เมษายน 19, 2024, 01:34:38 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑  (อ่าน 29577 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2014, 10:58:08 AM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
ปฎิสนธิจิต คือ จิตที่นำเกิดในภพชาติใหม่ทันทีที่หมดอายุขัย (ยกเว้นแต่พระอรหันต์) มีอยู่ ๑๙ ดวง พาไปเกิดในภพภูมิต่างๆ ๓๑ ภูมิ

การที่จะได้ปฎิสนธิจิตดวงใด และไปเกิดในภูมิใด ขึ้นอยู่กับ กรรม ที่เราทำในชาตินั้นๆ มี ๔ ระดับคือ

๑.ครุกรรม  คือ กรรมหนักให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ

๒.อาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำใกล้ตาย ให้ผลรองลงมา

๓.อาจิณกรรม กรรมที่ทำบ่อยๆ

๔.กฎัตตากรรม กรรมที่นอกจากทั้งสาม คือกรรมที่มาจากภพก่อนๆ  หรือกรรมที่สักแต่ว่าทำ

******

ในปฎิสนธิจิต ๑๙ แบ่งเป็น

จิตที่พาไปเกิดในอบายภูมิ ๔ (นรก เปรต อสูร ดิรัจฉาน) ๑ ดวง คือ อกุศลสันตีรณ วิบากจิต

จิตที่พาไปเกิดในสุคติภูมิ๒ แต่ไม่ค่อยดีนัก คือ เกิดเป็น เทวดาชั้นต่ำๆ หรือ เกิดเป็นมนุษย์ที่มีความพิการ(บ้า ใบ้ บอด หนวก)
มี ๑ ดวง คือ กุศลสันตีรณ วิบากจิต

จิตที่พาไปเกิดในสุคติภูมิ๗ (มนุษย์ และ สวรรค์ทั้ง ๖) มี ๘ ดวง คือ มหากุศล วิบากจิต

จิตที่พาไปเกิดในรูปพรหม ๑๖ ชั้น มี ๕ ดวง คือ รูปาวจรฌาน วิบากจิต

จิตที่พาไปเกิดใน อรูปพรหม ๔ ชั้น มี ๔ ดวง คือ อรูปาวจรฌาน วิบากจิต

**************
 




บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2014, 09:55:53 PM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
ตัวอย่าง อสันนกรรม พาพ้นจากอบาย

***********

เทพบุตรตนหนึ่งนามว่า “สุปติฏฐิตะ”  ได้เสวยทิพยสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  แต่เมื่อย้อนอดีตกลับไปเมื่อตอนเป็นมนุษย์แล้ว

เกิดเป็นคนมีอาชีพ พรานล่าเนื้อ  ได้ทำลายสัตว์อย่างไร้ความปราณีไปนับไม่ถ้วนเสมอๆ จัดเป็น อาจิณกรรม ซึ่งกรรมอันนี้สามารถส่งผล

ให้ต้องไปตกในอบายภูมิ  แต่ว่า เขามีเพื่อนสนิทอยู่คนหนึ่ง ซึ่งคอยชักชวนให้เขาไปรักษาอุโบสถศีล ด้วยเพราะขัดใจเพื่อนไม่ได้

จึงต้องตามไปรักษาอุโบสถศีลอยู่บ้างเป็นบางครั้งบางคราว  เมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น เพื่อนสนิทก็ได้มาบอกให้ระลึกถึงบุญกุศล

ที่เคยได้รักษาอุโบสถศีลด้วยกัน ทำให้ตายไปมาบังเกิดเป็นเทวดา พ้นจากอบายไปได้อย่างหวุดหวิด

นี่เป็นเพราะความแรงของอารมณ์เมื่อใกล้ตายส่งผล



บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2014, 10:23:08 AM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
พระบาลีแสดง ปฏิสนธิ ๔ อย่าง  

อปายปฏิสนฺธิ   กามสุคติปฏิสนฺธิ   รูปาวจรปฏิสนฺธิ   

         อรูปาวจรปฏิสนฺธิเจติ   จตุพฺพิธา   ปฏิสนฺธิ  นาม .

แปลความ

ชื่อว่า ปฏิสนธิมี ๔ ประการคือ  อปายปฏิสนธิ ๑, กามสุคติปฏิสนธิ ๑, รูปาวจรปฏิสนธิ ๑, อรูปาวจรปฏิสนธิ ๑,

    ปฏิสนธิ  หมายความว่า  เมื่อภพเก่าสิ้นสุดลงแล้ว  จิต เจตสิกและกัมมชรูป ปรากฏเกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่ภพใดภพหนึ่ง โดยอำนาจแห่งการสืบต่อภพเก่ากับภพใหม่ เรียกว่า  ปฏิสนธิ  

ฉะนั้นการปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิต  เจตสิก  และกัมมชรูปครั้งแรกในอบายภูมิ ๔ เรียกว่า  อปายปฏิสนธิอย่างหนึ่ง

การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิตเจตสิก และกัมมชรูปครั้งแรกในกามสุคติภูมิ ๗ เรียกว่า กามสุคติปฏิสนธิอย่างหนึ่ง

   การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิต  เจตสิก  และกัมมชรูปครั้งแรกในรูปภูมิ ๑๕  และการปรากฏเกิดขึ้นแห่งกัมมชรูปครั้งแรกในอสัญญสัตตภูมิ  ทั้ง ๒ นี้  เรียกว่า รูปาวจรปฏิสนธิอย่างหนึ่ง   

การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิต  เจตสิก   ครั้งแรกในอรูปภูมิ ๔ เรียกว่า  อรูปาวจรปฏิสนธิ  อย่างหนึ่ง

********************

ในการทำ กุศล และ อกุศล ทุกครั้งเป็นการสร้างกรรม ที่ให้ผลเป็น วิบาก และ กัมชรูป

วิบากจิตที่สามารถนำเกิดได้มี ๑๙ ดวง คือทำหน้าที่เป็น ปฏิสนธิจิตในภพใหม่ แล้ววิบากจิตดวงนี้ก็จะกลายเป็น ภวังคจิตของผู้นั้นไปตลอดจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  แล้ว กรรมใหม่ที่สร้างชึ้นในภพนั้น+กรรมเก่าที่ยังส่งผลมาได้ ก็จะเป็นคนเลือก วิบากจิตดวงใหม่ให้ไปปฎิสนธิในภพภูมิที่เหมาะสมอีกต่อไป

**************

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2014, 11:12:40 AM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
อบายภูมิ มี ๔ ภูมิ  ได้แก่ นรก เปรต อสูร และ ดิรัจฉาน


การได้เกิดในอบายภูมิ เพราะ อกุศลกรรมที่ทำไว้ เพราะ อปาย แปลว่า ไม่มีกุศล

อกุศล เมื่อนำเกิด จะไปเลือก วิบากจิต ที่ชื่อว่า อกุศลสันตีรณจิต ไปทำหน้าที่ปฏิสนธิ หลังจากนั้นก็จะกลายเป็น ภวังคจิต ติดตัวไปเพื่อรักษาสัตว์นั้นไม่ให้เคลื่อนไปจากภพชาตินั้นจวบจนหมดสิ้นอายุขัยในภพชาตินั้นๆ

ภูมิที่อยู่ติดกับมนุษย์ คือ ดิรัจฉานภูมิ ได้แก่ สัตว์ต่างๆที่เราเห็นนั่นเอง

ดิรัจฉาน แปลว่า   สัตว์ผู้ที่มีลำตัวไปในทางขวางต่อพื้นโลก   หรือภูมิที่ขัดขวางต่อพระนิพพาน เพราะเป็นภูมิที่ทำอกุศลได้ง่าย มีการเบียดเบียนกันเอง ล่ากันเอง ซึ่งจะสะสมอกุศลมากยิ่งขึ้นจนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกยากมาก ถือว่าขัดขวางทางซึ่งจะไปให้ถึงพระนิพพาน  

**********************

ติรัจฉานมี 4 จำพวกได้แก่

อปทติรัจฉาน สัตว์ที่ไม่มีขาและไม่มีเท้า เช่น งู ไส้เดือน

ทวิปทติรัจฉาน สัตว์ที่มี 2 ขา เช่น ไก่ นก

จตุปทติรัจฉาน สัตว์ที่มี 4 ขา เช่น ช้าง ม้า วัว

พหุปทติรัจฉาน สัตว์ที่มีมากกว่า 4 ขา เช่น แมงมุม ตะขาบ

************************

สัตว์เดรัจฉานนั้นจะมีสัญญาหรือความจำแค่ ๓ อย่างคือ  

   ๑)กามสัญญา รู้จักเสพกาม
  
   ๒)โคจรสัญญา รู้จักหากิน และหาที่นอน

   ๓)มรณสัญญา รู้จักกลัวความตาย

          ซึ่งสัตว์เดรัจฉานนั้นจะไม่มีสติสัมปชัญญะ  และ  ปัญญาในการใคร่ครวญหาเหตุผล   ความรู้สึกผิดชอบชั่่วดี    และปัญญาในการตัดสินใจว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ชั่ว คือมีชีวิตที่ไม่สามารถทำตนให้ถึงพระนิพพานได้ถือว่าเป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่ง

********************

สัตว์ดิรัจฉานเหล่าต่างๆ

เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นภักษา ได้แก่  คือ  ม้า  โค  ลา  แพะ  เนื้อ ...

เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นภักษา  คือ  ไก่  สุกร  สุนัขบ้าน  สุนัขป่า  

เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในที่มืด  คือ  ตั๊กแตนมอด  ไส้เดือน

เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในน้ำ  คือ  ปลา  เต่า  จรเข้

เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก  จำพวกที่เกิดแก่ตายในปลาเน่าก็มี  ในศพเน่าก็มี  
ในขนมกุมมาสเก่าก็มีในน้ำครำก็มี  ในหลุมโสโครกก็มี


******************
เหตุที่ต้องมาเกิดในเดรัจฉานภูมิ

- ประพฤติผิด ไร้ศีลธรรม
- ไม่รู้จักจรรยามารยาท
- ไม่รู้จักวัฒนธรรม
- ไม่รู้จักเลี้ยงชีพโดยชอบ
- ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ
- ไม่รู้จักสร้างคุณความดี
- ไม่รู้จักเผื่อแผ่แบ่งปัน
- ไร้ยางอาย ไม่กลัวบาป
- หาความสุขให้ตนเองกับการกินอยู่หลับนอน และเสพกามอย่างเพลิดเพลิน
- ไม่สนใจที่จะสร้างความดี
- เบียดเบียนผู้อื่น ไปเกิดเป็นสัตว์ที่ถูกใช้แรงงาน ถูกฆ่า ถูกทรมาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย
- ใช้อำนาจบาตใหญ่ข่มเหง ไปเกิดเป็นสัตว์ดุร้ายใช้กำลัง เช่น เสือ สิงโต
- หมกมุ่นกับการเสพกาม ไปเกิดเป็นสัตว์ที่ออกไข่ได้ทุกฤดู
- หลอกลวง โป้ปดมดเท็จ ไปเกิดเป็นสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา
- ติดสุรายาเมา ไปเกิดเป็นสัตว์ที่กินอุจจาระและขยะเป็นอาหาร


บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2014, 11:54:38 AM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
กรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ

********************
 
กำเนิดเป็นกวาง เก้ง

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ ชอบหลงมัวเมาในเรือนร่างสัดส่วน อันน่ารัก น่าใคร่ น่าหลงใหลติดใจ พึงพอใจในการขายเนื้อขายตัว มักมากในกามารมณ์ มั่วกามเคล้าโลกีย์อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน หาเงินมาโดยมิชอบ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ต้องเกิดเป็นพวกเนื้อ เก้ง กวาง ละมั่ง อาศัยอยู่ในป่าลึก ถูกมนุษย์ตามล่ามาบริโภค ชดใช้หนี้กรรมตามจริงนิสัยเดิมที่ตนได้ก่อไว้แต่ชาติปางก่อน

          ยังมีสัตว์อีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เพื่อให้เรื่องสั้นกระชับ จึงให้ข้อสังเกตว่าสัตว์เดรัจฉานส่วนมากพ้นออกมาจากนรก เปรต อสุรกาย แล้วมาชดใช้เศษกรรมเล็กๆ น้อยๆ จนกว่าจะหมดกรรมเก่า มีสัตว์หลายชนิดเมื่อเสวยกรรมเก่าหมดแล้วก็อาจไปเกิดในสวรรค์ หรือเป็นมนุษย์ต่อไปได้ เช่น สุนัข ลิง แมว ปลา นก เป็นต้น แต่ขึ้นชื่อว่ากุศลธรรมและอกุศลธรรมแล้ว ทำไว้อย่างไรก็ย่อมได้รับอย่างนั้น เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น

 

กำเนิดเป็น สุนัข สุนัขจิ้งจอก

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในทรัพย์สมบัติ ลูกเมียสามี เฝ้าห่วงหวงอย่างยึดมั่นถือมั่น เยื่อใยตัดไม่ขาดอาลัยอาวรณ์ในบ้านที่ดิน เรียกค่าคุ้มครอง หลอกต้ม ข่มเหงคน ค้าประเวณี รับราชการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ลักเล็กขโมยน้อย จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มาเกิดเป็นสุนัข บ้างก็มาเฝ้าสมบัติลูกเมียสามี บ้างก็คอยเป็นยามเฝ้าระวังภัยคอยเห่าหอนให้เจ้านายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต บ้างก็เกิดเป็นหมาขี้เรื้อนเพื่อชดใช้หนี้กรรมของตนในชาติปางก่อน

 

กำเนิดเป็นปลาต่าง ๆ

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ชอบสอดรู้สอดเห็น พูดจาปลิ้นปล้น หลอกลวงให้ผู้อื่นตกเป็นเหยื่อ วางแผนให้ผู้คนหลงเดินทางผิดจนต้องพบกับมุมอับ พูดเสียดสีให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เสียใจ ใช้ปากพูดหว่านล้อมจูงใจโน้มน้าวให้คนมาติดกับที่ตนวางไว้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยให้มาเกิดเป็นปลา รับทุกข์อยู่ท่ามกลางความหนาวเหน็บในแหล่งน้ำ หลงทางเข้าไปติดกับ ติดแหติดอวน จึงเป็นไปตามกรรมที่ก่อไว้ทุกประการ

 

กำเนิดเป็นนกต่าง ๆ

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงใหลมัวเมาในการร้องรำทำเพลง แสดงละคร ลำตัด หมอรำ วงดนตรี การละเล่นต่างๆ เพลิดเพลิน อยู่กับเครื่องประดับตกแต่งที่สวยสดงดงาม แต่งหน้าทาปาก สร้างวจีกรรมมากมายได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียด นินทา พูดเพ้อเจ้อ ประพฤติผิดศีลเป็นชู้กับคู่ครองผู้อื่น จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเป็นนกต่างๆที่ชอบร้องรำทำเพลง ชอบตกแต่งขนให้มีสีสันต่างๆ สวยงามตามนิสัยเดิม

 

กำเนิดเป็นโคเนื้อ โคนม

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในรูปร่างสัดส่วนอันสวยงาม ใช้เรือนร่างเป็นเครื่องยั่วยุคนให้หลงตัณหาราคะ แสดงหนังลามกทำลายศีลธรรม เริงระบำรำฟ้อนเปลือยอกเปลือยกายเป็นการค้า มีลูกไม่เอาใจใส่เลี้ยงดู ไม่ให้ลูกดื่มนมตนเองเพราะเกรงว่าจะเป็นทรงหย่อนยาน จึงเป็นเหตุปัจจัยมาเกิดเป็นโคนม อุทิศน้ำนมให้กับทารกชาวบ้านได้ดื่มกิน และโคเนื้อถูกคนฆ่าเอาเนื้อเป็นอาหารตามจริงนิสัยเดิมที่ชอบขายเนื้อขายตัว

 

กำเนิดเป็นแมลงวัน

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ ชอบคลุกคลี หมกมุ่นอยู่กับแหล่งบันเทิง บาร์ ไนท์คลับ สถานเริงรมย์ คาราโอเกะมั่วสุมอยู่กับแหล่งอบายมุข แหล่งยาเสพติด แหล่งการ- ซึ่งเป็นแหล่งไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ ไม่ชอบธรรมและมักเป็นแหล่งประกอบอกุศลธรรมต่างๆ จึงเป็นปัจจัยให้ต้องเกิดเป็นแมลงวัน ที่ชอบอยู่กินกับแหล่งสกปรกตามจริตสันดานเดิมของตน

 

กำเนิดเป็นแมลงผึ้งต่าง ๆ

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ ชอบหลงใหล ดื่มด่ำ เพลิดเพลินในการประดับตกแต่งร่างกายให้มีสีสันสวยสดงดงาม ด้วยความพึงพอใจ ติดใจในรสหวานมันแห่งกามโลกีย์ จึงเป็นเหตุให้มาถือกำเนิดเป็นแมลงผึ้ง ผู้มีตาพึงพอใจในสีสันของดอกไม้นานาพรรณ และมีลิ้นชอบรสหวานมันตามจริงนิสัยเดิมของตน

 

กำเนิดเป็นงูเหลือม

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในความยิ่งใหญ่ ความมีอำนาจ ความมีทรัพย์สมบัติมาก ขณะกำลังจะตายจิตใจก็ยังพะวง เป็นห่วงอาลัย ไม่ยอมลดละปล่อยวาง ยังยึดมั่นถือมั่นอย่างมัวเมา จึงเป็นเหตุให้ไปเกิดเป็นงูเหลือมใหญ่ มีอำนาจ มีกำลัง ขอบม้วนตัวยึดเกาะ ขดตัวเป็นวงกลมอยู่นานๆ ไม่ยอมคลายตัวออกง่ายๆ ตามจริตนิสัยที่มีความยึดมั่นถือมั่นไม่ยอมคลายละปล่อยวาง

 

กำเนิดเป็นหนู

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการประกอบอาชีพผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาบ้า ยาเสพติด เล่นการ- แมงดาหากินกับหญิงโสเภณี มือปืน นักเลงอันธพาล ลักเล็กขโมยน้อย จี้ปล้น ค้าอาวุธเถื่อน ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ต้องการตัวของตำรวจ ผู้คนเหล่านี้จึงต้องหลบซ่อนตัวเองอยู่ในที่มิดชิดตลอดเวลา จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ต้องถือกำเนิดเป็นหนู คอยแต่หลบๆ ซ่อนๆ อยู่ตามรู ตามของที่มิดชิด พ้นภัยจากแมว นก งู และมนุษย์ตามจริตสันดานเดิม

 

กำเนิดเป็นมด

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ ชอบใจ พอใจ ดื่มด่ำ มัวเมาอยู่ในกลิ่นคาวโลกีย์ รสโลกีย์ ติดใจในกามารมณ์ ดุด่าเฆี่ยนตี ฆ่าพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ สร้างบาปกรรมไว้มากมายถึงขั้นอนันตริยกรรม เมื่อตายแล้วจึงลงไปใช้กรรมในเมืองนรก วิญญาณถูกตีกลายเป็นเศษวิญญาณ แล้วจึงมาเกิดเป็นมดเพื่อชดใช้กรรมที่ก่อไว้ในอดีตชาติ

 

กำเนิดเป็นกระแต

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ ชอบสอดรู้สอดเห็นเรื่องของชาวบ้าน แล้วนำเรื่องไปพูดต่อให้เสื่อมเสีย เสียหาย เป็นที่อับอายขายหน้าของผู้คนมากมาย เป็นคนชอบพูดแต่เรื่องเสียๆ หายๆ ของคนอื่น ส่วนเรื่องที่ดีๆ มีสาระ ประโยชน์กลับไม่สนใจ จึงได้รับฉายาจากชาวบ้านว่า “แม่กระแต” “พ่อกระแต” จึงได้เกิดเป็นพ่อกระแต แม่กระแต สมใจนึก ตามจริงนิสัยจนกว่าจะสิ้นแรงอกุศลกรรม

 

กำเนิดเป็นแมว

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในตำแหน่ง ไม่ทำหน้าที่ของตนในการจับโจรผู้ร้ายหรือผู้กระทำความผิด ไม่ดูแลรักษาความปลอดภัยให้ชาวประชาอยู่เย็นเป็นสุข แต่กลับเอาหน้าที่มาบังหน้า มาหากิน ใช้ตำแหน่งมาเบ่ง มาข่มเหง รีดไถเรียกค่าคุ้มครอง ทุจริตประพฤติมิชอบสารพัด จึงเป็นอกุศลกรรมนำพาให้ไปเกิดเป็นแมว เข้าจับหนูอันเป็นโจรผู้ร้ายตัวสำคัญในสมัยเป็นมนุษย์ ให้เหมาะกับกรรมเก่าที่ได้ก่อเอาไว้

 

กำเนิดเป็นเต่า

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ เคยเป็นนักบวชผู้ทรงศีล แต่ขาดความสำรวมในศีลวินัย ด้วยประพฤติตนไม่เหมาะสม ละโมบโลภมากในลาภสักการะ โกงเครื่องราช มั่วสีกา เอาของส่วนรวมมาเป็นส่วนตัว จนเป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มาถือกำเนิดเป็นเต่าอยู่ในกระดอง คอยระมัดระวัง รูป เสียง กลิ่น รู้สึกสัมผัส เพื่อฝึกความสำรวม และเนื่องจากสมัยเป็นนักบวช ไม่ฆ่าไม่ตัดรอนอายุของมนุษย์และสัตว์ จึงทำให้เต่ามีอายุยืนยาว

 

กำเนิดเป็นสุกร

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาพอใจในการทุจริตต่างๆ นานา ด้วยเล่ห์เพทุบายอย่างขูดเนื้อถอนขน ต้มตุ๋นหลอกลวง กดราคา สินค้าอย่างทารุณ ย้อมแมวขายเพียงเพื่อให้ได้ปัจจัย 4 มาปรนเปรอตนเองให้กินอิ่ม นอนหลับอย่างสุขสำราญ ปรนเปรอกามคุณที่ได้มาอย่างสกปรกผิดศีลธรรม จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มากำเนิดเป็นสุกร กินอาหารที่ไม่สะอาด ถูกจับตอน สุดท้ายยังต้องถูกฆ่าเพื่อสังเวยเลือด เนื้อ ตับ ไต ไส้พุง ฯลฯ ชดใช้กรรมที่ตนเองก่อไว้

 

กำเนิดเป็นไส้เดือน

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ ไม่รู้จักบุญคุณต่อซาติบ้านเมืองกระทำตัวเป็นไส้ศึก กบฏ สายลับ สายสืบหรือเป็นหนอนบ่อนไส้ให้กับฝ่ายศัตรู เป็นคนบ่อนทำลายประเทศชาติ เป็นคนขายชาติขายแผ่นดิน จึงทำให้เป็นเหตุปัจจัยให้มาถือกำเนิดเป็นไส้เดือน ไม่มีตา เพราะไม่เห็นคุณประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ต้องเกิดมากินดินเป็นอาหารตามจริตสันดานที่เคยประพฤติบ่อนทำลายชาติมาแต่ ชาติปางก่อนจนกว่าจะชดใช้หนี้กรรมเก่าให้หมดสิ้น

 

กำเนิดเป็น ยุง ริ้น ปลิง ทากดูดเลือด

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ ชอบขูดรีด กินเลือดกินเนื้อ สูบเลือดสูบเนื้อคนยากคนจน ด้วยการใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกงทุจริตต่าง ๆ มากมาย ชอบเบียดเบียน ให้ทุกข์ให้โทษแก่ผู้คนด้วยความโกรธ ความแค้น ความอาฆาต จึงทำให้ไปเกิดในนรก หลังจากนั้นแล้วก็มาถือกำเนิดเป็นยุง ริ้น ปลิง ทาก ตัวเลือดตามสันดานเดิม ด้วยการคอยแต่จะดูดกินเลือดผู้คนอีกตามเคย

 

กำเนิดเป็นจระเข้

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ มีโมหะกิเลสหลงมัวเมา เห็นแก่ปากแก่ท้องแล้วประกอบอกุศลกรรม ทุจริตผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ด้วยความละโมบโลภมาก เพื่อปากท้องของตนอิ่มหนำสำราญ ไม่ว่าจะใช้ปากพูดอย่างร้ายกาจขนาดไหนก็ตาม เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ จึงทำให้ต้องเกิดมาเป็นจระเข้ปากใหญ่ ท้องใหญ่ ดุร้ายน่ากลัวตามจริงนิสัยเดิม

 

กำเนิดเป็นช้าง

          สัตว์บกที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยสมัยเป็นมนุษย์มีโมหะกิเลส หลงมัวเมาในตัวเองว่า เป็นลูกผู้ยิ่งใหญ่เกิดในตระกูลผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ มีความเป็นใหญ่เป็นโตในบ้านเมืองไม่มีใครเปรียบเทียบได้ แล้วประกอบอกุศลกรรมอัปรีย์ไว้แก่ผู้คนมากมาย จนต้องไปชดใช้หนี้กรรมในนรก เปรต อสุรกาย แต่เศษกรรมเก่าก็ยังไม่หมดสิ้นจากกายและใจ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มาเกิดเป็นช้างตัวใหญ่ๆ สมใจ

 

กำเนิดเป็น กระทิง แรด

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการต่อสู้ต่างๆ ชอบยุยงให้ผู้คนทะเลาะกัน ให้สัตว์ตีกัน ทำร้ายกัน ด้วยเห็นเป็นเกมส์กีฬาอย่างสนุกสนาน เช่น ชนไก่ ชนแพะ ชนวัว ฯลฯ บ้างเป็นนักเลงโต เที่ยวเกะกะระราน สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คน จึงเป็นเหตุให้ต้องไปเกิดเป็นแรด กระทิง เอาหัวไล่ชนกันอย่างเมามัน เพื่อให้ผู้คนดูเป็นเกมส์กีฬาอย่างสนุกสนาน สมกับที่ตนได้เคยทำไว้ในอดีตชาติ

 

กำเนิดเป็น ลิง ชะนี

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการต้มตุ๋นหลอกลวง ปลิ้นปล้น ตลบแตลง แหกตาชาวบ้าน ชอบมือไวใจเร็ว ลักเล็กขโมยน้อย ฉกชิงวิ่งราว ปีนป่ายเพื่อลักขโมยทรัพย์สิ่งของ รับซื้อของโจร อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ร่อนเร่พเนจรไปตามอาชีพ จึงเป็นอกุศลกรรมให้มาเกิดเป็นลิง ค่าง ชะนี ที่มีมือไม้ไว หน่วยก้านดีในการปีนป่ายต้นไม้ตามจริงนิสัยเดิมแต่ชาติปางก่อน

 

กำเนิดเป็นอสรพิษ

          งูเห่า งูจงอาง งูแมวเซา งูกะปะ งู สามเหลี่ยม เป็นต้น ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการพูดจาให้ร้ายผู้คนให้เจ็บใจ ให้เจ็บปวด ให้เสียใจทุกข์ทรมานจนถึงตรอมใจตาย บ้างฆ่าตัวตายไปก็มี บ้างก็พูดให้เขาทะเลาะวิวาทกันจนถึงต้องทุบตีทำร้ายกันจนบาดเจ็บ บ้างล้มตายไปก็มี เพราประกอบอกุศลธรรมทางวาจาที่ร้ายกาจนี้ จึงเป็นปัจจัยให้มาถือกำเนิดเป็นอสรพิษ ปากร้าย ปากมีพิษตามจริตสันดานเดิมในชาติปางก่อน

 

กำเนิดเป็น เป็ด ไก่ ห่าน

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการทุจริตด้วยการต้มตุ๋นหลอกลวง ปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยอย่างหน้าเลือด อารมณ์ดุร้ายด่าพ่อล่อแม่ ใช้ปากในทางเสื่อมเสีย จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มาเกิดเป็นไก่ขันรับอรุณ ชาติก่อนรีดไถชาวบ้าน ชาตินี้ต้องใช้กรรมเกิดเป็นไก่ฟาร์ม เป็นอาหารตอบแทนเขา พวกที่กินดอกเบี้ยอย่างน่าเลือดก็เกิดเป็นแม่เป็ด แม่ไก่ ออกไข่มาให้มนุษย์กินชดใช้ดอกเบี้ยหน้าเลือดของตน

 

กำเนิดเป็น แพะ แกะ

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการฉ้อโกงโดยหาผลประโยชน์บนความทุกข์ของผู้อื่น ฉวยโอกาสปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยแพงๆ ทุจริตยักยอกเงิน กินงบประมาณ ขายของปลอมให้คนอื่นหลงดีใจว่าได้ของดีราคาแพง ด้วยแรงอกุศลกรรมจึงมาถือกำเนิดเป็นแพะ ถูกคนฆ่ากินเลือดเนื้อ ถูกรีดนมชดใช้ชำระหนี้มนุษย์ และกำเนิดเป็นแกะที่ถูกเลี้ยงไว้ตัดขน ในที่สุดก็ถูกฆ่ากินเนื้อเพื่อชำระหนี้ผู้คนที่ตนเคยฉ้อโกงเขามาก่อน

 

กำเนิดเป็น วัว ควาย

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ หลงมัวเมาในการเอารัดเอาเปรียบ เป็นนายจ้างที่ขึ้นชื่อว่าทำนาบนหลังคน ทุจริตในการค้า โกงตาชั่ง หลอกลวงทรัพย์สินชาวบ้าน ล้มแชร์ กู้หนี้ยืมสินแล้วไม่ใช้คืน ซื้อขายไม่ยุติธรรม จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มาถือกำเนิดเป็นวัว ควาย ถูกใช้แรงงานและถูกฆ่าเอาเนื้อเอาหนังเพื่อชดเชยชดใช้หนี้กรรมของตนที่ก่อ ไว้

 

กำเนิดเป็นเสือ

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ มีโมหะกิเลส มัวเมาในนิสัยนักเลงอันธพาล เป็นผู้ร้ายต่างๆ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงถูกผู้คนตั้งฉายาว่า “ไอ้เสือดำ” “ไอ้เสือลาย” “ไอ้เสือเหลือง” “ไอ้เสือโคร่ง” เมื่อประกอบอกุศลกรรมต่างๆ มากมาย หลังจากตายไปแล้วก็ต้องไปชดใช้หนี้กรรมในนรก เปรต อสุรกาย แต่เศษกรรมก็ยังไม่หมดสิ้นยังติดกายติดใจอยู่อีก ก็บันดาลให้มาเกิดในตระกูลเสือร้ายต่างๆ ตามสันดานเดิม

 

กำเนิดเป็นราชสีห์

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ มีโมหะกิเลสมาก หลงมัวเมาในอำนาจความเป็นใหญ่ ปรารถนาเป็นมหาราช เป็นจักรพรรดิ แล้วประกอบอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นโทษเพียงเพื่อให้ได้เป็นใหญ่ โดยไม่ละอายเกรงกลัวบาปกรรมโดๆ หลังจากตายแล้วจึงไปชดใช้กรรมในนรก เปรต อสุรกาย ก็ยังไม่หมดสิ้นบาปกรรม ก็ต้องมาชดใช้เศษอกุศลกรรมโดยถือกำเนิดเป็นราชสีห์ ซึ่งสัตว์ป่านานาชนิดเกรงกลัวตามจริงนิสัยที่เคยเป็นผู้บ้าอำนาจมาแล้วจากอดีตชาติ

 

กำเนิดเป็นกระรอก

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ มีจิตใจชอบใจ ชอบชี้แนะ ชี้ช่องทาง ( ชี้โพรงให้กระรอก ) ให้ผู้อื่นทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างผิดๆ ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ให้ทุกข์ให้โทษแก่ผู้อื่น จึงเป็นเหตุปัจจัยให้กำเนิดเป็นกระรอก ต้องอาศัยโพรงไม้ต่างๆ เป็นที่อยู่ และมักต้องประสบภัยอันตรายจากงู นก มนุษย์ และสัตว์อื่นๆ คอยทำลายเอาชีวิตจึงอยู่ไม่ค่อยเป็นสุขด้วยแรงกรรมเก่าในชาติก่อนๆ นั่นเอง

 

กำเนิดเป็นหนอน

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ มีจิตใจสกปรก เต็มไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ แล้วมักประกอบอกุศลกรรม เช่น ทุจริตประพฤติมิชอบต่างๆ อันผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ทุจริตในกิจการป่าช้าเผาผี ทุจริตในวงการศาสนา ทุจริตในวงราชการ ประกอบมิจฉาชีพ ค้าหญิงบริการ ฯลฯ ซึ่งได้ปัจจัยมาบริโภคด้วยความสกปรกเน่าเหม็น จึงเป็นเหตุบันดาลให้ต้องมาถือกำเนิดเป็นหนอนจมอยู่ในคูถ กินของสกปรกเน่าเหม็นตามจริตสันดานของตนในอดีตที่ทำไว้

 

กำเนิดเป็นปลวก

          ด้วยสมัยเป็นมนุษย์ มีจิตใจไม่เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของต้นไม้ ป่าไม้ คิดแต่จะตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำไม้มาขาย และบุกรุกที่ดินโดยไม่เห็นโทษภัยอันตรายอันเกิดจากการทำลายต้นไม้ ป่าไม้ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ต้องเกิดเป็นปลวก ตามจริงนิสัยที่ชอบทำลายต้นไม้ ป่าไม้ ต้องกินไม้เป็นอาหารจนกว่าจะใช้หนี้กรรมให้หมดสิ้น


ที่มา  http://www.gotoknow.org/posts/300521
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2014, 10:35:12 PM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
เปรตภูมิ

เปรต ตามศัพท์หมายถึง สัตว์ที่ห่างไกลจากความสุข คือมีแต่ความเดือดร้อนอดอยาก หิวกระหาย

 ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามีบันทึกไว้ว่า เปรตแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ก็มี บางแห่งแบ่งเป็น 12 ตระกูลบ้าง หรือแยกย่อยออกเป็น 21 ชนิดบ้าง แล้วแต่จุดประสงค์ในการจำแนก ในลำดับต่อไปนักศึกษาจะได้ทราบรายละเอียดของเปรตชนิดต่างๆ

******************
          เปรต 4 จำพวก ในเปตวัตถุ อรรถกถา แสดงเปรต 4 จำพวก คือ

          1. ปรทัตตูปชีวิกเปรต เป็นเปรตที่เลี้ยงชีวิตอยู่โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้ โดยการเซ่นไหว้ เป็นต้น
          2. ขุปปีปาสิกเปรต เป็นเปรตที่อดอยาก หิวข้าวหิวน้ำอยู่เป็นนิตย์
          3. นิชฌามตัณหิกเปรต เป็นเปรตที่ถูกไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
          4. กาลกัญชิกเปรต  เป็นเปรตในจำพวกอสุรกาย หรือเป็นชื่อของอสุรกายที่เป็นเปรต

          ในอปทาน อรรถกถา สุตตนิบาตอรรถกถา และพุทธวังสะอรรถกถา แสดงว่าบรรดาพระโพธิสัตว์ ทั้งหลาย นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์เป็นต้นไป จะไม่เกิดเป็น ขุปปีปาสิกเปรต นิชฌามตัณหิกเปรต หรือกาลกัญจิกเปรต ถ้าจะต้องไปเกิดเป็นเปรต ก็จะเกิดเป็น ปรทัตตูปชีวิกเปรต ประเภทเดียว

*************************************
          เปรต 12 ตระกูล ได้แก่

            1.   วันตาสเปรต              เปรตที่กินน้ำลาย เสมหะ อาเจียน เป็นอาหาร
            2.   กุณปาสเปรต            เปรตที่กินซากศพคน หรือสัตว์ เป็นอาหาร
            3.   คูถขาทกเปรต          เปรตที่กินอุจจาระต่างๆ เป็นอาหาร
            4.   อัคคิชาลมุขเปรต     เปรตที่มีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
            5.   สุจิมุขเปรต               เปรตที่ปากเท่ารูเข็ม
            6.   ตัณหัฏฏิตเปรต        เปรตที่ถูกตัณหาเบียดเบียนให้หิวข้าวหิวน้ำเสมอ
            7.   นิชฌามกเปรต         เปรตที่มีตัวดำเหมือนตอไม้ที่เผา
            8.   สัพพังคเปรต           เปรตที่มีเล็บมือ เล็บเท้ายาวคมเหมือนมีด
            9.   ปัพพตังคเปรต         เปรตที่มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
           10. อชครเปรต                เปรตที่มีร่างกายคล้ายสัตว์เดียรัจฉาน
           11.  มหิทธิกเปรต            เปรตที่มีฤทธิ์มาก
           12. เวมานิกเปรต             เปรตที่ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้ไปเสวยสุขในวิมาน

********************************

          เปรต 21 จำพวก ในวินัย และลักขณสังยุตตพระบาลี แสดงเปรต 21 จำพวก คือ

            1.  อัฏฐีสังขสิกเปรต         เปรตที่มีกระดูกติดกันเป็นท่อนๆ แต่ไม่มีเนื้อ
            2.  มังสเปสิกเปรต             เปรตที่มีเนื้อเป็นชิ้นๆ แต่ไม่มีกระดูก
            3.  มังสปิณฑเปรต            เปรตที่มีเนื้อเป็นก้อน
            4.  นิจฉวิเปรต                   เปรตที่ไม่มีหนัง
            5.  อสิโลมเปรต                 เปรตที่มีขนเป็นพระขรรค์
            6.  สัตติโลมเปรต              เปรตที่มีขนเป็นหอก
            7.  อุสุโลมเปรต                 เปรตที่มีขนเป็นลูกธนู
            8.  สูจิโลมเปรต                 เปรตที่มีขนเป็นเข็ม
            9.  ทุติยสูจิโลมเปรต         เปรตที่มีขนเป็นเข็มชนิดที่ 2
           10. กุมภัณฑเปรต              เปรตที่มีอัณฑะใหญ่โตมาก
           11. คูถกูปนิมุคคเปรต        เปรตที่จมอยู่ในอุจจาระ
           12. คูถขาทกเปรต              เปรตที่กินอุจจาระ
           13. นิจฉวิตกิเปรต               เปรตหญิงที่ไม่มีหนัง
           14. ทุคคันธเปรต                เปรตที่มีกลิ่นเหม็นเน่า
           15. โอคิลินีเปรต                เปรตที่มีร่างกายเป็นถ่านไฟ
           16. อลิสเปรต                     เปรตที่ไม่มีศีรษะ
           17. ภิกขุเปรต                     เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนพระ
           18. ภิกขุนีเปรต                   เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนภิกษุณี
           19. สิกขมานเปรต              เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนสิกขมานา
                (สามเณรีที่ได้รับการอบรมเป็นเวลา 2 ปี เพื่อบวชเป็นภิกษุณี)
           20. สามเณรเปรต               เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนสามเณร
           21. สามเณรีเปรต               เปรตที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนสามเณรี
 
***********************
รายละเอียดเปรต 12 ตระกูล     
           ท่านผู้ศึกษาทราบแล้วว่า เปรตสามารถแบ่งเป็นหลายประเภท แต่ในที่นี้จะนำเสนอรายละเอียดเฉพาะเปรต 12 ตระกูล

         ตระกูลที่ 1 วันตาสาเปรต

         เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างน่าเกลียด น่ากลัว และอดอยากหิวโหย เมื่อเปรตเหล่านี้เห็นมนุษย์ถ่มเสลด น้ำลายออกมา ต่างตื่นเต้นดีใจรีบตรงไปดูดเอาโอชะเสลดเป็นอาหาร กินแล้วยังหิวโหยเช่นเดิม จนกว่าจะสิ้นกรรมที่ทำไว้ จึงจะไปเกิดในภูมิอื่น
         กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชาติก่อนเป็นคนตระหนี่จับขั้วหัวใจ เห็นผู้ใดอดอยากมาขออาหาร ก็พาลโกรธถ่มน้ำลายใส่ด้วยความรังเกียจ หรือเข้าไปในสถานที่ที่ควรเคารพบูชา เช่น โบสถ์ วิหาร ลานพระเจดีย์ แล้วไม่มีความเคารพต่อสถานที่ ได้ถ่มเสลดน้ำลายลงในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อตายแล้วก็มาเกิดเป็นเปรตในตระกูลนี้

          ตระกูลที่ 2 กุณปขาทาเปรต         

          เปรตตระกูลนี้มีรูปร่างน่าเกลียดมาก จะซอกซอนหาซากอสุภะกินเป็นอาหารด้วยความหิวโหย ครั้นเห็นซากอสุภะของสัตว์ที่ล้มตาย กลายเป็นศพอืดเน่าเหม็น เปรตเหล่านี้จะดีอกดีใจวิ่งเข้าไปดูดโอชะที่เน่าเหม็นจากซากอสุภะนั้น
         กรรมที่ทำให้มาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชาติที่เป็นมนุษย์มีความตระหนี่ เมื่อมีผู้มาขอบริจาคทาน ก็แกล้งให้ของที่ไม่ควรให้ ด้วยความปรารถนาจะแกล้งประชด ไม่เคารพในทาน จึงมาเกิดเป็นเปรตประเภทนี้

         ตระกูลที่ 3 คูถขาทาเปรต         

        เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างน่าสะอิดสะเอียน น่าเกลียด เปรตชนิดนี้จะเที่ยวแสวงหาคูถ คือ อุจจาระ ที่คนถ่ายเอาไว้ ยิ่งมีกลิ่นเหม็นมากเท่าไรก็ยิ่งชอบ เมื่อเปรตเหล่านี้เห็นอุจจาระจะดีใจจนเนื้อเต้น รีบวิ่งรี่เข้าไปที่กองอุจจาระเหมือนสุนัขอย่างนั้น ครั้นไปถึงก็ก้มหน้าดูดเอาโอชะของคูถนั้นเป็นอาหาร แต่ก็ไม่เคยอิ่มเลย
         กรรมที่ทำให้มาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งที่เป็นมนุษย์ มีความตระหนี่จัด เมื่อหมู่ญาติที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้คนมาหาเพื่อขอความช่วยเหลือ ขอข้าว ขอน้ำดื่ม  จะเกิดอาการขุ่นเคืองขึ้นมาทันที ชี้ไปที่มูลสัตว์พร้อมกับบอกว่า "ถ้าอยากได้ ก็จงเอาไปกินเถิด แต่จะมาเอาข้าวปลาอาหาร ข้าไม่ให้หรอก" แล้วก็ขับไล่ไสส่ง ด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ตายแล้วจึงไปเกิดเป็นเปรตชนิดนี้

         ตระกูลที่ 4 อัคคิชาลมุขาเปรต

         เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างผอมโซ มีเปลวไฟแลบออกมาจากปากตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคืน  ไฟไหม้ปากไหม้ลิ้นเจ็บแสบเจ็บร้อน ครั้นทนไม่ได้ก็วิ่งร้องไห้ครวญครางไปไกลถึงร้อยโยชน์ พันโยชน์  ถึงกระนั้นไฟก็ไม่ดับ กลับเป็นเปลวเผาลนปากและลิ้นหนักเข้าไปอีก
         กรรมที่ทำให้มาเกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ มีความตระหนี่เหนียวแน่น เมื่อมีใคร มาขอ ครั้นจะไม่ให้ก็กลัวคนอื่นดูแคลน จึงแกล้งให้สิ่งของร้อนๆ เพื่อหวังจะแกล้งให้ผู้รับเข็ดหลาบ จะได้เลิกมาขอ  เพราะไม่เห็นอานิสงส์ของการทำทาน

         ตระกูลที่ 5 สุจิมุขาเปรต

         เปรตตระกูลนี้ รูปร่างแปลกพิกล คือ เท้าทั้งสองใหญ่โต คอยาวมาก แต่ปากเท่ารูเข็ม จะได้อาหารมาบริโภคแต่ละครั้งก็ไม่พออิ่ม เพราะมีปากเท่ารูเข็ม อาหารไม่อาจจะผ่านช่องปากเข้าไปได้ง่ายๆ อยากกินแต่กินไม่ได้ ต้องทุกข์ทรมานแสนลำบาก ร่างกายผอมโซดำเกรียม
         กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนตระหนี่ในชาติที่เป็นมนุษย์ เมื่อมีใครมาขออาหาร ก็ไม่อยากให้ และไม่มีศรัทธาที่จะถวายทานแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีจิตหวงแหนทรัพย์สมบัติ ผลกรรมตามสนอง ต้องมาเกิดเป็นเปรตปากเท่ารูเข็ม

        ตระกูลที่ 6 ตัณหาชิตาเปรต

         เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างผอมและอดอยากเช่นเดียวกับเปรตพวกอื่น คือ มีความอยากข้าว น้ำเป็นกำลัง ที่แปลกออกไป คือ เปรตเหล่านี้จะเดินตระเวนท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อมองไปเห็นสระ บ่อ ห้วย หนอง ก็ตื่นเต้นดีใจ รีบวิ่งไปโดยเร็ว แต่ครั้นไปถึงแหล่งน้ำนั้น กลับกลายเป็นสิ่งอื่นด้วย อำนาจกรรมบันดาล
         กรรมที่ทำให้เป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนหวงข้าวหวงน้ำ เที่ยวปิดสระ ปิดบ่อ ปิดหม้อ ไม่ให้คนอื่นได้ดื่มกิน ครั้นละโลกแล้วก็มาเกิดเป็นเปรตอดอยากข้าวน้ำดังกล่าว

         ตระกูลที่ 7 นิชฌามักกาเปรต

         เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างเหมือนต้นเสาหรือต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ สูงชะลูดดำทะมึน แลดูน่ากลัวมาก มีกลิ่นเหม็นเน่า มือและเท้าเป็นง่อย ริมฝีปากด้านบนห้อยทับริมฝีปากด้านล่าง มีฟันยาว มีเขี้ยวออกจากปาก ผมยาวพะรุงพะรัง มีความอดอยากเหลือประมาณ ยืนทื่ออยู่ที่เดิมไม่ท่องเที่ยวไปไหนเหมือนเปรตชนิดอื่น
         กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเป็นคนใจหยาบ เห็นสมณพราหมณ์ผู้มีศีลก็โกรธเคือง มีอกุศลจิตคิดว่า ท่านเหล่านั้นจะมาขอของตน จึงแสดงกิริยาอาการเยาะเย้ยถากถาง ขับไล่สมณพราหมณ์ เหล่านั้นให้ได้รับความอับอาย หรือเห็นพ่อแม่เป็นคนแก่คนเฒ่า เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเพราะความชรา แกล้งให้ท่านตกใจจะได้ตายไวๆ ตัวเองจะได้ครอบครองสมบัติ

         ตระกูลที่ 8 สัพพังคาเปรต

         เปรตตระกูลนี้ มีร่างกายใหญ่โต มีเล็บมือเล็บเท้ายาวคมเหมือนมีดเหมือนดาบและงอเหมือนตะขอ ได้แต่ก้มหน้าก้มตาตะกายข่วนร่างกายตนเองให้ขาดเป็นแผลด้วยเล็บ แล้วกินเลือดเนื้อของตนเองเป็นอาหาร
         กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะชอบขูดรีดชาวบ้าน เอาเปรียบผู้อื่น หรือบางครั้งชอบรังแกหยิกข่วนบิดามารดา ถ้าเป็นหญิงก็หยิกข่วนสามีของตน     

         ตระกูลที่ 9 ปัพพตังคาเปรต

         เปรตตระกูลนี้ มีร่างกายใหญ่เหมือนภูเขา เวลากลางคืนสว่างไสวรุ่งเรืองด้วยเปลวไฟ กลางวันเป็นควันล้อมรอบกาย เปรตเหล่านี้ต้องถูกไฟเผาคลอก นอนกลิ้งไปมาเหมือนขอนไม้ที่กลิ้งอยู่กลางไร่กลางป่า ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ร้องไห้ปานจะขาดใจ
         กรรมที่เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ได้เอาไฟเผาบ้าน เผาโรงเรียน เผากุฏิ วิหาร เป็นต้น

         ตระกูลที่ 10 อชครเปรต         

         เปรตตระกูลนี้ มีรูปร่างคล้ายกับสัตว์เดียรัจฉาน เช่น มีรูปร่างเป็นงูเหลือม เป็นเสือ เป็นม้า เป็นวัว เป็นควาย เป็นต้น แต่จะถูกไฟเผาไหม้ทั่วร่างกายทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ว่างเว้น แม้แต่วันเดียว
         กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะเมื่อครั้งเป็นมนุษย์เป็นคนตระหนี่ เมื่อเห็นสมณพราหมณ์ ผู้มีศีลมาเยือน ก็ด่าเปรียบเปรยท่านว่า เสมอด้วยสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ เพราะไม่อยากให้ทาน หรือแกล้งล้อเลียนเป็นรูปสัตว์ต่างๆ

         ตระกูลที่ 11 มหิทธิกาเปรต         

         เปรตตระกูลนี้ เป็นเปรตที่มีฤทธิ์และรูปงามดุจเทวดา แต่ว่าอดอยากหิวโหยอาหารอยู่ตลอดเวลา เหมือนเปรตชนิดอื่นๆ จะเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เมื่อพบคูถมูตร และของสกปรกก็จะดูดกินเป็นอาหาร
         กรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์ บวชเป็นพระภิกษุสามเณร พยายามรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ จึงมีรูปงามผุดผ่องราวเทวดา แต่ไม่ได้บำเพ็ญธรรม มีใจเกียจคร้านต่อการบำเพ็ญสมณธรรมตามวิสัยของบรรพชิต จิตใจจึงมากไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ มีความเข้าใจผิดว่า "เราบวชแล้ว รักษาแต่ศีลอย่างเดียวก็พอ ไม่เห็นต้องทำบุญให้ทานเหมือนฆราวาสเลย" ครั้นเมื่อละโลกจึงมาเกิดเป็นเปรตตระกูลนี้ เปรตตระกูลสุดท้าย   

ตระกูล ที่ 12 เวมานิก 

เปรตตระกูลนี้จะมีสมบัติ คือ วิมานทองอันเป็นทิพย์ บางตนจะเสวยสุขราวเทวดาในเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนจะเสวยทุกข์ที่เกิดจากความตระหนี่ในทรัพย์ บางตนเสวยสุขเฉพาะในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะเสวยทุกข์ ตามสมควรแก่กรรม

         กรรมที่ทำให้เกิดมาเป็นเปรตตระกูลนี้ เพราะครั้งเป็นมนุษย์มีศรัทธาทำบุญกุศลไว้มาก แต่ไม่รักษาศีล ไม่รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ครั้นตายลงจึงตรงมาเกิดเป็นเวมานิกเปรต หรือเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาได้รักษาศีลเพียงอย่างเดียว แล้วไม่มีศรัทธาในการสร้างบุญกุศลอื่น และมีความสงสัยในเรื่องบุญเรื่องบาป แม้รักษาศีลก็รักษาแบบเสียไม่ได้ หรือไม่ตั้งใจรักษา

เรา จะเห็นได้ว่า การเสวยวิบากกรรมในภูมิเปรตนั้น เป็นทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพียงไร ทุกข์ในเมืองมนุษย์เทียบเท่าไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นอย่ากระทำการใดๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกทรมานในภูมิเปรตนี้เลย

ทีี่มา  http://board.postjung.com/524768.html

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2014, 10:40:56 PM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
เปรตชั้นสูงมักเป็นพวกที่ทำทานไว้มาก แต่ศีลบางข้อบกพร่องอย่างแรง เปรียบเหมือนคนแต่งตัวผัดหน้าทาแป้งจนดูดี แต่กลับมีความเน่าใน ไม่ชอบอาบน้ำ ไม่ชอบทำความสะอาดเนื้อตัว และหนักกว่านั้นคืออาจนิยมการเกลือกกลั้วกับสิ่งแปดเปื้อนทั้งหลาย

ส่วนเปรตชั้นต่ำเป็นพวกที่ทำทานไว้พอประมาณหรือไม่ทำเลย แล้วก็บกพร่องในศีลบางข้อชนิดเข้าขั้นสมควรแก่นรก เมื่อไปสู่นรกรับโทษจนกรรมเบาบางลงแล้ว ก็ผุดเกิดขึ้นมาใหม่ในสภาพของเปรตเป็นอันดับต่อไปจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่ว

กรรมที่ส่งมาเป็นเปรต มักเป็นกรรมประเภทครึ่งๆกลางๆ ลุ่มๆดอนๆ แบบคนตีสองหน้า หรือดีอย่างเสียอย่าง อาจยกตัวอย่างโดยศีลได้ เช่น

๑) ช่วยรณรงค์อนุรักษ์สัตว์อย่างได้ผลในวงกว้าง แต่ว่างๆก็แอบเข้าป่าล่าสัตว์เสียเอง
๒) เป็นครูสอนลูกศิษย์ได้อย่างจับใจให้เป็นคนซื่อ แต่เผลอๆก็ยักยอกทรัพย์โรงเรียนเสียเอง
๓) ให้สติแก่คนคิดคบชู้สู่ชายสู่หญิง แต่ถึงตาตนก็ไม่พ้นเอาเสียเอง
๔) เป็นแบบอย่างในการพูดคำจริงมาค่อนชีวิต แต่บั้นปลายกลายเป็นคนลวงโลกเสียเอง
๕) ห้ามเด็กๆแตะต้องเหล้า แต่ตัวกลับกินไวน์ไม่หยุดเสียเอง

คงกล่าวโดยพิสดารให้ครบไม่ได้ แต่โดยสรุปก็คือเป็นพวกครึ่งดีครึ่งร้าย แต่ความร้ายมีกำลังแรงกว่า แล้วถามว่าคนที่ครึ่งดีครึ่งร้ายในโลกนี้มีมากเพียงใด ก็ต้องบอกว่า "เกือบทั้งโลกนั่นแหละ!"

นิมิตบอกลางร้าย

หากต้องตายอย่างคนที่จะไปเป็นเปรตชั้นสูง ก่อนจิตดับมักเห็นคุณงามความดีที่สั่งสมมาเป็นหลักตั้ง แต่ก็เคลือบไว้ด้วยความรู้สึกผิด ความรู้สึกหม่นมืดในส่วนลึก เช่น วิ่งแก้ผ้าอยู่ในสวนสวยที่คนอื่นมีเครื่องนุ่งห่มงดงามและมิดชิด

หากต้องตายอย่างคนที่จะไปเป็นเปรตชั้นต่ำทันที ก่อนจิตดับมักเห็นความชั่วร้ายเลวทรามที่สั่งสมมาเป็นหลักตั้ง แต่ก็พยุงไว้ด้วยความรู้สึกอยากถอนตัว อยากกลับตัว จึงไม่ทะลุร่วงลงนรก ยับยั้งไว้แค่สถานะเปรตชั้นต่ำไปก่อน

ส่วนสัตว์เดรัจฉานที่ต้องตายกลายเป็นเปรต จะเห็นสภาพคล้ายเดิมๆของตนเอง แต่วังเวงหนาวสันหลังกว่า อกสั่นงันงกมากกว่าที่เคยๆมา และอาจมีรูปน่าดูกว่า หรือวิกลวิการกว่าเก่า

อีกประการหนึ่ง ยังมีคนทั่วไปที่ไม่ดีไม่เลว แต่กรรมเก่าเบียดเบียนให้ตายร้าย เช่น ในอุบัติเหตุรถชนที่กระตุ้นให้ตกใจสุดขีด แล้วไม่มีกำลังบุญมาจุดประกายความสว่างให้จิตเลย จิตก็ถูกความตระหนกตกใจครอบงำเต็มๆ จึงถูกตรึงไว้ในสภาพเปรตชั้นต่ำที่จำภาพสุดท้ายก่อนตายได้แม่น ต้องวนเวียนอยู่แถวนั้นเอง กล่าวได้ว่าความตระหนกตกใจในภาพอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันนั่นเอง คือนิมิตบอกลางร้ายหลังตายไป

อุบัติเหตุให้ตกตายกะทันหัน เป็นเครื่องบอกว่าบาปเก่าแต่หนหลังให้ผล บีบให้รอดจากอบายภูมิยาก ตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่ควรตระหนักว่า "บุญใหม่" สำคัญขนาดไหน คนที่สั่งสมบุญใหม่ไว้มากข นาดปรับจิตให้สว่างเป็นกุศลอยู่เรื่อยๆเท่านั้น จึงเอาตัวรอดจากความตกใจขณะเฉียดเป็นเฉียดตาย คุณจะรู้สึกถึงความเป็นอัตโนมัติของจิตที่ยกขึ้นตั้งอย่างมั่นคง เบาใจ ไม่ตื่นเต้นกับการเผชิญหน้ามัจจุราชที่พุ่งเข้าถึงตัวโดยปราศจากสัญญาณเตือนใดๆ เพราะส่วนลึกเชื่อมั่นว่ามีความดีเป็นที่พึ่ง อุ่นใจพอแล้ว

พวกที่ตายขณะยังคาใจกับความรู้สึกผิด คล้ายแผลสดกลางอกไม่ตกสะเก็ดเสียที หากไม่รีบทำคุณไถ่โทษให้ใจชุ่มชื่นเสียก่อนถึงวาระสุดท้าย อาจรู้สึกหนาวเย็น เห็นนิมิตคล้ายคนหลงป่าดิบที่มืด ลึก และน่าสะพรึงกลัว เขาเกิดใหม่จะเหมือนพลัดเข้าไปอยู่ในเมืองคนบาปที่ทุกคนหน้าเศร้า และกำลังพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อหนีไปจากพันธนาการคือความรู้สึกผิดเฉพาะตน

พวกที่ฆ่าตัวตายด้วยความฟุ้งซ่านจัด น้อยใจแรง อยากโวยวายให้คนอื่นเห็นใจ หรือให้เขารู้สึกผิดที่ไม่เอาใจใส่ตน นิมิตช่วงสุดท้ายมักวกวนแบบคนเถียงกับตัวเองไม่เลิก พอเป็นเปรตก็เดินโวยวาย พยายามกรากเข้าไปพูดให้ญาติมิตรหรือคนรักสำนึกผิด แต่ถ้าฆ่าตัวตายด้วยอาการหดหู่สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก นิมิตช่วงสุดท้ายจะคล้ายคนนั่งซึมแบบปล่อยให้ตัวเองจมทะเลน้ำตา ความเศร้า เหงา จะปรากฏคล้ายม่านดำๆหนักๆที่คลุมตัว กดหัวให้เงยหน้าไม่ได้ตลอดเวลา

กล่าวโดยย่นย่อคืออาการทางใจเป็นอย่างไร นิมิตอันเป็นลางร้ายก็จะปรากฏสอดคล้องตามนั้น ถ้าก่อนตายมีความผูกพันกับผู้คนก็เป็นเปรตเมือง แต่ถ้าตายไปในโลกส่วนตัวก็จะเป็นเปรตป่า หรือเข้าสู่นครเปรตอันเป็นถิ่นเฉพาะ ที่เหมาะกับพวกติดบ่วงกรรมประเภทเดียวกับตน

สภาพแวดล้อมของเปรต

ภาวะของเปรตมีทุกข์มาก แต่ก็เว้นวรรคบ้าง แม้ร่างกายก็เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาได้ ไม่ใช่จะต้องถูกทรมานอยู่ตลอดเวลาเหมือนในนรก

ความเป็นเปรตนั้นพิสดารกว่าเดรัจฉานมาก แค่เดรัจฉานมีสิบกว่าล้านสายพันธุ์เราก็นึกไม่ออกแล้วว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไรได้บ้าง แต่เปรตมีได้ยิ่งกว่านั้น เพราะอัตภาพถูกสร้างได้ไม่จำกัดตามกรรมเฉพาะตน ไม่จำเป็นต้องเข้าไปสู่กลุ่มสายพันธุ์ไหนๆเหมือนอย่างพวกเดรัจฉาน ผลของกรรมเป็นไปตามความคิด ไม่ว่าจะช่างอุตริพิเรนขนาดไหน ดังเช่นเปรตที่ต้องกอบขี้กินเป็นกัปเป็นกัลป์นั้น ก็เพราะอุตริเอาขี้ถวายพระนั่นเอง

และสภาพของเปรตก็คล้ายสัตว์นรก คือวิกลวิการได้ไม่จำกัด ตัวเหมือนคน หัวเหมือนสัตว์ก็ได้ หรือหัวเป็นคน แต่ตัวเป็นสัตว์ก็มี แก่นสารไม่ได้อยู่ที่ผิวนอก แต่อยู่ที่อาการเสวยทุกข์ กล่าวคือความเป็นเปรตนั้น ถ้าไม่หิวไส้กิ่ว ก็ต้องโทษบางประการให้อับอาย หรือไม่เช่นนั้นก็ขาดอะไรสักอย่างที่ก่อให้เกิดความโหยหาอาลัยไม่เลิก

ทีี่มา http://www.dungtrin.com/siadai/pages/35.html
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2014, 10:30:01 PM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
พระยายมราช

พระยายมราชนั้น ทำหน้าที่ตัดสินบรรดาผู้ที่มาเกิดในนรกภูมิ ซึ่งโดยปกติ บางเวลาท่านก็ได้เสวยความสุขคือได้อยู่ในวิมาน มีต้นกัลปพฤกษ์

มีสวนทิพย์ มีนางฟ้าฟ้อนรำขับร้องเป็นบริวาร บางเวลาท่านก็มาเสวยความทุกข์ทำหน้าที่ในนรก

ในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถา  อธิบายว่า  ชีวิตความเป็นอยู่ของ พระยายมราชา จัดเป็นราชันย์แห่งเปรต  ชื่อว่า เวมานิกเปรตเทวดา  

และจัดเป็นจ้าว  หรือ ราชาแห่งเปรต   ส่วนผลของกรรมของท่านนั้น คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ได้เป็นผู้กระทำอกุศลกรรมบ้าง กุศลกรรมบ้าง

ครั้นตายก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา (ชั้นล่างสุด) มีทั้งเสวยสุข และ เสวยทุกข์ แต่ก็ยังสามารถบรรลุมรรคผลได้

*********

นรกมี 8 ขุมใหญ่  แต่ละขุมมีประตูอยู่ 4 ทิศ  แต่ละทิศก็จะมี พระยายมราช อยู่ 1 องค์  ดังนั้นจึงมีพระยายมราชรวมทั้งหมด  32 องค์




บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2014, 06:41:16 PM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
บุญ และ กุศล

บุญ คือ  สิ่งซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง

บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมปรุงแต่งใจให้มีคุณภาพดีขึ้น คือ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์ผุดผ่องไสว โปร่งโล่งไม่อึดอัด อิ่มเอิบ ไม่กระสับกระส่าย ชุ่มชื่นเบาสบาย ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด

คุณสมบัติของบุญ
1.   ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดได้
2.   นำความสุขความเจริญก้าวหน้าได้
3.   ติดตามตนไปทุกฝีก้าว แม้ไปเกิดข้ามภพข้ามชาติ
4.   เป็นของเฉพาะคน ใครทำใครได้ โจรลักขโมยไม่ได้
5.   เป็นที่มาของโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
6.   ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ นิพพานสมบัติ แก่เราได้
                                          ฯลฯ

บุญกิริยาวัตถุ (อรรถกถา เล่มที่ 75 หน้า 427) หมายถึง การกระทำที่เป็นบุญ มีอยู่ 10 อย่าง

โดยแบ่งเป็น 3 หมวด คือ หมวดทาน หมวดศีล หมวดภาวนา

*หมวดทาน


---1.การทำทาน (ทานมัย)

---2.การอุทิศบุญกุศลให้ผู้อื่น (ปัตติทานมัย)

---3.การยินดีในความดีของผู้อื่นหรืออนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) หมวดศีล

---4.การรักษาศีล (สีลมัย)

---5.มีความอ่อนน้อมต่อผู้อื่น (อปจายนมัย)

---6.ช่วยเหลือขวนขวายในกิจที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) หมวดภาวนา

---7.การฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย)

---8.การแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย)

---9.การภาวนา (ภาวนามัย) หมวดที่เข้าได้กับทุกหมวด

---10.การทำความคิดเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์) รายละเอียดเกึ่ยวกับการทำบุญทั้ง 10 อย่าง

 
1.บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน

---ทาน คือ การให้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

*1.อามิสทาน

---หมายถึง การให้ทานด้วยวัตถุที่เป็นของนอกกาย เช่น เงิน สิ่งของ หรือของในกาย เช่น การบริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ ซึ่งผลบุญที่ได้นั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 4 อย่าง (พระไตรปิฎก เล่มที่ 14 ข้อ 719)

---1.1.ผู้ให้ทานมีความบริสุทธิ์ หมายถึง หากเราเป็นคนที่ไม่ถือศีลเลย เวลาเราทำทาน เราก็จะได้บุญน้อย หากเราเป็นคนที่ถือศีล เราก็จะได้บุญมากขึ้น ยิ่งศีลของเรามากขึ้น เราก็จะยิ่งได้บุญมากขึ้นด้วย

---1.2.วัตถุที่ให้มีความบริสุทธ์ คือ วัตถุทานได้มาโดยชอบ ไม่ได้ไปเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ขโมยมา หรือ แย่งมา หรือฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ เป็นต้น

---1.3.เจตนาของผู้ให้บริสุทธิ์ หากเราให้ทานด้วยความรู้สึกบริสุทธิ์ใจ ด้วยความเมตตา ด้วยความปรารถนาดี ทั้งก่อนให้ ก็มีความสุขที่จะได้ให้ ขณะให้ก็มีความสุขใจ และหลังจากให้แล้วเมื่อนึกถึงที่ได้ทำไปก็รู้สึกสุขใจ จิตจะตั้งอยู่บนความเบิกบานแจ่มใส เราย่อมได้รับผลบุญสูงกว่าให้โดยหวังผลประโยชน์บางอย่างตอบแทน ให้เพราะอยากได้หน้า ให้ไปแล้วรู้สึกเสียดายทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้ไปแล้ว จิตของเราจะตั้งอยู่บนความเศร้าหมอง ขุ่นมัว ผลบุญย่อมลดลง

---เรื่องของเจตนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก และสร้างความแตกต่างในบุญได้มากที่สุด เพราะเป็นเรื่องของจิตใจ เจตนาที่ไม่ค่อยบริสุทธิ์กับเจตนาที่บริสุทธิ์มากๆ จะสามารถให้ ผลบุญที่แตกต่างกันเป็นล้านๆ เท่า ในทานสูตร จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 ข้อที่ 49 พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรไว้  สรุปใจความได้ดังนี้


*********************

---ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวย ผลทานนี้ เขาผู้นั้น ให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

---ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไป  แล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้น ให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์

---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่าตา ยาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา

---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่ สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต

---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี ........ภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี

---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือข้าว ฯลฯ  ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี

---บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม

---ดังนั้น ในการให้ทาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราควรทำจิตทำใจในการให้ทาน คือ ให้เพื่อละความตระหนี่ในใจ ให้เพื่อละกิเลส คือ ความโลภ ให้เพราะต้องการสงเคราะห์และให้เพื่อดำรงพระพุทธศาสนาให้ครบห้าพันปี ไม่ใช่ให้ทานเพราะหวังรวย อย่างนี้ได้อานิสงส์น้อย


************************

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน  บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล และ

บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิด
หน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์ ฯ(มนุษย์ไม่สมปรนะกอบ)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์ ฯ (มนุษย์สมประกอบ)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต นิมมานรดี  ปรนิมมิตวสวัตตี

***
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2014, 11:11:29 AM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
กุศล มีกล่าวไว้ใน มาติกาข้อแรก ว่า

๑.กุสะลา  ธัมมา  อะกุสะลา  ธัมมา  อัพยากะตา  ธัมมา ฯ

คำแปล

๑ กุสลา ธมฺมา  แปลว่า  ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะซึ่งมี
                                     ลักษณะไม่มีโทษ  ให้ผลเป็นความสุข มีอยู่

๒ อกุสลา ธมฺมา  แปลว่า  ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่ชีวิต  เป็นแต่สภาวะซึ่งมีลักษณะ
                                      เป็นไปพร้อมด้วยโทษ และให้ผลเป็นความทุกข์ มีอยู่

๓ อัพฺยากตา ธมฺมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต เป็นแห่งสภาวะ
                                        ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงแสดงไว้โดยความเป็น กุศล
                                        อกุศล แต่ได้ทรงแสดงไว้โดยความเป็นอย่างอื่น มีอยู่


**********

ธรรมที่เป็นกุศล ได้แก่ กุศลจิต คือ จิต ที่เราใช้ประกอบการทำ บุญกริยา รวมทั้งการเจริญ ฌาน และ มรรค

จิตที่จะเป็น กุศล จะต้องมี ทิฏิชุกัม เป็นบาทฐานก่อน คือ มีความเห็นตรง เห็นว่า บุญ บาป มีผล ทาน-ศีล-ภาวนา

ฌาน สมาบัติ และ มรรค ผล นิพพาน มีอยู่จริง และย่อมประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ  มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ

*

ธรรมที่เป็น อกุศล ได้แก่ อกุศลจิต คือ จิต ที่ประกอบด้วย อกุศลมูล มี โลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมทำจิตให้

เศร้าหมอง ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัวบาป มีความอยาก มีความพยาบาท ทิฏฐิ มานะ ลุ่มหลง  ฯลฯ

*

ธรรมไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล คือ วิบาก และ กริยา รวมทั้ง รูป และ นิพพาน

วิบาก เป็น ผลของ กุศลและอกุศล กริยา เป็น จิต ของ พระอรหันต์ ที่ไม่หวั่นไหวไปทั้งใน กุศล และอกุศล

รูป เป็น ผลของ กรรม คือ วิบากนั่นเอง ส่วน นิพพาน คือ การหลุดพ้น และเป็น กาลวิมุตติ (พ้นจาก กาลทั้ง ๓)

********

ถ้ากล่าวโดยละเอียดตามนัยพระอภิธรรมแล้ว กุศล คือ กุศลจิต ๒๑ ดวง แบ่งเป็น โลกียะ ๑๗ ดวง เป็น โลกุตตร ๔ ดวง

อกุศล คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง แบ่งเป็น โลภะมูล ๘ ดวง  โทสะมูล ๒ ดวง  โมหะมูล ๒ ดวง

****

การทำงานของจิต จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นขบวน  ขบวนหนึ่งๆเรียก วิถีจิตหนึ่ง และเกิดเร็วมาก ใน วินาทีหนึ่ง เกิดขึ้นหลายล้านวิถี

วิถีจิตเกิดขึ้นมาเพื่อรับอารมณ์  หมายถึงอารมณ์ ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เช่นเมื่อเราเห็น สิ่งที่เห็นนั้นเรียกว่า รูปารมณ์ ดังนั้น วิถีจิตก็เกิดขึ้น

เพื่อรับรู้สิ่งที่เห็นนั้น โดยมีจักขุวิญญาณจิตทำหน้าที่เห็น หลังจากเห็นแล้วก็เกิด ชวนะจิต (ปกติเกิดขึ้นครั้งละ ๗ ขณะ) มีเสพอารมณ์นั้น

จิตที่ทำหน้าที่เป็น ชวนะ ก็คือ กุศลจิต ๒๑ ดวง และ อกุศลจิต ๑๒ ดวง นั่นเอง

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2014, 11:50:21 AM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
อธิบายความโดยการยกตัวอย่าง

สมมุตว่า เราเห็นพระภิษุกำลังออกเดินบิณฑบาตร ภาพพระภิกษุที่เห็นนั้นเป็นรูปารมณ์ปรากฎขึ้นที่ประสาทตา  ทำให้จิตมารับรู้อารมณ์นั้นโดยเกิดวิถีจิตขึ้น

มีจักขุวิญญาณจิตเกิดขึ้นมาในวิถีทำหน้าที่เห็น เนื่องจากเราอบรมมาดีจึงเกิดศรัทธาอยากจะใส่บาตรเป็น ชวนะจิต ที่เป็นกุศลจิตเกิดขึ้น

ขวนะที่เป็นกุศลจิตนี้ ทำให้เราทำทานโดยการใส่บาตร ซึ่งเป็นบุญกริยาวัตถุ เรียกว่าการทำบุญ โดยจิตที่เป็นกุศล  การกระทำโดยจิตที่เป็นกุศลเป็น กุศลกรรม ให้ผลตามการกระทำนั้นๆ

ถ้าหากขณะที่ทำ มีอกุศลแทรก เช่น คือมีอยากได้สวรรค์ มีวิมาน หรือ รางวัลใดๆ   อันนี้เกิด โลภะมูลจิต ซึ่งเป็นกลุ่มของ อกุศลจิต ๑๒  ก็เรียกได้ว่า การทำบุญให้ทานนี้ มีอกุศลเจือปน ทำให้ผลที่ได้ไม่เต็มบริบูรณ์

บุญ เป็นตัวชักจูงให้เกิด กุศล และผลของกุศล คือ วิบาก

จิตที่เป็นกุศล กระทำสิ่งนั้นแล้ว ย่อมได้วิบากที่เป็น กุศลวิบาก

ทำนองเดียวกัน จิตที่เป็นอกุศล กระทำสิ่งนั้นแล้ว ย่อมได้วิบากที่เป็น อกุศลวิบาก

ดังมีมาใน มาติกาบทว่าด้วย วิบาก คือ

วิปากาธัมมา  วิปากะธัมมะธัมมา  เนวะวิปากะนะวิปากะธัมมะธัมมา ฯ

วิปากา ธัมมา
ธรรมที่เป็นผลโดยตรง ก็มี
 
วิปากะธัมมะ ธัมมา
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งผล ก็มี
 
เนวะวิปากะนะวิปากะ ธัมมะ ธัมมา
ธรรมที่ทั้งไม่เป็นผลและไม่เป็นเหตุแห่งผล ก็มี

*

วิบาก เป็น ผล  มีสองอย่าง คือ กุศลวิบาก และ อกุศลวิบาก

การได้พบได้เห็ํนได้ยินสิ่งดีๆ เป็นผลของกุศล ตรงข้ามนั้น เป็นผลของอกุศล

กุศล มีเหตุที่เป็นหลักๆ ๓ เหตุ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ  ส่วน อกุศลก็ตรงกันข้าม คือมี โลภะ โทสะ โมหะ

ส่วนสิ่งที่ไม่ได้ก่อให้เกิด วิบาก ใดๆก็คือ กริยาจิตของพระอรหันต์ รูป๒๘ และ พระนิพพาน
บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2014, 12:48:43 PM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑
การทำงานของวิถีจิต 17 ขณะ

ในขณะที่เราทำกรรมต่างๆ ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว ในแต่ละครั้ง จะมีขณะจิตแล่นไป เรียกว่า วิถีจิต ปกติทั่วไปที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ มี 17 ขณะจิต (หรือ17ดวง) คือ

 ขณะจิตที่ 1 ภวังคจิต จิตเก็บข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่รักษาภพชาติ คือรักษาผลของกรรมที่ทำมาในภพชาตินั้นๆ

 ขณะจิตที่ 2 ภวังคจลนหรือ จุติจิต เป็นภวังคจิตที่เคลื่อนไหว เริ่มคลายจากอารมณ์เก่า เนื่องจากมีอารมณ์ใหม่มากระทบ แต่จิตยังไม่ขึ้นวิถี

 ขณะจิตที่ 3 ภวังคุปัจเฉทะ หรือ ปฏิสนธิจิต  เป็นภวังคจิตที่ตัดขาดจากอารมณ์เก่า เตรียมขึ้นวิถี

 ขณะจิตที่ 4 ปัญจทวาราวัชชนะ จิตรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบทางทวารทั้ง 5 ให้รู้ว่าอารมณ์ที่มากระทบมาจากทวารไหน

                                เพื่อเป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่ทวารนั้น ถือว่าเป็นจิตที่รับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันครั้งแรก จึงนับเป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นสู่วิถีหนึ่งๆ

 ขณะจิตที่ 5 ทวิปัญจวิญญาณ จิตรู้กระทบ ได้เห็น,ได้ยิน,ได้กลิ่น,ได้รส,ได้สัมผัสทางกาย

 ขณะจิตที่ 6 สัมปฎิจฉันนะ จิตรับอารมณ์

 ขณะจิตที่ 7 สันตีรณะ จิตพิจารณาอารมณ์ ให้รู้ว่าดีหรือไม่ดี

 ขณะจิตที่ 8 โวฎฐัพพน จิตตัดสินอารมณ์ ให้เป็นกุศลหรืออกุศล

 ขณะจิตที่ 9-15  ชวนจิต (7ขณะ) จิตเสพอารมณ์ที่เป็นกุศลหรืออกุศล

 ขณะจิตที่16-17 ตฑาลัมพนจิต (เกิด 2 ขณะ ) จิตรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนจิตเพื่อหน่วงอารมณ์ลงสู่ภวังคจิตตามเดิม

  หลังจากครบ17ขณะแล้วจะเริ่มเข้าสู่ การจัดเก็บข้อมูล( ภวังคจิต)ใหม่โดยวนเวียนไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะนิพพาน

****************

การให้ผลของกรรมตามชวนะทั้ง ๗



ชวนจิตดวงที่ 1 เพราะเหตุว่าสามารถจะให้ผลเพียงในชาติปัจจุบันนี้

ชวนจิตขณะที่ 2 ถึงขณะที่ 6 ห้ผลได้ตลอดไปในชาติอื่นๆ ตราบเท่าที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่

ชวนจิตดวงที่ 7 ให้ผลเป็นปฏิสนธิในชาติใหม่ต่อไป และให้ผลต่อไปในชาติใหม่นั้น

******

นั่นหมายถึงว่า ทุกครั้งที่เรากระทำการใดๆ ชวนะจิตที่เกิดขึ้นส่งผลมา ในชาตินี้ด้วย ในชาติหน้าด้วย และในชาติต่อๆไปด้วย

อธิบายได้ว่า ผลกรรมต่างๆที่เราต้องได้รับในชาตินี้ มาจาก

๑.ผลกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้ คือ ผลจาก ชวนะ ดวงที่ ๑ ของกรรมที่ทำในปัจจุบันชาตินี้เอง

๒.ผลกรรมของชาติที่แล้ว คือ ผลของ ชวนะ ดวงที่ ๗ ที่เกิดขึ้นเมื่อชาติที่แล้วส่งมา

๓.ผลกรรมของชาติก่อนๆนู้น คือ ผลของ ชวนะ ดวงที่ ๒ - ๖ ที่เกิดขึ้นในชาติก่อนๆนู้นส่งมา

*************

อโหสิกรรม คือ กรรมที่หมดเวลาส่งผล ตามนัยของ ชวนะจิต อธิบายได้ว่า

๑.ชวนะ ดวงที่ ๑ จะส่งผลเฉพาะในชาตินี้ ครั้นเมื่อเราสิ้นอายุขัยไปเกิดใหม่ ผลของชวนะ ดวงที่ ๑ ที่ยังเหลืออยู่ ก็ถือว่าหมดโอกาส เรียกว่า เป็น อโหสิกรรม

๒.ขวนะ ดวงที่ ๗ จะส่งผลเฉพาะในชาตินหน้า ครั้นเมื่อเราเกิดในชาติใหม่ แล้วสิ้นอายุขัยในชาติใหม่นั้น นั่นคือไปเกิดในชาติที่ ๓  ผลของชวนะ ดวงที่ ๗ ที่ยังเหลืออยู่ ก็ถือว่าหมดโอกาส เรียกว่า เป็น อโหสิกรรม

แต่ว่า ผลของ ชวนะดวงที่ ๒ - ๖ ยังส่งไปเรื่อยๆ ได้ทุกชาติเมื่อมีโอกาส ตราบเท่าที่เรายังต้องเกิดใหม่เรื่อยๆ

และในการเกิดใหม่แต่ละชาติ เราก็ทำกรรมใหม่ เกิด ชวนะ ๗ ดวง ซื่งจะส่งผล ชาตินี้ ชาติหน้า และ ชาติต่อๆไป ขึ้นมาใหม่อีก เวียนซ้ำอีกเรื่อยๆเช่นนี้

บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2014, 10:04:24 PM »

Permalink: ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในภูมิ ๓๑

ภพ แปลว่า ความมีความเป็น ในที่นี้หมายถึง ภาวะแห่งชีวิตสัตว์3ภพ หรือโลกที่อยู่ของสัตว์3ภพ คือ ความมีขันธ์หรือมีนามรูป เพราะชีวิตต้องตกอยู่ในภพทั้ง 3 อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ คือ

    1.กามภพ ภพที่เป็นกามาวจร   หมายถึงภพของสัตว์ที่ยังเสวยกามคุณ คือ อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง5    

           กามภพได้แก่
            อบาย4 คือ ที่อยู่ของ นรก,เปรต,อสูรกาย ,เดรัจฉาน  
            มนุษย์โลก1 ที่อยู่ของมนุษย์
            กามาวจรสวรรค์ทั้ง6 รวมเป็น11ภูมิ

            ๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑)   จาตุมหาราชิกา แดนที่อยู่ที่มีมหาราช ๔ องค์
                    ๑. ท้าวธตรัฐะ ( ทัต- ตะ- ฤทธ ) มหาราช เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
                    ๒. ท้าวิรุฬหกะ ( วิ- รุณ- ระ- หก ) มหาราช เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้
                     ๓. ท้าววิรูปักษ์ ( วิ - รู - ปักษ์ ) มหาราช เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
                     ๔. ท้าวเวสสุวรรณ ( เวส สุ วรรณ ) มหาราช เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ

            ๒. ดาวดึงส์ (สรรค์ชั้นที่ ๒ )  แดนที่อยู่แห่งเทพ ๓๓ มีจอมเทพชื่อ ท้าวสักกะ หรือที่เรียกว่า พระอินทร์ เป็นใหญ่สุด

            ๓. ยามา (สวรรค์ชั้นที่ ๓) แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ มี ท้าวสุยามเทพบุตร ปกครอง ตั้งแต่ภูมิยามานี้ขึ้นไปตั้งอยู่ในอากาศ จึงไม่มีเทวดา ภุมมัฏฐเทวดา อาศัยอยู่ มีแต่พวก อากาสัฏฐเทวดา พวกเดียว ร่างกายสวยงามประณีต อายุยืนยาวกว่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มากเป็นภูมิที่สวยงามประณีต ปราศจากความยากลำบาก ไม่มีเรื่องทุกข์ ได้แก่ที่อยู่ของ พวกที่รักษา อุโบสถในชั้นฟ้านี้ไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์มากแต่เทพชั้นนี้เห็นกันได้ด้วยรัศมีแก้ว และด้วยรัศมีของเทพเองจะรู้ว่ารุ่งหรือค่ำด้วยอาศัยดอกไม้ทิพย์ คือ เมื่อเห็นดอกไม้บานจึงรู้ว่ารุ่ง เมื่อเห็นดอกไม้หุบจึงรู้ว่าค่ำ เทพชั้นยามยามาไม่ปรากฏว่าได้ลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์

            ๔. ดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ ๔) แดนที่อยู่แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มี ท้าวสันดุสิตเทวราช ปกครอง เป็นภูมิของเทวดาผู้อิ่มเอิบด้วยบารมี ผู้มีปัญญา ผู้อยู่ในภูมินี้จึงมีแต่ความชื่นบาน  มีวิมานทิพย์ ทิพย์สมบัติ ร่างกายประณีตกว่าเทวดาในชั้น ยามา เป็น ภพ สุดท้ายของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทุกพระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดและตรัสรู้ในมนุษย์โลกทิพย์ เป็นของเทวดา วิเศษ เลิศกว่าของมนุษย์

             ๕. นิมมานรดี (สวรรค์ชั้นที่ ๕) แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ยินดีในการนิรมิต มีท้าวสุนิมมิต หรือ นิมมิตเทวราช ปกครองเทวดาชันนี้ปรารถนาสิ่งใด นิรมิตเอาได้ตามความพอใจของตน ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เมื่อใดปรารถนาใคร่เสพ กามคุณ เวลานั้นก็ เนรมิต เทพบุตร หรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนา และเมื่อใดได้เพลิดเพลินกับ กามคุณ นั้นสมใจแล้ว  กามคุณ ที่เนรมิตขึ้นมานั้นก็จะอันตรธานหายไป

              ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี (สวรรค์ชั้นที่ ๖) แดนที่อยู่แห่งเทพที่เสวยสมบัติที่เทพผู้อื่น นิรมิตได้ (บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น) ให้
มี ท้าว วสวัตตี  วัส สะ วัต ตี เป็นจอมเทพ

       2.รูปภพ ซึ่งหมายถึง รูปาวจรภูมิ 16ชั้น อันเป็นชั้นของผู้ได้รูปฌาน  เรียกว่าชั้นรูปพรม  เป็นสวรรค์ถัดจากเทวโลก เป็นที่อยู่ของพรหม มี 16 ชั้น แบ่งเป็น 4 ระดับ ตามฌานที่ได้ ดังนี้  ปฐมฌานภูมิ   ทุติยฌานภูมิ   ติตยฌานภูมิ   จตุตฌานภูมิ

                  ปฐมฌานภูมิ มี 3 ชั้น
                           1. พรหมปาริสัชชา ( พรหม ปา ริ สัช ชา )  พรหมบริวาร
                           2. พรหมปุโรหิตา (  พรหม ปุ โร หิ ตา ) พรหมที่ปรึกษา
                           3. มหาพรหมา ( มหา พรหม มา )  ท้าวมหาพรหม

                 ทุติยฌานภูมิ มี 3 ชั้น
                           4.ปริตตาภา  ( ปะ ริต ตา ภา ) พรหมมีรัศมีน้อย
                           5.อัปปมาณาภา  ( อัป ปะ มา นา ภา ) พรหมมีรัศมีประมาณ มิได้
                           6. อาภัสสรา(  อา ภัส สะ รา ) พรหมมีรัศมีสุกปรั่งซ่านไป

                 ติตยฌานภูมิ มี 3 ชั้น
                           7.ปริตตาสุภา ( ปะ ริต ตา สุ ภา  ) พรหมมีรัศมีงามน้อย
                           8.อปมาณสุภา  ( อัป ปะ มา นะ สุ ภา  ) พรหมมีรัศมีงามประมาณมิได้
                           9. สุภากิณหา  ( สุ ภะ กิณ  หา ) พรหมมีรัศมีงามกระจ่างจ้า

                 จตุตฌานภูมิ  มี 7 ชั้น
                           10.  เวหัปผลา    (  เว หับ ผะ ลา  ) พรหมที่มีผลไพบูรณ์
                           11.  อสัญญีสัตตา ( อะ สัญ ญี สัต ตา ) พรหมที่ไม่มีสัญญา

                            ตั้งแต่ชั้น 12-16 เป็นสวรรค์ชั้นสุทธาวาส  ซึ่งเป็นที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธ์ คือที่เกิดของพระอนาคามี
                           12.  อวิหา  (  อะ วิ หา )  เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน              
                           13.  อตัปปา ( อะ ตัป ปา ) เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร
                           14.  สุทัสสา (  สุ ทัส สา ) เหล่าท่านที่งดงามน่าทัศนา
                           15.  สุทัสสี  ( สุ ทัส สี )  เหล่าท่านผู้มองเห็นได้ชัดเจนดี
                           16. อกนิฏฐ หรืออกนิษฐ   ( อัก กะ นิ ฐา )  คือเหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร  คือผู้สูงสุดนั้นเอง
                            
         3.อรูปภพ ซึ่งหมายถึงภพ  ของอรูปพรหม ได้แก่ อรูปาวจรภูมิ4
เป็นที่สถิตของเหล่าพรหม ซึ่งปราศจากรูปร่าง พรหมเหล่านี้เป็นเพียงภาวะจิต

อรูปวจรภูมิแบ่งเป็น 4 ชั้นดังนี้

                 1.  อากาสานัญจายตน                 ชั้นที่เข้าถึงภาวะ มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
                 2. วิญญานัญจายตน                    ชั้นที่เข้าถึงภาวะ มีวิญญาณไม่มีที่สุด
                 3. อากิญจัญญายตน                    ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร
                 4. เนวสัญญานาสัญญายตน            ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 17, 2024, 09:32:04 AM