เมษายน 20, 2024, 04:50:08 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407902 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #360 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:17:54 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน ปี 64 ก่อนเข้าพรรษา การฝึกอบรมจิตให้เป็นปกติ

ก. มีสติรู้อยู่ในอารมณ์ความรู้สึกสึกทั้งปวงที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ทำไว้ในใจถึงความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งทั้งปวง มีใจผลักออกจากอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ

ข. มีความสำเหนียกอยู่ว่าเราจักไม่ยึดจับสิ่งใด ..หายใจเข้า ..จิตลอยขึ้นพ้นอารมณ์ความรู้สึกทั้งปวง ถึงความว่างโล่ง เบา เย็นใจ

ค. มีความสำเหนียกอยู่ว่าเราจักปล่อย ..หายใจออก ..ผ่อนคลาย เบา สบายใจ

ฝึกทำบ่อยๆสะสมเหตุจนเป็นปกติจิต จะทำให้..เมื่อจิตรู้ว่า ราคะ โทสะ โมหะเกิดขึ้น คลองจิตนั้นควรทำอย่างไร จนเข้าถึงสภาวะตัดแม้เพียงแค่คิดสำเหนียกในใจว่า.. อย่าไปติดใจข้องแวะมันเลย ติดใจข้องแวะร้อย-ก็ทุกข์ร้อย, ไม่ติดใจข้องแวะเลย-ก็ไม่ทุกเลย

ข้อนี้มิใช่ธรรมอื่นใดไกลตัว มิใช่ธรรมเพื่อสละคืนอันสูงเกิน ธรรมทั้งหมด คือ .."อานาปานสติ+เมตตาตนเอง"..เท่านั้นเอง ถ้าหากเราเคยทำได้เข้าถึงได้ เราก็ทำสิ่งยากให้ง่ายได้ ทำของง่ายให้สูงยิ่งๆขึ้นไปได้ เหมือน พุทโธ จากเพียงคำบริกรรมถ้าจิตเข้าถึงพุทธะ ถึงคุณพระพุทธเจ้าได้แล้ว พุทโธ ก็จะเป็นกิริยาจิตของเรา คือ..
- ผู้รู้..จิตรู้ปัจจุบัน จิตรู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ
- ผู้ตื่น..จิตตื่นจากสมมติ จิตมาจับรู้ของจริง ไม่ข้องจับสมมติ
- ผู้เบิกบาน..จิตเบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม พ้นจากสมมติธัมมารมณ์ความรู้สึกทั้งปวง

- ขั้นต้น ที่ได้นี้ก็เป็นปกติจิต จิตมีความปกติ
- ขั้นกลาง จิตก็ทรงอยู่โดยมรรค
- ขั้นสุด จิตก็ถึงความตัด จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้(คือหมดสิ้นทุกข์แล้ว)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:18:05 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #361 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:19:16 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
☸️ ..บันทึกกรรมฐานจาก ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันเข้าพรรษาปี 64.. ☸️

พระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นบทสรุปความโดยย่อจากพระสูตร ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟังจากใคร อาศัยสติ สัมปะชัญญ สมาธิ โยนิโสมนสิการ อนุโลม ปฏิโลม เข้าตามพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และข้าพเจ้าเป็นเพียงปุถุชนอยู่เท่านั้น ธรรมปลอมย่อมมีเยอะ มีผิดพลาด ไม่ใช่ธรรมจริง ท่านผู้อ่านต้องวิเคราะห์แยกแยะเอา ซึ่งทำเพื่อเป็นแนวทางทบทวนกรรมฐานตนเอง ทางปฏิบัติโดยอนุมานเอาว่าอาจจะมีประโยชน์ต่อหลายๆท่าน ณ ที่นี้ จึงได้แบ่งปันไว้ ส่วนในทางปฏิบัติมีแล้วตามที่สมเด็จพระตถาคตเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว หรือ ตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลานได้กรุณาสอนไว้

๑. ทุกข์ ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕

..ขันธ์ ๕ คือ..

- รูป(ร่างกาย อาการทั้ง ๓๒ ประการ, ธาตุ ๕)

- เวทนา(ความรู้สึกอารมณ์เพราะอาศัยสัมผัส)

- สัญญา(ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ)

- สังขาร(ความคิดปรุงแต่งสืบต่ออารมณ์ความรู้สึก)

- วิญญาณ(ความรู้สึกรับรู้อารมณ์ที่กระทบและสืบต่อ)


กล่าวคือ

- มีใจครองขันธ์ ๕ คือ ชาติ ความเกิด จิตจรมาเข้าอุปาทินนกรูป คือ กายนี้ที่พ่อแม่ให้มา นำไปสู่ ความแก่ ความเจ็บป่วย และความตาย

- มีใจเข้ายึดครองขันธ์ คือ เมื่อจิตจรมาอาศัยขันธ์ ๕ นี้ ก็มีใจเข้ายึดครอง ขันธ์ ๕ ทั้งภายในว่าเป็นตน เป็นของตน อยู่ในควบคุม เป็นตัวตนของเรา และภายนอกอาศัยการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้ย กาย ใจ ว่าเป็นตัวตน เป็นบุคคล บังคับได้ พยายามเปลี่ยนแปลงปรุงแต่งให้เป็นดั่งใจปารถนาต้องการ อยากได้ อยากมี
..เอาใจเข้ายึดครองธรรมมารมณ์ทั้งหลาย คือ สิ่งที่ใจรู้ทั้งหลายด้วยให้จดจำสำคัญมั่นหมายของใจไว้ว่า..
..สิ่งนี้ๆ แบบนี้ๆ คือความสุขของตน เป็นตัวสุขโสมนัสของตน
..สิ่งนั้นๆ แบบนั้นๆ คือความทุกข์ของตน เป็นตัวทุกข์โทมนัสของตน
..สิ่งโน้นๆ แบบโน้นๆ คือความไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นสิ่งของ บุคคล ตัวตนที่เฉยๆไม่ยินดียินร้ายอุเบกขาของตน
..นี้คือเอาใจเข้ายึดครองตัวตนไปแล้ว ..จึงทุกเพราะพรัดพราก ..จึงทุกข์เพราะประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ..จึงทุกข์เพราะไม่ได้ดั่งใจปารถนา


๒. สมุทัย ควรละ คือ ตัณหา

- กามตัณหา ตราตรึงใจยินดี(กามฉันทะ), อยากได้สิ่งที่ตราตรึงใจอยู่นั้นมาเสพย์ มาครอบครองดั่งใจปารถนา(ฉันทะราคะ) (ขณะที่ปารถนาสิ่งที่ตนปารถนาอยู่นั้น ตนยังไม่ได้เสพย์ หรือยังไม่แสดงผล หรือตนยังไม่มีอยู่ในขณะนั้นๆ)..อวิชชา, อุปาทาน
..ปารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

- ภวตัณหา อยากมี คือ มีความอยากในสิ่งที่ตนมีอยู่ คือ อยากให้สิ่งที่ตนมี ที่ตนรัก ที่เจริญใจอยู่นั้น คงอยู่ ทรงตัว ไม่แปรปรวน ไม่เปลี่ยนไป ไม่เสื่อมไป..นิจจสัญญา ตลอดจนตวามเห็นว่าเที่ยง สัสสตทิฐิ คงอยู่ ยั่งยืน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
..ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่เจริญใจ นั่นก็เป็นทุกข์

- วิภวตัณหา ไม่อยากมี คือ มีความอยากให้สิ่งที่ตนมีอยู่ไม่ดับสลายไป ผลักไส อยากให้ไม่มีไม่เกิดขึ้นกับตน..อัตตสัญญา
..ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ นั่นก็เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ อยู่เหนือการควบคุม ตลอดจนความเห็นว่าขาดสูญ อุจเฉททิฐิ ความสูญ ไม่มี (ไม่ใช่สุญตา สุญตญา คือ ความว่าง ว่างจากความยึดมั่นถืออมั่น ว่างจากความเป็นตัวตน อุปมาเหมือนว่าสักแต่ว่าธรรมธาตุหนึ่งๆเท่านั้น)

๓. นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือ สิ้นอุปาทาน สิ้นความยึดมั่นภือมั่น สิ้นความเอาใจเข้ายึดครอง สิ้นความเกิด สิ้นอุปาทินนกรูป สิ้น อุปาทินกสังขาร มีไตรลักษณ์เป็นธรรมให้เข้าถึงนิโรธ

๔. มรรค ควรทำให้มาก คือ ละกิเลสทั้งหลาย ให้เหลือเพียงปัญญา มีกายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต ทำให้มีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ปราศจากกิเลสนิวรณ์ มีปัญญาบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นไปเพื่อถึงไตรลักษณ์ เพื่อละ ตัณหา ๓

ฮืม? ..คติธรรมใช้ในโลกียะ.. ฮืม?

๑. ความว่า..สัพเพธัมมา อนัตตาติ คือ ธัมมารมณ์ทั้งหลาย อันได้แก่..สิ่งที่ใจรู้ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน อย่าใส่ใจให้ความสำตัญจนเกินความจำเป็น อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง เพราะจะมีแต่ทุกข์

๒. ใช้ปัญญา คือ อริยสัจ ๔ ในการดำรงชีพ คือ รู้เหตุ รู้ผล(มีกล่าวไว้ในสัปปุริสสธรรม ๗) กล่าวคือ ..รู้ผลเสีย รู้เหตุเสียที่ต้องแก้ไข รู้เป้าหมายผลสำเร็จ รู้ทางปฏิบัติให้เข้าถึงผลสำเร็จนั้น

๓. อย่าทำสิ่งใดตามใจอยาก ให้ทำด้วยสติปัญญากำกับรู้อยู่เสมอ

๔. ทาน ศีล ภาวนา ทำเพื่อละกิเลสออกไป จนเหลือแต่ปัญญาล้วนๆ

ฮืม? ..ธรรมโลกุตตระ.. ฮืม?

๑. ความว่า.. สัพเพธัมมา อนัตตาติ คือ ธัมมารมณ์ทั้งหลาย สิ่งที่ใจรู้ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน
..อย่าใส่ใจให้ความสำคัญจนเกินความจำเป็น อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง เพราะจะมีแต่ทุกข์
..ทุกข์เพราะความไม่เที่ยง มีความแปรปรวน เสื่อม พัง ดับไป อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ทุกอย่างมีอายุไขยของมัน จะต้องดับไปในที่สุด จะช้า จะเร็ว ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา, สภาพแวดล้อมที่มากระทบ, กาลเวลา, ความแปรปรวนภายใน แล้วก็ดับไปในที่สุด
..ทุกข์เพราะบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นไปเพื่อเรา ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา สิ่งนั้นไม่เป็นเรา ไม่เป็นตัวตน
..วิธีแก้ สมดั่งหลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนข้าพเจ้าไว้ว่า จิตรู้สิ่งใด..สิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้..ก็ไม่ยึดสมมติทั้งปวง มารู้ลมหายใจเข้า-ออก คือ ของจริง รู้พุทโธ คือของจริง คือ กิริยาจิต อย่าทิ้งพุทโธ

๒. สมุทัย คือ ตัณหา ๓ คือ ความอยาก มีไตรลักษณ์เป็นธรรมแก้ อาศัยส่วนสุดแห่งทิฏฐิเกิดขึ้น เป็นสิ่งตรงข้ามกับไตรลักษณ์ คือ อวิชชา อุปาทาน ฉันทะราคะ นิจจสัญญา อัตตสัญญา
..ยิ่งตามตัณหา ๓ ยิ่งห่างจากไตรลักษณ์
..ยิ่งเข้าใกล้ไตรลักษณ์ ก็ยิ่งห่างตัณหา ๓ ..ปัญญายิ่งเกิดมีขึ้นมากเท่านั้น

..ดังนั้นให้ใช้ธรรมโพชฌงค์ อนุสสติ อัปปมัญญา ๔ เป็นต้น น้อมใจลงในมหาสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม เข้าไปรู้เห็นตามจริง เป็นเพียงธาตุ ถึงไตรลักษณ์ เพื่อละตัณหา และเวทนาทั้งปวงที่เกิดจากผัสสะ เมื่อละเวทนาได้จะเหลือแค่ธัมมารมณ์ เหลือแค่ผัสสะเป็นความกระเพื่อมของจิต เหลือแค่ความกระทบใจ ให้รับรู้ว่า..มีสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
..สมดั่งพระศาสดาตรัสว่า ผู้นเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษนี้ เป็นผู้ถึงไตรลักษณ์แท้จริงแล้ว จึงดับตัณหาได้ เพราะเมื่อไตรลักษณ์เกิดขึ้น จะตัดกิเลสตัณหาทันที ซึ่งต้องเขาไปในสังขารุเปกขาเท่านั้น ดังนี้ผู้ฝึกหัดเพียงแค่คิดตามอย่าหลงว่าตนถึงไตรลักษณ์ หรือหลงไปว่าแค่คิดนึกเอาจะบรรลุธรรมได้ ต้องมีสัมมาสมาธิด้วยเท่านั้น ที่เราฝึกสมถะ กรรมฐาน ๔๐ ก็เพื่อให้มีสติตั้งมั่น ให้จิตมีกำลัง กิเลสอ่อนกำลัง จนเหลือแต่ปัญญาบริสุทธิ์ แล้วพิจารณธรรมเพื่อตัด ดังนี้ไม่ว่าจะสมถะและวิปัสสนาจึงเป็นของคู่ดันแยกจากกันไม่ได้

..ละ กามตัณหา ..กามอ่อนๆ เป็นความความตราตรึงใจ ชอบใจ ยินดี ..อย่างกลาง เป็นความหมายใจใคร่เสพย์สิ่งที่ตนติดตราตรึงใจนั้นๆ ..อย่างสุด คือหมกมุ่นต้องการครอบครอง เป็นอวิชชา, อุปาทาน
..ความว่า รูปตัณหา เสียงตัณหา กลิ่นตัณหา รสตัณหา สัมผัสกายตัณหา ล้วนคือรูปธรรม ตัณหานี้ๆ คือ กามคุณ ๕ ซึ่ง กามคุณ ๕ ทั้งหมดนี้ก็คือ เวทนาขันธ์ เพราะติดความรู้สึกอารมณ์ที่รู้สัมผัส แล้วยินดี ชอบใจ ปลื้มใจ ซาบซ่านใจ แช่มชื่นใจ ก็จึงยึดมั่นถือมั่นเอาใจเข้ายึดครองสัมผัสความรู้สึกนั้นๆ เรียกว่า เวทนานุปาทาน คือ อุปาทานเวทนา คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เมื่อเป็นความรู้สึกให้ใจรู้ เป็นความรู้โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ก็เป็นเวทนาทางใจ คือ ธัมมารมณ์ ความยึดเวทนานี้ก็คืออุปาทาน ยึดธัมมารมณ์
..เหมือนนึกถึงราคะเมถุน หรือราคะในรูปธรรมทั้งปวง เราไม่ได้ยึดเอาว่า เราต้องเสพย์สิ่งนั้นๆกับใคร สิ่งใด เราไม่ได้สำคัญยึดอุปาทานว่า..เป็นบุคคลนั้นๆ หรือสิ่งนั้นๆ ..แต่เราสำคัญใจยึดหลงเอาความรู้สึกอารมณ์ที่รู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ซาบซ่านใจ แช่มชื่นใจ เจริญใจ ชอบใจ พอใจยินดีเหล่านั้นต่างหาก เป็นความติดตราตรึงใจสืบมา
..แก้ด้วย กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรคให้มาก เจริญทาน, ศีล, จาคะ, สุจริต ๓, มหาสติปัฏฐาน ๔, อสุภะสัญญา, ธาตุ ๖, จิต, ธัมมารมณ์, ปรมัตถธรรม,โพชฌงค์, นิพพิทาวิราคะ, ถึงวิชชา, วิมุตติ
(นันทิ เป็นความติดตรึงใจจากสิ่งที่เคยเสพย์แล้ว ปารถนาจะเสพย์สิ่งนั้นอีก)

..ละ ภวะตัญหา มีความเห็นว่าเที่ยง แก้ด้วย สัทธรรมในกรรม และนิพพาน ..อีกนัยแห่งจิต คือ มีใจปารถนาอยากให้สิ่งที่ตนมี ที่ตนรัก ที่ตนเจริญใจ คงอยู่ ทรงตัว ไม่แปรเปลี่ยน ไม่เสื่อมไป เป็นการหมายใจบังคับ เป็นนิจจสัญญา สัสสตทิฏฐิ
..แก้ด้วย อนิจจสัญญา

..ละ วิภวะตัณหา มีความเห็นว่าสูญ แก้ด้วย สัทธรรมในกรรม และนิพพาน ..อีกนัยแห่งจิต คือ มีใจปารถนาให้มีแต่สิ่งที่เจริญใจ ที่ตนต้องการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่ดับ ไม่สูญสลายไป ..มีความขัดใจผลักไสให้สิ่งที่ไม่เจริญใจตนนั้นสูญไป ไม่เกิดขึ้นกับตน เป็นการหมายใจบังคับ เป็นอัตตสัญญา อัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ
..แก้ด้วย อนัตตสัญญา

๓. มรรค ทางดับทุกข์ แท้จริงแล้วคือการ ทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน
..ซึ่ง มรรค มีองค์ ๘ เป็นการทำกุศลเพื่อละอกุศล ละกิเลสตัณหาทั้งปวง เพื่อให้เหลือแต่ปัญญาล้วนๆ กล่าวคือ..
..มีกายสุจริต มีวาจาสุจริต มีมโนสุจริต ปราศจากกิเลสนิวรณ์
..เพื่อให้เหลือแต่ปัญญา คือ ญาณทัสนะ ความรู้เห็นตามจริง ในมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยบริบูรณ์รวมเป็น ๑ เข้าถึงโพชฌงค์ ถึง วิชชา คือ อริยะสัจ ๔ ในรอบ ๓ อาการ ๑๒ ตัดสิ้นสังโยชน์ ๑๐ ถึงวิมุตติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 07:27:08 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #362 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:19:35 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานเข้าพรรษา 64

ก.) เหตุเพราะ..ไตรลักษณ์ เป็นปฏิฆะต่อ ตัณหา ๓ การรู้ไตรลักษณ์ จึงเป็นไปเพื่อละ ตัณหา แต่การอัตตาไตรลักษณ์ คือ ปุถุชน ส่วนพระอริยะสาวกนั้น คือ ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน อัตตาไตรลักษณ์จึงมีเพีนงปุถุชนเท่านั้น

ข.) มรรค คือ ละกิเลสตัณหา จนเหลือเพียงแต่ปัญญาล้วนๆ โดยการเข้าถึงดังนี้..

๑. รู้เห็นตามจริงในทางกรรม ทุกๆการกระทำมีผลสืบต่อ ทำให้เข้าถึงสัทธาพละ

๒. ทำดี ละชั่ว เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสัมมัปปธาน ๔ เพื่อประโยชน์ดังนี้..
- เพื่อตัดกำลังของกิเลสตัณหาในใจตน
- เป็นเหตุให้สัมปะชัญญะ คือ ความรู้ตัว รู้เท่าทันการกระทำทางกาย วาจา ใจ และ สติ คือ ความระลึกรู้ รู้เท่าทันความคิด มีสติสัมปชัญญะเกิดบ่อยขึ้นจนมีกำลังให้สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้

๓. มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติตั้งมั่นจดจ่อกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่ได้นาน ก็จะรู้เท่าทันธัมมารมณ์ คือ รู้เท่าทันจิต ทันกิเลสตัณหา แยกแยะได้ ยับยั้งได้ จำแนกได้ รู้ผลสืบต่อได้ชัด รู้ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ รู้สิ่งที่ควรทำ เป็นสติพละ
- เป็นเหตุให้จิตมีกำลังเพราะตั้งอยู่ ไม่สัดส่ายอ่อนไหวตามสมมติธัมมารมณ์ที่กิเลสวางไว้ล่อจิตทางมโนทวาร
- เมื่อจิตไม่กระเพื่อม อ่อนไหว สัดส่ายออกนอกไหลตามกิเลสไปทั่ว จิตก็จะทำงานน้อยลง จิตก็จะเริ่มมีแรงกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปอิงอาศัยธัมมารมณ์เป็นเครื่องอยู่ นี้เป็นสมาธิพละ

๔. เข้าถึงสมาธิ
- ประการที่ ๑ เพื่อให้จิตตั้งมั่น มีกำลังไม่อ่อนไหวตามกิเลส ทำให้ความคิดลดลง ความปรุงแต่งน้อยลง กิเลสอ่อนกำลังลง เข้าไปเห็นสภาพธรรมตามจริง(สภาวะจิตเห็นจิต)โดยปราศจากจิตปรุงแต่งให้เป็นไป(สภาวะจิตหลอกจิต)มากขึ้น คือ ญาณทัสนะ สมดั่งพระบรมศาสดาตรัสว่า..สัมมาสมาธิ เป็นเหตุใกล้แห่งปัญญา
- ประการที่ ๒ เพื่อให้จิตจดจ่อตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวอยู่ได้นาน เพื่อเห็นความเป็นจริงของสังขารเจ้าถึงสภาพวะธรรม หากสมาธิไม่พอเข้าได้แค่วูบวาบๆกำลัวจะตั้งมั่น หรือกำลังจะถึงสภาวะธรรมจิตก็หลุดออกมาแล้ว) จนจิตอ่อนควรแก่งาน(คือ กิเลสไม่มีกำลังให้จิตอ่อนไหวตาม) ถึงปัญญาแท้ เห็น ธัมมารมณ์ทั้งหลายเป็นอนัตตา ถึงความตัด

ค.) อนุมาน คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ อย่างที่ปุถุชนพอจะสามารถลูบคลำได้ ดังนี้..

๑. จิตที่แล่นลงมรรค คือ ไม่กลับกลาย ไม่เสื่อมอีก

๒. พระโสดาบัน คือ รู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เป็นไปเพื่อบังคับ ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจบังคับของเรา อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นไปด้วยกรรม มีกรรรมให้ผล เป็นทายาทกรรม ความหมกมุ่นเป็นที่ตั้งแห่งไฟแผดเผาใจ

๓. พระสกิทาคา คือ มีใจน้อมไปเห็นโทษในกาม แม้ความตราตรึงใจก็เป็นทุกข์ มีจิตตรงต่อพระนิพพาน

๔. พระอนาคามี คือ ละเสียซึ่งความตราตรึงใจในสิ่งทั้งปวง เพราะล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ตัวตน มีความแปรปรวนอยู่ทุกขณะเป็นธรรมดา แต่ด้วยจิตนี้ไม่ตาย ยังคงหมายรู้ ไม่อุปาทานขันธ์ภายนอก แต่อุปาทานจิต

๕. พระอรหันต์ คือ รู้แจ้งแทงตลอดถึงซึ่งสัพเพธัมมา อนัตตาติ คือธรรมทั้งปวง(ธัมมารมณ์ทั้งปวง)ที่ใจรู้ ไม่ใช่ตัวตน จิตไม่ทำอุปาทานขันธ์อีก แต่จะอุปาทานเฉพาะกิจ คือ เมื่อต้องใช้พูด คุย ฟัง สนทนา กระทำทางกาย ทำกิจของสงฆ์ ก็จึงทำมโนสัญเจตนาอุปาทานขันธ์ คือ ยึดเฉพาะขันธ์นั้นๆมาใช้ตามหน้าที่ของมัน เราจึงเห็นว่าพระอรหันต์ ยืน เดิน นั่ง นอน พูด คุย เหมือนคนปกติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 01:21:41 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #363 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:20:25 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
..บันทึกกรรมฐานจาก อนัตตลัขณสูตร ช่วงเข้าพรรษา ปี 64..

พระอนัตตลักขณสูตร ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นบทสรุปความโดยย่อจากพระสูตร ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟังจากใคร อาศัยโยนิโสมนสิการอนุโลม ปฏิโลม เข้าตามพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และข้าพเจ้าเป็นเพียงปุถุชนอยู่เท่านั้น ธรรมปลอมย่อมมีเยอะ มีผิดพลาด ไม่ใช่ธรรมจริง ท่านผู้อ่านต้องวิเคราะห์แยกแยะเอา ซึ่งทำเพื่อเป็นแนวทางทบทวนกรรมฐานตนเอง ทางปฏิบัติโดยอนุมานเอาว่าอาจจะมีประโยชน์ต่อหลายๆท่สน ณ ที่นี้ จึงได้แบ่งปันไว้ ส่วนในทางปฏิบัติมีแล้วตามที่สมเด็จพระตถาคตเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว หรือ ตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลานได้กรุณาสอนไว้

ขันธ์ ๕ คือ..

๑. รูป(ร่างกาย อาการทั้ง ๓๒ ประการ, ธาตุ ๕)
๒. เวทนา(ความรู้สึกอารมณ์เพราะอาศัยสัมผัส)
๓. สัญญา(ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ)
๔. สังขาร(ความคิดปรุงแต่งสืบต่ออารมณ์ความรู้สึก)
๕. วิญญาณ(ความรู้สึกรับรู้อารมณ์ที่กระทบและสืบต่อ)


..ทั้งภายใน(เรา) ภายนอก(เขา, สัตว์, สิ่งของ) ที่ใกล้ ที่ไกล หยาบ(มองเห็นได้, สัมผัสได้) ละเอียด(มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่ได้, สัมผัสไม่ได้ด้วยกาย)
..ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่เป็นไปเพื่อเรา ไม่เป็นไปเพื่อยึดครอง บังคับไม่ได้

เพราะมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีความเสื่อม อาพาธ ไม่คงทนอยู่ได้นาน บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จะบังคับไม่ให้เสื่อม ไม่ให้แปรปรวน ให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ อย่ามีอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ อย่าเสื่อม อย่าแปรปรวน อย่าอาพาธ ให้งามประณีต ให้คงอยู่
ให้รับรู้อย่างนี้-อย่ารับรู้อย่างนั้น
ให้รู้สึกอารมณ์อย่างนี้-อย่ารู้สึกอารมณ์อย่างนั้น
ให้จำอย่างนี้-อย่าจำอย่างนั้น
ให้คิดสืบต่ออารมณ์อย่างนี้-อย่าคิดสืบต่ออารมณ์อย่างนั้น
ให้รับรู้สิ่งนี้-อย่ารับรู้สิ่งนั้น
แต่ก็บังคับให้เป็นอย่างนั้นไม่ได้ ไม่มีอำนาจบังคับได้ ไม่ได้มีไว้เพื่อบังคับ เพราะอยู่เหนือการควบคุม จึงมีไว้แต่สักว่ารู้ ไม่ใช่ตน ไม่เป็นตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ดังนี้..

ฮืม? ..คติธรรมนำมาใช้ทางโลก.. ฮืม?

๑. ปุถุชนมีดี มีร้าย แปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะมีอุปาทานขันธ์ อย่าไปยึดถือ ตั้งความคาดหวังกับใคร

๒. ทุกสิ่ง ไม่ใช่ตัวตน มีอายุไขยของมัน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีความเสื่อมพังไม่ด้วยกาลเวลาก็ด้วยการดูแลรักษา ..ไม่ด้วยการดูแลรักษาก็ด้วยสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ ..ไม่ด้วยสิ่งแวดล้อมที่มากระทบก็ด้วยความแปรปรวนภายใน ..บังคับไม่ได้ ..ไม่ควรยึดหลง ..ไม่ควรเอาใจเข้ายึดครองว่าเป็นเรา ..เป็นของเรา ..หรือพยายามปรับเปลี่ยนปั้นแต่งให้เป็นดั่งใจต้องการ เพราะฝืนความจริงธรรมชาติ
..ทุกข์ก็เพราะพยายามปรับเปลี่ยนมันให้เป็นดั่งใจตนตราตรึงใคร่หลงปารถนา อยากได้ต้องการ ไม่อยากได้ผลักไส แต่ก็ไม่ได้ดั่งใจต้องการ ด้วยเพราะสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน
..ไม่ว่าจะคน สัตว์ สิ่งของ ความรัก ความชัง ล้วนแล้วแต่มีอายุไขยของมันตามเหตุปัจจัย และบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน

๓. เพราะยึดความคิดจึงทุกข์
..คนเราทุกข์ เพราะเอาใจเข้ายึดครองตัวตนในขันธ์
..มีใจเข้ายึดครองตัวตนในขันธ์ เพราะยึดแต่สมมติที่ใจรู้
..ยึดแต่สมมติที่ใจรู้ เพราะยึดหลงความคิด
..เราถูกความคิดสมมติปรุงแต่งครอบงำให้ยินดี ยินร้าย รักบ้าง โบภบ้าง โกรธบ้าง หลงบ้าง ไปเก็บเอาเรื่องราวที่ผ่านไปแล้วมาคิดบ้าง
..เก็บเอาเรื่องที่ชอบ ที่ชัง มาคิดวนเอาตามใจที่ใคร่หลงปารถนา หรือ โกรธแค้นชิงชัง หรือ เรื่องร้ายๆที่ผ่านไปแล้วมาปรุงแต่งสมมติขึ้นมาใหม่ ทำให้เหมือนเรื่องมันกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันบ้าง ให้ใจหลงเสพย์ตาม แล้วก็ทุกข์ นี้คือทุกข์เพนาะความคิด ทุกเพราะสมมติ
..ไม่ยึดมั่นถือมั่นความคิดสืบต่อปรุงแต่งสมมติอารมณ์ให้จิต ก็ไม่ทุกข์

สมดั่งพระพุทธเจ้าตรัสในพระสูตรว่า

สังขารา อะนัตตา ฯ            
สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) เป็นอนัตตา

สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว        
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความคิดเป็นตัวเรา

อัตตา อะภะวิสสังสุ,            
เป็นของๆ เราแล้วไซร้

นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ    
สังขารความคิดคงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ

สังวัตเตยยุง,                
ไม่เป็นไปเพื่อให้เราทรมาณ-ลำบากใจ

ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ,        
จะทำคิดได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า

เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง    
ขอสังขารความคิดของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด

เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ    
อย่าได้เป็นอย่างนั้น อย่าคิดไปอย่างนั้นเลย

ยัสฺมา จะ โข ภิกขะเว        
ก็เพราะเหตุที่สังขารไม่ใช่ตัวตนเรา-ของๆเรา

สังขารา อะนัตตา,            
ความคิดดี ความคิดชั่ว นี้ไม่ใช่เรา-ของๆเรา

ตัสฺมา สังขารา อาพาธายะ    
สังขารความคิดนี้ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

สังวัตตะติ,                
คือความคิดที่เป็นไป ทำให้เราไม่สบายใจ

นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ,        
และไม่ได้สังขารความคิดดั่งใจปรารถนาว่า

เอวัง เม สังขารา โหตุ        
ขอให้ความคิดปรุงแต่งเป็นแบบนี้เถิด

เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ    
อย่าได้คิดปรุงแต่งไปแบบนั้นเลย


ฮืม? ..โดยโลกุตระธรรม.. ฮืม?

เห็นความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของขันธ์ ๕ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่คงทนอยู่ได้นาน บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา มีไว้แต่สักว่ารู้ ไม่ได้มีไว้ให้เอาใจเข้ายึดครอง ตราตรึงใจ ใคร่หลง ปารถนา อยากมี อยากได้ อยากให้คงอยู่ อยากให้เป็น ผลักไส ไม่อยากมี ไม่อยากได้ ไม่อยากให้เสื่อม เพราะไม่ใช่ตัวตน

ม้าง ขันธ์ ๕ ออก

- รูป อาศัยธาตุ ๕ ที่พ่อแม่ให้มา ให้จิตเราจรมาอาศัยชั่วคราว แล้วก็แปรปรวน เสื่อม สลายไป
- เวทนา มันจะสุข จะทุกข์ จะเฉย มันก็ไม่เคยมีเราในนั้น ไม่เป็นไปเพราะเรา
- สัญญา มันจะจำได้หมายรู้สิ่งใด มันไม่มีเราในนั้นเลย สิ่งที่จำก็ไม่มีปัจจุบันที่เป็นเราเลย
- สังขาร มันจะปรุงแต่งจิตอารมณ์ใด นึกคิดสิ่งใด มันก็ไม่มีเราในสิ่งที่ปรุงแต่งนึกคิดนั้นเลย
- วิญญาณ มันรู้ๆทุกอย่าง แต่สิ่งที่มันรู้ไม่มีเราในนั้นเลย


ถ้า ขันธ์ ๕ เป็นเรา เมื่อผมร่วง เวทนา,.,.ฯ ดับ เราก็ตายตามมันไปแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ จึงมีไว้แค่ให้ระลึกรู้

๑. รูป.. เป็นเพียงแค่ธาตุ ๕ ที่พ่อแม่ให้มาสักแต่ว่าอาศัย แล้วก็สูญสลายไป ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเร
..มันจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน เสื่อม พัง อย่างไรไม่เป็นไปเพื่อเรา ไม่ใช่เพื่อเรา ไม่ใช่ตัวตน

๒. เวทนา.. เป็นเพียงความรู้สึกเสวยอารมณ์เพราะอาศัยสัมผัส ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นเรา ไม่สช่ตัวตน
..สุข ทุกขฺ ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่เป็นไปตามบังคับเรา ไม่เป็นไปเพื่อเรา เป็นเพียงแค่ความรู้สึกสมมติจากการสัมผัสธาตุ ที่เป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายให้รู้สึก ไม่ใช่จิต
..โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ไม่เป็นไปตามบังคับเรา ไม่เป็นไปเพื่อเรา เป็นเพียงธัมมารมณ์ที่รายล้อมจิตให้รู้สัมผัสตามเหตุปัจจัยแห่งสังขาร ไม่ใช่จิต
..มันจะสุขโสมนัส จะทุกขโทนัส จะอขมสุขขมทุกขอุเบกขา  ก็ไม่ได้เป็นไปเพราะเรา ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นไปเพื่อเรา มันสุขโสมนัส จะทุกขโทนัส จะอขมสุขขมทุกขอุเบกขาเพราะสิ่งอื่น อย่างอื่นไปทั่ว ไม่ได้มีเราในนั้นเลย ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา มันจะเกิดขึ้น แปรปรวน เสื่อม พัง อย่างไรไม่เป็นไปเพื่อเรา ไม่ใช่เพื่อเรา ไม่ใช่ตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้

๓. สัญญา.. เป็นเพียงความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ ไส่มีเราสนนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน
..มันจะจดจำสิ่งใด ไม่เป็นไปตามบังคับเรา ไม่เป็นไปเพื่อเรา ในความจำนั้นไม่มีเรา เราไม่มีในความจำนั้น มันจดจำสิ่งอื่นไปทั่ว แต่จำเราไม่ได้เลย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน

๔. สังขาร.. เป็นเพียงของปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน
..มันจะปรุงแต่งจิตอารมณ์ใด นึกคิดสิ่งใด มันก็ไม่มีเราในสิ่งที่ปรุงแต่งนึกคิดนั้นเลย มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เสื่อม หาย ไม่อยุ่ใต้บังคับบัญชาของเรา ในความคิดปรุงแต่งจิตนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นไปเพื่อเรา มันปรุงแต่งสมมติความคิดจากคนอื่นสิ่งอื่นไปทั่ว แต่ไม่เป็นไปเพราะเราเลย ไม่ใช่เรา ไม่วช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน

๕. วิญญาณ.. เป็นเพียงตัวรับรู้ รู้สึกได้ ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน
..มันรู้ๆทุกอย่าง แต่สิ่งที่มันรู้ไม่มีเราในนั้นเลย ไม่มีเราในความรู้นั้น ในนั้นไม่มีเรา มันรู้สิ่งอื่นอย่างอื่นไปทั่ว แต่ไม่เคยรู้ตัว ไม่เคยรู้เรา ไม่เคยรู้ปัจจุบันเลย รู้แต่สมมติเท่านั้น  ไม่เป็นไปเพื่อเรา ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเรา มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:16:02 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #364 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:20:41 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
..บันทึกกรมฐานจาก อาทิตตปริยายสูตร ช่วงเข้าพรรษา ปี 64..

ละกามด้วยพระสูตรนี้

- ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เป็นของร้อน
- ความรู้สึกอารมณ์ใดๆเกิดขึ้นเพราะอาศัย ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ..สัมผัส เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เป็นของร้อน
- ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ, โทสะ, โมหะ
- ความมีใจเข้ายึดครองอายตนะ ๑๒ และความรู้สึกอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งไฟ แผดเผาให้ร้อน ไม่เอาใจเข้ายึดครองมีไว้สักว่ารู้ก็ไม่ร้อน

ฮืม? ..คติธรรม.. ฮืม?

๑. โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นของร้อน ไม่ควรเอาใจเข้ายึดครองให้สำคัญมั่นหมายของใจในความยินดี ยินร้าย ..เพราะมีความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ มีนินทา มีทุกข์ เป็นธรรมดา ..มีความแปรปรวน อาพาธ มิใช่ตัวตน เมื่อเอาใจเข้ายึดครองย่อมเป็นที่ตั้งแห่งไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ แผดเผากายใจตนให้หมองไหม้ในปัจจุบัน และภายหน้า

๒. ทำสิ่งใดด้วยอาศัยอารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช้ปัญญา ..ย่อมนำความทุกข์ร้อนแผดเผากายใจตนมาให้ในปัจจุบัน และภายหน้า

ฮืม? ..ทางโลกุตระธรรม.. ฮืม?

- รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่เนื่องด้วยกาย สัมผัสที่เนื่องด้วยใจ เป็นของร้อน

- ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของร้อน

- ความรู้สึกเสวยอารมณ์เหล่าใด เกิดขึ้นอาศัย ตาสัมผัส หูสัมผัส จมูกสัมผัส ลิ้นสัมผัส กายสัมผัส ใจสัมผัส เป็นของร้อน เป็นที่ตั้งแห่งไฟ

- ร้อนเพราะไฟกิเลส อันได้แก่ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

- เพราะเป็นของร้อนในอายตนะ ๑๒ เป็นที่ตั้งแห่งไฟในความรู้สึกเสวยอารมณ์ จึงไม่เป็นไปเพื่อเอาใจเข้ายึดครอง ไม่ควรเอาใจเข้ายึดครอง จึงไม่เป็นไปเพื่อตราตรึงใจ ไม่ควรตราตรึงใจ ไม่เป็นไปเพื่อควรปารถนา ไม่ควรตั้งปารถนา ไม่เป็นไปเพื่อใคร่เสพย์ เป็นของไม่ควรเสพย์ เพราะเป็นที่ตั้งให้ไฟแผดเผากายใจตนให้หมองไหม้ เร่าร้อน ร้อนรุ่ม สุมไฟให้กายใจตน พึงรู้โดยความสักว่ารู้ พึงรู้สึกโดยความสักว่ารู้สึก เป็นปกติแห่งธรรม รู้เห็นตามจริงให้แจ้งแทงตลอด เพื่อคลายความร้อน คลายความกำหนัด คลายความยึดมั่นถือมั่น คลายอุปาทาน เป็นน้ำรดไฟ คือราคะ ไฟ คือโทสะะ ไฟ คือมือหะ ให้สิ้นไป

- อริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า อายตนะ ๑๒ เวทนา ๑๘ เป็นของร้อน เป็นไฟ ไม่ควรเสพย์ ไม่ควรเอาใจเข้ายึดครอง เมื่อเอาใจเข้ายึดครองย่อมหาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:15:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #365 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:20:54 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
..กรรมฐานจาก จูฬสัจจกสูตร ช่วงเข้าพรรษา ปี 64..

เป็นเรื่องราวของสัจจกนิครนถ์ ผู้ยโส หลงตนว่าเก่ง รู้มาก ขนาดโต้วาทีกับเสา เสายังล้มพัง ได้ไปโต้วาทีกับพระพุทธเจ้าหมายทำลายล้าง โดยสัจจกนิครนถ์ถือว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวตน สั่งได้ บังคับได้ เพราะเห็นพระราชาสั่งบังคับผู้ใต้บัญชาได้ ฆ่า เนรเทศคนที่ควรทำได้ ถูกพระศาสดาทำลายมานะกลับมาว่า ถ้าเป็นตัวตนของเราก็สามารถบังคับขันธ์ ๕ ให้ไม่เสื่อม ให้งามประณีต ไม่เจ็บป่วย ไม่เสื่อมดั่งใจได้ แต่บังคับไม่ได้เพราะไม่ใช่ตัวตน

ฮืม? ..คติธรรมจากพระสูตร.. ฮืม?

๑. อย่าหลงตน ว่าเก่ง ว่าเลิศ ว่าทำได้ ว่ารู้มาก คนที่ยิ่งกว่าเรามีมากนัก อย่าหลงกับตำแหน่ง หน้าที่การงาน ควรบริการงานให้ชอบธรรม เอื้อเฟื้อเกื้อดูลกัน ดุจพระราชาเอื้อเฟื้อข้าราชบริภาร และราษฎรษ์

๒. เรายังบังคับตนให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จะไปเอาอะไรกับผู้อื่น มันไม่มีใครทำถูกใจเราได้ทั้งหมด แม้แต่ตัวเราเอง ดังนั้นให้มองว่าทุกคนมีชีวิตจิตใจ มีรัก โลภ โกรธ หลงเสมอกันหมด มีความรู้ความสามารถที่ต่างกัน ย่อมมีความแตกต่างในการทำงาน หรือทางอื่นๆเสมอทั้งในแง่คิด การพูด การทำ

ฮืม? ..ยกตัวอย่างอุปมา.. ฮืม? เช่น

๑. คนเรามักหลงว่าตนเก่ง ทำงานดี ไม่มีใครแทนที่ตนได้ ก้อเปรียบกับสัจจกนิครนถ์ที่หลงตัวแล้วแพ้ไป

๒. การเอาชนะคนที่หลงตนได้ เราก็ต้องมีความรู้มากกว่า ไม่คิดทำลายเขาแต่คิดสงเคราะห์เขา

๓. เรามักจะไปยึดว่าคนในที่ทำงาน คนนั้นเป้นแบบนี้คนนี้เป็นแบบนั้น อยากให้เขาปฏิบัติต่อเราตามที่เราชอบ เป็นการคาดหวังเพราะยึดมั่นตามหลักสัจจกนิครนถืที่ว่า พระราชาสั่งงานทหารทำงานได้ สั่งอำมาตย์ ข้าราชการทำงานได้ สามารถสั่งฆ่าคน หรือ เนรเศคนท่ควรทำได้ จนหลงตัวตน ว่ามีอำนาจยังคับได้
..โดยแท้จริงแล้ว แม้เราเองก็บังคับไม่ได้เป็นดั่งใจไม่ได้ทั้งหมด จะไปหมายเอาอะไรกับผู้อื่นมันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ปารถนาเอากับเขาร้อย เราก็ทุกข์ร้อย ไม่ปารถนาเลย เราก็ไม่ทุกข์เลย

ฮืม? ..คติในทางธรรมโลกุตระธรรม.. ฮืม?

ให้ทำตามหลวงตาศิริท่านสอนว่า หลงกายก็ให้ม้างกายดู หลงใจก็ให้ม้างใจดู ลงเป็นรูปธาตุ นามธาตุ ไตรลักษณ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:15:44 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #366 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:21:10 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สัปปุริสธรรม 7 ใช้สะสมเหตุทางโลก

๑. รู้เหตุ คือ..
- รู้เหตุของความรัก โลภ โกรธ หลงของคนว่าเกิดจากอะไร เพื่อตอบความต้องการของงาน หรือเข้าใจบุคคลแวดล้อมได้
- รู้ต้นเหตุของกิจการงาน และสิ่งต่างๆ ว่าทำอย่างนี้ จะส่งผลอย่างไรต่อไป ให้ผลยังไงต่อเรา และงาน
- รู้หลักการ คือรู้หลักการทำงาน กระบวนการทำงาน วิธีทำ วิธีคิด วิธีดำเนินงาน เป็นการหาสมุทัย สิ่งที่ควรละ ไม่ควรทำ และ หามรรค สิ่งที่ควรทำให้มาก
- รู้งาน รู้หน้าที่ รู้กฏเกณฑ์ กติกาการทำงาน

๒. รู้ผล คือ..
- รู้ว่าผลลัพธ์ต่างๆอย่างแจ้งชัด ว่าเป็นแบบไหน เกิดมีขึ้นได้อย่างไร ต้องทำอย่างไร มีอะไรเป็นเหตุให้ถึงผลลัพธ์นั้นบ้าง เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ และ ทำให้แจ้งในนิโรธ
- รู้เป้าหมายของงานที่ทำ มีเป้าหมายในการทำงาน ทำทุกอย่างให้มีเป้าหมาย เพื่อถึงความสำเร็จ เช่น เป้าหมายสุขกับงาน ก้อก็ทำความคิดมุมมองให้สุขกับงาน หรือ ต้องการความสำเร็จงาน ก็ต้องทำงานในส่วนต่างๆให้เกิดผลสำเร็จในงาน

๓. รู้ตน คือ..
รู้ตนเอง พิจารณาตนเอง ทบทวนตนเอง ว่าเป็นคนยังไง มีนิสัยแบบไหน อยู่ในสถานภาพแบบใด มีกำลังแค่ไหน มีความรู้ความสามารถอะไร มีดีตรงไหน มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ควรคงสิ่งใดไว้ ควรเพิ่มสิ่งใด ควรลดลอะไร แล้วแก้ไขข้อบกพร่องตน เปิดใจเรียนรุ้สิ่งใหม่ๆ หรือเสริมความรู้อยู่เสมอ เป็นอิทธิบาท ๔

๔. รู้ประมาณ คือ..
รู้ประมาณตน เองว่าแัจจุบันทำได้แค่ไหน ต้องตรวจสอบให้ครบพร้อม ไม่ทำเกินตัว ไม่สุดโต่ง ไม่ย่อหย่อน มีความพอดีไม่ว่าจะทำในสิ่งไหน กิจการงานใดๆ

๕. รู้กาล คือ..
รู้เวลาที่เหมาะสมในการกระทำต่างๆ ไม่ว่าจะเพิ่มเติมงาน แสดงความคิด ชัดจูง แนะนำ
- รู้ว่าเวลาไหนเหมาะจะทำสิ่งใด ควรแก่การปฏิบัติแบบไหน ต้องใช้ความรู้ความสามารถใด คือ รู้สิ่งที่ควรใช้ต่อกาล สิ่งที่ควรคิดในขณะนั้นๆ ควรพูดในขณะนั้นๆ ควรทำในจณะนั้นๆ

๖. รู้สังคม คือ..
รู้สังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน สังคมในที่นั้นๆ ไม่ว่าจะแผนกงาน องค์กร สิ่งแวดล้อม สังคมพื้นที่ สังคมประเทศ สังคมโลก เพื่อรู้ใตการปรับตัวใช้ชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกับเขาได้ พูดภาษาเดียวกัน คือ คุยกันรู้เรื่อง ใช้ชีวิตร่วมกับเขาได้
หลักความรู้เรียกว่า SQ
 
๗. รู้บุคคล คือ..
รู้จักนิสัยใจคอของบุคคลใกล้ชิด บุคคลรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง ผู้ติดต่อสัมพันธ์งานกับเรา ผู้เกี่ยวข้องกับเรา ว่าแต่ละคนเป้นยังไง ใครมีอัธยาศัย ทัศนคติ มุมมอง ความรู้ ความสามารถแบบไหน อยู่ในสถานะยังไง เราจะต้องเข้าหาเขา คบหา ร่วมงาน พูดคุย และปฏิบัติ ชักนำ ชี้แนะ แนะนำ หรือปฏิเสธต่อบุคคลนั้นๆยังไง เพื่อเข้าถึงใจคน และเข้าหาได้อย่างถูกต้อง
หลักการแพทย์เรียกจิตวิทยา หลักบริหารเรียกว่าเก่งคน หลักพิชัยสงครามเรียกว่ารู้เขารู้เรา

พระพุทธเจ้าตรัสสอนการฝึกทักษะทั้ง ๗ อย่างนี้มา 2600 ปีแล้ว สิ่งนี้คือสิ่งที่พระมหาบุรุษสะสมกันทุกๆชาติ เป็นนิสัยของสัปปบุรุษ แต่เรามองข้ามกันไปเพราะความไม่รู้จริงในสิ่งนั้นๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 02:54:42 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #367 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:21:43 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อารมณ์สมถะ

โดยส่วนตัวแล้วได้รู้เห็นดังนี้ว่า

ขั้นต้น คือ มีใจอยู่เหนืออารมณ์ความรู้สึกทั้งปวง เข้าใจรู้อยู่โดยความไม่ยึด ไม่เสพย์ ไม่คล้อยตาม จิตมีกำลังดี ตั้งด้วยกุศล กิเลสอ่อนกำลัง คือ มีจิตอ่อนควรแก่งาน เป็นฐานที่ตั้งให้กรรมฐานทั้งปวง มีอารมณ์ที่ปล่อย คลาย ไม่ฟุ้ง ไม่คิดมาก ขณิกสมาธิอย่างละเอียดขึ้นไป ถึงอุปจาระสมาธิอย่างหยาบ ฉันทะสมาธิ

ขั้นกลาง คือ อารมณ์สมถะ คือมีจิตตั้งมั่นในกุศลสมาธิ ไม่หยิบไม่หยับ ทำความรู้ ้ข่าใจรู้ มีสติตั้งมั่น กุศลเดินในจิต มีหิริพละ โอตัปปะพละ จิตฉลาดไม่ข้องเสพย์อกุศล ไม่จับอกุศล นิวรณ์อ่อนกำลัง ให้นึกอกุศลอย่างไรพยายามนึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก อุปจาระสมาธิอย่างกล่าง ถึงละเอียดขึ้นไป อัปปนาสมาธิ รูปฌาณ ๔ วิริยะสมาธิ สังวรปธานสมาธิ

ขั้นสุด คือ อารมณ์สมถะนี่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสนะ เพื่อวิปัสสนา เพื่อนิพพิา วิราคะ วิมุตติ อารม์ณ์สมะถะที่เดินเข้ามหาสติ เดินเข้าโพชฌงค์ วิปัสสนามีสมถะเป็นกำลังให้จิต จิตคะสมาธิ วิมังสาสมาธิ มรรครวม สติ  สัมปะชัญญา สมาธิ รวมกันลง เป็นปัญญา

ตั้งหมดคือความรู้เฉพาะตนของปุถุชน มิใช่ธรรมแท้
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #368 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:21:58 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฮืม? [ ๑๔๕ ] ดูกรราหุล! ฮืม?

ฮืม? เธอจงเจริญ เมตตาภาวนาเถิด
เพราะเมื่อ เธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละพยาบาทได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ กรุณาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญกรุณาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละวิหิงสาได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ มุทิตาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละอรติได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ อุเบกขาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละปฏิฆะได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ อสุภภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอสุภภาวนาอยู่
ฮืม?จักละราคะได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ อนิจจสัญญาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละอัสมิมานะได้?ฮืม
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #369 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:22:14 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกกรรมฐาน มกราคม 65 ดับฉันทะ

ดับฉันทะ ด้วย ปฏิกูล เห็นจริงในอสุภะสัญญา กายคตาสติทั้งหลาย คือ..

๑. พิจารณาอาการ ๓๒ ประการ ม้างกายออกไม่มีตัวตน ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา เราไม่เป็นนั้น เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน

๒. น้อมพิจารณาอาการ ๓๒ ลงเห็นธาตุ ไม่ไม่สิ่งใด ตัวตนอันใด ไม่อาจจะเรียกสิ่งนั้นๆว่าเป็นอะไรหรือสิ่งใดได้ มันสักแต่ว่าธาตุที่มีอยู่ทั้วไปเท่านั้น  ทั้งภายนอกภายในเรานี้ สักแต่ว่าธาตุที่กอแปรกันขึ้นมา ไม่อาจจะยึดเอาว่าเป็นตัวตนบุคคลใดได้ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นเรา เราไม่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน  

- ดังนี้แล้ว ความยึดมั่นถือมั่น หมายรู้อารมณ์ด้วยฉันทะราคะต่อบุคคล ว่างาม ว่าน่าใคร่น่าปารถนา ว่าเป็นที่ตราตรึงใจ ล้วนแล้วแต่ถือเอาโดยนิมิต ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ(ส่วนเล็ก ส่วนน้อย ส่วยนในทมี่ลับทั้งปวง) ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ให้โหยหา กระหาย กระสันอยาก โดยความคิดสืบต่อจากที่รู้เห็นตามจริงทั้งสิ้น ..ข้อนี้จึงชื่อว่า..การรู้โดยสมมติ ผลอันเกิดจากการรู้สมมติ คือ ความโหยหา กระทาย กระสันอยาก ใคร่เสพย์ เป็นทุกข์ ทรมาน ระส่ำ เร่าร้อน ร้อนรุ่ม อยู่อย่างปกติเย็นใจไม่ได้ ..สมดั่งคำของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ทรงตรัสไว้ว่า กามเกิดอจากความดำริถึง เพราะถือเอาโดยนิมิต ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ดังนี้..

- เหตุแห่งความหมายรู้อารมณ์(วิตักกสัญญา)ต่อสิ่งนั้นๆไว้ด้วยกามราคะ ก็คือ ความสำคัญมั่นหมายของใจ(ฉันทะสัญญา)ต่อสิ่งนั้นๆไว้ด้วยราคะ ความสำคัญมั่นหมายของใจก็เกิดจากสัญญา คือ ความจำได้ จำไว้ในอารม์ทั้งหลาย สัญญาก็เกิดจากการรับรู้แล้วจดจำ พบเจอซ็ำๆ ทำซ้ำๆ จนคุ้นชินเป็นปกติจิต เรียกว่า จริต เรียกว่า อุปนิสัย

.. ทางแก้เหล่านี้ ตามหลักกรรมฐาน คือ..

ก. ปุถุชนเรานี้..พึงเห็นในความไม่งามปฏิกูล อสุภะ เห็นเป็นเพียงอาการ ๓๒ ประการ แล้วน้อมลง..จตุววัตถานธาตุ จนเห็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นบุคคลใด ไม่เป็นสิ่งใด สีดแต่ว่าธาตุที่กอปรกันขึ้นมาเท่านั้น

ข. ปุถุชนเรานี้..ใช้สัมมาสังกัปปะละสมมติ เป็นสมมติละสมมติ เป็นการกล่อมจิตให้เห็นโทษ เป็นการพิจารณากำหนดรู้ทุกข์ และละสมมติ ลงกรรมฐาน คือ เมื่อรู้อารมณ์ด้วยกามราคะ ให้พึงรู้ว่า เราหมายรู้อารมณ์ด้วยฉันทะราคะ โดยการถือเอานิมิต และอนุพยัญชนะ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เพราะสิ่งนั้นตนพอใจยินดี ตนไม่มี ตนไม่ได้ ตนไม่เคยเสพย์ ไม่เคยได้ พึงรู้ว่า ความคิดนั้นเป็นสมมติปรุงแต่งไม่ใช่ความจริง เราสมมติมันขึ้นมาเอง พอเอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เอาจิตเข้าร่วมกับสมมติปรุงแต่งความคิด ก็ทำให้เหมือนว่าเรื่องราวที่ตนสมมติปรุงแต่งขึ้นมานั้น ราวกับมันกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันตอนนี้ ทำให้ใจอยาก กระหาย กระสัน ใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์ที่รู้ สิ่งที่รู้อยู่นั้นๆ เพราะตนไม่ได้เสพย์ จนร้อนรุ่ม ไม่สบายกายใจ ระส่ำกายใจเป็นทุกข์
..ดังนั้น พึงน้อมใจไปว่าเราถูกทุกข์หยั่งเอาแล้ว โดยสมมติ โดยความคิด โดยสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง โดยความนึกถึง โดยคิดสืบต่อ ไม่ใช่ของจริง เราเกิดราคะกับความคิด เสพย์ราคะกับความคิดตัวเอง เป็นสิ่งที่น่าละอาย ไม่ควรเกิดมีแก่เรา ดังนี้ พึงละความคิดนั้นเสีย ความคิดนั้นไม่ควรเสพย์ ไม่ควรยินดี ไม่ควรให้ความสำคัญเอามาตั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิต จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด พึงละความรู้โดยสมมตินั้นเสีย ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น คือปัจจุบันที่กำลังมีลมหายใจเข้า หายใจออก ลมหายใจคือ วาโยธาตุ ใจจตุววัตถานธาตุ เป็นของจริง สภาพจริง มารู้ลมหายใจคือรู้ของจริง นี่เรากลายเป็นผู้รู้แล้ว เป็นผู้ตื่นแล้ว จิตเป็นพุทโธตามพระตถาคตเจ้าแล้ว ดังนั้นหายใจเข้าน้อมเอาความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามาตั้งที่จิต หายใจเข้า ระลึกพุทธ หายใจออก ระลึก โธ อย่าทิ้งพุทโธ

๓. น้อมพิจารณาความเสื่อมเน่าปฏิกูลน้อมลงธาตุ ธาตุคือนสู่ธาตุคือป่าช้า ๙ หรือ อสุภะ ๑๐ จนเห็นความเสื่อม เห็นอนัตตาความไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นเรา ไม่เป็นเขา ไม่เป็นสิ่งใด ไม่มีค่า ไม่มีประโยชน์ ไม่มีอะไร เป็นที่ว่าง ไม่ใช่ตัวตน เป็นที่สละคืนเป็นที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:15:20 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #370 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:22:29 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงกรรมฐาน ๔๐ มหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เราดับกิเลส แล้วเหลือแต่ปัญญาล้วนๆ ซึ่งเป็นอุบายอบรมณ์จิตที่รู้เห็นได้ตามจริงว่า พระพุทธศาสนาสั่งสอนให้ใช้ปัญญาไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกในการดำรงชีพ ถ้าหากเราทำสิ่งใดด้วยใช้อารมณ์ความรู้สึก กิเลสก็จะบดบังปัญญาไปจนหมดสิ้น

ประการที่ ๑ บุคคลผู้ใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นใหญ่ พระบรมศาสดาจึงให้อบรมจิตก่อน จนเหลือแต่ปัญญาล้วนๆ สมดั่ง
- บุคคลเหล่านี้ใช้ สมถะนำ วิปัสนาตาม
อบรมณ์กรรมฐาน ๔๐ เข้า มหาสติปัฏฐาน ๔

ประการที่ ๒ บุคคลผู้ใคร่ครวญเลือกเฟ้นประโยชน์เป็นเบื้องหน้า สกัดกั้นอารมณ์ความรู้สึกไว้ รู้ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ พระบรมศาสดาจึงให้กำหนดรู้เพื่อให้เกิดความรู้เห็นตามจริง มีจิตน้อมไป โดยการกำหนดหมายรู้ก่อน เมื่อเข้าใจรู้แล้ว ให้พึงสร้างกำลังให้ใจปลดเปลื้องจากกิเลสเพื่อเข้าถึงปัญญาแท้จริง คือ ความจริงอย่างแท้จริง
- บุคลเหล่านี้ใช้ วิปัสนานำ สมถะตาม
มีสัญญา ๑๐ เป็นต้น หรือ ฝึกตรองเอาจิตน้อมไปตามพระสูตร มีพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร, อนัตลักขณสูตร, อาทิตปริยายสูตร เป็นต้น

ประการที่ ๓ บุคคลผู้ใคร่ครวญเป็นอารมณ์เดียว มีใจหยั่งลงรู้เห็นความยินดียินร้าย ทำแต่สักว่ารู้ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมทั้งภายนอกภายในอยู่ เห็นความสำคัญมั่นหมายของใจ เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นจาคานุสติ
- บุคคลเหล่านี้ได้แก่ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ เป็นผู้มี สมถะและวิปัสนาไปพร้อมๆกัน เป็นผู้สะสมเหตุมาเต็มแล้ว ฟังธรรมก็บรรลุธรรมได้ทันที มีในสมัยพุทธกาล เราจะเข้าถึงบุคคลประการที่ ๓ นี้ได้ก็ต้องสะสมเหตุจนเต็ม ทำสะสมเหตุทุกอย่างในบารมี ๑๐ ประการ อบรมจิตแม้ใน ๒ ประการข้างต้นไปเรื่อยๆ ให้จิตรู้เห็นตามจริงบ่อยๆจนลงใจติดตามไปทุกภพชาติจนอินทรีย์ ๕ พละ ๕ เต็มบริบูรณ์
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #371 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:23:24 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทำบุญกับพระที่ไหน ๆ
ก็ต้องไม่ลืมพระที่บ้าน
พ่อแม่เรานี่แหละ
อย่ามองข้ามท่านไป
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

การแก้กรรม ไม่ใช่ไปทำพิธีกับพระ
ใครก็แก้ไม่ได้หรอก
"กรรม" คือการกระทำ
"การแก้กรรม" ก็คือการแก้ไขพฤติกรรม
เคยทำชั่วก็หยุดซะ
ทำดีอยู่แล้ว ก็ทำให้ดียิ่งขึ้น
หลวงปู่จำปา กิตติธโร

ใครจะรู้สึกกับคุณอย่างไร
ก็อย่าไปใส่ใจมาก
หากคุณเอาความสุขของคุณ
ไปผูกติดกับสายตาของคนอื่น
คุณจะหาความสุขได้ยาก
พระไพศาล วิสาโล

ระวังหูของเรา
ดีกว่าเฝ้าปิดปากคนอื่น
หลวงปู่จันทร์ กุสโล

แกล้วกล้าและเด็ดขาด
ในการกระทำที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
จะดีตรงไหน
ชยสาโรภิกขุ

ความชั่ว ....ไม่ใช่ของธรรมดาที่เกิดขึ้นในตนเอง
เพราะเราต้องทำมันจึงจะชั่ว
ถ้าไม่ทำ มันก็ไม่เกิด นี่จึงเป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติ
ท่านพ่อลี ธัมมธโร

ถ้าหัวใจเรามันสกปรก
มันยุ่ง มันเหยิง มันวุ่น มันวาย
ธรรมะจะเข้าสู่หัวใจเราไม่ได้
หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต

ดูไม้ท่อนนี้ซิ สั้นหรือยาว
สมมุติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น
แต่ถ้าอยากได้ไม้ที่สั้นกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว
หลวงพ่อชา สุภัทโท

..ให้หมั่นทำความดีเอาไว้เรื่อย ๆ เป็นนิสัย
อย่าประมาท
เมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิตแล้ว
เราก็จะไม่กลัวตาย
เพราะเรารู้แล้วนี่ ว่าเมื่อตายแล้ว
เราจะไปอยู่ไหน
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกลัวตาย..
หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน

อย่าพยายามทำตัว
เป็นเจ้าของใคร หรืออะไร
เพราะสิ่งที่เราจะเป็นเจ้าของได้
มีเพียงลมหายใจของตัวเอง
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #372 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:23:55 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกัมมัฏฐาน 6/9/64

   บันทึกกรรมฐานทั้งสิ้นทั้งปวงนี้ ล้วนแต่เป็นความรู้อย่างปุถุชนอย่างข้าพเจ้าจะเข้าไปรู้ัเห็น อนุมาน คาดคะเน ตรึกนึกพิจารณาหลังจากการปฏิบัติได้สภาวะนั้นๆตามที่บันทึึกไว้นี้แล้ว ซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่ตรงตามจริง ยังสักแต่เป้นเพียงธรรมสมมติ ยังไม่แจ้งแทงตลอดก ยังทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต้องการ ยังไม่ถึงวสี แต่เคยเข้าถึงได้เนืองๆพอที่จะรู้อาการที่จิตนี้มนสิการธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามที่สมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาตรัสสอน อันมีพระอรหันตสงฆ์ พระอริยะสงฆ์นำพระธรรมเหล่านี้มาเผยแพร่สั่งสอนให้ข้าพเจ้าได้รับรู้ แล้วมาฝึกสืบต่อในแบบที่ตนพอจะมีปัญญาอย่างปุถุชนเข้าใจได้เท่านั้น
    ด้วยเหตุดังนี้ หากแนวทางใดผิดเพี้ยนไม่ตรงตามจริง ท่านที่แวะเข้าชมบันทึกนี้ทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า เป็นเพียงธรรมที่ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้วพิจารณายได้อย่างปุถุชนเท่านั้น ยังไม่แจ้งแทงตลอดถูกต้องและตรงตามจริงตามที่พระพุทธศาสดาทรงตรัสสอน
    หากธรรมนี้เป็นจริงมีประโยชน์เหล่าใดทั้งปวงแก่ท่านที่แวะเยี่ยมชม ก็ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า พระธรรมคำสอนทั้งปวงของสมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่ได้ทรงตรัสสอนมานี้ประกอบไปด้วยคุณ หาประมาณมิได้ ใช้ได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกจริตนิสัย สามารถพลิกแพลงให้เข้ากับจริตตนแล้วนำมาใช้งานได้อย่างง่ายแต่มีคุณประโยชน์สูง เห็นผลได้ไม่จำกัดกาล ดังนี้

อริยะสัจ ๔ กัมมัฏฐาน

เป็นกัมมัฏฐาโดยส่วนตัวของข้าพเจ้า เฟ้นเห็นตัวทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ แจ้งชัดความดับทุกข์ ถึงทางดับทุกข์ แบบสาสวะ คือ สะสมเหตุ โดยส่วนตัวเท่านั้น

คือ แนวทางการเจริญ พระอริยะสัจ ๔ แบบสาสะ สะสมเหตุ เพื่อเข้าถึงความ ไม่มีใจครอง เบิกบานพ้นแล้วจากสสมมติกิดเลสของปลอม  มีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ไม่ติดใจข้องแวะโลก เป็นผล

- โดยการเจริญพระอริยะสัจ ๔ กรรมฐานนี้ กว้างมาก เพราะเป็นการใช้กรรมฐานทั้ง ๔๐ หรือกองใดกองหนึ่งตามจริต ตั้งเป็นฐานจิต ฐานสมาธิ เข้าสู่อารมณ์ญาณทัสนะ คือ ใช้กรรมฐานทุกกองเจริญเข้าในมหาสติปัฏฐาน ๔  กาย เวทนา จิต ธรรม ตั้งฐานรู้ชัด + สัมมัปปธาน ๔ + อิทธิบาท ๔

ยกตัวอย่างเช่น

๑. พุทโธ+ลม สะสมมัคสมังคี มรรคสามัคคีรวมกัน เห็นสมมติกาย เห็นสมมติใจ(เวทนา และจิต เข้าสู้ธัมมารมณ์) เฆ็นสมมติธรรม(เห็นขันธสันดารของจิต)

๒. เมตตา(อาจจะกำหนดตามลมหายใจ เพื่อไม่ซ่านออกนอก และคลุมอารมณ์กัมมัฏฐาน) สะสมมัคสมังคี มรรคสามัคคีรวมกัน เห็นสมมติกาย เห็นสมมติใจ(เวทนา และจิต เข้าสู้ธัมมารมณ์) เฆ็นสมมติธรรม(เห็นขันธสันดารของจิต)

พิจารณาเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ แจ้งชัดความดับทุกข์ มรรครวมขึ้นโครตภูญาณ ทำโพชฌงค์ เข้าสังขารุเปกขา รอบ ๓ อาการ ๑๒ แห่งพระอริยะสัจ ๔ เกิดขึ้น มีปัญญาญาณเกิดขึ้นตัดสังโยชน์

หมายเหตุที่ ๑
- โดยส่วนตัวของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้ามีใจน้อมทำอย่างนี้ เพื่ออบรมจิตสะสมเหตุใน ปฏิสัมภิทาญาณ และ ปารถนาพุทธภูมิ
- ความรู้นี้มันเกิดขึ้นเอง อาจเป็นแนวทางที่ผิด ไม่ถูกตรงตามจริง และข้าพเจ้าไม่รู้ธรรม จึงจำกัดเรียกเฉพาะทางที่ข้าพเจ้าใช้เจริญในกรรมฐานทั้ง ๔๐ และ ญาณทัสนะ ด้วยองค์ธรรมเพื่อเฟ้นเห็นตัวทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ แจ้งชัดความดับทุกข์ ถึงทางดับทุกข์ ดังนี้ว่า อริยะสัจ ๔ กัมมัฏฐาน

หมายเหตุที่ ๒
- มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นกรรมฐานในญาณทัศนะ ที่เข้าได้กับทุกกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ให้เป็นไปเพื่อ ญาณทัสนะ เพื่อโพชฌงค์ เพื่อวิมุตติ
- ทำไมพระป่าท่านสอนกายก่อน เพราะกายนี้เห็นง่ายสุด กายนี้คือที่ตั้งต้นแห่งเป็นสมาธิ เราอาศัยกายนี้อยู่ จับต้องได้ เห็นได้ สัมผัสได้ง่ายสุด เป็นฌาณ ๔ ใครรู้ลมหายใจก็รู้กายรู้ธาตุ ไม่รู้ลมก็ไม่รู้ธาตุ ม้างกายออกก็จะเห็นอนัตตา เห็นเวทนา เห็นจิตทันที จะอบรมจิตภาวนาได้ ดังความว่า..ทิ้งกายเห็นจิต ส่วนที่เรามามองกันว่าความรู้สึกนี้ๆ อาการนี้ๆ เพราะไม่มีสมาธิ ไม่อบรมสมาธิ ก็คือไม่อบรมกาย มันจะเห็นแต่ความคิดตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เป็นเหตุให้หลงความคิดตัวเอง ไม่มีวิปัสนาเห็นแต่วิปัสนึก
- ดังนั้นผู้ที่กล่าวว่าพระป่าไม่เชี่ยวชาญขิต ข้อนี้ผิดมาก เพราะเชี่ยวชาญจึงรู้ทางรู้อุบาย และสอนได้ เพราะเชี่ยวชาญจิต ถึงบรรลุธรรมได้

** สมดั่งที่..องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ตรัสกับ สัจจกนิครนต์ ว่า ดูกร! อัคคิเวสนะ! อบรมกายเธอยังไม่รู้จักเลย เธอจะรู้การอบรมจิตได้อย่างไร **

- สมดั่งคำ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฺฒโน ท่านสอนให้เห็นธาตุ ๖ เข้าธาตุวิภังค์ และสมดั่ง หลวงตาศิริ อินฺทสิริ ท่านสอนไว้ว่า หลงกายก็ม้างกายดู หลงใจก็ม้างกายดู กายม้างกายก็ตือ กายานุปัสสนา การม้างใจก็คือ เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ลงธัมมานุปัสนา เป็นขันธ์ เห็นอนุสัยกิเลสอันนอนเเนื่องในจิต จิตทำรอบ ๓ อาการ ๑๒ ดั่งท่านว่าดังนี้..

หมายเหตุที่ ๓
- ความมีจิตแจ่มใจ (คือ ปราศจากิเลสเครื่องเร่าร้อนหน่วงตรึงจิต คือ มีจิตเป็น พุทโธ แล้วนั่นเอง)
- มีใจเอื้อเฟื้อ (คือ มีใจเมตตา ทาน ถึง จาคะ)
- เว้นความความเบียดเบียน (คือ มีเจตนาเป็นศีล คือ ศีลลงใจ)
..เป็น สุจริต ๓ คือ มรรค เกิดขึ้นเมื่อมีอินทรีย์สังวรณ์บริบูรณ์
..ผลทั้งปวงเหล่านี้ย่อมเกิดแก่ผู้รู้ธรรมแท้ เจริญปฏิบัติมาดีแล้ว
(ไม่ได้หมายถึงตัวข้าพเจ้าถึงแล้วดังที่กล่าวมา เพียงแต่บันทึกทางธรรมนี้ไว้เท่านั้น)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 02:55:27 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #373 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:27:33 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
มีหลัก 3 อย่างที่เราใช้เมื่ออยู่กับคนคอยจับผิด ไม่เป็นมิตรกับเรา ให้ทำดังนี้

1. เรารับผิดชอบหน้าที่การงานตัวเองให้ดี และใฝ่เรียนรู้ศึกษาในงานที่ทำหรือด้านอื่นๆเพิ่มเติม
- เพราะคนที่ชอบจับผิด มักจะเอาสิ่งเล็กสิ่งน้อยมาหาเรื่องใส่ร้ายเรา เมื่อเรารับผิดชอบงานดี จุดที่เค้าจะเล่นเราก็ทำไม่ได้
- เมื่อเรามีความรู้ที่แน่น หรือมีความรู้ในส่วนอื่นๆมาก เขาก็จะกลัวเรา ไม่กล้าผลีผลามทำร้ายเรา เผลอๆอาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมเขาด้วย

2. ผูกมิตร การผูกมิตร เราจะผูกมิตรยังไง เมื่อเขาไม่สนใจเรา เราก็แค่เป็นคนที่มีกาย วาจา ใจ ดังนี้..

๒.๑) เมตตา คือ มีใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกัน ไม่ผูกแค้นเขา
๒.๒) กรุณา คือ มีการสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือต่อพวกเขา
๒.๓) มุทิตา คือ ไม่ริษยาเขา เขาได้ดีก็ยินดีกับเขา โดยให้มองว่า สิ่งนั้นมันเป็นของเขา มันเป็นสิ่งที่เขาควรได้รับ
- ทั้ง ๓ ข้อนี้เมื่อทำแล้ว เป็นการผูกมิตรที่ฝ่ายตรงข้ามมองว่า เขาไม่ได้เสียผลประโยชน์กับเรา และเราไม่มีพิษภัยกับเขา เขาก็จะเปิดใจคุยมากขึ้น

๒.๔) อุเบกขา คือ วางใจไว้กกลางๆไม่ยินดี ยินร้ายกับเขา
..เช่น เราเอื้อเฟื้อสงเคราะห์ช่วยเหลือเขาแล้ว เขายังอคติกับเรา เหมือนไม่รู้คุณเรา ก็ให้มองว่า..สิ่งที่เราทำให้เขานั้น เราทำให้ทานเขาไป และอย่าใส่ใจให้ความสำคัญกับตัวเขา และการกระทำของเขาเกินความจำเป็น
- ข้อนี้เมื่อเราทำแล้ว จะทำให้เราสามารถอยู่กับสังคมของเขาได้ โดยไม่ทุกร้อนไปกับการกระทำของเขาครับ

3. รักษากาย วาจา ใจ ให้คงความดีของเราไว้ ไม่ให้เสื่อม เพราะเขาจะไม่สามารถช่วงชิงความดีของเราไปได้ แล้วสิ่งทั้งหมดที่เราทำมันก็จะแสดงผลเอง จะแสดงผลช้าหรือเร็วหรือไม่แสดงผลเลยก็ช่าง ให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำคือความดี เป็นสิ่งดี ทำแล้วสบายใจพอ
- ข้อนี้เมื่อเราทำแล้ว เราจะไปอยู่ที่ใดก็ไม่ต้องเร่าร้อน กังวลใจ หวาดกลัวใครจะมาทำร้ายเอาคืนเรา
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #374 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 09:59:39 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


ธาตุ ๔ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง คือมีอยู่โดยธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีอัตตา มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ เป็นส่วนประกอบของรูปขันธ์ หรือส่วนประกอบของชีวิตที่เป็นสสาร เช่น ส่วนที่เป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอ็น เนื้อ โลหิต น้ำเหลือง เป็นต้น ธาตุ ๔ หรือมหาภูตรูป (รูปใหญ่หรือร่างกายกาย คือ ส่วนประกอบที่สามารถมองเห็นได้และจับต้องได้ สัมผัสได้ ร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่

ภิกษุทั้งหลาย ! ธาตุมีสี่อย่างเหล่านี้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ธาตุสี่อย่าง
( บาลี – นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๓ )

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฐวีธาตุเป็นอย่างไรเล่า ? ปฐวีธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฐวีธาตุที่เป็นไปในภายในเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนใดเป็นของแข็ง เป็นของหยาบ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตน กล่าวคือ ผมทั้งหลาย ขนทั้งหลาย เล็บทั้งหลาย ฟันทั้งหลาย หนังเนื้อเอ็นทั้งหลาย กระดูกทั้งหลาย เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นไปในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฐวีธาตุที่เป็นไปในภายในก็ตาม ที่เป็นภายนอกก็ตาม นี้แหละเรียกว่า ปฐวีธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! อาโปธาตุเป็นอย่างไรเล่า ? อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี

ภิกษุทั้งหลาย ! อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนใดเอิบอาบเปียกชุ่ม อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตน กล่าวคือ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นไปในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย ! อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็ตาม ที่เป็นภายนอกก็ตาม นี้แหละเรียกว่า อาโปธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! เตโชธาตุเป็นอย่างไรเล่า ? เตโชธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี

ภิกษุทั้งหลาย ! เตโชธาตุที่เป็นไปในภายในเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนใดเป็นของเผา เป็นของไหม้ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตน กล่าวคือ ธาตุไฟที่ยังกายให้อบอุ่นอย่างหนึ่ง ธาตุไฟที่ยังกายให้ชราทรุดโทรมอย่างหนึ่ง ธาตุไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายอย่างหนึ่ง ธาตุไฟที่ทำอาหาร ซึ่งกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ให้แปรไปด้วยดีอย่างหนึ่ง หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นไปในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย ! เตโชธาตุที่เป็นไปในภายในก็ตาม ที่เป็นภายนอกก็ตาม นี้แหละเรียกว่า เตโชธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย ! วาโยธาตุเป็นอย่างไรเล่า ? วาโยธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี

ภิกษุทั้งหลาย ! วาโยธาตุที่เป็นไปในภายในเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนใดเป็นลม ไหวตัวได้ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตน กล่าวคือ ลมพัดขึ้นเบื้องสูงอย่างหนึ่ง ลมพัดลงเบื้องต่ำอย่างหนึ่ง ลมนอนอยู่ในท้องอย่างหนึ่ง ลมนอนอยู่ในลำไส้อย่างหนึ่ง ลมแล่นไปทั่วทั้งตัวอย่างหนึ่ง และลมหายใจเข้าออกอย่างหนึ่ง หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า วาโยธาตุที่เป็นไปในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย ! วาโยธาตุที่เป็นไปในภายในก็ตาม ที่เป็นภายนอกก็ตาม นี้แหละเรียกว่า วาโยธาตุ

( บาลี – อุปริ. ม. ๑๔/๔๓๗-๔๓๙/๖๘๔-๖๘๗ )

คำสอนพระอริยเจ้า
ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธาตุ ๔ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งมูลฐานของสิ่งทั้งปวง แม้แต่ธรรมทั้งหลายที่เป็นนิยานิกธรรม อันจะดำเนินให้ถึงวิมุติด้วยสมถะวิปัสสนา ก็จะหนีจากธาตุสี่นี้ไม่ได้ แต่ธาตุ ๔ เป็นวัตถุธาตุล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับนามธรรมแลกิเลสใดๆ เลย ท่านจำแนกออกเป็นกองๆ ตามลักษณะของธาตุนั้นๆ

เช่น สิ่งใดที่มีอยู่ในกายนี้มีลักษณะข้นแข็ง ท่านเรียกว่า ธาตุดิน มี ๑๘ อย่าง คือ ผม ๑ ขน ๑ เล็บ ๑ ฟัน ๑ หนัง ๑ เนื้อ ๑ เอ็น ๑ กระดูก ๑ เยื่อในกระดูก ๑ ม้าม ๑ หัวใจ ๑ ตับ ๑ พังผืด ๑ ไต ๑ ปอด ๑ ไส้ใหญ่ ๑ ไส้น้อย ๑ อาหารใหม่ ๑ อาหารเก่า ๑ (ถ้าเติมกะโหลกศีรษะ และมันสมอง ศีรษะเข้าด้วยก็เป็น ๒๐ พอดี แต่ที่ไม่เติม เพราะไปตรงกับกระดูก และเยื่อในกระดูก จึงยังคง เหลือ ๑๘)

ธาตุน้ำ สิ่งใดที่มีลักษณะเหลวๆ ท่านเรียกว่า ธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ น้ำดี ๑ น้ำเสลด ๑ น้ำเหลือง ๑ น้ำเลือด ๑ น้ำเหงื่อ ๑ นั้นมันข้น ๑ น้ำตา ๑ น้ำมันเหลว ๑ น้ำลาย ๑ น้ำมูก ๑ น้ำมันไขข้อ ๑ น้ำมูตร ๑

ธาตุไฟ สิ่งใดที่มีลักษณะให้อบอุ่น ท่านเรียกว่า ธาตุไฟ มี ๔ คือ ไฟทำให้กายอบอุ่น ๑ ไฟทำให้กายทรุดโทรม ๑ ไฟช่วยเผาอาหารให้ย่อย ๑ ไฟทำความกระวนกระวาย ๑

ธาตุลม สิ่งใดที่มีลักษณะพัดไปมาอยู่ในร่างกายนี้ สิ่งนั้นท่านเรียกว่า ธาตุลม มี ๖ คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ทำให้มึน งง หาว เอื้อมอ้วกออกมา ๑ ลมพัดลงข้างล่างทำให้ระบายเผยลม ๑ ลมในท้อง ทำให้ปวดเจ็บท้องขึ้นท้องเฟ้อ ๑ ลมในลำไส้ ทำให้โครกคราก คลื่นเหียน อาเจียน ๑ ลมพัดไปตามตัว ทำให้กายเบา แลอ่อนละมุนละไม ขับไล่เลือด และโอชาของอาหาร ที่บริโภคเข้าไปให้กระจายซึมซาบไปทั่วสรรพางกาย ๑ ลมระบายหายใจเข้าออก เพื่อยังชีวิตของสัตว์ให้เป็นอยู่ ๑ หรือจะนับเอาอากาศธาตุคือช่องว่างที่มีอยู่ตัวของเราเช่น ช่องปาก ช่องจมูก เป็นต้น เข้าด้วยก็ได้ แต่อากาศธาตุ ก็เป็นลมชนิดหนึ่งอยู่แล้ว จึงสงเคราะห์เข้าในธาตุลมด้วย

สมมุติว่าเป็น
มนุษย์ทั้งหลาย ที่เราๆ ท่านทั้งหลายที่เห็นกันอยู่นี้ ถ้าจะพูดตามเป็นจริงแล้ว มิใช่อะไร มันเป็นแค่สักว่าก้อนธาตุมารวมกันเข้าเป็นก้อนๆหนึ่งเท่านั้น มนุษย์คนเราพากันมาสมมติเรียกเอาตามชอบใจของตน ว่านั่นเป็นคน นั่นเป็นสัตว์ นั่นเป็นนั่น เป็นนี่ต่างๆ นานาไป แต่ก้อนอันนั้น มันก็หาได้รู้สึกอะไรตามสมมติของตนไม่ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไร มันก็เป็นอยู่อย่างนั้นตามเดิม

อย่างไปสมมติว่าหญิง ว่าชาย ว่าหนุ่ม ว่าแก ว่าสวย ไม่สวย ก้อนธาตุอันนั้นมันก็ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หน้าที่ของมัน เมื่อประชุมกันเข้าเป็นก้อนแล้ว อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง แล้วมันก็ค่อยแปรไปตามสภาพของมัน ผลที่สุดมันก็แตกสลายแยกกันไปอยู่ตามสภาพเดิมของมันเท่านั้นเอง ใจของคนเราต่างหาก เมื่อความไม่รู้เท่าเข้าใจตามเป็นจริงแล้ว ก็ไปสมมติว่า เป็นคน เป็นหญิง เป็นชาย สวย-ไม่สวย สวยก็ชอบใจรักใคร่ อยากได้มาเป็นของตน ไม่สวย ก็เกลียด เหยียดหยาม ดูถูกไม่ชอบใจ ไม่อยากได้อยากเห็น ใจไปสมมติเอาเอง แล้วก็ไปหลงติดสมมติของตัวเอง เพิ่มพูนกิเลส ซึ่งมันหมักหมมอยู่แล้ว ให้หนาแน่นขึ้นอีก กิเลสอันเกิดจากความหลงเข้าใจผิดนี้ ถ้ามีอยู่ในจิตสันดานของบุคคลใดแล้ว หรืออยู่ในโลกใดแล้ว ย่อมทำบุคคลนั้น หรือโลกนั้น ให้วุ่นวายเดือดร้อนมากแลน้อย ตามกำลังพลังของมัน สุดแล้วแต่มันจะบันดาลให้เป็นไป ฯ

ธาตุล้วนๆ
ความจริงธาตุ ๔ มันก็เป็นธาตุล้วนๆ มิได้ไปก่อกรรมทำเข็ญให้ใครเกิดกิเลสหลงรักหลงชอบเลย ถึงก้อนธาตุจะขาวจะดำสวยไม่สวย มันก็มีอยู่ทั่วโลก แล้วก็มีมาแต่ตั้งโลกโน่น ทำไมคนเราพึ่งเกิดมาชั่วระยะไม่กี่สิบปี จึงมาหลงตื่นหนักหนา จนทำให้สังคมวุ่นวาย ไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไร มืดบอดยิ่งกว่ากลางคืน ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าของพวกเราทั้งหลาย ผู้ทรงประสงค์ความสันติสุขแก่โลก จึงทรงจำแนกสมมติ ที่เขาเหล่านั้นกำลังพากันหลงติดอยู่เหมือนลิงติดตัง ออกให้เป็นแต่สักว่าธาตุ ๔ ดังจำแนกมาแล้วข้างต้น หรือจะเรียกว่า พระองค์ทรงบัญญัติให้เป็นไปตามสภาพของเดิม เพื่อให้เขาเหล่านั้นที่หลงติดสมมติอยู่แล้ว ให้ค่อยๆ จางออกจากสมมติ แล้วจะได้เห็นสภาพของจริง บัญญัตินี้ไม่เป็นตนเป็นตัว เป็นสภาพธรรมอันหนึ่ง แล้วบัญญัติเรียกชื่ออ เป็นเครื่องหมายใช้ชั่วคราวเท่านั้น ถ้าผู้มาพิจารณา เห็นกายก้อนนี้ เป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔ แล้ว จะไม่หลงเข้าไปยึดเอาก้อนธาตุมาเป็นอัตตาเลย อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสหยาบช้า ฆ่าฟันกันล้มตายอยู่ทุกวันนี้ ก็เนื่องจากความหลง เข้าไปยึดก้อนธาตุว่าเป็นอัตตาอย่างเดียว

ผู้ใคร่ในธรรมข้อนี้ จะทดลองพิจารณาให้เห็นประจักษ์ ด้วยตนเองอย่างนี้ก็ได้ คือ พึงทำใจให้สงบเฉยๆ อยู่ อย่าได้นึกอะไร แลสมมติว่าอะไรทั้งหมด แม้แต่ตัวของเรา ก็อย่านึกว่า นี่คือเราหรือคน แล้วเพ่งเข้ามาดูตัวของเรา พร้อมกันนั้น ก็ให้มีสติทำความรู้สึกอยู่ทุกขณะว่า เวลานี้เราเพ่งวัตถุสิ่งหนึ่ง แต่ไม่มีชื่อว่าอะไร เมื่อเราทำอย่างนี้ได้แล้ว จะเพ่งดูสิ่งอื่น คนอื่น หรือถ้าจะให้ดีแล้ว เพ่งเข้าไปในสังคมหมู่ชนมากๆ ในขณะนั้น อาจทำให้เกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมาในใจแปลกๆ และเป็นสิ่งน่าขบขันมาก อย่างน้อยหากท่านมีเรื่องอะไรหนักหน่วง และยุ่งเหยิงอยู่ภายในใจของท่านอยู่แล้ว เรื่องทั้งหมดนั้นหากจะไม่หายหมดสิ้นไปทีเดียว ก็จะเบาบาง แลรู้สึกโล่งใจของท่านขึ้นมาบ้างอย่างน่าประหลาดทีเดียว

หากท่านทดลองดูแล้ว ไม่ได้ผลตามที่แสดงมาแล้วนี้ ก็แสดงว่าท่านยังทำใจให้สงบ ไม่ได้มาตรฐานพอจะให้ธรรมเกิดขึ้นมาได้ ฉะนั้นจึงขอให้ท่านพยายามทำใหม่ จนได้ผล ดังแสดงมาแล้ว แล้วท่านจะเกิดความเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า เป็นคำสอนที่ นำผู้ปฏิบัติให้ถึงความสันติได้แท้จริง ฯ

อนึ่ง คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคำสอนเพื่อสันติ ผู้ที่ยังทำใจของคนให้สงบไม่ได้แล้ว จะนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นสันติ มาพิจารณาก็ยังไม่เกิดผล หรือมาตั้งไว้ ในใจของตน ก็ยังไม่ติด

สภาพเดิมของธาตุ
ฉะนั้น จึงขอเตือนไว้ ณ โอกาสนี้เสียเลยว่าผู้จะเข้าถึงธรรม ผู้จะเห็นธรรม รู้ธรรม ได้ธรรม พิจารณาธรรมในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งที่แสดงมาแล้ว และกำลังแสดงอยู่ หรือที่จะแสดงต่อไปนี้ก็ดี ขอได้ตั้งใจทำความสงบเพ่งอยู่เฉพาะในธรรมนั้นๆ แต่อย่างเดียว แล้วจึงเพ่งพิจารณาเถิด จึงจะเกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นๆ อย่างถูกต้อง

เรื่อง ธาตุ ๔ เป็นสภาวธรรมเป็นจริงอยู่ตามธรรมชาติแล้ว แต่คนเรายังทำจิตของตนไม่ให้เข้าถึงสภาพเดิม (คือความสงบ) จึงไม่เห็นสภาพเดิมของธาตุ ธาตุ ๔ เมื่อผู้มาพิจารณา ให้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นว่า ธาตุเป็นสักแต่ว่าธาตุ มันมีสภาพเป็นอยู่เช่นไร มันก็เป็นอยู่เช่นนั้นตามสภาพของมัน ธาตุมิได้ก่อกวนให้ใครเกิดกิเลสความรักแลความหวัง หรือโลภโกรธหลงอะไรเลย ใจของคนเราก็เป็นธาตุเหมือนกัน เรียกว่ามโนธาตุ หากผู้มา พิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งปวง เป็นแต่สักว่าธาต คือเห็นธาตุภายใจ (คือกายก้อนนี้) และธาตุภายนอก (คือนอกจากกายของเรา) และมโนธาตุ (คือใจ) ตามเป็นจริงแล้ว ความสงบสุข ก็จะเกิดมีแก่เหล่าประชาสัตว์ทั่วหน้ากัน สมตามพุทธประสงค์ที่พระพุทธองค์ตั้งปณิธานไว้ ทุกประการ

ขอขอบคุณที่มาจาก https://www.nirvanattain.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8.html
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 21, 2024, 07:35:13 AM