เมษายน 20, 2024, 12:10:56 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407819 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #45 เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 10:49:13 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 18/1/58


การกรรมฐานไม่ให้ส่งจิตออกนอก

๑.จะต้องสติที่รู้ลมหายใจปักหลักจุดผัสสะลมที่ปลายโพลงจมูกเท่านั้น ไม่เอนเอียงไหลไปตามลมหายใจเข้าออก
- การหายใจเข้าบริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ" ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็น ผู้รู้-ผู้ตื่น-ผุ้เบิกบาน จากสมมติที่อาสวะกิเลสสร้างขึ้นให้จิตรู้ให้จิตหลงเสพย์อารมณ์สมมติแล้วยึดมั่นถืออุปาทานในสมมติจนเกิดทุกข์น้อมมาสู่ตน นับเป็น 1 ครั้ง ทำจนถึง 10 แล้วถอยจาก 10 มาถึง 1 แล้วนับใหม่จาก 1-7 แล้วถอยจาก 7-1 จากนั้นก็นับใหม่ 1-5 แล้วถอยจาก 5-1 จากนั้นก็นับใหม่จาก 1-3 แล้วถอยจาก 3-1 แล้วพุทโธไปโดยไม่ต้องนับเอาจิตจับที่ปลายโพรงจมูก เลื่อนมาหน้าผาก กลางกระหม่อม กลางโพรงสมอง กลางหน้าอก เหนือสะดือ ๒ นิ้ว แล้วจับเฉพาะที่ปลายจมูก เป็นการไล่ความคิดฟุ้งซ่านออกให้เหลือแต่สติฟสัมปะชัญญะและจิตจดจ่อที่ลมเท่านั้น หากชำนาญแล้วให้จับที่ปลายจมูกเท่านั้น

๒.อาศัยสัมปะชัญญะรู้ตัวในปัจจุบันให้มากๆ คือ รู้อิริยาบถตน รู้กิจการงานที่ตนทำในปัจจุบัน ปัจจุบันนั่งสมาธิอยู่ก็รู้ว่านั่งทำสมาธิอยู่

ทำอย่างนี้แล้วให้รู้สภาวะกายของตนที่เป็นไปในปัจจุบันผนวกกับลมหายใจเข้าและออกนิมิตจะเกิดก็เป็นไปในกายในอาการทั้ง ๓๒ ในธาตุ๖ เท่านั้น แล้วจับเอานิมิตนั้นมาไว้จนเก่าสู่สมาธิแล้วพิจารณาธรรม อย่างนี้จึงไม่หลงนิมิต อย่างนี้จึงกล่าวว่าใช้นิมิตเป็น

วันนี้นั่งสมาธิได้ 1 ชม.

วันนี้มีอาการข้อเท้าอักเสบข้างซ้าย เก๊าท์ข้างขวาหายแล้ว นั่งไปเกิดทุกขเวทนาที่ข้อเท้ามาก ได้พยายามเอาจิตจับแต่พุทโธก็ไม่หาย จนเมื่อเราได้ตั้งสมาธิเพ่งไปที่ขาที่ปวดนั้นพึงตั้งทวัตติงสาการว่า ขานี้หนอที่หนังหุ้มอยู่ มาภายในอย่างไรบ้าง ก็เห็นแต่เป็นก้อนเนื้อ น้ำเลือด เส้นเอ็น กระดูก ไขในกระดูกหรือเยื่อในกระดูก ทั้งหมดนี้เป็นดินและน้ำ ดินและน้ำมันเจ็บเป็นหรือ คงหามิได้ แต่เพราะอาศัยใจเรานี้แหละเข้าไปยึดครองไปยึดเอาดินว่าเป็นเราเป็นของเรามันจึงมีตัวตนมีความรู้สึกขึ้นมาได้ ซึ่งจริงๆแล้วก็มีแต่จิตเท่านั้นที่รู้อาการสมมติว่านี่เจ็บนี่ปวดนี่เป็นทุกข์ ก็เมื่อปวดเกิดขึ้นแล้วดับไป จิตอาศัยสัญญาเป็นตัวยึด ยึดความรู้สึกนั้นไว้กับความตรึกนึกคิดจึงเกิดเวทนานุปาทาน ดังนั้นเราจักไม่เอาจิตเอาใจไปยึดครองธาตุดินที่มีในกายนี้อีก เราจึงเกิดความคิดว่า นี่เรายึดตัวตนในเวทนาเข้าแล้ว แต่ยึดโดยสัญญาจากเวทนาที่ดับไปแล้วมาเป็นอารมณ์สมมติให้เกิดมีขึ้นอีก เราจักไม่ยึดจิตที่รู้และยึดเอาแต่สมมติอีก จิตนี้มันของปลอมของสมมติเท่านั้น ของจริงคือกายสังขารคือลมหายใจต่างหากจึงยึดลมไว้ สักพักความปวดหายไป เพรามีสติสัมปะชัญญะไม่ยึดครองรูปขันธ์อันเป็นธาตุดิน ไม่ยึดจิตอันรู้แแล้วก็ เกิด-ดับๆ ไม่หยุด จนเมื่อไม่ยึดจิตที่เป็นสมมติของปลอม ไม่ยึดความคิดอันปรุงแต่งด้วยสัญญาเพราะเป็นของสมมติให้เกิดมีขึ้น ไม่สนสมมติที่จิตรู้เพราะเป็นของปลอมอาการปวดจึงหายไปนาน จึงได้พิจารณาใหม่ว่า ในกายเรามีก็เป็นแค่ธาตุ มันไม่มีความรู้สึกทั้งสิ้น แต่อาศัยจิตรูปยึดสัญญาและสังขารปรุงแต่งความสมมติตรึกนึกเวทนาจึงเกิด เมื่อมองเห็นขาเป็นดิน ดินมีในกาย ดินเป็นแค่ธาตุ เป็นเพียงสภาวะธรรมแห่งรูปไม่มีชีวิตจิตใจแต่อาศัยจิตนี้เข้าไปยึดปรุงแต่งสังขารจึงเกิดมีอาการเป็นไปต่างๆ เรานี่โง่หนอไปยึดอุปาทานในดินว่าดินนี้มีชีวิตจิตใจ เจ็บปวดเป็น จิตต่างหากที่ไปยึดอุปาทานสัญญาความจำสำคัญมั่นหมายของใจที่จดจำหมายรู้อารมณ์นั้นไว้ โดยมีสังขารปรุงแต่งตรึกนึกคิดร่วมกับหวนระลึกถึงสัญญานั้นๆ  เมื่อมันเป็นดินถอนใจที่ยึดครองออก เราก็เห็นขาเป็นสภาวะธรรมหนึ่งๆที่มีรูปร่างอย่างนี้ๆไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจ ไม่มีความรู้สึก (คือรู้ว่ามันมีอาการอ่อนแข็งแต่จิตจับเอาแค่สภาวะธรรมของมันเท่านั้นทำให้ไม่มีชื่อเรียกไม่มีชื่ออาการของสภาวะธรรมนั้นๆ) เราเอาดินสลายดินขากลับว่างเปล่าไม่มีสิ่งใด ไม่มีความรู้สึก สักพักเกิดอาการปวดแสบร้อนที่ขา ก็เห็นว่ากายนี้มีธาตุไฟอยู่จึงแสบร้อนขึ้นได้ เราใช้ไฟดับไฟเห็นด้วยเห็นธาตุไฟมีเกิดในขานี้ อาการแสบร้อนก็หายไปมีสภาพว่าง เอาอากาศที่ว่างข่มสลายไม่ยึดสมมติแห่งจิตขาก็ไม่ปวดแม้จะรู้ว่ามีสภาวะนี้ๆเกิดก็เห็นแค่ธาตุจนเกิดสภาวะว่างสลายไปไม่มีตันตนใน่วงขา พอจะออกจากสมาธิเห็นว่า ด้วยการหายใจของเรา ลมหายใจเป็นกายสังขาร กายนี้ต้องการลมหล่อเลี้ยง ลมนี้มีส่วนสำคัญอันพัดให้น้ำไหลเวียนในกาย จึงหายใจเข้า-ออกโดยระลึกเอาชมพัดไปถจากจมูกลงมาคอ มาหน้าออก ส่งลงไปปลายเท่าระลึกพัดเอาน้ำเลือดลงสู่ปลายเท้า ทำให้รู้สึกว่าเลือดลมเดินไปที่ขาถึงปลายเท้า  ทำให้ก้าวข้ามทุกขเวทนาที่เกิดกับกาย แม้ออกจากสมาธิก็ไม่เป็นตะคริวเลย




สรุป

จิตเป็นตัวเข้าไปยึดครองธาตุดินว่าเป็นเราเป็นของเรา ว่าเที่ยง ดินจึงเกิดเป็นตัวตนบุคคลใด สัตว์ใด สิ่งใดๆขึ้นมา ดินจึงมีความรู้สึกมีอาการในต่างๆ

เมื่อสละคืนรูปขันธ์ไม่มีใจยึดครองในรูปขันธ์ ในธาตุ๕ คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ก็ไม่มีความรู้สึกใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงธาตุ๕ เท่านั้น
เมื่อไม่เอาจิตมาเป็นอารมณ์ เพราะรู้ตามจริงว่าสิ่งที่จิตรู้เป็นของปลอม จิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีความยึดมั่นในจิต ไม่ยึดมั่นในสิ่งที่จิตรู้ เวทนาก็ไม่เกิด ก็แยกรูปแยกนามออกจากกัน มีแต่สติสัมปะชัญญะรู้แลอยู่เท่านั้น มรรคจึงเกิดขึ้น สมาธิจึงเกืดขึ้น ปัญญาจึงเกิดขึ้น ณ ที่นั้น









บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #46 เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 10:56:56 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 19/1/58

คุยกับแก๊บเมื่อเช้าว่า หลวงพ่อสอนให้มีสมาธิเอาสมถะก่อนเดินปัญญา หลวงปู่มั่นก็สอนว่าพระพุทธเจ้านั้นได้สมถะก่อนจึงได้วิปัสสนา ถ้าจะเอาให้เอาสมถะให้ได้ก่อน แล้วจึงไปต่อวิปัสสนา มันจึงจะเห็นจริง ถ้าเดินปัญญาก่อนสมถะก็ได้ปัญญาทางโลกที่อนุมานเอาไม่รู้ตามจริง เป็นเพียงสัญญาเฉยๆ ดั่งพระตถาคตตรัสว่าผู้ที่เพ่งเล็งมองอสุภะที่ภายนอกเป็นการใช้สัญญเท่านั้นไม่ทำให้หลุดพ้น แต่ผู้ที่เห็นอสุภะภายในกายตนจึงจะถึงความพ้นทุกข์ การจะเห็นอสุภะภายในตน คือ อาการทั้ง ๓๒ ประการนี้ต้องอาศัย สมาธิมีสมถะไปจนถึงรูปฌาณ ๔ จึงจะไม่อาศัยสัญญา

-  ดังนั้นถ้าจะเอาก็ต้องเอาสมถะก่อน ตัดความคิดความรู้เห็นจากสมาธิอันปรุงแต่งปัญญาแบบโลกๆของเราทิ้งไปเสีย อยู่ที่กายสังขารคือ "ลมหายใจเข้าและออก" อยู่ที่ "พุทโธ" หรือจะเดินจงกรมไปเรื่อยๆมีสัมปะชัญญะรู้ในอิริยาบถนั้นๆในกิจการงานสภาวะธรรมทางกายที่ทำในปัจจุบันนั้น เท่านั้นพอ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2015, 09:35:11 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #47 เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 06:49:26 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระอริยเถราจารย์สอนเรื่องตัดขันธ์


    (พรรษาที่ ๑๕ สถิตวัดท่าหอย ยุคธนบุรี)ณ วัดท่าหอย พรรษาที่ ๑๔ พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงเจริญสมณะธรรมทุกคืน ก็จะมีพระอริย เถราจารย์มา กล่าวสอน พร่ำสอน พระกรรมฐานพระองค์ท่านทุกคืน คืนนี้ก็เช่นกัน มีพระเถราจารย์พระองค์หนึ่งล่วงมาแล้ว เข้ามาหาพระอาจารย์สุกด้วยกายทิพย์อันละเอียดประณีต

  พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้นมาถึงแล้วก็กล่าวกับพระองค์ท่านว่า ข้าฯชื่อ คำมา ข้าจะมาสอนเรื่องการตัดขันธ์ จะได้เอาไว้ใช้กับตัวเอง และเอาไว้ใช้สอนผู้อื่น เวลาเกิดทุกขเวทนาในเวลาใกล้ตาย ท่านสอนว่าการตัดขันธ์นี้ ต้องมีสมาธิจิตกล้าแข็งสามารถลืมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ ไม่เอาสังขารร่างกายแล้ว ให้ตัดจากขันธ์หยาบก่อน โดยพิจารณาวิปัสสนา คือ ๑.ตัดอาโปธาตุก่อน ๒.ตัดเตโชธาตุ ๓.ตัดปฐวีธาตุ ๔.ตัดวิญญาณธาตุ ดับความยึดมั่นในร่างกาย สุดท้ายให้ตัด วาโยธาตุ เวลามรณะกรรม ทุกขเวทนา จะไม่มี ไม่ปรากฏ แต่ต้องมีสมาธิจิตกล้าแข็ง จึงจะทำได้
พระอริยเถราจารย์ ยังกล่าวสอนต่อไปอีกว่า ระหว่างทุกข์เวทนาเกิดขึ้นมากนั้น

    ให้ตั้งสติให้กล้าแข็ง องค์แห่งธรรมสามัคคี คือโพชฌงค์ ๗ จะเกิดขึ้น
   คือสติสัมโพชฌงค์ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยะสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑

     เมื่อมีสติรู้ต่อทุกข์เวทนา ทั้งภายใน ภายนอก เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์เกิด มีสติแล้วระลึกถึง การตัดซึ่งขันธ์ห้า เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เกิด เริ่มทำความเพียรในการตัดขันธ์ เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์เกิด เมื่อตัดขันธ์ได้ครบองค์แล้ว ดับความยึดมั่นในร่างกายได้ ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิด ความสงบทั้งภายในภายนอกก็ตามมา ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ จึงเกิด ความไม่มีทุกข์เวทนา ก็หายไป จิตก็ตั้งมั่น จึงเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ วางเฉยในอกุศลธรรมทั้งปวง จึงเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์เมื่อท่าน เจริญโพชฌงค์แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งจริงแท้ ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ธรรมเหล่านี้มีอยู่ ๗ อย่างตามที่กล่าวมาแล้ว พระอริยเถราจารย์ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า เจริญอย่างไรจึงจะหลุดพ้น คือ

    ๑.ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ๒.ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
    ๓.ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
    ๔.ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
    ๕.ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
    ๖.ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
    ๗ .ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย ท่านเจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้เข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ฯ
   
      คืนต่อมาพระอริยเถราจารย์ หรือหลวงปู่คำมา ท่านก็กล่าวสอนอีกว่า ข้าฯจะสอนวิชา ผ่อนคายจิต ท่านสอนว่า ขณะที่จิตกำลังมีความสับสนวุ่นวาย ขอให้ตั้งสติแล้วหายใจให้ลึกๆ พุ้งสมาธิจิตไปที่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระพุทธรูป ให้เพ่งดูนิ่งๆนานๆ สักครู่หนึ่ง แล้วภาวนาสวดพระพุทธคุณ คืออิติปิโส ฯลฯ ภควาติ ๑จบ หรือหลายจบก็ได้ ความวุ่นวายใจ และสับสนใจ ก็จะคลายลง แล้วหายไปเองคืนต่อมาพระอริยเถราจารย์ หรือหลวงปู่คำมา ท่านก็สอนต่อไปอีกว่า วิชชาสยบทุกข์เวทนา ท่านบอกว่าเมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นแก่เรา ขอให้เราตั้งสติแล้ว ยอมรับทุกขเวทนานั้นก่อน คือให้มีสติกำหนดรู้ทุกข์นั้นเอง ให้รู้ว่าทุกข์เกิดจากอะไร แล้วนึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เรามีกรรมเป็นของ ของตนเอง เรามีกรรมเป็นมรดก เรามีกรรมเป็นกำเนิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย แล้วมีสติกำหนดรู้ ความวางเฉยในทุกข์เวทนานั้นด้วยถ้าทำดังนี้ได้ ทุกขเวทนาที่มีอยู่ใน ใจ และกาย ก็จะบรรเทา เบาบางลง และหายไปในที่สุด หรือให้มีสติรู้เวทนา เช่นทุกข์เวทนาเกิด ก็รู้ว่าทุกข์เวทนาเกิด ทุกข์เวทนาไม่มี ก็รู้ว่าทุกขเวทนาไม่มี ดังนี้ ก็จะสามารถแยกจิต กับทุกขเวทนาออกไปได้ ไม่รู้สึกทุกข์ ถ้ารู้ไม่เท่าทันทุกข์เวทนา เราก็ไม่สามารถสยบทุกขเวทนาได้ ท่านบอกว่า นี้เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพร่ำสอนพระสาวก และสืบต่อมาจนถึงข้าฯและถึงท่านนี่แหละ

     พระอาจารย์สุกพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว ทรงทบทวนการตัดขันธ์ทบทวนโพชฌงค์ ๗ ทบทวนวิชาสยบทุกข์เวทนา เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทุกวันในพรรษานี้ พระองค์ท่านก็สามารถตัดทุกขเวทนาได้ และชำนาญใน พระคัมภีร์โพชฌงค์ ๗ อีกด้วย  คืนต่อมาในพรรษานั้น พระอริยเถราจารย์ องค์ที่สอนพระอาจารย์สุก เรื่องการตัดขันธ์ อันประกอบด้วย โพชฌงค์ ๗ ประการ ได้มาบอกท่านในสมาธิอีกว่า ข้าฯจะ
สอนวิชาโพชฌงค์ ๗ เป็นวิชาโลกุดร สยบมาร ท่านกล่าวอีกว่า

    มาร คือ กิเลสมาร  สังขารมาร อภิสังขารมาร เทวปุตมาร และมัจจุมาร ท่านบอก นอกจากจะสยบมารทั้ง
ห้าแล้ว ยังใช้รักษาโรคกาย โรคจิต ให้แก่ตัวเอง และผู้อื่นได้อีกด้วย ต่อมาท่านจึงบอก

วิธีทำ ฌานโลกุดร สยบมาร ดังนี้
๑.ท่านให้ตั้งสติสัมโพชฌงค์ ที่กลางสะดือ องค์ธรรมนาภี จุดชุมนุมธาตุ
๒.ให้ตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่จุดเหนือสะดือ หนึ่งนิ้ว จุดธาตุดิน
๓.ตั้งวิริยสัมโพชฌงค์ ที่จุดหทัย จุดองค์ธรรม พระพุทโธ
๔.ตั้งปีติสัมโพชฌงค์ ที่จุดคอกลวง องค์ธรรม ของพระปีติ
๕.ตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่โคตรภูมิท้ายทอย องค์ธรรมนิโรธ ธาตุลม
๖.ตั้งสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่กลางกระหม่อม องค์ธรรมของพระพุทธเจ้า
๗.ตั้งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่หว่างคิ้ว องค์ธรรมของพระสังฆราชา
เมื่อจิตมีกำลัง ปราณีตดีแล้ว ตรงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ให้เปลี่ยนคำภาวนาเป็น
โลกุตตะรัง ฌานัง อันเป็นไปเพื่อจิตหลุดพ้น

ในกาลต่อมาพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านก็ทรงนำวิชาโลกุดร สยบมาร มาสั่ง
สอนศิษย์ มากมายในกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายองค์


ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6657.msg54387;topicseen#msg54387
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #48 เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 06:51:36 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


รูปแสดงจุดที่ตั้งนวหรคุณ ๙ จุด


วิธีทำฌานโลกุดร สยบมาร (โพชฌงค์ ๗ ประการ) ดังนี้

    ๑. ท่านให้ตั้งสติสัมโพชฌงค์ ที่กลางสะดือ องค์ธรรมนาภี จุดชุมนุมธาตุ
    ๒. ให้ตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่จุดเหนือสะดือหนึ่งนิ้ว จุดธาตุดิน
    ๓. ตั้งวิริยสัมโพชฌงค์ ที่จุดหทัย จุดองค์ธรรม พระพุทโธ
    ๔. ตั้งปีติสัมโพชฌงค์ ที่จุดคอกลวง องค์ธรรม ของพระปีติ
    ๕. ตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่โคตรภูมิท้ายทอย องค์ธรรมนิโรธ ธาตุลม
    ๖. ตั้งสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่กลางกระหม่อม องค์ธรรมของพระพุทธเจ้า
    ๗. ตั้งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่หว่างคิ้ว องค์ธรรมของพระสังฆราชา
    เมื่อจิตมีกำลัง ปราณีตดีแล้ว ตรงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ให้เปลี่ยนคำภาวนาเป็นโลกุตตะรังฌานัง อันเป็นไปเพื่อจิตหลุดพ้น


ประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร

            ๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก  
        ๒. แผ่บารมีให้มาร  
        ๓. ทำจิตให้หลุดพ้น  
        ๔. บูชาคุณครูบาอาจารย์
        ๕. เมตตา
        ๖. ปราบมาร  
        ๗. มีความเพียร
        ๘. ปราบคนทุศีล  
        ๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น


     ขออนุญาตช่วยคุณbecause สักเล็กน้อย อย่าว่ากัน

ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6657.msg54387;topicseen#msg54387
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #49 เมื่อ: มกราคม 20, 2015, 09:55:08 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 20/1/58

- เราได้ใคร่ครวญหาวิธีที่จะเห็นตามจริงทั้งรูปภายนอกและภายในเพื่อจะสลัดกามราคะมานาน แต่ก็ยังหาไม่ได้ พอจะเกิดเห็นในสมาธิ ก็คิดว่าสิ่งไม่จริงครูบาอาจารย์ไม่ให้ติดนิมิตไม่ให้เอานิมิตเอาแค่ลมหายใจเท่านั้น ก็มีอานิสงเห็นกาย สภาวะของกายร่างกายนี้เคลื่อนไปตามลมหายใจเข้าออก เห็นความปรุงแต่งทางกายเป็นสภาวะไปตามที่ลมหายใจเข้าออก ก็พึงมาตั้งมองว่าหากเราไม่อาศัยนิมิตมีสติสัมปะชัญญะอยู่วิเคราะห์ลงในธรรม ก็ไม่เห็นได้ตามจริง เห็นนิมิตก็รู้ว่านิมิตมโนภาพเกิดปรุงแต่ง จากสัญญาบ้าง สังขารบ้าง เมื่อรู้เราก็ไม่เสพย์เสวยอารมณ์ไปกับนิมิตแล้วใช้นิมิตมาพิจารณากำหนดลงในธรรม



- เมื่อลืมตานี้เห็นภายนอกเราผู้ไม่มีสมาธิไม่มีฌาณ จะทำได้ไฉน ก็พึงมีความคิดแวบหนึ่งว่าอยู่กับปัจจุบัน การอยู่กับปัจจุบันคือเห็นสักแต่ว่าเห็นเป็นต้น โดยเห็นแล้วไม่เอาสมมติ สัญญาไรๆ ไปปรุงแต่งนึกคิดต่สังขารสมมติเป็นเรื่องราวแล้วเสพย์ติดสมมติความคิดนั้นจนเกิดทุกขเวทนา ก็เมื่อดังนี้แล้ว เราจะมองเหมือนเด็กว่าเห็นก็สักแต่เห็นในปัจจุบันไม่เห็นโดยเสพย์ความคิดความจำได้หมายรู้ ก็ยังทำไม่ได้ทุกครั้ง มักจะติดเสพย์ความคิดไปก่อนจึงรู้ว่าเสพย์สมมติให้เป็นไปในอกุศลธรรมทั้งปวง



- ดังนั้นแล้วเมื่อเราเห็นว่าจิตนี้รู้ทุกอย่างแต่สิ่งที่จิตรู้เป็นสมมติทั้งหมด ไม่ว่ารูป เสียง คิด รส โผฐัพพะ ธัมมารมณ์ ความจำสำคัญมั่นหมายของใจ ความตรึกนึกคิดไรๆ ทุกอย่างสมมติขึ้นมาจากอาสวะกิเลสหลอกให้จิตรู้ จิตหลง จิตยึดสมมติทั้งหมดจนเกิดเป็นทุกข์

" ก็เพราะจิตมันรู้มันยึดมันหลงในสมมตินี้แล ทำให้เกิดอุปาทาน เกิดมีฉันทะราคะในกามคุณ ๕ เกิดอุปาทานหวั่นไหวทุกข์ไปใน โลกธรรม ๘ ; มละ ๙ ; มานะ ๙ ; สังโยชน์ ๑๐ "

จิตนี้จึงยึดถือไม่ได้ มันเกิดรู้สมมติปิดกั้นสติสัมปะชัญญะให้หลงตามแล้วมันก็ดับไป ไม่มีตัวตนบังตับมันไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา




" จิตนี้มันเชื่อไม่ได้ เชื่อสิ่งที่จิตมันรู้ที่มันเสพย์อยู่ไม่ได้ ไม่ถือเอาจิตมาตั้งเป็นอารมณ์ยึดมั่นอีก กายสังขารนี้มีอยู่จริง ก็ให้รู้ลมหายใจเข้าออกไป ตั้งอานาปานสติเป็นเบื้องหน้าไว้โดยพึงรู้ว่าปัจจุบันนี้ของจริงคือลมหายใจเข้าหรือออก ก็ไอ้รูปภายนอกที่เราเห็นทางตานั้นเราเสพย์มันไปกับสมมติสัญญา+สังขารทั้งสิ้น เมื่อเห็นดังนี้ มีลมอยู่เบื้องหน้าอยู่กับสภาวะธรรมแห่งกายจริงๆ หรือ จะบริกรรมพุทโธด้วยระลึกว่าวิตกวิจารเรานี้มีไว้ให้เป็นไปเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าด้วยใจศรัทธาเคารพบูชายิ่ง คือ บริกรรมพทุโธ สมองมันก็โล่ง มันไม่ยึดความคิด เห็นแล้วก็ไม่คิดสืบต่อ แม้มันจะเกิดความคิดขึ้นก็ไม่ยึดมาเป็นอารมณ์เพราะมันไม่ใช่ปัจจุบันมันเป็นของปลอมที่อาสวะกดิเลสสร้างขึ้นมาให้เราเสพย์เท่านั้น อยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆเมื่อจะแลเห็นสิ่งใดจิตมันก็โล่ง สมองมันก็โปร่ง ไม่มองด้วยสมมติตรึกนึกคิดสืบต่อ เห็นมันก็สักแต่ว่าเห็นในปัจจุบันแค่นั้น ไม่มีอื่น เพราะจิตมันเกิดพร้อมสติสัมปะชัญญะเสพย์ปัจจุบันอยู่ คือ ลมหายใจ สภาวะทางกายในปัจจุบัน รู้ความเกิดขึ้นของจิตคือรู้ว่าจิตกำลังรู้สิ่งใดแต่ไม่ไปยึดเอาจิตเพราะจิตมันรู้แต่สมมติ ความคิดก็ไม่สืบต่อ มันเกิดคิดมันก็ดับที่นั่น ดังนี้.. "



 เมื่อเจริญไปอย่างนี้สมาธิก็เกิดในที่นั้นเอื้อต่อสติสัมปะชัญญะ  ต้องทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ การนำธรรมปฏิบัติมาใช้ในชีวิตประจำวันก็ต้องอาศัยอย่างนี้สำหรับผู้ไม่รู้ธรรม ไม่มีสมาธิ ไม่มีฌาณ ไม่มีญาณอย่างเรา




- หากจะมุ่งเอาแต่สมาธิดูลมหายใจโดยส่วนเดียวก็ต้องนั่งสมาธิหลับตาทำเอาไม่สนนิมิตสิ่งใด มีสติสัมปะชัญญรู้ว่าจิตมันคิดมันรู้นี้เป็นสมมติไม่ควรยึดจิตเป็นอารมณ์เราจะไปเสพย์เอาสมมติเข้าจนเป็นทุกข์ "ยึดเอาของจริงคือกายสังขาร คือ รู้ลมหายใจเข้า-ออก  บริกรรมพุทโธไปน้อมขอคุณแห่งความเป็นผู้รู้ผู้ตืนผู้เบิกบานของพระตถาคตเจ้ามาสู่ตน ให้กำหนดเริ่มที่การ "หายใจเข้ายาว" และ "หายใจออกยาว" ไปเรื่อยๆจนกว่าสติจะเกิดขึ้นตามรู้ลมหายใจไปของมันเองและกายสังขารกับกองรูปขันธ์ ธาตุ๖ มันจะดำเนินไปของมันเอง"





อานาปานสติ ๒. โลมสกังภิยสูตร* ปฐมอานันทสูตร
http://www.tripitaka91.com/91book/book31/251_300.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2015, 12:24:47 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #50 เมื่อ: มกราคม 20, 2015, 03:54:01 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
กามคุณ ๕

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้

แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้แล.



โลกธรรม ๘

โลกธรรมหรือความเป็นไปตามคติธรรมดา ซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตวโลก และสัตวโลกหมุนเวียนไปตามธรรมที่ว่านี้ด้วย จึงเรียกว่าโลกธรรม มีอยู่ 8 ประการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 4 ประการดังนี้

1. ส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ คือ เป็นสิ่งที่คนอยากได้ใคร่มี และพยายามแสวงหามาเป็นของตน มี 4 ประการ คือ
      
          1.1 ลาภ ได้แก่การได้มาซึ่งสิ่งที่คนปรารถนา
      
          1.2 ยศ ได้แก่ตำแหน่งศักดินาต่างๆ
      
          1.3 ปสังสา ได้แก่การได้รับการยกย่องสรรเสริญ
      
          1.4 สุข ได้แก่ความสบายกาย สบายใจ
      
          2. ส่วนที่เป็นอนิฏฐารมณ์ คือเป็นสิ่งคนไม่ปรารถนา ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ตน มี 4 ประการ คือ
      
          2.1 อลาภ ได้แก่การสูญเสียสิ่งที่ได้มา
      
          2.2 อยส ได้แก่การถูกถอดยศ ลดตำแหน่ง
      
          2.3 นินทา ได้แก่การถูกตำหนิติเตียน
      
          2.4 ทุกข์ ได้แก่ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ



มละ ๙ (มลทิน, เครื่องทำให้มัวหมอง เปรอะเปื้อน, กิเลสดุจสนิมใจ มี ๙ อย่าง) คือ
       ๑. โกธะ ความโกรธ
       ๒. มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน
       ๓. อิสสา ความริษยา
       ๔. มัจฉริยะ ความตระหนี่
       ๕. มายา มารยา
       ๖. สาเถยยะ ความโอ้อวดหลอกเขา
       ๗. มุสาวาท การพูดเท็จ
       ๘. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก
       ๙. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด



มานะ ๙ (ความถือตัว, ความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) คือ
๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
๔. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
๕. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
๖. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
๗. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
๘. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
๙. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.



สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง) คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง

ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. กามราคะ
           ๒. ปฏิฆะ
           ๓. มานะ
           ๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
           ๕. วิจิกิจฉา
           ๖. สีลัพพตปรามาส
           ๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)
           ๘. อิสสา (ความริษยา)
           ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
           ๑๐. อวิชชา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2015, 03:57:52 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #51 เมื่อ: มกราคม 21, 2015, 12:42:28 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อานาปานุสสติกรรมฐาน ๑



     ในมหาสติปัฎฐานสูตรอันดับแรกที่องค์พระพุทธเจ้าทรงหยิบเอาอานาปานุสตติกรรมฐานขึ้นมาก่อน ถ้าไม่ดีแล้วก็คงไม่ยกนำมาเป็นอันดับแรกก่อนกรรมฐานกองอื่น สำหรับอานาปานุสสติกรรมฐาน หมายถึงการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ ให้เอาใจกำหนดจับอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ จิตไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ไม่มีอารมณ์เลวเกิดขึ้น ไม่มีอกุศลใด ๆ แทรกเข้ามาได้ ขณะใดที่ใจยังตื่นอยู่ แม้ตาจะหลับให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออกในด้านของสติปัฏฐานสี่ แม้เวลาพูดคุยกัน จิตใจก็กำหนดลมหายใจเข้าออกไปด้วย แม้ใหม่ ๆ อาจจะลืมบ้าง แต่ต้องตั้งใจไว้ทรงสติไว้ว่าเราจะหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวก็รู้อยู่ แม้พระอรหันต์ก็ไม่ทิ้งลมหายใจ แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสแก่พระสารีบุตรว่า "สารีบุตรดูก่อน สารีบุตรเราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน" คำว่า "มาก" ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ ทั้งนี้เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร คือเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดของจิตใจ และเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดทางร่างกาย มีทุกขเวทนา เป็นต้น เราทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ ก็เหมือนกับคนฉีดมอร์ฟีน เป็นยาระงับ ระงับเวทนา อานาปานุสติกรรมฐานจงทำให้มาก จงอย่าละ ถ้าใครแสดงอาการเลว แสดงว่าคนนั้นทิ้งกำหนดลมหายใจเข้าออก

          ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ ทำให้เกิดฌานสมาบัติ ตั้งใจไว้เสมอไม่ว่า นั่ง นอน กิน เดิน คุย อย่างเลวที่สุดระยะต้นภายใน ๑ เดือนจะทรงฌาน ๔ การปฏิบัติก็จะเป็นผลโดยไม่ยุ่งกับอำนาจของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้ทรงฌานจะไม่มองดูความดีและความเลวของคนอื่น ไม่ติใคร จะมีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณ
          ขอจงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบคู่กับการภาวนา "พุทโธ"

          จะใช้กรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตามจงใช้กรรมฐานกองนั้นให้ถึงอรหัตตผล ขอเพียงให้มีกำลังใจเข้มแข็ง กำลังใจดูตัวอย่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งก็ตามที ชีวิตอินทรีย์ของเราจะสลายไปก็ตาม ถ้าไม่สำเร็จพระสัมโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้"

         ในการปฏิบัติในตอนแรกเราอาจจะรู้สึกว่ายาก คำว่า "ยาก" เพราะว่ากำลังใจของเรายังไม่เข้มแข็ง เพราะใจของเราหยาบมาก่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน เพื่อดับอารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต ต่อไปจะเจริญสมถะกองไหนก็ตาม หรือวิปัสสนากองใดก็ตาม จะเว้นอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้ อันดับแรกของให้ทำอานาปานุสสติกรรมฐานถึงฌาน ๔ ความกลุ้มจะเกิดนิดหน่อยเพราะใหม่ ๆ จะทำให้ใจทรงอยู่ ก็คงจะคิดไปโน่นไปนี่ ก็อย่าเพิ่งตกใจว่าเราจะไม่ดี ถ้าบังเอิญเราทำกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบพุทธานุสสติกรรมฐาน ไปได้สัก 1-2 นาที จิตนี้เกิดอารมณ์พล่าน แล้วต่อมามีความรู้สึกตัว ว่า "โอหนอ นี่ใจเราออกไปแล้วหรือ" เราก็ดึงอารมณ์เข้ามาที่อานาปานุสสติกรรมฐานควบคู่กับพุทธานุสสติกรรมฐานใหม่ การทำอย่างนี้จงอย่าทำเฉพาะเวลา พยายามใช้เวลาตลอดวันไม่ว่าจะทำอะไรที่ไหน อย่างไร ใช้เวลาเป็นปกติ เวลาพูดรู้ลมหายใจเข้าออกได้หรือไม่ เวลาทำงานก็รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย ลืมบ้างไม่ลืมบ้าง ขอให้มีความตั้งใจของจิต ควรจะตั้งเวลาทรงฌานไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในขณะที่จิตของท่านเข้าถึงฌานด้วยอำนาจของพุทธานุสสติกรรมฐาน หรือด้วยอำนาจของอานาปานุสสติกรรมฐาน

          เวลาที่พอจะภาวนาได้ หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ถ้าพูดไม่ได้ก็ใช้แต่อานาปานุสสติกรรมฐาน งานก็จะไม่เสีย เพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ที่ละเอียด ขณะที่จะคิดงานก็วางอานาฯ ครู่หนึ่ง ใช้การคิดพิจารณา แต่ความจริงคนที่คล่องแล้วเค้าไม่ทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน เพราะขณะที่ใช้นั้นใช้ต่ำ ๆ แค่อุปจารสมาธิ ตอนนั้นอารมณ์เป็นทิพย์ เมื่ออารมณ์จิตเป็นทิพย์ปัญญาก็เกิด เมื่อปัญญาเกิด งานที่ทำก็ไม่มีอะไรยาก

          การตั้งเวลา จะใช้การนับก็ดี หายใจเข้าหายใจออก นับเป็นหนึ่ง ถึงสิบ และตั้งจิตไว้ว่า ตั้งแต่ 1-10 นี้จะไม่ยอมให้อารมณ์แวบไปสู่อารมณ์อื่น ถ้าไปสู่อารมณ์อื่นเมื่อใดเราจะตั้งต้นใหม่ทันที และถ้า 1-10 แล้วอารมณ์จิตดี เราก็ไม่เลิก ตั้งต่อไปอีก 10 เมื่อถึง 10 ยังดีอยู่ เราก็ยังไม่เลิกต่อไปอีก 10 ในระยะใหม่ ๆ เรายังควบคุมไม่ได้ ก็ใช้กำลังใจของสมเด็จพระบรมครูมาใช้ เราก็จงคิดว่า ถ้า 1-10 นี้ไม่ได้ ก็จะให้มันตายไปซะเลย เมื่อนาน ๆ ไปไม่ถึงเดือนก็ต้องได้เลยสิบ

          จิตทรงอารมณ์อานาปานุสสติกรรมฐานแล้ว อารมณ์อื่นก็ไม่สามารถเข้ามาได้ ความหยาบในจิตใจหมดไป มีแต่ความละเอียด ก็จะมีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน พยายามใช้กำลังใจให้อยู่ในขอบเขต ทำไม่ได้ถือว่าให้มันตายไป เวลานอนก่อนจะนอนก็จับลมหายใจเข้าออกเป็นปกติแล้วก็หลับไป ตื่นใหม่ ๆ จะลุกหรือไม่ลุกก็ตาม ใช้อารมณ์ใจให้ถึงที่สุดทุกวัน





ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anapana.html




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2015, 12:54:27 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #52 เมื่อ: มกราคม 21, 2015, 12:52:25 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อานาปานุสสติกรรมฐาน ๒



     อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐานมีมาก เรียกว่าเป็นกรรมฐานที่มีความละเอียด อานาปานุสสติกรรมฐานอาศัยลมเป็นสำคัญ ถ้าวันใดลมหายใจหยาบ แสดงว่าวันนั้นจะปรากฎว่าอาการคุมสมาธิไม่ดี จะมีอาการอึดอัด บางครั้งจะรู้สึกว่าแน่นที่หน้าอก หรือว่าหายใจไม่ทั่วท้อง ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น หรือเกรงว่าอาการอย่างนี้จะมี เมื่อเวลาเริ่มต้นที่จะกำหนดกรรมฐาน ให้เข้าชักลมหายใจยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง คือหายใจเข้า หายใจออกยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง เพื่อเป็นการระบายลมหยาบออกไป จากกนั้นก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าบังคับให้หนัก ๆ หรือเบา หรือยาว ๆ สั้น ๆ

          การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานต้องการสติสัมปชัญญะเป็นใหญ่ อาการของลมหายใจปล่อยไปตามสบาย ๆ แค่รู้ไว้เท่านั้น ว่าหายใจยาว หรือสั้น ก็รู้อยู่ และอีกแบบหนึ่งคือ กำหนด 3 ฐาน คือ เวลาหายใจเข้า ลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือริมฝีปาก คนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปาก ริมฝีปากงุ้มจะกระทบจมูก เป็นความรู้สึก จงอย่าบังคับลมหายใจให้แรง ปล่อยไปตามปกติ ความรู้สึกมีเพียงว่ากระทบจมูกอย่างเดียว ถ้ารู้ความสัมผัสจมูกก็แสดงว่า จิตทรงได้แค่อุปจารสมาธิ ถ้าสามารถรู้การสัมผัส 2 ฐาน คือหายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก และหายใจออกรู้กระทบหน้าอก กระทบจมูก 2 จุดนี้ แสดงว่า จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้ารู้ถึง 3 ฐาน หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ และเวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูก รู้ได้ชัดเจน อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌาน ถ้าอารมณ์จิตละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ฌานที่ 2 ที่ 3 อย่างนี้ลมหายใจเข้าหายใจออกจะเหมือนกระแสน้ำไหลเข้าไหลออก ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌานละเอียด หรือว่าฌานที่ 2 ที่ 3 สำหรับปฐมฌานลมยังหยาบอยู่ แต่รู้สึกว่าจะเบากว่าอุปจารสมาธิ พอถึงฌานที่ 2 จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงอีก ไปถึงฌานที่ 3 ลมหายใจที่กระทบรู้สึกว่าจะเบามาก เกือบจะไม่มีความรู้สึก ถ้าเข้าถึงฌานที่ 4 ก็จะมีความรู้สึกว่าไม่หายใจเลย แต่ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติ ที่ความรู้สึกน้อยลงไปก็เพราะจิตกับประสาทห่างกันออกมา ตั้งแต่ปฐมฌานจิตก็ห่างจากประสาทไปนิดหนึ่ง มาถึงฌานที่ 2 จิตก็ห่างจากประสาทมากอีกหน่อย พอถึงฌานที่ 3 จิตก็ห่างจากประสาทมากเกือบจะไม่มีความสัมผัสกันเลย ถึงฌานที่ 4 จิตปล่อยประสาท ไม่รับรู้การกระทบกระทั่งทางประสาททั้งหมด จึงไม่รู้สึกว่าเราหายใจ

          อาการที่เข้าถึงอุปจารสมาธิ

          เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะมีความสงบสงัดดีขึ้น ดีกว่าอุปจารสมาธิมีความชุ่มชื่นมีความสบาย แต่ทรงได้ไม่นาน อาจจะ 1 -2 - 3 นาทีในระยะต้น ๆ แต่บางวันก็ทรงได้นานหน่อย เมื่อจิตมีความสุข รื่นเริง อาการของปิติมี 5 อย่าง ที่จะเรียกว่า อุปจารสมาธิ จิตที่เข้าถึงอุปจารสมาธิก็คือจิตมีปิติ และจิตเข้าถึงสุข ถ้าเข้าถึงสุขก็เรียกว่าเต็มอุปจารสมาธิ อาการของจิตที่ควรแก่การพิจารณา คือ

มีขนลุกซู่ซ่า ขนพองสยองเกล้า จงอย่าสนใจกับร่างกาย พยายามสนใจกับอารมณ์ที่ทรงไว้
น้ำตาไหล เวลาเริ่มทำสมาธิน้ำตาไหล ใครพูดอะไรก็น้ำตาไหล บังคับไม่อยู่
อาการโยกโคลง โยกหน้าโยกหลัง
มีอาการสั่นเคลิ้ม คล้ายเหมือนปลุกพระ บางคนมีอาการตัวลอย ไม่ใช่เหาะ เป็นปิติ
อาการซาบซ่าน ซู่ซ่าในกาย ตัวกายเบาโปร่ง มีความรู้สึกเหมือนตัวใหญ่ หน้าใหญ่ ตัวสูง
          ปิติเมื่อเกิดขึ้น เราจะมีอารมณ์เป็นสุข ซึ่งเป็นความสุขที่อธิบายไม่ได้ เป็นความสุขสดชื่น ปราศจากอามิส อาการอย่างนี้จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิในอันดับขั้นสูงสุด เป็นการเต็มในขั้นกามาวจรสวรรค์ ขณิกสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวาจรสวรรค์ เมื่อเต็มขั้นกามาวจรแล้ว ถ้าเลยจากนี้ก็เป็นอาการของพรหม

          ขณะที่จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ อาจจะเป็นขั้นต้น กลาง ปลาย ก็ตาม อุปจารต้นเรียกว่า ขนพอง สยองเกล้า น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง นี่เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นต้น อุปจารสมาธิขั้นกลาง คือ กายสั่นเทิ้ม คล้ายกับอาการปลุกพระ หรือมีร่างกายลอยขึ้น ตัวเบา ตัวใหญ่ มีจิตใจสบาย เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นกลาง ถ้ามีจิตใจเป็นสุขบอกไม่ถูก เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นสูงสุด จะเป็นอุปจารสมาธิอันดับใดก็ตาม ในขณะนี้จะมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น นั่นคือ บางครั้งเห็นแสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้น สีแดง สีเขียว สีเหลือง บางครั้งก็เหมือนกับใครมาฉายไฟที่หน้า บางครารู้สึกว่ามีแสงสว่างทั่วกาย ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น จงทราบไว้ว่าเป็นนิมิตของอานาปานาสติกรรมฐาน แต่บางทีก็มีภาพคน อาคาร สถานที่เกิดขึ้น แต่อาการอย่างนี้จะเกิดขึ้นชั่วครู่แล้วก็หายไป ตอนนี้ขอให้จงอย่าสนใจกับแสงสีใด ๆ ทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่าง ทำความรู้สึกไว้เสมอว่า เราเจริญกรรมฐานต้องการอารมณ์จิตเป็นสุข ต้องการอารมณ์เป็นสมาธิ ทำความรู้สึกว่าเรายังดีไม่พอ ยังไม่เข้าถึงปฐมฌาน

          ถ้าเข้าถึงปิติส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม อาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฎขึ้น ขณะที่กำลังทำงานก็ดี เดินอยู่ก็ดี เราเหนื่อยก็นั่งพัก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทันที จิตใจเป็นสุข อาการเหนื่อยจะหายอย่างรวดเร็ว เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นการระงับทุกขเวทนาทางกายจุดหนึ่ง และขณะที่เหนื่อยอยู่หาที่พักแม้จะมีเสียงดังก็ตาม จับลมหายใจเข้าออกทันที พอจับปรับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปิติ แสดงว่าเข้าถึงสมาธิได้อย่างรวดเร็ว ควรจะพยายามไว้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เราคล่องในการทรงสมาธิ เวลาที่จิตถึงฌานสมาบัติ เราสามารถจะเข้าฌานได้ตามอัธยาศัย ถ้าเข้าฌานโดยต้องการเวลาเพื่อที่จะให้เกิดฌานนั้น แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ การทรงสมาธิต้องคล่องที่ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า จิตเข้าถึงนวสี คำว่านวสี คือการคล่องในการเข้าฌานและออกฌาน

          ฉะนั้นการฝึกสมาธิจงอย่าหาเวลาแน่นอน ไม่ว่าจะทำอะไร นั่ง เดิน นอน กิน จิตจับลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว อย่าปล่อยจิตให้ว่างจากสมาธิ การก้าวเดินก็อาจจะก้าวขวาก็พุท ก้าวซ้ายก็โธ เวลากินก็รู้ว่าตัก กำลังเคี้ยว กำลังกลืน เป็นการทรงสมาธิได้ดี เวลานอนก่อนจะหลับ ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน ขณะที่หลับจะถือว่าเป็นผู้ทรงฌาน จิตจะเข้าถึงปฐมฌาน หรือสูงกว่านั้นจึงจะหลับ ถ้าตายระหว่างนั้นก็จะเป็นพรหม เวลาตื่นก็จะตื่นหรือลุกก็ได้ จับลมหายใจเข้าออกทันที เพื่อให้สมาธิจิตทรงตัว เป็นการรวบรวมกำลังใจสูงสุด

          เมื่อผ่านอุปจารสมาธิแล้ว จิตจะมีความสุขมีความเยือกเย็น โดยฌานแบ่งออกเป็น 4 อย่าง

         ปฐมฌาน อาการมีองค์ 5 มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอตคตา คำว่า วิตก ได้แก่อารมณ์นึก ที่เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก วิจาร ได้แก่ รู้ว่าเวลานี้เราหายใจเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น หรือในกรรมฐาน 40 ก็จะรู้ว่าเวลานี้กระทบจมูก หน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ

          ปิติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่น เบิกบาน ไม่มีความเบื่อในการเจริญพระกรรมฐาน เอตคตา มีอารมณ์เดียว คือในขณะนั้นจิตจับเฉพาะลมหายใจเข้าออกปกติ จิตจะไม่รับอารมณ์ส่วนอื่น

          ความรู้สึกในขณะที่จิตเข้าถึงปฐมฌาน จิตจะจับลมหายใจเข้าออก ลมหายใจจะเบามีความสุขสดชื่น หูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนแจ่มใส แต่ไม่รำคาญในเสียง กำลังจิตสำหรับผู้ที่เข้าถึงปฐมฌาน ในเบื้องแรกยังไม่มั่นคง ในขณะที่จับลมหายใจเข้าออก จะมีสภาพนิ่งคล้ายเราเคลิ้ม คิดว่าเราหลับ แต่ไม่หลับ มีอาการโงกหน้าโงกหลัง แต่จริง ๆ แล้วตัวตั้งตรง พอสักครู่จะมีอาการหวิวคล้ายตกจากที่สูง นั่นคือเป็นอาการจิตหยาบ อารมณ์หยาบของปฐมฌาน เป็นจิตพลัดจากฌานไม่สามารถผ่านไปได้ จงอย่าสนใจพยายามรักษาอารมณ์ปกติไว้ ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น

          ฌานที่ 2 มีองค์ 3 ตัดวิตก วิจาร เหลือ ปิติ สุข เอตคตา จิตจะไม่สนใจ มีความเบาลง มีความนิ่งสนิท ถ้าภาวนากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก คำภาวนาจะหายไป จิตจะตั้งอารมณ์ทรง มีความเอิ่มอิ่ม มีอารมณ์สงัด แต่ถ้าเราไปที่อุปจารสมาธิก็จะมาคิดว่า เอ...เราเผลอไปแล้วเหรอ เราไม่ได้ภาวนาเลย ความจริงนั่นไม่ใช่ความเผลอ เป็นอาการของจิตทรงสมาธิสูงขึ้น

          ฌานที่ 3 มีองค์ 2 มีอาการสุข และเอตคตา ตัดปิติหายไป อาการของฌานนี้ จิตมีความสุข มีอารมณ์ตั้งดีกว่าฌานที่ 2 และร่างกายเหมือนมีอาการนั่งหรือยืนตรงเป๋ง สำหรับลมหายใจจะเบามากเกือบไม่มีความรู้สึก หูได้ยินเบามาก แม้ว่าเสียงนั้นจะดัง

          ฌานที่ 4 จะมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจ มีอารมณ์เด็ดเดี่ยวตั้งมั่น มีความมั่นคง ไม่มีความรู้สึกภายนอก ไม่ว่ายุงจะกัด เสียงก็ไม่ได้ยิน จิตนิ่งเฉย ๆ มีเอตคตาและอุเบกขา เอตคตาหมายความว่าทรงอารมณ์เป็นหนึ่ง อุเบกขา หมายความว่าเฉย ไม่รับสัมผัสอารมณ์ใด ๆ ทั้งหมด

         แต่ความจริงแล้วการปฏิบัติจงอย่าสนใจว่า ตอนนี้เข้าถึงฌานอะไร ถือว่าวันนี้ได้ดีเพียงไร พอใจเท่านั้น คิดว่าเป็นผู้สะสมความดี ทรงอารมณ์สมาธิ ถ้าจิตตั้งได้ก็จะมีอาการเป็นสุข เวลาเจริญสมาธิจิต ไม่ว่ากรรมฐานกองใดก็ตาม เวลานี้อยู่ในฌานใด อย่าไปตั้งว่าเราจะต้องได้ฌานนั้น ฌานนี้ จะทำให้ไม่ได้อะไรเลย ให้มีความพอใจแค่ที่ได้ เป็นการฝึกจิตเข้าถึงอุเบกขารมณ์ ทำให้ต่อไปจิตจะทรงฌาน 4 ได้ง่าย

         การปฏิบัติที่จะให้ได้ผลจริง ๆ ใช้ตลอดทุกอิริยาบถ อย่าทิ้งลมหายใจเข้าออก พยายามนึกลมหายใจเข้าออกเสมอ แต่หากว่างานนั้นไม่เหมาะที่จะดูลมหายใจเข้าออก เราก็ใช้จิตจับอยู่ที่งานว่าเวลานี้เราทำอะไร เป็นการฝึกอารมณ์ของสมาธิไปในตัว

          วิธีการต่อสู้คือ

          1. ต่อสู้กับความเหนื่อย จิตจับสมาธิ จับลมหายใจเข้าออก ดูว่าจิตจะทรงตัวไม๊ ถ้าจิตไม่ทรงตัวเราจะไม่เลิก เป็นการระงับความเหนื่อย ดับความร้อนไปในตัว เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิเล็กน้อย ความเหนื่อยก็จะคลายตัว พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิก็จะหายเหนื่อยทันที ความร้อนความกลุ้มก็จะหายไป

          2. การต่อสู้กับเสียง ขณะที่เราพบเสียงที่เค้าคุยกันเสียงดัง ลองทำจิตจับลมหายใจเข้าออก ว่าเรารำคาญเสียงไม๊ หรือลองเปิดเสียงทีวี วิทยุฟังแล้วกำหนดอานาปานุสสติกรรมฐาน หูได้ยินเสียงชัด แต่จิตของเราไม่รำคาญในเสียงนั้นก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทำไป หูไม่ได้ยินเสียงเลยนั่นยิ่งดี พยายามต่อสู้เสมอ จนมีอารมณ์ชิน เมื่อเราเจอเสียงที่พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม เราเข้าสมาธิได้ทันทีทันใด เป็นการฝึกจิตให้คล่องในการเข้าสมาธิ ถ้าทำได้อย่างนี้จะทำให้อารมณ์จิตทรงตัว

          3. ต่อสู้กับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ต้องพยายามระงับด้วยกำลังของสมาธิ คิดว่าใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เป็นเรื่องของเขา เวลาที่เราได้รับคำด่า อย่าเพิ่งโกรธใช้จิตพิจารณาดูก่อนว่าเรื่องที่เค้าด่านั้นจริงหรือไม่จริง ถ้าไม่ตรงความจริงก็ยิ้มได้ ว่าคนที่ด่าไม่น่าเลื่อมใส ด่าส่งเดช หรือถ้าพบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ ก็จับอารมณ์ให้จิตทรงตัว ไม่ว่าเค้าจะด่าว่าอะไร เรารักษาอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ ถือว่าอารมณ์ความสุขเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพานโดยง่าย เป็นอารมณ์แบบสบาย ๆ หัดฝึกจิตกระทบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ ระงับความอยากด้วยกำลังของฌาน กำลังของฌานระงับกิเลสได้ทุกอย่าง โลภะ(ความโลภ) ราคาะ(ความรัก) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความหลง) ระงับได้ทุกอย่างแต่มีอารมณ์หนัก เมื่ออารมณ์จิตของเรามีการทรงตัวจริง ๆ อารมณ์แห่งความสุขจะยืนตัวกับจิตของเรา จะไม่หวั่นไหวเมื่อเห็นวัตถุที่สวยงาม ไม่ทะเยอทะยานจากอาการที่ได้ลาภสักการะ ไม่หวั่นไหวเมื่อมีคนยั่วให้โกรธ สิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นเราของเราก็ไม่มี ความจริงกำลังสมาธิสามารถกดกิเลสทุกตัวให้จมลงไปได้ แต่อย่าลืมว่ากิเลสมันไม่ตายถูกฝังไว้ ถ้าเผลอเมื่อไหร่ก็โดนเล่นงานเมื่อนั้น สำหรับคนที่ทรงจิตถึงฌาน ๔หรือทรงอารมณ์สมาธิถึงฌานใดฌานหนึ่ง จนกระทั่งมีอารมณ์ชิน มักจะมีอาการเผลอคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์ เพราะไม่พอใจทั้งหมด ไม่เอาทั้งรัก โลภ โกรธ หลง แต่ถ้ากำลังใจตกลง ทั้งรัก โลภ โกรธ หลงก็เข้ามาหา เพราะเป็นแค่ฌานโลกีย์เท่านั้น แต่ถ้าเราสามารถระงับได้ก็ควรจะพอใจ เพราะกิเลสสามารถกดลงไปได้ ไม่ช้าก็สามารถจะห้ำหั่นให้พินาศด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ





ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anapana2.html




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2015, 01:00:00 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #53 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 10:37:57 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกดกรรมฐานวันที่ 26/1/58

เราได้มีโอกาสไปทำบุญและขอกรรมฐานกับพระอรหันต์ผู้ทรงคุณที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบันอีกท่านมาสักระยะแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน 2557 นั่นคือ ท่านหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒโน ณ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ได้ไปขอกรรมฐานท่านและท่านได้ชี้แนะสั่งสอนมาพอสังเขปว่า

ศีล ทาน ภาวนา(สมถะ+วิปัสสนา) ให้เพียรดำเนินไปร่วมกัน





ศีล..นี้เป็นสมมบัติของมนุษย์ มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่จะมีศีลอันบริบูรณ์ดีงามได้ ศีลเป็นฐานของกุศลทุกอย่างบนโลกนี้ ผู้ที่มีศีลเท่านั้นจึงชื่อว่าเป็นมนุษย์ มีศีล ๕ เป็นอย่างต่ำนี้ตายไปไม่ตกนรก หากมีแต่ทาน ทานนั้นช่วยให้รวยเฉยๆ ช่วยให้สละโลภ ไม่ได้ช่วยให้เป็นมนุษย์ แม้ตายก็ยังตกนรกศีลเท่านั้นที่ทำให้ได้เป็นมนุษย์ตายไปไม่ตกนรก ศีลยังไม่ได้ก็ทำสมาธิไม่ได้ ก็เข้าไม่ถึงปัญญา เพราะกายใจไม่บริสุทธิ์ ไม่สะอาด ถ้าศีลนี้คือการกระทำกุศลทางกายและวาจาเป็นหลักเป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสเป็นเครื่องแห่งกุศลทั้งปวงยังทำไม่ได้ อย่างอื่นก็ทำไม่ได้ ทานก็ไม่ได้สมบูรณ์เพราะทานทีบริบูรณ์นั้นผู้ให้ต้องมีศีลและผู้รับก็ต้องมีศีลจึงจะบริบูรณ์มีอานิสงส์มาก ศีลไม่มีสมาธิก็ไม่ได้เพราะกาย วาจา ใจ มีแต่ความเร่าร้อน ร้อนรุ่มด้วยกิเลส สมาธิไม่ได้ปัญญาที่ตัดขัดซึ่งอาสวะกิเลสก็ไม่ต้องพูดถึงเลย ปัญญาก็ไม่ได้ ศีลนี้เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติเป็นพื้นฐานเป็นกุศลแห่งสิ่งทั้งปวง

"ละความเบียดเบียนได้ ศีล"



(โดยส่วนตัวเราเห็นว่า ที่หลวงปู่บุญกู้บอกว่า ศีลนี้ขำระกายใจให้สะอาด เพราะทุกอย่างเริ่มที่ใจก่อน เพราะมีความช่มใจ มีความสงบใจ มีความทนได้ทนไว้ รู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะบริบูรณ์ดีงามไม่ได้หากไม่มี พรหมวิหาร ๔ จนเข้่าถึงพรหมวิหาร ๔ อันเป็นเจโตวิมุตติ ทำให้มีจริยะวัตรอันอบรมมาดีแล้วสำรวมระวังในอินทรีย์ ๖

เป็นเหตุให้แม้เราจะยังไม่ถึงพระอรหันต์อันสิ้นอาสวะกิเลสทั้งปวงก็ตาม แม้จะยังมีจิตคิดโลภ โกรธ หลงอยู่ แต่ก็จะมีสติอันเป็นกุศลสังขารจิตตนอยู่เสมอๆให้เห็นว่าการกระทำทางกายและวาจาตามกิเลสนี้ย่อมสร้างความทุกข์มาให้ เกิดความคิดที่จะออกจากทุกข์จนเราเข้าถึงธรรมคู่อันงามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนดังนี้
๑. ทมะ+อุปสมะ
- ทมะ คือ ความข่มใจ อันเกิดมาแต้่ ความคิดชอบ คิดออกจากทุกข์ ออกจากอาสะกิเลสทั้งปวง คิดดี คิดในแง่ดี คิดแต่สิ่งดีงาม คิดในกุศล เป็นกุศลวิตก)
- ความสงบใจจากกิเลสไว้(อุปสมะ คือ ความสงบ ความแสวงหาสันติอันพึงมี ความพ้นจากความเร่าร้อน ความไม่เร่าร้อนตามกิเลส สำเร็จสืบจากทมะ)
๒. ขันติ+โสรัจจะ
- ขันติ คือ ความอดทนด้วยกุศลด้วยสภภาวะจิตที่รู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวางโดยไม่ติดใจข้องแวะ ไม่ติดข้องขุ่นเคืองใจเข้าถึงซึ่งความทนได้ทนไว้อันเป็นกุศล
- โสรัจจะ คือ ความสำรวมใจกายและวาจามีจริยะวัตรอันงดงาม ไม่ก้าวล่วงทางกายและวาจา มีอินทรีย์สังวรณ์อยู่กับปัจจุบันคือ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น รู้รสก็สักแต่ว่ารู้รส รู้การกระทบสัมผัสทางกายก็สักแต่รู้ว่ามีการกระทบทางกาย ได้รู้ทางได้ก็สักแต่รู้ว่าใจรู้ สิ่งที่รู้ทั้งปวง แม้จะระลึกรู้ว่าเป็นธาตุ สิ่งนี้คือรูป สิ่งนี้คือนาม สิ่งนี้คือคน สัตว์ สิ่งของไรๆ รู้ลักษณะไรๆ มีชื่อเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งปวงคือรู้โดยสมมติทั้งหมด กล่าวคือ สิ่งใดก็ตามที่รู้โดยมี วิตก วิจาร มีเวทนาเวทนาสุขหรือทุกข์ มีสัญญา สิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด เป็นสิ่งอาสวะกิเลสทั้งปวงสร้างขึ้น สภาวะจริงมันมีแต่สภาวะธรรมเท่านั้นไม่มีชื่อเรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ไม่มีว่านี่คือธาตุนั้นธาตุนี้ นี่คือรูป นี่คือนาม นี่คือสิ่งไรๆ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา





ทาน..นี่เป็นสิ่งที่ควรมี เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงมี ทานทำให้มีสมมบัติในภายหน้า ทำให้มีมิตรบริวารมาก ทานเป็นการสละให้โดยไม่ติดใจข้องแวะในภายหลัง

"ละความโลภได้ ทาน"




ภาวนา..ภาวนานี้ได้แก่ สมาธิภาวนา(สมถะ คือ กิงกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง) ทำให้เรามีความผ่องใสในจิตมีจิตตั้งมั่นควรแก่งานอันทำให้เห็นตามจริงด้วยปัญญาญาณ วิปัสสนาภาวนา(ปัญญา คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง) สิ่งนี้ทำให้เราไม่โง่ ทำให้เราเป็นคนมีปัญญา เป็นคนมีสติสัมปะชัญญ รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ทันจิตตนในทุกขณะ เมื่อสัมมาญาณเกิดเห็นตามจริงจนเกิดความไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆเพราะเห็นเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น ปัญญาก็ทำหน้าที่ตัดให้ขาดแล้วดับโดยสิ้นเชิงแห่งกองทุกข์นั้น

"ละโมหะคือความโง่ลุ่มหลงได้ ภาวนา"

เมื่อจะภาวนาให้เริ่มจากสมาธิก่อน พระพุทธเจ้าก็เกิดสมาธิก่อนจึงเกิดปัญญารู้ชอบและตรัสรู้

เวลาทำสมาธิให้รู้ลมโดยส่วนเดียวปักหลักที่ลมหายใจเข้าออกบรอิกรรม "พุทโธ" ไป

หากจิตไม่สงบฟุ้งซ่านมากให้ท่องคาถาว่า "อระหัง พุทโธ อิติปิโส ภควา นมามิหัง" บริกรรมไปจนเหลือแค่ "พุทโธ"

ทีนี้เมื่อก่อนมาหาหลวงปู่นี้เราได้ทำสมาธิที่หน้า กศน.ของวัดพระธาตุข้างกุฏิของหลวงปู่ เมื่อหายใจเข้านี้เราตามลมไปจนสุดมีความรู้สึกขนลุกขนพอง พอหายใจออกแล้วรู้สึกจิตที่ตั้งมั่นมากขึ้น แล้วก้นึกปรุงแต่งไปว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในอานาปานสติสูตรให้เริ่มที่ลมหายใจออกต้องมีความหมายแน่นอนจะเป็นอย่างที่เรารู้สึกนี้ไหม จึงเปลี่ยนคำบริกรรมเมื่อหายใจเข้าเป้น "มรรค" หายใจออกเป็น "ผล" ทำก็มีสมาธิอยู่สักพัก แล้วก็เกิดความสงบใจจากกิเลส จึงได้เอาการปฏิบัตินี้มาถามหลวงปู่บุญกู้ว่า

"หลวงปู่ครับ ผมหายใจเข้ารู้สึกมีปิติ หานใจออกแล้วรู้สึกสงบ ตามลมไปเรื่อย ดังนี้แล้วผมจะบริกรรมว่าหายใจเข้าคือมรรค หมายถึงทางเข้า แล้วหายใจออกบริกรรมว่า ผล คือผลจากมรรคนั้น ได้หรือไม่ครับ"

หลวงปู่ตอบกลับมาว่า "แล้วมีสติกำกับรู้อยู่ไหมล่ะ"
(ที่หลวงปู่ท่านถามมาทำให้เรารู้ตามคำถามที่ท่านกล่าวมาดังนี้ว่า ที่ทำน่ะตอนนั้นมีสติไหม มีสัมปะชัญญะไหม รู้กายใจไหม รู้วาทำสมาธิอยู่ กำลังรู้ลม รู้ว่าตนทำสมาธิอยู่แล้วมีสภาวะธรรมที่อย่างนี้ๆเกิดขึ้น แล้วรู้ว่าตนนี้บริกรรมอยู่ บริกรรมว่าอย่างนี้ๆคำบริกรรมนี้ใช้เพื่อแทนคำบริกรรมที่รู้ลมหายใจเข้าและออก เช่น พุทโธ มีสภาวะนี้ๆเมื่อลมหายใจเข้า มีสภาวะนี้ๆเมื่อลมหายใจออก มีสติสัมปะชัญญกำกับอยู่รู้ว่าตนทำสมาธิแล้วกำหนดรู้อย่างนี้ในสมาธิ)

เราตอบท่านว่า "รู้ครับมีสติรู้ทันกายใจตนตลอดและมีสัมปะชัญญะรู้ตนว่ากำลังทำสมาธิอยู่"

หลวงปู่ตอบกลับมาว่า "งั้นก็ทำได้ ไม่เป็นไร"

คำถามในส่วนของตรงนี้ทั้งหมดทำให้เรารู้เลยว่า จะตั้งคำบริกรรมใดๆ(แต่อานิสงส์ของคำบริกรรมนี้มีอยู่มาก ผลที่ได้ก็จะต่างกันไปตามจิตที่ยกมาบริกรรมภาวนา) หรือ จะกำหนดนิมิตไรๆขึ้นมาพิจารณาก็ตามแต่ หากมีสติสัมปะชัญญะยู่ย่อมทำได้ ก็เหมือนกำหนดนิมิตโดยอสุภะก็อาศัยสัญญากำหนดนิมิตขึ้นระลึกพิจารณาแล้วกำหนดผปรุงแจ่งให้เป็นไปตามที่ใจตนต้องการจะเห้นจนเกิดความหน่ายในกามเป็นต้น แต่ในขณะทำนั้นต้องมีสติรู้สภาวะจิตตน รู้สภาวะกายตน อิริยาบถและกิจการงานที่กำลังทำ จนจะไม่บ้าไม่หลงนิมิตมโนภาพ เพราะนิมิตมโนภาพทั้งหลายนี้มาจากสัญญาทั้งหมด ทั้งจริงและไม่จริงจึงเชื่อถือไม่ได้"

ลำดับต่อมมาเราได้สอบถามหลวงปู่บุญกู้ว่า "หลวงปู่ครับ ครั้งนึงผมเคยเข้าสู่สภาวะที่ว่างไม่มีความติดข้องใจในสิ่งไรๆเลย มีแต่อยากจะบวชเท่านั้น ตอนนี้สิ่งนั้นมันดับไปแล้วผมจะทำอย่างไรให้มันกลับมาได้อีกครับ ตอนนี้พอมันเสื่อมผมก็ได้แต่เจริญจิตสังเกตุเอาไม่ได้ทำสมาธิ พอจะมีวิธีเข้าสมาธิได้เร็วๆไหมครับ"

หลวงปู่ตอบกลับมาว่า "ยังไม่ได้ทำเลยแล้วจะไปหวังเอาผลได้ยัง ให้เจริญใน ศีลให้บริสุทธิ์ มีทานเป็นนิจ เวลาทำภาวนาน่ะขอแค่ให้เราได้ทำไว้ก่อน จะได้ไม่ได้ก็ช่างมันอย่าไปสนใจ ให้มีกำลังความเพียรให้มากๆทำให้มากเข้าไว้ ขอแค่ให้ได้ทำก็พอ อย่างอื่นอย่าไปสนจะได้ไม่ได้ก็ช่างมันแค่เราได้ปฏิบัติได้ทำก็พอ ให้พอใจที่ความยินดีที่ได้เพียรปฏิบัติภาวนาเท่านั้น อย่าไปหวังเอาผล ยิ่งหวังยิ่งไม่ได้"

โดยการนั้นเรามีความโลภและยินดีอย่างมากที่ได้เจอและขอกรรมฐานท่าน เราอยากจะขอกรรมฐานเยอะ

เราจึงกล่าวกับหลวงปู่ท่านว่า "ผมปารถนาจะรู้กรรมฐานแนวทางปฏิบัติให้มาก"

หลวงปู่บุญกู้ ตอบกลับว่า "หลวงปู่เสาร์นี้น่ะ ท่านสอนเลยว่า แค่พุทโธยังไม่ได้ แล้วจะได้ได้อะไร พุทโธดูลมหายใจ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน กรรมฐานคู่กองนี้น่ะง่ายสุดยังทำไม่ได้แล้วจะไปไกด้อะไรอีก เอาไปทำไมเยอะๆ เอาไปก็ไม่ได้ใช้ เสียทิ้งเปล่าๆ ไปทำให้ได้ก่อนแล้วค่อยมาว่ากัน ถ้าอยากได้จริงๆก็ต้องมาบวช"

เราจึงกล่าวกับหลวงปู่ท่านว่า "ผมเป็นผู้มีราคะมากกลัวทำพระพุทธศาสนาเสื่อมครับเลยอยากทำให้ได้ในตอนเป็นโยมก่อนและหมดภาระหน้าที่ของลูกต่อพ่อแม่ และ พ่อของลูกแล้วก็คิดไว้ว่าอยากจะบวชเช่นกันครับ"

หลวงปู่บุญกู้ ตอบกลับว่า "งั้นก็อยู่อย่างนี้ต่อไป ไม่รู้ต่อไป หลงต่อไป ไม่ได้ต่อไป"


เราถึงกับหงายเงิบเลยคำตอบท่านแต่ละประโยคแทงใจผู้ไม่ปฏิบัติอย่างเราโดยแท้ คือ เราทำๆเลิกๆไม่ทำติดต่อกัน ไม่มีพละ ๕ ไม่มีศีล ธรรม เอาซะหงายเงิบเลยช่วงนั้นยิ่งกินเหล้ามากด้วย จึงตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า หากเราไม่เห็นธรรมได้ธรรมหนึ่ง คือ ไม่ได้เห็นผลจากการปฏิบัติ แล้วทำชีวิตให้ดีขึ้นกว่านี้ ผมจะไม่กล้ามาหาหลวงปู่อีก

แต่ก็ด้วยเดชะบุญ "ด้วยคุณแห่งกรรมฐานที่เพียรทำตามคำสอนของหลวงปู่ ซึ่งทำโดยตั้งจิตว่าจะได้ไม่ได้ช่างมัน ขอแค่ให้ได้ทำให้มากก็พอ การปฏิบัติของเรานี้ขอถวายเป็นพุทธบูชา ทำให้มากทุกขณะที่ระลึกได้ ตามสติกำลัง" อยู่ๆก็เกิดสมาธิขึ้นมามีจิตแอันผ่องใส แลเห็นสภาวะธรรมมากขึ้น ยึดติดน้อยลง เห็นค่าของศีล จึงได้กลับไปทำบุญและขอกรรมฐานจากหลวงปู่บุญกู้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ยิ่งเมื่อปฏิบัติพิจารณาตามที่หลวงพ่อเสถียรท่านสอนแล้วยิ่งทำให้เห็นทั้งคุณและค่าของศีลเป็นอันมาก เห็นคุณในพรหมวิหาร ๔ ทาน สืบมา จากการภาวนานั้นทำให้เห็นตามที่หลวงปู่บุญกู้สอนเรื่องศีลทั้งหมดเลย





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2015, 04:53:01 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #54 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 06:16:57 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน



สังเกตุได้เลยว่า พระอรหันต์ทุกท่าน จะสอนตรงกันคือ มีพละ ๕ ให้เพียรเจริญปฏิบัติให้มากให้ติดต่อกัน ขอแค่ให้ได้ทำก็พอ อย่าไปหวังผล นั่นเพราะเป็นการปฏิบัติโดยละภวะตัณหา แล้วมันก็จะได้เอง






ขอขอบพระคุณ พระพุทธเจ้า ที่ทรงเพียรจนบรรลุธรรมอันเป็นอมตะแล้วเผยแพร่สั่งสอนแนวทางพ้นทุกข์ให้ สัตว์โลกทั้งปวงได้รู้ตาม
ขอขอบพระคุณ พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เ)้นทางเพื่อออกจากทุกข์ ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นได้ด้วยตนเอง
ขอขอบพระคุณ พระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดีและตรงแล้ว ได้ปฏิบัติออกจากทุกข์แล้ว ได้เผยอพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้ามาจนถึงเราให้ได้รับรู้และปฏิบัติตาม


ขอบขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ซึซึ่งผมได้ฌาณครั้งแรกเพราะอ่านประวัติท่านพระอาจารย์ใหญ่นี้แล้วเจริญปฏิบัติตามข้อวัตรด้วยศรัทธา เพียงแค่พุทโธ เท่านั้น จากไม่เคยรู้จักฌาณ ญาณ วิปัสสนาไรๆทั้งสิ้น แต่กลับได้มาโดยง่าย
ขอขอบพระคุณ ท่านหลวงปู่เสาร์ ที่ได้กรุณาสอนเรื่อง จตุธาตววัตถาน ๔ ธาตุ ๔ และ ธาตุ ๖ ไว้ให้ผมได้เรียนรู้ตาม
ขอขอบพระคุณ ท่านหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ที่ท่านได้ให้ข้อธรรมปฏิบัติง่ายจากหนังสือหลวงปู่ฝากไว้ ให้ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามแล้วเห็นผลได้ตามจริง
ขอขอบพระคุณ ท่านพระราชพรหมญาณ หรือ หลวงพ่อฤๅษีที่ได้เผยแพร่ธรรมปฏิบัติที่ง่ายแต่เข้าถึงได้จริงให้ผมได้เรียนรู้ตาม
ขอขอบพระคุณหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ครูอุปัชฌาย์ที่สอนให้ผมได้รู้จักและเจริญปฏิบัติในอสุภะและทวัตติงสาการ
ขอขอบพระคุณหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒโน ที่สอนให้ผมได้รู้จักและเห็นค่าใน ศีล ทาน ภาวนา และผมได้ยึดแนวปฏิบัติที่ท่านได้อนุเคราะห์สอนสั่งมาจนถึงทุกวันนี้
ขอบขอบพระคุณหลวงพ่อเสถียร ที่สอนให้ผมเข้าถึงกรรมฐานอย่างถูกต้อง ไม่ยึดติดสิ่งที่จิตรู้ สอนผมแยกกาย เวทนา จิตออกจากกัน สอนผมให้รู้จักกรรมบถ ๑๐ และเข้าถึงได้ สอนให้ผมได้รู้คุณแห่งศีล พรหมวิหาร๔ ทานที่แท้จริง สมาธิ ปัญญา จนถึงความปฏิบัติตาในทุกวันนี้
ขอขอบพระคุณ ท่านพระครูสุจินต์ธรรมวิมล หรือ หลวงพ่อสมจิต ครูอุปัชฌาย์ผมที่ได้สั่งสอนกรรมฐานทั้ง อานาปานสติ พุทธานุสสติ อริยิบถบรรพ สัมปะชัญญะบรรพให้แก่ผม ด้วยคุณแห่งกรรมฐานที่ท่านสอนทำให้ผมเข้าถึงสมาธิและความหน่ายไม่ยึดติดสิ่งไรๆ


ขอขอบพระคุณ เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา บิดาผู้ให้กำเนิดผมเลี้ยงดูผมมาอย่างดี และ สอนให้ผมมีศีลธรรม ให้ผมดำรงในศีล คิดดี พูดดี ทำดี สอนผมให้รู้จักเมตตาและให้ทาน คอยชี้แนะให้คำปรึกษาผมมาตลอด
ขอขอบพระคุณ คุณแม่ซ่อนกลิ่น เบญจศรีวัฒนา มารดาผู้ให้กำเนิดผมที่เลี้ยงผมมาอย่างดี ให้ผมอยู่ใต้ร่มพระพุทธศาสนา ให้ผมได้ทำบุญอยู่ประจำๆจนเติบดตมีคริบครัว คอยชี้แนะให้การศึกษาผมมาตลอด
ขอขอบพระคุณ บุพการีทุกท่านที่คอยเลี้ยงดูอุ้มชูผมมาอย่างดี
ขอขอบพระคุณ พี่ๆของผมทั้งหลายทั้ง ๗ คนที่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูผมมาอย่างดีไม่ต่างกับเตี่ยและแม่เลย
ขอขอบพระคุณ น.ส.ปาริชาติ โลหะสาร ภรรยาคนเดียวของผมที่คอยปรนนิบัติดูแลผมมาอย่างดี ไม่ให้ผมต้องมาลำบากเลย ดคอยทำนุบำรุงปฏิบัติในในพระพุทธศาสนาด้วยกันไม่เคยห่าง เป็นนางฟ้าเป็นภรรยาที่ทรงด้วยเบญจกัลยาณีผู้ประเสริฐสุดในชีวิตของผม ทำให้ผมมีสุขไม่มีความคิดมากให้ฟุ้งซ่าน ทำให้ผมได้ฌาณเพราะเธอนี้แลทำให้ไม่มีห่วง
ขอขอบพระคุณ ด.ช.ภูมิพัฒน์ เบญจศรีวัฒนา บุตรชายผู้เป็นที่รักของผม ผู้ที่มีจิตใจดีงามของผม ที่คอบติเตียนตักเตือนผมให้ผมได้กระทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้องมาตลอด
ขอขอบพระคุณ น.ส.กชพร อารีเอื้อ ผู้ที่คอยให้ความอนุเคราะห์แบ่งปันและช่วยเหลือผมมาตลอดเวลา ๗ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ภรรยาผมกลับไปเสวยสุขเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ดังเดิม


ด้วยท่านทั้งหลายที่ผมได้เอ่ยนามมานี้และทั้งที่ไม่ได้เอ่ย มีคุณแก่ผมมากประมาณมิได้ ด้วยเหตุดังนี้ผมจะเพียรเจริญปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เป้นศาสนาของพระศาสดาของผมให้ได้เข้าถึงธรรมใดธรรมหนึ่งในชาตินี้ เมื่อได้เห็นธรรมใดแล้วจะนำมาเผยแพร่ชี้แนะแนวปฏิบัติอันดีงามนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นเพื่อแทนพระคุณ ดังนี้







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2015, 11:47:03 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #55 เมื่อ: มกราคม 27, 2015, 10:49:43 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 27/1/58

รวมกรรมฐานที่ได้ปฏิบัติมาทั้งหมดที่เรากำลังเจริญปฏิบัติอยู่ในตอนนี้คือ

1. พุทธานุสสติ + อานาปานสติ คือ บริกรรม "พุทโธ" กำกับลมหายใจเข้าและออก ระลึกถึงคุณที่ว่าด้วยความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จากโมหะความลุ่มหลงในสิ่งสมมติทั้งปวงของพระพุทธเจ้าน้อมมาสู่ตน
- เพราะจิตรู้ทุกสิ่ง แต่สิ่งที่จิตรู้เป็นสมมติทั้งหมด จิตยึดสิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติ
- ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดถือเอาสิ่งไรๆก็ตามที่จิตรู้ทั้งหมดมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์หลงเสพย์ไปตามความคิดที่อาสวะกิเลสสร้างขึ้นมาให้จิตรู้ ให้จิตเสพย์ ให้จิตลุ่มหลง
- ลมหายใจคือกายสังขารเป็นสภาวะธรรมจริงที่จิตควรรู้ ควรเสพย์ ควรยึดมั่น บริกรรมพุทโธทุกลมหายใจเข้าออกไปน้อมเอาความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานจากโมหะสิ่งสมมติทั้งปวงที่จิตรู้ของพระตถาคตเจ้านั้นมาสู่ตน
- รู้และทำแค่นี้พอ จึงจะอยู่กับความจริง ไม่ต้องอยู่กับนิมิตมโนภาพความตรึกนึกคิดไรๆทั้งสิ้น)
- เมื่อใช้ชีวิตตามปกติจะรึกว่าพระตถาคตเจ้านี้ได้เสด็จมาอยู่เบื้องหน้าแลดูการปฏิบัติของเราอยู่ ทรงเจริญวิชชาและจรณะให้เราดู แล้วเราก็น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามพระองค์

2. ธัมมานุสสติ คือ พระธรรมบทใดๆก็ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว ที่เราปฏิบัติมาดีแล้วเห็นผลแล้วด้วยตนเอง ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล แลควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด รู้ได้เฉพาะตน เป็นธรรมอันวิญญูชนสรรเสริญน้อมปฏิบัติ อย่างเราตจะนึกถึง พระธัมมจักรกัปปวัตนสูตร และ คิริมานนทสูตร(สัญญา ๑๐)

3. สังฆานุสสติ คือ ระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย หรือ  ครูบาอาจารย์ผู้เป็นพระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้ปฏิบัติดีแล้วที่ใด้แสดงธรรมของพระตถาคตและชี้แนะแนวทางให้เข้าถึงทั้งปวงให้แก่เราเป็นต้น อย่างเรามีระลึกถึง พระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่เสาร์ กันตสีโร, หลวงปู่ดุลย์ อตุโล, ท่านพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่นิล มหันตปัญญโญ,  พระราชพรหมญาณ, ครูบาอาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ได้สอนกรรมฐานให้แก่เรา คือ หลวงปู่บุุญกู้ อนุวัฒโน, หลวงพ่อเสถียร, พระครูสุจินต์ธัมมวิมล, พระอาจารสนธยา ธัมมวังโส เป็นต้น เมื่อระลึกถุงท่านทั้งหลายหมู่นั้นเราจะระลึกเอาปฏิปทาคุณจริยะวัตรที่ท่านเจริญปฏิบัติ ที่ท่านชี้แนะสั่งสอนเรา แล้วน้อมนำให้เกิด พละ ๕ แล้วเจริญปฏิบัติตามท่าน

4. เจริญปฏิบัติในกุศลกรรมบถ ๑๐ และ พรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึง เจโตวิมุตติ

5. สีลานุสสติ คือ ระลึกถึงศีลข้อใด หมู่ใด ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย ที่เราเจริญมาบริบูรณ์ดีแล้ว ให้เกิดเป็นฉันทะ มีวิริยะเป็นสังวรปธาน มีฉันทะสมาธิ ณ ที่นั้น

4. จาคานุสสติ คือ ระลึกถึงทานอันใดที่เราทำมาดีแล้ว ที่มีการสละให้อันดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว ทานอันบริบูรณ์ไปด้วยศีลและพรหมวิหาร๔ มีอุปการะเอื้อเฟื้อหรือทานอันบริบูรณ์ด้วยศีลและพรหมวิหาร ๔ ศรัทธาที่ได้ทำอแก่พระอรหันต์และพระพุทธศาสนามาดีแล้ว ได้มีอุปการะเอื้อเฟื้อที่ทำให้บุพการีแล้ว ต่อบุตรและภรรยา ญาติพี่น้องทั้งหลายเป็นต้น ไปจนถึงผู้อื่นสัตว์อื่น ทำให้เกิดความยินดี มีฉันทะ มีวิริยะ มีจิตตะ มีวิมังสา เกิดฉันทะสมาธิ

5. มรณะสติ คือ ระลึกถึงความตาย ว่าเราจักต้องตาย แล้วต้องเพียรพยายาม(วิริยะ อุตสาหะ)ปฏิบัติให้ดีพร้อมก่อนที่เราจักตายในทุกๆขณะที่ลมหายใจเข้าหรือออก มีความกตัญญู กตเวที ต่อบุพการีมีเจตนาในศีล สมาธิ ทาน ภาวนาเป็นต้น

5. อิริยาบถบรรพ เช่น เดินจงกรม ยืน นั่ง นอน เป็นต้น จนรู้เห็นสภาวะธรรมในกายตนที่กำลังดำรงอยู่

6. สัมปะชัญญะบรรพ คือ รู้กิจการงานที่ตนกำลังทำกำลังดำเนินไปในทุกขณะปัจจุบัน จนรู้เห็นสภาวะธรรมในกายตนที่กำลังเป็นไปตามแต่สภาวะนั้นๆ

6. เมื่อกำลังทำกิจการงานไรๆอยู่ก็มีสติสัมปะชัญญะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานไม่ฟุ้งซ่านส่งจิตออกนอก เมื่อเวลาว่างขณะดำเนินชีวิจประจำวันอยู่ก็รู้กาย รู้ใจ รู้ลมหายใจเข้าออก พุทโธ ไปเสมอๆ ก่อนนอนและตื่นนอนก็ทำสมาธิพุทโธไปทุกวัน เวลาว่างหรือวันหยุดก็เข้าวัดไปขอกรรมฐานจากหลวงปู่บุญกู้บ้าง นั่งกรรมฐานที่วัดมหาธาตุบ้าง วัดหลักสีบ้าง ที่ห้องพักบ้าง เป็นประจำอยู่เนืองๆโดยขอให้ได้ทำให้มากเข้าไว้ เพื่อเป็น "พุทธบูชา" เป็น "ปฏิบัติบูชา" ไม่ใส่ใจหรือหวังในผลจากการปฏิบัติ




ว่าด้วย..มรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดจากการทำสมาธิ ในความเข้าใจของปุถุชนผู้ยังเข้าไม่ถึงธรรมตามจริงอย่างเรา

- สัมมาทิฐิ :
กาย : เมื่อให้จิตรู้ว่ารูปขันธ์คือกายเรานี้มีอาการ ๓๒ มันสักแต่เป็นเพียงธาตุ ๕ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ธาตุเหล่านี้สงเคราะห์กันขึ้นไม่มีความรู้สึกนึกคิดไม่มีสุขทุกข์ไม่เจ็บไม่ปวดเป็น แต่อาศัยวิญญาณธาตุ เป็นธาตุตัวที่ ๖ ที่ทำหน้าที่รู้ รู้ทุกอย่าง ยึดทุกอย่าง เข้าไปยึดครองเอากองธาตุทั้ง ๕ เหล่านั้นไว้ ก็อาศัยวิญญาณธาตุที่เข้าไปยึดในธาตุทั้งปวงนั้นแลจึงเจ็บ ปวด สบาย สุข ทุกข์ได้ ทั้งๆที่ธาตุ ๕ มันไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆเลย แต่อาศัยวิญญาณธาตุนี้แลเข้าไปยึดครองธาตุทั้ง ๕ นั้นแล้วเกิดรู้ผัสสะที่นั้น ทั้งๆที่ผัสสะอาการนั้นมันเกิดและดับไปแล้วจิตมันจึงจะรู้ได้ ก็วิญญาณธาตุนี่แหละเข้าไปยึดครองเอาสิ่งนั้นโดยอาศัยสัญญาความจำได้หมายรู้จึงเกิดอาการเจ็บ ปวด และ เวทนาขึ้น แล้วก็สังขารตรึกนึกปรุงแต่งสืบต่อไปอีกไม่รู้จบ ความเข้าไปยึดในรูปขันธ์ว่านี่เป็นเรานี่เป็นของเรานี่เป็นตัวตนบุคคลใด สัตว์ใด สิ่งใดๆมันหาประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ดังนั้นอย่าเข้าไปยึดครองยึดมั่นถือมั่นตามที่วิญญาณธาตุนั้นยึดครองธาตุทั้ง ๕ ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้คนนั้นคนนี้ ลมหายใจเรานี้ต่างหากที่คือของจริงที่มีอยู่ในตน ที่เราสามารถรับรู้ได้จริง รู้ว่าลมหายใจ คือ กายสังขาร..เป็นความปรุงแต่งเป็นไปของกาย เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงกาย เป็นสิ่งที่กายต้องการทำให้ทรงสภาวะธาตุภายในกายนั้นอยู่ได้ ให้ปักหลักมั้นไม่โคลงเคลงไปตามลมตั้งที่ปลายจมูกจับระลึกรู้ที่ลมหายใจเข้า-ออก
จิต : และ มีสติสัมปะชัญญะรู้เห็นตามจริงว่าจิตนี้เป็นเพียงกองขันธ์ที่ทำหน้าที่รู้และยึดมั่นถือมั่นเท่านั้น เมื่อเราตายจิตหรือวิญญาณขันธ์ก็ดับสูญตายตามไปด้วย(ตรงนี้เป็นความรู้ทางพระอภิธรรมที่ท่านเดฟวัดเกาะได้กรุณาชี้แนะเราไว้ เพื่อให้รู้ตามจริงและคลายความยึดมั่นในวิญญาณขันธ์) สั่งหรือบังคับมันให้รู้ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่ได่ จิตจึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน จิตนี้มันรู้ทุกสิ่งแล้วก็มันเข้าไปยึดครองสิ่งที่มันรู้ไว้ แต่สิ่งที่มันรู้ที่มันเข้าไปยึดครองน่ะมีแต่สมมติเท่านั้นไม่มีความจริงเลย ดังนั้นแล้วจิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด จิต หรือ วิญญาณขันธ์ หรือ วิญญาณธาตุนี้เราจึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นหรือตั้งความปารถนาตามสมมติที่จิตมันรู้ มันยึดครอง หรือ แม้แต่ตัวจิตมันเองก็ตาม เพราะมันเป็นทุกข์ เมื่อรู้เห็นดังนี้ในกายและใจตนแล้ว ก็เป็น ความเห็นชอบ

อานิสงส์จากความเห็นชอบนี้ : ขั้นต้น..มีจิตน้อมในกรรมบถ ๑๐ , ขั้นกลาง..ความตรึกนึกฟุ้งซ่านก็ไม่มี มีสภาวะที่ว่างเท่านั้น จิตตั้งมั่นง่าย รู้ลมหายใจเข้าออกแทบจะทุกขณะจิต, ขั้นสุดด้วยปัญญาญาณเกิดความรู้เห็นในสภาวะธรรมตามจริง แล้วไม่ยึดจับเอาอาสวะกิเลส ปหานอาสวะกิเลสโดยสิ้นเชิง โดยไม่ต้องอาศัยเจตนา



- สัมมาสังกัปปะ : เมื่อให้จิตมันบริกรรม "พุทโธ" ให้มันตรึกนึกระลึกถึงความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขององค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า แล้วน้อมเอาคุณนั้นมาสู่ตนให้ตนได้รู้ได้ตื่นจากสมมติทั้งปวงแล้วเป็นผู้เบิกกบานแล้วตามพระตถาคตเจ้านั้น มีความระลึกรู้จดจ่อแนบแน่นไปลมหายใจเข้าออก รู้สภาวะธรรมที่กำลังดำเนินไปแห่งกาย นี่คือความคิดชอบ ด้วยความคิดออกจากทุกข์จากความหลงสมมติทั้งปวง
    จิตตั้งมั่นจดจ่อแนบแน่นรู้ลมหายใจเข้า บริกรรมว่า "พุท" จิตตั้งมั่นจดจ่อแนบแน่นรู้ลมหายใจออกบริกรรมว่า "โธ"
  - คำบริกรรมนี้ คือ "วิตก"
  - ความแนบแน่นในอารมณ์รู้ว่าลมหายใจเข้าหรือออก คือ "วิจาร"
  - ความระลึกถึงคุณแห่งความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ของพระพุทธเจ้า แล้วน้อมเอาพระบารมีแห่งคุณนั้นมาสู้ตนให้ตนได้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น จากความลุ่มหลงสมมติทั้งปวง แล้วถึงความเป็นผู้เบิกบานตามพระตถาคตเจ้านั้น คือ "เจตนา+สติ+วิตก+สัญญา+สังขาร" เกิดเป็นความหวนระลึกตรึกนึกเป็นกุศลวิตกโดยชอบ นี่คือ ความคิดออกจากทุกข์ มีความตั้งมั่นเพียรอยู่คิดว่าการเจริญปฏิบัตินี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่บิดา มารดา ลูก เมีย ญาติ พี่ น้อง ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เทวดา มาร พรหมทั้งหลาย ทั้งหมดนี้ คือ ความคิดชอบ



- สัมมาวาจา : วาจาที่กล่าวบริกรรมในความตรึกนึกว่า พุทโธ และ กล่าวระลึกถึงและน้อมเอาคุณแห่งพุทโธนั้น เป็นวจีสุจริต เพราะเป็นวาจาที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ประกอบด้วยคุณ เป็นไปเพื่อความะพ้นทุกข์ที่เกิดจากความคิดชอบ นี่คือ วาจาชอบ



- สัมมากัมมันตะ : กายที่อยู่ในความสงบในขณะทำสมาธินี้ ไม่ได้นำพากายไปเสพย์ในกิเลสตัณหา ดำรงกายอยู่เพื่อความเป็นประโยชน์สุขเพื่ออกจากทุกข์ คือ ความประพฤติชอบ



- สัมมาอาชีวะ : ในขณะที่ทำสมาธิอยู่นี้ เมื่อเราไม่ส่งจิตออกนอกมีจิตอยู่กับลมหายใจเข้าออกยังความสงบเลี้ยงชีพทางใจ มีลมหายใจเลี้ยงชีพทางกายเป็นกายสังขาร ไม่ดำรงชีพอยู่โดยความก้าวล่วงในศีล ขณะนั้นเรากำลังเลี้นงชีพอยู่ด้วยการละเว้นจากความเบียดเบียน ก็เป็นการเลี้ยงชีพชอบ



- สัมมาวายามะ : มีความยินดีในสภาวะที่มีความสงบว่างของกายและใจ ทำให้จิตนั้นมันตั้งมั่นตั้งใจเพียรพยายามที่จะตามรู้ลมหายใจเข้าและอกกอยู่ทุกๆขณะจิตไม่ลดละ เป็นเหตุให้จิตจดจ่อแนบแน่นอยู่ได้นานกับลมหายใจไม่ส่งจิตออกนอกไปหลงตามความคิดหรือมโนภาพใดๆ มีความทรงกายอยู่ไม่หวั่นไหว มีกายและใจดำเนินไปอยู่แล้วถึงความดับไปซึ่งนิวรณ์ ๕ ได้ อันนี้ก็เรียกว่า ความเพียรชอบ



- สัมมาสติ : มีความระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก รู้ตัวว่ากำลังทำสมาธิ จนถึงซึ่งความรู้เห็นสภาวะธรรมในปัจจุบันที่จิตรู้ทั้งปวง รู้สภาวะธรรมจริงๆทางกายที่เป็นไปในปัจจุบันทั้งปวง ไม่หวนระลึกรู้โดยสัญญา อันนี้เรียก ความระลึกชอบ



- สัมมาสมาธิ : มีจิตจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวอยู่ในสภาวะที่ว่าง เอื้อให้สติสัมปะชัญญะเป็นกำลังให้จิตรู้สภาวะธรรมตามจริงทั้งปวง โดยปราศจากการใช้ความคิดตรึกนึกหวนระลึกด้วยสัญญาในสิ่งนั้น เข้าถึง อุปจารสมาธิ และ อัปนาสมาธิ อันนี้คือ จิตตั้งมั่นชอบ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 28, 2015, 11:22:23 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #56 เมื่อ: มกราคม 31, 2015, 07:12:49 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 29/1/58

  วันนี้เราออกกะดึกในตอนเช้าได้ไปวัดพระบรมธาตุเพื่อใส่บาตรหลวงตาบุญกู้มา แล้วมานั่งกินกาแฟอยู่ที่ตลาดเคหะทุ่งสองห้อง ได้พิจารณาว่าทำไฉนหนอเราจึงจะหน่ายในกามได้ เรายังไม่มีสมาธิ จะพึงม้างกายออกจนดับไปหมดคงยาก จึงได้หวนระลึกเมื่อประมาณกลางเดือนที่ได้นั่งสมาธิ ขณะนั้นอยู่ในอุปจาระสมาธิ มีจิตสงบจากกิเลส จดจ่อพอควรอยู่ มีความตรึกนึกคิดในกุศลอยู่ หมายจะเห็นธาตุในกายก็เกิดนิมิตเห็นกายตัวเองอยู่ข้างหน้าแล้วเห็นในกายมีธาตุ ๔ กอปรอยู่ แต่ขณะนั้นคิดว่านี่คงเป็นสัญญาเราไม่ควรติด จึงมาอยู่ที่ลมหายใจ สักพักหมายจะรู้ว่ากายในกายเรานี้มีหนังหุ้มกระดูกอยู่มีอาการทั้ง ๓๒ เป็นไฉน ก็เห็นนิมิตเป้นตัวเองอยู่ตรงหน้าเริ่มจากกายที่ปกติ เริ่มเหี่ยยวแห้งหนังหุ้มกระดูกผุเปื่อยเห็นอาการในภายในตนในมุมที่เชิงกรานกระดูก หน้าอก กระบังลมเห็นอวัยวะภายในจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่ ก็ไม่เห็นว่ามีเราในนั้น และไม่เห็นว่าอาการไรๆเหล่านั้นจะเป็นเรา พอดึงสัมปะชัญญะเกิดขึ้นก็รู้ว่านิมิตนี้เมื่อเข้ามาอยู่ในสภาวะนี้เมื่อเราหมายจะเห็นสิ่งใดมันก็เห็น จะได้ยินสิ่งใดมันก็ได้ยิน นิมิตทั้งปวงล้วนมาจากสัญญาทั้งสิ้นไม่มีของจริงเลย จึงละนิมิตไปมาอยู่กับลม แล้วก็เข้าสู่สภาวะที่นิ่งว่างแนบอารมณ์จดจ่ออยู่ มีความตรึกนึกคิด มีจิตแนบแน่นอยู่ที่ลมหายใจ สว่างนวลประมาณว่าเหมือนเราลืมตาจากสมาธิไปเจอแสงใหม่ๆจะมีสภาวะที่เป็นออกสว่างฟ้าๆอย่างนั้น

** ต่อมาเมื่อเรามาทบทวนที่ "หลวงปู่บุญกู้" สอนคำหนึ่งเมื่อเราถามหลวงปู่เรื่องการเปลี่ยนคำบริกรรม ซึ่งหลวงปู่ท่านตอบว่า "ตอนที่ทำนั้นมีสติไหม รู้ตัวไหม ถ้ามีก็ไม่เป็นไร" ซึ่งเราพอมีปัญญาอันน้อยนิดเข้าใจว่า ถ้ามีสติกำกับรู้ มีสัมปะชัญญะรู้ตัวว่ากำลังทำกิจการงานไรๆมีอิริยาบถใดๆอยู่ รู้กายใจรู้ตัวทั่วพร้อมขณะนั้นในสภาวะธรรมไรๆที่กำลังดำเนินไปอยู่ จะบริกรรมจะกำหนดนิมิตไรๆย่อมได้ เราจึงพิจารณาเห็นว่าเพราะเราจะรู้ว่าสิ่งนี้เรากำหนดขึ้นมาเพื่อพิจารณา ไม่หลงว่านิมิตที่ตนเห็นนี้คือของจริง ไม่ใช่ฌาณ ไม่ใช่ญาณไรๆ แต่เป็นไปในธรรมเพื่อความไม่หลงติดในสมมติอีก อันนี้เรียกว่าใช้นิมิตให้เป็น **

ดังนั้นแล้วเมื่อพยายามที่จะละความติดใจในกายกลับเกิดสภาวะธรรมหนึ่งเกิดขึ้นคือ รู้ผัสสะขันธ์ ๕ ในตนเป็นทอดๆ จนเห็นว่า
- "วิญญาณ หรือ จิต" นี้มันเก่งน่ะมันรู้หมดทุกสิ่ง แต่สิ่งที่มันรู้มีแต่สมมติทั้งหมด ไม่มีของจริง สิ่งที่มันเข้าไปรู้นั้นไม่มีเราอยู่ในสิ่งที่มันรู้นั้นเลยสักนิด จิตมันรู้ทุกสิ่งแต่ที่มันรู้นั้นเป็นเราไหม ก็ไม่มีเลย มันไม่เคยจะรู้เราเลย มันรู้สิ่งอื่นๆอันสมมติไปทั่วแต่ไม่เคยรู้ว่าสิ่งที่มันรู้น่ะมันเพียงสมมติที่อาสวะกิเลสสร้างมาหลอกให้มันหลงยึดเลย เราไม่มีในวิญญาณ นี่น่ะเมื่อวิญญาณเขายังไม่มีเราไม่สนใจเราเลยแล้วเรายังจะไปเอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นกับสิ่งที่ไม่มีเราไปเพื่อสิ่งไร เมื่อเข้าไปปารถนาหมายยึดครองมันไว้ก็มีแต่ทุกข์ ก็ความรู้อารมณ์เหล่าใดก็ดีอันเรียกว่าวิญญาณนี้หากมีอยู่ที่เราแล้ว เราก็ย่อมเข้าไปรู้ทุกอย่างทั้งหมดรู้อยู่ทุกขณะไม่เว้นว่างเลย เช่น เมื่อเกิดความวิตกตรึกนึกคิดขึ้นมา เราก็ย่อมรู้อยู่ทุกขณะว่าตนกำลังคิดไม่เสพย์สิ่งที่คิดเพราะรู้ว่านั่นคือความคิดอันสมมติขึ้นไม่ใช่ของจริง แต่เรานี้กลับไม่รู้อย่างนั้นเลย เรากลับรู้แล้วเสพย์อารมณ์ไปตามสิ่งสมมติที่คิดนั้นอย่างไม่รู้ตัว วิญญาณจึงไม่มีในเราดังนี้ วิญญาณนี้มันเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งที่ทำหน้าที่รู้ มันเกิดมารู้แล้ว มันก็ดับไปไม่เที่ยงไม่อยู่นาน เราจะหมายไปบังคับให้มันรู้นั่นรู้นี่ตามที่เรานั้นปารถนาก็ไม่ได้ เราจึงไม่ใช่จิต จิตจึงไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ดังนี้  จิตมันรู้จริงแต่ความรู้นั้นของมันเป็นสมมติไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราที่รู้กับมัน จะพึงบังคับให้มันรู้เห็นตามจริงไม่หลงติดอยู่ในสมมติก็ไม่ได้ เพราะจิตไม่ใช่เรา และ เราไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ทีนี้เราจะไปยึดเอาสิ่งใดกับวิญญาณนั้นหนอ
- "เวทนา" นี้มันจะเสวยอารมณ์สุขหรือทุกข์ มันก็เป็นไปของมันเอง เราบังคับมันไม่ได้ มันจะดับก็ดับของมันเองไม่อยู่นาน เมื่อมันสุขมันก็ไม่มีเราในนั้น เมื่อมันทุกข์มันก็ไม่มีเราในนั้น เมื่อมันจะเฉยมันก็เฉยของมันไม่มีเราไปเกี่ยวข้องหรือมีเราในสภาวะนั้นเลย ไม่มีเราในเวทนา เวลามันสุขก็ไม่รู้มันไปชักเอาอะไรมาทั่วแต่ไม่มีเราที่ทำให้มันสุข และ ในความสุขนั้นของมันก็ไม่ใช่เราเลย แม้ทุกข์ก็เช่นกัน ความไม่สุขไม่ทุกข์นิ่งว่างอยู่ก็ไม่ต่างกัน ไม่มีเราในเวทนา ความเสวยอารมณ์เหล่านั้นไม่ว่าจะสุขก็ดีจะทุกข์ก็ดีจะไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดีเมื่อมันเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เกิดขึ้นที่เรา ไม่ใช่เราที่ไปทำให้มันเกิดหรือไปเสวยอารมณ์เหล่านั้นไม่ใช่เราเลยสักนิด แต่มันเป็นวิญญาณขันธ์ต่างหากที่เข้าไปรู้สิ่งสมมติอันใดอันกอปรกับความจำได้หมายรู้จึงทำให้เวทนานี้เกิดมีขึ้น มันเข้ายึดมันถือครองมันไว้ เวทนาจึงไม่มีในเราดังนี้ เราจะหมายบังคับให้มันสุข มันเฉย ไม่ทุกข์ดั่งที่เราปารถนาก้ไม่ได้ ไม่มีสิ่งไรๆที่มันเป็นเรา เป็นของเรา มีเราในนั้น เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา ทีนี้เราจะไปยึดเอาสิ่งใดกับเวทนานั้นหนอ
- "สังขาร" นี้มันจะปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิดไรๆขึ้นมา ในความรู้สึกนึกคิดนั้นมันก็มีแต่เรื่องสมมติภายนอกกลับไม่มีเราในความตรึกนึกปรุงแต่งนั้นเลยสักครั้ง เราไม่มีในความรู้สึกนึกคิดนั้นเลย เราไม่มีในสังขาร แม้สังขารนั้นมันก็เป็นไปของมันเกิดขึ้นของมันเองดับไปของมันเอง ไม่คงอยู่นาน จะบังคับให้มั่นรู้สึกนึกคิดในสิ่งไรๆตามที่ใจเราปารถนานั้นไม่ได้เลย เอาแค่เราหมายจะบริกรรม"พุทโธ"นี้น่ะ เรามีเจตนาอยู่ที่พุทโธแท้ๆแต่สักพักความตรึกถึงพุทโธนั้นกลับดับไปไม่อยู่เที่ยงแท้ ส่งจิตออกนอกไปคิดเรื่องสมมติอะไรไปทั่ว สังขารนี้มันไม่อยู่กับเราเลย และ เราก็บังคับมันไม่ได้ เพราะสังขารไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน และ ไม่มีเราในสังขารความปรุงแต่งใดๆนั้นของมันเลย เมื่อสังขารขันธ์ที่มีเกิดอยู่นี้มันยังไม่สนใจเราไม่มีเราอยู่เลย แล้วเราจะไปหมายยึดครอง หมายเอาสิ่งไรๆกับมันได้อีกหรือไม่ เราจะไปยึดเอาสังขารนั้นว่าเป็นเรา เป็นของเราได้หรือไม่
- "สัญญา" นี้มันก็ทำหน้าที่จดจำไปทั่วในทุกสิ่งที่เกิดรู้ผัสสะ แต่สิ่งที่มันจดจำนั้นกลับไม่มีเราในนั้นเลย มันจำว่านี่สุขหรือทุกข์ นี่คือแขน คือขา คือเจ็บปวด นี่ดี นี่ไม่ดี นี่เลว นี่ประณีต นี่เจ็บ นี่สบาย นี่รถ บ้าน สัตว์ หมา หมู แมว ต้นไม้ คนรักจดจำได้หมด แต่ไม่เคยมีเราในความจำได้หมายรู้นั้น ไม่เคยมีเราในความจำสำคัญมั่นหมายของใจ เราไม่มีในสัญญา เมื่อสัญญามันไม่มีเราอยู่ในนั้นเลยแล้วเราจะยังหมายยึดครอบครองหรือสนใจมันไปเพื่อสิ่งใดเพื่อประโยชน์ไรๆกันอีกเล่า หากสัญญามีในเรามันก็ต้องทำให้เรานี้จดจำได้ตลอดเวลาว่าตนทำอะไรอยู่ จำได้ในทุกๆเรื่องทุกอย่างทุกตอนทุกช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบันความจำไม่เลอะเลือน แต่มันก็ไม่เป้นเช่นนั้นมันกลับแทบจำจดจำไม่ได้เลยสักเรื่อง สัญญาจึงไม่มีในเรา นี่น่ะขณะเรียนหรือทำงานไรๆมาแค่ไม่กี่วันแท้ๆก็ยังระลึกบทเรียนนั้นไม่ได้หรือไม่ได้เต็มที่ต้องไปทบทวนมันอยู่ ตลอดเวลามันจำสิ่งใดได้ในขณะหนึ่งนั้นสักพักมันก็ลืมไปแล้ว ความจำนี้ไม่เที่ยงไม่คงอยู่นาน บังคับให้มันจดจำสิ่งนี้ๆที่ต้องการ ไม่ให้จดจำสิ่งนี้ๆที่ไม่ต้องการก็ไม่ได้ ก็สัญญาไม่ช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน ความเข้าไปหมายปารถนายึดครองในสัญญานี้มีแต่ทุกข์เท่านั้น




บันทึกกรรมฐาน วันที่ 31/1/58

- วันนี้ก็เจริญจิตมีสติรู้ทันจิตรู้และเสพย์สมมติทั่วไป เกิดสภาวะที่อยากใคร่ไม่ปารถนาจะยึดเกาะเอาขันธ์ทั้ง ๕ เพราะมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราในขันธ์ ๕ และ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา ทำให้เกิดสภาวะว่างอยู่ไม่ยึดเอาอะไรสักอย่าง จนทำให้รู้สึกเหมือนเรานี้ละสักกายทิฐิได้แล้วบ้าง ถึงธรรมใดธรรมหนึ่งแล้วบ้าง
- แต่เมื่อมีสติสัมปะชัญญะอยู่กลับรู้สึกเหมือนว่ามีสภาพว่างนั้นมันมีสภาวะที่เศร้าหมอง ไม่มีหลักเลย แม้จะไม่ยึดเอาอะไร มีสติและสัมปะชัญญะอยู่แต่มันไม่มากมันทีอารมณ์ตึงๆหนักๆเศร้าหมอง ไม่เบาผ่องใส เราจึงพิจารณาตามสภาพนั้นว่านี่น่ะเราโดนโมหะหลอกให้ว่างแล้วหลงว่าตนถึงธรรมใดธรรมหนึ่งเข้าแล้ว คือ พอมันหลอกว่าเราไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ แล้ว มันก็ให้เราลุ่มหลงอยู่ยินดีอยู่ในสภาวะอันว่างที่หนักตรึงกายใจอันไหลไปทั่วไม่มีหลักยึดนั้น ทำให้ระลึกรู้ไม่เท่าทันอาสวะกิเลสทั้งปวง ไม่มีความผ่องใสสงบเบากายใจ
- เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ตอนนั้นเราพึงตั้งจิตทำไว้ในใจอันดีแล้วน้อมระลึกว่า ความว่างจากการไม่ยึดเอาขันธ์ ๕ ทั้งปวงนี้ แต่สติสัมปะชัญญะมีกำลังอ่อน ทำให้ไม่มีหลักจิตจึงหลงไปยึดเอาสมมติที่ว่าว่างนั้นแทนซึ่งจริงก็มีสังขารความตรึกนึกคิดอยู่ทุกขณะไม่ใช่ความว่างจริงโดยมีสติสัมปะชัญญะกำกับอยู่ หากยังหลงเข้าในสภาวะนี้อยู่เราจะหลงไปทำให้เดินผิดทางได้ แล้วเราจะหาสิ่งใดมาเป็นหลักให้จิตรู้สภาวะจริงโดยไม่เข้าไปยึดขันธ์ ๕ ได้หนอ เมื่อเราทบทวนแล้วก็เห็นว่า ลมหายใจนี้เป็นของจริงที่มีอยู่ในกาย วิจาร และความว่างไม่สุขไม่ทุกข์เป็นเรื่องของจิต แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าพระองคค์ทรงเป็นผู้รู้ลมหายใจอยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต พระอรหันต์ในธรรมวินัยนี้ก็เป็นผู้มีอานาปานสติเป็นอันมาก แม้เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้ธรรมแล้ว ไม่ยึดเอาขั้นธ์ทั้ง ๕ แล้ว ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงแล้ว พระองค์ก็ยังยึดหลักที่ลมหายใจอยู่โดยความรู้สภาวะธรรมอันมีเกิดขึ้นอยู่เท่านั้น ไม่ทิ้งลมหายใจไปเลย เราผู้กราไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ควนแล้วที่จะพึงปฏิบัติตามโดยความรู้กายใจอยู่ที่ลมนั้นเป็นที่สุด เราจึงได้ปักหลักลมที่ปลายโพรงจมูกรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก รู้สภาวะที่มีเคลื่อนตัว ตรึงไหวพัดขึ้นพัดลง พัดเข้าพัดออก ไม่มีวิตกตรึกนึก แต่วิจารแนบอารมณ์อยู่ที่ลมหายใจเข้าและออก มีความนิ่งว่างเหมือนเพิกจิตออกสละคืนขันทั้ง๕แล้วฉันนั้น ยังความสงบเบา นิ่งว่าง อบอุ่นแต่ร่มเย็นกายใจนี้เกิดขึ้นแก่เราในขณะนั้น
- ผลกรรมฐานในครั้งนี้ทำให้เรารู้ว่า
๑. หากว่างโดยความเศร้าหมองตรึงหนักกายใจอันยังวิตกวิจารว่าตนว่างอยู่นี้โดยสติสัมปะชัญญะอ่อนให้ติดไปกับความคิดว่าตตนว่างสลัดทิ้งสละคืนขันธ์ทั้งปวงได้แล้วนั้นเป็นสภาวะของโมหะทำให้เกิดความระลึกผิด จิตตั้งมั่นผิด เป็นมิจฉาขึ้นมาได้
๒. แต่หากเป็นสภาวะที่ว่างโดยมีสภาพที่สงบเบาไม่ตรึงกายใจ มีความอบอุ่นแต่ร่มเย็นกายใจ ไม่มีความติดข้องใจ ไม่มีความตรึกนึกสมมติไรๆให้ลุ่มหลง มีความแนบอารมณ์อยู่ที่ลมหายใจ มีสติระลึกรู้ทันสภาวะธรรมในปัจจุบัน มีสัมปะชัญญะรู้ตัวทั้วพร้อมในสภาวะทางกาย เกิดสภาวะไม่ยึดมั่นเอาสภาวะธรรมไรๆที่มีในขันธ์ ๕ โดยเห็นเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆอันไม่มีชื่อ ไม่มีอาการ ไม่มีสิ่งไรๆแค่สภาวะธรรมหนึ่งๆที่เกิดมีเท่านั้น นี่คือความเข้าถึงขณะจิตหนึ่งที่สละคืนสังขารธรรมทั้งปวงด้วยมรรค ๘  ทำให้..ธาตุ ๕ ปราศจากใจยึดครอง ไม่เป็นอุปาทินนกรูปแล้ว เกิดจิตเห็นจิต ไม่ยึดเอาจิตอันสมมติอีก ซึ่งสภาวะจิตนี้นี่แหละที่เป็นมรรค คือ สภาวะญาณที่จะตัดอาสวะกิเลสทั้งปวงได้โดยไม่อาศัยเจตนา เมื่ออาสวะกิเลสมันเกิดโดยปราศจากเจตนา มรรคอันนี้ก็ปหานอาสวะกิเลสนั้นโดยปราศจากเจตนาได้ดังนี้ เพราะถึงความเป็นปัณฑระแห่งจิตอันไม่หยิบจับเอากิเลสที่จรมาในตัวของมันเอง

- แต่ในปัจจุบันเมื่อดำรงสติอยู่นั้นทำให้รู้ว่า เรานี้แค่เพียงขณะจิตหนึงที่เข้าไปแลเห็นทางสละคืนขันธ์ทั้ง ๕ บ้าง คือ ถึงแค่แลเห็นทางเท่านั้นยังไม่ถึงธรรมใดๆทั้งสิ้น เรายังคงต้องปฏิบัติให้มาก เจริญ พละ ๕ ให้มาก หนทางยังอีกไกลทำไปเรื่อยๆให้มากสักวันเมื่อมันเต็มมันก็คงได้ ดั่งที่หลวงพ่อเสถียรท่านสอนว่า ให้ปฏิบัติในสมถะทำศีลบารมีและสมาธิบารมีให้มากๆ อย่าทิ้งพุทโธ เรียนรู้ปริยัติ ไม่ใช่หลงปริยัติ เมื่อบารมีเต็มก็รอเวลาเพียงผู้รู้มาไขปัญญาให้เพียงเล็กน้อยก็บรรลุแล้ว เหมือนดั่งพระอรหันต์สาวก ท่านก็สะสมบารมีธรรมทั้งหลายมาเยอะจนเต็มที่แล้ว รอเพียงแค่มีคนที่มาไขปัญญาให้นั่นก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง พอได้ฟังธรรมอันเป็นปัญญาท่านก็บรรลุทันทีพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ หรือ พระอรหันตเถระทั้งหลาย เมื่อจะเข้าถึงในสมาธิก็มีพระอรหันต์หรือพระเถระท่านมาไขปัญญาให้บ้าง หรือ มีพระอรหันต์ผู้ทรงคุณสักท่านมาชี้แนะแนวทางปฏิบัติและเจริญจิตให้บ้างแล้วท่านก้บรรลุทันที ซึ่งเมื่อเราได้ฟังอย่างนี้ก็คงเหมือนที่เรานี้ได้ทำมาเพียรมาโดยไม่หวังผล ทำมานานนับ 10 ปี พอมีพระอรหันต์ มีครูอุปัชฌาย์เราคือหลวงปู่นิล หลวงพ่อเสถียร หลวงปู่บุญกู้ท่านมาไขปัญญาให้ พอถึงจุดๆนึงมันก็เข้าถึงสภาวะที่คิดว่าไม่อาจจะได้สัมผัสเลยในชาตินี้โดยง่าย ดังนั้นเราจะยังต้องเพียงให้มากดังนี้  





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2015, 12:45:49 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #57 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2015, 11:17:12 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 5/2/57

ช่วงนี้ฟุ้งซ่านมากคิดมาก จึงสำรวจตนเองเห็นศีลด่างพล้อยและเอาจิตไปเสพย์ความคิดเรื่องราวต่างๆมากไป จึงตั้งใน จรณะ๑๕ ใหม่ และ แลเห็นว่าติดในความคิดที่กิเลสสร้างขึ้นมากไป เพราะอาศัยวิตกสัญญาที่ชอบใจและไม่ชอบใจจึงเกิดขึ้น แล้วก็ปรุงไปตามกิเลสไปทั่ว สิ่งใดที่เกิดจากวิตก หรือเมื่อใดที่วิตกเกิดก็แสดงว่าสัญญาเกิดสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้วหรือยังที่มาไม่ถึงเกิดขึ้นสมมติให้มีอยู่แล้วเสพย์กิเลสในปัจจุบันทันที ดังนั้นสังขารนี่คือเรื่องราวที่อาสวะกิเลสมันสมมติขึ้นมาให้เราเสพย์ รัก โลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะเราจึงไม่ยึดเอาสมมตินั้นอีกรู้แต่ของจริงคือลมหายใจแล้วตรึกนึกแค่พุทโธเท่านั้นโดยไม่สนว่ามันจะได้ผลยังไงทำให้มากเข้าไว้ "ปักหลักไว้ที่โพลงจมูก รู้ลมหายใจเข้า ระลึก "พุธ" น้อมเอาความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่นจากสมมติความลุ่มหลงทั้งปวงของพระตถาคตเจ้ามาสู่ตน รู้ลมหายใจออก ระลึก "โธ" น้อมเอาความเบิกบานอันปราศจากกิเลสสิ่งสมมติพร้อมปล่อยลมหายใจออกกระจายสลายไปในอากาศ ทำดังนี้ไปเรื่อยๆจิตก็สงบลงเอง"

เมื่อเลิกงานในตอนเช้าวันนี้จึงได้เข้าไปถวายจังหันเช้าหลวงปู่บุญกู้ ได้ไปถามข้อสงสัยเรื่องกรรมฐาน ที่เมื่อเราอยู่ในสมาธินิ่งดีแล้วจิตหมายจะเห็นธาตุในกายก็ปรากฎนิมิมโนภาพเป็นกายตนอยู่เบื้องหน้าอันมีเพียงกองธาตุในกาย หมายจะเห็นอาการทั้ง ๓๒ ก็เห็นได้ทันที โดยมีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่รู้ว่าตนกำหนดนิมิตขึ้น รู้ว่านิมิตนี้ประกอบด้วยสัญญา แต่กลัวจะมาผิดทางจึงได้ถามหลวงปู่ว่า

"ผมเป็นผู้มีราคะเยอะถ้าหมายจะเจริญในอสุภะหรือธาตุนี้โดยมีนิมิตเกิดขึ้นในสมาธิดังที่กล่าวไปนั้นผิดทางไหม"

หลวงปู่ตอบว่า "ไม่ผิดหรอกเป็นวิตกนิมิตฝ่ายกุศลที่กำหนดขึ้นเพื่อความเบื่อหน่ายในราคะ แต่เมื่อนิมิตเกิดให้เราบังคับนิมิตนั้นให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง เปลี่ยนมุมนั้นมุมนี้ดู ถ้าบังคับได้แสดงว่าจิตเรามีกำลังมากพอจะพิจารณาในนิมิตนั้น ถ้าบังคับไม่ได้ก็ให้หยุดเสีย ละไว้ก่อน ให้ดูลมไปจนจิตตนมีกำลังก่อนจึงค่อยกำหนดนิมิตใหม่ ไม่งั้นจะหลงนิมิตหรือกลัวจนเป็นบ้าไปได้"

วันนี้วันพุทธที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เราได้คล้องท่านพ่อลีที่คอไปด้วย จึงบอกกับหลวงปู่ว่าเตี่ยเลื่อมใสนับถือท่านพอลีมากมีรูปท่านพ่อลีตั้งแต่ผมเกิดมาก็เห็นนานแล้ว ผมได้พระท่านพ่อลี ธัมมธโร มาจากวัดหลวงปู่ตองที่ชาวบ้านว่าท่านก็เป็นพระอรหันต์อีกรูป ณ วัดป่าวีระธรรม ที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เป็นวัดที่อยู่บ้านยายตั้งแต่ผมสมัยเด็กๆพอจะจำความได้สมัยนั้นเรียกท่านว่าอาจารย์ตองตามแม่ เพราะท่านเป็นเพื่อนแม่สมัยเด็ก ท่านนี้ปฏิปทาดีมากเคร่งครัด พระเณรองค์ไหนทำผิดศีลท่านจับสุึกหมดเลย โดยเฉพาะให้แอบฉันข้างหลังเที่ยงตรงเป็นต้นไปขอหลวงปู่ช่วยอธิษฐานจิตให้ผมด้วย ให้ผมคล้องคอแล้วถือเอาปฏิปทาท่านเป็นสังฆานุสสติ หลวงปู่จึงได้นำมาเขียนยันต์ที่กรอบพระให้และให้การ์ดซึ่งเป็นรูปท่านพ่อลี ธัมมธโร มีคาถาว่า อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง หลวงปู่บอกให้บริกรรม ๓ จบ แล้วคล้องคอ เมื่อคล้องคอเสร็จเราเกิดควาายินดีมาก สมองโล่งเบากายและใจไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตน้อมไปในศีล ทาน สมาธิ จึงเห็นว่า นี่หนอศรัทธาพละ แม้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ายังทรงคุณค่าอานิสงส์มากเพียงนี้ ยิ่งเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์พระศาสดายิ่งหาประมาณมิได้ ทำให้ถึงซึ่ง วิชชา และ จรณะ ในทันที




พอกลับจากวัดก็ประมาณบ่ายโมงครึ่ง จึงอายน้ำไปซื้อกาแฟมากินเพราะนอนไม่ได้เนื่องจากวันมะรืนต้องเข้ากะเช้าต่อ เราได้ฟังธรรมของหลางปู่ชาว่า ทำกิจการงานอะไรก็ตามแต่ อย่าไปคิดว่าทำเพื่ออะไร เพื่อใคร เป็นบุญเป็นคุณของใคร ให้คิดว่าเรากำลังกรรมฐานอยู่ เราจึงพึงตั้งจิตว่าเราถือเนสัญชิก คือ ไม่นอนแล้วกรรมฐานทั้งวันทั้งคืน เมื่อร่างกายเราอดนนอนตัวก็สั่น สือสั่น เท้าสั่น เรี่ยวแรงไม่มี กระหายน้ำ เราก็ให้เห็นโดยอนุมานว่าร่างกายนี้สักแต่เป็นเพียงธาตุ อาการที่เมื่อน้ำน้อยไปก็ทำให้ร่างกายที่มีดิน ลม ไฟ นี้ไม่สมดุล ช่องอากาศภายในกายบีบตัวทำให้เกิดการบีบลมข่างอากาศธาตุนั้นพัดดขึ้นดันขึ้นสูงให้เกิดสภาวะหน้ามืดบ้าง เราก็เพียงกินน้ำ อายน้ำ แช่น้ำ ให้ร่างกายซึมซับน้ำเยอะพอที่จะให้ธาตุดินนั้นชุ่มชื่นหน่อย ก็ทำให้น้ำพอตัวมีช่องอากาศเพิ่มขึ้น น้ำทึี่เป็นน้ำเลือดก็เคลื่อนได้ตามแรงลมที่เคลื่อนตัว พอที่จะทรงกายให้ดีขึ้นบ้างแล้วก็ได้ทำสมาธิไปเรื่อยๆ มันไม่เป้นสมาธิหรอก ได้สงบบ้างในบางคราวแต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจเอาไว้กับมัน เพราะระลึกเพียงแต่ว่าให้ทำให้มากเข้าไว้พอ จนเวลาล่วงมาประมาณ 16.20 น. ก็นั่งสมาธิหรือนอนทำบ้างแล้วก็คิดว่าคงไม่ไหวแล้วล่ะเราคงต้องนอนบ้างสักนิด สักพักมีขณะวูบหนึ่งเสียงภายนอกเบาบางลง ดูที่ลมหายใจเท่านั้น นิ่งว่างในความสว่างประมาณเมื่อเรามองแสงเมื่อออกจากสมาธิใหม่ๆ เข้าอุปจาระสมาธิ กระโดดมาที่ปฐมฌาณบ้าง สลับไปมาอยู่ขณะนั้น

- แล้วก็เกิดเห็นธัมมารมณ์อันหนึ่งพุ่งเกิดขึ้น(ที่เห็นในนิมิตอันว่างนั้น มันก็ไม่มีชื่อไรๆทั้งสิ้นคงเห็นในสภาวะเกิดมีขึ้นมาภายในเท่านั้น) แล้วเกิดผัสสะที่ใจแล้วก็ดับไป จากนั้นก็นิ่งว่างอยู่ไม่มีอะไรเลยแช่อยู่สักพักแต่ไม่นานแค่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

- แล้วก็เกิดสภาวะที่จิตนั้นรู้แค่สภาวะธรรมอันที่มากระทบเท่านั้น ไม่มีชื่อ ไม่มีสภาวะอาการมีรู้แต่สภาวะนี้ๆมีเกิดให้ใจรู้เท่านั้น แล้วตัวรู้และสภาวะธรรมที่ถูกรู้นั้นก็ดับไป แล้วก็นิ่งว่างแช่อยู่สักพักแต่ไม่นานแค่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

- แล้วก็เกิดสภาวะหนึ่งเกิดขึ้นก็รู้ทันทีว่าคือเจตนา เพราะมันมีความตั้งมั่นทำใจไว้ที่จะทำในสิ่งใดๆเป็นลักษณะ ขณะนั้นมันตั้งมั่นทำใจไว้ที่หวนระลึกรู้ที่มันพยายามที่จะหวนระลึกขึ้น แต่ตอนนั้นระลึกไม่ออก ระลึกเท่าไหร่ก็ไม่ออก แล้วมันก็ดับไปทั้งเจตนาที่หวนระลึกทั้งความตรึกนึกคือวิตกนั้นนิ่งว่างแช่อยู่สักพักแต่ไม่นานแค่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

- แล้วมันก็เกิดสภาวะที่จิตเข้าไปรู้ในความจำสำคัญมั่นหมาย สัญญาความจำได้หมายรู้ในเรื่องนั้นๆ ขณะนี้เราเริ่มที่จพตรึกนึกคิดในได้ที่รู้ในสิ่งที่เกิดมีชื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว ในขณะเดียวกันเลยนั้นก็มีความวิตกเกิดขึ้นประกอบตรึกนึกสืบค้นในความจำในเรื่องนั้นๆ แล้วก็ดับไป แล้วก็นิ่งว่างแช่อยู่สักพักแต่ไม่นานแค่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

- แล้วก็เกิดก็เกิดเวทนาขึ้นทันทีพร้อมกับความรู้เรื่องที่ตรึกนึกปรุงแต่งนั้น จนเกิดปรุงแต่งเป้นเรื่องราวสมมติไปเรื่อยแล้วก็แนบอารมณ์ไปตามความคิดนั้นๆ กิเลสอย่างกลางก็เกิดขึ้นทันที


จากผลของกรรมฐานในขณะนั้นทำให้ว่า ก่อนที่เราจะรู้อารมณ์ใดๆได้มันยาวเป็นทอดๆเกิดดับไปไม่รู้เท่าไหร่ ในขณะที่เจตนาเกิดนี่เพราะอาสวะกิเลสน้อมจิตไปให้เกิดเจตนาที่จะทำ เมื่อจิตรู้สัญญาเวทนาก็เกิด เมื่อเวทนาเกิดเรื่องราวปรุงแต่งสมมติก็เกิดขึ้นดังนี้
พอได้ไปถามผู้รู้อภิธรรมว่า ในขณะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันนี้มันมี "ภวังคจิต" แทรกอยู่ด้วยทุกๆขณะเหมือนกับที่ธาตุทุกธาตุย่อมมีอากาศธาตุแทรกอยู่ในทุกๆกาบหรือทุกๆอณูไหม เพราะที่เรารู้สึกได้และเห็นภาพในนิมิตนั้นมันมีลักษณะเป็น

 เกิด -> ดับ -> ว่าง ->
 เกิด -> ดับ -> ว่าง ->
 เกิด -> ดับ -> ว่าง ->
 เกิด -> ดับ -> ว่าง ->
 .... -> วนเวียนไปอย่างนี้เรื่อยๆทุกๆครั้งที่เกิดและรู้สภาวะธรรมใดๆ


ท่านผู้รู้อภิธรรมก็บอกว่าไม่ใช่ภวังคจิต ภวังคจิต คือ อาการเหมือนนอนหลับ และผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งกล่าวว่าเป็นสันสติขาด ว่าเจริญปัญญาในสมาธิ แล้วถามว่าทุกครั้งที่เกิดดับมันมีวูบไหม ซึ่งเราไม่มีวูบเลยมีแต่ว่างนิ่งแช่แต่มีสติสัมปะชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมกำกับอยู่ ท่านผู้รู้กรรมฐานเลยบอกว่าก็คงจะเป็นแบบท่านผู้รู้อภิธรรมกล่าวว่าไม่ใช่ภวังคจิตแค่นั้นแหละ เพราะถ้าสันสติขาดนั้นเมื่อเกิดแล้วดับก็จะมีอาการวูบ

** แต่สิ่งนี้อาจจะเป็นเพียงอุปาทาน หรือ นิมิตอันเกิดแต่สัญญาที่อยากรู้อยากเห็นประกอบขึ้นโดยอาสวะกิเลสทำให้เกิดขึ้นก็เป็นได้ หรือ อาจจะเกิดขึ้นเพราะร่างกายอ่อนล้าเหนื่อยเพราะไม่ได้นอนจึงเกิดความฟุ้งเป็นนิมิตนั้นขึ้นมา หาประโยชน์ในธรรมไม่ได้ ดังนั้นเราไม่ควรยึดเอาสิ่งใดๆ สิ่งเหล่านั้นมันดับไปแล้ว เหลือแต่สัญญาความจำได้หมายรู้ในตอนนี้เท่านั้น ไม่มีอื่นอีก เราจักละความยึดมั่นในนิมิตนั้น เราเป็นเพียงผู้ที่ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งไรๆทั้งสิ้น เป็นเพียงสาวกของพระพุทธเจ้า ที่ถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์แล้วเท่านั้น ยังไม่ได้ดวงตาเห็นธรรม ยังไม่บรรลุและเข้าถึงธรรมใดๆทั้งสิ้น ไม่ควรถือตัว ไม่ควรยกตน ไม่ควรลูบคลำทิฐิตน หากยังเป็นเพียงปุถุชนอยู่ ก็ไม่ควรหลงตน หากยังภาวนาบริกรรม "พุทโธ" คือ ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ เราก็ไม่ควรยึดมั่นลุ่มหลงในความเห็นตน ต้องตื่นจากความลุ่มหลงอันยึดมั่นในนิมิตมโนภาพสิ่งที่ตนเห็น เพราะกิเลสและของปลอมมีเกิดขึ้นอยู่เสมอ เมื่อรู้และจำได้สิ่งนั้นก็มีไว้เพื่อปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ไม่ได้มีไว้ยึดถือลุ่มหลง **




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2015, 04:01:47 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #58 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 08:46:50 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมมฐาน วันที่ 6/2/58

- เวลาประมาณ 00.30 น. ได้ทำสมาธิ วันนี้ก็ทำไปเรื่อยๆ สักพักเหมือนอยู่ภวังค์จะฝันแล้วจิตติดเสพย์นิมิตความคิดความฝันทั้งๆที่รู้ตัวว่าทำสมาธิอยู่

- พอไม่นานเหมือน "สัมปะชัญญะ" เกิดขึ้นมันมีลักษณ์เหมือนมีเชือกดึงจิตและกายวูบเข้ามาในการทำสมาธิเองโดยอัตโนมัติ แล้วเหมือนดั่งว่าจิตและสัมปะชัญญะฝ่ายกุศลมันคุยกับจิตให้ดึงสติขึ้นมาว่า "ตอนนี้น่ะเรากำลังทำสมาธิอยู่นะ นี่ดึงสติมารู้ลมเข้าและออก มีสติดึงเอาวิจารที่แนบลมหายใจอยู่ดูลมหายใจอยู่นะ จากนั้นก็เกิดสภาวะรู้ว่าเรานั้นฟังเสียงลมหายใจนี้ลากเข้าและออกยาวไม่ติดขัด ไม่หายใจแรงแต่มีเสียงลมหายใจดังพอควรซึ่งเราก็อาศัยการฟังเสียงลมหายใจเข้าและออกนี้ป้องกันการตกภวังคจิตอยู่บ่อยๆ มีสติดูรู้ลมเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ตัดความรับรู้และความคิดสิ่งภายนอกไป ส่วนวิตกนั้นคงไม่ต้องพูดถึงเพราะไอ้ที่มันคิดมันคุยอยู่นี่แหละคือวิตกตัวที่คอยไปหวนระลึกรู้ในสัญญาไรๆก็คือวิตกนี่แหละ" ที่เกิดนี้น่ะไม่ใช่คุณวิเศษ ไม่ใช่ว่ามีเทวดาพระอรหันต์มาบอกกรรมฐานทั้งสิ้น แต่นี่คือสภาวะที่ "จิตมันคุยกัน" ซึ่งสายพระป่าเราจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่อฝึกจนสัมปะชัญญะและสติมีกำลังมากขึ้นแล้วเวลาทำสมาธิเมื่อจิตจะส่งออกนอกแต่กำลังสติสัมปะชัญญะมีอยู่และมีสมาธิที่จดจ่อพอควร เช่น อุปจาระสมาธิ เป็นต้น จะเกิดสภาวะที่จิตเราเองนี้แหละระหว่างฝ่ายกุศลและอกุศลมันคุยกันดึงกันกลับมาในสภาวะทำที่เราตั้งเจตนามั่นทำอยู่ ..ดังว่าธรรมมีอยู่ ๓ คือ กุศล อกุศล อัพยกฤต.. แต่ถ้าใครเข้าไปหลงนิมิตที่เกิดขึ้นนี้แล้วหลงมั่นไปว่ามีพระอรหันต์ครูบาอาจารย์มาบอกกรรมฐานในสมาธิเกิดนิมิตเห็นภาพนั่นนี่ อันนี้พวกหลงนิมิตทางมโนภาพและทางหู ทำให้บ้าเอาได้ หลงไปว่าตนมีฌาณ มีญาณ มีอภิญญาไปจนบ้าก็มีหลายคน จากนั้นก็ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์แต่ปฏิบัติตามความหลงนิมิตตน ดังนี้

- นี่น่ะแสดงให้เห็นว่า สังขารน่ะมันก็ปรุงแต่งไปเรื่อยๆเกิดดับสืบต่อในสภาวะของมันอยู่ตลอดเวลา แต่จิตนี่สิมันรู้แค่ทีละอย่าง คือ เมื่อมันเข้ารู้สิ่งหนึ่ง ความที่จิตมันรู้อีกสิ่งอยู่ก่อนแล้วมันก็ดับไป เช่น สังขารมันปรุงแต่งในความเป็น ก. และ ข. เริ่มแรกจิตเราตั้งมั่นที่ สภาวะธรรม ก. พอสักพัก สังขารมันปรุงแต่งสภาวะธรรม ข. ขึ้นมา จิตมันก็เข้าไปยึดในสภาวะธรรม ข. แทน แล้วความรู้ในสภาวะธรรม ก. นั้นก็ดับไป ก็เพราะอาศัยสัมปะชัญญและสติเกิดขึ้นให้จิตกลับมารู้ที่สภาวะธรรม ก. ดังเดิม ทำให้จิตที่มันเข้าไปรู้ในสภาวะธรรมที่เป็น ข. ก็ดับไป ซึ่งสภาวะธรรมทั้ง 2 คือทั้ง ก.และ ข. ก็ยังคงดำเนินไปอยู่เรื่อยๆตราบเท่าที่ยังมีเหตุปัจจัยให้ดำเนินไปอยู่ แต่อยู่ที่ว่า จิตจะเข้าไปรู้ตัวไหนก็แค่นั้น จนเมื่อเหตุปัจจัยนั้นดับสภาวะธรรมนั้นจึงดับ
- หากให้รู้เห็นที่สังเกตุง่าย ก็เหมือนเราเข้านั่งขี้แล้วอ่านหนังสือการ์ตูนหรือเล่นเกมส์ในห้องน้ำไปด้วย กายมันก็ขับถ่ายไปอยู่เรื่อยๆ จิตมันก็เมามันกับการ์ตูนหรือเกมส์อยู่ พอจิตไปรู้กายว่าตนขี้ก็รู้ว่าตนขี้อยู่จิตที่รู้เรื่องราวในหนังสือการ์ตูนหรือเกมส์ก็ดับ พอจิตไปรู้ที่เกมส์หรือการ์ตูนที่อ่านจิตก็รู้ว่าตนอ่านการ์ตูนหรือเล่นเกมส์เรื่องใดสิ่งใดอยู่แล้วความที่เข้าไปรู้ว่าว่าตนกำลังขี้ ขี่้กำลังไหลออกผ่านลำไส้ออกรูทวารก็ดับ พอหมดอาหารเก่าก็แสดงว่าขี้สุดแล้วเสร็จแล้วหมดเหตุปัจจัยจะขี้แล้ว พออ่านการ์ตูนจบหน้าที่ตนดูมันก็เสร็จกิจในเรื่องราวนั้นแล้ว พอเล่นเกมส์เสร็จมันก็เสร็จกิจในการรู้เรื่องราวในเกมส์นั้นแล้ว นี่คือหมดเหตุปัจจัยให้มันดำเนินไปแล้วสิ่งนั้นๆมันก็ดับไป
- เมื่อสิ่งใดที่ดับไปนานแล้ว ไม่มีเหตุปัจจัยดำรงอยู่แล้ว เราจะกลับมารู้ความรู้สึกนั้นอีกทีก็ด้วย "วิตก+สัญญา" เมื่อสิ่งนั้นไม่ได้ดำเนินอยู่แล้วมันก็แค่สมมติโดยสัญญาและสังขารมีให้เกิดขึ้นนั่นเอง เรียกว่า ความหวนระลึก

ถ้าเปรียบสภาวะธรรมนั้นๆก็คือ เปรียบสภาวะธรรม ก. เป็นการบริกรรมพุทโธและรู้ลมหายใจเข้าออก เปรียบสภาวะธรรม ข. เหมือนจิตที่ส่งออกนอก โดยเริ่มแรกนี้จิตเราตั้งเจตามั่นที่จะทำใน พุทโธ รู้ลมหายใจเข้าและออกอยู่ พอจิตส่งออกนอกจิตเข้าไปจับในอารมณ์นั้นรู้และเสพย์อารมณ์นั้นแทน ความเข้าไปรู้กายใจว่าตนกำลังทำสมาธิอยู่กำลังดำเนินไปอย่างไรอยู่นั้นก็ดับไป แต่เมื่อยังมีเหตุปัจจัยในสภาวะธรรมที่เราทำสมาธิรู้ลมหายใจบริกรรมพุทโธนั้นยังมีอยู่สภาวะนั้นก็ยังดำเนินต่อไปสืบอยู่ เมื่อเกิดสัมปะชัญญะและสติกลับรู้อีกทีสภาวะธรรมนั้นๆจึงยังดำเนินไปอยู่ ส่วนสภาวะธรรมที่จิตส่งออกนอกนั้นเรื่องราวนั้นดับไปแล้วหมดแล้วเหตุปัจจับให้สืบต่อเรื่องราวที่ส่งออกนอกนั้นไม่มี เรื่องราวปรุงแต่ที่ส่งออกนอกที่จิตเข้าไปรู้ในตอนนั้นจึงดับไปไม่มีอีก พอมันจะส่งออกนอกอีกก็กลายเป้นเรื่องใหม่แล้วดังนี้





ต่อมา..พอเมื่อเข้าสมาธิสงบใจได้บ้างแล้วก็หมายจะระลึกพิจารณาในทวัตติงสาปาฐะ อาการทั้ง ๓๒ ประการ แต่จิตมันก็ไม่อยู่ในสิ่งนั้น กำหนดขึ้นไม่ถึงนาทีก็ดับ กำหนดขึ้นก็ดับอีก บังคับให้มันเห็นในอาการทั้ง ๓๒ ก็ไม่ได้ แต่มันกลับไปกำหนดเกิดเป็นวงกสินแสง คือ อาโลกะกสินแทน บังคับเล็กใหญ่ได้ ตั้งวงได้ แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเพราะสุดท้ายเมื่อเพ่งกสินแล้วหลวงปู่ฤๅษีท่านสอนว่า ถ้าจะพ้นทุกข์ก็ต้องยกกลับมาที่อานาปานสติดังเดิม กสินนั้นเป็นเพียงฐานให้จิตตั้งมั่นให้คนที่ฟุ้งมากนั้นมีจิตจดจ่อได้ง่าย เป็นต้น แล้ววงกสินนั้นก็ดับไป
พอเราหวนระลึกพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ไม่เที่ยงเนาะ มันอยู่ได้ไม่นาน ไม่มีตัวตน บังคับไม่ได้ มันเกิดดับและเป็นไปของมันเองมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา หาประโยชน์ไรๆไม่ได้ มันจะเกิดสิ่งเราเราก็แค่มีไว้ระลึกรู้และใช้ประโยชน์จากมันให้เข้าถึงทำเท่านั้น ซึ่งเราจะใช้ประโยชน์และสักแต่ระลึกรู้เท่านั้นมันได้ก็ต้องอาศัยการฝึกในกรรมฐานทั้ง ๔๐ นี้แหละ พอหวนระลึกด้วยสัญญาไปอีกก็ให้เห็นนิมิตเรื่องราวว่า เพราะเราเพิ่งไปฟังมาอย่างนี้ๆว่าเข้าสมาธิต้องเห็นแสงอย่างนั้นอย่างนี้จึงจะยกจิตเข้าฌาณได้ ด้วยสัญญานั้นนั่นแหละเป็นการสะกดจิตตนเองให้จดจ่อตั้งเจตนาไว้ ณ ที่นั้นอย่างนี้น ดั่งหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านว่า ไอ้ที่ว่าทำสมาธิแล้วเห็นนั้นเห็นนี่ ต้องเห็นนั่นเห็นนี่นี่ ไปฟังจดจำสัญญาเอามาทั้งนั้นจนเป็นการสะกดจิตตนเองว่าต้องเห็น พอไม่เห็นก็ทำสมาธิไม่ได้อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้นไม่ว่าสิ่งใดจะเป็นอภิธรรมก็ดี พระไตรปิฏกก็ดี เมื่อฟังเมื่ออ่านแล้ว ก็รู้อยู่ที่นั้นเท่านั้น เมื่อจะทำสมาธิก็ให้ทิ้งสิ่งเหล่านั้นเก็บลงหีบทิ้งไปเสีย มันไม่ได้เอามาใช้กับสมาธิ เมื่อได้สมาธิสิ่งเหล่านั้นก็จะเห็นตามจริงของมันเอง แม้ไม่ได้ศึกษาอ่านพระไตรหรืออภิธรรมทั้งหมดก็เข้าถึงได้ด้วย มรรคญาณ อันเป็นหนทางเข้าไปสู่ ปัญญาณาณ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 04:17:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #59 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 11:56:17 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมมฐาน วันที่ 8/2/58

วันนี้ปล่อยผ่อนคลายมาตั้งแต่วันที่ 7/2/58 "แต่การผ่อนคลายไม่ได้ปฏิบัติธรรมของเรานั้นคือ ความเจริญกายและใจมีใน ศรัทธาพละ,วิริยะพละ,พรหมวิหาร๔,ทาน,ศีล ๕ (ปกติจะถือ "กรรมบถ ๑๐" กับ ศีลข้อ "อะพรหมจะริยาเวระมะณี สิกขา" เพราะช่วยให้เรานั้นไม่หมายเอาภัณฑะอันเป็นบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นและไม่ทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน แม้จะถือเอานิมิตต่อบุคคลอันน่าใตร่น่าปารถนานำมาบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นนั้นมาแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อนก็ผิดแล้ว) สติปัฏฐานใน กาย เวทนา จิต ธรรม ความรู้ตัวทั้วพร้อมในสัมปะชัญญะ ทั้งอิริยาบถและกิจการงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน พึงรู้ลมหายใจเข้าออกและภาวนาพุทโธไปตามสติกำลังที่จะระลึกได้ตอนไหนก็ทำตอนนั้น เพื่อให้ตนนั้นถึงซี่งความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระสัพพัญญูเจ้านั้น เพียงแต่ไม่เจริญเข้านั่งสมาธิเป็นกิจลักษณะเท่านั้น"

เมื่อดำเนินไปอยู่เดินๆอยู่รู้ลมหายใจมีสัมปะชัญญะ "พิจารณาภายในตนว่าเรานี้ โทสะและราคะมีมาก" ถ้าดำรงชีพในการงานอยู่โดยไม่ได้ทำสมาธิจะใช้สิ่งใดละได้ ข่มใจได้ สงบใจได้ สละคืนได้ ก็เกิดความคิดแวบหนึ่งที่เป็นไปในสมถะเข้ามาพิจารณาร่วมกับคำสอนของหลวงปู่บุญกู้ที่ว่า
- ละเบียดเบียนนี้เป็นศีล
- ละโลภนี้เป็นทาน
- หากเรามีพรหมวิหาร๔ ทำไว้ในใจตั้งความเอ็นดูอันมีจิตน้อมไปในการสละต่อผู้อื่น ย่อมเกิดเป็น "อภัยทาน" ที่แท้จริง ที่บริบูีรณ์ เพราะประกอบด้วยศีล+พรหมวิหาร๔+ทาน
- ด้วยเราเป็นผู้ทีโทสะและราคพจริตเป็นอันมาก เราพึงเจริญวิโมกข์ ๘ เป็นเบื้องหน้าด้วยความมีศีลอันงามเป็นฐาน เพราะวิโมกข์ ๘ ของพระตถาคตนั้นพึงเห็นเป็นของเสมอกัน เอ็นดูเขาเสมอตน เห็นงามเสมอกัน เป็นธาตุเสมอกัน เป็นขันธ์เสมอกัน แล้วแผ่เมตตาความเอ็นดูปารถนาดีอันน้อมไปในการสละสงเคราะห์ออกไปสู่ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยกิริยาจิตอันนั้น นี่เป็นเมตตาสมาธิ อันมีศีลและฉันทะสมาธิเป็นเหตุ




จากนั้นก็พิจารณาว่า ครูบาอาจารย์นี้ บางสำนักท่านให้รู้ตามเท่านั้น บางสำนักท่านให้รู้จักขัดใจอดทนอดกลั้นให้เกิดมีในขันติและโสรัจจะ เป็นอินทรีย์สังวรณ์ ซึ่งแต่ละสำนักสอนต่างกันตามแต่จริตวิธีในแต่ละครูบาอาจารย์ ตัวเราเองก็ทำแล้วทั้ง 2 อย่างนี้ ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง อะไรหนอที่เป็นทางสายกลางของ 2 อย่างนี้ทำให้เข้าถึงจริตเราได้ง่าย เราจะอาศัยอะไรหนอให้กุศลเกิดขึ้นละนิวรณ์
แล้วเราก็ได้พึงเห็นว่าเมื่อเราดำรงชีพอยู่นี้เราให้ความสำคัญกับสิ่งใดมาก จิตย่อมน้อมไปใจสิ่งนั้นมาก เหมือนเมื่อสมัยเราจะอดเหล้าเราก็เห็นความสำคัญใจในเหล้านั้นมีขึ้นแก่จิตเรามากจนเกิดความทะยานอยากอย่างแรงกล้า จนเมื่อเรานี้อาศัยเจตนาอันอดทนอดกลั้นอย่างแรงกล้าประกอบกับความตามรู้สภาวะธรรมอันสมมติในตนบ้าง ก็เกิดปัญญาทางโลกียะขึ้นให้เป็นไปในสมถะเครื่องแห่งกุศล "เกิดสภาวะที่อาศัยซึ่ง ทมะ คือ ความข่มใจจากกิเลส และ อุปสมะ คือ สงบใจจากกิเลส อันเกิดแต่กุศลวิตกนั้น" นั่นคือ

๑. เริ่มจากที่เรานั้นพยายามเจริญสติสัมปะชัญญะและทำสมาธิให้มากมีความตั้งมั่นในศีลกำกับอยู่ จนเริ่มระลึกรู้เท่าทันความอยากเหล้าในตน แล้วตั้งมั่นที่พุทธานุสติเพื่อให้ตนนั้นได้สงบรำงับจากกิเลสเครื่องเร่าร้อนที่มีขึ้นอยู่นี้นับครั้งไม่ถ้วน แล้วก็ปักหลักที่ลมหายใจเข้าออกเพื่อดึงสติสัมปะชัญญะของเรากลับมา จนเห็นความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีที่ตนมีต่อเหล้า
๒. จากนั้นเรามีความคิดพิจารณาเห็นคุณและโทษของเหล้า ซึ่งคุณขิงเหล้านั้นมันแค่เสพย์สุขตามความลุ่มหลงยินดีของตนที่ได้รับจากความมึนเมาในมันเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่มันทำให้เราลำบากเพียงไรเป็นบ้าทำร้ายชีวิตตนและบุคคลที่เรารักมามากเท่าไร
๓. พิจารณาทบทวนเห็นโทษของกิเลสอันเกิดทีขึ้นที่เรานั้นได้รับเมื่อกินเหล้า เห็นโทษของราคะและโทสะที่เกิดขึ้นแก่เราเมื่อกินเหล้านั้นมันผลาญทำลายชีวิตเราให้พังลงมามากเพียงใด ทุกข์มากขนาดไหน ที่ผ่านมานั้นตนต้องสูญเสียอะไรไปมากเท่าไหร่เพื่อแลกกับความสุขเพียงชั่วคืน จนเกิดความรู้สึกสงสารตนเองที่ต้องมาทุกข์เพราะเหล้า
๔. แล้วน้อมจิตให้เกิดเมตตาเอ็นดูปารถนาดีอันน้อมไปในการสละให้ตนและบุคคลอันเป็นที่รักนั้นได้พ้นจากทุกข์ ด้วยทมะความคิดดีออกจากยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ประกอบด้วยทุกข์ จนเห็นโทษของเหล้ามีจิตสงสารตนเองที่หลงไปเสพย์สุขจากมันเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่มันทำให้เราลำบากเพียงไรทำร้ายชีวิตตนและบุคคลที่เรารักมามากเท่าไรต้องอยู่อย่างทรมานแค่ไหน แล้วจิตก็เกิดอุปสมะความสงบใจจากกิเลสความอยากกินเหล้านั้น เกิดจิตที่เป็นสุขยินดีเมื่อตนได้พ้นจากความอยากอันเป็นโทษนั้น มีความวางเฉยต่อราคะและโทสะถึงอุเบกขาที่ควรเสพย์ดังนี้


- จากวันนั้นผ่านก็ก็นานหลายเกือบปีแล้วที่เราไม่ให้ความสำคัญกับเหล้าแม้จะยังมีความอยากอยู่แต่เราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความคิดนั้นๆ จึงไม่จำเป็นต้องกินเหล้าอีก ดังนี้แล้ว "การละความสำคัญมั่นหมายของใจ จึงเป็นทางระหว่างกลางของความมีสติระลึกรู้ตามและขันติ ดังนั้นแล้วเมื่อเราดำรงชีพอยู่กำลังทำกิจการงานหรืออยู่กับบุคคลรอบข้าง บุคคลที่เรารักทั่วไปตามปกตินี้ เราควรพึงเจริญปฏิบัติทำไว้ในใจตั้งมั่นที่จะดำรงกายใจใน


ก. ศีลสังวร
   คือ ความระลึกรู้สำรวมระวังในศีล
ข. ทมะ+อุปสมะ
   คือ ธรรม ๒ เป็นธรรมคู่อันงาม เจริญให้มากด้วยอาศัยกุศลวิตกคิดออกจากทุกข์อันเกิดแต่ความเห็นจริงในทุกข์นั้น
ค. วิโมกข์ ๘
   คือ อบรมสมาธิ โดยอาศัย พรหมวิหารเจโตวิมุตติวิธี จนถึงซึ่ง ฌาณ ๙
ง. อากาศธาตุ..สลาย..วิญญาณธาตุ
   คือ ละยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณขันธ์ไม่เอาจิตไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่จิตรู้-คิด-เสพย์ในอารมณ์ทั้งปวงเพราะมันเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นหลอกให้จิตเสพย์แล้วลุ่มหลงยึดเป็นตัวตนทั้งนั้น หรือ ทำให้ตนให้เป็นประดุจดั่งอากาศธาตุอันมีลักษณะที่ว่าง ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งใด มีแต่ความว่างเปล่าไม่มีประมาณมาตั้งไว้ในจิต ดั่งที่พระตถาคตตรัสสอนพระราหุลเถระใน ราหุโลวาทะสูตร เป็นการสลายธาตุในกรรมฐานโบราณ คือ มัชฌิมาแบบลำดับ เข้าสลายวิญญาณธาตุที่รู้เสพย์และยึดในสมมติที่สังขารเข้าปรุงแต่งนั้น

เมื่อเจริญธรรมทั้ง ๔ นี้ควบคู่กันย่อมถึง ขันติ+โสรัจจะที่แท้จริงเป็น อินทรีย์สังวรณ์อันบริบูรณ์





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 04:16:58 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 12, 2024, 09:04:22 AM