เมษายน 19, 2024, 08:15:13 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)  (อ่าน 24765 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 04:21:26 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)


ขออภิวาทแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนมัสการแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม



      ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ

      หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




บทนำ


      หลายๆคนมักจะบอกว่าสมัยพุทธกาลไม่มีสวดมนต์ ไม่รู้ว่าจะสวดไปทำไม บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้โง่ ถึงแม้จะกล่าวว่าตนจบเปรียญธรรมประโยคสูงๆ หรือ เป็นครูผู้สอนศิษย์มากมายแต่เขาก็คือคนโง่ที่อวดความไม่มีปัญญาของตน เป็นครูอาจารย์ผู้ลวงโลก อาศัยพระพุทธศาสนา หากินเพื่อ ลาภ ยศ สักการะ แก่ตน หากบุคคลใดไม่เข้าใจบทสวดมนต์ หรือ  พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ เขาก็มิอาจเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แม้คำเดียว เพราะจริงๆแล้วบทสวดมนต์ทั้งหลายคือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นบทสวดเพื่อใช้ในกิจการงานต่างๆ ผู้ไม่สวดมนต์คือผู้ที่ไม่ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เข้าถึงพระธรรมคำสอนจริงๆต่อให้ศีลนั้นมี 1000 ข้อ ท่านก็ถือได้โดยง่าย และ ท่านจะไม่ตำหนิพหรือเปลี่ยนแปลงระวินัยเลยด้วยมองว่าเป็นของถูกเป็นสิ่งดีเป็นกรรมฐานทั้งหมด ดังนี้..

       ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกันได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริงในบทสวดมนต์ทั้งหลายเพื่อการระลึกถึง สวดมนต์และปฏิบัติได้ถูกต้องไม่บิดเบือดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ใช่การกระทำด้วยกิเลสเครื่องล่อใจ แต่ทำเพราะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา

       บทสวดมนต์พระสูตร พระปริตรทั้งหลาย นั้นมีทั้งข้อวัตรปฏิบัติ แนวทางกรรมฐานทั้งหลาย หรือ ด้วยบารมีใด การปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น จึงส่งผลต่างๆเกิดขึ้นมา ด้วยพรรณดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรสวดมนต์น้อมรับธรรมปฏิบัติทั้งหลายนี้ๆเข้ามาสู่ตน เพื่อการปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..


      ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่ "เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว" และ ส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่ "คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องที่ยังมีชีวิตอยู่" ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 07:38:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 05:32:51 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)


อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ


[๒๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระตถาคตเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระตถาคตเช่นนี้ๆ เป็น "พุทธานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระธรรมเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระธรรมเช่นนี้ๆ เป็น "ธัมมานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ
ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระสงสฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเช่นนี้ๆ เป็น "สังฆานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงศีลของตนเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงศีลอันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเช่นนี้ๆ เป็น "สีลานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม
เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม (คอยหยิบของบริจาค) ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงจาคะของตนเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงทานอันที่เราได้สละให้มาดีแล้วเช่นนี้ๆ เป็น "จาคานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์อยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่
เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด
อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้แล.

(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ แม้ของตนเช่นนี้ๆดั่งเทวดาเหล่านั้น เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ อันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเหมือนดั่งเทวดาเหล่านั้นเช่นนี้ๆ เป็น "เทวตานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


อนุสสติฏฐานสูตร จบ


(อนุสสติฏฐานสูตร อาหุเนยยวรรคที่ ๑ ปฐมปัณณาสก์ ฉักกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ภาค ๓
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๖)
ขอขอบคุณที่มาจาก  อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ



ข้อสำคัญที่ควรรู้  คือ หากเรานั้นไม่ได้เจริญปฏิบัติใน ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ เราก็ไม่สามารถระลึกเจริญในอนุสสติ ๖ นี้ได้[/b]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 07:55:46 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 05:33:19 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)


  
คำบูชาพระรัตนตรัย


อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวา, ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิตด้วยศรัทธาความตรัสรู้และพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ทำไว้ในใจนำจิตตั้งน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความเป็นพระอรหันต์ ด้วยพึงตั้งจิตระลึกถึงสภาวะที่ว่างจากกิเลส หมดสิ้นกิเลสทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง , ทำไว้ในใจนำจิตตั้งน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยความเป็นสัมมาสัมพุทโธ ด้วยพึงตั้งจิตน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นในการตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า

พุทธัง ภะคะวันตังอะภิวาเทมิ. ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ทรงประทับนั่งบัลลังก์อยู่เบื้องหน้าเรา

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน.

(กราบ) ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเราก้มน้อมลงกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า



ส๎วากขาโตภะคะวะตาธัมโม, ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ระลึกถึงพระสูตร พระปริตร พระธรรมคำสอนบทใดๆอันที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้จริงสำหรับเรา

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ระลึกถึงพระสูตร พระปริตร พระธรรมคำสอนบทใดๆอันที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้จริงสำหรับเรา

ธัมมัง นะมัสสามิ. ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า น้อมระลึกว่าพระพุทธเจ้ากำลังประทับนั่งตรัสสอนถึง พระสูตร พระปริตร พระธรรมคำสอนบทใดๆอันที่เรานำมาปฏิบัติแล้วให้ผลเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้จริงสำหรับเรา พึงตั้งจิตน้อมนมัสกราบพระธรรมนั้น

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.

(กราบ) ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเราก้มลงกราบนมัสการแทบพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทับนั่งบัลลังค์ตรัสธรรมเทศนาสั่งสอน น้อมนมัสการซึ่งพระธรรมที่เราได้นำมาปฏิบัติแล้วให้ผลออกจากทุกข์ได้ตามจริงเหล่านั้น



สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ที่เรานับถือ อันเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว , ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ที่เรานับถือ อันเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบงดงามแล้ว มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต

สังฆัง นะมามิ. ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ที่เรานับถือ อันเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบงดงามแล้ว ผู้ได้ถ่ายทอดพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ซึ่งเป็นเครื่องออกจากทุกข์มาสู้เราให้ได้รู้ตาม พึงตั้งจิตนอบน้อมบูชากราบพระสงห์หมู่นั้น

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.

(กราบ) ให้ตั้งจิตทำไว้ในใจกำหนดนิมิตระลึกว่าเรานอบน้อมก้มลงกราบพระสงฆ์ทั้งหลายหมู่นั้นด้วยความเคารพเอื้อเฟื้อ





นี่คือการบูชาคุณพระรัตนตรัย และ เป็นการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย อนุสสติ พื้นฐาน

ซึ่งบทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยนี้ คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ แรกเริ่มโดยย่อพื้นฐาน


บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 05:33:54 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น


บททำวัตรเย็น


ปุพพภาคนมการ

(ผู้นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.



นะโมตัสสะภะคะวะโต ,ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ,.
อะระหะโต ,ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ,.
สัมมาสัมพุทธัสสะ.ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

ให้พึงตั้งจิตทำไว้ในใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพนอบน้อมศรัทธา ด้วยคุณและกิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

สวด ๓ จบ






๑. พุทธนุสสติ



เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก่อน อาจจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระพุทธเจ้าในรูป ที่เขาถ่ายติดที่ใต้ต้นโพธิ์ก็ได้ กำหนดทำไว้ในใจว่าเราผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าจะกล่าวถึงคุณและกิตติศัพท์อันงานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูยิ่งใหญ่ไม่มีใครเสมอเหมือนใน ๓ โลก จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะมะยังพุทธานุสสะตินะยังกะโรมะเส.


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า ,

อิติปิ โส ภะคะวา,
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,

อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
๑.ระลึกถึงคุณแห่งความเป็นผู้ไกลจากกิเลส คือ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง คือ ดับแล้วซึ่งเพลิงแห่ง กาม ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีทั้งหลาย น้อมระลึกเอาคุณนั้นเพื่อปหานกิเลสทุกข์ในตน เพื่อความสงบว่างอันสลัดจากกิเลสทั้งปวงที่มีในตน

สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
๒. ระลึกถึงคุณแห่งการตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า น้อมระลึกพิจารณาถึงธรรมเหล่าใดที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จนเห็นถึงความเป็นเครื่องออกจากทุกข์ตามจริง ทำให้เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า ศรัทธาการตรัสรู้ของพรพุทธเจ้าตามจริง เป็นเหตุใกล้ให้จิตมีเจตนาตั้งมั่นและความเพียรประพฤติตามอยู่เพื่อปหานกิเลสทุกข์ ดั่งพระพุทธเจ้านั้นเพียรอดทนปฏิบัติเพื่อความตรัสรู้ชอบนั้น

วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
๓. ระลึกถึงคุณแห่งความประกอบด้วยวิชชาและจรณะของพระพุทธเจ้า เพื่อความน้อมนำเอาคุณนั้นทำให้เราได้เพียรปฏิบัติถึงในจรณะ ๑๕ ได้โดยง่ายและถึงซึ่งวิชชาและจรณะอันบริบูรณ์เป็นเหตุให้เข้าถึง อิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ได้โดยง่าย กล่าวโดยย่อ คือ มีความพอใจยินดีเพียรเจริญปฏิบัติใฝ่ใจใน
๓.๑ ศีล (สละทิ้งความเบียดเบียน)
๓.๒ ทาน (สละสิ่งที่ตนพึงมี-พึงได้)
๓.๓ ภาวนา คือ สมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ + ปัญญา ได้แก่ มีสติและสัมปะชัญญะ (สละทิ้งโมหะ ความหลง มัวเมา)
๓.๔ พรหมวิหาร ๔ (สละทิ้งความโลภทะยานอยากและความผูกเวรพยาบาทเพื่อความถึงซึ่งกุศลใน ศีล ทาน ภาวนาได้ง่าย)


สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
๔. ระลึกถึงคุณแห่งความเสด็จไปแล้วด้วยดี คือ ไปที่ใดย่อมเกิดธรรมกุศลอันงามและช่วยให้คนออกจากทุกข์ได้ในที่นั้น แล้วน้อมนำเอาคุณนั้นว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่ตนแล้วคือเราได้รู้เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้ว ย่อมเกิดแต่สิ่งอันดีงามปราศจากกิเลสทุกข์ขึ้นแก่เรา

โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
๕. ระลึกถึงคุณแห่งความรู้โลกอย่างแจ่มแจ้งของพระพุทธเจ้า คือ พระญาณที่รู้แจ้งโลกเห็นในวิปัสสนาญาณ ๙ นี้เป็นต้น โดยน้อมนำเอาคุณนั้นแผ่บารมีให้เราเห็นแจ้งโลกตาม คือ เห็นความเกิดขึ้น ความปรุงแต่ง ความตั้งอยู่ ความเสื่อม และ ดับไปตามจริงในสิ่งทั้งปวงทั่รับรู้ได้ทางสฬายตนะ คือ รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
๖. ระลึกถึงคุณแห่งการเป็นครูผู้ฝึกฝนบุรุษได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ด้วยสั่งสอนฝึกฝนบุรุษให้เข้าถึงซึ่งกุศลธรรมทั้งปวงด้วย วิโมกข์ ๘ เป็นต้น และ ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ทั้งหลายด้วยความเป็นเหตุเป็นผลพิจารณาทบทวนตรวจสอบให้เห็นตามจริงได้ พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะฝึกฝนสั่งสอนด้วยพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพไม่เลือกแบ่งชั้นวรรณะสูงหรือต่ำ ไม่ว่าจะฉลาดหรือโง่ ไม่มีความรังเกลียดไรๆต่อบุคคลใด สัตว์ใดทั้งปวง แม้แต่พญามาร พระตถาคตก็ทรงคอยชี้แนะสั่งสอนเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ของทุกคนเสมอกันทั้งมนุษย์ เทวดา มาร พรหม และ สัตว์โลกทั้งหลายด้วย

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
๗. ระลึกถึงคุณแห่งการเป็นครูผู้จำแนกธรรมสั่งสอนมนุษย์ เทวดา มาร พรหม และ สัตว์โลกทั้งหลายให้เห็นทางออกจากทุกข์ ทำให้เราได้เลือกเฟ้นธรรมขึ้นมาพิจารณาปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าจำแนกธรรมสั่งสอนไว้ได้ถูกตามที่จริตของตนต้องการ เพื่อถึงความออกจากทุกข์ ทั้งขั้นต้น ท่ามกลาง และ ที่สุดดังนี้ครับ

พุทโธ,
เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม,
๘. ระลึกถึงคุณแห่งความ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น หมายถึง ไม่ทรงหลง ไม่ทรงงมงาย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นจากความหลงงมงาย รู้ทางปฏิบัติเพื่อออกจากความหลงความทุกข์ทั้งปวงคือมรรค ตื่นจากความหลงความทุกข์ทั้งปวงไม่หลงอยู่อีกแล้ว คือ ผล และ ทรงเป็นผู้เบิกบาน หมายถึง มีพระทัยผ่องใส พ้นหรือดับสิ้นซึ่งโมหะ บำเพ็ญพุทธกิจได้ครบถ้วนบริบูรณ์

ภะคะวาติ.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
๙. เป็นผู้จำแนกธัมม์ ดังนี้ (ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ทรงหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ทรงประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา แม้มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายพระองค์ได้ และทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม หมายถึง ทรงอธิบายธรรมโดยนัยต่างๆ เหมาะสมแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง จนได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติของเขา


นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย พุทธานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ โดยสามารถจำแนกระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าออกเป็นข้อๆตามแต่สะดวกได้ เมื่อกำลังดำเนินงานในชีวิตประจำวันปกติ เช่น
- อระหัง คือ คุณที่ว่าด้วยเป็นผู้ไกลจากกิเลส ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
- พุทโธ คือ คุณที่ว่าด้วยความศรัทธายิ่งในพระพุทธเจ้า เชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้นตรัสรู้ชอบด้วยพระเองเองจริง ผู้ที่ตรัสรู้ชอบเองชื่อว่าพุทโธ หรือ พระพุทธเจ้านั่นเอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2014, 11:57:39 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:02:56 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น




๒. พุทธาภิคีติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก่อน อาจจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระพุทธเจ้าในรูป ที่เขาถ่ายติดที่ใต้ต้นโพธิ์ก็ได้ กำหนดทำไว้ในใจว่าเราผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า จะกล่าวน้อมระลึกถึงคุณและกิตติศัพท์อันงานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูยิ่งใหญ่ไม่มีใครเสมอเหมือนใน ๓ โลก พร้อมตั้งจิตทำไว้ในใจประกาศตนเป็นผู้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐองค์ที่ ๑
จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรพร้อมทำไว้ในใจตามบทสวดมนต์ทำวัตรเย็น ดังนี้


(ผู้นำ) หันทะมะยังพุทธาภิคีติงกะโรมะเส.


พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งพระอรหันตคุณ เป็นต้น,

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์,

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใด, ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน,

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง.
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์, ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้น, ด้วยเศียรเกล้า.

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด, เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น,
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่หนึ่ง, ด้วยเศียรเกล้า,


พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า,

วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐ ของข้าพเจ้า,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
และ ประกาศตนเป็น พุทธบริษัท ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า เป็น สรณะ


     (หมอบกราบลงว่า)
ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วน้อมขอพระตถาคตเจ้านั้น
ทรงโปรดสงเคราะห์อโหสิกรรมและอดโทษไว้แก่เรา
หากเราประมาทเผลอกระทำผิดพลั้งไรๆไปต่อพระพุทธเจ้า
ไม่ว่าจะในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี หรือ ในอนาคตก็ดี

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดีด้วยวาจาก็ดีด้วยใจก็ดี,

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า,

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.


นี่คือการเจริญปฏิบัติด้วยมีคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ
เป็นการขอขมาลาโทษที่ได้ทำล่วงเกินต่อพระพุทธเจ้า ทางกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี หรือ ไม่ตั้งใจก็ดี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 06:34:46 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:03:34 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น

๓. ธัมมานุสสติ



เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน จากนั้นค่อยระลึกถึงพระธรรมหรือพระสูตรใดๆก็ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นพระธรรมที่เมื่อเราได้เจริญปฏิบัติแล้วเห็นว่า..เป็นเครื่องออกจากทุกข์ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาลตามจริงแก่เรา
หรือ..ระลึกว่าพระตถาคตเจ้า กำลังแสดงพระธรรมเทศนาแก่เรา แล้วเราน้อมรับพระธรรมนั้นจากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้


(ผู้นำ) หันทะมะยังธัมมานุสสะตินะยังกะโรมะเส.


ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว,

สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
พระธรรมนั้นใดที่พระพุทฦธเจ้าตรัสไว้ดีัแล้ว
เมื่อเราน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติ ย่อมเห็นผลจากการเจริญปฏิบัตินั้นด้วยตัวเอง
ซึ่งจะไปรู้เห็นโดยผู้อื่นปฏิบัติแทนไม่ได้ เหมือนดั่งการกินข้าว
- ผู้กินข้าวเขาย่อมรู้รสชาติในคำข้าวนั้น มีความอิ่มท้องดำรงชีพอยู่ได้
  แต่ผู้ไม่ได้กินสักแต่เพียงมองดูเขากิน แม้จะรู้ดีว่าผู้กินนั้นต้องจะอร่อยและอิ่มท้อง
  แต่ก็ย่อมไม่รู้รสในคำข้าวนั้นและอิ่มท้องไม่ได้ฉันใด
- ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนย่อมเป็นดั่งคนกินข้าว
  ผู้ที่ละเลยต่อการเรียนรู้และปฏิบัติจริง แม้จะรู้ว่าพระธรรมนั้นเป็นสิ่งดี
  แต่ก็ไม่รู้รสชาติและรับรู้ความอิ่มเต็มจากการเจริญปฏิบัติ
  ดั่งคนไม่ได้กินข้าวสักแต่เพียงมองอยู่ฉันนั้น


อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
พระธรรมนั้นใดที่พระพุทฦธเจ้าตรัสไว้ดีัแล้ว
เมื่อน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติเมื่อไหร่ ย่อมได้รับผลจากการปฏิบัติได้เมื่อนั้นไม่จำกัดกาล


เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,
พระธรรมนั้นใดที่พระพุทฦธเจ้าตรัสไว้ดีัแล้ว
เป็นธรรมที่ปฏิบัติแล้วให้ผลแห่งการหลุดพ้นจากกองทุกข์จได้ไม่จำกัดกาล
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศล ที่ควรแก่การบอกต่อให้ผู้อื่นได้รู้ตาม


โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
พระธรรมนั้นใดที่พระพุทฦธเจ้าตรัสไว้ดีัแล้ว
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศลที่ได้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน


ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนดังนี้.
เป็นสิ่งที่วิญญูชน ๓ คือ ผู้รู้ ๓ จำพวก (แค่หัวข้อก็รู้ อธิบายจึงรู้ แนะนำจึงรู้)
พึงรู้เฉพาะตน คือ จะต้องรู้ด้วยตนเอง มิใช่ว่าจะมีผู้อื่นรู้แทนได้ หรือมิใช่วาจะไปรู้แทนผู้อื่นได้




นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ธัมมานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2014, 12:45:24 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:03:50 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น




๔. ธัมมาภิคีติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน กำหนดทำไว้ในใจว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้นประกอบไปด้วยคุณให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมอันประกอบไปด้วยมรรคและผล แล้วพึงน้อมจิตระลึกถึงพระสูตรใดๆที่เราน้อมนำมาปฏิบัติแล้วเห็นผลเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้ตามจริงแก่เรา พร้อมตั้งจิตทำไว้ในใจประกาศตนเป็นผู้ถึงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้นเป็นสรณะอันประเสริฐองค์ที่ ๒
จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรพร้อมทำไว้ในใจตามบทสวดมนต์ทำวัตรเย็น ดังนี้


(ผู้นำ) หันทะมะยังธัมมาภิคีติงกะโรมะเส


ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ,
คือ ความที่พระผู้มี พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น,


โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน,

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะทาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม, จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว,

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง.
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น,
อันเป็นเครื่องกำจัดเสียซึ่งความมืด.


ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใด เป็นสะระณะอันเกษมสูงสุด, ของสัตว์ทั้งหลาย,

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น,
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สอง, ด้วยเศียรเกล้า


ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม,

วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย ธัมมานุสสติ
ระลึกถึงคุณของพระธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
และ ประกาศตนเป็น พุทธบริษัท ถึงซึ่ง พระธรรม เป็น สรณะ


     (หมอบกราบลงว่า)
ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วน้อมขอพระตถาคตนั้น
ทรงโปรดสงเคราะห์อโหสิกรรมและอดโทษไว้แก่เรา
หากเราประมาทเผลอกระทำผิดพลั้งไรๆไปต่อพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
ไม่ว่าจะในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี หรือ ในอนาคตก็ดี

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม,

ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป.


นี่คือการเจริญปฏิบัติด้วยมีคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ
เป็นการขอขมาลาโทษที่ได้ทำล่วงเกินต่อพระธรรม ทางกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี หรือ ไม่ตั้งใจก็ดี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2014, 06:34:29 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:07:32 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น

๕. สังฆานุสสติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ที่เป็นอรหันตสาวก หรือ พระอริยะสาวกก่อน ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ละสังโยชน์ ๓  คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้แล้วเป็นเบื้องต่ำ ตือ ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป มีปฏิปทางดงามเป็นอันดีตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเรา และ ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาพร้อมพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสู่เรา ให้เราได้รู้ตามพระธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์นั้น อาจจะเป็นพระสงฆ์สาวกรูปใดๆก็ตาม..ที่เราชอบ ที่เราเคารพบูชา ที่เรานับถือก็ได้ หรือ..จะเป็นพระอริยะสงฆ์สาวก พระสงฆ์หมู่ใดที่เรารู้จักและเคารพนับถือ จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรดังนี้

(ผู้นำ) หันทะมะยังสังฆานุสสะตินะยังกะโรมะเส.


สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,

อุชุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,

ญายะปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,


สามีจิปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ,

จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ , นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,
มรรค คือ ทาง, หนทาง ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น,
ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ
โสดาปัตติมรรค ๑
สกทาคามิมรรค ๑
อนาคามิมรรค ๑
อรหัตตมรรค ๑
แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ
พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คู่ ๑,
พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑,
พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่ ๑,
พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑


เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,

ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,

ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,

อัญชะลิกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.


นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย สังฆานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพระสงฆ์
มีพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2014, 04:27:15 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:07:44 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น

๖. สังฆาภิคีติ


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระอรหันตสาวก หรือ พระอริยะสงฆ์สาวกก่อน กำหนดทำไว้ในใจว่า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าหมู่นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว มีปฏิปทางดงามเป็นอันดีตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้ว เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเรา ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ผู้ถึงธรรมอันประกอบไปด้วยมรรคและผล แล้วพึงน้อมจิตระลึกถึงพระสงฆ์หมู่นั้นด้วยความเคารพนอบน้อม
หวนระลึกถึงครูบาอาจารย์หรือสมมติสงฆ์หมู่ใดผู้เพียรอยู่ในมรรคหมู่นั้น แล้วพึงน้อมจิตระลึกถึงสมมติสงฆ์หมู่นั้นด้วยความเคารพนอบน้อม
พร้อมกำหนดไว้ในใจประกาศตนเป็นผู้ถึงซึ่งพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าหมู่นั้นเป็นสรณะอันประเสริฐองค์ที่ ๓
จากนั้นจึงเริ่มสวดมนต์ทำวัตรพร้อมทำไว้ในใจตามบทสวดมนต์ทำวัตรเย็น ดังนี้


(ผู้นำ) หันทะมะยังสังฆาภิคีติงกะโรมะเส.


สัทธัมมะโชสุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น,

โยฏฐัพพิโธอะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก,

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น, อันบวร,

วันทามะหังตะมะริยานะคะณังสุสุทธัง.
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น, อันบริสุทธิ์ด้วยดี.

สังโฆโยสัพพะปาณีนังสะระณังเขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด, ของสัตว์ทั้งหลาย,

ตะติยานุสสะติฏฐานังวันทามิตังสิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น,
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สาม, ด้วยเศียรเกล้า,

สังฆัสสาหัส๎มิทาโส (ทาสี) วะ สังโฆเมสามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,

สังฆัสสาหังนิยยาเทมิสะรีรัญชีวิตัญจิทัง
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์,

วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิสังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์,

นัตถิเมสะระณังอัญญังสังโฆเมสะระณังวะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,

เอเตนะสัจจะวัชเชนะวัฑเฒยยังสัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

สังฆังเมวันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,

สัพเพปิอันตะรายาเมมาเหสุงตัสสะเตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

นี่คือการเจริญปฏิบัติกรรมฐานว่าด้วย สังฆานุสสติ
ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
และ ประกาศตนเป็น พุทธบริษัท ถึงซึ่ง พระสงฆ์ เป็น สรณะ


     (หมอบกราบลงว่า)
ตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ พระอรหันตสาวก พระอริยะสาวก ของพระพุทธเจ้า
และ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ผู้เป็นสงฆ์ปฏิบัติดีปกิบัติชอบในทางแห่งมรรคที่เราเคารพนับถือ
แล้วน้อมขอพระสงฆ์ผู้เป็น พระอรหันต์ พระอริยะสงฆ์หมู่นั้น และ ครูอุปชัฌาย์อาจารย์
ทรงโปรดสงเคราะห์อโหสิกรรมและอดโทษไว้แก่เรา
หากเราประมาทเผลอกระทำผิดพลั้งไรๆไปต่อพระสงฆ์
ไม่ว่าจะในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี หรือ ในอนาคตก็ดี


กาเยนะวาจายะวะเจตะสาวา,
ด้วยกายก็ดีด้วยวาจาก็ดีด้วยใจก็ดี

สังเฆกุกัมมังปะกะตังมะยายัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์

สังโฆปะฏิคคัณหะตุอัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเรสังวะริตุงวะสังเฆ.
เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์ในกาลต่อไป ฯ


นี่คือการเจริญปฏิบัติด้วยมีคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ
เป็นการขอขมาลาโทษที่ได้ทำล่วงเกินต่อพระสงฆ์ ทางกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะตั้งใจก็ดี หรือ ไม่ตั้งใจก็ดี



(จบทำวัตรเย็น)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2014, 04:27:51 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:08:18 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น

บทสวดมนต์แปล อตีตปัจจเวกขณปาฐะ


ให้น้อมเข้ามาพิจารณาใน ปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ที่เรากินเราใช้อยู่ประจำตามบทสวดมนต์ดังนี้ เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นถึงความจำเป็นในสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง และ ถึงซึ่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นในปัจจัยเหล่านี้เกินความจำเป็น
หากเป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี พึงสวดแบบนี้พร้อมพิจารณาตามโดยแยบคาย หากไม่สวดบทสวดมนต์นี้พร้อมน้อมนำมาพิจารณาโดยแยบคายในปัจจุย ๔ แล้ว เมื่อจะฉันท์ข้าว นุ่งห่มจีวร อัฏฐบริขาร ที่พำนักกุฏิ ยารักษาโรค ถือว่าต้องอาบัติตามพระวินัย ดังนั้นจึงได้ตั้งให้มนต์พิธีตั้งเป็นบทสวดมนต์บทนี้ทั้งทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นนั่นเองครับ เพื่อป้องกันอาบัติแก่ผู้ไม่รู้พระวินัย


(ผู้นำ) หันทะมะยังอะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐังภะณามะ เส.


(ข้อว่าด้วยจีวร)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง,
จีวรใด อันเรานุ่งห่มแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
จีวรนั้น เรานุ่งห่มแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด,
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,


ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง,
และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ, อันให้เกิดความละอาย.


(ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต,
บิณฑบาตใด อันเราฉันแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส เนวะ ทะวายะ,
บิณฑบาตนั้น เราฉันแล้ว,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,


นะมะทายะ,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามัน, เกิดกำลังพลังทางกาย,

นะมัณฑะนายะ,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ,

นะวิภูสะนายะ,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะอิมัสสะกายัสสะฐิติยา,
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะ,
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยา,
เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะ,
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
ด้วยการกระทำอย่างนี้,
เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า, คือ ความหิว,


นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ, อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา, ดังนี้.



(ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง,
เสนาสนะใด อันเราใช้สอยแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจาก เหลือบ ยุง ลม แดด,
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,


ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง,
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,
และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้, ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา,



(ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ปะริภุตโต,
คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
คิลานเภสัชบริขารนั้น เราบริโภคแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา
อันบังเกิดขึ้นแล้ว, มีอาพาธต่าง ๆ เป็นมูล,


อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติ,
เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.


นี่คือบทพิจารณาใน ปัจจัย ๔ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ว่ามีความจำเป็นอย่างไร ใช้เพื่อสิ่งใด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เป็นไปเพื่อความอยาก ความเพลิดเพลิน
แต่เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่แก่ขันธ์ตามความจำเป็นเท่านั้น เพื่อการปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2014, 05:32:40 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:08:53 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)

บทเจริญอภิณหะปัจจะเวกขณะปาฐะ


ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในกายและใจเราตามบทสวดมนต์ดังนี้
เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ตามจริง


(ผู้นำ) หันทะมะยังอะภิณหะปัจจะเวกขะณะ ปาฐังภะณามะ เส.


ชะราธัมโมม๎หิ เรามีความแก่เป็นธรรมดา

ชะรังอะนะตีโต (ตา) เราจะล่วงความแก่ไปไม่ได้

พ๎ยาธิธัมโมม๎หิ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

พ๎ยาธิงอะนะตีโต (ตา) เราจะล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้

มะระณะธัมโมม๎หิ เรามีความตายเป็นธรรมดา

มะระณังอะนะตีโต (ตา) เราจะล่วงความตายไปไม่ได้

สัพเพหิเมปิเยหิมะนาเปหินานาภาโววินาภาโว
เราจะละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่าจะพลัดพรากจากของรัก,
ของชอบใจทั้งหลายทั้งปวง


กัมมัสสะโกม๎หิ เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน

กัมมะทายาโท (ทา) เราเป็นผู้รับผลของกรรม

กัมมะโยนิ เราเป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด

กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

กัมมะปะฏิสะระโณ (ณา) เราเป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยังกัมมังกะริสสามิ เราจักทำกรรมอันใดไว้

กัล๎ยาณังวาปาปะกังวา เป็นบุญหรือเป็นบาป

ตัสสะทายาโท (ทา) ภะวิสสามิ เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

เอวังอัมเหหิอะภิณหังปัจจะเวกขิตัพพัง
เราทั้งหลายพิจารณาเนือง ๆ อย่างนี้แล ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 09:43:02 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:10:33 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น

ท๎วัตติงสาการปาฐะ


ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในกายและใจเราตามบทสวดมนต์ดังนี้
เพื่อเจริญพิจารณาให้เห็นปฏิกูลไม่น่าพิศมัยในกายเรานี้ตามจริง "เพื่อละฉันทะราคะอันมีในรูปขันธ์ ให้สืบเนื่องเป็น อุปาทานรูปขันธ์ คือ ความฝักใฝ่ยินดีมีจิตหมายมั่นใคร่ในรูปขันธ์" เป็นบทเจริญพิจารณาใน กายคตาสติกรรมฐาน ที่ว่าด้วย "อาการทั้ง 32 ประการ" "ซึ่งกรรมฐานนี้มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นไม่มีอื่นอีก"


(ผู้นำ) หันทะมะยังท๎วัตติงสาการะปาฐังภะณามะ เส.


อะยังโขเมกาโย : กายของเรานี้แล

อุทธัง ปาทะตะลา : เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา : เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต : มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปูโรนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน : เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ

อัตถิอิมัส๎มิงกาเย : ในร่างกายนี้มี

เกสา : ผมทั้งหลาย

โลมา : ขนทั้งหลาย

นะขา : เล็บทั้งหลาย

ทันตา : ฟันทั้งหลาย

ตะโจ : หนัง

มังสัง : เนื้อ

นะหารู : เอ็นทั้งหลาย

อัฏฐี : กระดูกทั้งหลาย

อัฏฐิมิญชัง : เยื่อในกระดูก

วักกัง : ม้าม

หะทะยัง : หัวใจ

ยะกะนัง : ตับ

กิโลมะกัง : พังผืด

ปิหะกัง : ไต

ปัปผาสัง : ปอด

อันตัง : ไส้ใหญ่

อันตะคุณัง : ไส้น้อย

อุทะริยัง : อาหารใหม่

กะรีสัง : อาหารเก่า

ปิตตัง : น้ำดี

เสมหัง : น้ำเสลด

ปุพโพ : น้ำหนอง

โลหิตัง : น้ำเลือด

เสโท : น้ำเหงื่อ

เมโท : น้ำมันข้น

อัสสุ : น้ำตา

วะสา : น้ำมันเหลว

เขโฬ : น้ำลาย

สิงฆาณิกา : น้ำมูก

ละสิกา : น้ำไขข้อ

มุตตัง : น้ำมูตร

มัตถะเก มัตถะลุงคัง : เยื่อมันสมองในกระโหลกศีรษะ

เอวะมะยังเมกาโย : กายของเรานี้อย่างนี้

อุทธังปาทะตะลา : เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

อะโธเกสะมัตถะกา : เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

ตะจะปะริยันโต : มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

ปูโรนานัปปะการัสสะอะสุจิโน : เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ อย่างนี้แล ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 02:35:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:11:53 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น

กรวดน้ำอิมินา


บทนี้เป็นการสวดให้กับผู้ตาย ให้เจริญเมตตาจิต มีความปารถดีต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ผูกเวรใคร ไม่พยาบาทใคร ทำไว้ในใจว่าเราจักเป็นมิตรกับทุกคน ไม่ผูกโกรธแค้นเบียดเบียนหมายทำลายชีวิตใครให้ฉิบหาย จักเป็นผู้ละโทสะความขุ่นมัวเร่าร้อนกายใจทั้งปวง เราจักเป็นผู้มีความปารถนาดีต่อผู้อื่น มีใจปารถนาให้ผู้อื่นได้ปราศจากความทุกข์กายและใจ หลุดพ้นจากความร้อนรุ่มผูกเวร พยาบาท ขอให้ความสงบสุขกายสบายใจร่มเย็นรื่มรมย์จงมีแก่ทั้งผู้มีคุณแก่เราและผู้อื่นๆ รวมไปถึงสัตว์อื่นๆ ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด พื้นที่ใดก็ตามที่มีอยู่ใน ๓ โลกนี้ ทั้งปวง


(ผู้นำ) หันทะมะยังอุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโยภะณามะ เส.


อิมินาปุญญะกัมเมนะ
ด้วยบุญนี้อุทิศให้
อุปัชฌายาคุณุตตะรา
อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ

อาจะริยูปะการาจะ
แลอาจารย์ผู้เกื้อหนุน
มาตาปิตา จะ ญาตะกา
ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ

สุริโยจันทิมาราชา
สูรย์จันทร์แลราชา
คุณะวันตานะราปิจะ
ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ

พ๎รัห๎มะมารา จะอินทา จะ
พรหม มาร และอินทรราช
โลกะปาลาจะเทวะตา
ทั้งทวยเทพ และโลกบาล

ยะโมมิตตามะนุสสาจะ
ยมราชมนุษย์มิตร
มัชฌัตตาเวริกาปิจะ
ผู้เป็นกลางผู้จองผลาญ

สัพเพสัตตาสุขีโหนตุ
ขอให้เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน          
ปุญญานิปะกะตานิเม
บุญผองที่ข้าทำจงช่วยอำนวยศุภผล

สุขังจะติวิธังเทนตุ
ให้สุขสามอย่างล้น
ขิปปังปาเปถะโวมะตัง
ให้ลุถึงนิพพานพลัน

อิมินาปุญญะกัมเมนะ
ด้วยบุญนี้ที่เราทำ
อิมินาอุททิเสนะจะ
แลอุทิศให้ปวงสัตว์

ขิปปาหังสุละเภเจวะ
เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
ตัวตัณหาอุปาทาน

เยสันตาเนหินาธัมมา
สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะนิพพานะโตมะมัง
กว่าเราจะถึงนิพพาน

นัสสันตุสัพพะทาเยวะ
มลายสิ้นจากสันดาน
ยัตถะชาโตภะเวภะเว
ทุกๆ ภพ ที่เราเกิด

อุชุจิตตังสะติปัญญา
มีจิตตรง และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ        
สัลเลโขวิริยัมหินา
พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย

มาราละภันตุโนกาสัง
โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะวิริเยสุเม
เป็นช่องประทุษร้าย ทำลายล้างความเพียรจม

พุทธาทิปะวะโรนาโถ
พระพุทธผู้บวรนาถ
ธัมโมนาโถวะรุตตะโม
พระธรรมที่พึ่งอุดม

นาโถปัจเจกะพุทโธจะ
พระปัจเจกะพุทธะสม-
สังโฆนาโถตตะโรมะมัง
-ทบพระสงฆ์ที่พึ่งผะยอง

เตโสตตะมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสังละภันตุมา
ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง

ทะสะปุญญานุภาเวนะ
ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกาสังละภันตุมา
อย่าเปิดโอกาสแก่มาร เทอญ.




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 02:29:35 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 06:13:42 PM »

Permalink: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น


การกราบ 5 ครั้ง บูชาพระรัตนตรัย พ่อ-แม่ และ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์



อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ

              (กราบ)
น้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พึงตั้งจิตน้อมอภิวาทพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น



สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ

              (กราบ)
น้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ที่ทรงบำเพ็ญเพื่อความตรัสรู้ชอบในธรรมทั้งปวง
แล้วพระธรรมนั้นเผยแพร่ให้เราได้เห็นทางพ้นทุกข์
จนถึงน้อมเอาพระธรรมอันใดที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแ
ล้วเรานำมาปฏิบัติจนเห็นผลได้ให้ผลได้เพื่อออกจากทุกข์ตามจริง
พึงตั้งจิตน้อมนมัสการพระธรรมนั้น



สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ

              (กราบ)
น้อมระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้ปฏิบัติดีแล้ว คือ ผู้ที่เดินบนทางแห่งมรรค อันเข้าไปสู่ผล
เป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ หมู่นั้น
และได้เผยแพร่พระธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์
ให้เราได้รู้และปฏิบัติตาม เพื่อให้ถึงความพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ได้เดินไปสู่ทางมรรคและผลอันดีงามดังนี้
พึงตั้งจิตนอบน้อมก้มลงกราบพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าหมู่นั้น


มาตา ปิตุ คุณัง อะหัง วันทามิ

              (กราบ)
น้อมระลึกถึงคุณของ บิดา-มารดา และ บุพการีทั้งหลาย
ที่ได้ให้กำเนิดเรามา และ คอยดูแลอุปถัมป์เลี้ยงดูอุ้มชู อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเรามาอย่างดี
ดุจดั่ง พระอรหันต์ หรือ พรหม ในบ้านที่พึงมีให้บุตรหลานได้
ทำให้เราได้พบสิ่งที่ดีงาม ได้มีอยู่มีกิน ได้พบเจอพระพุทธศาสนา
พึงตั้งจิตน้อมก้มลงกราบ บิดา-มารดา และ บุพการีทั้งหลายของเรานั้น



ครูอุปัชฌาย์ อาจาริยะ คุณัง อะหัง วันทามิ

              (กราบ)
น้อมระลึกถึงคุณของครูอุปัชฌาย์ทางธรรม
ที่ได้ชี้แนะสั่งสอนให้เราได้รู้เห็นพระธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ได้รู้แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องดีงามเห็นแนวทางการดำรงชีพชอบ
อันเป็นไปเพื่อมรรคและผลเพื่อออกจากทุกข์
น้อมระลึกถึงคุณของครูบาอาจารย์ทางโลก
ที่ได้สั่งสอนวิชาความรู้และเพื่อใช้เลี้ยงชีพในทางโลก
พึงตั้งจิตน้อมกราบครูอุปัชฌาย์ และ ครูบาอาจารย์ หมู่นั้น





ขอขอบคุณที่มาของบทสวดมนต์ทำวัตรเย็นแปลจากเวบ http://watphrapathomchedi.com/TamWat/tamWat%20Y1.htm



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 02:28:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 28, 2024, 11:31:55 PM