เมษายน 20, 2024, 07:59:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิต เจตสิก วิญญาณ และ ขันธ์ห้า  (อ่าน 13414 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: มีนาคม 21, 2014, 11:01:26 PM »

Permalink: จิต เจตสิก วิญญาณ และ ขันธ์ห้า
จิต  เจตสิก วิญญาณ  และ ขันธ์ห้า

ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ   ก่อนที่ผมจะมาเรียน อภิธรรม มีความเข้าใจว่า

คน สัตว์ วัตถุ สิ่งของ เป็นรูป  รวมทั้ง เสียง กลิ่น รส ก็เป็นรูป  นั่นคือ สิ่งที่กระทบกับ ประสาททั้งห้าได้ เป็น รูป

เมื่อ ประสาททั้งห้า กระทบ หรือ เรียกว่า ผัสสะ ก็เกิด เวทนา คือ ชอบ ไม่ชอบ เฉยๆ กับสิ่งที่มากระทบ  ต่อจากนั้น

ก็เกิดการจดจำ นั่นคือ เกิดสัญญา แล้วสุดท้ายก็เกิดการรับรู้ ก็คือ วิญญาณ

ส่วนเรื่อง จิต เจตสิก ก็มีความเข้าใจว่า จิต คือ สภาพที่ คิด นึก  โลภ โกรธ หลง ยึดมั่น ปล่อยวาง ฯลฯ ซึ่งมี เจตสิก เป็นเครื่องมีอของ จิต

แต่หลังจากที่มาเรียน อภิธรรม แล้ว จึงได้ความเข้าใจใหม่ว่า

ขันธ์ แปลว่า กอง  ดังนั้น ขันธ์ห้า จึงมี ห้ากอง ได้แก่  รูปขันธ์ คือ กองรูป  เวทนาขันธ์ คือ กองเวทนา ....... วิญญาณขันธ์ คือ กองวิญญาณ

และเมื่อเป็น กอง ก็ย่อมหมายถึงมีจำนวนมาก  

จำนวนมีมากเท่าใด ขอแจกแจงดังนี้




รูป มี ๒๘ รูป  ได้แก่

(มหาภูตรูป 4 ได้แก่)
1. ปฐวีธาตุ ได้แก่ สภาพความ อ่อน แข็ง
2. อาโปธาตุ ได้แก่ สภาพความ ไหล เกาะกุม
3. เตโชธาตุ ได้แก่ สภาพความ เย็น ร้อน
4. วาโยธาตุ ได้แก่ สภาพความ หย่อน ตึง

(ปสาทรูป 5 ได้แก่)
5. จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา
6. โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู
7. ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก
8. ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น
9. กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย

(วิสยรูป หรือโคจรรูป 4 ได้แก่)
10. วัณณะรูป หรือ รูปสี (รูปารมณ์)
11. สัททรูป หรือ รูปเสียง (สัททารมณ์)
12. คันธรูป หรือ รูปกลิ่น (คันธารมณ์)
13. รสะรูป หรือ รูปรส (รสารมณ์)

(ภาวรูป 2 ได้แก่)
14. อิตถีภาวรูป คือความเป็นเพศหญิง
15. ปุริสภาวรูป คือความเป็นเพศชาย

16. หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้ง อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก

17. ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม

18. อาหารรูป คือ โอชาที่มีอยู่ในอาหาร หรือ สารอาหารที่ใช้หล่อเลี้ยงร่างกาย


--------------------------------------------------------------------------------

19. ปริจเฉทรูป ได้แก่ ช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป

(วิญญัตติรูป 2)
20. กายวิญญัตติรูป ได้แก่ การเคลื่อนไหวกาย
21. วจีวิญญัตติรูป ได้แก่ การกล่าววาจา

(วิการรูป 3)
22. ลหุตารูป ได้แก่ รูปเบา
23. มุทุตารูป ได้แก่ รูปอ่อน
24. กัมมัญญตารูป ได้แก่ รูปควรแก่การงาน

(ลักขณรูป 4)
25. อุปจยรูป ได้แก่ รูปที่เกิดขึ้นขณะแรก
26. สันตติรูป ได้แก่ รูปที่เกิดสืบต่อเนื่อง
27. ชรตารูป ได้แก่ รูปใกล้ดับ
28. อนิจจตารูป ได้แก่ รูปที่แตกดับ

**********************

จะเห็นว่า รูป ไม่ได้มีแค่ สี เสียง กลิ่น รส สัมผัสเท่านั้น ยังมีอย่างอื่นอีก เช่น ภาวะเพศชาย หญิง อันนี้ไม่ได้หมายถึง

รูปร่างหรือ อวัยวะ เพราะ อวัยวะนั้นคือ ปฐวีธาตุ แต่หมายถึง สภาวะซึ่งทำให้กลายเป็นชาย หญิง

ชีวิตรูป ที่รักษาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่ให้แตกดับไปก่อนอายุขัย  ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิตจะไม่มี ชีวิตรูป  เช่น ต้นไม้

ต้นไม้ ไม่มีชีวิตรูป คือ ไม่มีชีวิต แต่ที่เติบโตได้ เพราะอาศัยปัจจัยคือ อุตุ และ อาหาร

ชีวิตรูป เกิดจาก กรรม นั่นคือ สิ่งมีชีวิต ต้องเกิดจากกรรมนั่นเอง ต้นไม้ไม่มีกรรมส่งมาเกิด จึงเป็นสิ่งไม่มีชีวิต

ความหมายของคำว่า ชีวิต ใน อภิธรรม จะไม่ตรงกับทางโลกที่ใช้กัน

และยังมีรูปที่เกิดจาก จิต อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ คือ การเคลิื่อนไหว เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน และ การพูด


 




บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 22, 2014, 11:13:21 AM »

Permalink: จิต เจตสิก วิญญาณ และ ขันธ์ห้า

อายตนะ ๑๒

ในรูป ๒๘ นั้น มีส่วนที่เรียกว่า อายตนะ  แบ่งเป็น

อายตนะภายใน  ได้แก่ ปสาทรูป ๕ คือ

๑.จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา

๒.โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู

๓.ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก

๔.ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น

๕.กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย


อายตนะภายนอก ได้แก่ วิสยรูป ๗ คือ

๖.วัณณะรูป หรือ รูปสี (รูปารมณ์)

๗.สัททรูป หรือ รูปเสียง (สัททารมณ์)

๘.คันธรูป หรือ รูปกลิ่น (คันธารมณ์)

๙.รสะรูป หรือ รูปรส (รสารมณ์)

๑๐.โผฏฐัพพรูป หรือ (ปฐวี. เตโช. วาโย.) โผฏฐัพพารมณ์ หรือ สัมผัสที่ เย็น ร้อน . อ่อน แข็ง . หย่อน ตึง  .

ส่วน อาโปธาตุ สัมผัสด้วยอายตนะทางกายไม่ได้ ต้องรู้ด้วยทางใจอย่างเดียว (๑๑.ใจ คือ มนายตนะ)

และรูปที่เหลือทั้งหมด เป็น ๑๒.ธัมมายตนะ
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 22, 2014, 11:56:10 AM »

Permalink: จิต เจตสิก วิญญาณ และ ขันธ์ห้า
ว่าด้วยเรื่องของ รูปขันธ์ พอสังเขปแล้ว ขอแจกแจงว่าด้วยเรื่อง จิต เจตสิก ต่อไป

จิต เป็นสภาพที่รู้อารมณ์  และ เกิด ดับ ติดต่อต่อเนื่องกันไม่หยุดตลอดเวลา วินาทีหนึ่งถึงแสนโกฎครั้ง

การเกิดขึ้นทีละดวงต่อเนื่องกันไปเหมือนขบวนรถไฟ ขบวนหนึ่งๆเรียกว่า วิถีจิต

วิถึจิต คือขบวนจิตชุดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นมาเสพอารมณ์ที่กำลังได้รับ การเสพอารณ์จะอยู่ช่วงท้ายของวิถีจิต แล้วก็จะดับไป แล้วขบวนใหม่

ก็เกิดขึ้นมาอีก ตราบใดที่อารมณ์ยังมีอยู่ แม้ขณะนอนหลับ จิตก็ยังเกิดดับต่อเนื่อง แต่ในขณะหลับ เป็น ภวังคจิต คือ จิตที่เป็น วิบาก และก็

รักษาอารมณ์ที่มาจาก อดีตชาติเมื่อตอนใกล้ตาย (กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง)

ภวังคจิต ไม่ได้เกิดเฉพาะตอนนอนหลับ แต่เกิดตลอดเวลาเช่นกัน โดยเกิดคั่นระหว่าง วิถีจิตหนึ่งๆตลอดเวลา  

จิตทุกดวงมีกิจ หรือหน้าที่ การเกิดขึ้นของจิตแต่ละดวงก็ต้องทำหน้าที่ มีดังต่อไปนี้

จิต  แบ่งตามหน้าที่  14  กิจ

  1. ปฏิสนธิกิจ   ทำหน้าที่เกิด

  2. ภวังคกิจ  รักษาดำรงภพชาติ  

  3. อาวัชชนกิจ   กิจที่รำพึงถึงอารมณ์ทั้ง 6

  4. ทัสสนกิจ   ทำกิจเห็น  

  5. สวนกิจ  ทำกิจได้ยิน    

  6. ฆายนกิจ  ทำกิจได้กลิ่น  

  7. สายนกิจ  ทำกิจลิ้มรส  

  8. ผุสสนกิจ   ทำกิจกระทบสัมผัส  

  9. สัมปฏิจฉันนกิจ   ทำกิจรับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ

10. สันตีรณกิจ   ทำกิจพิจารณาอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ

11. โวฏฐัพพนกิจ   ทำกิจตัดสินอารมณ์

12. ชวนกิจ    ทำกิจเสพอารมณ์

13. ตฑาลัมพนกิจ  รับอารมณ์ต่อจากชวนะ

14. จุติกิจ   เคลื่อนจากภพ  คือมรณะ

******************

จิตที่ทำหน้าที่ ภวังค์ ปฏิสนธิ จุติ คือ กลุ่มของ วิบาก

จิตทีี่ทำหน้าที่ ขวนะ คือ กลุ่มของ กุศล อกุศล กริยา

จิคที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รส สัมผัส คือ กลุ่มของ ปัญจวิญญาณ

จิตที่ทำหน้าที อาวัขขนะ คือ ปัญจทวารวัชชนะจิต และ มโนทวาราวัชชนะจิต  ฯลฯ


ภาพวิถีจิตหนึ่งในหลายๆวิถี

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 24, 2014, 03:46:53 PM »

Permalink: จิต เจตสิก วิญญาณ และ ขันธ์ห้า
จิต เกิดขึ้นเพื่อทำกิจหรือหน้าที่ของตนแล้วดับไป ดวงใหม่ก็เดิดขึ้นต่อเนื่องทันที เมื่อตายแล้วเกิดใหม่ในภพภูมิอื่น

จิตก็เกิดดับสืบต่อ ต่อเนื่องกันไปไม่มีหยุด  จะดับสนิทไม่เกิดอีกด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ว่าโดยประเภทของ จิต มี ๔ ประเภทใหญ่ๆ เรียกว่า เป็นชาติของจิต คือ

กุศลชาติ  อกุศลชาติ  วิบากชาติ  กริยาชาติ

จิตที่เป็นกลุ่ม กุศล อกุศล กริยา ทำหน้าที่ ขวนะ

จิตที่เป็นกลุ่ม วิบาก ทำหน้าที่หลายอย่าง คือ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ตทารัมมณะ สัมปฏิฉนะ สันตีรณะ อาวัชชนะ

และที่เป็นกลุ่ม วิญญาณธาตุห้า ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน กลิ่น รส สัมผัส

นอกจาก จิต จะมี กิจ มี ชาติ แล้ว ยังมี ภูมิ ของตนอีก คือ จิตที่เป็น กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และ โลกุตตระภูมิ

แต่ว่าเมื่อรวมทั้งหมดแล้ว จิต ทั้งหมดมี ๘๙ ดวง (หรือ ๑๒๑ ดวงโดยพิสดาร)

จะเห็นได้ว่า เรื่องของ จิต มีพิสดารมากมายหลายแบบหลายแง่มุม จึงจัดได้เป็น กอง ซึ่งเรียกว่า วิญญาณขันธ์



บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 26, 2014, 06:04:47 PM »

Permalink: จิต เจตสิก วิญญาณ และ ขันธ์ห้า
ธาตุ ๑๘

ในรูป ๒๘ มีอยู่ ๑๐ ธาตุ คือ ในปสาทรูป ๕ ได้ ๕ ธาตุ คือ จักขุธาตุ  โสตธาตุ  ฆานธาตุ  ชิวหาธาตุ และ กายธาตุ

และในปัญจรมณ์ ๕ ได้ ปัญจธาตุ คือ รูปธาตุ  สัททธาตุ  คันธธาตุ  รสธาตุ และ โผฎฐัพพธาตุ

***************

ส่วนในจิต ๘๙ ดวงนั้น ได้ ๗ ธาตุ  เรียกว่า วิญญาณธาตุ ๗ คือ

๑.จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น จักขุวิญญาณธาตุ

๒.โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น โสตวิญญาณธาตุ

๓.ฆานวิญญาณขิจ ๒ ดวง เป็น ฆานวิญญาณธาตุ

๔.ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ

๕.กายวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น กายวิญญาณธาตุ

๖.สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง และ ปัญจทวารวัชชนจิต ๑ ดวงเป็น มโนธาตุ

๗.จิตที่เหลือ ๗๖ ดวง เป็น มโนวิญญาณธาตุ

รูปที่เหลือ ๑๖ และ เจตสิก ๕๒ ดวงทั้งหมด  นิพพาน เป็น ธัมมธาตุ  // ครบ ๑๘ ธาตุ

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 27, 2014, 06:22:28 PM »

Permalink: จิต เจตสิก วิญญาณ และ ขันธ์ห้า
อารมณ์ของ จิต แบ่งเป็น ๔ อย่างกว้างๆ คือ

๑.กามอารมณ์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทั้งที่เป็น กุศล และ อกุศล เป็นอารมณ์ของ จิต ในกามภูมิ

๒.มหัคคตอารมณ์ คือ อารมณ์ของ จิต ในการทำ อรูปฌาน

๓.บัญญัติอารมณ์ คือ ชื่อ และ เสียงต่างๆที่สมมุติกันขึ้น และอารมณ์กรรมฐาน เช่น กสิณ๑๐ อศุภะ๑๐ อานาปานสติ ฯลฯ

 เป็นอารมณ์ของ จิต ในการทำรูปฌาน

๔.นิพพานอารมณ์ คือ อารมณ์ของ จิต ในขณะเจริญ มรรค ในพระอริยะบุคคล

*************

พระอริยะบุคคล มี ๔ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์

พระเสกข คือ พระอริยะเบื้องต่ำสาม เพราะยังต้องศึกษา ใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อไปอีก

พระอเสกข คือ พระอรหันต์ ไม่ต้องศึกษาอีกแล้ว เพราะจบพรหมจรรย์แล้ว

ส่วนปุถุชน ที่ยังศึกษา ยังไม่ใช่ พระเสกข เพราะยังมี วิปลาสธรรม ๑๒ และ กิเลส ๑๐ อยู่เพียบ

คำว่า ทัสสนะ กับ ภาวนา นั้น พระโสดาบัน เรียกว่า กระทำให้ ทัสสนะ เกิดขึ้น คือ เห็นพระนิพพานเป็นครั้งแรก

ส่วนพระอริยะบุคคลที่เหลือสาม เรียกว่า กระทำภาวนา คือ ทำมรรคที่ตนได้แล้ว ให้เจริญขึ้น จนถึงที่สุดคือ อรหัตตมรรค

ที่ไม่เรียกว่า ทัสสนะ อีกเพราะ ได้เห็นพระนิพพานอันเดียวกับที่ โสดามรรค เห็นมาแล้ว

จิตที่ได้ มรรค จะเกิดขึ้นเพียง ๔ ครั้งเท่านั้นในสังสารวัฎฎ์ เกิดครั้งแรกคือได้ โสดาปัตติมรรค เกิดครั้งที่สองคือได้ สกทาคามีมรรค

เกิดครั้งที่สามคือได้ อนาคามีมรรค  เกิดครั้งที่สี่คือได้ อรหัตตมรรค  โดยทั้งสี่ครั้ง มี นิพพาน เป็นอารมณ์เช่นเดียวกันหมด

***************************

พระโสดาบัน จะละ มัจฉริยะ เหล่านี้ได้หมด คือ

1.อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่, หวงที่อาศัย เช่น ภิกษุหวงเสนาสนะ กีดกันผู้อื่นหรือผู้มิใช่พวกของตน ไม่ให้เข้าอยู่ เป็นต้น)

2.กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล, หวงสกุล เช่น ภิกษุหวงสกุลอุปัฏฐาก คอยกีดกันภิกษุอื่นไม่ให้เกี่ยวข้องได้รับการบำรุงด้วย เป็นต้น)

3.ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ, หวงผลประโยชน์ เช่น ภิกษุหาทางกีดกันไม่ให้ลาภเกิดขึ้นแก่ภิกษุอื่น)

4.วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ, หวงสรีรวัณณะ คือผิวพรรณของร่างกาย ไม่พอใจให้ผู้อื่นสวยงาม ก็ดี หวงคุณวัณณะ คือ คำสรรเสริญคุณ ไม่อยากให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน หรือไม่พอใจได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของผู้อื่น ก็ดี ตลอดจนแบ่งชั้นวรรณะกัน)

5.ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม, หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอนไม่ยอมบอกผู้อื่น กลัวเขาจะรู้เทียมเท่าหรือเกินตน)

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 25, 2024, 11:57:07 PM