่หลงทนงตนว่า ตนเก่งแล้ว-ดีแล้ว-สูงแล้ว
มีการอบรมในกายภาวนาและจิตตภาวนาให้ถึงพร้อมดีงาม มีสัมมาสมาธิเป็นเบื้องต้นเช่นกัน
ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสกับสัจจกนิครนถ์ว่า เมื่อมีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติและเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นอันมาก


๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง เมื่อนั้นโทปนันทนาคราชผู้หลงผิด แผ่อิทธิฤทธิ์ใหญ่
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต พระจอมมุนีโปรดให้พระเถระพุทธบุตรผู้ประเสริฐไปปราบ
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ทรงชนะด้วยการแสดงอิทธิฤทธิ์
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะโทปนันทนาคราชด้วยการให้พระโมคคัลลานะไปทรมานเพื่อให้ละมานะทิฐิ มิจฉาทิฐิ
ให้เกิดความเห็นชอบ รู้ในบาป-บุญ-คุณ-โทษ และ ได้รู้พระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อ แม่ บุพการีทั้งหลาย และ เจริญในศีล ๕ เป็นต้น
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะโทปนันทนาคราช คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด
ที่มีมานะทิฐิ ความหลงตนถือตัวไม่มีความเคารพนพน้อม อกุศลธรรมใดๆทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องมีปกติเป็นผู้อ่อนน้อมกราบไหว้-เคารพนพน้อมให้เกียรติผู้อื่น รู้พระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อ แม่ บุพการีทั้งหลาย
และ เจริญปฏิบัติใน ศีล ๕ เป็นปกติ เพื่อเว้นจากกายและวาจาที่เบียดเบียนผู้อื่น มีความปกติไม่ร้อนรน เบาสบายกาย-ใจ มีจิตใจผ่องใส สงบ สุข
จึงจะเรียกว่า ปฏิบัติและเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทำให้เกิดอานิสงส์เป็นอันมาก


๘. ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง เมื่อพรหมนามว่าพกะ ผู้บริสุทธิ์ ผ่องใส มีฤทธิ์ มีหัตถ์
พรัหมัง** วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ถูกงูคือมิจฉาทิฏฐิขบกัดแล้ว
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท พระจอมมุนีทรงชนะด้วยพระญาณโอสถ
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ. ด้วยพระเดชนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชนะท้าวพกะพรหมทีสำคัญว่าทุกอย่างเป็นของเที่ยงแม้จีรังด้วยพระญาณ(ปัญญาที่รู้แจ้ง)ให้ละมิจฉาทิฐิ(เห็นผิด) มิจฉาสังกัปปะ(คิดผิด)
ดังนั้น..คุณจะเอาชนะท้าวพกาพรหม คือ สภาวะธรรมใด-สิ่งใด-บุคคลใด
ที่มีความเห็นผิด ความคิดผิด มีความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา หลงอยู่สำคัญตน เข้าไปตั้งอุปาทานใดๆทั้งหลายทั้งปวงได้
คุณก็ต้องไม่หลงตน ไม่สำคัญตน ถือตน ไม่ยกตนว่าสูงกว่าใคร ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆว่าเที่ยงแท้จีรังคงอยู่มีตัวตนที่บังคับให้เป็นไปดั่งใจได้
มีปกติระลึกรู้อยู่เนืองๆว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง มีความแปรปรวนและดับไปเป็นธรรมดา ไม่คงอยู่ ไม่มีตัวตนอันเราจะบังคับจับต้องให้เป็นไปดั่งใจได้
(เหมือนที่ผมบอกในกระทู้ที่ตอบคุณครั้งแรก)


เจริญให้ครบทั้ง ๘ ข้อคือมี สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ พิจารณาเห็นในอริยะสัจ๔ สัมมาวาจา มีสติ สัมปชัญญะ เจริญกาย-วาจาในศีล เจริญจิตในพรหมวิหาร๔ ทาน ขันติ สัมมาสมาธิ ไม่ถือตน หลงตน ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด มีปกติเคารพนพน้อมกราบไว้ กตัญญู กตเวที แล้วมรรคข้อที่เหลือก็จะครบองค์เอง จะเป็นเกาะป้องกันภัยอันตรายทั้งหลายให้คุณ และ ทำให้คุณเป็นที่ควรแก่การเคารพนพน้อม เป้นที่รักแก่ผู้อื่น ไปอยู่ที่ไหนก็สบายกายใจไม่มีความร้อนรน ร้อมรุ่มใดๆ ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2013, 10:19:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2013, 11:26:07 PM »

Permalink: ความรักของฉัน
พระพุทธเจ้า สอนว่า คนจะเป็นเนื้อคู่กัน ต้อง

๑.มีศรัทธาเสมอกัน
๒.มีศีลเสมอกัน
๓.มีจาคะเสมอกัน
๔.มีปัญญาเสมอกัน


***********************************

คัมภีร์พระไตรปิฎก พูดถึงภรรยาไว้ 7 ประเภท คือ

(1) ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต ได้แก่ ภรรยาล้างผลาญประเภทคู่เวรคู่กรรม คิดแต่จะทำลายสามีให้ย่อยยับ จนกระทั่งทำลายชีวิต

(2) ภรรยาเยี่ยงโจร ได้แก่ ภรรยาปล้นทรัพย์ประเภท ...กะเชอก้นรั่ว...หามาได้เท่าใดไม่พอใช้จ่าย


(3) ภรรยาเยี่ยงนาย ได้แก่ ภรรยาที่ทำตนเหนือสามี ดูถูกสามีว่าด้อยกว่าตน


(4) ภรรยาเยี่ยงแม่ ได้แก่ ภรรยาที่รักเอ็นดูสามีเสมือนแม่รักและเอ็นดูลูก  ไม่ทอดทิ้งสามีไม่ว่ากรณีใดๆ


(5) ภรรยาเยี่ยงน้องสาว ได้แก่ ภรรยาที่ทำตนดุจน้องสาว สามีภรรยาเช่นนี้มักทะเลาะเบาะแว้งกระทบกระทั่งกันเรื่อย ด้วยสาเหตุ เล็กๆ น้อยๆ แบบพี่ทะเลาะกับน้อง แต่ก็ตัดไม่ตายขายไม่ขาด

 
(6) ภรรยาเยี่ยงเพื่อน ได้แก่ ภรรยาที่เป็นเพื่อนคู่คิดของสามีเหมือนเพื่อนรัก คอยปรึกษาหารือกันและกัน


(7) ภรรยาเยี่ยงทาสี ได้แก่ ภรรยาที่ยอมให้สามีดุด่าสับโขกตบต่อยทุบตี ยอมทนเพราะ ...รัก... สามีสุดหัวใจ



สามีพึงทราบว่ามี 7 ประเภทเช่นเดียวกัน



ขอเจริญในธรรม
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มกราคม 29, 2024, 08:56:54 AM