เมษายน 19, 2024, 01:48:07 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407782 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #30 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2014, 09:11:21 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

Image

เสขะปฏิปทา ๑๕

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงพระพุทธคุณนำในบทว่าวิชชาจรณสัมปันโน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ได้แสดงวิชชาและจรณะมาตอนหนึ่งแล้ว จะได้แสดงในข้อว่าจรณะ ตามที่ท่านพระอานนท์ได้แสดง ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ร้อยกรองไว้ในเสขะพลสูตร ซึ่งมีความโดยย่อว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงได้รับเชิญเสด็จไปประทับเป็นครั้งแรก ในสัณฐาคารคืออาคารอันเป็นที่ประชุมของเจ้าศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งได้สร้างขึ้นใหม่ยังมิได้ใช้สอย

พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งหมู่สงฆ์ก็ได้เสด็จไปประทับที่สัณฐาคาร ได้ตรัสแสดงธรรมแก่เจ้าศากยะทั้งหลายเป็นอันมาก แล้วได้โปรดให้ท่านพระอานนท์แสดงเสขะปฏิปทาแก่เจ้าศากยะทั้งหลายต่อไป

พระองค์ก็ได้ทรงประทับพักผ่อนพระอิริยาบถโดยสีหไสยา ท่านพระอานนท์จึงได้แสดงเสขะปฏิปทาคือข้อปฏิบัติที่ทำให้เป็นเสขะบุคคล หรือข้อปฏิบัติของเสขะบุคคล


๏ เสขะบุคคล

อันเสขะบุคคลนั้นก็หมายถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปฏิมรรค จนถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ตามศัพท์ว่าเสขะก็แปลว่าผู้ศึกษา แต่เสขะคือผู้ศึกษาในพุทธศาสนานั้น มีความหมายสูงดังที่กล่าว ส่วนที่ต่ำลงมาคือยังไม่เป็นโสดาบันบุคคล ยังเป็นบุถุชน เรียกว่าเสขะก็มิใช่ อเสขะก็มิใช่ และท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์ จึงเรียกว่าอเสขะที่แปลว่าผู้ไม่ต้องศึกษา คือเป็นผู้จบการศึกษาแล้ว

ท่านพระอานนท์ก็ได้รับพระพุทธบัญชา แสดงเสขะปฏิปทา ๑๕ ประการแก่เจ้าศากยะทั้งหลาย และในตอนท้ายก็ได้กล่าวว่าเสขะปฏิปทาทั้ง ๑๕ ประการนี้ ก็เป็นจรณะคือข้อปฏิบัติเครื่องดำเนินถึงวิชชา เพราะฉะนั้น ในการแสดงอธิบายจรณะในพระพุทธคุณบทนี้ จึงมักจะยกเอาจรณะ ๑๕ ตามที่ท่านพระอานนท์ได้แสดงดังที่เล่ามากันโดยมาก


๏ เสขะปฏิปทา ๑๕

จรณะหรือเสขะปฏิปทา ๑๕ ประการนี้ ก็คือสีลสัมปทาถึงพร้อมด้วยศีล อินทรียสังวรความสำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตาความรู้ประมาณในภัตตาหาร ชาคริยานุโยคความประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ นี้ ๔ ประการ

และสัทธรรมอีก ๗ ประการอันได้แก่ สัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ สติ และปัญญา รวมเป็น ๗ ประการกับ รูปฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ อีก ๔ ประการ ก็รวมเป็น ๑๕ ประการ และโดยที่ได้แสดงจรณะ ๑๐ ประการมาแล้วตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเอง เพราะฉะนั้น จึงได้แสดงอธิบายไปแล้วหลายข้อ จึงจะไม่แสดงอธิบายข้อที่ซ้ำกัน สีลสัมปทาถึงพร้อมด้วยศีล กับอินทรียสังวรความสำรวมอินทรีย์ ได้แสดงอธิบายแล้ว


๏ โภชเนมัตตัญญุตา

โภชเนมัตตัญญุตาความรู้ประมาณในภัตตาหาร ท่านสอนให้พิจารณาอาหารที่บริโภค ในขณะที่กำลังบริโภค ตามบทปฏิสังขาโยที่พระสวดกันอยู่ซึ่งมีความโดยย่อว่า บริโภคภัตตาหารก็มิใช่ว่าเพื่อเล่น มิใช่ว่าเพื่อมัวเมา มิใช่ว่าเพื่อเปล่งปลั่งประเทืองผิว แต่ว่าบริโภคภัตตาหารก็เพื่อที่จะบำบัดความหิวระหาย และป้องกันมิให้เกิดเวทนาที่เป็นทุกข์ และเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เพื่อดำรงกายให้เป็นไป

นี้เป็นใจความโดยย่อ ซึ่งรวมความเข้าแล้วก็เป็นการพิจารณาว่า บริโภคเพื่อที่จะทะนุบำรุงร่างกาย เพราะร่างกายนี้ต้องอาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ และดำรงร่างกายอยู่ก็เพื่อว่าที่จะประพฤติพรหมจรรย์ คือปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า มิใช่เพื่อตัณหากิเลสต่างๆ และเมื่อพิจารณาดั่งนี้ก็จะทำให้ไม่เกิดหรือไม่ส่งเสริม รสะตัณหา ตัณหาในรส บริโภคเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการ คือเพื่อดำรงร่างกายดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่ เป็นไปอยู่ทำไม ก็เพื่อที่จะประพฤติพรหมจรรย์ กระทำกิจตามพระธรรมวินัย ประกอบกิจที่เป็นประโยชน์

เมื่อเป็นดั่งนี้ ก็จะทำให้การบริโภคนั้น เป็นไปพอเหมาะพอควร ไม่น้อยไม่มากเกินไป เท่าที่ร่างกายต้องการ ไม่ถือเอารสอร่อยเป็นที่ตั้ง คือไม่ตามใจลิ้น และเมื่อพิจารณาดั่งนี้ แม้ว่าอาหารที่บริโภคจะมีรสไม่ถูกปากไม่ถูกลิ้น ก็จะสามารถบริโภคได้

เพราะเมื่อไม่ติดอยู่ในรส ไม่ติดอยู่ในรสะตัณหาแล้ว การบริโภคก็เป็นไปเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ต้องการ ไม่ใช่ว่าจะต้องเที่ยวแสวงหาอาหารที่มีรสตามที่ชอบ ถ้าไม่ได้ก็ไม่ยอมที่จะบริโภค หรือบริโภคแต่น้อย ถ้าได้อาหารที่มีรสถูกปากที่เอร็ดอร่อยก็บริโภคเสียใหญ่ และไม่เป็นเวล่ำเวลาอันสมควร ดั่งนี้เรียกว่าไม่รู้ประมาณในภัตตาหาร แต่เมื่อรู้ประมาณในภัตตาหาร ด้วยการพิจารณาดังกล่าว ก็จะทำให้การบริโภคอาหารเป็นไปโดยถูกต้อง พอเหมาะพอควร เพื่อทะนุบำรุงกายให้ดำรงอยู่ เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ดั่งนี้


๏ ชาคริยานุโยค

ชาคริยานุโยคประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ที่ท่านแสดงอธิบายไว้ ก็คือว่าในเวลากลางวัน ก็นั่งบ้าง เดินบ้าง ที่เรียกว่าเดินจงกรม ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจากกิเลสที่เป็นเครื่องกั้นใจทั้งหลาย คือเป็นเครื่องกั้นไว้มิให้บรรลุสมาธิและปัญญา ในเวลากลางคืนในปฐมยาม ก็นั่งบ้าง เดินบ้าง เปลื้องจิตให้บริสุทธิ์ ให้พ้นจากกิเลสเป็นเครื่องกั้นทั้งหลาย ในมัชฌิมยามของราตรี ก็พักด้วยการนอนโดยสีหไสยาคือนอนตะแคงเบื้องขวา และทำสติที่จะลุกขึ้น ที่จะตื่นขึ้น และก็ตื่นขึ้นในปัจจฉิมยามของราตรี ก็นั่งบ้างเดินบ้าง ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ให้พ้นจากกิเลสซึ่งเป็นเครื่องกั้นจิตทั้งหลาย

นี้ท่านแสดงถึงวิธีปฏิบัติเป็นเครื่องตื่นอยู่อย่างเต็มที่ แม้ว่าจะไม่ปฏิบัติอย่างเต็มที่ดั่งนี้ เอาเพียงปฏิบัติตามที่ท่านแปลคำนี้ไว้ว่า ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแก่นอนมากนัก และเวลาที่ตื่นอยู่ก็ต้องคอยทำการเปลื้องจิต ปฏิบัติเปลื้องจิตจากกิเลสเป็นเครื่องกั้น มิให้จิตได้สมาธิได้ปัญญา โดยตรงก็คือนิวรณ์ทั้ง ๕ นั้นเอง

คอยชำระจิตอยู่เสมอจากนิวรณ์ทั้ง ๕ คือกามฉันท์ความพอใจรักใคร่ในกาม พยาบาทความหงุดหงิดขึ้งเคียดโกรธแค้นขัดเคืองมุ่งร้ายหมายล้างผลาญ ถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม อุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และวิจิกิจฉาความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ ปฏิบัติดั่งนี้เรียกว่าเป็นชาคริยานุโยค ก็รวมเป็น ๔ ข้อ


๏ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา

ส่วนสัทธรรม ๗ นั้น สัทธรรมก็แปลว่าธรรมะของสัตตบุรุษ คือผู้สงบรำงับ หรือธรรมะของคนดี ธรรมะที่ดี อันได้แก่ศรัทธาคือความเชื่อ และความเชื่อในพุทธศาสนานี้ ต้องการความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นญาณสัมปยุต ประกอบด้วยญาณคือความหยั่งรู้ ซึ่งเรียกว่าเป็นความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ คือว่าเลือกเชื่อเฉพาะสิ่งที่ควรเชื่อ และจะมีศรัทธาดั่งนี้ได้ก็ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ญาณพิจารณา ให้รู้ว่าอะไรควรเชื่อ อะไรไม่ควรเชื่อ

และสำหรับพุทธศาสนิกชน ศรัทธาที่ต้องการเป็นข้อสำคัญในฐานะเป็นพุทธสาวก ก็คือตถาคตะโพธิสัทธา ความเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตพุทธเจ้า ซึ่งความเชื่อดั่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย การที่มาเจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และให้รู้จักพระพุทธคุณดังที่สวดกันอยู่ว่า อิติปิโส ภควา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ เป็นต้น ดั่งที่กำลังแสดงอยู่นี้ ระลึกถึงพระพุทธคุณให้มีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธคุณ แม้บทใดบทหนึ่ง เมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะทำให้ได้ตถาคตะโพธิสัทธามากขึ้นๆ และก็จะทำให้ได้ศรัทธาในธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน


๏ ศรัทธา ๓

เพราะฉะนั้น พระอาจารย์จึงได้แนะนำศรัทธาอีก ๓ ข้อไว้ ก็คือ กรรมสัทธา ความเชื่อในกรรม วิปากสัทธา ความเชื่อในผลของกรรม กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อในความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน เมื่อมีศรัทธาอันมีลักษณะดังกล่าวนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ให้ปลูกศรัทธาให้มีขึ้น

ฉะนั้นแม้ข้อศรัทธานี้ ก็เป็นข้อที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมาพิจารณา ดูที่ศรัทธาคือความเชื่อของตน ว่าเป็นไปถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ให้เชื่อหรือไม่ ถ้าหากว่ายังไม่เข้าในหลักของศรัทธาตามที่กล่าวมานี้ ก็ชื่อว่ายังไม่เข้าหลักของศรัทธา ตามที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์ ยังเป็นศรัทธาอาจจะเป็นของตนเองที่มีมาตามสันดาน หรือว่าจากคำแนะนำของผู้อื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า

ฉะนั้นแม้ข้อศรัทธานี้ ก็ต้องเป็นข้อที่ทุกๆ คนจะต้องปรับปรุง แก้ไขปฏิบัติศรัทธาของตนให้ถูกให้ตรง อันนับว่าเป็นอันดับแรก และเมื่อมีศรัทธาตรงแล้วก็จะทำให้เป็นที่ตั้งของกุศลธรรมทั้งหลายอื่นๆ ต่อไป


๏ หิริ โอตตัปปะ

จึงถึงสัปปุริสธรรม หรือว่าสัทธรรม อันเป็นข้อที่ ๒ ที่ ๓ ก็คือหิริความละอายใจต่อความชั่ว โอตตัปปะความเกรงกลัวต่อความชั่ว ก็คือต่อผลของความชั่ว หิริโอตตัปปะนี้ท่านแสดงว่าเป็นเหตุใกล้ของศีล เมื่อมีหิริโอตตัปปะอยู่ ก็ย่อมจะทำให้มีศีลได้ ศีลก็จะมีสืบจากหิริโอตตัปปะ เพราะฉะนั้น หิริโอตตัปปะนี้จึงเป็นธรรมะสำคัญ จนถึงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่าเป็นโลกบาล คือเป็นธรรมะที่คุ้มครองโลก


๏ พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ที่ได้สดับมาก

และต่อไปก็คือพาหุสัจจะที่แปลว่าความเป็นผู้ที่ได้สดับมาก ในทางพุทธศาสนาก็คือความที่ได้สดับตรับฟัง ธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ได้ทรงกล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมะที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถะคือเนื้อความ พร้อมทั้งพยัญชนะคือถ้อยคำ เป็นธรรมะที่กล่าวประกาศพรหมจรรย์พระศาสนา บริบูรณ์คือครบถ้วนไม่มีบกพร่อง บริสุทธิ์ก็คือถูกต้องไม่มีผิดพลาด สิ้นเชิงก็คือทั้งหมด ก็ตั้งใจสดับตรับฟัง ตั้งใจเรียนธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเหล่านี้ ท่องบ่นจำทรง สั่งสมด้วยวาจาก็คือว่าให้คล่องปาก จำได้ด้วยใจด้วย แล้วให้คล่องปากด้วย และขบเจาะด้วยทิฏฐิคือความเห็น อันได้แก่ทำความเข้าใจ ดั่งนี้ เรียกว่าพาหุสัจจะความเป็นผู้ที่ได้สดับตรับฟังมาก


๏ เพียรละ เพียรภาวนา สติ ปัญญา

ข้อต่อไปก็คือเพียร เพียรปฏิบัติในการละส่วนที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เพียรภาวนาอันหมายถึงว่าอบรมทำให้มีให้เป็นขึ้น ในส่วนที่เป็นกุศลธรรมทั้งหลาย ข้อต่อไปก็คือสติและปัญญา ก็คือปฏิบัติทำสติความระลึกได้ หรือความกำหนดลงไปให้ได้ ให้เป็นตัวสติ และปฏิบัติทำปัญญา คือความรู้รอบคอบตามเหตุตามผล ตามความเป็นจริง หรือว่ารู้ความจริงตามเหตุและผล

ก็รวมเป็น ๗ ประการ เรียกว่าสัทธรรม ๗ หรือสัปปุริสธรรม ๗ ก็แปลว่าธรรมะของสัตตบุรุษเหมือนกัน และรูปฌานอีก ๔ ข้อ คือรูปฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ อันหมายถึงเป็นสมาธิอย่างสูง เป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่น จัดเป็นรูปฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ โดยลำดับ ก็รวมเป็นจรณะ ๑๕ หรือว่าเสขะปฏิปทา ๑๕


๏ ข้อปฏิบัติดำเนินถึงวิชชา

พระพุทธเจ้าเองก็ทรงประกอบด้วยจรณะ เป็นจรณะสัมปันโนถึงพร้อมด้วยจรณะ และเมื่อถึงพร้อมด้วยจรณะ จรณะนี้เองเป็นเครื่องปฏิบัติ เป็นข้อปฏิบัติเครื่องดำเนินถึงวิชชา จึงทรงได้วิชชา ๓ วิชชา ๘ ตามที่ได้แสดงแล้ว เป็นวิชชาสัมปันโนผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา แต่ในบทพระพุทธคุณนี้เรียงวิชชาไว้หน้า คู่กันไปกับจรณะ ว่าวิชชาจรณะสัมปันโนผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

อีกอย่างหนึ่งทำความเข้าใจกันง่ายๆ ดังที่มีบางท่านแสดงว่าถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ก็คือถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ถึงพร้อมด้วยรู้และความประพฤติที่คู่กันนี้ ก็หมายถึงว่ารู้ด้วยประพฤติด้วย มิใช่ว่ารู้แล้วก็ไม่ประพฤติ แต่ว่ารู้ด้วยประพฤติด้วย มีความประพฤติสมควรแก่ความรู้ แม้ว่าจะมีความเข้าใจดั่งนี้ก็ได้

และก็อาจอธิบายคำว่าจรณะ ถึงอรรถะจริยาของพระพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ทรงเป็นวิชชาสัมปันโนถึงพร้อมด้วยวิชชาแล้ว ก็ทรงเสด็จจาริกไปทรงประกอบอรรถะจริยา คือประพฤติประโยชน์ ที่ท่านแสดงเอาไว้ ๓ ประการ คือ โลกัตถะจริยา ทรงประพฤติประโยชน์แก่โลก ญาตัตถะจริยา ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระญาติ พุทธัตถะจริยา ทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานะเป็นพระพุทธเจ้า

ทรงประพฤติประโยชน์แก่โลกนั้น ก็คือทรงแสดงธรรมสั่งสอน ชี้ให้ทราบ และให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุถึง ประโยชน์ปัจจุบันบ้าง ประโยชน์ภายหน้าบ้าง ประโยชน์อย่างยิ่งบ้าง แก่โลก ญาตัตถะจริยา ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระญาตินั้น ก็คือทรงเสด็จไปโปรดพระญาติ ดังเช่นเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา และที่มีแสดงไว้อีกว่าได้เสด็จไปโปรด ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาซึ่งได้เสด็จทิวงคตไปแล้ว และได้โปรดแก่พระญาติอื่นๆ

พุทธัตถะจริยา ทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ก็เช่นได้ทรงปฏิบัติพระองค์ดังที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงปฏิบัติมาครบถ้วนทุกประการ โดยเฉพาะก็คือทรงแสดงธรรมะสั่งสอน ทรงแสดงธรรม ทรงบัญญัติพระวินัย ทรงตั้งพุทธบริษัทก็คือ ภิกษุบริษัท ภิกษุณีบริษัท อุปาสกบริษัท อุปาสิกาบริษัท ขึ้นในโลก ก็ชื่อว่าได้ทรงปฏิบัติโดยฐานะเป็นพระพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงประกอบอรรถะจริยา คือทรงประพฤติประโยชน์ต่างๆ สมบูรณ์ ก็โดยที่เมื่อได้ตรัสรู้ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา ก็ทรงใช้วิชชา ทรงประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ตามที่แสดงมา ซึ่งข้อที่ประพฤติประโยชน์ต่างๆ นี้ก็ชื่อว่าจรณะเหมือนกัน แม้นัยยะนี้พระพุทธองค์ก็ได้ทรงชื่อว่าวิชชาจรณสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป



.......................................................

คัดลอกมาจาก
เทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
http://www.mahayana.in.th/tsavok/tsavok.html




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 17, 2014, 09:16:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #31 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2014, 09:41:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  [๓.อัมพัฏฐสูตร]
    ทางเสื่อม  ๔  ประการแห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ

พระไตรปิฏกเล่มที่ 9 หน้าที่ 102

 ทางเสื่อม ๔ ประการแห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ
            [๒๘๐]    อัมพัฏฐะ    วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้มีทางเสื่อมอยู่ ๔    ประการ    ๔    ประการอะไรบ้าง    คือ
     (๑)    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่บรรลุวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    จึงหาบหิ้วบริขารดาบสเข้าไปสู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่าจักบริโภคผลไม้หล่น    เขาต้องเป็นคนรับใช้ ของท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทาง เสื่อมประการที่    ๑    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
      (๒)    อีกอย่างหนึ่ง    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    ทั้งไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้    จึงถือเสียมและตะกร้าเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยตั้งใจว่าจักบริโภคเหง้า    ราก    และผลไม้    เขาต้องเป็นคนรับใช้ของท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทาง เสื่อมประการที่    ๒    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
      (๓)    อีกอย่างหนึ่ง    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่ บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    ไม่สามารถจะ หาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้    ทั้งไม่สามารถจะหาเหง้า    ราก    และผลไม้บริโภคได้    จึงสร้างเรือนไฟไว้ใกล้บ้านหรือนิคมแล้วบูชาไฟอยู่เขาต้องเป็นคนรับใช้ของ ท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทางเสื่อมประการที่    ๓    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
      (๔)    อีกอย่างหนึ่ง    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่ บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    ไม่สามารถจะ หาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้    ไม่สามารถหาเหง้า    ราก    และผลไม้ บริโภคได้    ทั้งไม่สามารถจะบูชาไฟได้    จึงสร้างเรือนมีประตู    ๔ ด้านไว้ที่หนทางใหญ่สี่แพร่งแล้วพักอยู่ด้วยตั้งใจว่า    เราจะบูชา ท่านผู้ที่เดินทางมาจากทิศทั้ง    ๔    ตามสติกำลัง    ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม    เขาต้องเป็นคนรับใช้ของท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทางเสื่อมประการที่ ๔    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
    อัมพัฏฐะ    วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมมีทางเสื่อมอยู่    ๔    ประการนี้แล


    อธิบาย ให้เข้าใจง่ายสำหรับท่านที่อ่านแล้ว ยังไม่เข้าใจ คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ตรัสแสดงไว้ว่า สมณะพราหม์ ผู้ที่ยังไม่บรรลุ วิชชาและจรณะ มีความปรารถนา เพืื่อ ลาภ เพื่อ ยศ เพื่อ สรรเสริญ เพื่อ สุข(อันเจือด้วยตัณหา )ปรารถนาลามก เพื่อให้ผู้อื่น ยอมรับใช้ ด้วยคิดว่าตนเองเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ที่ไม่มีในตน ข้อนี้เป็นทางแห่งความเสื่อม ของผู้ภาวนา เป็นด่านสำคัญของผู้ภาวนา ที่ไปไม่รอดเพราะเจือด้วย ปณิธานอันลามก ไม่ประกอบด้วยกุศล ดังนั้น อยากให้ท่านทั้งหลายที่เป็นทั้งศิษย์ สมาชิกธรรม ผู้ติดตามอ่านเมื่อเวลาจะภาวนาให้ตั้งปณิธาน เพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส และไม่ภาวนาเพื่อ โลกธรรม ทั้ง 8 เมื่อท่านคิดได้เห็นได้อย่างนี้จิตของท่านจะผ่องใส ด้วยปฏิบัติบูชา และความเสื่อม ด้วย วิชชา 3 และ จรณะ 15 จักไม่เกิดแก่ท่านทั้งหลาย

    ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ตระหนักปณิธานในการภาวนา และ ปฏิบัิติบูชา ต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างยิ่งยวด
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #32 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2014, 09:41:40 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
จรณะ 15
รักษาศิล ในการปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์ถึงจิตแท้ ให้หลุดพ้น เป็นการกระทำที่ไม่มีโลภ โกรธ หลง เข้ามาผูกพันธ์อยู่ในจิต การปฏิบัติตนให้อยู่ในศิล ให้ได้ละเอียดขึ้นไปตามระดับ โดยสังวรณ์อยู่ในจรณะ 15 ดังนี้

1 สังวรศิล    ประพฤติให้เข้าใจสิ่งดีชั่ว ในบาปบุญ คุณ โทษ ให้บริสุทธิ์ด้วยศิล ให้รู้ว่ามีศิลปกติอยู่ในตน รู้ทัน หลุดพ้นจาก ความโกรธ โลภ หลง ทังหลายทั้งปวง

2. สำรวมอินทรีย์   ระวังตนให้รู้ทั่วพร้อมทั้ง 6 ทวารนอก 6 ทวารใน ที่จะเกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากการกระทำนั้นๆ

3. โภชเนมัตตัญญุตา  รู้จักประมาณตน รู้ตนให้พร้อม พอเหมาะ พอควรที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะมีจะเกิดขึ้น ในอาหาร การกิน การใช้จ่าย

4. ชาคิยานุโยคะ   พิจารณาควบคุมรู้อยู่ในการกระทำที่พึงประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในการสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตาทั้ง 3 ข้อให้ถูกต้องตรงจริง

5 ศรัทธา   เชื่อมันในหลักธรรมคำสอน ปฏิบัติตน รู้ตน เชื่อมั่นในตนว่าปฏิบัติอยู่ในทางที่ถูกต้องดีงามเป็นมัมมาแล้วจริง มีผลเกิดแล้ว เห็นผลแล้ว พากเพียรตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลยิ่งขึ้น

6 หิริ  มีความละอายแก่ใจตนเองเมื่อรู้ว่าตนได้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ ในทางใดทางหนึ่งก็ดี ที่ไม่ถูกไม่ควรแล้ว รู้สึกผิดละอาจตนเอง และจะไม่ทำสิ่งที่ผิดนี้ให้เกิดขึ้นอีกเลย

7 โอตตัปปะ   เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่ตนได้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ไม่ดีไม่งาม ที่เกิดขึ้นนั้นๆ ระวังควบคุมตนไม่ให้เกิดอีก

8 พหุสัจจะ  เห็นอยู่รู้อยู่ เข้าใจอยู่ ในผลของการปฏิบัติ ที่ถูกตรงบริสุทธิ์แท้ พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์ ตั้งใจทำจริง ให้ยิ่งๆ ขึ้นอีก

9 วิริยะ  พากเพียร ประพฤติปฏิบัติ กระทำตนให้ดีให้ได้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก

10. สติ    ควบคุมให้รู้ตัวทั่วพร้อม พิจารณารู้อยู่ เป็นอยู่ในการกระทำทวารทั้ง 6 ทวารนอก 6 ทวารใน

11. ปัญญา รู้แจ้งชัดในทุกสิ่งที่เกิด ที่มี ที่ถูก ที่ควร ได้ยิ่งๆ ขึ้น ปล่อยจิต วางจิต ทำจิตให้สงบ เกิดญานทั้ง 4 ในตนแล้ว

12. ปฐมฌาน  เข้าสู่ความสงบระงับ จิตสงบ พ้นนิวรณ์ 5 ใจปลอดโปร่งติดอยู่ในอารมณ์เดียว (วิตก) มีวิจาร อ่านอยู่ในอารมณ์นั้น จิตเบิกบานเป็นหนึ่งเป็นอิสระ

13 ทุติยฌาน  ระงับวิตกวิจาร มีปิติสุข จิตคิดอ่านอะไร วางวิตก วิจาร จิตเบิกบาน เสวยปิติสุขอยุ่

14. ตติยฌาน   ระงับบปิติ หมดความรู้สึกปิติ  มีสติสัมปชัญญะ ควบคุมตนเอง รู้ตนเองชัด ขณะจิตสงบเสวยสุขอยู่

15. จตุตฌาน  ระดับสุขเป็นอุเบกขา เฉยวางสุข จิตผ่องใส สงบบริสุทธิ์ เป็นเอกถตาจิต จิตเป็นหนึ่ง ที่ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 ถูกต้อง

เอกสารอ้างอิง  หลักการปฏิบัติตนที่จะให้บริสุทธิ์ ส.ศิลป 2525

 



ข่าวจาก: หัสชัย สิทธิรักษ์
วันที่: 07 ก.ย. 2551
เข้าอ่านทั้งหมด: 1940
[ ปิดหน้าต่างนี้ ]
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #33 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2014, 09:41:55 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิชาและจรณะ 15

permalink


 


วิชชาจรณสัมปันโน
มาจากคำ 2 คำ คือ วิชชาและจรณะ คำว่า วิชชา หมายเอาวิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ ความ เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หมายถึง พระพุทธองค์ทรงเห็นแจ้งในสภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เช่น เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา และยังทำให้สรรพสัตว์ ทั้งหลายต้องติดอยู่ในวัฏสงสารและต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งการเห็นแจ้งนั้น ไม่ใช่จะมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ แต่พระพุทธองค์ทรงรู้เห็นได้ด้วยตาธรรม คือ ตาภายใน
มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้
อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เนรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคนได้
ทิพพโสต มีหูทิพย์ มีญาณพิเศษที่จะฟังอะไรก็ได้ยินตามที่ปรารถนา
เจโตปริยญาณ คือ รู้วาระจิตของผู้อื่น
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้ว่า ชาติไหน เกิดเป็นอะไร
ทิพพจักษุ คือ ตาทิพย์ พระองค์ทรงสามารถมองเห็นทุกสิ่งได้หมด ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลอย่างไร และระลึกชาติหนหลังของสัตว์อื่นได้
อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้น คือ ทรงขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป ไม่มีเหลือในขันธสันดานของพระองค์เลยแม้แต่นิดเดียว ดังที่ได้ตรัสกับสคารวมาณพว่า เมื่อจิตเราเป็น สมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นไม่มี
การที่พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา 8 ประการนี้ จึงทำให้พระองค์สามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป และยังสั่งสอนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รู้เห็นจนสามารถกำจัดกิเลสไปได้หมด เหมือนอย่างกับพระองค์ วิชชา จึงเป็นความรู้ที่สามารถจะกำจัดความมืด คือ อวิชชา ให้หมดสิ้นไปได้อย่างถาวร
จรณะ หมายถึง ความประพฤติอันงดงาม มี 15 ประการ ได้แก่
1.ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
2.อินทรีย์สังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
3.โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค
4.ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ
5.ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่น
6.สติ คือ ความระลึกได้
7.หิริ คือ ความละอายบาป
8.โอตตัปปะคือ ความกลัวบาป
9.พาหุสัจจะ คือความเป็นผู้ได้สดับมาก ( พหูสูต )
10.อุปักกะโม คือ เว้นจากพยายามเพื่อฆ่า และพยายามเพื่อลัก
11.ปัญญาและ รวมรูปฌาน 4 รวมเป็น 15สิ่ง เหล่านี้แสดงถึงว่า พระพุทธองค์ทรงมีศีลาจารวัตรที่งดงาม ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง 15 ประการมามากมายหลายภพหลายชาติ จึงทำให้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะจรณะทั้ง 15 ประการ เป็นพื้นฐานที่ทำให้พระองค์มีความหนักแน่น มั่นคงอย่างต่อเนื่องในการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตามความปรารถนาที่ตั้งใจไว้

เพราะฉะนั้น คำว่า วิชชาจรณสัมปันโน จึง หมายความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เพราะพระองค์ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง 15 ประการมาหลายภพหลายชาติ จึงทำให้พระองค์มีวิชชาที่รู้ในสิ่งที่สามารถกำจัดความมืด คือ อวิชชา และบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ด้วยพระองค์เอง
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #34 เมื่อ: มกราคม 08, 2015, 08:32:33 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การเจริญจรณะ ๑๕ นั้น ให้เพียรเจริญปฏิบัติในกุศลกรรมบถ ๑๐

กุศลกรรมบถ ๑๐

            ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี   เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
            ๒. อทินนาทานา เวรมณี   เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
            ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

       ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก

            ๔. มุสาวาทา เวรมณี   เว้นจากพูดเท็จ
            ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี   เว้นจากพูดส่อเสียด
            ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี   เว้นจากพูดคำหยาบ
            ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี   เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

       ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก

            ๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
            ๙. อพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
            ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

       ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #35 เมื่อ: มกราคม 08, 2015, 09:00:48 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกคำหลวงพ่อสอนที่พอจะหวนระลึกได้ โดยบันทึกกอปรกับความเข้าใจของตัวเราเอง หลวงพ่อเสถียรผู้เป็นพระอรหันต์ วัดถ้ำผาแดงผานิมิต บ.ดงเย็น ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นศิษย์ในหลวงตาสิริ อินทระสิริ ผู้เป็นพระอรหันต์สายพระป่าอีกท่านหนึ่ง วันที่ 2-4 ม.ค. 58 เรามีโอกาสได้เข้าไปขอพระกรรมฐานท่านด้วยเพราะเป็นเพื่อนกันกับบุตรชายท่าน ซึ่งบุตรชายท่านก็จะบวชตลอดชีวิตในวันที่ 26 ม.ค. 58 ตอนนี้ได้เข้านาคอยู่ ณ วัดป่าที่เชียงยืน
วันที่ 5 ม.ค. 58 วันครบรอบวันตายเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา เราได้มีโอกาสพาแม่และเป๋าเป่าไไปใส่บาตรท่านเป็นผู้แรกในวันครบรอบวันนิพพานของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ผู้เป็นพระอรหันต์และเป็นครูอุปัชฌาย์เรา

มีคำสอนที่พอจะหวนระลึกได้แล้วบันทึกไว้ตามความเห็นความเข้าใจของเราดังนี้

พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สอนมาง่ายๆ ตั้งแต่

- ศีล เป็นฐานของทุกสิ่ง ให้มีศีลให้ดี ทานจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีศีล ถ้าจะภวายทาน หรือ สังฆทานใดๆ ท่านก็ให้เป็นผู้มีศีลก่อน ทานนั้นจึงจะสำเร็จได้ (พระอรหันต์ทุกๆองค์ก็สอนเรามาเช่นนี้) หลวงพ่อสอนให้ถือกรรมบถ ๑๐ เพราะเป็นศีลของพระอริยะเจ้า มีพระโสดาบันขึ้นไป(เราได้คุยกับบุตรชายหลวงพ่อตอนนำเกสาที่ปลงเข้านาคของยุตรชายท่านไปลอยน้ำที่แม่น้ำชี ณ อำเภอชนบท เนื่องจากบุตรชายท่านทำสมาธิแล้วเกิดนิมิตว่า กรรมบถ ๑๐ คือ มรรค เมื่อได้ถกอนุมานเหตุปัจจัยและผลนั้นตามสมควรแล้วก็เห็นว่า กรรมบถ ๑๐ คือ มรรคศีล (มรรคนี้ประกอบสงเคราะห์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา)
- ทานจะบริบูรณ์ได้ ก็ต้องมีศีลก่อนเท่านั้น ศีลจึงเป็นฐานของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น พรหมวิหาร ๔ ทาน สติ สมาธิ ปัญญา
- ศีลใช้ละกิเลสอย่างหยาบ สมาธิใช้ละกิเลสอย่างกลาง ปัญญา(มรรคญาณ)ใช้ละกิเลสอย่างละเอียด(อุปกิเลส)
- เวลาทำสมาธิก็ให้รู้ลม บริกรรมพุทโธไป อย่าทิ้งลม อย่าทิ้งพุทโธ พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อจิตมันคิดก็รู้ว่ากำลังคิด อย่าติดความคิดอย่าติดนิมิต นิมิตที่เห็นก็แค่สมมติที่จิตมันสร้างขึ้นหลอกให้เราหลงให้ยึดมั่นถือมั่นในมันมันเป็นเครื่องมือของกิเลสทั้งนั้น จิตจริงๆเดิมๆนั้นมันว่างไม่มีอะไรเลย อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน ให้กลับมาอยู่ที่ลมหายใจ อยู่กับพุทโธไปมิให้ขาด (โดยส่วนตัวเราเมื่อพิจารณาแล้วเห็นตามจริงที่หลวงพ่อสอนว่า เมื่อจิตคิดก็รู้ว่า สิ่งที่คิดก็คือสมมติ นิมิตที่เห็นก็แค่สมมติที่จิตมันสร้างขึ้นหลอกให้เรายึดมั่นหลงตาม จิตรู้สิ่งที่คิดก็เป็นสมมติ จิตรู้สิ่งใด คิดสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งนั้น อย่าไปยึดสมมติ อย่าไปหลงตามนิมิตสมมติของกิเลส ของจริงคือลมหายใจ คือ กายสังขาร ลมหายใจเป็นกายสังขาร เป็นกายละเอียด ส่วนอาการทั้ง ๓๒ เป็นกายหยาบ (ซึ่งไม่ได้หมายถึงกายหยาบกายละเอียด มโนมยิทธิแต่อย่างใด แต่เป็นกายหยาบกายละเอียดที่พิจารณาปฏิบัติกรรมฐานล้วนๆเท่านั้น)

- ไม่ต้องไปแยกวิตกวิจาร มันมาด้วยกัน วิตกคือพุทโธ จิตอยู่กับพุทโธคือวิจาร

- กาย ขันธ์ ๕ แยกกาย(วิชาม่างกายในสายพระป่า หรือ วิชาสลายธาตุในมัชฌิมาแบบลำดับ) แยกอาการทั้ง ๓๒ จนไม่เหลือสมมติ หรือ แยกอาการทั้ง ๓๒ ออก สงเคราะห์ลงตามจริงจนเหลือเพียง ธาตุ ๖ คือ ดินธาตุ น้ำธาตุ ลมธาตุ ไฟธาตุ อากาศธาตุ(ช่องว่างในกายในธาตุทั้งปวง) วิญญาณธาตุ(ตัวรู้ทั้งปวง รู้ผัสสะ รู้นามรูปทั้งปวง)

- สฬายตนะ อายตนะภายใน ๖ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ (สฬายตนะเป็นเครื่องมือของจิต เป็นเครื่องต่อให้เกิดกิเลส) เป็นเครื่องต่อให้เกิด วิญญาณ+ผัสสะ ใน สี(รูป) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ สังขารขันธ์ทั้งปวงเป็นต้น สมมติบัญญัติทั้งปวง ไปจนถึง นิพพาน)

- วิญญาณธาตุ(ตัวรู้ทั้งปวง รู้ผัสสะ รู้นามรูปทั้งปวง แต่รู้เพียงสมมติบัญญัติ วิญญาณตา วิญญาณหู วิญญาณจมูก วิญญาณลิ้น วิญญาณกาย วิญญาณใจ (ธรรมารมณ์)) สุดท้ายจนเหลือเพียงแค่สภาวะธรรมไม่มีแม้แต่ชื่อธาตุไรๆทั้งนั้น ไม่มีสภาวะธรรมไรๆที่เป็นชื่อเป็นสมมติบัญญัติ มีแต่สภาวะธรรมล้วนๆ

- จิตนี้ เมื่อรู้อารมณ์ไรๆแล้ว ก็เข้าไปยึดมั่นเกาะเกี่ยวเอาแต่สมมติที่รู้สัมผัสนั้นเป็นเหตุให้เกิดเวทนา จึงเป็นทุกข์

- อารมณ์พระนิพพานเป็นไฉน มีปฐมฌาณเป็นต้น มีความว่าง ว่างเท่านั้น ไม่มีอะไรเลย มีแต่ว่าง จะรู้ก็สภาวะธรรม เห็นโลกเป็นของว่างทั้งหมด

-วิชาแยกกาย..  อาการทั้ง ๓๒ ประการ เช่น ถอดเล็บ ถอดผม ขน ฟัน หนัง ก้อนเนื้อ เส้นเอ็น เลือด กระดูก ก็ไม่มีอะไรทั้งสิ้น

-สฬายตนะเป็นเครื่องมือของจิต จะจิต จะวิญญาณ จะมโน ก็คือ วิญญาณธาตุ ก็คือตัวรู้เท่านั้น จิตทำหน้าที่รู้เท่านั้น จิตอาศัยสฬายตนะเป็นเครื่องให้รู้สิ่งที่ผัสสะ
-อายตนะเป็นเครื่องมือของกิเลส กิเลสอาศัยอายตนะเป็นเครื่องล่าจิต หลอกให้จิตลุ่มหลงของปลอม ติดหลงสมมติ

-จิต คือ ตัวรู้ รู้ทุกอย่าง แต่รู้แค่สมมติบัญญัติ จิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์

-จิตนี้..เป็นตัวรู้ ตัวยึด ตัวจับเอาสมมติทุกอย่างมาเป็นอารมณ์ ให้เกิดเวทนา พอเกิดเวทนา ก็เข้าไปยึดต่ออีก ให้เกิดเป็นกิเลสตัณหา จิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงตัวรู้ รู้เท่านั้น แต่มันรู้แค่สิ่งสมมติ ไม่รู้สภาพจริงหรือปรมัตถธรรมเลย

ตัวเราจริงๆนั้นมีแต่ความว่าง ว่างเท่านั้น ไม่มีอะไรเลย
แต่เพราะอาศัยจิตนั้นแหละเป็นเครื่องรู้ เครื่องยึดมั่นถือมั่น ทำให้เกิดเวทนาและรูปนาม เกิดสมมติบัญญัติ เกิดกิเลสตัณหาสืบมา

เมื่อรู้อกุศลธรรมอันลามกจัญไรเกิดขึ้นมีพุทธานุสสติหรืออานาปานสติเป็นเบื้องหน้า เมื่ออกุศลธรรมดับไปแล้ว ก็ปล่อยให้มันดับไปก็อย่าไปหวนระลึกมัน ให้มันขึ้นมาอีก อย่าเข้าไปยึดมัน ปล่อยมันดับไปของมัน มันเกิดดับเป็นธรรมดา ดับไปๆก็ปล่อยมันดับไป มันเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป มันเป็นไปของมันช่างมันอย่าไปยึดเอามันสักแต่มีไว้รู้เท่านั้น

ร่างกายเราก็เป็นเพียง ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณธาตุเท่านั้นไม่มีสิ่งใด ทุกอย่างไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์

เรื่องที่เราปวดขามันแค่เวทนา จริงๆร่างกายคือธาตุดิน มันไม่รู้อะไรทั้งนั้น ไม่มีความรู้สึกนึกคิด ไม่รู้เจ็บรู้ปวดทั้งสิ้น จิตเท่านั้นที่เป็นตัวรู้ รู้เจ็บ รู้ปวด จริงๆแล้วความเจ็บปวดมันเกิดขึ้นและมันดับไปแล้ว แต่จิตมันรู้เจ็บแล้วไปยึดเอาความเจ็บนั้นมันจึงจับเอาอาการที่ว่าเจ็บปวดนั้นมาเป็นที่ตั้งอารมณ์ มันจึงเจ็บปวดสืบต่อไม่หยุด ทั้งๆที่ ที่จริงมันดับไปนานแล้ว แต่อาศัยจิตนั้นแหละเป็นตัวยึดอารมณ์นั้นๆ มันจึงเจ็บปวดไม่หยุด

- ท่านพ่อลี ธัมมะธะโร สอนนั่งสมาธิ โดยเริ่มที่ฐานเป็นจุดเดิน ๕ จุด ให้ยึดไม่คลอนแคลนโครงเครงเหมือนหลักที่ปักแน่น ดังนี้คือ
1. เริ่มต้นให้จับที่ปลายจมูกหรือโพรงจมูกรู้ลมเข้าออก หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ทำไปให้ถึง 10 อย่างนี้เสร็จรอบหนึ่ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 10 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 10)
2. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 7 ครั้งนี้เสร็จรอบหนึ่ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 7 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 7)
3. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 5 ครั้ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 5 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 5)
4. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 3 ครั้ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 3 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 3)
5. จับที่โพรงจมูกทำจิตเบิกกว้างเปิดให้สบาย แล้วบริกรรม พุทโธ ไปธรรมดา ประมาณสัก 5 - 10 ครั้ง แล้วก็รู้ลมเข้าออกธรรมดาไม่ต้องบริกรรมก็ได้
6. มีสติรู้ลมเข้าออกจิตจดจ่อจับ ๕ จุด คือ ปลายจมูก๑ → กลางหน้าผาก๑ → กลางกระหม่อมส่วนนอก๑ → โพรงกลวงในกระโหลกศีรษะ กลางสมอง(กระหม่อมภายในกลางกระโหลก)๑ (จุดนี้แหละที่ละทุกข์บรรเทาทุกข์เวทนาทั้งปวง) → กลางหน้าอก๑ (จากนั้นจะมาจับตามเฉพาะข้อที่ 5 ก็ได้)

หลวงพ่อเสถียร ก็สอนจุดเดินลมหายใจที่เหมือนๆกันแต่มี ๗ คือ
ปลายจมูก๑ → กลางหน้าผากหรือกลางหว่างคิ้ว๑ → กลางกระหม่อมภายนอก๑ → กลางกระโหลกสมองหรือท้ายทอยบน๑ → คอจุดกลางลูกกระเดือก๑ → กลางหน้าอก๑ → สะดือ(นาภี)๑

(ซึ่งที่หลวงพ่อสอนนี้ ถ้าหากเราจดจำหวนระลึกถึงสิ่งที่หลวงพ่อสอนไม่ผิดเพี้ยน ก็จะเห็นว่าเป็นอันเดียวกับการเดินลมหายใจในสัมโพชฌงค์ ๗ ของมัชฌิมาแบบลำดับ)

- คำสอนหลวงพ่อนี้ เมื่อเราจะหมายพิจารณาในขั้นต้นก็เห็นธรรมในขั้นต้น เมื่อจะหมายพิจารณาในขั้นกลางเป็นสมาธิก็เห็นในสมถะ เมื่อเราหมายจะพิจารณาด้วยปัญญาอันสืบต่อสมาธิก็จะเกิดปัญญาญาณทั้งปวง เมื่อเรามาวิเคราะห์ในธรรมเราก็พิจารณารวมสรุปที่หลวงพ่อสอนตั้งแต่ กาย -> สฬายตนะ -> ผัสสะ -> จิต(วิญญาณ มโน มนะ ตัวรู้ทุกอย่างคือ จิต) -> เวทนา -> {จิตที่รู้อารมณ์สมมติแล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นให้เกิดกิเลสตัณหาสืบมา(วิญญาณ มโน มนะ ตัวรู้ทุกอย่างคือ จิต)} คือ อินทรีย์สังวร
- พระอริยะเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะรู้ก็สักแต่รู้สภาวะธรรมรู้ว่าจิตรู้ผัสสะอันมีสภาวะธรรมนี้ๆเท่านั้นตัดขาดสมมติบัญญัติ ไม่มีตัวตน บุคคลใด มีแต่สภาวะธรรมไม่มีสมมติบัญญัติมีแต่ความว่าง ดังนี้แล้วเมื่อจิตรู้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ ธาตุ รูป นาม อาการอย่างนี้ๆมีชื่อเรียกอย่างนี้ๆ จิตเกิดความคิด วิตก วิจาร อันนี้คือจิตรู้สมมติบัญญัติทั้งหมด เมื่อเข้าไปยึดเอาสิ่งที่รู้ก็เป็นเวทนา เป็นทุกข์ ดังนั้นจะดับเวทนาก็ดับที่ตัวรู้ คือ จิต ดับจิตที่รู้ผัสสะ รู้สมมติทั้งปวง
เมื่อเราได้พิจารณาตามโดยแยบคายในเบื้องลึกแบบปุถุชนอย่างเรา ก็ได้เห็นว่า

๑. สฬายตนะ เป็นประตูรับรู้ผัสสะใน สี เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์
๒. จิต เป็นตัวรู้ รู้ผัสสะรู้ทุกอย่างทางสฬายตนะแต่รู้แค่สมมติ ไม่รู้สภาพจริงเลย
๓. เมื่อจิตรู้สมมติ แล้วเราเข้าไปยึดสมมติที่รู้นั้นมันก็เวทนา เกิดฉันทะ ปฏิฆะ เกิดความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา เกิดความตรึกนึกคิดสืบไป เป็นกิเลส ตัณหา เป็นทุกข์

ดังนั้นถ้าแยกเป็นกองๆตัดที่วิญญาณธาตุอันเป็นตัวรู้ที่รู้สมมตินี้แล้วสักแต่รู้ว่าจิตมันรู้สิ่งนี้ๆเท่านั้น เป็นจิตเห็นจิต จิตก็จะไม่ยึดผัสสะที่รู้ให้เกิดเป็นเวทนาสืบต่อไปให้เป็นทุกข์ เป็นผลอันเกิดจากจอิตเห็นจิต คือ นิโรธ ความดับทุกข์ดังนี้

มรรค นี้ที่ละอุปกิเลส ที่มีในกายและใจเราด้วยปัญญาญาณเป็นการละโดยไม่มีเจตนา คือ ความเห็นธรรมเห็นสภาพธรรม ความไม่เอาสิ่งที่รู้มายึดมั่นถือมั่นเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต
จิตมันรู้สิ่งใดทางสฬายตนะ ก็ให้เรามีมหาสติรู้ว่าจิตมันรู้สิ่งนี้ๆเท่านั้น (สติแบบปุถุชน คือ ระลึกได้ หวนระลึกได้ แยกแยะถูกผิดได้ในปัจจุบันนั้น แต่..มหาสติ คือ ตัวรู้ รู้จริง รู้อยู่ทุกขณะ มีสัมปะชัญญะรู้ตัว ทำให้รู้ตัวทั่วพร้อม รู้กายใจในปัจจุบันเป็นฐาน ทำให้เห็นในสภาพตามจริงอันปราศจากสมมติบัญญัติเป็นผล) ปัจจุบันนี้ๆสิ่งเหล่านั้นที่จิตรู้มันเกิดขึ้น มันดับไปเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดๆ มีแต่สภาวะธรรม เจริญดังนี้แล้วคือมรรค ก็จะปหานอุปกิเลสไดั




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2016, 09:00:29 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #36 เมื่อ: มกราคม 09, 2015, 08:53:12 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 9/1/58


   เราได้ทำสมาธิโดยประมาณ 40 - 60 นาที แบบที่ท่านพ่อลีและหลวงพ่อสอน ก็ให้พิจารณาเห็นว่า จิตนี้มันส่งออกนอก มันคิด มันรู้สิ่งที่คิด มันสืบต่อสิ่งที่คิด มันรู้กาย รู้อิริยาบถ รู้กิจที่กำลังทำ รู้สิ่งที่กำลังเป็นไป เข้าไปเสพย์คิด สืบต่อความคิด เกิดนิมิตมโนภาพบ้าง ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้สักแต่เป็นเพียงสังขารเท่านั้น มันเกิดของมัน ดับไปเองของมัน ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ เมื่อเข้าไปเสพย์อารมณ์ที่รู้ เข้าไปเสพย์ความคิดสืบต่อสิ่งที่คิดก็มีแต่ทุกข์ ใจนี้มันรู้สิ่งที่คิด รู้อารมณ์ทั้งหมด แต่สิ่งที่มันรู้นี้ไม่มีจริงเลยเป็นของปลอม เป็นสมมติบัญญัติทั้งนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีจริง เช่น
- วิตกความตรึกนึกคิดทั้งปวง เมื่อพิจารณาสิ่งที่คิดเรื่องราวที่คิดที่เป็นไปแล้วี้ ก็เห็นว่าสัญญากอปรรวมกับความพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี และ ความปารถทั้งที่อยากและไม่่อยากของตนปรุงแต่งก่อเกิดเรื่องราวขึ้นมา เรื่องราวที่ปรุงแต่งให้เห็นมันก็แค่สมมติทั้งนั้นไม่มีความจริงเลย จิตนี้เมื่อมันรู้ความคิดปรุงแต่งสมมตินั้น มันก็แนบอารมณ์ไปกับสิ่งที่คิดปรุงแต่งสมมตินั้นสืบไป แล้วจิตนี้มันก็ไปยึดมั่นถือมั่นเอาสิ่งสมมติที่สังขารปรุงแต่งเหล่านั้น ที่กิเลสนั้นมันสร้างขึ้นมา ..จิตมันรู้มันยึดเอาความคิดปรุงแต่งสมมติเรื่องราวตามกิเลสทั้งนั้น
- นิมิตมโนภาพทั้งปวง เมื่อเราพิจารณาในมโนภาพแล้วนี้ ก็เห็นว่ามันคิดตามที่ใจปารถนาให้เป็นบ้าง สร้างเรื่องราวสมมติมาบ้างอย่างนั้นอย่างนี้ไม่เป็นจริงเลยสักอย่างไอ้จิตที่มันเป็นตัวรู้นี้และ มันรู้แต่สมมติแล้วก็เสพย์ยึดมั่นถือมั่นเกาะเอาเรื่องสมมติมาเสพย์เรื่องราวว่าจริงบ้าง ว่ารู้เห็นบ้าง ทั้งๆที่นี่มันเป็นเครื่องของกิเลสที่มันสร้างขึ้นมาหลอกเราเท่านั้น มันไม่มีของจริงเลยสักอย่าง ความรู้สึกเวทนาทั้งปวงมันก็เกิดขึ้น ...จิตมันรู้มันยึดเอามโนภาพที่ไม่จริงที่วิตกวิจารที่กิเลสมันสร้างสมมติขึ้นมาทั้งนั้น ทั้งๆที่ไม่เป็นความจริง
- เวทนาทั้งทางกายและใจก็เกิดมีมา มันเกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับแต่ไอ้จิตที่มันไปรู้อารมณ์นั้นแหละไปเกาะจับเอาความรู้สึกนั้นไว้ทั้งๆที่มันดับไปแล้ว ก็เป็นสัญญาจดจำสำคัญหมายรู้ในอารมณ์อาการนั้นๆ แล้วก็ปรุงแต่งไปรู้และเสพย์สมมติไปแล้วก็เสวยอารมณ์สุข ทุกข์ เฉยๆ ชอบ ไม่ชอบ ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจ ปารถนา ไม่ปารถนา ฟุ้งซ่านไปทั่ว ...จิตมันรู้มันยึดเอาแต่สิ่งที่ดับไปแล้วสิ่งที่สมมติขึ้นมาว่าเป็นนั่นเป็นนี่แล้วก็ถือเอาไว้เอามาตั้งไว้ให้เราเสพย์สิ่งที่ดับไปแล้วตามที่กิเลสนั้นมันต้องการทั้งนั้น

- ทีนี้เมื่อเห็นอย่างนี้ก็ให้รู้ว่า จิตมันรู้แต่ของไม่จริงรู้แต่สมมติ จิตมันยึดมั่นถือมั่นก็ยึดแต่ของไม่จริงยึดเอาแต่สิ่งสมมติ
- จิตยึดเอาวิตก อกุศลวิตกปรุงแต่งตรึกนึกคิดเกิดขึ้นมันก็คิดแต่สิ่งไม่จริงคิดแต่เรื่องสมมติเท่านั้น พอจิตมันไปรู้ความคิด น้อมไปในสิ่งที่คิด  แนบอยู่กับสิ่งที่คิด ก็เกิดความสืบต่อเรื่องราวที่สมมติที่ไม่จริงเหล่านั้นขึ้นต่อไปไม่จบไม่สิ้น พอยึดมั่นถือมั่นก็ยึดเอาความคิดสมมติตน ทำให้เห็นเลยว่านี่เราโง่มากนะที่เอาความคิดสมมติไม่จริงทั้งหลายมาเป็นที่ตั้ง
- เวทนาที่จิตมันเข้าไปรู้เข้าไปยึด มันก็แค่สภาวะธรรมที่สมมติขึ้นมาว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้เท่านั้นทั้งๆที่มันดับไปแล้วแต่ไอ้จิตไอ้ตัวรู้นี้แหละที่ยึดมั่นถือมั่นตั้งให้เกิดความจดจำสำคัญหมายรู้มันไว้ ทำให้เวทนานั้นยังค้างอยู่ กายมันเป็นดิน ดินก็ไม่รู้สึกรู้อะไรทั้งนั้น มีแต่ไอ้จิตนี้แหละที่รู้ทุกอย่างที่ยึดทุกอย่าง แต่รู้และยึดแต่สิ่งไม่จริงสิ่งสมมติ

ดังนี้แล้ว ก็ทำให้เรารู้ตามจริงว่า "จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นคือสมมติ" และ "มหาสติ คือ สติ+สัมปะชัญญะ มีอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นคือจริงในปัจจุบัน" แล้วเราจะไปถือเอาอาการไรๆมีอย่างสมมติอย่างนั้นอย่างนี้ไรๆ อารมณ์อันสมมติไรๆ ความคิดตรึกนึกสังขารปรุงแต่งสมมติไรๆที่เป็นของไม่จริงไปทำไม ยึดไปก็มีแต่ทุกข์ ทิ้งความยึดมั่นถือมั่นความรู้สมมตินั้นๆไปเสีย ของจริงที่เกิดขึ้นที่เป้นอยู่ที่มีอยู่จริงๆในปัจจุบันตอนนี้ คือลมหายใจเข้าและออก คือ กายสังขาร ดังนั้นแล้วสิ่งที่เราควรจะยึดจะรู้ไว้เป็นอารมณ์คือของจริงสิ่งจริงที่เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ นั่นก็คือ "ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก" นั่นเอง จากนั้นจิตก็รวมลงเป็นสมาธิ

ทีนี้เมื่อปฏิบัติแล้วทำให้เราเห็นตามจริงในสภาวะธรรมทั้งหมดอย่างที่หลวงพ่อสอนเลย ตัดตัวรู้สมมติจากผัสสะที่เกิดทางสฬายตนะแล้ว ก็เห็นแต่สภาพธรรมจริงๆไม่มีตัวคนบุคลใด สัตว์ใด สิ่งใด ธาตุใด ชื่อใดๆ สมมติบัญญัติไม่มี เวทนาก็ไม่มี มีแต่ความว่างโล่งนิ่งเฉยไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดทั้งสิ้น ทุกข์ก็ไม่มีอีก อินทรีย์สังวร และ ศีลสังวร พระอรหันต์ท่านเจริญปฏิบัติอย่างนี้

หลวงพ่อเสถียร ผู้เป็นพระอรหันต์ ท่านสอนง่ายและนุ่มลึกตรงใจมาก พูดสั่นๆง่ายๆให้เห็นตามจริง พูดภาษาชาวบ้านทั่วไปแต่ถึงได้จริง ไม่ต้องไปไล่ให้เห็นในอภิธรรมปรมัตถสังคหะก็ให้ถึงใจได้จริง เปลื้องจิตใจเราออกหมดจนไม่อยากจะยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดในขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล้ว ทำให้เกิดสมาธิขึ้นแทบทุกทั้งที่ระลึกถึง

**แต่ก็เราก็ยังทำไม่พอ ยังไม่ถึง ยังเป็นโลกียะ เป็นเพียงขณิกสมาธิสั้นๆบ้าง เพียง 10 นาที - 30 นาทีบ้าง แล้วมันก็ดับไป ยังทำให้เกิด เวทนา และ กิเลสทั้งปวงอยู่ เรายังเพียงแค่ปุถุชนเท่านั้น ยังไม่ถุงสันดานพระอริยะเจ้า จึงไม่ควรหลงปัญญา ไม่ควรหลงตน สิ่งที่รู้ ปัญญาที่เกิด ญาณที่เกิดมันก็ดับไปแล้ว ยังคงอยู่แต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัญญาความจำได้หมายรู้ในสิ่งที่ผ่านมาแล้วทั้งนั้น




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 10, 2015, 08:53:41 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #37 เมื่อ: มกราคม 10, 2015, 08:53:45 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 10/1/58


ทำสมาธิแบบท่านพ่อลีและหลวงพ่อสอน คือ

- ท่านพ่อลี ธัมมะธะโร สอนนั่งสมาธิ โดยเริ่มที่ฐานเป็นจุดเดิน ๕ จุด ให้ยึดไม่คลอนแคลนโครงเครงเหมือนหลักที่ปักแน่น ดังนี้คือ
1. เริ่มต้นให้จับที่ปลายจมูกหรือโพรงจมูกรู้ลมเข้าออก หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ทำไปให้ถึง 10 อย่างนี้เสร็จรอบหนึ่ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 10 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 10)
2. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 7 ครั้งนี้เสร็จรอบหนึ่ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 7 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 7)
3. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 5 ครั้ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 5 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 5)
4. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 3 ครั้ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 3 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 3)
5. จับที่โพรงจมูกทำจิตเบิกกว้างเปิดให้สบาย แล้วบริกรรม พุทโธ ไปธรรมดา ประมาณสัก 5 - 10 ครั้ง แล้วก็รู้ลมเข้าออกธรรมดาไม่ต้องบริกรรมก็ได้
6. มีสติรู้ลมเข้าออกจิตจดจ่อจับ ๕ จุด คือ ปลายจมูก๑ → กลางหน้าผาก๑ → กลางกระหม่อมส่วนนอก๑ → โพรงกลวงในกระโหลกศีรษะ กลางสมอง(กระหม่อมภายในกลางกระโหลก)๑ (จุดนี้แหละที่ละทุกข์บรรเทาทุกข์เวทนาทั้งปวง) → กลางหน้าอก๑ (จากนั้นจะมาจับตามเฉพาะข้อที่ 5 ก็ได้)

หลวงพ่อเสถียร ก็สอนจุดเดินลมหายใจที่เหมือนๆกันแต่มี ๗ คือ
ปลายจมูก๑ → กลางหน้าผากหรือกลางหว่างคิ้ว๑ → กลางกระหม่อมภายนอก๑ → กลางกระโหลกสมองหรือท้ายทอยบน๑ → คอจุดกลางลูกกระเดือกหรือใต้ลูกกระเดือก๑ → กลางหน้าอก๑ → สะดือ(นาภี)หรือเหนือสะดือ 2 นิ้ว๑

(ซึ่งที่หลวงพ่อสอนนี้ ถ้าหากเราจดจำหวนระลึกถึงสิ่งที่หลวงพ่อสอนไม่ผิดเพี้ยน ก็จะเห็นว่าเป็นอันเดียวกับการเดินลมหายใจในสัมโพชฌงค์ ๗ ของมัชฌิมาแบบลำดับ)







พิจารณาเห็นว่าที่หลวงพ่อสอนนี้คือธรรมอันคลายความยึดมั่นถือมั่น ละจิตที่ไปยึดเกาะเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวง เป็นธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เป็นธรรมเครื่องดับเวทนาทั้งปวง เป้นธรรมอันสังวรในอินทรีย์ เป็นธรรมอันดับสังขาร เป็นธรรมที่ทำลายอวิชชา ไม่ให้เกิดเป็นอิทัปปัจจยตา คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

   สิ่งที่หลวงพ่อสอนว่าจิตเป็นตัวรู้ รู้ทุกอย่าง แต่มันรู้แต่สมมติเท่านั้น เราปฏิบัติเราก็เห็นตามจริงว่า ความคิดที่เกิดก็สมมติ มันปรุงแต่งเรื่องราวสมมติไปตามกิเลสตน มันรู้ผัสสะทางสฬายตนะใดๆมันก็รู้ที่เป็นสมมติทั้งนั้น ไม่มีจริงเลย จิตมันรู้แล้วสิ่งใดแล้วมันก็ดับ จิตมันก็รู้สิ่งเกิดขึ้นและดับไปแล้ว มันไม่คงอยู่ได้นาน ตั้งตั้งอยู่ตลอดไป มันไม่เที่ยง เราจะบังคับให้จิตมันไปรู้สิ่งนั้นสิ่งนี้ตามใจเราปารถนาก็ไม่ได้ จิตนี้มันจึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน ความไปยึดมั่นถือมั่นในจิต ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่จิตมันรู้นี้แหละ จึงเป็นทุกข์ เช่น

- จิตมันรู้สิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นสมมติทั้งหมด ไม่ว่าจะจิตรู้รูปทางตาสิ่งที่เห็นเป็นคน สัตว์ สิ่งของไรๆมันก็สมมติทั้งนั้น จะเป็นสังขารปรุงแต่งทั้งปวง จะความคิดหรือเรื่องราวสิ่งที่คิดสังขารมันก็สมมติขึ้นมาหลอกล่อตามกิเลสทั้งนั้น ถึงแม้เรื่องราวสิ่งที่คิดนั้นมันจะเคยเกิดขึ้นจริงแต่ว่าเรื่องราวสิ่งนั้นๆมันดับไปแล้วไม่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่สังขารมันเข้าไปปรุงแต่งกับสัญญาสร้างสมมติเรื่องราวต่างๆที่ดับไปแล้วเหล่านั้นขึ้นมาใหม่ แล้วปรุงไปตามกิเลสหลอกล่อให้เราไปเสพย์ไปหลงติดในความคิดสมมติที่สังขารกับสัญญามันสร้างขึ้นหลอกให้จิตมันรู้มันยึดเสพย์ความคิดสิ่งที่คิดเป็นที่ตัังอารมณ์แห่งจิต ให้เสมือนดังว่าเรื่องราวเหล่านัันกำลังเกิดขึ้นจริงอยู่ในปัจจุบันตามที่กิเลสมันหลอกจนเราเป็นทุกข์ตามที่กิเลสมันต้องการ นี่เท่ากับเราโง่ไปติดความคิดสมมติที่กิเลสมันสร้างขึ้นให้จิตมันรู้มันเกาะยึดเลย จะมโนภาพสังขารมันก็สมมติขึ้นมาหลอกล่อตามกิเลสทั้งนั้น จะความรู้สึกแบบนั้นแบบนี้มีชื่อแบบนั้นแบบนี้มันก็สมมติทั้งหมด

- สังขารขันธ์ก็แค่สภาวะธรรมที่ปรุงแต่งจิตเท่านั้น แต่สิ่งที่ปรุงแต่งให้จิตรู้นั้นก็ไม่จริงมันสมมติทั้งนั้น สังขารมันก็มันเกิดแล้วก็ดับไม่เที่ยง บังคับให้มันเป็นแบบนั้นแบบนี้ตามใจไม่ได้มันไม่มีตัวตน ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นความปรุงแต่งสมมติก็เป็นทุกข์

- ธัมมารมณ์ทั้งปวงที่จิตมันรู้ มันเป็นเพียงแค่สิ่งสมมติทั้งหมด

- ทั้งๆที่สภาพจริงมีมีแค่สภาวะธรรมที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรเลยว่างเปล่าทั้งนั้น สิ่งที่รู้ก็ดับไปแล้ว จิตที่รู้ก็ดับไปแล้ว เรานั้นแลไปเกาะเกี่ยวเอาสิ่งที่จิตมันรู้มาจำไว้ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ จึงเกิดเวทนา เป็นไปตามกิเลสตัณหาทั้งปวงแล้วก็เป็นทุกข์สืบมา

   ดังนั้นเมื่อเรารู้เห็นตามจริงว่าจิตมันรู้ทุกอย่างแต่สิ่งที่มันรู้นั้นเป็นสมมติทั้งนั้น ความเข้าไปยึดเอา จิต เจตสิก หรือ วิญญาณ สังขารไรๆก็ไม่มี ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นความปรุงแต่งสมมติไรๆก็ไม่เกิดขึ้น เวทนาสุขหรือทุกข์ก็ไม่มีสืบต่อ วงจรมันก็อยู่แค่วิญญาณ { [รูป]+[ตา](สฬายตนะ)+[วิญญาณ] --> จึงเกิดผัสสะขึ้นมาได้ --> จึงเกิดเวทนาสืบต่อมาได้ ดังนั้น เมื่อดับหรือหยุดอยู่ที่วิญญาณ ผัสสะอันสมมติให้เกิดเวทนาจนเกิดกิเลสตัณห่ก็ไม่มีอีก} เมื่อรู้ที่วิญญาณดับที่วิญญาณ นามรูปก็ไม่เกิดขึ้นให้เป็นเวทนาและตัณหาสืบต่อมา) มีแต่อินทรีย์สังวร ศีลสังวร อบรมกายและอบรมใจอยู่ เปลื้องจิตออกจากสมมติทั้งปวง แล้วทุกขสัจจ์ก็ไม่มี ทำให้ตัดวงจรของกฏอิทัปปัจจยตาโดยสิ้นเชิง

   นั้นเพราะอะไร เพราะการเจริญปฏิบัตินี้ไม่ต้องเพ่งไม่ต้องไปจ้องเอาสภาพปรมัตถธรรมให้ยากเลย แต่รู้เท่านั้น มีสติ+สัมปะชัญญะ คือมีมหาสติรู้เท่านั้น รู้จิตว่ามันรู้สมมติ รู้ขันธ์ว่าไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เมื่อรู้อย่างนี้สภาวะธรรมแท้ๆจริงๆอันเป็นปรมัตถธรรมมันก็เกิดเองเห็นเองตามจริง ไม่ต้องไปนั่งท่องจำอภิธรรมปรมัตถสังคหะ ไม่ต้องไปท่องจำพระไตรปิฏก ไม่ต้องไปนั่งฟังบรรยายผู้ที่จบมหาเปรียญ ๙ แต่ยังเข้าไม่ถึงธรรม

   เพราะผู้เรียนมากอ่านมากแต่เข้าไม่ถึง จะต้องอิงตำรานั่นนี่มามากมายอนุมานจดจำเข้ารวมกันมีสภาวะอย่างนั้นอย่างนี้ไปสร้างสัญญาเพิ่มให้เราอีกว่าต้องเห็นอย่่างนั้นอย่างนี้จึงจะถูก เรียกชื่อสภาวะธรรมเป็นภาษาบาลีเป็นสภาพปรัมตถธรรมปรุงแต่งอย่างนั้นอ่างนี้ ทั้งๆที่สิ่งที่รู้เห็นนั้นไม่จริง แค่สมมติอนุมานเอาเท่านั้น
   ส่วนผู้เข้าถึงธรรมแล้วนั้น ท่านจะพูดภาษาโลกให้เรารับรู้ง่ายๆสั้นๆ แต่เห็นได้จริงถึงจริงรู้ได้ตามจริง ไม่ต้องไปอ้างไล่เสาะหาภาษาบาลีภาษาธรรมภาษาปริยัติมานั่งไล่ว่าจิตตัวนั้นร่วมกับตัวนี้เกิดขึ้นอย่างนั้นอย่างนี้ ธรรมารมณ์เป็นสังขารเป็นนิพพานอย่างนั้นอย่างนี้ให้ยุ่งยากเลย ท่านจะบอกจุดสำคัญให้รู้ ให้มี ให้ยึดมาเจริญพิจารณาเท่านั้น เมื่อชี้ให้เราเห็นตามจริงแล้วก็ให้เจริญใน

๑. ศรัทธา มีศรัทธา ๔ คือ
- กัมมสัทธา เชื่อว่า กรรมมีจริง
- วิปากสัทธา เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง
- กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนจริง
- ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ การตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า

๒. เมื่อมีศรัทธาเป็นกำลังก็ตั้งเอา ศีล เป็นฐาน เมื่อมีศีลเป็นฐานก็เกิดเป็น พรหมิวหาร๔ ทาน ได้สมบูรณ์

๓. วิริยะ

๔. สติ

๕. สมาธิ

๖. ปัญญา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2015, 10:02:01 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #38 เมื่อ: มกราคม 11, 2015, 12:21:14 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


บันทึกกรรมฐาน วันที่ 11/1/58


เจตนามี ณ ที่ใด ความตรึกถึง คำนึงถึง ปารถนาไรๆก็มี ณ ที่นั้น

- การละกิเลสอย่างหยาบที่เกิดโดยเจตา.. จึงอาศัยการละด้วยเจตนา มีกรรมฐาน ๔๐ คือ สมถะภาวณาทั้งหลาย

- การละอาสวะกิเลส อุปกิเลสไรๆ ที่เกิดโดยไม่เจตนา... จึงละโดยไม่อาศัยเจตนา นั่นคือ มรรค ๘ ให้เป็นมรรคญาณ เป็นปัญญา วิปัสสนาญาณมีลักษณะตัดให้ขาดดังนี้ มรรคญาณก็อาศัยการรู้อย่างที่หลวงพ่อสอนนี้แลเป็นตัวตัดโดยไม่อาศัยเจตนา




ก. กาย.. กายเรานี้มันก็มีแค่ อาการทั้ง ๓๒ ประการรวมกันจึงเห็นเป็นทั้งเราและเขา มีอะไรเหมือนกัน คือ เป็นธาตุ ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไป อากาศ วิญญาณที่สงเคราะห์รวมกันเป็นคน สัตว์ สิ่งของกำเนิดขึ้นมาเหมือนกันหมด สิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่นานมีความเสื่อมไปทุกวัน บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นทุกข์
- กาย คือ รูปขันธ์ นี้.. เมื่อเห็นอยู่เบื้องหน้าเรานี้ ก็เป็นเพียง อาการทั้ง ๓๒ ประการอาศัยหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ ซึ่งหนังที่หุ้มอยู่มีความสงเคราะห์ลงในธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ที่ต่างกันให้เกิดเป็น สีขาว แคง ชมพู เหลือง น้ำผึ้ง เขียว น้ำตาล ดำ เนียน นุ่ม ละเอียด งามประณีต กระด้าง หยาบไม่งาม เป็นต้น
- การพิจารณาละในรูปภายนอกที่เห็น เมื่อเห็นรูปขันธ์ในเบื้องหน้า เป็นคน เพศหญิง เพศชาย เป็นรูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ งาม ไม่งาม เลียด หยาบ ประณีต ไม่ประณีต เป็นสัตว์ หมู หมา กา ไก่ สัตว์ชนิดนั้นๆนี้ๆ เป็นสิ่งของ ตึก รถ บ้าน ข้าวสิ่งของอย่างนั้นอย่างนี้ ให้พิจารณาดังนี้คือ
๑. มีอานาปานสติ รู้ลมหายใจเข้า-ออกเป็นเบื้องตั้นไว้ภายใน หรือ เอาพุทธานุสสติ คือ "พุทโธ" ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ไม่หลงในรูปสมมติทั้งปวงนั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต กำหนดเอาคำบริกรรมนั้นตามลมหายใจเข้า-ออก ฟรือ ระลึกเอาคุณแห่งความเป็นผู้ไกลจากกิเลส ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง คือ "อรหัง" มาเป็นที่ตั้งระลึกบริกรรมตามลมหายใจเข้า-ออก ดึงสติสัมปชัญญะขึ้นมาเป็นเบื้องต้น เพื่อให้จิตสงบมีกิเลสเบาบางลงก่อน
๒. อสุภะ ๑๐ ให้พิจารณาเป็นซากศพต่างๆ "โดยส่วนตัวเราพิจารณาเป็นซากศพที่หนังเปิดขึ้นให้เห็นก้อนเนื้อ เส้นเลือด เส้นเอ็น น้ำเลือด น้ำหนอง และ อวัยวะภายในต่างๆ เห็นกายภายในเขามีอวัยวะต่างๆเป็นอาการทั้ง ๓๒ ประการ จนนิ่งแช่แน่วแน่อยู่ในภาพนิมิตนั้น"
๓. จากนั้นถอยมามองรูปภายนอกที่เห็นอยู่อันมีอาการทั้ง ๓๒ ประการ เหล่านี้กอปรสงเคราะห์กันขึ้นมาเป็นรูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ อันมีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ซึ่งแต่ละกองรูปขันธ์นั้นๆต่างกันแค่สีหนังที่หุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ สีขาว แคง ชมพู เหลือง น้ำผึ้ง เขียว น้ำตาล ดำ เนียน นุ่ม ละเอียด งาม ประณีต กระด้าง หยาบ ไม่งาม ไม่ประณีตเป็นต้น "จากนั้นให้สงเคราะห์ลงเป็นหนังหุ้มแห้งติดกระดูก"
๔. พิจารณาตามจริงว่า รูปขันธ์ อาการทั้ง ๓๒ ประการนี้ ก็เป็นเพียง ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ สงเคราะห์กันกอปรกันขึ้นมาให้มีกองเป็นรูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งจริงๆแท้จริงมันเป็นเพียงธาตุเท่านั้น รูปขันธ์ เนื้อ ปอด ตับ ไต กระดูก ม้าม หนังทั้งหลายที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้าก็เป็นกองธาตุดินทั้งนั้น เลือด น้ำดี เสลดภายในก็เป็นธาตุน้ำ อุณหภูมิยังกายให้แอบอุ่นและย่อยอาการภายในก็เป็นธาตุไฟ ลมที่พัดขึ้นพัดลง ลมหายใจก็เป็นแค่ธาตุลม อากาศธาุตที่เป็นช่องว่างที่แทรกอยู่ในทุกอณูของร่างกายของธาตุทั้งปวง มันก็มีอยู่แค่นั้น
๕. ใช้ไฟเผารูปขันธ์ที่เห็น โดยเอาเผาทีละส่วนๆแล้วลอกออกที่ละอาการๆ โดยเริ่มจากลอก เล็บ ผม ขน หนังที่หุ้มเป็นที่สุดรอบ ไปจนจบหมดทั้ง ๓๒ ประการ จนไม่เหลืออะไรอยู่เลยเป็นวิชาม่างกาย จะเห็นว่า ไม่มีเราในรูป-ไม่มีรูปในเรา ดังนี้
๖. จะเห็นว่ากองรูปขันธ์ที่ยังคงอยู่ได้ ดำรงอยู่ได้ เพราะอาศัยลมนี้แหละพยุงไปในกายอยู่ อาศัยลมหายใจนี้แหละพยุงกายไว้ให้ดำรงอยู่ ลมหายใจจึงเป็นเรื่องของกายสังขาร ลมหายใจที่แทรกไปทั่วร่างกายคือกายละเอียดที่มีอยู่ในกายหยาบเรานี้ ลมหายใจจึงเป็นกาย ลมหายใจนี้มีอยู่จริงเกิดอยู่จริง รับรู้ได้จริงอยู่ทุกขณะในปัจจุบันนี้ "ดังนั้น การรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ตจลอดเวลา จึงเป็นเรื่องจริงของจริง สภาวะจริง ที่มีอยู่ในกายเรา การให้จิตจับที่ลม มีสติรู้ลมเข้าออก มีสัมปชัญญะรู้สภาวะกายที่เป็นไปในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นกิจการงานไรๆดำเนินไปอย่างไรในปัจจุบัน เป็นการรู้ความจริง รู้สภาพวะจริงที่มีในกายนี้ ความจริงที่เป็นไปในกายนี้ นี่เรียกว่าชักจูงหาการงานชอบให้ จิต"




ข. จิต.. จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด จิตรู้รูปว่าเป็นสีเขียว น้ำเงิน ขาว เหลือง แดง อย่างนั้นอย่างนี้ๆเป็น คน สัตว์ สิ่งของ เป็นเสียงอย่างนี้ๆ กลิ่นอย่างนี้ๆ รสอย่างนี้ๆ ความรู้สัมผัสทางกายอย่างนี้ๆ รู้ผัสสัใจว่าเป็นคนนั้น คนโน้น คนนี้ อาการความรู้สึกอย่างนี้ๆคือรัก นี่โลภ นี่โกรธ นี่หลง รู้เรื่องราวเสพย์ในสิ่งที่คิด รู้นิมิตมโนภาพ เห็นนิมิตมโนภาพว่าเป็นนั่นเป็นนี่ รู้ว่านี่คือสุข นี่คือทุกข์ นี่คือเฉยๆ นี่ชอบ นั่นไม่ชอบ นี่สวยงาม นี่ไม่สวย เป็นต้น รู้แบบนี้เห็นแบบนี้ มันคือ สมมติทั้งหมด
- เมื่อเจริญไปอยู่อย่างนี้ๆจิตก็ไม่จับเอาอะไรเลย เพราะรู้สิ่งใด จับสิ่งใดๆก็มีแต่สมมติ มีแต่ทุกข์ จิตก็มีแต่ว่าง หลับก็ง่าย หลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน ทำสมาธิก็ง่าย




- เมื่อจะทำสมาธิ จิตมันไปรู้คิด เสพย์ความคิดเรื่องราวสิ่งที่คิด ไปเห็นมโนภาพ ไปรู้ภายนอก ไปรู้อาการไรๆ เราก็พึงรู้ว่า ที่จิตมันรู้มันเสพย์มันยึดอยู่นี้เป็นของสมมติทั้งปวง จิตมันรู้สมมติตามปะสาของมันไป ให้เอาสติดึงจิตกลับมารู้ที่ว่า "สภาวะธรรมของจริงที่มีอยู่ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ปัจจุบันนี้ คือ ลมหายใจเข้า-ออก เป็นกายสังขาร เป็นของละเอียดแห่งกายที่มีอยู่จริง เป็นของจริงที่ดำรงอยู่ดำเนินไปในกายอยู่" ให้จิตรู้มีสติระลึกรู้ลมที่เข้าและออก ตั้งหลักปักแน่นที่ปลายจมูกไม่คลอนแคลนเอนเอียงไปตามลมเข้าลมออก มีสัมปะชัญญะรู้ตัวว่ากำลัีงทำสมาธิพิจารณาลมหายใจเข้าออกอยู่ สติก็จะเกิดกับจิตรู้ลมหายใจเข้า-ออก สัมปชัญญะมันก็จะมีมากรู้สภาวะกายที่กำลังดำเนินไปขณะที่มีลมเข้าออก จิตก็จะสงบว่าง มีแต่ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น

วันนี้นั่งสมาธิประมาณ 2 ชั่วโมง มีโทรศัพท์เข้าจึงออกจากสมาธิมา จิตอยู่กับลมหายใจที่เป็นของจริงที่มีอยู่ตลอดเวลา มีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน กรรมฐานอย่างนี้ พิจารณาอย่างนี้ ดำเนินไปอย่างนี้ คือสภาวะจริง เป็นการเข้าถึง มรรค ๘ โดยแท้จริง




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2015, 01:43:22 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #39 เมื่อ: มกราคม 12, 2015, 01:47:22 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


บันทึกกรรมฐาน วันที่ 12/1/58


วันนี้เข้ามาทำงานแต่ทรงสติ สัมปะชัญญะ มีสมาธิอันพอสงบไจไว้อยู่ทุกขณะจิต เจริญปฏิบัติ ตามธรรมปฏิบัติที่หลวงพ่อสอนเสถียร และ ท่านพ่อลี ธัมมะธะโร สอน ทรงอารมณ์นั้นไว้อยู่ ผลที่ได้ คือ ความฟุ้งน้อยลงจนแทบไม่มี ความคิดน้อยลง จะคิด จะพูด จะเห็นอันใดก็เป็นสิ่งสมมติทั้งนั้น จึงนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่พูด มีแต่ว่าง จริตไม่เกาะเกี่ยว แยก กาย จิต เวทนา ออกจากอาการเจ็บปวดของกายสังขาร ทรงความว่างไม่ปรุง ไม่จับ ไม่ยึด ไม่เจตนา ไม่คิด ไม่ปารถนา มีแต่สภาพที่ว่าง และ ว่าง สงบ เบาโล่งกายใจ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีเห็นก็สมมติเท่านั้น แต่ไม่เกาะยึดเอาสภาวะธรรมอันสมมติอีก มีแต่สภาว่างๆ สภาวะธรรมนั้นๆเกิดให้สติมัปะชัญญะรู้คู่จิต จิตมันจะไปรู้สมมติก็ไม่ยึดจิตนั้นอีก




ว่าด้วยเรื่อง จิตเสพย์กิเลส

๑. จิตเสพย์โลภะ.. คือ จิตมันไปรู้ผัสสะในอารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ แล้วเกิดเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ความสุข ความพอใจยินดี ติดใจ น่าใคร่ปารถนา มีใจใฝ่หาอยู่ ยึดมั่นถือมั่นทะยานอยากได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆ
- นั่นเพราะว่าจิตมันไปรู้สิ่งสมมติปรุงแต่งจิตไรๆทางสฬายตนะ ไม่ว่าจะเป็น
ก. ทางตา.. ได้เห็น เป็นคน สัตว์ สิ่งของไรๆ มีสภาพรูปร่างอย่างใด มีการดำเนินการทำไปในอิริยาบถไรๆ
ข. ทางหู.. ได้ยินเสียง เป้นถ้อยคำวาจาคำพูดไรๆ มีความหายอย่างไร เป็นเสียงของอะไร ของใคร
ค. ทางจมูก.. ได้กลิ่นเหม็น หอม เป็นกลิ่นของอะไร กลิ่นจากคนใด สัตว์ใด สิ่งใด
ง. ทางลิ้น.. ได้รู้รส รู้ว่ารสชาตินี้ หวาน ขม จืด เค็ม เปรี้ยว กลมกล่อม อร่อย ไม่อร่อย
จ. ทางกาย.. ได้รู้สัมผัสทางกายอย่างนี้ๆรู้ว่ามันอ่อน มันแข็งมันนุ่ม มันลื่น มันหยาบ มันเสียว มันเจ็บ มันปวด มันทิ่ม มันสบาย มันเป็นคน เป็นอวัยวะส่วนใดมากระทบให้รู้สึก เป็นสัตว์ไรๆ สิ่งไรๆที่มากระทบให้รู้สึก
ฉ. ทางใจ.. ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ ความตรึกนึกคิด หวนระลึกถึงสิ่งไรๆที่ผ่านไปแล้วกับไปแล้วมาผปรุงแต่งสมมติเรื่องราวขึ้นใหม่ ตรึกนึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วสมมติ แล้วสืบต่อมาสมมติปรุงแต่งไปต่างๆนาๆให้จิตรู้ว่าเป็นสิ่งนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นคนนั้นคนนี้ เพศนั้นเพศนี้ สัตว์นั้นสัตว์นี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ สีนั้นสีนี้ สืบต่อเกิดเป็นความคิดสมมติปรุงแต่งไปอย่างนั้น หวนระลึกถึงสิ่งไรๆที่ผ่านไปแล้วกับไปแล้วมาผปรุงแต่งสมมติเรื่องราวขึ้นใหม่ ตรึกนึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วสมมตินึกคิดเป็นเรื่องราวต่างๆนาๆ
- แล้วจิตมันเข้าไปยึดจับเอาสิ่งที่รับรู้มา ทั้ง ๖ ทางนั้นไว้(ก-ฉ) แล้วเสพย์สิ่งสมมติที่มันรู้แล้วยึดถือเอาไว้นั้นประกอบกับความจำสำคัญมั่นหมายของใจนั้น ตามที่กิเลสมันสร้างขึ้นล่อหลอกให้จิตรู้ให้จิตมันยึดมั่นถือมั่น จนเป็นความโลภ ความติดใจ ความกำหนัด ทะยานอยาก เป็นทุกข์

๒. จิตเสพย์โทสะ.. คือ จิตมันไปรู้ผัสสะในอารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ แล้วเกิดเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ความทุกข์ ความไม่พอใจยินดี ขัดใจ ไม่ใคร่ปารถนา มีใจใฝ่ออกอยู่  ยึดมั่นถือมั่นทะยานอยากจะผลักอารมณ์นั้นๆหลีกหนีไปให้ไกลตน
- นั่นเพราะว่าจิตมันไปรู้สิ่งสมมติปรุงแต่งจิตไรๆทางสฬายตนะ ไม่ว่าจะเป็น
ก. ทางตา.. ได้เห็น เป็นคน สัตว์ สิ่งของไรๆ มีสภาพรูปร่างอย่างใด มีการดำเนินการทำไปในอิริยาบถไรๆ
ข. ทางหู.. ได้ยินเสียง เป้นถ้อยคำวาจาคำพูดไรๆ มีความหายอย่างไร เป็นเสียงของอะไร ของใคร
ค. ทางจมูก.. ได้กลิ่นเหม็น หอม เป็นกลิ่นของอะไร กลิ่นจากคนใด สัตว์ใด สิ่งใด
ง. ทางลิ้น.. ได้รู้รส รู้ว่ารสชาตินี้ หวาน ขม จืด เค็ม เปรี้ยว กลมกล่อม อร่อย ไม่อร่อย
จ. ทางกาย.. ได้รู้สัมผัสทางกายอย่างนี้ๆรู้ว่ามันอ่อน มันแข็งมันนุ่ม มันลื่น มันหยาบ มันเสียว มันเจ็บ มันปวด มันทิ่ม มันสบาย มันเป็นคน เป็นอวัยวะส่วนใดมากระทบให้รู้สึก เป็นสัตว์ไรๆ สิ่งไรๆที่มากระทบให้รู้สึก
ฉ. ทางใจ.. ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ ความตรึกนึกคิด หวนระลึกถึงสิ่งไรๆที่ผ่านไปแล้วกับไปแล้วมาผปรุงแต่งสมมติเรื่องราวขึ้นใหม่ ตรึกนึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วสมมติ แล้วสืบต่อมาสมมติปรุงแต่งไปต่างๆนาๆให้จิตรู้ว่าเป็นสิ่งนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นคนนั้นคนนี้ เพศนั้นเพศนี้ สัตว์นั้นสัตว์นี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ สีนั้นสีนี้ สืบต่อเกิดเป็นความคิดสมมติปรุงแต่งไปอย่างนั้น หวนระลึกถึงสิ่งไรๆที่ผ่านไปแล้วกับไปแล้วมาผปรุงแต่งสมมติเรื่องราวขึ้นใหม่ ตรึกนึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วสมมตินึกคิดเป็นเรื่องราวต่างๆนาๆ
- แล้วจิตมันเข้าไปยึดจับเอาสิ่งที่รับรู้มา ทั้ง ๖ ทางนั้นไว้(ก-ฉ) แล้วเสพย์สิ่งสมมติที่มันรู้แล้วยึดถือเอาไว้นั้นประกอบกับความจำสำคัญมั่นหมายของใจนั้น ตามที่กิเลสมันสร้างขึ้นล่อหลอกให้จิตรู้ให้จิตมันยึดมั่นถือมั่น จนเป็นความขัดเคืองใจ โกรธ เกลียด แคียดแค้น ทะยานอยาก เป็นทุกข์

๓. จิตเสพย์โมหะ.. คือ จิตมันไปรู้ผัสสะในอารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ แล้วเกิดเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ความว่างนิ่งเฉยที่หน่วงโน้มจิตปิดกั้นตนจากความรู้ในปัจจุบันขณะ ความข้องโน้มใจชักจูงให้เกี่ยวพันยึดมั่นถือมั่นแนบแน่นในอารมณ์ความรู้สึกอันใดโดยปิดกั้นสติสัมปะชัญญะให้ไม่มีความรู้กายรู้ใจในปัจจุบัน เกิดความไม่รู้จริง ไม่เห็นจริง ไม่รับรู้ ยอมรับสิ่งไรๆ แล้วเสพย์หลงในอารมณ์นั้นๆสืบไปโดยไม่มีสิ้นสุด ความยึดมั่นถือมั่นในสมมติทั้งปวง
- นั่นเพราะว่าจิตมันไปรู้สิ่งสมมติปรุงแต่งจิตไรๆทางสฬายตนะ ไม่ว่าจะเป็น
ก. ทางตา.. ได้เห็น เป็นคน สัตว์ สิ่งของไรๆ มีสภาพรูปร่างอย่างใด มีการดำเนินการทำไปในอิริยาบถไรๆ
ข. ทางหู.. ได้ยินเสียง เป้นถ้อยคำวาจาคำพูดไรๆ มีความหายอย่างไร เป็นเสียงของอะไร ของใคร
ค. ทางจมูก.. ได้กลิ่นเหม็น หอม เป็นกลิ่นของอะไร กลิ่นจากคนใด สัตว์ใด สิ่งใด
ง. ทางลิ้น.. ได้รู้รส รู้ว่ารสชาตินี้ หวาน ขม จืด เค็ม เปรี้ยว กลมกล่อม อร่อย ไม่อร่อย
จ. ทางกาย.. ได้รู้สัมผัสทางกายอย่างนี้ๆรู้ว่ามันอ่อน มันแข็งมันนุ่ม มันลื่น มันหยาบ มันเสียว มันเจ็บ มันปวด มันทิ่ม มันสบาย มันเป็นคน เป็นอวัยวะส่วนใดมากระทบให้รู้สึก เป็นสัตว์ไรๆ สิ่งไรๆที่มากระทบให้รู้สึก
ฉ. ทางใจ.. ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ ความตรึกนึกคิด หวนระลึกถึงสิ่งไรๆที่ผ่านไปแล้วกับไปแล้วมาผปรุงแต่งสมมติเรื่องราวขึ้นใหม่ ตรึกนึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วสมมติ แล้วสืบต่อมาสมมติปรุงแต่งไปต่างๆนาๆให้จิตรู้ว่าเป็นสิ่งนั้น อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นคนนั้นคนนี้ เพศนั้นเพศนี้ สัตว์นั้นสัตว์นี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ สีนั้นสีนี้ สืบต่อเกิดเป็นความคิดสมมติปรุงแต่งไปอย่างนั้น หวนระลึกถึงสิ่งไรๆที่ผ่านไปแล้วกับไปแล้วมาผปรุงแต่งสมมติเรื่องราวขึ้นใหม่ ตรึกนึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้วสมมตินึกคิดเป็นเรื่องราวต่างๆนาๆ
- แล้วจิตมันเข้าไปยึดจับเอาสิ่งที่รับรู้มา ทั้ง ๖ ทางนั้นไว้(ก-ฉ) แล้วเสพย์สิ่งสมมติที่มันรู้แล้วยึดถือเอาไว้นั้นประกอบกับความจำสำคัญมั่นหมายของใจนั้น ตามที่กิเลสมันสร้างขึ้นล่อหลอกให้จิตรู้ให้จิตมันยึดมั่นถือมั่น จนเป็นความเศร้าหมอง(ไม่ใช่เศร้าโรกเสียใจนะครับ) นิ่งเฉยๆปิดกั่นจิตให้ว่างจากความรู้ตัว รู้ใจ รู้จริง รู้ปัจจุบัน ลุ่มหลงอยู่กับความติดข้องใจอยู่ในอารมณ์ความรู้สึกใดๆที่เพลิดเพลินใจบ้าง ที่ขุ่นมัวใจบ้าง เกิดเป้นความยึดมั่นถือมั่นทะยานอยาก เป็นทุกข์




ว่าด้วยเรื่อง จิตเสพย์สภาวะธรรม

จากที่เราเคยทำสมาธิแล้วเคยรับรู้สัมผัสได้มาบ้างแล้วนั้น คือ

ก. ตา.. เห็นสภาวะธรรมที่เป็นไปต่างๆในปัจุบันทางตาอยู่ เห็นสิ่งต่างๆมันเหมือนๆกันไปหมด ไม่มีสิ่งที่น่าใคร น่าปารถนา น่ารังเกลียด น่ายึด ไม่มีชื่อ ไม่มีอะไรเลยนอกจากสภาวะธรรมที่ไม่มีชื่อ ไม่มีตัวตนบุคลใด ไม่มีสัตว์ใด ไม่มีสิ่งใด
- พอถอยออกมาหน่อยก็เห็นว่า นั้นคือสีๆที่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
- จนถอยออกมาอีกก็เห็นว่า นั่นเป็นรูป คน สัตว์ สิ่งของ อย่างนั้นอย่างนี้ มีสีอย่างนั้นอย่างนี้
- ถอยออกมาจนสุดก็เห็นว่า เป็นหญิง เป็นชาย เป็นสัตว์ชนิดใดๆ มีสีอย่างไร งาม ไม่งามอย่างไร

ข. หู.. รู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนั้นๆอยู่ แต่ไม่มีชื่อ ไม่มีความหมายสำคัญไรๆ
- พอถอยออกมาหน่อยก็รู้ว่า สิ่งนี้ๆมีสภาวะธรรมที่อึกทึกก้องอยู่ แต่ก้ไม่ยึดถือ
- จนถอยออกมาอีกก็รู้ว่า เป็นเสียงที่มีอาการอึกทึก ก้องอยู่ แต่เสียงยังเบาอยู่
- ถอยออกมาจนสุดก็รุ้ว่า เป็นเสียงที่มีความดัง ก้อง เป็นเสียงของอะไร เสียงของสิ่งใด

ค. จมูก.. รู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนั้นๆอยู่ จากสภาวะที่เคลื่อนไหวขึ้นลงที่มีดำเนินไปอยู่ของกายสังขาร ไม่รู้ชื่อ รู้แต่สภาวะแบบนี้ๆเกิดขึ้น
- พอถอยออกมาจึงรู้ว่า เป็นกลิ่นอันเกิดแต่ลมหายใจที่พัดเข้าออกทางจมูกที่มีลักษณะอาการอย่างนั้นอย่างนี้ แสบจมูก เสียดจมูก ตรึงสบายจมูกสบายใจบ้าง
- พอสุดแล้ว จึงรู้ว่านั่นกลิ่นเหม็น หอม กลิ่นอะไร จากสิ่งใด มาจากทางไหน

ง. ลิ้น.. ถึงแค่ รู้ว่าขณะนี้เกิดลักษณะความรู้สึกที่เอิบอาบทางลิ้นและคอให้ความรู้สึกที่แสบลิ้นและคอ เฝื่อนลิ้นและคอ ขืนลิ้น ขมลิ้น เสียดกัดลิ้น กระด้างลิ้น ลื่นลิ้นลื่นคอเกาะกุมอยู่ในสภาพที่เอิบอาบสบายลิ้นและคอเกิดขึ้น
- พอถอยออกมาจึงรู้ว่า เสียดกระด้างลิ้นนี้คือเค็มบ้าง อาการเกาะกุมขืนสากลิ้นนี้ เป็นขมบ้าง อาการที่กัดเสียดเข้าไปในล้อนเป็นเปรี้ยวบ้าง เป็นต้น(จริงๆมันก็ไม่รู้จะอธิบายอาการนี้ๆยังไง)

จ. กาย.. ถึงแค่ รู้ว่าขณะนี้เกิดลักษณะความรู้สึกทางกายที่อ่อน แข็ง นุ่ม หยาบ ละเอียด ลื่น แหลมทิ่ม เจ็บ ปวด สบาย แสบเสียดคัน เอิบอาบ ร้อน เย็น อุ่น เคลื่อนตัว

ฉ. ใจ.. ถึงแค่ มีสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นให้รู้ ไม่มีชื่อ ไม่มีสิ่งใด มีแต่สภาพที่รู้ว่ามีสิ่งนี้ๆเกิดขึ้น แต่ไม่ยึดจับ แล้วมันกด็ดับไป มีสภาวะอันว่างที่แลโดยแยกจากสภาวะัธรรมที่เกิดเวียนเปลี่ยนอยู่นั้นๆ มีแต่ความว่างโล่ง ไม่มีสิ่งใดเลย อารมณ์ปรุงแต่งไรๆที่เกิดขึ้นก็รู้ รู้แล้วก็นิ่งเฉยๆแต่รู้ ไม่วุ่นไม่เสพย์อะไรทั้งนั้น ว่าง นิ่งเฉยอย่างเดียว
- พอถอยออกมาหน่อย ก้อเกิดมีสภาวะธรรมที่เกิดพุ่งขึ้นมาต่างๆ แต่รู้ว่ามันคืออะไรแล้วก็ดับไป
- พอถอยออกมาสุดแล้วก็รู้อาการที่เป็นไปว่ามัน ฟูใจ ขุ่นใจ หมองใจ หน่วงๆใจ ผ่องใส โล่งเบา สงบบ้าง รู้ว่านี่ รัก โลภ โกรธ หลง สงบกุศล

- เมื่อรู้ตัวแล้ว ที่มีอยู่ในขณะแรก ไม่มีอะไรเลยนอกจากสภาวะธรรม ถอยออกก็รู้สภาพจริงที่เกิดร่วมกับสิ่งสมมติ
- สภาวะธรรมโดยรวมของกายใจ.. เรานี้ได้รับรู้มาโดยเมื่อเจริญอานาปานสติ+พุทธานุสสติ จิตตานุปัสสนา อิริยาบถ+สัมปะชัญญะบรรพ ปฏิกูลบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ จนจิตตั้งมั่นนิ่งแช่อยู่อันตัดเสียงคิดออกจากสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เพียงระยะเวลา 3-5 นาที สิ่งที่รู้ทางกายและใจมันก็มีแต่สภาวะธรรมเท่านั้น ถึงจะบังเอิญไปรู้เห็นแต่ก็ทำให้รู้ว่าผู้เข้าถึงท่านเห็นยังไง
- สภาวะที่รู้ทาง ตา..รับรู้ได้เมื่อเจริญสมาธิในอานาปานสติ+พุทธานุสสติ จนจิตตั้งมั่นนิ่งแช่อยู่อันตัดเสียงคิดออกจากสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วพิจารณาอสุภะบ้าง ทวัตติงสาการบ้าง จตุธาตุววัตถานบ้าง วัณณะรูปบ้าง ปฐวีกสินบ้าง รู้ในปัจจุบันขณะเห็นก็สักแต่ว่าเห็นไม่ปรุงแต่งคิดสืบต่อบ้าง
- สภาวะที่รู้ทาง หู..รับรู้ได้เมื่อเจริญสมาธิในอานาปานสติ+พุทธานุสสติ จนจิตตั้งมั่นนิ่งแช่อยู่อันตัดเสียงคิดออกจากสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
- สภาวะที่รู้ทาง จมูก..รับรู้ได้เมื่อเจริญสมาธิในอานาปานสติ+พุทธานุสสติ จิตตานสติปัฏฐาน นามรูป จนจิตตั้งมั่นนิ่งแช่อยู่อันตัดเสียงคิดออกจากสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
- สภาวะที่รู้ทาง ลิ้น..รับรู้ได้เมื่อเจริญสมาธิในอานาปานสติ+พุทธานุสสติ จิตตานสติปัฏฐาน นามรูป จนจิตตั้งมั่นนิ่งแช่อยู่อันตัดเสียงคิดออกจากสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
- สภาวะที่รู้ทาง กาย..รับรู้ได้เมื่อเจริญสมาธิในอานาปานสติ+พุทธานุสสติ จิตตานสติปัฏฐาน นามรูป จนจิตตั้งมั่นนิ่งแช่อยู่อันตัดเสียงคิดออกจากสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
- สภาวะที่รู้ทาง ใจ..รับรู้ได้เมื่อเจริญสมาธิในอานาปานสติ+พุทธานุสสติ อิริยาบถ+สัมปะชัญญะบรรพ ธัมมารมณ์+จิตรู้สมมติ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2015, 12:07:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #40 เมื่อ: มกราคม 13, 2015, 10:35:52 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ 13/1/58




กรรมฐานที่ควรเจริญปฏิบัติ มีแค่กายกับใจเท่านั้นไม่ต้องไปรู้อย่างอื่นถ้าอยากจะถึงความพ้นทุกข์ให้รู้แค่กายสังขารและจิตเท่านั้นไม่มีอื่น ดังนี้..





- ลมหายใจเข้าและออกเป็นของจริงที่มีอยู่จริงเกิดขึ้นจริง คือ กายลม เป็นกายละเอียด เป็นกายสังขาร
- จิตมันรู้ทุกอย่าง แต่สิ่งที่มันรู้คือสมมติ มันอาศัยสฬายตนะเป็นเครื่องรู้ของกิเลส





รู้มากเห็นมาฟุ้งซ่านมาก ดังนั้นแล้ว แค่รู้ก็พอ เจริญสมาธิในอานาปานสติ+พุทธานุสสติ อิริยาบถบรรพ สัมปะชัญญะบรรพ ดูสิ่งที่จิตรู้ รู้ธัมมารมณ์ เห็นตามจริงว่า จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็นสมมติ (ตามที่หลวงพ่อเสถียรสอน) ของจริงมีอยู่คือกายสังขาร คือลมหายใจเข้า-ออก ลมคือกายละเอียดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีอยู่จริง เป็นของจริงสภาวะธรรมจริงๆ รู้อริยาบถ รู้กิจการงานที่ทำให้ปัจจุบัน ทำให้มีสติ+สัมปะชัญญะ+จิต เกิดขึ้นเห็นสภาวะธรรมตามจริงในปัจจุบัน ไม่ติดความคิดไม่ติดนิมิต สักแต่รู้ รู้ว่าคิดหรือนิมิตมโนภาพก็สมมติ วาจาอันเกิดจากความคิดก็สมมติ สิ่งไรๆมีชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ เป็นคน สัตว์ สิ่งของก็สมมติ ก็จะไม่มีสมมติให้จิตมันยึดถือ มีแต่จริงคือกายสังขาร มีแต่ลมหายใจเข้าออก แล้วก็ความว่าง จิตรวมเอง





จิตมันอาศัยสฬายตนะนี้แหละเป็นเครื่องมือให้เกิดกิเลส จิตมันรู้และจิตมันเสพย์สมมตินี้แหละทางสฬายตนะ มันรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์สิ่งใดเหล่านี้ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นสมมติทั้งหมด แล้วจิตก็เข้าไปเสพย์เสวยอารมณ์ไปยึดเอาสิ่งสมมติไว้จนเกิดเป็นทุกขเวทนา สิ่งที่ไม่สมมติคือ กายสังขาร คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก อันเป็นกายละเอียดแห่งกายสังขารนี้ ความรู้ตัวรู้กายรู้ความเป็นไปแห่งกายโดยอาศัยเจริญใน อิริยาบถบรรพ มีเดินจงกลมเป็นต้น สัมปะชัญญะบรรพรู้สภาวะกิจการงานที่ทำในปัจจุบันและสภาวะกายที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบัน พิจารณาขันธ์ ๕ เห็นอสุภะภายนอก เห็นอาการทั้ง ๓๒ ประการ เห็นธาตุ ๖ เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เหลือเพียงนามรูปจนดับสมมติเหลือเพียงสภาวะธรรม





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2015, 02:47:13 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #41 เมื่อ: มกราคม 14, 2015, 08:44:53 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 14/1/58


เมื่อวันที่ 2/1/58 เข้าไปขอกรรมฐานหลวงพ่อ ขณะที่หลวงพ่อเข้านิโรธสมาบัติอยู่ รอประมาณ 10-20 นาที หลวงพ่อออกจากสมาบัติแล้วจึงได้นั่งบนอาสนะ แล้วถามเรากับติ๊กว่าได้ตั้งความปารถนาอะไรไว้ไหว เราตอบว่าปารถนาระรู้ จะเห็น จะมี อย่างที่พระพุทธเจ้า รู้ เห็น และ มีนั้น ส่วนติ๊กกล่าวว่าปารถนาพุทธภูมิ หลวงพ่อได้บอกว่าละความปารถนานั้นเสียไม่งั้นต้องรออีกเป็นแสนๆกัปป์ เป็นอสงไขย หลวงพ่อสอนให้ถือศีล ให้เราและติ๊กเจริญใน กุศลกรรมบถ ๑๐ บอกเป็นศีลของพระอริยะเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ลำดับนั้นหลวงพ่อได้สอนให้เรารู้ขันธ์ ๕ อาการทั้ง ๓๒ ประการ ธาตุ ๖ สอนม่างกายสลายธาตุ แล้วสอนสิ่งที่เป็นสมุทัย กรรมฐานที่ทำให้หลุดพ้นบรรลุอรหันต์ว่า

สฬายตนะ..เป็นเครื่องมือของจิต จิต..เป็นเครื่องมือของกิเลส

นั่นเพราะ.. จิต อาศัยสฬายตนะเป็นเครื่องรู้ แต่สิ่งที่จิตรู้ล้วนเป็นสมมติทั้งหมด  ก็สมมติทั้งปวงนั้นแลอาสวะกิเลสเป็นตัวสร้างขึ้นให้จิตมันรู้มันยึดมั่นถือมั่นจนเกิดเป็นเวทนา ก็เมื่อจิตรู้เวทนาเกิด กิเลสอย่างกลางก็สร้างสมมติตรึกนึกปรุงแต่งร่วมกับความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจยึดไว้เป็น กิเลสอย่างหยาบและตัณหาสืบมา

ดังนี้หลวงพ่อสอนไว้ว่า
๑. ศีลเป็นฐานที่ตั้งแห่งกุศลมีกายและวาจา..ใช้ละกิเลสอย่างหยาบ
๒. สมาธิ..ใช้ละกิเลสอย่างกลาง
๓. ปัญญา..ใช้ตัดกิเลสอย่างละเอียด คือ อาสวะอุปกิเลสทั้งปวง

ดังนั้น..สิ่งใดที่รู้ทางสฬายตนะ คือ สมมติทั้งหมด ความคิดก็เป็นสมมติ นิมิตใดๆ มโนภาพใดๆก็เป็นสมมติทั้งหมด(วิตกความตรึกนึกคิด นิมิตมโนภาพ ทุกสิ่งที่จิตรู้ไม่ว่าจะเป็นเวทนา หรือความปรุงแต่งจิตไรๆให้จิตรู้ต่างก็เป็นธัมมารมณ์ทั้งหมดเป็นสมมติทั้งหมด) ของจริงที่มีอยู่จริงเกิดขึ้นจริงก็คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกนี้คือสภาวะธรรมจริงๆที่มีที่เป็นจริงแห่งกายสังขารเรานี้ หาการงานชอบให้จิตทำให้รู้ความจริงก็คือลมหายใจนี้แหละ จากนั้นเมื่อมีสมาธิควรแก่งานแล้วจึงมาใช้ไฟเผาสลายธาตุดินธาตุน้ำอาการทั้ง ๓๒ แห่งกายนี้





ตามความเข้าใจและรู้เห็นของเราเอง

๑. ศีล เป็น ฐานแห่งกุศล เมื่อยังไม่ลวงทางกายและวาจาก็ยังไม่ครบองค์ ๓ มีกิเลสเกิดขึ้นที่จิตแล้วเกิดสติกุศลจิตละที่ความคิดนั้นก่อนจะทำทางกายและวาจา ซึ่งศีลนี้ไม่ใช่ไม่อาศัยใจเลย นั่นคือ
- ศีล อาศัย "กุศลวิตก..เป็นบาทฐาน"
- มี "พรหมวิหาร ๔" คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นตัวยึดให้ศีลสมบูรณ์
- มี ธรรมคู่อันงาม คือ "ทมะ"(ความข่มใจจากกิเลส ด้วยสภาวะจิตที่ รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักประมาณตน เช่น คิดดี คิดในกุศล เป็นต้น) และ "อุปสมะ"(ความสงบใจจากกิเลส ความแสวงความสงบสันติเว้นจากการเบียดเบียนกัน เป็นผลสืบต่อจากทมะบ้าง เป็นสภาวะจิตที่เปลื้องจากกิเลสด้วยความคิดชอบบ้าง เป็นสภาวะของผลจากมรรค ๑๐ บ้าง)
- มีธรรมคู่อันงามคือ "ขันติ"(ความทนได้ทนไว้ ความอดทนแต่ไม่มีความติดใจข้องแวะ ด้วยสภาวะจิตที่รู้ว่าสิ่งนี้ๆควรปล่อย ควรละ ควรวาง เป็นต้น) และ "โสรัจจะ"
(ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงดงาม ความประณีตความเรียบร้อยรวมถึงความไม่หรูหรา กล่าวคือ มี "อินทรีย์สังวร"ความสำรวมระวังใน "อินทรีย์ ๖" คือ "สำรวมระวังในสฬายตนะ")

* ก็ธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้แลมีร่วมกับกายและวาจาทำให้เกิดเป็น "ศีลสังวร" ก็ศีลสังวรนี้แลละกิเลสอย่างทำที่เป็นเจตนาทาง กาย วาจา ใจ และ เป็นฐานแห่งสมาธิ *
(ดั่งองค์พระสัพพัญญูเจ้าได้ตรัสไว้ในปฏิจจะสมุปบาทว่า เจตนา วิตก-วิจาร ก่อให้เกิดการกระทำทางกาย-วาจา-ใจ)


* "ทาน" ก็อาศัยศีลนี้แล ให้เกิดขึ้นเป็นกุศลทาน เป็นทานที่บริบูรณ์ มีอานิสงส์มาก *

๒. สมาธิ เป็นฐานให้เกิดปัญญา ก็เพราะมีจิตอันเป็นกุศลดีแล้วทำให้เกิดสภาวะจิตตั้งมั่นที่กิเลสนิวรณ์ทั้งปวงนี้อ่อนกำลัง เมื่อเกิดจิตตั้งมั่นดีงามก็ตัดความคิดและนิมิตอันเป็นเครื่องมือของกิเลสอย่างกลางทั้งปวง ทำให้เกิดความรู้เห็นตามจริงสืบมา "สมาธิ..นี้จึงเป็นตัวละกิเลสอย่างกลางทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ ทำให้เห็นสภาวะจริงว่า จิตนี้รู้สมมติ จิตนี้เป็นเครื่องมือของกิเลสดังนี้"

๓. ปัญญา เป็น "มรรค ๑๐" เป็นตัวรู้เห็นตามจริงในสภาวะธรรมทั้งปวง เป็นตัวตัดกิเลสที่ไม่อาศัยเจตนาเกิดขึ้น เป็นตัวดับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธ์ ๕ คือ เป็นตัวตัดอาสวะกิเลสทั้งปวง

ตัดขาดวงจรอิทัปปัจจยตา(ภาวะที่มีอันนี้ๆเป็นปัจจัย) โดยสิ้นเชิง




เมื่อรู้เห็นคร่าวๆโดยย่อดังนี้ ข้อปฏิบัติที่แท้จริงก็มีเพียง

๑. "รู้กายสังขาร" อันเป็นสภาวะจริงในกายที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันขณะ นั่นคือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกอันเป็นกายละเอียดแห่งรูปขันธ์ เมื่อมีจิตตั้งมั่นควรแก่งานจึงเจริญแยกขันธ์ แยกกาย แนกอาการทั้ง ๓๒ ประการ แยกธาตุ สลายธาตุ จนไม่เหลือรูปขันธ์ ไม่เหลือตัวตนบุคคลใด ปัญญาก็จะเกิดขึ้นในที่นั้น
๒. "รู้จิต" คือ รู้ว่าสิ่งที่จิตมันรู้นั้นเป็นสิ่งสมมติทั้งหมด จิตมันเป็นเครื่องมือของกิเลส เป็นสิ่งไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เมื่อเราเข้าไปยึดเอาจิตที่เป็นตัวรู้ว่าเป็นเรา-เป็นของเรา-เป็นตัวตนของเราเมื่อไหร่..ก็แสดงว่า "เราถูกกิเลสและความทุกข์หยั่งเอาแล้ว" ดังนั้นจิตจึงมีไว้แค่เพียงระลึกรู้ไม่ได้มีไว้เสพย์ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นในที่นั้น


** เมื่อรู้สภาวะจริงคือสมหายใจเข้าออก มีสติสัมปะชัญญะรู้ลมรู้สภาวะทางกายอยู่ในปัจจุบัน และ จิตไม่ยึดสิ่งใดที่รู้อีกเพราะมันมีแต่สมมติ คำบริกรรมพุทโธก็หายไป..ทำให้วิตกดับไป มีแต่ความสำเหนียกรู้ลมหายใจเข้าออกที่เป็นวิจาร รู้สภาวะธรรมที่เป็นไปแห่งกายเท่านั้นไม่มีอื่นอีก..ทั้งวิตกและวิจารดับไปยังแต่สุขและความสงบมีสภาวะธรรมที่ว่างอยู่เท่านั้นสว่างออกฟ้านวลเหมือนเมื่อเราหลับตาทำสมาธิแล้วออกจากสมาธิลืมตาดูภายนอกฉันนั้น **





หลวงพ่อสอนแยก กาย เวทนา จิต ธรรม แยกขันธ์ ๕ ออกเป็นกองๆ

กายของเราที่เจ็บป่วยด้วยโรคเส้นเอ็น ข้อและกระดูก และ ปัสสาวาะบ่อย มีทุกขเวทนาเป็นอันมากทั้งทางกายและใจ ในวันที่ 3/1/58 หลวงพ่อได้สอนให้แยก ขันธ์ ๕ ออกเป็นกองๆ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ดังนี้

๑. กายเรานี้มันเป็นธาตุดิน ดินมันไม่มีความรู้สึกอะไรทั้งสิ้น ตัวที่เข้าไปรู้ว่ามันเจ็บปวด ทุกข์ คือจิตเท่านั้น
๒. จิตเรานี้มันเป็นตัวรู้ทุกอย่าง พอมันเข้าไปรู้สภาวะธรรมไรๆ ก็รู้โดยสมมติว่า อาการนี้คือเจ็บ อาการนี้คือปวด อาการนี้คือทุกข์ อาการนี้คือสุข อาการนี้คือสบาย จนเกิดเวทนาตามมา
๓. ซึ่งจิตมันเข้าไปรู้อาการนั้นๆโดยสมมติ แล้วอาการนั้นๆมันก็ดับไปนานแล้ว แต่จิตนี้แหละมันเข้าไปยึดอาการนั้นร่วมกับความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ คือ "จิตมันเข้าไปยึดอาการสภาวะธรรมที่ดับไปแล้วโดยอาศัยสัญญาความจำได้หมายรู้มันไว้ทั้งอาการความรู้สึกที่ดับไปก่อนแล้วนั้นทั้งชื่อเรียกของอาการทั้งสมมติบัญญัติทุกสิ่งทุกอย่าง จิตมันก็ยึดเอาความรู้โดยสัญญาและสังขารที่ดับไปแล้วอยู่อย่างนั้นจนเป็นตัวตนขึ้นมา ทั้งๆที่อาการเหล่านั้นมันดับไปแล้วไม่มีอยู่อีกแล้ว ให้เป็นทุกขเวทนาสืบต่อไปไม่หยุด แล้วกิเลสมันก็สร้างเรื่องราวสมมติตรึกนึกขึ้นให้เสพย์เสวยอารมณ์ตัณหาไปต่างๆนาๆ ทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีก็เกิดขึ้นที่ตรงนี้ทั้งหมด"




เมื่อรู้อย่างนี้แล้วทำให้เราเห็นว่า เวลาที่พระอรหันต์ท่านแยกเวทนาออกจากกายท่านก็แยกที่ตรงนี้ อินทรีย์สังวรอยู่ก็ที่ตรงนี้ จากนั้นเราก็เจริญพิจารณาสิ่งนี้ไปเรื่อยๆโดย

๑. มีสติสัมปะชัญญะและสมาธิอยู่กับลมทุกขณะ
๒. เมื่อเจ็บปวดขา เราพึงพิจารณาเห็นว่า ขานี้มันไม่มีความรู้สึกอะไรเป็นกองธาตุดินเท่านั้น แต่จิตนี้ต่างหางที่เข้าไปรู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นนั้น
๓. ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นมันก็เป็นแค่สภาวะธรรมสภาวะหนึ่งเท่านั้นไม่ได้มีความหมายอะไร ไม่ได้มีชื่อเรียกบัญญัติไรๆทั้งสิ้น ที่จิตมันรู้มันก็รู้แค่สมมติเท่านั้น ที่จิตมันจับมันก็จับสมมติสิ่งที่ดับไปแล้วนั้นด้วยสัญญา จิตมันจับเอาสัญญาที่มีในสภาวะธรรมที่ดับไปแล้วนั้นๆนี่แหละมาเป็นตัวยึดมั่นถือมั่นที่ตั้งแห่งจิตให้เกิดทุกขเวทนา
๔. เมื่อจิตมันยึดสัญญามันก็ยึดสมมติ มันรู้โดยสัญญามันก็รู้เพียงสมมติ แล้วยังจะไปยึดเอาอะไรกับจิตอันเป็นตัวสมมติให้ยึดมั่นถือมั่นได้อีก เราก็มีเพียงความระลึกรู้ รู้สภาวะกายในปัจจุบันเท่านั้นพอ ไม่ยึดเอาจิต เวทนาก็ไม่มีไม่เกิด รู้แค่สภาวะธรรมเท่านั้น กิเลสก็สังขารต่อให้เป็นตัณหาไม่ได้อีกดังนี้

* ทุกวันนี้อาการปวดขาเราก็แทบไม่มีความรู้สึกเลย แม้จะปัสสาวะบ่อยก็รู้ว่ามันเป้นเพียงสภาวะธรรมอันเป็นธาตุของกายมันก็เป็นไปของมันอย่างนั้นตามเหตุปัจจับ เราก็ไม่มีทุกขเวทนาในเรื่องนี้อีกเลย *









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2015, 02:48:24 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #42 เมื่อ: มกราคม 15, 2015, 04:43:21 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 15/1/58


วันนี้บังเอิญไปเปิดดูเจอ อริยะสัจ ๔ ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเข้าใจรู้เห็นเมื่อก่อน จนเมื่อได้พบเจอหลวงพ่อเสถียรท่านได้สั่งสอนชี้แนะเราก็ทำให้วันนี้เข้าใจและเห็นตามจริงแล้วว่า




อ้างถึง

 หลวงปูดุลย์สอนว่า__จิตส่งออกนอก เป็น "สมุทัย"

 ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเป็นเหตุ...เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์

{ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__จิตรู้ทุกสิ่ง รู้อารมณ์ทั้งหมด แต่สิ่งใดที่จิตรู้ล้วนเป็นสมมติที่อาสวะกิเลสมันสร้างขึ้นมาหลอกล่อจิตให้หลงตามทั้งหมด ดังนี้แล้ว "จิตรู้และเสพย์อารมณ์" จึงเป็น "สมุทัย"}



 หลวงปูดุลย์สอนว่า__ผลอันเกิดจากจิตส่งออก เป็น "ทุกข์"

 ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา...เป็นทุกข์อุปาทาน

{ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__เมื่อจิตรู้และเสพย์สมมติตามอาสวะกิเลส ย่อมก่อให้เกิดเป็นเวทนาให้จิตยึดมั่นถือมั่นไว้โดยสัญญาจากเวทนานั้น แล้วก็เกิดความตรึกนึกคิดปรุงแต่งอันเกิดจากกิเลสอย่างกลางให้เป็นไปในตัณหาและเป็นทุกข์ ดังนี้แล้ว "ผลอันเกิดจากจิตรู้และเสพย์อารมณ์" จึงเป็น "ทุกขฺ์"}



 หลวงปูดุลย์สอนว่า__จิตเห็นจิต เป็น "มรรค"

 ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__สติเห็นกาย,เวทนา,จิตสังขารหรือธรรม...เป็นมรรคปฏิบัติ

{ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__มีมหาสติ(สติ+สัมปะชัญญะ) เห็นจิตที่รู้และเสพย์ที่ยึดมั่นถือมั่นในสมมติทั้งปวง ทั้งสภาวะธรรมและความปรุงแต่งที่เป็นไปทั้งหลายทั้งปวงตามจริง ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิต" จึงเป็น "มรรค"}



 หลวงปูดุลย์สอนว่า__ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็น "นิโรธ"

 ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__ผลของสติเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม...เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์

{ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__เมื่อมีมหาสติ(สติ+สัมปะชัญญะ) เห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง ได้รู้เห็นตามจริงว่าจิตนี้รู้ทุกอย่างแต่รู้เพียงสมมติเท่านั้น จิตนี้แลเป็นตัวยึดเอาทุกอย่างแต่สิ่งที่มันยึดคือสมมติทั้งนั้น จิตนี้แลไม่น่ายึดมั่นถือมั่นเอามาเป็นที่ตั้ง ไม่เที่ยง ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน เป็นตัวทุกข์ จิตที่เกิดกับสติมสัมปะชัญญะมันก็จะเกิดความไม่เกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดในขันธ์ ๕ อีก มีแต่สภาพว่างโล่ง นี่คืออารมณ์พระนิพพาน เป็นความดับทุกข์ ดังนี้แล้ว "ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต" คือ "นิโรธ"}


อริยะสัจ๔ ในปฏิจจสมุปบาท
http://www.nkgen.com/11.htm





เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ตรงกันทั้งในคำสอนของครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่ดุลย์ กับที่หลวงพ่อเสถียรสอน และในทางอภิธรรม ก็เปลื้องจิตที่จะกล่าวบริกรรม "พุทโธ" ว่า ไม่ต้องไปหาคาถาไรๆมาบริกรรมเพื่อดับฉันทะราคะและราคะเมถุนให้ลำบากทั้งสิ้น ไม่ต้องไปติดใจว่าต้องสำเหนียกรู้จึงจะได้สมาธิ มันจะบริกรรมหรือสำเหนียกให้มันเป้นไปของมันเอง

เพราะ พุทโธ คือ

- ผู้รู้ คือ รู้ว่านี่คือสมมติ รู้ว่านี่คือโมหะที่หลอกล่อให้ลุ่มหลงทั้งปวง
- ผู้ตื่น คือ ตื่นจากสมมติ ตื่นจากโมหะความลุ่มหลงติดใจยึดมั่นในสิ่งสมมติทั้งปวง
- ผู้เบิกบาน คือ ดับสิ้นแล้ว ดับโมหะความลุ่มหลงติดใจยึดมั่นในสิ่งสมมติทั้งปวงสิ้นแล้ว มีความผ่องใสอันปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ได้ทำในกิจที่ควรทำอันบริบูรณ์ที่พระพทุธเจ้าทั้งหลายพึงกระทำดีแล้ว


เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว พอระลึกถึง "พุทโธ" ก็ให้เห็นถึงความระลึกถึงพระพุทธเจ้า ที่รู้ว่าสิ่งที่จิตรู้เหล่านี้นี่คือสมมติ ที่ตื่นจากความลุ่มหลงในสมมติ ที่ได้ดับความลุ่นหลงทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว มีจิตแจ่มใสเบิกบานด้วยธรรม ได้กระทำกิจของพระพุทธเจ้าบริบูรณ์ดีแล้วนั้น แล้วน้อมเอาคุณนั้นมาให้เรานี้ได้รู้ว่าสิ่งไรๆนี้คือสมมติ ได้ตื่นจากความลุ่มหลงสมมติ ได้ดับสิ้นซึ่งความลุ่มหลงยึดติดในสิ่งสมมติทั้งปวง มีจิตอันแจ่มใสเบิกบานดั่งองค์พระตถาคตเจ้านั้น

เมื่อเรามีจิตเป็นศรัทธา เป็นศรัทธาพละอยู่อย่างนี้ ทำให้เกิดฉันทะความยินดีในสิ่งที่ทำ ก็ก่อเกิดให้มีวิริยะพละ มีกำลังความเพียรตั้งมั่นที่จะทำ แม้จะให้บริกรรมสักล้านครั้งก็ไม่ติดใจไรๆอีก ไม่ต้องไปเจาะจงเอาว่าจะต้องสำเหนียกรู้จึงจะเป็นสมาธิ เป็นเหตุสืบต่อเป็นสติพละอันมีแต่ความระลึกรู้บริกรรมพุทโธไปทุกลมหายใจเข้าออกปักหลักแน่วแน่อยู่ที่ปลายจมูกเท่านั้นไม่ไหวจิตไปตามลมร่วมกับสัมปะชัญญะความรู้กายอิริยาบถรู้กิจเห็นในสภาวะธรรมทางกายในปัจจุบัน ความมีสติสัมปะชัญญะเกิดร่วมกับจิตที่รู้อยู่นี้ คือ สภาาพจริง คือกายสังขาร ความตรึกนึกคิดมีไว้เพื่อคำบริกรรมมีคือพุทโธซึ่งเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตัดขาดความปรุงแต่งสมมติอื่นใด มีแต่จิตที่ว่างร่วมกับจิตที่แจ่มใสเบิกบาน จิตรวมเป็นสมาธิได้เอง ก็เกิดมีธรรมเอกผุดขึ้น เห็นธาตุลมในกาย เกิดปัญญาในที่นั้น ดังนี้..




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 28, 2015, 11:25:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #43 เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 10:24:37 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
กรรมฐาน มัชฌิมา > เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

หลวงปู่สุก ศึกษา วิชา ดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ กับ ขรัวท่านโต วัดชายนา (น่าอ่าน)

โดยคุณเสกสรรค์:

ทรงศึกษา วิชา ดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ
(พรรษาที่สอง สถิตวัดโรงช้าง ยุคอยุธยา)


   พรรษาที่สอง พระองค์ท่าน ทรงได้พบ กับพระอริยเถราจารย์ อีกพระองค์หนึ่งในสมาธินิมิต ท่านมีนามบัญญัติว่า ขรัวท่านโต ท่านเคยสถิตวัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๑ หรือเรียกว่าพระเจ้าอู่ทอง ขรัวท่านโตดำรงขันธ์อยู่ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ท่านเข้ามาในสมาธินิมิตในครั้งนั้น ท่านมาบอกวิธีการ ให้แก่พระอาจารย์สุก สองอย่าง คือ

   การดำเนิน ความเป็นไปแห่งธาตุ ๑
   การทำลายธาตุ ๑
   และสอนให้ไม่หลงติดอยู่ในธาตุ และสอนให้ไม่หลงติดในฤทธิ์ ๑

    พระอริยเถราจารย์ บอกวิธีดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ เพื่อให้เกิดฤทธิ์ แก่พระอาจารย์สุก โดยให้บริกรรมดำเนินธาตุ บริกรรมตั้งธาตุ บริกรรมรวมธาตุ เป็นหนึ่งเดียวพระอาจารย์สุก ทรงดำเนินการตั้ง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ แล้วสัมปยุตธาตุ ประกอบธาตุทั้ง ๖ เป็นหนึ่งเดียว แล้วให้บริกรรมทำลายธาตุทั้ง ๕ ให้สลายไป ยกเว้นวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นธาตุรู้ ท่านกล่าวว่าทำให้เกิดอิทธิวิธี
    ขรัวท่านโต กล่าวต่อไปว่า การดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ มิใช่จะทำได้ทุกคนบุคคลไหนมีวาสนาบารมีมาทางนี้ ข้าฯก็จะมาสอนให้เอง เหมือนอย่างที่ข้าฯมาสอนให้ท่านในครั้งนี้
    ขรัวท่านโต ยังกล่าวสอนพระอาจารย์สุกอีกว่า ฤทธิ์ทั้งหลายมีเกิด แล้วก็มีเสื่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอน ย่อมแปรปรวนไป ถ้าบุคคลใดยังเป็นปุถุชนอยู่ ไม่รู้ความจริงแห่งพระไตรลักษณ์ ย่อมติด ย่อมหลง อยู่ในฤทธิ์ ไม่สามารถหลุดจากกิเลส ไปพระนิพพานได้ ฉะนั้นขอให้ท่านพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ตลอดเวลา อย่าไปติด ไปหลงอยู่ในฤทธิ์ให้บำเพ็ญเพียรภาวนา ไปสู่นิพพานเถิด
     พระอาจารย์สุก ทรงฟังคำพร่ำสอนของ ขรัวท่านโต พระอริยเถราจารย์ ในสมาธินิมิตแล้ว พระองค์ท่านก็มั่นเพียรทำตามที่พระอริยเถราจารย์บอก และภายในเวลา ๓ ราตรี พระองค์ท่านก็บรรลุวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ได้สำเร็จฤิทธิบางอย่าง แต่ยังเป็นฤทธิ อย่างปุถุชน ยังมีหวั่นไหวบ้าง

     ถึงราตรีที่ ๔ ขรัวท่านโต ก็มาปรากฏในสมาธินิมิต ของพระอาจารย์สุกอีก ด้วยท่านทราบว่า พระอาจารย์สุก สำเร็จวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุแล้ว และในสมาธินิมิตราตรีนั้น ขรัวท่านโต กล่าวกับพระอาจารย์สุกว่า วิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ที่เป็นไปในทางโลกีย์ ท่านก็สำเร็จแล้วต่อไปข้าฯ จะสอนวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ที่เป็นไปในทางโลกุตรธรรม นำทางท่านไปถึงมรรค ผล นิพพาน ตามคำสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ให้ท่านดำเนินตั้งสภาวะความเป็นไป แห่งปฐวีธาตุ ธาตุดิน ๑ อาโปธาตุ ธาตุน้ำ ๑ เตโชธาตุ ธาตุไฟ ๑ วาโยธาตุ ธาตุลม ๑ อากาสธาตุ ธาตุอากาศ ช่องว่างภายในกาย ๑
วิญญาณธาตุ ธาตุวิญญาณ คือความรู้อะไรๆได้ ๑ พระอริยเถราจารย์กล่าวสอนต่อไปอีกว่า ในธาตุทั้ง ๖ นั้น

     ปฐวีธาตุ ธาตุดิน เป็นอย่างไร ปฐวีธาตุ ธาตุดินมี ๒ อย่างคือ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน ภายใน ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
ภายนอกปฐวีธาตุ ธาตุดิน ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายใน เป็นอย่างนี้คือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปที่มีใจครอง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ทั้งหมดนี้เรียกว่า ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน รูปในที่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายใน  ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอก เป็น อนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปที่ไม่มีใจครองได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว ประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ทั้งหมดนี้เรียกว่า ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นธรรมชาติภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปที่ไม่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้ก็เรียกว่าปฐวีธาตุ ธาตุดินภายนอก ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ
 
     อาโปธาตุ ธาตุน้ำ เป็นอย่างไร อาโปธาตุ ธาตุน้ำนั้นมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุ  ธาตุน้ำภายใน อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก อาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายใน เป็นอย่างนี้คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปข้างในมีใจครอง ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ทั้งหมดนี้เป็นความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปข้างในมีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายใน อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก ภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่ เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก รูปข้างนอกไม่มีใจครอง ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รส ใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งน้ำอ้อย น้ำที่อยู่ใน พื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศ เป็นธรรมชาติที่มีความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความ
เหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปไม่มีใจครองภายนอก แม้อย่างอื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายภายใน อาโปธาตุธาตุน้ำภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกันอย่างเดียวกันนี้เรียกว่า อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ

     เตโชธาตุ ธาตุไฟเป็นอย่างไร เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็น อุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปมีใจครอง ได้แก่ เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่เป็นเหตุให้เผาไหม้ เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี นี้เรียกว่าความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปรูปมีใจครอง ข้างใน แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุ ธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่นธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่นธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปไม่มีใจครอง ได้แก่ ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก รูปไม่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายนอก เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกันนี้เรียกว่า เตโชธาตุ หรือธาตุไฟ

     วาโยธาตุ ธาตุลมเป็นอย่างไร วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือ ความพัดไปมาธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายในเฉพาะตนเป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปมีใจครอง ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน แม้อย่างอื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า วาโยธาตุ ธาตุลมภายในวาโยธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอกเป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก หรือรูปไม่มีใจครอง ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุฑ ลมใบตาล ลมเป่าปากหรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนก แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่าวาโยธาตุ ธาตุลม

      อากาศธาตุ คือช่องว่าง เป็นอย่างไร อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่างธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของ
เคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าอากาศธาตุ หรือช่องว่างภายใน อากาสธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่าช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก นี้เรียกว่า อากาสธาตุช่องว่างภายนอก อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า เป็นหมวดเดียวกัน กองเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ คือช่องว่าง

      วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไรๆได้ เป็นอย่างนี้คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ สภาวะธรรม หลักแห่งความเป็นไปเอง เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖ ประการ คือ ความเป็นไปเอง ๖ ประการ นี้เป็นการดำเนินธาตุ ตั้งธาตุ ฝ่ายโลกุตรธรรม

      ขรัวท่านโต กล่าวสอนต่อไปว่า ข้าฯจะบอกวิธีทำลายธาตุทั้ง ๖ เพื่อกรุยทางไปสู่อมตธรรม ท่านว่าธาตุอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบนั้นมี ๖ ประการ

๖ ประการ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ

ปฐวีธาตุ(ดิน)
อาโปธาตุ(น้ำ)
เตโชธาตุ(ไฟ)
วาโยธาตุ(ลม)
อากาสธาตุ(ช่องว่าง)
วิญญาณธาตุ ความรู้อะไรๆได้

      ธาตุ ๖ ประการอัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่าน (หมายถึงพระอาจารสุก) เป็นผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ จะพิจารณาอยู่อย่างไรเล่า จึงจะหลุดพ้น จากอาสวะกิเลส ไม่ยึดมั่น ถือมั่นในธาตุทั้ง ๖ อันเป็นภายใน ภายนอกนี้ ฯ ขรัวท่านโต กล่าวว่า พระพุทธเจ้า ตรัสสอนไว้ว่า ให้ภิกษุทั้งหลาย ครอง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ ธาตุรู้อะไรๆได้ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ให้ครองอัตตา คือความมีตัวตน โดยอาศัย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไรๆได้ เมื่อท่านครองธาตุ โดยความไม่มีตัวตน ท่านจึงจะทราบชัดเจนว่า จิต ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น และจะทราบชัด ไปอีกว่าจิตของท่านกำลังจะหลุดพ้น หรือหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้น เพราะสิ้นกิเลส ดับคืนกิเลส ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทาน โดยอาศัยธาตุทั้ง ๖ และอนุสัย คือความตั้งใจ
และความปักใจมั่น โดยอาศัยธาตุทั้ง ๖ ได้ จะทำให้ท่านหลุดพ้นโดยเร็วพลัน เสร็จสิ้นคำกล่าวสอน ขรัวท่านโต ก็หายกลับไป จากนั้นพระอาจารย์สุก ก็ทรงออกจากสมาธิ ครั้งนั้นพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ ระลึกถึงคำสอนของขรัวท่านโต อยู่เสมอเนื่องๆว่า การยึดติดธาตุ ๖ และฤทธิ์ต่างๆไม่สามารถนำทางพระองค์ท่านไปสู่ทางพระนิพพานได้ ถ้ายังไปหลงติดอยู่ ตามคำที่พระอริยเถราจารย์สั่งสอนอบรมมา แต่นั้นมาพระองค์ท่านก็ ไม่ทรงติดอยู่ในฤทธิ์ ในอำนาจต่างๆ ทรงเห็นเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน และทรงทบทวนดำเนินการตั้งธาตุ ๖ และทำลายธาตุ ๖ ทั้งทางอิทธิ และทางโลกุตรธรรม

     คืนต่อมาขรัวท่านโต ท่านก็มาสอนเรื่องธาตุ ในสมาธิจิตของพระอาจารย์สุกอีกโดยกล่าวว่า สิ่งที่เป็นธาตุยังมีอีก เช่น จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานะธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ ท่านกล่าวว่าในธาตุเหล่านี้ มีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุอยู่ด้วย

     ธาตุไฟ มีมากในจักขุ คือตา เมื่อตาเห็นรูปที่ดีก็ตาม เห็นรูปที่ทรามก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนเปลวไฟ แล็บหายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในรูป ที่มากระทบจักขุ ก็จะหายไป

      ธาตุลม มีมากในหู ได้ฟังเสียงที่ดีก็ตาม ได้ฟังเสียงที่ชั่วก็ตาม ให้ทำเหมือนลมพัดผ่านไป ความยึดมั่นในเสียงที่ดี และร้าย ก็ไม่มี

      ธาตุดิน มีมาก ในจมูก ได้กลิ่นที่ดีก็ตาม ได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนดินสลายไป ความยึดมั่นถือมั่นในกลิ่น ดี ชั่ว ก็จะสลายไป

      ธาตุน้ำ มีมาก ในลิ้น ถ้าลิ้มรสที่ดีก็ตาม ได้ลิ้มรสที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหลไป ความยึดมั่นถือมั่น ติดในรส ก็สลายไป

       ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มี มากในกาย ได้สัมผัสดีก็ตาม ได้สัมผัสชั่วก็ตาม ให้ทำจิต เหมือน ธาตุทั้ง๔ สลายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในสัมผัส ก็จะสลายไป

       อากาศธาตุ มีมากในมโนธาตุ และวิญญาณธาตุ รู้ธรรมารมณ์ที่ดีก็ตาม รู้ธรรมารมณ์ที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนอากาศสลายไป จะทำให้จิตเป็นกลางใน สภาวธรรมทั้งที่ดี และไม่ดี จะทำให้ท่านหลุดพ้นจากอายตนะ ๖ และธาตุทั้ง ๖ คลายความยึดมั่น ถือมั่นไปสู่ทางนิพพานแล


คืนต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกธาตุ ๖ ประการ ขึ้นพิจารณา ไปสู่พระไตรลักษณะญาณ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ในธาตุทั้ง ๖ จิตของพระองค์ท่านก็ดำเนินทางไปสู่ภูมิแห่งวิปัสสนากรรมฐาน เจริญทางมรรคธรรม ทางผลธรรม เพื่อถึงเมืองแก้วอมตมหานิพพานธรรม ต่อไป กาลต่อมาพระองค์ท่านก็ไม่ยึดติดอยู่ในธาตุทั้ง ๖ และวิชาอิทธิฤทธิ์ ปล่อยวางได้ยิ่งๆขึ้นไป จิตของพระองค์ท่าน ก็หลุดพ้นขึ้นไปเรื่อยๆ




ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร มหาเถรเจ้า ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน )
เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5 ( วัดพลับ )


ขอขอบพระคุณ คุณเสกสรรค์:




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2015, 10:31:08 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #44 เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 10:36:37 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 17/1/58

เมื่อรู้ว่าจิตรู้สมมติที่อาสวะกิเลสนั้นสร้างขึ้นมาหลอก ความเสพย์สมมติยึดมั่นสิ่งสมมติคือทุกข์เวทนา ดึงนั้นแล้วศีลคือกุศล ชำระกิเลสอย่างหยาบ คือ ศีลมี กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น เป็นสิ่งที่เราควรตั้งมั่นไว้ในใจ ควรเจริญให้มากเพื่อไม่ให้กายและวาจาของเรานั้นดำเนินไปตามสิ่งสมมติที่อาสวะกิเลสมันสร้างขึ้นมาให้จิตรู้ เพื่อหลอกล่อให้จิตมายึดมั่นถือมั่นลุ่มหลงแล้วดำเนินไปตามกองทุกข์ทั้งปวง พระตถาคตจึงตรัสว่า ศีลเป็นฐานของกุศล ควรตั้งจิตมั่นแน่วแน่ในศีล มีศีลเป็นที่ตั้งมั่นไว้ในภายในใจ

กรรมฐานหลวงปู่สุกที่ขรัวท่านโตสอน

    ธาตุไฟ มีมากในจักขุ คือตา เมื่อตาเห็นรูปที่ดีก็ตาม เห็นรูปที่ทรามก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนเปลวไฟ แล็บหายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในรูป ที่มากระทบจักขุ ก็จะหายไป
    ธาตุลม มีมากในหู ได้ฟังเสียงที่ดีก็ตาม ได้ฟังเสียงที่ชั่วก็ตาม ให้ทำเหมือนลมพัดผ่านไป ความยึดมั่นในเสียงที่ดี และร้าย ก็ไม่มี
    ธาตุดิน มีมาก ในจมูก ได้กลิ่นที่ดีก็ตาม ได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนดินสลายไป ความยึดมั่นถือมั่นในกลิ่น ดี ชั่ว ก็จะสลายไป
    ธาตุน้ำ มีมาก ในลิ้น ถ้าลิ้มรสที่ดีก็ตาม ได้ลิ้มรสที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหลไป ความยึดมั่นถือมั่น ติดในรส ก็สลายไป
    ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มี มากในกาย ได้สัมผัสดีก็ตาม ได้สัมผัสชั่วก็ตาม ให้ทำจิต เหมือน ธาตุทั้ง๔ สลายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในสัมผัส ก็จะสลายไป
    อากาศธาตุ มีมาก ในมโนธาตุ และวิญญาณธาตุ รู้ธรรมารมณ์ที่ดีก็ตาม รู้ ธรรมารมณ์ที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนอากาศสลายไป จะทำให้จิตเป็นกลางใน สภาวธรรมทั้งที่ดี และไม่ดี จะทำให้ท่านหลุดพ้นจากอายตนะ ๖ และธาตุทั้ง ๖ คลายความยึดมั่น ถือมั่นไปสู่ทางนิพพานแล

หลวงปู่หลุย ม้างกาย-คือ การม้างกาย หรือแยกกาย นั่นเอง"....

-เมื่อเราสามารถเห็นตนเอง(กายทิพย์) ต้องเอา"กายทิพย์"มาพิจารณา"กายเนื้อ"ให้ละเอียด ตั้งแต่ผม-ขน-เล็บ-ฟัน-หนัง-ตับ-ไต ไส้-ปอด(กายคตานุสสติกรรมฐาน)จนเห็นเป็นอสุภกรรมฐาน คือ สิ่งที่ไม่สวยงาม สักแต่เป็นธาตุขันธ์ที่ต้องแตกสลายไปจนจิตสลายตัวในการยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย โดยมีตัว"จิต หรือผู้รู้" เป็น"ผู้เห็น"นิมิตเหล่านั้น

-การเห็นเป็นสิ่งที่รับรอง เรียกว่าใช้ประโยชน์จากนิมิตเป็น ไม่หลงสวรรค์ ดั้นนรก ตามแต่จิตจะท่องเที่ยวไป...

เมตตาเจโต
ทำอารมญ์ให้เกิดความปารถตาดีเอ็นดูปรานี น้อมไปในการสละให้เสมอกัน โดยอาศัยความเห็นเป็น
- ความหลงอยู่ในสมมติบ้าง๑
- อาการทั้ง ๓๒ ประการ บ้าง๑  - ความเป็นกองธาตุ๖ บ้าง๑

ที่แวบเข้ามาในสมองตอนเวชา 21: 30 น. โดยประมาณ

๑.พึงเห็นว่าเขาทั้งปวงเหล่านั้น จะปุถุชนหรือมนุษย์ทั้งหลายก็ดีหญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง สัตว์ทั้งปวง สิ่งมีชีวิตทั้งปวง สิ่งไรๆทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในภพภูมิทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นสัมภเวสีก็ดี เทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี เทพบุตรเทพธิดาก็ดี พรหมทั้งหลายก็ดี  อมนุษย์ทั้งหลายก็ดี
 
ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ยังเป็นผู้ที่อาศัยจิตยึดมั่นถือมั่นในสมมติทั้งปวงที่อาสวะกิเลสทั้งหลายสร้างขึ้นมาหลอกให้ลุ่มหลงอยู่ ทำให้ยังไม่สิ้นจากกองทุกข์ไป ด้วยเหตุดังนี เราผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ได้รู้เห็นและตื่นจากสมมติอันเป็นเครื่องล่อแห่งกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวงเหล่านี้แล้ว ตามที่พระตถาคตเจ้าองค์พระบรมครูของเราได้ตรัสสั่งสอนชี้แนะแนวทางพ้นทุกข์ให้เป็นไปเพื่อถึงความมีกายใจอันแจ่มใสเบิกบานด้วยธรรมอันขจัดเสียซึ่งกิเลสมมัวหมองความลุ่มหลงในสิ่งสมมติทั้งปวง  จะพึงแผ่เอาความเมตตาเอ็นดูปารถนาดีทั้งหลายอันน้อมไปในการสชะสงเคราะห์ให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น
- ด้วยเหตุดังนี้ขอความเป็นสุข ปราศจากทุกข์ เป็นผู้ไม่มีเวร เว้นความผูกเวร เป็นไม่มีพยาบาท เว้นความผูกพยาบาท เป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นผู้ไม่มีโรค รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง มีความสุขสวัสดี ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นตราบสิ้นกาลนานเทอญ

๒.เห็นเขาเป็นเพียงอาการทั้ง ๓๒ ประการ เสมอตนและทั่วกัน ในสัตว์ทั้งปวง ด้วยอาการเหล่านี้มีในเขาเสมอเราจึงไม่ควรแบ่งแยกที่รักที่ชัง แต่ละคนแต่ละตัวมีเสมอกันหมดไม่ต่างกัน
- แม้พวกอื่นเหล่าใดนั้น ที่ไม่มีอาการทั้ง ๓๒ ประการ ให้พิจารณาเช่น สัมภะเวสี เทวดา  พรหม เป็นต้น แต่ก็อาศัยวิญญาณธาตุเป็นตัวยึดเอา เวทนาความเสวยอารมณ์ ความจำสำคัญมั่นหมาย ความปรุงแต่งทั้งปวงให้มีอยู่ ยึดอยู่ในขันธ์อันเป็นทุกข์ไม่ต่างกัน
- ด้วยเหตุดังนี้ขอความเป็นสุข ปราศจากทุกข์ เป็นผู้ไม่มีเวร เว้นความผูกเวร เป็นไม่มีพยาบาท เว้นความผูกพยาบาท เป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นผู้ไม่มีโรค รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง มีความสุขสวัสดี ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหชายเหล่านั้นตราบสิ้นกาลนานเทอญ

๓. เห็นเขาทั้งปวลเป็นแค่กองธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณทั้งหลายมาประชุมรวมกัน




ม้างกาย บันทุกกรรมฐาน วันที่ 17/1/58 เวลา 23 : 06 น.

ก. ทวัตตติงสาการ+ธาตุ๕+อสุภะ+มรณะสติ

๑. แยกอาการออกเป็นส่วนๆ ทั้ง ๓๒ ประการ ให้เห็นไม่มีเราในรูปขันธ์ และ รูปไม่มีในเรา แต่อาศัยสิ่งทั้งปวงนี้ประกอบกันจึงสมมติว่าเป็นเราเป็นเขา
๒.เห็นเป็นธาตุ ๕ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ
๓. เห็นความผุเปื่อยเน่า ดั่งในอสุภะกรรมฐาน
๔. เห็นความดับสูญสลายไป ดั่งในมรณะสติ คือ มีอารมณ์ที่ดับสูญไป ไม่มีเหลือ ไม่มีอยู่ ไม่มีอาศัยไว้อีก

ข.  อาศัยไฟเผากาย แล้วลอกออกทีละอาการโดยเริ่มจากหนังก่อนจนครบ ๓๒ จนไม่เหลือสิ่งใด

ค. สลายธาตุ มัชฌิมาแบบลำดับ คือ

๑.ไฟเผาสลายธาตุที่ตาเห็นรูป
๒.ลมพัดสลายธาตุที่หูได้ยินเสียง
๓.ดินสลายกลิ่นที่รู้ทางจมูก
๔.น้ำสลายรสชาติที่รู้ทางลิ้น
๕.ดิน น้ำ ลม ไฟ ดับที่กาย
๖.อากาศสลายวิญญาณคือธาตุรู้ให้มีแต่ว่าง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2015, 10:39:19 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 18, 2024, 08:10:57 PM