เมษายน 19, 2024, 09:05:04 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407807 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #240 เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 12:59:28 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙

วิธีในการเจริญมหาสติปัฏฐานตามกาล(๑. ลม หรือ พุทโธ)

๒. กรรมฐานภาวนา เจริญอานาปานสติ สะสมเหตุให้ใจผ่อนคลาย ตั้งมั่น ฉลาดในการปล่อยวาง หรือ ทำให้พุทโธให้เป็นลมหายใจเข้า-ออก

"ยิ่งเราเจริญได้ดีเท่าไหร่ บ่อยๆมากเท่าไหร่ ยิ่งสะสมมาก จิตเราก็ยิ่งมีกำลังมากเท่านั้น" และ ทำให้เอื้อประโยชน์แก่ สติ สัมปะชัญญะได้มากเท่านั้น "เพราะกรรมฐาน ๔๐ กองทั้งปวง เป็นการฝึกให้สติเราตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวไม่สัดส่ายมีความรู้ตัวทั่วพร้อมกำกับอยู่ทุกขณะ ทำให้จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นานตาม" เมื่อเราเจริญภาวนาอบรมจิตให้สติตั้งมั่นได้มากเท่าไหร่ จิตก็จะตั้งมั่นจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวอยู่ได้นานมากเท่านั้น
   ..เมื่อจิตตั้งได้มากบ่อยๆเนืองๆ ก็ทำให้สติก็เกิดได้บ่อยขึ้น ไวขึ้น ถี่ขึ้นตาม สะอาดขึ้น บริสุทธิ์มากขึ้น มีกำลังมากขึ้น จิตก็บริสุทธิ์ตาม..เพราะเวลาที่จิตตั้งมั่น..สติมีกำลังระลึกรู้มากขึ้น จิตมันจะไม่สัดส่ายไหลไปตามสมมติความคิดปรุงแต่งที่จรมา ทำให้จิตเราได้พักอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จิตจึงมีกำลังมากไม่เคลิ้มเอนเอียงไปตามกิเลสง่าย เห็นจริงต่างหากจากสมมติง่ายขึ้น..
   ..ด้วยเหตุดังนี้แล้ว เมื่อจิตเราตั้งมั่นมีสัมปะชัญญะและสติบริสุทธิ์ ไม่เอนเอียงหลงเคลิ้มไหลไปตามกิเลส ย่อมได้รับอานิสงส์ดังนี้คือ..
ก. มีกุศลจิตเกิดขึ้นง่าย กุศล แปลว่าฉลาด มีจิตเป็นกุศล จิตเราก็มีความฉลาดในการปล่อยวาง
ข. ทมะ (ความข่มใจจากกิเลสไว้ได้ สัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ )
ค. อุปสมะ(ความสงบใจจากกิเลส)
ง. ขันติ (ความทนได้, อดใจละไว้ได้ ด้วยรู้ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ ธรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์)
จ. โสรัจจะ(สีลสังวร รู้กาลอันควรที่ควรทำในปัจจุบัน, น้อมใจปล่อยวาง, ถึงความเย็นใจ )
ฉ. อุเบกขา(วางใจไว้กลางๆไม่ยินดี-ยินร้าย, วางเฉยไม่ยึดสมมติกิเลสของปลอม, ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้, ไม่ยึดสมมติ, ความว่าง, ความไม่มี)
ช. ปัญญา(ญาณทัสนะ ความรู้แจ้ง เห็นจริงตา่างหากจากสมมติ สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ, นิพพิทาญาณ, ความตื่น ความอิ่มพอกับสมมติไม่กระหายหลงใหลในสมมติของปลอมอยู่อีก, วิราคะ ตัดขาดจากสมมติ, วิมุตติ ความเบิกบานหลุดพ้นสมมติ)
 เป็นอานิสงส์

** ให้ภาวนาอบรมจิต บ่อยๆ อย่างน้อยช่วงเวลาเมื่อรู้ตัวตื่นนอนใหม่ๆ และ ช่วงก่อนนอนโดยทำจนหลับไปเลย  ผู้ใดที่ทรงฌาณได้บ่อยๆ สติสัมปะชัญญะมันจะเกิดขึ้นไวมาก เพราะเคยอบรมทำเหตุให้สติมีกำลังแล้วนั่นเอง และจิตมันจะจับลมหายใจเองเลยเพราะจิตมันรู้ด้วยตัวของมันเองว่านี่คือของจริง ไม่ยึดเอาสมมติอีก**


..หากเจริญได้น้อย ผิดพลาดบ่อยโดยความหลงลืม ระลึกไม่ได้ หรือ แทบจะทำไม่ได้เลย อย่าเพิ่งไปคร่ำเคร่งจดจ้องว่าจะเอาจะทำให้ได้เดี๋ยวนั้นตอนนั้น เพราะกำลังของสติเรายังน้อย ไม่มีกำลังสู้กิเลส บารมีเรานี้ยังน้อง ยังไม่มี ยังไม่เคยสะสมเหตุมา ต่างกับพระศาสดาและพระอริยะสงฆ์ทุกๆท่าน ท่านทำสะสมข้ามภพข้ามชาติมานานนับอสงไขยจึงทำได้ เมื่อรู้อย่างนี้..เราก็ต้องตั้งมั่นตั้งใจใน ศีล ทาน ภาวนา มากขึ้น..หน่วงนึกระลึกถึง ศีล ทาน ภาวนาให้บ่อยขึ้นแล้วตั้งจิตมั่นทำมันให้บ่อยๆขึ้น เมื่อระลึกถึงทุกๆขณะจิตมันจะชินแล้วจดจำให้ความสำคัญกับ ศีล ทาน ภาวนามากขึ้น มันจะระลึกถึง ศีล ทาน ภาวนามากขึ้น..หาความพอใจยินดีในศีล ทาน ภาวนาให้ได้ หากมีความพอใจยินดีใน ศีล ทาน ภาวนาได้จิตมันจดจ่อใน ศีล ทาน ภาวนาเองเลย ความเพียรใน ศีล ทาน ภาวนา เกิดขึ้นมาเองทันที..ข่มใจมากขึ้น ทำขันติให้มากขึ้น..แรกๆมันอาจจะเป็นขันอัดคือข่มอด ข่มอัด ลำบากทรมานนัก เพื่อที่จะทานความชอบ ความชังในตน ให้พยายามคิด ทบทวน เห็นทุกข์และโทษหากผิดศีลให้มาก แล้วทำพุทโธนี้แหละอัดเข้าไป เอาความคิดถึงพุทโธนี้เข้าแทนความอยาก ความชัง ความริษยา ความตระหนี่ของตน พึ่งระลึกว่าความคิดเหล่าใดทั้งปวงที่เป็นไปในอกุศล ย่อมนำพาทุกข์มาหาตนทั้งหมด ความคิดมันก็เพียงสมมติกระตุ้นอารมณ์กิเลส ไม่ยึดความคิดก็ไม่ยึดสมมติ

    เมื่อเรายังเป็นแค่ปุถุชนเราย่อมดับความคิดไม่ได้ วิธีแก้ที่ครูบาอาจารย์สอนให้เราโดยตรง มีดังนี้

1. หลวงปู่บุญกู้ ท่านสอนเราโดยตรงในสมัยที่ไปขอกรรมฐานท่านว่า หลวงปู่ครับผมทุกข์กับความคิดอกุศลธรรมอันลามกจัญไรของผมมาก ความคิดลามกจัญไรผมมีมากเหลือเหลือเกิน ท่านก็ได้กรุณาสอนเรามาว่า..อย่าไปคร่ำเคร่งกดดันตัวเอง เพราะเราน่ะมันก็แค่คนปกติธรรมดาทั่วไปเหมือนคนอื่นเขานั่นแหละ มันยังละไม่ได้หรอก มันเป็นธรรมชาติของคนธรรมดาทั่วไปที่จะมีอยู่ จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าเราทำเหตุสะสมในอกุศลนั้นๆทับถมมากน้อยเนิ่นนานเท่าใด เวลาที่มันคิดชั่วคิดแต่สิ่งไม่ดี ก็ให้เราเอาความคิดดี ความมีจิตใจดีงามเอื้อเฟื้ออารีย์อัดเข้าไปแทน
    เอาความคิดดับความคิด เช่น ถ้ามันคิดให้เกิดโลภ คิดให้เกิดกำหนัด คิดให้เกิดโกรธแค้น คิดให้เกิดความเกลียดชัง คิดให้เกิดความพยาบาท เราก็เอาความคิดดีๆอัดเข้าไปแทน เอาพุทโธอัดเข้าไปบ้าง ทำพุทโธนี้ให้เป็นปัจจุบัน ลมหายใจนี้แหละเป็นของจริงที่อยู่ในปัจจุบันนี้ เอาความคิดเอ็นดู ปรานี เอื้อเฟื้อ อารีย์ที่ไม่มองในแง่ร้าย ไม่เบียดเบียนทำร้ายเขาเข้าไปแทนที่ เอาจิตใจที่ดีเข้าไปแทน หากเจอเรื่องร้ายจากภายนอกจากใครมาแแล้วเราไปคิดร้ายเขา พูดร้ายตอบเขา ทำไม่ดีตอบเขา เรานี้มันก็ไม่ต่างจากเขาเลย เอาจิตใจที่ดีทับถมแทนที่จิตใจไม่ดีอยู่ประจำๆมันก็จะสะสมเหตุดีมากขึ้น เกิดได้บ่อยขึ้น มากขึ้น จนไม่มีที่ว่างให้ความคิดชั่วเกิดขึ้นได้

2. หลวงพ่อเสถียร ท่านสอนเราโดยตรงสมัยที่เข้าไปหาท่านขอกรรมฐานจากท่านว่า หลวงพ่อครับความคิดจัญไรผมมันหลสยคักแท้ บ่มีมื่อได๋ผมบ่ทุกข์กับความคิดขัญไรนี้ๆ สิแก้มันจังได๋น้อความหลวงพ่อ ผมขอกรรมฐานใช้ละมันจากหลวงพ่อแน่ครับ หลวงพ่อท่านก็ได้กรุณาสอนเรามาว่า..มันแค่สมมติ มันติดสมมติ ความคึดก็สมมติ ความฮู้สึกเป็นนั่นเป็นนี่จังซั่นจังซี่อยากนั้นอยากนี่ก็สมมติทั้งเมิด ของปลอมเมิดนั่นแหละ กิเลสมันสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงตามทั้งสิ้น อย่าไปหลงยึดสมมติ อย่าไปหลงความคิดมันของปลอมทั้งนั้น จิตมันฮู้แต่สมมติ บ่ยึดสิ่งที่จิตรู้ กะบ่ยึดสมมติ อย่าทิ้งพุทโธ อย่าทิ้งลมหายใจ

3. หลวงปู่เยื้อน โอภาโส ท่านสอนเราโดยตรงเมื่อเราเข้าไปถามท่านที่ศาลาลุงชินว่า หลวงปู่ครับทำยังไงถึงจะละความคิดอกุศลได้ครับ ท่านก็ได้กรุณาสอนมาว่า โอ๊ยมันดับไม่ได้หรอก มันเป็นไปของมัน บังคับมันได้ที่ไหน มันเกิด มันเป็นไป มันดับของมันเอง ความคิดมันเป็นนาม ถ้าจะดับก็ดับที่นาม ใช้นามดับนามนี้แหละ (นามดับนามนี้..ก็เหมือนที่หลวงปู่บุญกู้สอนเราไว้นั่นเอง)

4. หลวงปู่อินตอง วัดป่าวีระธรรม กับ หลวงตาแหวน วัดป่าหนองนกกด อ.พังโคน จ.สกลนคร ท่านเป็นญาติทางแม่ของเรา วันนั้นกลับบ้านได้แล้วได้มีโอกาสไปกราบนมัสการและทำบุญกับท่าน รดน้ำท่านทั้ง 2 ในวันสงกรานต์ ท่านได้กรุณาสอนเรามาว่า พุทโธนี่ดีสุด ประเสริฐสุด ทิ้งพุทโธบ่ได้เลย อย่างทิ้งเด็ดขาด ให้เฮ็ดหลายๆ มันสิได้เอง เอาแต่เว่าบ่เฮ็ดมันบ่ได้ดอก

5. หลวงปู่ฤๅษีลิงดำ ท่านได้เทศนาไว้ว่า พระอริยะนี้ เวลาท่านเห็นอะไร รู้อะไรภายนอก ท่านพิจารณาเรื่องกรรมก่อนเลยว่า แต่หนก่อนนั้นๆ กาลก่อนโน้น ชาติก่อนโน้นคนๆนี้ทำกรรมอะไรมาหนอ เป็นบุญกุศลหรือบาปอกุศลเหล่าใด จึงเป็นวิบากให้มี รูปร่างหน้าตางดงามหรือขี้เหร่  มีโรคหรือไม่มีโรคร้าย ฐานะดีหรือยากแค้น บริวารมากหรือไม่มีใครเหลียวแลเลยอย่างนี้ๆ
(หลวงปู่บุญกู้เคยเทศนาไว้ว่า ศีล ทำให้รูปร่างหน้าตาผิวพรรณดีงามและอายุยืนไม่มีโรค, ทาน ทำให้มีทรพย์บริวารมากอยู่เป้นสุขสบาย, ภาวนาทำให้ฉลาดไม่เป็นคนโง่ไม่หลงง่าย)

6. ใช้ตัณหาละตัณหา เหมือนตอนที่พระศาสดาพาพะนันทะเถระ ผู้เป็นพระอนุชาที่กำลังกระสันกำหนัดนักจะสึกให้ได้ ขึ้นไปดูนางอัปสรทั้ง 500 ทำให้พระนันทะเถระนั้นยินดีในนางอัปสรยิ่งนัก แล้วมีจิตหมายปองนางอัปสรที่งดงามทั้ง 500 นั้น ขณะนั้นก็ได้สนทนาถามกับพระพุทธเจ้า มีตอนหนี่งที่พระพุทธเจ้าจะได้ตรัสรอบรองเรื่องนางอัปสรทั้ง 500 แก่พระนันทะเถระว่า เมื่อพระนันทะเถระนั้นตั้งใจมั่นพากเพียรเจริญปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระถาคต ย่อมได้ครอบครองนางอัปสรทั้ง 500 นี้แน่นอน ด้วยเดชแห่งบุญนั้น พระนันทะก็จึงตั้งใจพากเพียรเจริญปฏิบัติไม่ให้กิเลสเข้าครอบงำ มีความรู้ตัวอยู่ทุกๆขณะทุกๆอิริยาบถ ภาวนาอบรม กาย วาจา ใจไม่ขาด ไม่ให้กิเลสเล็ดลอดเข้ามาได้ ไม่นานก็บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วเข้าไปกราบขอยกเลิกซึ่งคำรับรองนั้นกับพระพุทธเจ้า ด้วยสิ่งที่พระพุทธเจ้าใช้อุบายกับพระนันทะเถระนี้แลเราได้นำเอาแนวทางนั้นมาประพฤติปฏิบัติตามเวลาเกิดความกรัสันกำหนัดนักต่อหญิงสาวงดงามที่เห็น โดยได้พึงน้อใระลึกว่า เรานี้มีบุญน้อย บารมีสะสมยังไม่พอที่จะได้ครอบครองเธอที่งดงามเหล่านั้น เรายังต้องสะสมบารมีธรรมทั้ง สัจจะ ศีล ทาน สุตะ จาคะ สติ สมาธิ ปัญญา อีกมากจึงจะมีบุญบารมีพอได้ครอบครองหญิงสาวที่งดงาม สวย รวย ฐานะ การงาน การเงินดีเช่นเธอเหล่านั้นได้ ด้วยเพราะบุคคลที่เกิดมาคู่กัน ย่อมมี ศรัทธา สัจจะ ศีล สุตะ จาคะ สติ สมาธิ ปัญญาเสมอกันดังคำสอนของพระศาสดาที่ว่า...
คู่บุพเพสันนิวาส

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.

ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุกทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๗๙
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๑/๕๖.






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2016, 04:04:10 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #241 เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 01:02:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙

วิธีในการเจริญมหาสติปัฏฐานตามกาล(๑. ลม หรือ พุทโธ)

เมื่อจะเจริญตามกาล

เมื่อเพียรฝึกฝนทำเหตุตามข้อที่ ตามข้อที่ ๑ และ ๒ เป็นประจำ จะทำให้สติมีมาก เพราะมีความเพียรตั้งอยู่ใน ศีล ทาน ภาวนา สติเกิดก็จะมีมากตามเพื่อจะประครองให้เราดำรงใน ศีล ทาน ภาวนา ได้ดี

    ดังนี้แล้วเมื่อเห็นเมื่อรู้อะไรที่ทำให้เกิด ราคะ โทสะ โมหะ เราจะระลึกถึงพุทโธทันทีเลย หากหลงลืมให้สำเหนียกทบทวนตนอยู่เสมอๆว่า พุทโธ นี้คือ ปัจจุบัน, พุทโธ คือ สติ, พุทโธ คือ ผู้สงัดจากกิเลส พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า ไม่มีคำบริกรรมใดประกอบไปด้วยคุณเท่าพุทโธ คำบริกรรมพุทโธนี้ไม่มีโทษ ไม่มีทุกข์ ตั้งอยู่ด้วยความไม่มีทุกข์ ไม่หลงสมมติความคิด
"แล้วฝึกหากเวลา เมื่อรู้ตัวว่าเกิดความหลงไปในราคะก็ดี หรือ โทสะก็ดี ให้เรานึกถึงพุทโธไว้ก่อนสิ่งอื่นใดทั้งปวงทันที" กำหนดลมหายใจเข้าออกบริกรรมพุทโธกำกับยาวๆไว้ก่อนสัก 3-5 ครั้ง แล้วค่อยๆผ่อนหายใจตามปกติบริกรรมพุทโธยาวหรือสั้นตามลมหายใจเข้าออกยาวหรือสั้นไปที่ปลายจมูกบ้าง หว่างคิ้วบ้าง หน้าผาก กลางกระหม่อมบ้าง โพรงกระโหลกบ้าง ท้ายทอย ลำคอบ้าง หน้าอกบ้าง ท้องน้อยบ้าง ใต้สะดือบ้าง ปลายเท้าบ้าง จุดทั้งหมดนี้เป้นจุดที่ลมผ่าน เป็นที่พักลม หรือ รู้ว่าที่ลมเคลื่อนตัวพัดเข้าโพรงจมูกเบาๆยาวๆไปให้สุดกึ๊กหยุดค้างอยู่ จิตรวมลงอารมณ์สมถะ หายใจออกลมเบาๆยาวบ้างสั้นบ้างจากภายในกายมีท้องน้อยเป็นต้นไหลผ่านออกมาทางโพรงจมูก หากเข้าอารมณ์สมถะไม่ได้ ก็เป็นการเรียกสติสัมปะชัญญะเรากลับมา แล้วตั้งมั่นรู้ที่ปัจจุบัน จากนั้นเอาความคิดชอบแทรกแทรงความคิดอกุศลอย่างนี้ๆเป็นต้นว่า..
- หากเป็นราคะเกิด ก็ระลึกทำตามธรรมชาติของพระอริยะสงฆ์ คือ น้อมนำเนาสันดานของพระอริยะเจ้ามาสถิตย์แทนสันดานปุถุชนในตน คือ พิจารณาดูกำก่อนเพื่อน นั้นเมือ่ท่านเจออะไรท่านมักจะคิดก่อนเลยว่า เขาทำบุญทำกรรมอะไรมาจึงมีผลรูหร่างหน้าดาหยาบหรือละเอียดอย่างนี้ หรือ พบเจอสิ่งดีสิ่งร้าย มีโอกาส ไม่มีโอกาสอย่างนี้ เมื่อพิจารณาใคร่ครวญเห็นแล้วย่อมเข้าใจว่า เมื่อเรามีความปารถนานี้ๆตั้งอยู่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาตรัสสอนว่า ให้ทำบารมีตนให้คู่ควรเสมอกันจึงจะทำให้ ได้อยู่ ได้ทำ ได้มี ได้ครองเสมอกัน ที่เรากำลังคิดเกินเลยต่อเขาอยู่นี้เป้นการเพ่งภัณฑะขิงผู้อื่นบ้าง มีจิตคิดเบียดเบียนให้เขาที่งดงามต้องมัวหมองเพราะเราบ้าง ดังนั้นหากเราจะททำบารมีให้คู่ควรเขาดีแล้ว เราควรอดใจจากราคะไว้เสีย พึงมองเขาด้วยความเอื้อเฟือประโยชน์สุขอันดีงามแก่เขา

- หากเป็นโทสะ เวลาที่เราโกรธเขา แค้นเขา ริษยาเขา เขาได้มาเล่าร้อน จะเป็นจะตายอัดอั้นคับแค้นกายใจเหมือนเราไหม ก็ไม่เลย ก็มีแต่เราเท่านั้นผู้ที่ผูกโกรธอยู่กำลังถูกเผาด้วยไฟคือโทสะ ให้ทำเมตตาโดยพิจารณาแบบข้างต้น และ ทำจิตให้เกิดการให้อภัย เพราะการให้อภัย อภัยทานคือการช่วยเราเองไม่ให้เร่าร้อนด้วยไฟ คือ โทสะ ไม่ต้องอึดอัด คับข้อง คับแค้นกายใจ เมื่อเราให้อภัยเขาได้ เราไม่เร่าร้อนอะไรแล้ว หากเขาไม่พอใจพยายามที่จะหาทางทำร้ายเรา เขาเองนั้นแหละที่กำลังทำร้ายตนเอง เพราะถูกไฟ คือโทสะแผดเผา ให้มอดไหม้อยู่ด้วยผลของกรรมนั้น (โทสะสำเร็จที่ใจ ก็เป็นเจตนาเบียดเบียน คือ มโนกรรม) ในขณะที่เราผู้ไม่ผูกโกรธ ไม่พยาบาทมันสบายเฉยๆ ไปที่ใดก็เย็นใจไม่มีอะไร ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญอะไรกับสิ่งที่เป็นทุกข์  นี่การให้อภัยมันเป็นอย่างนี้ มีความเย็นใจเป็นอานิสงส์

"...คิดดูสิว่า การให้อภัยผู้อื่น มันเป็นการช่วยใคร ? ที่จริง ก็เป็นการช่วยตัวเราเอง เราไม่ต้องเครียด ไม่ต้องเศร้าหมอง ไม่ต้องอึดอัดอีกแล้ว ถือว่าหมด มันหมดอยู่ที่ตัวเรา หมดอยู่ที่ในจิตใจของเรา..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์ท่านพระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ
จากหนังสือ: โกรธทำไม หน้าที่ ๕๓

- หากเป็นโมหะ มันจะมีความหลงไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ มีราคะหรือโทสะคลุกกรุ่นติดตรึงในอารมณ์ที่ตรึกตรองที่เกิดมีขึ้น เช่นเมื่อเกิดราคะจิตก็จะคลุกกรุ่นติดตรึงเวียนวนในความกระสัน ฝักใฝ่ ติดใคร่ หมายใจจะเสพย์นั้นๆวนไปวนมา จนไม่รู้ตัว เป็นผู้หลงลืมไม่รู้ตัว ระลึกไม่ได้ ไม่รู้ปัจจุบัน ไหลไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง สิ่งที่ไม่เคยเกิดไม่เคยมีขึ้นโดยอาศัยสัญญาแล้วปรุงแต่งเรื่องราวไปบ้าง
ให้ทำสติ สมาธิ ปัญญาให้เห็นจริงบ่อยๆ ปุถุชนอย่างเราๆนี้ เมื่อทำสติให้มีกำลังมากก็พอจะรู้ตัวในปัจจุบันไวขึ้นได้ เมื่อรู้ตัวว่าหลงไปตามสมมติเรื่องราวที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิตอยู่ไม่ว่าจะเป็นราคะก็ดี หรือโทสะก็ดี ให้พึงเจริญว่า..ความตรึกตรองที่เป็นไปใน ราคะ โทสะ ทั้งปวง เป็นทุกข์ ความคิดทั้งปวงล้วนเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตเสพย์จิตหลงทั้งหมด ไม่ยึดความคิด ไม่ยึดอกุศลก็ไม่ทุกข์ แต่ธรรมชาติใดคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต ปุถุชนอย่างเราละความคิดไม่ได้ เราก็ตั้งมั่นในพุทโธนี้แหละ เพราะว่า..
- พุทโธ คือ ชื่อพระนามของพระพุทธเจ้า
- การบริกรรมตรึกถึงพุทโธ คือ กุศลวิตก
- พุทโธ คือ ของจริง เป็นกริยาของจิตที่มีสติสัมปะชัญญะ รู้ตัว รู้ใจ รู้ปัจจุบัน รู้ของจริง รู้ตัวตนที่สมมติ รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งของจริงต่างหากจากสมมติ ไม่ติดใจข้องเสพย์หลงอยู่ในสมมติของปลอม

    เมื่อจะเจริญพุทโธ ให้ตั้งมั่นว่าเราจักเป็นผู้รู้ปัจจุบัน รู้ของจริงต่างหากจากสมมติตามพระตถาคต องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา จะไม่หวั่นไหวไปตามสมมติกิเลสของปลอมถึงความเป็นผู้ตื่น และ ถึงความมีจิตดับสิ้นสมมติกิเลสของปลอมมีจิตผ่องใสดุจดวงประทืปไม่เร่าร้อนไม่หน่วงตตรึงจิตอีก ถึงความเป็นผู้เบิกบานพ้นจากสมมติกิเลสของปลอม
    เมื่อหายใจเข้าบริกรรมพุท หายใจออกบริกรรมโธ ความคิดเราก็เป็นกุศลวิตกแล้ว พุทโธนี้เป็นความคิดที่ไม่มีโทษ ไม่มีกิเลส ไม่เร่าร้อน มีความเย็นใจมีคุณหาประมาณไม่ได้ เพราะเป็นความตรึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ดับสิ้นไฟกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว เป็นการเรียกชื่อพระพุทธเจ้า เรียกคุณของพระพุทธเจ้า (เปรียบเหมือนกับน้ำคนไทยเรียกน้ำฝรั่งเรียก water แต่มันคืออันเดียวกันฉันใด ถ้าภาษาไทย คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, ถ้าภาษาบาลี คือ พุทธะหรือพุทโธ และ พุทโธเป็น พระนามของพระพุทธเจ้า เป็นกิริยาจิตที่มีอยู่จริงเข้าถึงได้จริงฉันนั้นแล)
    เมื่อเจริญพุทโธไปเรื่อยๆ จะทำให้จิตเรามีสัมปะชัญญะและสติ เพราะลมหายใจ คือ ของจริงที่มีอยู่ในกายเรา เป็นวาโยธาตุที่มีในกายที่ประชุมกันขึ้นเป็นกายนี้..นี่รู้ของจริงรู้ธรรมธาตุในกายแล้วอย่างนึง รู้ว่ากำลังหายใจเข้าหรือออกในปัจจุบันนั้นนี้แหละเป็นผู้รู้ตัวในปัจจุบันอยู่ ไม่ไหลไปตามอารมณ์สมมติความคิด คือ การฝึกให้จิตตนเป็นพุทโธ คุณที่ว่าด้วยความเป็น "ผู้รู้" นั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2016, 04:02:28 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #242 เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 01:07:23 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙

วิธีในการเจริญมหาสติปัฏฐานตามกาล (ข. ปัจจุบัน)

ก. ลม หรือ พุทโธ

ข. ปัจจุบัน

ค. อิริยาบถ

ง. สมมติ


ข. ปัจจุบัน คือ สัมปะชัญญะ เป็นความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน ว่า ตนกำลังดำเนินกิจการงานไรๆอยู่ กำลังเป็นไปแบบไหน อย่างไร มีสติรู้อยู่ในงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน "สัมปะชัญญะนี้มีคุณมากคู่กับสติ สำหรับปุถุชนอย่างเราๆนี้มีอานิสงส์ คือ ทำให้ไปติดข้องสมมติความคิดนั่นเอง"

วิธีฝึกแบบง่ายๆ

ให้พยายามรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ เวลาเจริญปฏิบัติ เราทำกิจการงานไรๆอยู่ เป้นไปแบบไหน ยังไง ก็ให้รู้ว่ากำลังอยู่อย่างนั้นทำสิ่งนั้นๆในปัจจุบัน ทำความสำเหนียกรู้ตัวในปัจจุบ้าง หรือ กำหนดคำบริกรรมว่าหนอๆ..
   .. "คำบริกรรมว่า "หนอ" ทั้งหลายทั้งปวงนี้ คือ สัมปะชัญญะ ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้มีสัมปะชัญญะเกิดคู่กับสตินั่นเอง" ส่วนคำที่ใช้กำหนดรู้นั้นจะสั้นยาวก็ขึ้นอยู่กับถูกจริตใครมากน้อย คนติดสมมติมากคิดมากวิตกมากฟุ้งมากก็ใช้คำบริกรรมยาวเพื่อกำกับรู้อัดแทนสมมติกิเลสของปลอม สมมติความคิดฟุ้งซ่าน คิดน้อยฟุ้งน้อยก็ใช้คำบริกรรมกำหนดรู้สั้น ตามแต่จะถูกจริตตน แต่โดยมากแล้วคำที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมาก็มีบอกให้เรากำหนดรู้ไว้อยู่แล้วตามแต่ละสำนักนั้นๆ อย่างเราครูบาอาจารย์ท่านสอนมาดังนี้เพื่อให้เรามีกำลังทั้ง สติ และ สัมปะชัญญะ สมัยที่เราบวชเรียนกรรมฐานกับพระครูสุจินต์ ธัมมวิมล ตลอดเวลา ๑ พรรษาท่านก็สอนเราทั้งพุทโธ ทั้งกำหนดหนอ ทั้งอานาปานสติ สอนวางใจให้เป็นปรกติ มีความสงบ กายใจ เป็นสุขสบายกายใจก่อนเข้าสมาธิ เพื่อให้จิตถึงสมาธิได้ง่ายตามที่พระศาสดาสอนเอาไว้ในอานิสงส์สูตรว่า ความสงบ มีสุขเป็นอานิสงส์, ความสุข มีสมาธิเป็นอานิสงส์ การฝึกสัมปะชัญญะให้เป็นกำลังร่วมกับสติและสมาธิ

ก. มองเห็น..ก็ให้รู้ตัวว่ามองเห็นอยู่..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังมองเห็นสิ่งนั้นๆอยู่ (ให้รู้สิ่งนั้นแค่เพียงปัจจุบันที่เห็นอยู่เท่านั้น มองจุดใหญ่ๆ รวมๆ ไม่มองส่วนเล็กส่วนน้อย ไม่มองที่ลับของเขา ไม่สืบต่อเรื่องราวเกินจากที่ตนเห็นไปตามสมมติกิเลสความคิด)
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ เห็นหนอๆ, เห็นคนหนอๆ เห็นสัตว์หนอๆ เห็นผู้ชายหนอๆ, เห็นผู้หญิงหนอ, เห็นคนกำลังยืน, หรือกำลังวิ่ง, หรือกำลังเดิน, หรือกำลังนั่ง, หรือกำลังนอน, หรือกำลังเล่น, หรือออกกำลังกาย, หรือกำลังอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว, เห็น(สิ่งไรๆทำลักษณะนี้ๆ)อยู่หนอๆ

ข. ได้ยิน..ก็ให้รู้ตัวว่าได้ยิน..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังได้ยินได้ฟังเสียงอยู่เท่านั้น เมื่อรู้ว่าเป็นเสียงอะไร ก็ให้รู้แค่นั้นไม่ต้องไปติดสมมติความคิดสืบต่อ เมื่อเรากำลังได้ยินเสียงเขาพูดสนทนากับเรา เราก็แค่รู้ว่าเขากำละงพูดอย่างนั้นๆ เขากำลังพูดคำนั้นๆกับเรา เขากำลังสนทนาคำนั้นกับเรา เขากำลังพูดสนทนาเรื่องนั้นๆกับเรา เขากำลังพูดถึงตรงนั้นๆกับเราอยู่ (รู้ความหมายของคำนั้นๆที่ได้ยินอยู่ โดยไม่สำคัญใจหมายรู้คำพูดเหล่านั้นให้เป็นไปความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี ไม่สืบต่อสมมติความคิดให้เป็นคำที่รัก ที่ชัง)
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ ได้ยินหนอๆ, ได้ยิน(คำพูดนี้ๆ)อยู่หนอ, เสียงหนอๆ, รู้เสียงหนอๆ(คือ ใช้บัญญัติแทนคำกำหนดรู้ เมือ่เรารู้ต้นเสียงว่าเป็นเสียงอะไร อย่างไร ความหมายยังไง แบบไหน)

ค. พูด..ก็ให้รู้ตัวว่าพูด..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังพูด กำลังคุยสนทนาอยู่กับใคร อย่างไร  ฝึกพูด Present งาน กำลังพูด Present งาน กำลังพูดเรื่องอะไร พุดถึงสิ่งใด ถึงตรงไหนแล้ว
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ พูดหนอๆ พูดเรื่องอะไร พูดถึงตรงไหน
- บางท่านอาจจะบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ พูดหนอๆ, กำลังพูด(เรื่องนี้ๆ)อยู่หนอ, พูดถึง(ช่วงนี้ๆ ตอนนี้ๆ)แล้วหนอ, กำลังจะพูด(เรื่องราวนี้ๆต่อ)อยู่หนอ

ง. ทำงาน..ก็ให้รู้ตัวว่าทำงาน..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังทำงาน งานอะไร งานแบบไหน รูปลักษณะงานอย่างไร ทำไปถึงตอนไหน ขั้นไหน ถึงช่วงไหนแล้ว
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ ทำงานหนอๆ, ทำงาน(ลักษณะนี้ๆ)อยู่หนอๆ, ทำงาน(ถึงจุดนี้ๆ)แล้วหนอๆ

จ. ได้กลิ่น..ก็ให้รู้ตัวว่าอยู่..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังรู้กลิ่น
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ กลิ่นหนอๆ(อันนี้คือรู้กลิ่นแล้วแต่ไม่หลงติดคิดสืบต่อไปรสชาติที่รักที่ชัง), หอมหนอๆ, เหม็นหนอๆ, กลิ่นตามลมหนอๆ

ฉ. กิน..ก็ให้รู้ตัวว่ากินอยู่..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังกิน กินอะไรอยู่ก็รู้ว่ากำลังกินสิ่งนั้น สำเหนียกรู้ว่ากินสิ่งนั้นๆอยู่ กำลังเคี้ยวก็ให้รู้ตัวว่าเคี้ยว สำเหนียกรู้ว่าตนกำลังเคียวอยู่ เคี้ยวขนม เคี้ยวคำข้าว เป็นต้น
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ กินหนอๆ, เคี้ยวหนอๆ, เคี้ยวข้าวหนอๆ

ช. ดื่มน้ำ..ก็ให้รู้ตัวว่าดื่มน้ำอยู่..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังดื่มน้ำ กำลังกลืนน้ำลงคอ ลงท้อง เป็นต้น
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ ดื่มน้ำหนอๆ, ดื่มหนอๆ

ซ. ได้รส..ก็ให้รู้ตัวว่าอยู่..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังรู้รส
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ รสหนอๆ(อันนี้คือรู้รสแล้วแต่ไม่หลงติดคิดสืบต่อไปรสชาติที่รักที่ชัง), รู้รสหนอๆ, เค็มหนอๆ, หวานหนอๆ, เผ็ดหนอๆ, จืดหนอๆ

ฌ. ขับรถ..ก็ให้รู้ตัวว่ากำลังขับรถ..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังขับรถ ขับไปไหน ปลายทางที่ใด ทางเบื้องหน้าเป็นแบบไหน อย่างไร เดินทางไปถึงไหนแล้ว
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ ขับรถหนอๆ, กำลังขันรถ(ไปปลายทางที่นั้นๆ)อยู่หนอๆ, ขับรถ(ถึงสถานที่นี้ๆ)แล้วหนอๆ, ทางข้างหน้า(เป็นแบบนี้ๆ)หนอๆ, เราขับรถ(ถึงที่นี้ๆ)แล้วหนอ

ญ. อ่าน..ก็ให้รู้ตัวว่าอ่าน..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังอ่าน อ่านอะไร ภาษาอะไร เรื่องราวยังไง เกี่ยวกับงาน เกี่ยวกับความบันเทิง อ่านไปถึงไหน บรรทัดไหน ข้อความใด ตัวอักษรใด วรรคใด
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ อ่านหนอๆ, กำลังอ่าน(เรื่องนี้ๆอยู่)หนอๆ, กำลังอ่าน(ภาษานี้ๆอยู่)หนอๆ, กำลังอ่าน(ถึงตรงนี้ๆอยู่)หนอๆ

ฎ. เขียน..ก็ให้รู้ตัวว่าเขียน..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังเขียน เขียนอะไร ภาษาอะไร เรื่องราวยังไง เกี่ยวกับงาน เกี่ยวกับความบันเทิง เขียนไปถึงไหน บรรทัดไหน ข้อความใด ตัวอักษรใด วรรคใด
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ เขียนหนอๆ, กำลังเขียน(เรื่องนี้ๆอยู่)หนอๆ, กำลังเขียน(ภาษานี้ๆตัวอักษรนี้ๆอยู่)หนอๆ, กำลังเขียน(ถึงตรงนี้ๆอยู่)หนอๆ

ฏ. ขี้..ก็ให้รู้ตัวว่าขี้..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังขี้อยู่
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ ขี้หนอๆ

ฐ. เยี่ยว..ก็ให้รู้ตัวว่าเยี่ยว..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังเยี่ยวอยู่
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ เยี่ยวหนอๆ ฉี่หนอๆ

ฑ. สัมผัสกาย..ก็ให้รู้ตัวว่าเยี่ยวรู้ทางกาย..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังรับรู้ทางกาย หรือรู้กระทบทางกาย หรือรู้สัมผัสทางกาย
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ กระทบหนอๆ, สัมผัสหนอๆ, สัมผัสกายหนอๆ, รู้ด้วยกายหนอๆ, รู้กายหนอๆ

ฒ. ยืน..ก็ให้รู้ตัวว่ายืน..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังยืน ยืนทำอะไร ยืนดูสินค้า ยืนดูงาน ยืนมองสิ่งใด
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ ยืนหนอๆ, กำลังยืนหนอๆ, ยืน(ทำกิจการงานนั้นๆอยู่)หนอๆ

ณ. เดินก็ให้รู้ตัวว่าเดิน..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังเดิน เดินไปไหน ปลายทางที่ใด เดินออกกำลังกาย เดินเพื่อนอะไร อย่างไร
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ เดินหนอๆ, กำลังเดินหนอๆ, เดิน(เดินไปที่ไหน)หนอๆ, เดิน(เพื่อทำกิจการงานอะไรอยู่)หนอๆ

ด.นั่ง..ก็ให้รู้ตัวว่านั่ง..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังนั่ง นั่งทำอะไร นั่งทำงาน นั่งเล่น นั่งดูหนัง นั่งอ่านการ์ตูน นั่งอ่านหนังสือ
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ นั่งหนอๆ, กายนิ่งหนอ, กำลังนั่งหนอๆ, นั่ง(เพื่อทำกิจการงานอะไรอยู่)หนอๆ

ต. นอน..ก็ให้รู้ตัวว่านอน..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังนอน นอนเพื่อหลับ นอนเล่นผ่อนคลาย ทำอะไร
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ นอนหนอๆ, นอนนั่งหนอๆ, นอน(เพื่อทำกิจการงานอะไรอยู่)หนอๆ, นอนพักหนอๆ, นอนหลับหนอ, หลับหนอๆ(ข้อห้ามสำหรับปุถุชนอย่างเราๆ..หากเรากำลังจะนอนเพื่อหลับพักผ่อน เมื่อรู้ว่าตนกำลังจะนอนหลับแล้ว ก็ปล่อยให้กายใจเป็นที่สบายปกติ ไม่ต้องไม่บริกรมอะไรนึกรู้อะไร ปล่อยให้มันหลับไปเลย ไม่ต้องไปนึกคิดต่อ ไม่งั้นจะเป็นโรคนอนไม่หลับเพราะทำความตื่นตัวอยู่)

ถ. กายนิ่ง ก็ให้รู้ว่ากายนิ่ง..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังนิ่งอยู่ นิ่งแช่อยู่ ยืนนิ่งอยู่ นั่งนิ่งอยู่ นอนนิ่งอยู่ กำลังนิ่งแช่อยู่ไม่เคลื่อนไหว
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ นิ่งหนอๆ, นิ่งอยู่หนอๆ, กำลัง(ยืน นั่ง นอน สงบ ไม่เคลื่อนไหว)นิ่งหนอๆ

ท. จิตนิ่งอยู่ ว่างอยู่ สงบอยู่..ก็ให้รู้ว่านิ่งอยู่..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนนิ่ง เฉย แช่ ว่าง สงบ ไม่มี ไม่คิด
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ ว่างหนอๆ, จิตว่างหนอๆ, จิตนิ่งหนอๆ, สงบหนอๆ

ธ. คิดเพ้อ คิดสมมติ ไม่อยู่ในปัจจุบัน คิดหลงไปในอดีตบ้าง คิดหลงไปในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงบ้าง คิดหลงไปในสิ่งที่ไม่มีอยู่บ้าง คิดปรุงเรื่องราวที่ไม่มีอยู่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงให้เป็นไปใน ราคะ โทสะ โมหะบ้าง..ก็ให้รู้ว่าคิด..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังคิด กำลังติดความคิด กำลังเสพย์ติดความคิด กำลังติดสมมติความคิด กำลังหลงสมมติความคิดของปลอมไปตามกิเลส กำลังติดเสพย์ กำลังเสพย์สมมติ กำลังหลงสมมติ
- บางท่านอาจจะใช้คำบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ คิดหนอๆ, ปรุงหนอๆ, กำลังคิดหนอๆ, ติดคิดหนอๆ, สมมติหนอๆ, หลงสมมติหนอๆ, ติดสมมติหนอๆ, เสพย์สมมติของปลอมอยู่หนอๆ, ติดสมมติความคิดอยู่หนอๆ, สมมติกิเลสหนอๆ
(ข้อนี้..เมื่อรู้ตัวแล้วให้กลับไปรู้ตนใหม่ตามที่เป็นอยู่ที่ตรงกับข้อใดจาก ก.- ท. ที่เป็นอยู่)

น. พูดเพ้อออกมา..ก็ให้รู้ตัวว่าพูดเพ้อ..สำเหนียกรู้ว่าในปัจจุบันตนกำลังพร่ำเพ้อ เพ้อถึงสิ่งไหน เพ้อถึงเรื่องอะไร เรื่องราวไรๆ วิตกอย่างไร คิดมากถึงเรื่องอะไรให้เพ้ออกมา
- บางท่านอาจจะบริกรรมกำกับความรู้ตัว คือ กำลังเพ้อหนอๆ, พร่ำเพ้อหนอๆ, กำลังเพ้อ(เรื่องนี้)หนอๆ, ฟุ้งซ้านพร่ำเพ้อ(เรื่องนี้ๆ)อยู่หนอๆ, คิดเพ้อหนอๆ, สมมติหนอ, ติดสมมติหนอๆ
- แล้วให้กลับมารู้ตัวว่ากำลังทำกิจการงานไรๆ เป็นไปอย่างไรในปัจจุบันนั้นๆอยู่ทันที
(วิตก วิจาร เป็นวจีสังขาร สำคัญมั่นหมายใจต่อสิ่งใดมาก ก็ตรึกหน่วงนึกถึงสิ่งนั้นมาก ก็จึงเพ้อ พร่ำเพ้อ พูดสบถถึง เพ้อพกในสิ่งนั้นออกมา อันนี้เพราะไม่รู้ตัวอยู่ในปัจจุบันทั้งสิ้นว่ากำลังคิดเพ้อหลวงไปตามความคิด ..ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าพูดพร่ำเพ้อ กำลังเพ้อ เพ้อเรื่องอะไร แบบไหน ย่อมอยู่ในปัจจุบันที่เป็นย่อมส่งต่อไปถึงความระลึกรู้วจีสังขาร วิตก วิจาร ตามไปด้วย ตามต่อไปถึงความยินดียินร้าย ความสำคัญมั่นหมายของใจ โสมนัส โทมนัส จิตยึดหลงสิ่งใด สัมปะชัญญะความรู้ตัวในการพูดนี้มันเสริมสติไปถึงนั่นเลย เข้ามหาสติได้นี้เห็นชัดเลย อย่างไรก็ดีห่างรู้ตัวว่ากำลังเพ้อให้กลับมาอยู่ปัจจุบันว่าตนกำลังทำกิจการงานใดอยู่ในขณะนั้นๆ)
(ข้อนี้..เมื่อรู้ตัวแล้วให้กลับไปรู้ตนใหม่ตามที่เป็นอยู่ที่ตรงกับข้อใดจาก ก.- ท. ที่เป็นอยู่)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2016, 04:00:34 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #243 เมื่อ: กันยายน 09, 2016, 04:09:21 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙

วิธีในการเจริญมหาสติปัฏฐานตามกาล (ค. อิริยาบถ)

ก. ลม หรือ พุทโธ

ข. ปัจจุบัน

ค. อิริยาบถ

ง. สมมติ

๓. อิริยาบถ คือ สัมปะชัญญะ แต่แยกออกจากกลุ่มสัมปะชัญญะได้ เพราะมีแนวเจริญวิธีตามแบบของเขา การฝึกอิริยาบถจะช่วยให้มี สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ตั้งอยู่ในทุกๆอิริยาบถ ๔ เช่น เดินจงกรม เป็นต้น อิริยาบถช่วยให้ได้สมาธิ และ รู้ตัวปัจจุบันให้มองเห็นแจ้งชัดว่าที่จิตเรากำลังติดสมมติอยู่นั้น เพราะอะไรจึงเรียกว่าสมมติ ก็เมื่อเรา ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง คนที่เราติดใจข้องแวะ อยู่ในที่อีกส่วนหนึ่ง แต่เราเอาสมมติจากสัญญาทั้งปวงนี้มาเสพย์ขึ้นให้เสมือเขาอยู่ต่อหน้าให้เราเสพย์อารมณ์ความรู้สึกรัก หรือ ชัง ขึ้น เขาก็อยู่ตรงนั้นของเขา อยู่ในที่ใกล้ก็ดี ที่ไกลก็ดี ไม่เกี่ยวข้องกับเราเลย..ดังว่า..

1. ว่าด้วยราคะ.. เมื่อเราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสกายบางๆเบาๆ เช่น เดินผ่าน เดินสวนกัน มีกระทบสัมผัสกายเล็กๆน้อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม นุ่มนวลที่ชอบใจ แล้วเกิดราคะ ความกำหนัด ความกระสันใคร่เสพย์ ความติดใคร่อยากได้ที่จะเสพย์ ความหมายมั่นฝักใฝ่ที่จะได้มา ความใคร่ถวิลหา ความแสวงหาเพื่อให้ได้มาครอบครองทั้งปวง เพราะเอามาคิดไปใหญ่ในราคะ ว่าเขานี้มันน่าเสพย์เมถุนด้วยหนัก ถ้าได้เสพย์ด้วยเขาคงจะมีท่าทีอาการอย่างนั้น แบบนั้น แบบนี้ ต่อมาเราก็เกิดกระสันกำหนัดนัก ทั้ังๆที่เราไม่ได้ทำอะไรเขาเลย เรื่องราวเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง ไม่เกิดขึ้นจริง
    เมื่อเรามีความรู้ตัวเกิดขึ้น รู้ว่าตนเองกำลังยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่งก็ดี เดินอยู่ก็ดี กำลังย่างก้าวท้าวซ้ายหรือขวาอยู่ก็ดี กำลังกดเท้าซ้ายหรือขวาลงพื้นอยู่ก็ดี กำลังนั่งอยู่สมาธิ นั่งไขว่ห้าง นั่งบนพื้น บนเก้าอีก บนที่นั่งอยู่ก็ดี กำลังนอนเหยีดตัวอยู่ก็ดี ขดตัวอยู่ก็ดี นอนหงายอยู่ก็ดี นอนตะแครงอยู่ก็ดี นอนคว่ำอยู่ก็ดี "ซึ่งอิริยาบถอาการทางกายทั้งปวงของเราที่กำลังดำเนินไปอยู่นี้ มันก็อยู่ ณ ที่นี้ ที่ไกล้หรือไกลเขาอยู่ก็ดี เราก็อยู่ของเราในส่วนตรงนี้ เขาก็อยู่ของเขาในส่วนตรงนั้น มันไม่ได้ข้องเกี่ยวกันเลย มันไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ไรๆอย่างที่หน่วงนึกตรกถึงอยู่นั้นเลย ไม่เคยไปทำอะไรกับเขาจริงอย่างนั้นเลย..แต่เราต่างหากที่ไปติดใคร่ใจต่อเขาแล้วเอามาสมมติลงใจนี้..นี่เราโง่เสพย์ราคะกับความคิดสมมติของตนเองทั้งสิ้น กำหนัดก็เพราะคิด ติดใคร่ก็เพราะคิด ติดใจก็เพราะคิด ติดตรึกใจก็เพราะคิด ตราตรึงอยู่ก็เพราะคิด สมดั่งคำพระศาสดาตรัสสอนไว้เลยว่า..กาม เกิดแต่ความคิด" ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆไปก็หาประโยชน์สุขไม่ได้นอกจากทุกข์ ไม่ติดใจข้องแวะให้ความสำคัญใจในสิ่งไรๆก็ไม่ทุกข์
2. ว่าด้วยโทสะ.. เมื่อเราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสกายบางๆเบาๆ เช่น เดินผ่าน เดินสวนกัน มีกระทบสัมผัสกายเล็กๆน้อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม นุ่มนวลที่ชอบใจ แล้วเกิดโทสะ ความโกรธ เกลียด ชัง ไม่เป็นที่จำเริญใจ เสียใจ คับแค้นอัดอั้นกายใจ ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับข้องใจ โศรกเศร้า เศร้าหมองกายใจ โทมนัสทั้งปวง เพราะเอามาคิดไปใหญ่ในโทสะ ว่าเขาทำท่าทีหรือพูดกล่าวแบบนี้ๆได้ยังไง ไม่ดีเลย ที่เขาพูดหรือทำนั้นๆมันเป็นการล้อเรียนเราบ้าง ด่าเสียดแทง เหยียดหยาม ให้ร้ายต่อเราบ้าง นี่เราไปติดข้องใจ ให้ความสำคัญ คิดความสมมตินึกคิดไปเอง
    เมื่อเรามีความรู้ตัวเกิดขึ้น รู้ว่าตนเองกำลังยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่งก็ดี เดินอยู่ก็ดี กำลังย่างก้าวท้าวซ้ายหรือขวาอยู่ก็ดี กำลังกดเท้าซ้ายหรือขวาลงพื้นอยู่ก็ดี กำลังนั่งอยู่สมาธิ นั่งไขว่ห้าง นั่งบนพื้น บนเก้าอีก บนที่นั่งอยู่ก็ดี กำลังนอนเหยีดตัวอยู่ก็ดี ขดตัวอยู่ก็ดี นอนหงายอยู่ก็ดี นอนตะแครงอยู่ก็ดี นอนคว่ำอยู่ก็ดี "ซึ่งอิริยาบถอาการทางกายทั้งปวงของเราที่กำลังดำเนินไปอยู่นี้ มันก็อยู่ ณ ที่นี้ ที่ไกล้หรือไกลเขาอยู่ก็ดี เราก็อยู่ของเราในส่วนตรงนี้ เขาก็อยู่ของเขาในส่วนตรงนั้น มันไม่ได้ข้องเกี่ยวกันเลย เขาก็พูดก็ทำไปของเขาอย่างนั้น เป็นแบบนั้นของเขามาตั้งนานแล้ว ไม่ได้มาทำที่ภายในเร่างกายจิตใจเรานี้ เขาทำแต่เพียงภายนอก..แต่เราต่างหากที่ไปติดใจข้องแวะจากท่าทีของเขาแล้วเอามาสมมติลงใจนี้..เวลาที่เราไม่มีที่รักที่ชัง มันเร่าร้อนโกรธแค้นใครไหมเล่า ไม่ว่าเขาจะทำท่าทีอาการอย่างไร เหมือนคนที่เรารักใคร่เอ็นดู เอื้อเฟื้อ ไม่ว่าเขาจะทำท่าดี มีวจีอย่างไรออกมาต่อเรา แล้วเรามีความเกลียดชังโกรธแค้นไรๆเขาบ้างหรือไม่ ก็ไำม่มี กับเฉยๆ ไม่ติดข้องใจ ไม่ติดใจข้องแวะเพราะไม่ให้ความสำคัญใจไรๆต่อท่าทีและอาการการแสดงออกของเขานั้นๆ..นี่มันเร่าร้อนเพราะไปติดใจข้องแวะกับสมมติความคิดจากการเข้าไปยึดตั้งเอาความพอใจยินดีปารถนาของเราที่มีต่อสิ่งภายออกรอบๆตัวเราเองแท้ๆ ทั้งๆที่สิ่งนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เราจะไปบังคับอะไรเขาได้ เรายังบังคับเราไม่ให้โกรธเขาไม่ได้แล้วจะไปเอาอะไรกับเขากันเล่า ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆไปก็หาประโยชน์สุขไม่ได้นอกจากทุกข์ ไม่ติดใจข้องแวะให้ความสำคัญใจในสิ่งไรๆก็ไม่ทุกข์

วิธีเจริญสัมปะชัญญะในอิริยาบถ ๔

1. ยืน ก็ให้รู้ชัดว่าตนกำลังยืน
2. เดิน ก็ให้รู้ชัดว่าตนกำลังเดิน
3. นั่ง ก็ให้รู้ชัดว่าตนกำลังยืนนั่ง
4. นอน ก็ให้รู้ชัดว่าตนกำลังยืนนอน


การฝึกสัมปะชัญะลงในบรรพกรรมฐาน เพื่อเป็นกำลังให้สติและสมาธิ

1. ยืน ยืนสงบนิ่ง
2. เดิน เดินจงกรม
3. นั่ง นั่งสมาธิ
4. นอน นอนตะแครงขวาสีหไสยยาท หรือ นอนหงาย ทำสมาธิ

1. การเจริญสมาธิด้วยการยืน

- ยืนสงบนิ่ง

แบบที่ 1 ..เริ่มต้นปฏิบัติโดย..การที่เราหลับตาสงบนิ่งเหมือนธรรมดาทั่วไปก่อน ไม่ต้องไปตรึกนึกเอาอภิธรรมใดๆเข้ามาพิจารณา ให้ทำแค่ความสงบใจเท่านั้น ทำความสงบง่ายๆสบายๆเหมือนสมัยเด็กที่ยืนสงบนิ่งหน้าเสาธงหลังสวดมนต์ตอนเข้าแถวก่อนเข้าเรียน

แบบที่ 2 ..ปฏิบัติโดยการ..ระลึกรู้แค่เพียงลมหายใจเข้า-ออก โดย หายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น ไม่ฟุ้งซ่าน

แบบที่ 3 ..กำชับสัมปะชัญญะพร้อมระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่กำลังยืนอยู่นี้ พร้อมหายใจเข้าพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "ยืน" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจเข้า) แล้วหายใจออกพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "หนอ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจออก) มีจิตจดจ่อรู้ลมหายใจหรือสภาพอิริยาบถของกายที่ยืนอยู่อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่ นิ่ง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ว่าง  ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหนเวลาใดก็ได้ แม้ยามที่เราลืมตาอยู่ก็ตาม หากกระทำได้เช่นนี้แล้ว แม้จะยืนลืมตาอยู่สภาพจิตก็จะไม่ไหวติงใดๆเกิดเป็นสมาธิที่ควรแก่งานคือการปฏิบัติในกิจการงานต่างๆนั่นเอง


ยืนเอาจิตพิจารณาธาตุ
เหยียบอยู่รู้ดิน ยืนเอาจิตรับความรู้สึกทางกายที่หยัดพื้นอยู่รู้อาการที่แค่นแข็ง รู้สึกถึงฝ่าเท้าที่กดลงตามน้ำหนักตัวอ่อนๆ บริกรรม ปฐวีๆ


2. การเจริญสมาธิด้วยการเดิน

แบบที่ 1 เดินจงกรม 6 ชั้น

- เดินจงกรม 1 ชั้น

ขอขอบพระคุณที่มาของรูปจาก http://www.watpitch.com/7-29-walking-back-and-forth.html

คนเราส่วนมากจะเดินจงกรมในแบบธรรมดาทั่วไป คือ เมื่อขาซ้ายก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายย่างหนอ" เมื่อขาขวาก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ขวาย่างหนอ" มีจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ การเดินในชั้นเดียวนี้ผู้ที่อบรมจิตมีสมาธิมาดีแล้ว เมื่อปฏิบัติโดยการเดินในแบบนี้ก็จะเข้าสมาธิได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่วอกแวก ไม่ฟุ่งซ่าน มีแต่ความสงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ แต่หากบุคคลใดที่ยังไม่มีสมาธิเลย ยังไม่ได้อบรมณ์จิตใดๆมา เมื่อก้าวเดินในแบบดังกล่าวแล้วมีจิตวอกแวก ฟุ้งซ่าน เอาสิ่งภายนอกมาตั้งเป็นอารมณ์อยู่ให้เปลี่ยนการเดินโดนเลือกตามแบบ 2-5 ชั้น ต่อไป


- เดินจงกรม 2 ชั้น

ขอขอบพระคุณที่มาของรูปจาก http://www.watpitch.com/7-36-the-second-step-of-walking.html

คำบริกรรมจะต่างกันกับสำนักที่เราเรียนมาโดยตรงจากพระอาจารย์สุจินต์ ธัมมะวิมล ในสำนักที่เราบวชเรียนจะใช้คำว่า "ลงหนอ" ไม่ใช่ "เหยียบหนอ" แต่การย่างก้าวเหมือนกัน จะใช้คำบริกรรมใดๆก็ได้ไม่สำคัญ สำคัญที่การมีสสัมปะชัญญะ สติ สมาธิ รู้สภาวะปัจจุบันนั้นๆ

มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่ง รู้ตัวว่ายืน หายใจเข้า บริกรรม "ยืน"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจเข้า - หายใจออก บริกรรม "หนอ"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจออก หายใจเข้าออกนับ 1 ครั้ง ให้ทำสัง 5 ครั้ง หรือ ซัก 1 นาที
..จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ"
..ต่อมาให้เหยียดเท้าก้าวย่างเดินออกมาตามปกติแล้วแตะกดลงบนพื้นพร้อมเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ"
..กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

- เดินจงกรม 3 ชั้น


ขอขอบพระคุณที่มาของรูปจาก http://www.watpitch.com/7-37-the-third-step-of-walking.html

คำบริกรรมจะต่างกันกับสำนักที่เราเรียนมาโดยตรงจากพระอาจารย์สุจินต์ ธัมมะวิมล ในสำนักที่เราบวชเรียนจะใช้คำว่า "ลงหนอ" ไม่ใช่ "เหยียบหนอ" แต่การย่างก้าวเหมือนกัน จะใช้คำบริกรรมใดๆก็ได้ไม่สำคัญ สำคัญที่การมีสสัมปะชัญญะ สติ สมาธิ รู้สภาวะปัจจุบันนั้นๆ

มีวิธีการเดินดังนี้ คือ มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่ง รู้ตัวว่ายืน หายใจเข้า บริกรรม "ยืน"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจเข้า - หายใจออก บริกรรม "หนอ"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจออก หายใจเข้าออกนับ 1 ครั้ง ให้ทำสัง 5 ครั้ง หรือ ซัก 1 นาที
..จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ"
..ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ"
..จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ"
..กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2016, 09:53:27 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #244 เมื่อ: กันยายน 28, 2016, 02:46:51 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
- เดินจงกรม 4 ชั้น
มีวิธีการเดินดังนี้ คือ มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่ง รู้ตัวว่ายืน หายใจเข้า บริกรรม "ยืน"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจเข้า - หายใจออก บริกรรม "หนอ"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจออก หายใจเข้าออกนับ 1 ครั้ง ให้ทำสัง 5 ครั้ง หรือ ซัก 1 นาที
..จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ"
..ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ"
..จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ"
..จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ"
..จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

- เดินจงกรม 5 ชั้น
มีวิธีการเดินดังนี้ คือ มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่ง รู้ตัวว่ายืน หายใจเข้า บริกรรม "ยืน"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจเข้า - หายใจออก บริกรรม "หนอ"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจออก หายใจเข้าออกนับ 1 ครั้ง ให้ทำสัง 5 ครั้ง หรือ ซัก 1 นาที
..จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ"
..ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ"
..จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" จากนั้นให้วางเท้าแตะลงถูกบนพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ"
..จากนั้นให้กดเท้าลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยแล้วระลึกอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป บริกรรมในใจว่า "กดหนอ"
..จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์  เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

- เดินจงกรม 6 ชั้น
พระอาจารย์ธัมมะวังโส วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย อ.เมือง จ.ลำพูน พระอริยะสงฆ์สายมัชฌิมาแบบลำดับ ท่านได้กรุณาสอนการเดินจงกรรม ๖ ชั้น และ จงกรมธาตุ ๔ นี้ให้แก่เราดังนี้คือ มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่ง รู้ตัวว่ายืน หายใจเข้า บริกรรม "ยืน"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจเข้า - หายใจออก บริกรรม "หนอ"  ลากเสียงยาวสั้นไปตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั่น มีความสำเหนียดรู้ตัวอยู่ว่ายืนและหายใจออก หายใจเข้าออกนับ 1 ครั้ง ให้ทำสัง 5 ครั้ง หรือ ซัก 1 นาที
..จากนั้นยกส้นเท้าซ้ายขึ้นแต่ปลายเท่ายังแตะพื้นอยู่ ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกส้นหนอ"
..จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ยกหนอ"
..ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ"
..จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ"
..จากนั้นให้วางเท้าแตะลงถูกบนพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ"
..จากนั้นให้กดเท้าลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยแล้วระลึกอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป บริกรรมในใจว่า "กดหนอ"
..จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์  เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้



การเดินจงกลมใช้ระยะไปกลับ 25 ก้าว ศิษย์พระอาจารย์ ธัมมะวังโส ฝึกก้าวย่างลักษณะคล้ายอย่างภาพ แต่ต่างด้วยการกำหนดคำ ไม่มีคำว่า ยืน, ยก, เหยียด, ย่าง, ก้าว, จรด(ปลาย)เท้า, ยืนหนอ มีเพียงการใช้คำกำหนด ปฐวี, เตโช, วาโย, อาโป, ปฐวี นี่เป็นเคล็ดวิชาหนึ่งเดียวที่ไม่มีอื่นใครเหมือน เรียกว่า "จตุธาตุววัฏฐานธาตุ" กำหนดเท้าข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แต่ต้องกำหนดให้ทัน การเดินจงกลมมีได้ทั้งที่เป็นสมถะและวิปัสสนาแต่ไม่ขอกล่าว การฝึกจงกลมเดินนั้นครูอาจารย์หลากหลายท่านให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ท่านที่ปรารถนาในรูปแบบสาวกบารมีจะสำเร็จธรรมใดใดก็ด้วยวิถีจงกลมเป็นหลัก การนั่งสำเร็จธรรมเป็นของพระพุทธเจ้าเท่านั้น พระอาจารย์ธัมมะวังโส ท่านให้บรรดาศิษย์ใส่ใจฝึกด้วยท่านประจักษ์ด้วยวิธีนี้มาก่อน ทั้งครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน แห่งอัญญาวิโมกข์โพธิรังษี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ก็รับรองเช่นกัน ซึ่งครูบาเจ้าเพชรนั้นท่านได้รับคำชี้แนะในเรื่องการจงกลมเดินสำเร็จธรรมจากหลวงปู่โอวเจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริฑัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ดังนั้นการฝึกเดินจงกลมจึงมีความสำคัญกับเราเราท่านท่านทุกคน พระสงฆ์ที่เดินจงกลมแสดงฤทธิ์ฉกาจจนเป็นที่เลื่องลือในวิชากรรมฐานสายมัชฌิมาย่นฟ้าย่อพสุธาคือ ขรัวตาแสง วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี พระอาจารย์รูปสำคัญของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมฺรังษี วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

การเดินจงกรมธาตุ

   มั่นคง ดิน
   ยก ไฟ
   เคลื่อน ลม
   ลง น้ำ

เมื่อจะเดินหมุนกลับให้ทำดังนี้

1. ให้ยืนก่อน แล้วบริกรรมยืนหนอๆไปสัก 5 ครั้ง
2. หมุนกลับ ให้ยกปลายเท้าขวาขึ้น แล้วเคลื่อนฝ่าเท้าไปด้านข้างหมุนไปด้านขวาเรียงลำตัว บริกรรม "กลับ" เอาขาซ้ายเคลื่อนหมุนตามขาขวาไปพร้อมหัวตัวหมุนไปวางฝ่าเท้าประกบกันไป บริกรรม "หนอ" หมุนตัวให้เหมือนวนรอบโบสถ์จะดีสุด ทำไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมุนกลับมาด้านเสร็จ
3. ให้ยืนก่อน แล้วบริกรรมยืนหนอๆไปสัก 5 ครั้ง
4. เดินก้าวย่างต่อไปให้ครบตามที่อธิษฐานจิต เป็นพุทธบูชา หรือจะออกจากเดินจงกรมก็ได้

p9



3. การเจริญสมาธิด้วยการนั่ง

- นั่งคู่บัลลังค์ เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือวางไว้บนตักมือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรงเพื่อให้หายใจได้สะดวก เพราะหากนั่งงอตัวไปข้างหน้าจะทำให้การสูดลมหายใจเข้าออกลำบากเพราะท้องและปอดบิดงอกดทับไว้อยู่ แล้วตั้งมั่นจะที่นั่งทำสมาธิ
- มีความรู้ตัวว่ากำลังนั่งอยู่ นั่งเพื่อเจริญสมาธิ
- ระลึกถึงจิตที่ผ่องใส เบิกบานเป็นที่สบายกายใจ ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก คือ ความไม่ติดใคร่ ไม่ติดข้อง ไม่มีทุกข์ ไม่หน่วงนึกตรึกถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว ไม่ข้องแวะสมมติอดีต ไม่คาดหมายคำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ไม่ติดปรุงสมมติอนาคต ไม่ใคร่อยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็นไม่มีในตน ไม่ติดใคร่ในสิ่งที่ไม่มีในตน ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน
- ตั้งมั่นรู้ปัจจุบันว่าตนกำลังทำสมาธิอยู่ กำลังนั่งขัดสมาธิ เจริญสมาธิอยู่ในปัจจุบัน วิตกวิจารเกิดคือสมมติ จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมมติ เพราะล้วนเกิดแต่กิเลสมันสร้างสมมติขึ้นมาหลอกให้จิตเสพย์ จิตยึด จิตหลง แล้วเพิ่มกำลังให้มัน ดังนั้นปุถุชนอย่างเราๆนี้ตรู้สิ่งใดล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ถอดจิตออกจากสมมติ ตัดวงจรปฏิจจสมุปปบาทด้วยไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้เพราะมันเป็นสมมติ
- ของจริงแท้มีอยู่ในกายเรานี้ไม่ใช่ภายนอก ไม่ใช่ความจดจำ ไม่ใช่ความตรึกตรอง ที่เกิดมีขึ้นอยู่ทุกๆขณะนั่นคือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก, พุทโธ คือ ของจริง กล่าวคือ..ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเป็นกริยาของจิตที่เป็นไปในปัจจุบันนั้นๆ, เมื่อรู้ว่าจิตรู้สมมติ จิตส่งออกนอกคือสมมติ ลมหายใจคือของจริงในขณะนั้นๆ อันนี้ก็เป็นผู้รู้ในพุทโธแล้ว เมื่อไม่เคลิ้มไหลไปตามสมมติที่ตรึก แล้วกลับมาตั้งมั่นรู้อยู่ที่ลมหายใจในปัจจุบัน แล้วบริกรรมพุทโธไปให้จิตมีกำลังเป็นพุทโธ อันนี้ก็เป็นผู้ตื่นแล้ว, เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ สักแต่เพียงรู้แล้วก็วางไม่ยึด ไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์จะทำให้จิตเป็นสุขได้ด้วยตัวของมันเอง จนเมื่อสะสมเหตุอย่างนี้นานเข้ามากเข้าๆจิตจะเห็นของจริงด้วยตนเอง เกิดนิพพิทาวิราคะด้วยตนเอง หากเราสะสมมาน้อยก็ต้องใช้เวลาอีกนานไม่ใช่แค่วันหรือสองวัน ไม่ใช่แค่ปีนี้ปีหน้า ไม่ใช่แค่สิบปียี่สิบปี แต่มันต้องสะสมเป็นหลายๆชาติให้บารมีมันเต็ม จิตมันถึงจะเกิดนิพพิทาวิราคะได้ ถ้าเราคิดว่าต้องสะสมอีกหลายชาติแล้วไม่อยากทำเมื่อตายไปก็เสียชาติเกิดที่ไม่เอากำไรชีวิตนี้ๆไปด้วย แต่ถ้าเราทำสะสมตั้งแต่ตอนนี้ ทำให้มากแต่เป็นที่สบายกายใจไม่กระสันเอาผล หมายถึง เจริญบ่อยๆเนืองๆเรื่อยๆเป็นประจำๆไม่ให้ขาดมีเวลามากก็ทำมาก มีเวลาน้อยก็ทำน้อย ขั้นต่ำก็ทำก่อนนอนจนหลับไปเลย หรือตื่นนอนก่อนลุกล้างหน้าแปรงฝันไปเรียนหรือทำงานอย่างน้อยวันละ 10-20 นาที แต่ไม่ใช่ทำแบบเอาเป็นเอาตายหมกมุ่นทำด้วยความฟุ้งซ่านขาดสติอย่างนี้เรียกว่าหลง ปฏิบัติให้สบายๆปารถนาจะปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชา และ สะสมบุญบารมี 10 ทัศน์ไป ไม่กระสันปารถนาจะเอาผล คืออยากได้อภิญญา อยากเห็นั่นเห็นนี่ มีอย่างนั้นมีอย่างนี้ อยากได้ฌาณ ญาณ ของพวกนี้พอมันเต็มพอถึงเวลามันได้เอง ไม่ต้องไปแสวงหามันมันมาเอง ถ้ายังสะสมมันมาไม่พอไม่มีของเก่าสะสมมาแต่ปางก่อนจะทำให้ตายกระสันจนขาดใจตายก็ไม่ได้อยู่ดี แต่ถ้ามันเต็มมีสะสมมาอยู่เฉยๆมันก็มาเองแม้จะไม่อยากมีไม่อยากได้มันก็มีเอง "ก็ฌาณ ญาณ อภิญญาเหล่าใดทั้งพวกนี้ๆ ปุถุชนอย่างเราๆนี้เมื่อมีเมื่อได้มันมาแล้ว เราจะสามารถใช้มันในทางกุศลได้ไหม ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลซึ่งทางแห่งการพ้นจากกิเลสกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ของตนเองและผู้อื่นได้ไหม ยิ่งเอาไปใช้ในทางที่คิด ด่้วยความเห็นความเข้าใจผิดๆ คิดผิดๆ ยิ่งทำให้ปิดทางพระนิพพานมากขึ้นเท่านั้น ใช้ผิดที่ผิดทางชีวิตเราเองก็ฉิบหาย" ดังนี้..จึงกล่าวว่าอย่าไปหวังกระสันในผล ให้ทำเป็นที่สบาย ทำเป็นพุทธบูชา ไม่ต้องไปอยากรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้ ไม่ต้องไปอยากเห็นในสิ่งที่ตนไม่เห็น ไม่ต้องไปอยากมีในสิ่งที่ตนไม่มี ให้ทำสะสมเหตุให้ดีไว้เป็นพอ
- เมื่อรู้แนวทางดังนี้แล้ว ก็สำเหนียกรู้ตนว่านั่งทำสมาธิอยู่ แล้วก็พุทโธไปเรื่อย จิตเป็นพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เมื่อไหร่ เราก็จะรู้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้เองเมื่อนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2016, 09:53:11 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #245 เมื่อ: กันยายน 29, 2016, 09:54:08 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
4. การเจริญสมาธิด้วยการนอน

             [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้ ๔ อย่าง
เป็นไฉน คือ เปตไสยา (นอนอย่างคนตาย) ๑ กามโภคีไสยา (นอนอย่าง
คนบริโภคกาม) ๑ สีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) ๑ ตถาคตไสยา (นอนอย่าง
ตถาคต) ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เปตไสยาเป็นไฉน คนตายโดยมากนอนหงาย
นี้เราเรียกว่าเปตไสยา ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโภคีไสยาเป็นไฉน คนบริโภคกามโดยมากนอน
ตะแคงข้างซ้าย นี้เราเรียกว่ากามโภคีไสยา ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีหไสยาเป็นไฉน สีหมฤคราชย่อมสำเร็จการนอน
ข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเลื่อมเท้า สอดหางเข้าในระหว่างโคนขา มันตื่นขึ้นแล้ว
ยืดกายเบื้องหน้าแล้ว เหลียวดูกายเบื้องหลัง ถ้ามันเห็นความผิดแปลกหรือความ
ละปรกติแห่งกาย มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น ถ้ามันไม่เห็นอะไรผิดปรกติ มันย่อม
ดีใจด้วยเหตุนั้น นี้เราเรียกว่าสีหไสยา ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตถาคตไสยาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เราเรียกว่าตถาคตไสยา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้แล ฯ


ไสยาสน์การนอน ๔

๑. กามโภคีไสยาสน์ การนอนของบุคคลผู้บริโภคกามคุณ (คือนอนตะแคงข้างซ้าย)
 

ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock   
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด


๒. เปตไสยาสน์ การนอนของเปรต (คือนอนหงาย)

ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock   
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด


๓. สีหไสยาสน์ การนอนของราชสีห์ (คือนอนตะแคงข้างขวา)
 

ครูบาพรหมจักรนอนสีหไสยาสน์
ที่มา : http://www.krubajong.com/kruba/promma.php


๔. ตถาคตไสยาสน์ การบรรทมของพระตถาคตเจ้า (ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา)
 
ภาพ : พระพุทธรูปปางไสยาสน์
http://www.sarapee.ac.th/www/index.php/2011-02-25-06-11-42/662-2011-03-01-04-43-14
            พุทธไสยาสน์ หรือ คถาคตไสยาสน์ พระตถาคต ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีพระสติสัมปชัญญะในการบรรทม บางท่านเรียกว่า "จตุตถไสยาสน์" 

วิธีการนอนแบบพระพุทธเจ้าที่ทรงแนะนำพระภิกษุ

           -- โดยพระพุทธเจ้าทรงพักผ่อนพระวรกายในส่วนสมอง ขณะสำเร็จสีหไสยาเพียงวันละ 4 ชั่วโมง 
           -- พระองค์ทรงแนะนำให้ ภิกษุนอนวันละ 4 ชั่วโมง และนอนด้วยการสำเร็จสีหไสยาสน์ มีสติสัมปชัญญะและทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
             -- กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยาม (อีก 4 ชั่วโมง) แห่งราตรี
           -- นั่นคือก่อนจะนอนภิกษุต้องตั้งสติ คือตั้งใจไว้ก่อนว่า นอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ และตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด


นอนแบบ“สีหไสยาสน์”
นอนด้วยท่าทางสงบ นอนตะแคงขวาเพื่อไม่ให้บีบทับหัวใจมากเกินไป มือขวาวางหงายไว้บนหมอนข้างแก้มขวา มือซ้ายวางราบไปตามลำตัว ขาขวาวางเหยียดไปแบบธรรมชาติไม่ต้องเกร็งให้ตรงเกินไป โคนขาซ้ายทับขาขวาอย่างพอเหมาะ เข่าซ้ายพับงอเล็กน้อย ปลายเท้าซ้ายวางลาดตํ่าไว้หลังเท้าขวา เป็นการช่วยพยุงร่างให้ทรงตัวในท่านอนได้นาน

ที่มา ; http://www.watpitchvipassana.com/purity-dhamma-34-sleeping.html

กุศโลบายการวางเท้าเหลื่อมเท้า
เหตุที่วางเท้าเหลื่อมเท้านั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวา ซึ่งมีความโค้งมนส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมาเท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก
         มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น  ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา

ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=24124


นอนอย่างไรจึงเรียก
“สีหไสยาสน์”
โดย.. มหานาลันทา

            เมื่อพูดถึงพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ ท่านที่เป็นชาวพุทธก็ย่อมจะนึกถึงภาพของพระนอนที่มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่เล็กสุดจนถึงใหญ่สุด  ที่ประดิษฐานอยู่ตามัดวาอารามทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
            พระพุทธไสยาสน์นี้จะอยู่ในอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตรพระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายวางทอดทาบไปตามร่างกายด้านซ้ายพระหัตถ์ขวาหงายอยู่กับพื้นข้างพระเขนย พระบาททั้งสองตั้งเรียงซ้อนกัน ลักษณะการนอนดังกล่าวนี้ เรียกว่าสีหไสยาสน์ เป็นการนอนของราชสีห์ว่ากันว่า  ราชสีห์นั้นเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ และสง่างามในท่วงท่าและอิริยาบถ แม้ในการนอนก็ต้องนอนด้วยอาการอันสำรวม  คือเวลานอนจะใช้เท้าลูบฝุ่นที่นอนให้เรียบเสมอกัน  แล้วจึงจะตะแคงตัวด้านขวาลงนอน  เท้าทั้งสี่จะอยู่ในอาการอันสำรวม ไม่เหนียดหรือกางออกเหมือนสัตว์อื่น และจะกำหนดในใจว่าจะนอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ และตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
            ก็ในพระพุทธศาสนานั้น  พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุผู้กระทำความเพียรเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ให้สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ หรือสีหไสยาสน์  ดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพราะที่กล่าวมาแล้วนั้น  กล่าวตามลักษณะของพระพุทธรูปที่ช่างปั้นขึ้น
            แต่จริง ๆ แล้ว ท่านสอนให้นอนตะแคงขวา ศีรษะหนุนหมอน มือซ้ายวางทาบไปตามร่างกายด้านซ้าย มือขวาวางหวายแนบกับในหน้า  เพื่อไม่ให้คอพลิกไปมา วางเท้าเหลื่อมเท้า กำหนดในใจ มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาและจะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
            ข้อที่บอกว่าวางเท้าเหลื่อมเท้านั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวา ซึ่งมีความโค้งมนส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมาเท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น  ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา
            ผิดกับรูปปั้นที่ช่างต้องปั้นให้มีเท้าทั้งสองซ้อนกัน  เพื่อที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า  พระบาทของพระพุทธเจ้าเรียบเสมอกัน และต้องปั้นให้พระบาททั้งสองเหยียดตรง และพระหัตถ์ซ้ายที่วางทาบบนพระวรกายนั้นก็เหยียดตรงเช่นกัน
            พระพุทธเจ้าของเรานั้นทรงแสดงธรรมตอนหัวค่ำช่วง ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.แก่สาวกที่มาจากทิศต่าง ๆ เวลาพ้นเที่ยงคือไปจนตี่สองทรงแสดงธรรมแก่เหล่าเทวดา  เวลาใกล้รุ่งค่อนสว่างทรงพิจารณาถึงหมู่สัตว์ว่าผู้ใดจะมีอุปนิสัยบรรลุก็จะเสด็จไปโปรด
            เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาทั้งสามยามนี้พระองค์จะเสด็จบรรทมสีหไสยาสน์ซึ่งแต่ละช่วงจะไม่เกิน ๒ ชั่วโมง
            เห็นได้ว่าการนอนในท่าสีหไสยาสน์นี้  จะมีคุณอเนกประการแก่ผู้ที่ตรากตรำทำงานอย่างเคร่งเครียด เช่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องดูหนังสือสอบ รวมทั้งนักบริหารทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายลองสำเร็จการนอนแบบสีหไสยาสน์แล้วจะพบว่าเมื่อตื่นขึ้นมาท่านจะทำงานต่อไปได้อย่างสดชื่น  และจะรู้ว่าจิตนี้อัศจรรย์จริง

จากหนังสือ      ธรรมลีลา ฉบับที่ 37 ธันวาคม 2546

ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.kanlayanatam.com/sara/sara28.htm



 


พระพุทธไสยาสน์นี้จะอยู่ในอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตรพระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายวางทอดทาบไปตามร่างกายด้านซ้ายพระหัตถ์ขวาหงายอยู่กับพื้นข้างพระเขนย พระบาททั้งสองตั้งเรียงซ้อนกัน ลักษณะการนอนดังกล่าวนี้ เรียกว่าสีหไสยาสน์ เป็นการนอนของราชสีห์ว่ากันว่า ราชสีห์นั้นเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ และสง่างามในท่วงท่าและอิริยาบถ แม้ในการนอนก็ต้องนอนด้วยอาการอันสำรวม คือเวลานอนจะใช้เท้าลูบฝุ่นที่นอนให้เรียบเสมอกัน แล้วจึงจะตะแคงตัวด้านขวาลงนอน เท้าทั้งสี่จะอยู่ในอาการอันสำรวม ไม่เหนียดหรือกางออกเหมือนสัตว์อื่น และจะกำหนดในใจว่าจะนอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ และตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด

ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nayrotsung&month=06-03-2009&group=4&gblog=11


     หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง-วิปัสสนาญาณ ๙ "ความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่" หมายความว่า การพยายามบังคับจิตให้มีลักษณะสดชื่นแจ่มใสอาจหาญร่าเริงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีลักษณะหดหู่ ท้อแท้ งัวเงีย ของบุคคลผู้ต้องการจะหลับ ในทางปฏิบัติมีหลักใหญ่ๆ อยู่ว่า ถ้าไม่ถึงเวลานอน ก็จะดำรงจิตให้อยู่ในลักษณะที่กล่าวนี้ทุกอิริยาบถ เว้นอิริยาบถนอน ครั้นถึงเวลานอน ก็มีสติกำหนดระยะเวลาที่จะนอน ตามที่กำหนดไว้ แล้วนอนด้วยอาการที่เรียกว่า "สีหไสยา" แล้วตื่นตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ คำว่า "สีหไสยา" แปลว่า นอนอย่างราชสีห์ ต้องนอนตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมกันพอสบาย และนอนโดยอิริยาบถเดียวนี้จนตลอดเวลา ไม่มีการดิ้น เวลาที่กำหนดไว้สำหรับบรรพชิตผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาคือ มัชฌิมยามเพียงยามเดียว หลับลงไปด้วยการกำหนดธรรมะข้อใด ต้องตื่นขึ้นมาด้วยการกำหนดธรรมะข้อนั้น แล้วพิจารณาต่อไปตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ไม่มีระยะขาดตอน นี้เรียกว่า "ชาคริยานุโยค" มีความหมายคล้ายๆ กับว่าผู้นั้นไม่เคยเผลอสติ แม้กระทั่งเวลาหลับ ก็ไม่เปิดโอกาสให้กิเลสครอบงำ โดยไม่ต้องกล่าวถึงเวลาตื่น จึงไม่มีการฝันร้าย ฝันลามก และถึงกับไม่มีการฝันเลย ข้อปฏิบัติเหล่านี้ถือว่าไม่มีทางผิดในทุกกรณี แม้แต่ฆราวาสหรือแม้แต่เด็กๆ เพียงแต่จะต้องปรับปรุงข้อปลีกย่อย เช่น เวลา เป็นต้น ให้เหมาะสมเท่านั้น โดยส่วนใหญ่มุ่งหมายถึงความเป็นบุคคลที่มีร่างกายกระปรี้กระเปร่า มีจิตใจสดชื่นแจ่มใสร่าเริง มีสติสัมปชัญญะเต็มตัวอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ เมื่อหลับก็หลับอย่างสนิท เมื่อตื่นก็แจ่มใสเต็มที่ สิ่งที่ตนกระทำอยู่ก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทั้งทางโลกและทางธรรมดังกล่าวแล้ว การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในสิกขา ๓ หรือในมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น จนกว่าจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทาง แม้กระนั้นแล้วข้อปฏิบัติที่เรียกว่าอปัณณกปฏิปทา ๓ ประการนี้ ก็ยังคงมีอยู่ประจำตัวด้วยอำนาจความเคยชินเป็นนิสัย



ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://sompong-industrial.blogspot.com/2014/12/blog-post_292.html
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #246 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2016, 10:26:11 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #247 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2016, 01:24:01 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๒. มหานิทานสูตร (๑๕)
             [๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ
นามว่า กัมมาสทัมมะ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะ
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะ
เป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น
อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์
เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจ
ด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุง
กระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ดูกรอานนท์
เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า
ชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า
ชาติมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ภพมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอ
พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็น
ปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขา
ถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย เมื่อเธอ
ถูกถามว่า ตัณหามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ตัณหามี
อะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามี
สิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เธอ
พึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอ
พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูป
เป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้า
เขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อ
เธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า
วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิด
นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด
เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็น
ปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ
             ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
             [๕๘] ก็คำนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ เรากล่าวอธิบาย
ดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ ดูกรอานนท์ ก็แลถ้าชาติมิได้
มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวก
เทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์ เพื่อความเป็นยักษ์แห่งพวกยักษ์
เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวกมนุษย์ เพื่อความเป็น
สัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี เพื่อความเป็น
สัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความ
เป็นอย่างนั้นๆ แห่งสัตว์พวกนั้นๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติ
ดับไป ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชรามรณะ
ก็คือชาตินั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบข้อความนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพไม่มีโดย
ประการทั้งปวง เพราะภพดับไป ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชาติ
ก็คือภพนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เรากล่าวอธิบายดัง
ต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าอุปาทานมิได้มี
แก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เมื่ออุปาทานไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะ
อุปาทานดับไป ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งภพ
ก็คืออุปาทานนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เรากล่าวอธิบายดัง
ต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มี
แก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
ตัณหาดับไป อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทาน
ก็คือตัณหานั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เรากล่าวอธิบายไว้
ดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มี
แก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อเวทนาไม่มี
โดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหา
ก็คือเวทนานั่นเอง ฯ
             [๕๙] ดูกรอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือ เพราะอาศัย
เวทนาจึงเกิดตัณหา เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เพราะอาศัยการแสวงหา
จึงเกิดลาภ เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ เพราะอาศัยการตกลงใจจึงเกิดการ
รักใคร่พึงใจ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง เพราะอาศัยการพะวง
จึงเกิดความยึดถือ เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เพราะอาศัยความ
ตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่องในการป้องกันขึ้น
อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การ
แก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ
ย่อมเกิดขึ้น คำนี้เรากล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความ
ข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวว่า เรื่องในการป้องกันอกุศลธรรม
อันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การ
วิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการป้องกันมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการทั้งปวง เพราะหมดการป้องกัน อกุศลธรรมอัน
ชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ จะพึงเกิดขึ้นได้
บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการเกิด
ขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกเหล่านี้ คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การ
แก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การกล่าวคำส่อเสียด และการพูดเท็จ
ก็คือการป้องกันนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เรากล่าวอธิบาย
ดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ
ตระหนี่มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตระหนี่
โดยประการทั้งปวง เพราะหมดความตระหนี่ การป้องกันจะพึงปรากฏได้
บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ
ป้องกัน ก็คือความตระหนี่นั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เรากล่าวอธิบาย
ดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ
ยึดถือมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความยึดถือโดย
ประการทั้งปวง เพราะดับความยึดถือเสียได้ ความตระหนี่จะพึงปรากฏ
ได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ
ตระหนี่ ก็คือความยึดถือนั้นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เรากล่าวอธิบาย
ดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการพะวงมิ
ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการพะวงโดยประการ
ทั้งปวง เพราะดับการพะวงเสียได้ ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ
ยึดถือ ก็คือการพะวงนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง เรากล่าวอธิบาย
ดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ
รักใคร่พึงใจมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความรัก
ใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความรักใคร่พึงใจเสียได้ การพะวงจะพึง
ปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการพะวง
ก็คือความรักใคร่พึงใจนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ เรากล่าว
อธิบายดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ
ตกลงใจมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตกลงใจ
โดยประการทั้งปวง เพราะดับความตกลงใจเสียได้ ความรักใคร่พึงใจจะพึงปรากฏ
ได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยความรักใคร่
พึงใจ ก็คือความตกลงใจนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าลาภมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง เพราะหมดลาภ
ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ
ตกลงใจ ก็คือลาภนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา
ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการแสวงหา
มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการแสวงหาโดย
ประการทั้งปวง เพราะหมดการแสวงหาลาภจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของลาภ
ก็คือ การแสวงหานั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อ
ไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะดับตัณหาเสียได้ การแสวงหาจะพึงปรากฏ
ได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการ
แสวงหาก็คือตัณหานั่นเอง ฯ
             [๖๐] ดูกรอานนท์ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา
โดยส่วนสอง ด้วยประการดังนี้แล ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา-
*สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนา
ก็คือผัสสะนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย
ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ
นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง
ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ
นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ
ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง
ในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป
นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่
จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป
ก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ
             ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้
อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ
ต่อไปได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป
จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ
             [๖๑] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ
ประมาณเท่าไร ก็เมื่อบุคคลจะบัญญัติอัตตา มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า
อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า
อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ เมื่อบัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า
อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อม
บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ฯ
             ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตามีรูปเป็น
กามาวจรนั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ
มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่
เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่
เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ
             ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้มีบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุด
มิได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมี
ความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้
อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ
             ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็น
กามาวจรนั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ
มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่
เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีอรูป
ที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ
             ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ส่วนผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูป
ทั้งหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น
หรือมีความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพ
ที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดาน
ผู้มีอรูป เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ
             ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตาย่อมบัญญัติด้วยเหตุมีประมาณเท่า
นี้แล ฯ
             [๖๒] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุ
มีประมาณเท่าไร อานนท์ ก็เมื่อบุคคลไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่
บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร เมื่อไม่บัญญัติอัตตามีรูปอันหาที่สุดมิได้
ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ หรือเมื่อไม่บัญญัติอัตตาไม่มี
รูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาจร เมื่อไม่
บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้
อานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจรนั้น
ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความ
เห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้
อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็น
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย
             ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือ
ไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน
ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า
อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร
กล่าวไว้ด้วย
             ส่วนผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาล
บัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ
อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า
อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร
กล่าวไว้ด้วย
             ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้
หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน
ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า
อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร
กล่าวไว้ด้วย ฯ
             ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุมีประมาณ
เท่านี้แล ฯ
             [๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี
ประมาณเท่าไร ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็น
อัตตาของเรา ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา
อานนท์ หรือเล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตา
ของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้น
อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าว
อย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนา
มี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา
๓ ประการนี้ ท่านเล็งเห็นอันไหนโดยความเป็นอัตตา อานนท์ ในสมัยใด อัตตา
เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา
คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใดอัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้
เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว
เท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา
ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น
             ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขม-
*สุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความ-
*คลาย และความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า
นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเรา
ดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อ
ทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนา
อันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
เวทนาเป็นอัตตาของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็น
อัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะ
เล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึง
ถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ใน
รูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ฯ
             ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าว
แล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่
ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของ
เรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เพราะเวทนาจะต้อง
ดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
เวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับ
ไปแล้ว ฯ
             ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของ
เรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำ
ดังกล่าวแล้วนี้ ฯ
             [๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่
เล็งเห็นอัตตาว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนา
อยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา ภิกษุนั้น เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่
สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อานนท์
ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย
สัตว์ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย
สัตว์มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การ
กล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร ฯ
             ข้อนั้น เพราะเหตุไร
             ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ
การแต่งตั้ง ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสาร
ยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น เพราะรู้ยิ่ง วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึงหลุดพ้น ข้อที่มี
ทิฐิว่า ใครๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะรู้ยิ่ง
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #248 เมื่อ: ธันวาคม 03, 2016, 11:40:56 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิธีการเจริญเมตตาจิตในขณะที่สวดมนต์แผ่เมตตา

ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเจริญเมตตาจิตในขณะที่สวดมนต์แผ่เมตตา ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย

1. เวลาทำสมาธิภาวนา ให้กระทำใน นั่ง ยืน เดิน นอน ตามแต่ที่เราพอใจหรือเหมาะสม
2. เมื่อเริ่มทำสมาธิให้กำหนดลมหายใจเข้าออกตามปกติ จะบริกรรมเช่นใดก็ตามแต่จะ พุทธ-โธ หรือ ยุบ-พอง หรือ ใดๆก็ตามแต่ที่จริตเราชอบ
3. ระลึกถึงสภาพจิตที่เป็นกุศลจิต คือ มีความสงบเย็นใจ ผ่องใส ไม่ติดข้องใจในสิ่งใด มีความเบาบาง ใสสว่าง
4. ระลึกจิตให้ทรงอารมณ์ในสภาพที่เป็นกุศลนี้ให้ตั้งอยู่ ให้คงอยู่ซักระยะ ระลึกเข้าความเบาสบาย ผ่องใส ไม่ติดข้องใจไว้ เพื่อไม่เ็ป็นการจดจ้องในอารมณ์ จะทำให้ปวดหัวได้
5. เมื่อทรงอารมณ์เข้าในสภาวะที่เป็นกุศลจิตนี้ สภาพจิตที่เป็นตัวรู้ของเรามันจะรู้สภาพปรมัตถธรรมที่เกิดนี้ของเรา แล้วตั้งจิตทรงอารมณ์ไว้ซักระยะ

- โดยปกติทั่วไป คนที่ไม่ศึกษาในพระธรรม หรือ เพิ่งเริ่มต้นศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนานี้ หากยังวางจิตเข้าถึง เมตตาจิต กรุณาจิต ทานจิต มุทิตาจิตไม่ได้ มักจะเข้าใจแค่ว่าเวลาแผ่เมตตาให้คนอื่นเราก็สวดๆบทแผ่เมตตานั้นๆแล้วระลึกถึงบุคคลที่จะให้ ด้วยสภาพจิตที่อยากให้เขารักใคร่ตนกลับคืนบ้าง อยากให้เขาเลิกทำร้ายเบียดเบียนเราบ้าง โดยไม่ได้มุ่งเน้นในสภาพจิตที่เป็นเมตตาจริงๆที่จะส่งผลให้การสวดมนต์แผ่เมตตานั้นสำเร็จผลได้จริงๆ
- ผมเจอคนโดยมากมักกล่าวว่า เจอคนที่ชอบเบียดเบียนตนเองบ้าง ตนเองไม่พอใจเขาบ้าง เกลียดเขาบ้าง สวดบทแผ่เมตตาอยู่ทุกวันไม่เห็นเป็นผลเลย ซึ่งนั่นก็เพราะที่กระทำไปนั้นเพราะมุ่งเน้นผลตอบกลับซึ่งสภาพจิตเช่นนี้มันเต็มไปด้วยความโลภจนก่อเป็นตัณหาความทะยานอยากที่จะให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ จนจิตที่เป็นเมตตาจริงๆของตนนั้นถูกบดบังด้วยความอยากที่เป็นความโลภและตัณหาเข้ามาทดแทนจิตที่เป็นเมตตา ดังนั้นเมื่อสวดบทแผ่เมตตาแม้จะพันครั้งก็เหมือนท่องอ่านบทกลอนเล่นๆเพื่อสนองตัณหาตนไม่อาจเข้าถึงประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงของบทสวดนั้นได้

การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเมตตาจิตเพื่อการสวดมนต์แผ่เมตตาจิต

** เริ่มต้นให้แผ่เมตตาให้ตนเองก่อนนะครับ โดยเจริญจิตตั้งมั่นระลึกให้ตนเองนั้นมีสภาพกาย-วาจา-ใจ ดังนี้คือ

- โลกมีความเป็นไปของมันโดยธรรมชาติ ล้วนดำรงด้วยขันธ์มีความรู้สึกนึก มีความแปรปรวน มีความเอนเอียงไปเป็นตามธรรมชาติของมัน มีเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เราได้พบเจอในสิ่งที่รักที่ชังแต่ทุกสิ่งล้วนเป็นไปของมัน จะพึงหมายให้สิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญใจคงอยู่ ให้สิ่งที่ชังที่ไม่ชอบไม่จำเริญใจจงวินาสดับสูญไปให้ไกลตน ก็หาทำได้ไม่ เราย่อมบังคับมันไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนเหล่าใดที่เราจะพึงทำได้ เพราะมันเป็นไปโดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น จะเอาความความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใดๆที่ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตนแล้วมันจะหาสุขอันใดได้เล่า การเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นมันก็มีแต่ทุกข์อยู่ร่ำไป เลิกเอาความสุขของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นหรือสิ่งไรๆเสียจักไม่ทุกข์
- พึงรู้ว่าธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตความรู้สึกนึกคิดจิตใจมันเป็นแบบนั้น มีความเป็นไปอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว แม้แต่ตัวเราเอง เลิกติดใจข้องแวะสิ่งเหล่านั้นไปเสียติดข้องใจไรๆไปก็หาความสุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์
- ความติดใจข้องแวะสิ่งใดย่อมนำพาไปสู่ความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความเบียดเบียนทำให้เร่าร้อน ความเร่าร้อนเป็นทุกข์
- ความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกย่อมไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความไม่เบียดเบียนทำให้เย็นกายสบายใจ ความเย็นใจเป็นสุข

ด้วยเหตุดังนี้ๆ..เราทำความเมตตาตนเองโดยพึงทำไว้ในใจว่า

 - เราจักทำจิตให้ผ่องใสดุจดวงประทีป ละเว้นจากความเบียดเบียนทั้งปวง ยังจิตให้สงบรำงับจากบาปอกุศลทั้งปวงอยู่ ยังความเบาสบายเย็นใจ สุขอยู่ทุกเมื่อ
(ทำจิตน้อมระลึกถึงความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆในโลก ระลึกถึงดวงแก้วอันสว่างไสวมีความผ่องใสเป็นสุขปราศจากความหม่นมัวหมองคือกิเลสความลุ่มหลงทั้งรักทั้งชังทั้งปวง)
 - เราจักเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ผูกโกรธแค้นเคืองใคร จักสละซึ่งความโกรธเคืองทั้งปวง มีปกติจิตผ่องใสเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเป็นที่สบายกายใจ
(พีงระลึกว่าเราทั้งหลายในโลกล้วนเป็นเพียงสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้จิตจรมาอาศัยอยู่ ดังนั้นก็ล้วนมีทำถูกทำผิด พลั้งเผลอมีรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนกันหมด จะเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิตที่มีความคิดความรู้สึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆตามอกุศลได้เล่า แม้เราก็มีอยู่ ดังนี้พึงละความติดข้องใจไรๆต่อใครไปเสีย ผูกโกรธผูกเวรไปก็ทำให้ใจเราเศร้าหมองเปล่าๆ ทำใจเราให้เว้นด้วยสละจากความโกรธแค้นพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปเสียเป็นความเอื้อเฟื้อสงเคราะห์ให้เขาเหล่านั้นเป็นอภัยทาน เราก็ได้เมตตาบารมี ทานบารมี ดังนั้นพึงตั้งมั่นเอาความไม่มีโกรธพยาบาทผูเแค้นอาฆาตมาสู่ใจเรา ทำใจให้ผ่องใส)
- เราจักเป็นผู้ไม่ผูกใจเจ็บแค้นใคร จักทำใจให้ผ่องใสเว้นจากความพยาบาทหมายทำร้ายหรือต้องการให้ใครฉิบหาย จักสละซึ่งความผูกแค้นเคืองอาฆาตทั้งปวง มีปกติจิตผ่องใสเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเป็นที่สบายกายใจ
(พึงระลึกว่าเราทั้งหลายในโลกล้วนเป็นเพียงสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้จิตจรมาอาศัยอยู่ ดังนั้นก็ล้วนมีทำถูกทำผิด พลั้งเผลอมีรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนกันหมด จะเอาอะไรกับสิ่งมีชีวิตที่มีความคิดความรู้สึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆตามอกุศลได้เล่า แม้เราก็มีอยู่ ดังนี้พึงละความติดข้องใจไรๆต่อใครไปเสีย ผูกพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปก็ทำให้ใจเราเศร้าหมองเปล่าๆ ทำใจเราให้เว้นด้วยสละจากความโกรธแค้นพยาบาทเบียดเบียนต่อใครไปเสียเป็นความเอื้อเฟื้อสงเคราะห์ให้เขาเหล่านั้นเป็นอภัยทาน เราก็ได้เมตตาบารมี ทานบารมี ดังนั้นพึงตั้งมั่นเอาความไม่มีโกรธพยาบาทผูกแค้นอาฆาตมาสู่ใจเรา ทำใจให้ผ่องใส)
 - เราทำความตั้งมั่นเว้นแล้วซึ่งความเบียดเบียนมีจิตเป็นศีลด้วยความเอื้อเฟื้อสละให้อยู่ดังนี้ ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์เร่าร้อนกายและใจ ไม่มีโรค ไม่มีภัย พ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองกายใจทั้งปวงนั้นเทอญ
(ระลึกถึง ๓ ข้อข้างต้นนั้น นั่นแหละคือมีใจเป็นศีล ศีล คือ เจตนาเครื่องกุศล เจตนาละเว้นจากอกุศลกรรมความเบียดเบียนทั้งปวง มีใจเอื้อเฟื้อน้อมไปในการสละเกื้อกูล ยินดีที่ผู้อื่นสำเร็จประโยชน์สุข ทำข้อนี้ไม่ใใช่ได้แค่เมตตาเท่านั้น เรายังได้สีลานุสสติเพราะใจเป็นศีล ได้จาคานุสสติเพราะใจเราทำอภัยทานด้วยสละความโกรธแค้นเบียดเบียนหมายจะทำเขาให้ฉิบหายนั่นเอง)
 - เราตั้งมั่นรักษากาย วาจา ใจไม่พ้นจากสมมติกิเลสเครื่องเร่าร้อนที่ล่อใจไว้อยู่ตามสติกำลัง ด้วยเหตุแห่งประการทั้งปวงนั้น ขอจงเป็นเครื่องปกปักรักษาให้เรารอดพ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง มีความเย็นกายสบายใจเป็นสุขอยู่ทุกที่ในกาลทุกเมื่อตราบจนถึงพระนิพพานนั้นเทอญ

หากยังทรงจิตให้มีปกติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันไม่ได้ แนวทางนี้ก็เป็นเพียงหลักการสะกดจิตน้อมใจไปให้เป็นอย่างนั้น แต่อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ก็เป็นการสะสมเหตุของปุถุชนอย่างเราๆที่จะพึงพอทำได้ เพื่อให้มีสันดานแห่งพระอริยะในภายหน้าสืบไปครับ

** จากนั้นสวดมนต์แผ่เมตตาพร้อมเจริญจิตตั้งมั่นเจริญในอุบายแนวทางของใจที่มอบเมตตาจิตแก่บุคคลแต่ละประเภทดังต่อไปนี้ **

    เมื่อเรามีความเย็นใจผ่องใสเป้นที่สบายแล้ว พึงเห็นว่าไม่ว่าเขา หรือเรา หรือใครๆ ก็ล้วนเป็นผู้ดำรงขันธ์อยู่ มีกายรูปร่างหน้าตา วาจาคำพูดกล่าว วจีเหล่าใด ใจอันเป็นอุปนิสัยจริตสันดาน ซึ่งต่างเกิดขึ้นมาแต่วิบากกรรมที่ติดตามมาแต่ปางก่อนทั้งสิ้น ต่างล่วงพ้นทุกข์ในอีกที่หนึ่งภพหนึ่งจรไปอีกที่หนึ่งภพหนึ่ง จรจากนรกบ้าง จรจากสวรรค์บ้าง จึงลงมาสู่ครรภ์ของมารดาในปัจจุบันชาตินี้ด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังนี้พระศาสดาจึงสอนให้มี ทาน ศีล พรหมวิหาร๔ สัมมัปปธาน๔ สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญาเพื่อเป็นกุศลวิบากกรรมให้ติดตามเราไปทุกภพทุกชาติตราบจนถึงพระนิพพาน
    เมื่อยังปุถุชนอยู่เหมือนกันก็ต้องมีที่รักที่ชังมีความอคติลำเอียงเป็นธรรมดาไม่ว่าเขาหรือเรา ดังนี้แล้วจึงไม่ควรติดใจข้องแวะสิ่งใดๆต่อใครทั้งสิ้น เพราะต่างก็เป็นเพียงขันธ์ เป็นสังขารในโลก เป็นสิ่งที่ชีวิตที่เสมอด้วยกันหมด เพราะต่างเกิดขึ้นเพราะกรรมทั้งสิ้น
    เมื่อเราสงบเราเป็นสุบเราพ้นจากทุกข์ความเบียดเบียนเร่าร้อนแล้ว พึงเห็นว่าเขานั้นแลยังทุกข์อยู่ควรที่เราจะเอื้อเฟื้อสงเคราะห์เกื้อกูลให้เขาพ้นจากความเร่าร้อนที่มีอยู่นั้น อย่างที่เราเป็นสุขพ้นจากทุกข์เร่าร้อนอยู่ในตอนนี้ เมื่อต่างฝ่ายต่างเป็นปกติสุขไม่เร่าร้อน ย่อมไม่เบียดเบียนกัน เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว ก็แผ่เอาเมตตาน้อมไปในความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลความสุขสำเร็จปราศจากกิเลสความเร่าร้อนนั้นไปให้เขาพร้อมบทสวดแผ่เมตตานั้นๆไป
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #249 เมื่อ: ธันวาคม 03, 2016, 11:41:23 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลที่เรา รักใคร่ หรือ เคารพบูชา เช่น บุพการี พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ ลุง ป้า น้า อา พี่ น้องภรรยา สามี ลูก หลาน เพื่อนสนิท มิตรสหาย
1.1 การแผ่เมตตาจิตให้กับ พ่อ แม่  ครูบาอาจารย์ ลูก หลาน ญาติ พี่ น้อง เพื่อนทั้งหลายนั้น เราต้องตั้งจิตระลึกถึงพระคุณที่มีเป็นอันมากของผู้ที่มีความอุปการะคุณ เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน ปนะโยชน์สุขให้แก่เรา(พ่อ- แม่ บุพการี ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย) หรือ ปารถนาให้บุคคลที่อันเป็นที่รักเรานั้นมีความปกติสุข สงบ สบายกาย-ใจ มีความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า(ญาติ พี่น้อง ภรรยา สามี บุตร หลาน เพื่อน)
1.2 ตั้งจิตที่ปารถนาให้ท่านทั้งหลายได้พบเจอสิ่งที่ดีงาม ได้ประสบกับความสุข ได้พ้นจากความทุกข์  เป็นผู้ไม่มีทุกข์ เป็นผู้ไม่มีภัยอันตรายใดๆทั้งปวง มีจิตระลึกให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีความปิติ สงบสุข ยินดี เปรมปรีย์จิต
1.3 ตั้งจิตในความเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน และ ตั้งจิตแผ่มอบให้ ด้วยใจที่หวังและปารถนาให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์สุขหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายที่มีที่เป็นอยู่นี้ จากบุญใดๆที่เราได้เจริญ ได้กระทำ ได้ปฏิบัติดี ได้ปฏิบัติชอบมา ทั้ง กาย วาจา และ ใจ ได้แผ่ไพศาลไปถึงแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม เป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร เป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในท่านทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติสุขมีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย

2. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั่วๆไป เช่น คนที่เราพอจะรู้จักแต่ไม่ได้เกี่ยวพันธ์สัมพันธ์ใดๆเป็นการส่วนตัว หรือ บุคคลที่เราไม่รู้จักมักจี่ ไม่คุ้นเคยด้วยก็ดี
2.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่เขาเหล่านั้น ให้พึงระลึกรู้ในจิตของเราดังนี้ก่อนว่า ให้มองเขาเหล่านั้นเหมือนเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ญาติ พี่ น้อง ลูก หลาน เพื่อนของเรา
2.2 ตั้งความปารถนาให้เขามีความสุขกาย สบายใจ มีความปิติสุข ยินดี ปราศจากทุกข์ ทั้งกายและใจ
2.3 ตั้งจิตในความเอื้ออนุเคราะห์ แบ่งปัน แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นด้วยการให้ที่เป็น "ทาน" ที่ให้ด้วยใจปารถนาให้เขาได้รับประโยชน์สุขจากการให้นั้นๆของเรา แล้วพึงตั้งมั่นในใจดังนี้ว่า..ขอมอบผลบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ที่มีคุณเป็นมหาศาลจากการเจริญกัมมัฏฐาน การปฏิบัติที่ดีงามด้วย กาย วาจา ใจ นี้ๆของเรา ให้แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้รับผลบุญกุศลนี้ เพื่อได้ล่วงพ้นจากความทุกข์ ได้ประสบกับความสุขกายสบายใจ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม จงเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร จงเป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในท่านทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีปกติสุขยินดี มีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย


3. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลผู้ทำให้เราต้องความผิดหวัง เจ็บช้ำ ทุกข์ทน อัดอั้น คับแค้น ทรมานไปทั้งกายและใจ ทำให้เราต้องโศรกเศร้า เสียใจ หรือ เมื่อเราอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความยินดีเลย เกลียด กลัว เช่น ถูกแฟนทิ้ง ถูกเขาหลอก ถูกเขาด่า ถูกเขานินทา ถูกทำร้าย

3.1 กรณีที่ประสบกับความพรัดพราก เช่น ผิดหวัง-ไม่สมหวังในรัก เลิกรา-ร้างลากับคนที่รัก ถูกแฟนทิ้ง ซึ่งทำให้เราได้รับความผิดหวัง ช้ำใจ โศรกเศร้าเสียใจ เป็นต้น
3.1.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่บุคคลที่ทำให้เราต้องประสบพบเจอกับสภาพความรู้สึกเช่นนี้ เราต้องพึงพิจารณาทบทวนให้เห็นถึง ข้อดี-ข้อเสีย และ ผลได้-ผลเสีย ความรู้สึก-นึกคิด ต่างๆ จากการที่เรานั้นได้ประสบพบเจอในความไม่สมหวังปารถนา และ ความพรัดพรากที่เป็นอยู่ในตอนนี้ แล้วเราก็จะมองเห็นว่า
- หากเรามีจิตที่คิด อาลัย อาวรณ์ เสียดาย ร้องไห้ เสียใจ ต้องการอยากจะได้กลับคืน หรือ หวนเวลากลับคืน หรือ ขอให้มันย้อนกลับจะขอแก้ไขส่วนใดๆที่ขาดตกไปด้วยความใคร่ครวญ สภาพความรู้สึกของจิตใจเรานั้นจะ เศร้าหมอง ขุ่นมัว อัดอั้น คับแค้น กรีด หวีด หวิวทั้งกายและใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน จิตใจสั่นเครือ จิตใจอ่อนล้า จิตใจไร้แรงกำลัง ลมหายใจระรัว แผ่วเบาบ้าง ถี่ติดขัดบ้าง ไม่เป็นปกติสุข
- หากเรามีจิตที่คิด ผูกเวร จองเวร พยาบาท อาฆาตแค้น สภาพความรู้สึกของจิตใจเรานั้นจะ ขุ่นข้อง ขัดเคือง มัวหมอง อัดอั้น คับแค้นกายและใจ  ถี่ติดขัดบ้าง ไม่เป็นปกติสุข มีแต่ทุกข์ เพราะจิตใจและความตรึกนึกคิดของเรานั้นจะคอยคิดเคียดแค้น อยากแก้แค้นจะเอาคืน จนร้อนรุ่มไปทั้งกายและใจ จิตใจเดือดดานอยู่ไม่เป็นปกติสุข ฟุ้งซ่าน ทุรนทุราย เพราะคอยคิดที่จะหาทาง อาฆาต ทำร้าย เบียดเบียนบุคคลนั้นให้มันเป็นไปตามความทะยานอยากตน
- สิ่งทั้งหลายที่ผมกล่าวมานี้เกิดขึ้นและเป็นจริงใช่ไหมครับ เมื่อเกิดความ อาลัย-อาวรณ์  และ ผูกจองเวร-พยาบาท
- ดังนั้นเราต้องวางใจออกจากทั้ง 2 สิ่งนี้ให้ได้ เพื่อให้สภาพร้ายๆนี้ลดลงและหดหายไป โดยเรียนรู้และยอมรับในสัจธรรมที่ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะสมหวังปารถนาใคร่ได้ดั่งใจเราหมดทุกอย่าง คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุดไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง ซึ่งต่อให้ทำยังไงทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่อาจหวนย้อนวันเวลากลับคืนไปได้ ทำได้ในตอนนี้คือการอยู่กับตนเอง รู้ตนเอง ทำสภาพจิตให้สงบ ผ่องใส จนเป็นปกติสุข
- พึงเจริญจิตหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีงามที่ได้ทำให้เรานั้นเป็นสุขกายและใจ พึงหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีงามใดๆที่เขาทำให้เรานั้นเป็นสุขทั้งกาย-ใจ พึงหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีที่เป็นสุขเป็นกุศลใดๆที่เรานั้นเคยทำร่วมกันมา ให้พึงระลึกถึงความดีงามหรือกุศลกรรมใดๆที่เขาเคยมีให้แก่เรา พึงระลึกถึงกุศลกรรมนั้นมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต แล้วพึงระลึกถึงแต่ความดีของเขาหรือสิ่งดีๆที่เขาได้ทำให้เราเป็นสุขใจ มันจะทำให้จิตใจของเราแจ่มใส เบิกบาน มีความอิ่มเอม สงบและเป็นสุข แล้วความร้อนรุ่มใจใดๆจะลดน้อยลง แล้วจิตเราก็จะแลดูรู้เห็นว่าสิ่งนี้ๆเราควรละมันไปเสีย สิ่งนี้เราๆควรปล่อยมันไปเสีย สิ่งนี้ๆเราควรอดใจไว้เสีย สิ่งนี้ๆเราควรอดโทษไว้เสีย สิ่งนี้ๆเราควรวางมันไปเสีย มีจิตรู้ว่าเราควรอดใจละมันไว้ไม่ควรติดข้องใจใดๆในสิ่งนั้นเพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ แล้วจะเข้าถึงความดับไปแห่งความโกรธอันร้อนรุ่มใจนั้นๆ
- เมื่อจิตใจเราผ่อนคลายลง ผ่องใสขึ้น สงบขึ้น และ มีใจที่อดไว้ซึ่งโทษนั้นๆแก่เขา ให้พึงตรึกนึกว่า เขานั้นคงได้รับความทุกข์ทน ทรมาน คับแค้นใจ อัดอั้นใจ ฝืดเคือง ขัดข้องใจ ไม่มีความสงบสุขใดๆแก่ใจเขาเลย ซึ่งความสุขใดๆที่ขาดหายตกหล่นไปจากใจเขานั้นเราไม่สามารถให้ได้
- เหมือนดั่งเวลามีคนที่เราไม่ได้รัก ไม่ชอบใจ ไม่พอใจยินดี รำคาญ หรือ บุคคลใดที่คอยแต่ทำร้ายเราทั้งกายและใจเข้ามาอยู่เคียงข้างชิดใกล้กับเรา เราย่อมรู้สึกอึดอัดใจ ทุกข์ทน ทรมาน คับแค้นใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อยากจะหนีหรือผลักไสให้พ้นไปไกลๆจากเราใช่มั้ยครับ ลองเอาใจเขามายกใส่ใจเราในความรู้สึกเช่นนี้ๆก็คงไม่ต่างกัน
- ให้คิดเสียว่าหากเขาอยู่กับเรามันอาจจะไม่ดี หรือ ไม่เพียงพอที่จะทำให้เขามีความสุขทั้งกายและใจ หากแม้เขาอยู่กับเราต่อไปก็รังแต่ทำให้เขาเกิดความคับแค้น อัดอั้น ลำบาก ทุกข์กายและใจ สิ่งที่พอจะทำให้ได้ในตอนนี้คือการมีจิต เมตตา กรุณา ทาน และ มุทิตา ให้แก่เขาได้ ภายภาคหน้าเมื่อพานพบเจอกันจะได้ไม่ต้องอยู่กันแบบคับแค้นใจอีก
- เหมือนพ่อ-แม่ที่อยากให้ลูกตั้งใจเรียน ไม่เกเร ขยันทำงาน กตัญญู รู้คุณ เป็นเด็กดีอยู่ในโอวาท ต้องการอยากให้ลูกนั้นเรียนตามที่ตนเองพอใจต้องการเป็นต้น แต่ทว่าก็ไม่สามารถบังคับให้ลูกนั้นกระทำ หรือ เป็นไปดั่งใจที่ต้องการได้ ลูกก็ย่อมทะยานออกไปหาสิ่งที่ลูกนั้นปารถนาใคร่ได้ พอใจยินดี โดยที่พ่อ-แม่ห้ามไม่ได้ ถึงแม้เสียใจไปลูกก็คงไม่เข้าใจ เห็นใจ หรือ มองย้อนกลับมาดู และ ทำตามที่พ่อแม่ขอร้องต้องการได้ ที่พ่อ-แม่ทำได้นั้นก็เพียงแค่คอยดู และ ตักเตือนให้แง่คิดแนะนำ ประครองให้ลูกไม่พลาดพลั้งอยู่ห่างๆ ด้วยหวังให้ลูกนั้นได้รับสุขจากการกระทำต่างๆ
3.1.2 ให้ตั้งเจริญอยู่ในจิตที่ปารถนาให้เขานั้นได้พ้นจากทุกข์ประสบสุข  และ ได้รับความสุขยินดีกับเส้นทาง หรือ สิ่งที่เขาเลือกแล้วนั้น เหมือนที่พ่อ-แม่ หรือ ผู้มีความอุปการะคุณนั้นมีให้แก่เรา
3.1.3 ให้ตั้งเจริญอยู่ในจิตที่มีความสงสารด้วยความปารถนาให้เขาเป็นสุขมีจิตเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน จากบุญใดๆที่เราได้เจริญ ได้กระทำ ได้ปฏิบัติดี ได้ปฏิบัติชอบมา ทั้ง กาย วาจา และ ใจ ได้แผ่ไพศาลถึงแก่เขาให้เขาได้รับสุขจากสิ่งที่เราได้ให้มอบเขานี้ ให้เขาได้พานพบได้อยู่กับสิ่งที่เขาต้องการ
3.1.4 ปล่อยให้เขาไปเป็น "อภัยทาน" อันประเสริฐแก่เขา เว้นเสียซึ่งโทษ อดโทษ และ ความเบียดเบียน พยาบาทแก่เขา เพื่อให้เขาได้มีอิสระสุขตามที่ต้องการ การที่เราปล่อยให้เขาจากไปนั้นมันอาจจะเป็นหนทางที่เป็นประโยชน์สุขให้กับเขา เขาอาจจะมีความสุข สบายยินดีมากกว่าที่อยู่กับเรา ความคับแค้น อัดอั้น เสียใจนั้นๆจะได้ไม่เกิดกับเขาอีกต่อไป เมื่อเขาได้เลือกที่จะไปแล้วก็ขอให้เขาอย่าพบเจอกับความโศรกเศร้า เสียใจ หรือ คับแค้นกายและใจอีกเลย ขอให้เขาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม เป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร เป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในเขา ขอให้เขาเป็นผู้มีปกติสุขยินดี มีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย

3.2 กรณีที่ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี เช่น มีคนไม่ชอบใจเรา ไม่พอใจยินดีเรา หรือ เกลียดเรา แล้วคอยที่จะกลั่นแกล้ง บีบคั้น ด่าทอ ล่วงเกิน ใส่ร้าย-ทำร้าย ทำให้เราเกิดความคับแค้นใจ เสียใจ ทุกข์ ทรมานไปทั้งกายและใจ ทำให้เราต้องโศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน หรือ เมื่อเราอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความยินดีเลย
3.2.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่บุคคลที่ทำให้เราประสบพบเจอกับสภาพความรู้สึกเช่นนี้ ให้เราเจริญพิจารณามองว่า เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลผู้น่าสงสาร เป็นบุคคลไม่มีปกติสุข มีความขุ่นมัวใจ ขัดข้องติดเคืองในใจอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถคงอยู่แบบปกติสุขได้ จึงต้องคอย คิด-พูด-ทำ ที่เป็นความฟุ้งซ่าน พร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ  ใส่ร้าย ทำร้าย เบียดเบียนผู้อื่นอยู่เสมอๆ เพื่อให้ตนเองได้พ้นจากความทุกข์ที่ อัดอั้น ฝืดเคือง ขัดข้อง ขุ่นมัว คับแค้น ที่มีมากจนฝังลึกอยู่ในใจเขานั้น
3.2.2 ลองนึกย้อนกลับดูว่าเวลาที่เรานั้นเกลียดใคร ไม่พอใจใคร แล้วใจเรามีความผูกจองเวรจองกรรม อาฆาต พยาบาท เบียดเบียนเขา ต้องการจะกลั่นแกล้ง บีบคั้น อยากทำร้ายเขา เพราะเราไม่ชอบใจ ไม่พอใจยินดีในตัวเขา สภาพจิตใจเราในขณะนั้นจะขุ่นเคืองใจ ขัดข้องใจ หมองมัวใจ มุ่งทะยานคอยคิดหาหนทางกลั่นแกล้ง บีบคั้น ทำร้ายเขาเสมอ มีความเดือดร้อนใจกลัวเขาได้ดีมีสุข ไม่มีความเย็นใจ มีความขุ่นเคืองหมองมัวใจอยู่ตลอดเวลา  ไม่มีความปกติสุขของจิตแบบคนทั่วไปที่อยู่โดยไม่คิดผูกจองเวร หรือ กระทำเพื่อเบียดเบียน อาฆาต พยาบาท ทำร้ายใคร
3.2.3 ให้ตั้งจิตด้วยใจปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้มีชีวิตเป็นปกติสุข มีจิตใจสงบ-ผ่องใส
3.2.4 ตั้งจิตเจริญอยู๋ในความเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ อุปการระ แบ่งปัน มอบให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีจิตที่สุขสว่าง สดใส ได้หลุดพ้นจากความอัดอั้น-คับแค้น-ขัดเคือง-ขุ่นข้อง-มัวหมอง ร้อนรุ่ม-ร้อนรนทั้งกายและใจ ให้ความมีใจผูกจองเวร อาฆาต พยาบาท เบียดเบียดทำร้ายใครๆทั้งหลายเหล่านี้ของเขาได้สูญสลายหายไปจากจิตใจของเขา เพื่อเขาทั้งหลายเหล่านั้นได้หลุดพ้นจากทุกข์ที่เป็นอยู่ มีจิตใจที่แจ่มใสเป็นที่รักใคร่แก่ผู้อื่น ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย

- จะเห็นได้ว่าแนวทางที่ผมกล่าวมาทั้งหมด จะเว้นซึ่งการสนองความปารถนาแก่ตน เว้นซึ่งจิตที่คิดหวังผลให้สิ่งนั้นๆย้อนหรือส่งผลคืนแก่ตนด้วยความติดใจใคร่ได้เพลิดเพลินยินดีของเรา แต่เป็นความปารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นด้วยใจ ด้วยเห็นว่าเขาทุกข์ร้อนอยู่ หรือ ปารถนาให้เขาเป็นสุขด้วยสภาพจิตที่ปารถนาดี ไร้ความขุ่นมัวใจ มีแต่ความสงบผ่องใสซึ่งเป็นปกติสุขในการปารถนาที่จะให้
- ลองเจริญและปฏิบัติดูครับอาจจะเป็นแนวทางเบื้องต้นที่จะช่วยให้เราแยกออกระหว่างความเป็น กุศลจิต และ อกุศลจิต พร้อมกับแยก โลภะ กับ เมตตา ออกจากกันได้ และ "ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้เราสามารถเข้าสมาธิจิตได้ง่าย มีความสงบ ผ่องใส เบาบางไม่ขุ่นมัว"
- เรื่องนิมิต-มโนภาพที่กล่าวมาในตอนต้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผมจะเอายกขึ้นมาเพื่ออวดตน หรือ อวดธรรมที่มีในตน ผมเป็นเพียงผู้ไม่รู้ เป็นแค่เศษส่วนเล็กๆของเศษผงเท่านั้น "ที่บอกว่าผมเห็นนี้ผมเห็นจริง แต่ว่าสิ่งที่ผมเห็นอาจจะไม่จริง" แต่ที่ยกขึ้นมาเพราะอยากในเป็นแนวทางให้ผู้เห็นมโนภาพ หรือ นิมิตทั้งหลายว่าไม่ตวรยึดติดจนเอามาตั้งเป็นอุปาทานให้แก่ตน ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านจะสอนเราว่าควรใช้ปัญญาพิจารณาในนิมิต-มโนภาพที่จิตเราสร้างขึ้นมาให้เห็น เพราะมันมีทั้งจริงและอุปาทาน ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาด้วยปัญญาลงสู่ความจริงที่รู้ว่านั่นเป็นเพียงมโนภาพที่สร้างขึ้นมาตามสภาพของความเป็นธรรมชาติของจิตที่รู้คิด รู้ปรุง รู้สร้างเรื่องราว จนเกิดเป็นความพอใจยินดี และ ต้องการ จนกลายเป็นภาพต่างๆที่เห็น จนถึงแก่รู้ในสภาพปรมัตถ์ในขณะจิตนั้น หากติดอยู่ในนิมิต-มโนภาพใดๆเราก็จะเกิดความหลงตนและจิตฟุ้งซ่านได้ง่ายครับ

ดูวิธีและสภาพจิตในการเจริญปฏิบัติเบื้องต้นใน พรหมวิหาร ๔ เพิ่มเติมตาม Link นี้ครับ
ในห้วข้อที่ ๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔ คือ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.0
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #250 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2016, 12:14:46 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ความเพียรบริสุทธิ์ ที่เราเข้าใจ แจ้งใจ
มีความปราโมทย์ อิ่มใจ สงบจากอกุศล เป็นสุข
มีกำลังใจทุกครั้งที่นึกถึง มีความเข้าถึงใจดังนี้

“ ความเพียรที่บริสุทธิ์ คือ ทำความเพียรอยู่ด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลตนเองและผู้อื่นโดยไม่อิงอามิส แต่เพียรทำความดีเพื่อความดี ”

กล่าวคือ.. ไม่เพียรเพื่อต้องการของแลกเปลี่ยน ไม่เพียรด้วยความกระสันใคร่ผลตอบแทนทันที แต่เพียรเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งดี มีประโยชน์สุขแก่ตนเองและผู้อื่น เมื่อเราทำความเพียรอยู่ครอบครัวญาติมิตร ผู้คนทั้งหลาย เทวดาฟ้าดิน โลกก็ไม่ติเตียน เพียรแล้วทำให้ชนะความเกียจคร้านที่พอกพูนตนได้ เมื่อทำความเพียรแล้วเราก็จะไม่เสียใจในภายหลังว่าเราน่าจะทำตั้งแต่ตอนนั้น ควรเพียรตั้งแต่ตอนนั้น เสียดายที่ตอนนั้นเราไม่ทำความเพียร
ความเพียรนี้..แม้จะมองไม่เห็นผล แต่ผลนั้นก็รู้ได้เฉพาะตนด้วยตนเองว่าความเพียรยังส่งผลแก่เราอยู่
เช่น.. ทำความเพียรแล้วไม่เห็นผลเป็นกิจจาลักษณะที่พึงจับรับรู้ลูบคลำได้ แต่การทำความเพียรนั้นก็ให้ผลประจักษ์แก่ใจตนว่า. ความเพียรเอาชนะความเกียจคร้านในตนได้ "ที่สำคัญคือความเพียรทำให้เราก้าวข้ามความทุกข์ยากลำบาก, ความยอมแพ้, ความพ่ายแพ้ต่อโชคชะตา ชะตาชีวิต วิบากกรรม เรื่องราวสิ่งร้ายๆที่เราได้พบเจออยู่ในขณะนั้นๆ ความทุกข์ยากลำบากมาได้แม้ชั่วขณะหนึ่งที่ได้ทำความเพียรนั้น..ก็ทำให้เราสามารลุกขึ้นหรือก้าวเดินไปต่อได้ในขณะนั้นๆที่เราตั้งมั่นมีความเพียรอยู่ไม่ย่อท้อ"

ที่สุดของความเพียร คือ เพียรทำความดีเพื่อความดีนั่นเอง

“ความเพียรต้องทำคู่กับปัญญา ไม่ใช่หลับหูหลับตาทำแบบมืดฟ้ามัวดิน ท่านเรียกกว่า หลง”

“ความเพียรที่แท้จริงนั้นต้องพร้อมด้วย ความรู้เห็นตามจริง ความแจ้งกระจ่างใจในสิ่งนั้น ควบคู่กับ สติ สัมปะชัญญะ จิตตั้งมั่นแน่วแน่ไม่หวั่นไหวเอนเอียงในสิ่งที่ทำความเพียรอยู่นั้น มีปัญญากำกับคลุมไว้อยู่เสมอขาดกันไม่ได้ วิเคราะห์ธรรม วิเคราะห์เหตุและผล แลเห็นทางแก้ปัญหา จนแน่ชัดกระจ่างใจว่าสิ่งใดที่ควรลดที่ต้องละ สิ่งใดที่ควรเพิ่ม ควรทำให้เกิดมีขึ้นหรือต้องทำให้มาก แล้วศรัทธาและฉันทะจึงจะเป็นไปด้วยเหตุและผลที่เป็นสัมมา คือ โดยสุจริตชอบธรรม”


ความเพียรที่บริสุทธิ์ คือ สัมมัปปธาน ๔ หรือ สัมมาวายามะ
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช
ทรงรู้แจ้งชัดแล้วทรงสั่งสอนมา คือ

  ๑. เพียรระวังไม่ทำบาปที่ยังไม่เคยทำ
  ๒. เพียรระวังไม่ทำบาปที่เคยทำมาแล้ว
  ๓. เพียรกระทำกุศลธรรมชนิดใหม่ที่ตนยังไม่เคยทำ
  ๔. เพียรกระทำกุศลธรรมที่เคยทำมาแล้วให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป


[156] ปธาน 4 (ความเพียร - effort; exertion)
1. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น - the effort to prevent; effort to avoid)
2. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว - the effort to abandon; effort to overcome)
3. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี - the effort to develop)
4. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ - the effort to maintain)

ปธาน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปปธาน 4 (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ - right exertions; great or perfect efforts).


** เวลาท้อกับความเพียร ให้พึงระลึกว่า แม้ไม่เห็นฝั่ง ลูบคลำผลไม่ได้ ไม่เห็นทางสำเร็จก็ตาม ให้พึงระลึกว่า..
“เราทำความเพียรเพื่อตัวเราเองนี่แหละ เพื่อฝึกตนสะสมเหตุให้จิตมีความมุ่งมั่นที่จะทำดีไม่หวั่นไหว ไม่ย่อท้อ มีความขยัน และอดทน ไม่พ่ายแพ้ต่อกิเลสนิวรณ์ความเกียจคร้าน"

นี่น่ะในขณะที่เรารู้ว่า..เราเพียรทำดีอยู่แต่กลับลูบคลำหาผลไม่ได้ แล้วจะเลิกเพียรเสียเพราะหาประโยชน์แก่ตนไม่ได้..ก็แสดงว่าเราเห็นตัวกิเลสนิวรณ์ความเกียจคร้านแล้ว นี่เรียกว่า.."เห็นธรรมชั้นสูงที่ใช้บรรลุธรรมในระดับการตามรู้ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว ก็ให้รู้ว่านั่นแน่ะเราเห็นกิเลสนิวรณ์แล้ว ปกตินิวรณ์มันติดสมมติความคิดให้เรารู้สึกเป็นไปอย่างนี้ แล้วก็วาง"

- หลักปฏิบัติที่เริ่มจากปุถุชนนี้..เมื่อเรามีสติตามรู้เห็นว่าตนเสพย์กิเลสนิวรณ์เหล่าใด ก็ให้ภูมิใจปลื้มได้เลยว่า..เฮ้ยเราเห็นธรรมแล้ว
- แต่ไม่ใช่พอรู้แล้วไปนั่งขัดใจตนว่า ไม่เอา เจ็บแค้นเกลียดชัง เกลียดกลัวที่ตนมีแบบนั้นมันทำให้ตนหดหู่เศร้าหมองเปล่าไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เป็น
- ความหน่ายระอาใจต่อกิเลสตนนั้น หมายถึง หิริ(ละอายต่อการทำชัวอกุศลผิดศีลธรรม),โอตตัปปะ(เกรงกลัวต่อวิบากกรรม คือผลจากการทำชั่วผิดศีลธรรม)..เมื่อมีหิริโอตตัปปะแล้วเราก็ทำความเพียรในสัมมาให้มาก(สัมมัปปธาน ๔) ซึ่งไม่ใช่ไปเจ็บแค้นเก็บกดอัดอั้นกับมัน..
- เมื่อกิเลสนิวรณ์เกิดก็ให้รู้ว่าดวงจิตเรานี้มีกิเลสนอนเนื่องอยู่ในใจ อันกำเริบลอยขึ้นด้วยผัสสะ ถูกกวนคนให้ฟุ้งกระจายด้วยเวทนา ลุ่มหลงด้วยเสพย์สมมติของปลอมปรุงแต่งจิตเป็นธรรมดา หากยังครองขันธ์ ๕ อยู่ เราก็ยังคงเป็นอย่างนั้นมีกิเลสอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นปกติธรรมดาเหมือนคนทั่วไป..ดังนั้นเมื่อมันเกิดก็แค่เรารู้ว่าเรายังมีกิเลสอยู่ จงภูมิใจที่เรารู้มันเกิดขึ้นหรือมันดับไปก็พอ นี่เรียกสักแต่ว่ารู้..

**ถ้าไม่เสพย์อารมณ์ใด..ความรู้ผัสสะแม้อาการจริงหรือความเสวยเวทนาเหล่าใดย่อมไม่มี**

ซึ่งความเกียจคร้านอันนี้เกิดจาก..ความขัดใจท้อแท้ริษยา เพราะไม่ได้ตามความปารถนาของตน นี่แหละเห็นนิวรณ์ชัดแจ้งเลย เพราะมันมีกำลังมากกว่ากุศลความดีที่เราตั้งมั่นเพียรอยู่จึงส่งผลให้เรามีใจคลายความเพียรนั้นเสีย เราควรปหานมันด้วยใจที่ตั้งมั่นว่า..
- เรามาก้าวมาอยู่ถึงตรงนี้ได้ไม่ล้มพังทลายฉิบหายหมดสภาพก็ด้วยเพราะเพียรอยู่ ถึงแม้จะแลไม่เห็นฝั่งผลที่ปลายทางแต่มันก็ทำให้เราก้าวต่อไปได้ โดยไม่ถูกลูกเมียวงศาคณาญาติ และเทวดาติเตียน
- เราทำสะสมเหตุความดีชอบที่เรียกว่า..สัมมา มรรค ๘ เหล่าใด คือ สุจริต ๓ มีความเห็นชอบคิดดี พูดดี ทำดี, สะสมวิริยะบารมีอยู่ นั่นคือปลายทางของเรา
- ความอับจนฉิบหายย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ตั้งมั่นเพียรทำดีอยู่นี้ แล้วมุ่งมั่นไม่เอนเอียงหวั่นไหวทำความเพียรต่อไป

หากเราครองเรือนเพียรทำงานทำดีแล้วไม่เห็นผล เมื่อเราเพัยรอยู่แล้วก็ไม่ต้องกลัวที่จะหารายได้เสริมในช่องทางต่างๆ เช่น ทำโอที ค้าขาย รับจ้างเพิ่มจากเวลาว่างหรือวันหยุด ไม่ดูถูกงาน ไม่ดูถูกเงินแม้น้อยนิด เราเพียรสะสมเหตุประหยัด เลิกละสิ่งปรนเปรอตนที่เกินความจำเป็น เช่น เหล้า บุหรี่ การพนัน แทงหวย เครื่องสำอางค์ เสื้อผ้ารองเท้าที่จะใช้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2016, 04:27:17 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #251 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2016, 12:14:38 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
            [๑๓]    นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
                          ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
                          จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
                          คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ
                          จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว
                          จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ
                          ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์
                          อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล
                          ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
                          ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล
                          คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน
                          ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
                          ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
                          แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม
                          มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี
                          จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว
                          ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
                          เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร
                          พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
                          ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว
                          มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
                          ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน
                          มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้
                          จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย
                          และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ
                          เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
                          พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ
จบจิตตวรรคที่ ๓

บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #252 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2016, 12:29:43 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 435

จิตตวรรค : ๗. เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ [๓๐]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อว่า ปูติคัตตติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อจิรํ วตยํ กาโย"
เป็นต้น.

พระเถระกายเน่า
ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังธรรมกถาในสำนัก
ของพระศาสดา ถวายชีวิตในพระศาสนา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว
ได้ชื่อว่า พระติสสเถระ. เมื่อกาลล่วงไป ๆ โรคเกิดขึ้นในสรีระของท่าน.
ต่อมทั้งหลาย ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดผุดขึ้น. มัน (โตขึ้น) โดยลำดับ
ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณเท่าเมล็ดถั่วดำ ประมาณเท่าเมล็ด
กระเบา ประมาณเท่าผลมะขามป้อม ประมาณเท่าผลมะตูม แตกแล้ว.
สรีระทั้งสิ้น ได้เป็นช่องเล็กช่องน้อย ชื่อของท่านเกิดขึ้นแล้วว่า พระ-
ปูติคัตตติสสเถระ (พระติสสเถระผู้มีกายเน่า). ต่อมา ในกาลเป็นส่วน
อื่น กระดูกของท่าน แตกแล้ว. ท่านได้เป็นผู้ที่ใคร ๆ ปฏิบัติไม่ได้.
ผ้านุ่งและผ้าห่มเปื้อนด้วยหนองและเลือด ได้เป็นเช่นกับขนมร่างแห.
พวกภิกษุมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นไม่อาจจะปฏิบัติได้ (จึงพากัน) ทอดทิ้ง
แล้ว. ท่านเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งนอน ( แซ่ว ) แล้ว.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 436
พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลและทรงแสดงธรรม
ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงละการตรวจดูโลก
สิ้น ๒ วาระ (คือ) ในกาลใกล้รุ่ง เมื่อทรงตรวจดูโลก ทรงตรวจดูจำเดิม
แต่ขอบปากแห่งจักรวาล ทำพระญาณให้มุ่งต่อพระคันธกุฎี. เมื่อทรง
ตรวจดูเวลาเย็น ทรงตรวจดูจำเดิมแต่พระคันธกุฎี ทำพระญาณให้มุ่งต่อที่
(ออกไป ) ภายนอก. ก็ในสมัยนั้น พระปูติคัตตติสสเถระ ปรากฏแล้ว
ภายในข่ายคือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัย
แห่งพระอรหัตของติสสภิกษุ ทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ถูกพวกสัทธิวิหาริก
เป็นต้น ทอดทิ้งแล้ว, บัดนี้ เธอยกเว้นเราเสีย ก็ไม่มีที่พึ่งอื่น" ดังนี้
แล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เหมือนเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร เสด็จ
ไปสู่โรงไฟ ทรงล้างหม้อ ใส่น้ำ ยกตั้งบนเตา เมื่อทรงรอให้น้ำร้อน
ได้ประทับยืนในโรงไฟนั่นเอง: ทรงรู้ความที่น้ำร้อนแล้ว เสด็จไป
จับปลายเตียงที่ติสสภิกษุนอน. ในกาลนั้น พวกภิกษุ กราบทูลว่า
"ขอพระองค์ จงเสด็จหลีกไป พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จักยก๑ (เอง)
แล้ว ( ช่วยกัน ) ยกเตียง นำไปสู่โรงไฟ. พระศาสดาทรงให้นำรางมา
ทรงเทน้ำร้อน ( ใส่ ) แล้ว ทรงสั่งภิกษุเหล่านั้นให้ ( เปลื้อง ) เอา
ผ้าห่มของเธอ ให้ขยำด้วยน้ำร้อน แล้วให้ผึ่งแดด ลำดับนั้น พระ-
ศาสดา ประทับยืนอยู่ในที่ใกล้ของเธอ ทรงรดสรีระนั้นให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่น
ทรงถูสรีระของเธอ ให้เธออาบแล้ว . ในที่สุดแห่งการอาบของเธอ,
ผ้าห่มนั้นแห้งแล้ว. ทีนั้น พระศาสดาทรงช่วยเธอให้นุ่งผ้าห่มนั้น ทรง
ให้ขยำผ้ากาสาวะที่เธอนุ่งด้วยน้ำ แล้วให้ผึ่งแดด. ทีนั้น เมื่อน้ำที่กายของ

๑. สำนวนภาษามคธ ใช้คหธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 437
เธอพอขาด (คือแห้ง) ผ้านุ่งนั้นก็แห้ง. เธอนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง
ห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง เป็นผู้มีสรีระเบา มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนบน
เตียงแล้ว. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่เหนือศีรษะของเธอ ตรัสว่า
" ภิกษุ กายของเธอนี้ มีวิญญาณไปปราศแล้ว หาอุปการะมิได้ จักนอน
บนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
๗. อจิรํ วตยํ กาโย ปวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺาโณ นิรตฺถํว กลิงคฺรํ.
"ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน. กายนี้
มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว, ราวกับ
ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น."

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจิรํ วต เป็นต้น ความว่า ภิกษุ
ต่อกาลไม่นานเลย กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน คือจักนอนเบื้องบนแห่ง
แผ่นดิน ที่สัตว์นอนแล้วด้วยการนอนปกตินี้.
ด้วยบทว่า ฉุฑฺโฑ พระศาสดา ทรงแสดงเนื้อความว่า "กาย
นี้ จักเป็นของชื่อว่าเปล่า เพราะความมีวิญญาณไปปราศ ถูกทอดทิ้ง
แล้วนอน."
เหมือนอะไร ?
เหมือนท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์.
อธิบายว่า เหมือนท่อนไม้อันไร้อุปการะ ไม่มีประโยชน์,
จริงอยู่ พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการด้วยทัพสัมภาระ เข้าไปสู่ป่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 438
แล้ว ตัดไม้ตรงโดยสัณฐานแห่งไม้ตรง ไม้คดโดยสัณฐานแห่งไม้คด
ถือเอา (เป็น) ทัพสัมภาระ, แต่ตัดไม้เป็นโพรง ไม้ผุ ไม้ไม่มีแก่น
ไม้เกิดเป็นตะปุ่มตะป่ำที่เหลือ ทิ้งไว้ในป่านั้นนั่นเอง มนุษย์พวกอื่นผู้มี
ความต้องการด้วยทัพสัมภาระมาแล้ว ชื่อว่า หวังถือเอาชิ้นไม้ที่ถูกทิ้ง
ไว้นั้น ย่อมไม่มี, มนุษย์เหล่านั้น แลดูไม้นั้นแล้ว ย่อมถือเอาไม้ ที่
เป็นอุปการะแก่ตนเท่านั้น; ไม้นอกนี้ ย่อมเป็นไม้ถมแผ่นดินอย่างเดียว,
ก็ไม้นั้น พึงเป็นไม้แม้ที่ใคร ๆ อาจจะทำเชิงรองเตียงหรือเขียงเท้า หรือ
ว่าตั่งแผ่นกระดาน ด้วยอุบายนั้น ๆ ได้; ส่วนว่า บรรดาส่วน ๓๒ ใน
อัตภาพนี้ แม้ส่วนหนึ่ง ชื่อว่า เข้าถึงความเป็นของที่จะพึงถือเอาได้ด้วย
สามารถแห่งอุปกรณ์วัตถุ มีเชิงรองเตียงเป็นต้น หรือด้วยมุขเป็นอุปการะ
อย่างอื่น ย่อมไม่มี กายนี้มีวิญญาณไปปราศแล้ว ต่อวันเล็กน้อยเท่านั้น
ก็จักต้องนอนเหนือแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น ดังนี้แล.

พระปูติคัตตติสสเถระนิพพาน
ในเวลาจบเทศนา พระปูติคัตตติสสเถระ บรรลุพระอรหัตพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว. แม้ชนอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นพระอริยบุคคลมี
พระโสดาบันเป็นต้น. ฝ่ายพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน.
พระศาสดาโปรดให้ทำสรีรกิจของท่าน ทรงเก็บ ( อัฐิ ) ธาตุ แล้วโปรด
ให้ทำเจดีย์ไว้.
พวกภิกษุ กราบทูลถามพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า พระปูติ-
คัตตติสสเถระ บังเกิดในที่ไหน ?"

๑. ปวีคตํ.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 439
พระศาสดา. เธอปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลาย.
พวกภิกษุ. พระเจ้าข้า กายของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่ง
พระอรหัตเห็นปานนั้น เกิดเป็นกายเน่า เพราะเหตุอะไร ? กระดูกทั้ง-
หลายแตกแล้ว เพราะเหตุอะไร ? อะไรเป็นเหตุถึงควานเป็นอุปนิสัยแห่ง
พระอรหัตของท่านเล่า ?
พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย ผลนี้ทั้งหมด เกิดแล้วแก่ติสสะนั่น
ก็เพราะกรรมที่ตัวทำไว้.
พวกภิกษุ. ก็กรรมอะไร ? ที่ท่านทำไว้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง"
ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสดังต่อไปนี้ :-)

บุรพกรรมของพระติสสะ
ติสสะนี้เป็นพรานนก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระ-
นามว่ากัสสปะ ฆ่านกเป็นอันมากบำรุงอิสรชน, ขายนกที่เหลือจากนก
ที่ให้แก่อิสรชนเหล่านั้น. คิดว่า "นกที่เหลือจากขาย อันเราฆ่าเก็บไว้
จักเน่าเสีย" จึงหักกระดูกแข้งและกระดูกปีกของนกเหล่านั้น ทำอย่าง
ที่มันไม่อาจบินหนีไปได้ แล้วกองไว้. เขาขายนกเหล่านั้นในวันรุ่งขึ้น,
ในเวลาที่ได้นกมามากมาย ก็ให้ปิ้งไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน. วันหนึ่ง
เมื่อโภชนะมีรสของเขาสุกแล้ว พระขีณาสพองค์หนึ่ง เที่ยวไปเพื่อบิณฑ-
บาต ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส
คิดว่า "สัตว์มีชีวิตมากมาย ถูกเราฆ่าตาย, ก็พระผู้เป็นเจ้ายืนอยู่ที่ประตู
เรือนของเรา และโภชนะอันมีรสก็มีอยู่พร้อมภายในเรือน, เราจะถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 440
บิณฑบาตแก่ท่าน " ดังนี้แล้วจึงรับบาตรของพระขีณาสพนั้น ใส่โภชนะ
อันมีรสนั้นให้เต็มบาตรแล้ว ถวายบิณฑบาตอันมีรส แล้วไหว้พระเถระ
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงถึงที่สุด
แห่งธรรมที่ท่านเห็นเถิด." พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า "จงเป็นอย่าง
นั้น."

ประมวลผลธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ผล (ทั้งหมด ) นั่นสำเร็จแล้วแก่ติสสะ ด้วย
อำนาจแห่งกรรมที่ติสสะทำแล้วในกาลนั้นนั่นเอง; กายของติสสะเกิดเน่า
เปื่อย, และกระดูกทั้งหลายแตก ก็ด้วยผลของการทุบกระดูกนกทั้งหลาย;
ติสสะบรรลุพระอรหัต ก็ด้วยผลของการถวายบิณฑบาตอันมีรสแก่พระ-
ขีณาสพ ดังนี้แล
เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ จบ.

เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ จบ.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2016, 01:08:23 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #253 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2016, 03:43:05 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
หลวงปู่บุญกู้เทศนาวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๙
อาหาเรปฏิกูลบรรพ, อาการ ๓๒, อสุภะกรรมฐาน


หลวงปู่เทศนาสอนว่า..
- เมื่อเห็นว่าอาหารหน้าตาสวย อาหารชั้นดี เลิศ กลอ่มหอมหวล เราก็ดูแล้วอยากกิน น่ากินไปหมด
- ให้ลองตักเข้าปากเคี้ยวๆดู
- แล้วคายออกมาดู
- อาหารที่เรามองว่าสวยงาม หน้าตาน่ากิน ชั้นดีเลิศหรู แพงๆนั้น เมื่อเข้าปากเรากินเข้าไปมันก็เป็นอย่างที่เราคายออกมาดูอย่างนั้นแหละ

เมื่อคายอาหารที่เคี้ยวในปากนั้นออกมาแล้วเราสามารถกลืนกินกลับเข้าไปในปากในคอในท้องใหม่ได้อีกไหม เอาแค่ตักเข้าปากเราไปแม้ยังไม่ทันเคี้ยวแล้วคายออกมาดู เราจะรังเกียจมันไหมที่มันมีหน้าตารูปร่างอย่างที่เราคายออกมานั้น ทั้งๆที่คายออกมาจากปากตนแท้ๆ และทั้งๆที่อาหารที่มีหน้าตาอย่างนั้นแหละที่ร่างกายเราใช้ดูดซับเอาพลังงานไว้เลี้ยงชีพ เลี้ยงกายให้อยู่ต่อได้ นั่นและ..คือสิ่งที่อยู่ในกายเราที่เรียกว่า..อาหารใหม่

อาหารที่สวยน่ากิน มีกลิ่นหอมหวลชวนชิม มีรสชาติดีๆ แพงๆ หรูๆ เมื่อเราตักเข้าปากเคี้ยวกิน มันเป็นแบบนั้น

อาหารต่างๆที่ไม่มีพิษ ไม่มีโทษภัย ที่มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราคายออกมานั้นแหละ ที่ร่างกายเราต้องการดูดซับเอาพลังงานและสารอาหารจากมัน.. ซึ่งไม่ใช่ร่างกายเราไปดึงเอาพลังงานและสารอาหารทั้งหลายจากรูปร่างหน้าตาที่งดงามของอาหาร กลิ่นที่หอมหวลของอาหาร สีที่ดูสวยน่ากินของอาหาร วัตถุดิบที่ราคาแพงของอาหาร รสชาติที่ชอบใจของอาหารใดๆเลยทั้งสิ้น
เมื่อถูกดูดซับเอาพลังงานและสารอาหารแล้ว ก็จะถูกขับออกมาเป็นอาหารเก่า คือ ขี้ในไส้ในรู้ทวารเรานั้นแหละ

แล้วท่านก็สอนให้เอาลงอาการ ๓๒ ประการ ลงอสุภะกรรมฐาน เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน


- เมื่อเราฟังเทศนาจากหลวงปู่บุญกู้แล้วน้อมนำมาปฏิบัติสืบต่อ ทำให้เราหวนระลึกถึงคำสอนในกรรมฐานอาหาเรปฏิกูลจาก พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ๒ ท่าน ในสมัยบวชเณรและบวชพระดังนี้คือ..

๑. สมัยที่บวชเณร กับหลวงปู่นิล มหันตปัญโญเถระ แล้วออกธุดงค์ไปกับพระสุรศักดิ์ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆที่พาเราบวชเณร ซึ่งในสมัยนั้นได้กราบลา หลวงปู่นิล มหันตปัญโญเถระ พระอุปัชฌาย์ เพื่อขออนุญาตท่านออกธุดงค์ สมัยนั้นเพราะยังเด็กจึงได้ขอของดีดวงปู่นิลด้วย เพราะเณรเพื่อนบอกว่าหลวงปู่มีเยอะ(ตอนนั้นคิดในใจว่าคงได้พระกริ่ง พระสมเด็จ พระเก่าขลังๆ หรือพระคาถาดีๆเมตตามหานิยม)..

เมื่อเราได้เข้าไปขอของดีหลวงปู่นิลท่านจึงหัวเราะแล้วสอนเราว่า..
“ของดีในโลกนี้นอกจากพุทโธไม่มีหรอก..เอาพุทโธนี้แหละไปของดีที่สุดในโลกแล้ว”

    เราก็ผิดหวังนิดๆ เพราะตอนนั้นยังไม่รู้อะไรมาก รู้แค่บวชเฌรต้องไม่ผิดศีล ๑๐ แล้วต้องถือเอาศีลพระบางข้อด้วย บิณฑบาตร กรรมฐานทุกวัน รู้แค่นี้เท่านั้น เพราะรู้อย่างนี้สมัยนั้นจึงได้สมาธิบ่อยเพราะไม่คิดอะไรมากมายเกินกว่าพุทโธ แล้วเราจึงได้ขอเอาพระผงรูปเหมือนหลวงปู่ติดตัวไปด้วยแล้วกราบไหว้ทุกคืนก่อนทำสมาธิโดยการ หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ" ตามที่หลวงปู่นิลให้มา
จากนั้นก็ออกธุดงค์เดินทางจากจากวัดป่าโกศลประชานิระมิต อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (วัดหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ) ไปบ้านยายไปหาหลวงปู่อินตองที่วัดป่าวีระธรรม บ้านอุ่มเหม้า อ.พังโคน จ.สกลนคร เพราะท่านเป็นญาติทางแม่และเป็นที่เคารพรักบูชาของชาวบ้านและครอบครัวเราตั้งแต่เราจำความได้ (วัดนี้ผีเยอะมากๆดังรบกวนทั้งคืนแต่เราก็จำอยู่กุฏิท้ายวัดตรงป่าช้าของวัดเพราะตอนที่อยู่วัดหลวงปู่นิล เณรเพื่อนได้พาไปเจริญมรณัสสติที่เมรุและเบ้าฝีงศพผีตายโหงที่วัดทุกวัน พร้อมทั้งไปวัดสาขาที่วัดป่าภูเหล็กน้อนที่นั่นทั้งวัดมีพระองค์เดียวคือหลวงตาภูซึ่งหลวงปู่นิลได้ให้มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งวัดเป็นป่าช้าและโรงเหล็กตีดาบนักรบเก่ามีผีเยอะมากเจอเห็นจนชินที่จะกลัว แต่ละกุฏิอยู่ในป่าห่างกันอย่างต่ำก็ 300-500 ม. เราจึงชินกับป่าช้า)
ซึ่งเวลาที่ญาติโยมถวายภัตราหารแล้วเสร็จ ก่อนจะฉันจังหันเช้า(ฉันมื้อเดียว) หลวงปู่อินตองได้แสดงธรรมเทศนาแก่ญาติโยม แล้วสอนอาหาเรปฏิกูลบรรพ

๒. สมัยที่บวชพระ กับพระอาจารย์สุจินต์ ธัมมะวิมล ที่วัดป่าสมเด็จ(วัดป่าอาสภาวาส) อยู่หลังโรงเรียนบ้านลาน ต.บ้านลาน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระพุฒาจารย์อาจ อาสโก ท่านจะสอนกรรมฐานให้แก่พระและเณรในวัดทุกเช้า และสอนกรรมฐานหลายๆอย่างให้แก่เราตั้งแต่พุทโธ ยุบพอง เดินจงกรม วิธีปรับจิตให้เข้ากรรมฐานได้ง่าย (วัดนี้เป็นป่าช้าเก่ามีศพฝังอยู่ทุกพื่นที่ตารางนิ้วในวัด ตกกลางคืนเหมือนได้ยินเสียงร้องหวีดบ่อยๆเวลากลางคืน พอเข้ากรรมฐานตามที่หลวงพ่อท่านสอนจนได้สมาธิแล้วแผ่เมตตาไปไม่มีประมาณเสียงนั้นจึงหายไป)
ซึ่งเวลาที่ญาติโยมถวายภัตราหารแล้วเสร็จ ก่อนจะฉันจังหันเช้า(ฉันมื้อเดียว) ขณะนั้นเป็นช่วงเข้าพรรษาหลวงหลวงพ่อได้แสดงธรรมเทศนาแก่ญาติโยม แล้วสอนอาหาเรปฏิกูลบรรพ

..จากที่เคยปฏิบัติตามที่หลวงปู่อินตองและหลวงพ่อสมจิตท่านทั้งสองสอนเราเหมือนกัน จนทำให้ตอนนั้นมีจิตรู้ว่าที่เราฉันข้าวนี้เพียงเพื่อเลี้ยงชีพให้ยังกายนี้อยู่ได้เท่านั้นเอง ทั้งตอนบวชพระและบวชเณร

ซึ่งท่านทั้งสองได้สอนง่ายๆให้เราเห็นอาหาเรปฏิกูลได้จากการฉันในบาตรที่ตักอาหารที่ญาติโยมถวายแล้วตักรวมๆระคนกันในบาตรได้เห็นว่า..
    "ข้าวในบาตรนี้มีหน้าตาอย่างไร
เมื่อตักกินเข้าปากกลืนกินลงไป
อาหารใหม่ในท้องเราก็มีหน้าตาเหมือนอาหารในบาตรที่เรากำลังตักฉันอยู่นี้แหละ
กายเราต้องการอาหารไว้เลี้ยงพยุงมันให้อยู่ไปตามกาลเท่านั้นไม่มีเกินกว่านี้เลย”

..เมื่อเราหวนระลึกถึงช่วงเวลานั้นคำสอนและการปฏิบัติในตอนนั้น และความรู้สึกในตอนนั้นได้ พร้อมน้อมลงใจร่วมกับคำสอนของหลวงปู่บุญกู้ตามที่เราพอจะจดจำระลึกได้ในวันนี้ ประกอบกับการเจริญอาการ ๓๒ ลงอนัตตา ที่หลวงพ่อเสถียร ถิรญาโณ ท่านสอนแก่เราไว้..
..จึงเห็นชัดแจ้งใจขึ้นดังนี้ว่า..หากเราเจริญอาหาเรปฏิกูลนี้ เราเคี้ยวไปติดที่รสชาติหรือหน้าตาอาหาร ให้เรานึกถึงอาหารที่เราเคี้ยวๆแล้วคายออกมาดูนี้แหละ

- หากชอบใจรสชาติ ก็ให้เรารู้ว่าเราติดรสชาติอาหารแบบนี้ เราเจริญใจเพราะด้วยรสอย่างนี้ ติดรสอร่อยแบบนี้ แต่ที่จริงแล้วที่กายเราต้องการจะดูดซับพลังงานเพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงกายให้คงอยู่นี้กลับไม่ใช่อาหารที่มีรสชาติที่นุ่มลิ้น เลิศรสอย่างนั้น กลับไม่ใช่รสชาติที่ร่างกายเราต้องการแต่เป็นเพียงอาหารที่มีหน้าตาอย่างที่เราเคี้ยวแล้วคายออกมาดูนั้นแหละ ที่ร่างกายเราต้องการดูดซับเอาพลังงานมันมีหน้าตาแบบที่เราคายออกมานั้นแหละ

- หากชอบใจที่หน้าตาอาหาร ก็ให้เรารู้ว่าเราพอใจติดใจอาหารที่มีหน้าตาน่ากินแบบนี้ๆ งดงามแบบนี้ เป็นระเบียบแบบนี้ แต่ที่จริงแล้วที่กายเราต้องการจะดูดซับพลังงานเพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงกายให้คงอยู่นี้กลับไม่ใช่อาหารที่มีหน้าตางดงามนี้ กลับเป็นอาหารที่มีหน้าตาอยย่างที่เราเคี้ยวแล้วคายออกมาดูนั้นแหละ อาหารไม่ว่าจะหน้าตางดงามแค่ไหน พอตักเข้าไปไปมันก็เป็นแบบนี้เหมือนกันหมด อาหารที่ร่างกายเราต้องการดูดซับเอาพลังงานมันมีหน้าตาแบบที่เราคายออกมานั้นแหละ


เห็นอนิจจัง
..ขนาดอาหารหน้าตาสวยๆดีๆ มีกลิ่นชวนชิม มีรสเลิศ แต่สิ่งทั้งปวงก็ไม่เที่ยง ย่อมปรุงแต่งแปรปรวนดับสูญไป มีเพียงอาหารใหม่ที่เกิดขึ้นมาในกายเรานี้อันมีหน้าตารสชาติและกลิ่นดังคำข้าวที่เราคายออกมาดูนั้น แล้วก็ปรุงแต่งแปรปรวนดับสูญไป เป็นเพียงอาหารเก่าที่มีในลำไส้ในช่องทวารเป็นขี้ที่รอขับออกมาจากร่างกาย..สุดท้ายเป็นเพียงของไม่งามน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง ไม่ควรดู ไม่ควรชม ไม่ควรรักษา
..แม้อาหารใหม่หรืออาหารเก่านั้นก็แปรปรวนเปลี่ยนไปเรื่อยไม่ใช่อันเดิม ไม่ใช่อย่างเดิม นี่ขนาดมันอยู่ในกายเราแท้ๆมันยังไม่เที่ยงเลย แล้วภายนอก ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นต้น มันจะอยู่ยั่งยืนได้อย่างไรเล่า แล้วจะนับประสาอะไรกับภายนอกนั้น อาหารที่เห็นภายนอก ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง ภายนอกที่เราว่าเลิศว่างามว่าดีก็ย่อมจะล่วงพ้นจากความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความเสื่อมสูญไปไม่ได้ ดังนี้..

..ดังนั้นแล้วควรแล้วหรือที่เราจะติดใจในหน้าตาของอาหาร หรือกลิ่มที่หวลของอาหาร หรือรสชาติเลิศล้ำของอาหาร หรือวัตถุดิบที่แพงๆของอาหารเหล่านั้น เรายังจะติดตรึงในอาหารด้วยประประการเหล่านั้นอยู่อีกรึ เพราะสุดท้ายไม่ว่าอาหารจะดีสวยหรูงดงามแค่ไหน หอมหวลแค่ไหน อร่อยแค่ไหน ราคาแพงแค่ไหน เลิศหรูหายากแค่ไหน มันก็เป็นเพียงอาหารใหม่ในกายเราดั่งคำข้าวที่เราเคี้ยวแล้วคายออกมาดูนี้ แล้วก็เป็นอาหารเก่าที่ถูกดูซับพลังงานและสารหาอาหารต่างๆถูกขับออกมาเป็นขี้เท่านั้น


..หากจำภาพอาหารที่เราเคี้ยวไม่ได้ ก็ค่อยเคี้ยวๆแล้วคายออกมาดูหน้าตามันใหม่ว่าเป็นยังไง แล้วเราจะกลืนกลับเข้าไปได้ไหม..

- หากกลืนกินกลับเข้าไปใหม่ไม่ได้ ก็เอาทิ้งไปเสีย..
..ให้พึงรู้ว่านี้ อาหารที่หน้าตาน่ากิน กลิ่นที่หอมหวลชวนอยาก รสที่นุ่มลิ่นชุ่มใจ ที่เราเพิ่งตักเข้าปากไปแท้ๆเมื่อสักคู่นี้ พอเราคายออกมามันก็มีหน้าตาอย่างที่เห็นนี้แหละ แล้วเรายังจะพิศมัยในอาหารอันโอชะ เลิศรส หอมหวล งดงามเจริญตาอันใดได้อีกเล่า เพราะสุดท้ายแล้วมันก็เป็นได้แค่อาหารที่เราเพิ่งคายออกมานั้นเอง
..และทั้งๆที่เราเพิ่งคายออกมาจากปากตนเองแท้ๆกลับกินต่อไม่ได้ กลืนกลับเข้าไปใหม่ไม่ลง ในร่างกายเราก็มีของแบบนั้นอยู่เต็มท้อง เต็มกระเพาะและลำไส้ แล้วในกายเรานี้จะยังมีสิ่งใดให้ยึดว่างดงามไม่น่าเกลียด ว่าเป็นตัวตนของเราได้อีกเล่า เราหรือที่เป็นกองอาหารที่เพิ่งเคี้ยวเข้าไปเหล่านั้น
..แล้วให้ตักอาหารมาราดรวมแล้วคนๆคลุกเคล้ามันให้เป็นอันเดียวกัน แล้วมองดูก็อาหารที่เมื่อเราเคี้ยวแล้วกลืนลงท้องมันก็เป็นแบบนี้แล แค่นี้แหละที่ร่างกายต้องการ ไม่มีอื่นอีก หาใช่หน้าตาหรือรสชาติใดๆไม่
..อุปมาด้วยจานนั้นเป็นท้อง ข้าวในจานนั้นเป็นอาหารใหม่ที่เราตักกินเคี้ยวในปากแล้วกลืนลงท้องไป เมื่ออยู่ในท้องมันเป็นแบบนั้นแหละ จะอาหารที่รักที่ชัง รสชาติที่รักที่ชัง เมื่อลงในท้องในกายเรามันก็เป็นเหมือนดั่งกับข้าวที่เราคนรวมกันในจานนี้เท่านั้น
(พระป่าท่านฉันข้าวในบาตรก็เพื่อกรรมฐานอาหาเรปฏิกูลบรรพกองนี้)

- หากกลืนกินกลับเข้าไปใหม่ได้โดยที่ไม่ติดใจไรๆ เราก็ไม่ติดที่หน้าตาและรสชาติของอาหารในขณะเวลานั้นๆแล้ว
..ให้พึงรู้ได้จากการเคี้ยวกลืนกินกลับคืนไปนั้นว่า อาหารที่มีหน้าตารสชาติอย่างที่เราเคี้ยวกลับคืนไปนั้น ไม่ได้ทำให้เราตาย แต่กลับทำให้เราอิ่มท้องพยุงชีวิตและร่างกายนี้ให้ยังอยู่ต่อไปได้ ดังนี้แล้วการพยุงกานดำรงชีพอยู่ของเรานั้นไม่ใช่ที่หน้าตาปละรสชาติของอาหารอย่างเห็นได้ชัดเจน ร่างกายเราต้องการแค่สิ่งที่ไม่เป็นพิษที่สามารถดูดซับเอาพลังงานและสารอาหารต่างๆเอาไปหล่อเลี้ยงกายได้ก็เท่านั้นเอง แล้วก็กินอาหารต่อไปด้วยนึกถึงอารมณ์นั้น
..แล้วให้เริ่มกินอาหารโดยการตักเอาสิ่งที่เราจะกินทุกอย่างมาราดคนๆกวนๆใส่รวมกัน มองดูให้เห็นว่าสิ่งที่อยู่ในถ้วยจานเบื้องหน้านั้นแหละคือสิ่งที่ิอยู่ในกายเราอันเรียกว่า อาหารใหม่ ทุกครั้งที่กินก็ให้รู้ทันทีว่านั่นคืออาหารใหม่อันเป็นอาการ ๓๒ ในกายเรานี้ ในร่างกายคนทุกคนเป็นแบบนั้น
..แม้ร่างกายของเราหรือใครอันที่หนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบที่เรามองว่างดงามนี้ ถายในหนังอันหุ้มไว้อยู่นั้นก็เป็นดังอาหารใหม่นี้แลไม่มีสิ่งใดน่าใครน่าปารถนา
..หนังหุ้มกองเศษอาหารใหม่(กองเศษเนื้อ, เศษผัก, เศษข้าว, เศษเครื่องแกง, เศษแป้งที่บดย่อยคนรวมๆกัน)
..อาหารเก่า(กากจากอาหารที่ถูกดูซับพลังงานและสารอาหารแล้ว คือ ขี้)
..เมื่อปารถนาจับต้องสัมผัส สูดดม ครอบครองมันไป ก็เหมือนเราปารถนาครอบครองสัมผัส โอบกอด จูบดม ลูบเลียกองอาหารใหม่ที่มันคลุกคนถูกเคี้ยวให้ย่อยบดรวมระคนกันโดยดูไม่ออกเลยว่ามีอะไรในนั้นบ้าง เป็นที่น่ารังเกียจยิ่ง ที่เราโง่หลงไหลอยู่ในหนังที่หุ้มเศษกองอาหารที่น่ารังเกียจนี้เท่านั้นเอง แม้กายเราเองก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน

..ครูบาอาจารย์ท่านแจ้งชัดแทงตลอดแล้วในอาหาเรปฏิกูลนี้ ท่านจึงเห็นเป็นเพียง "หนังหุ้มขี้" ดังนี้


เห็นอนัตตา
..ในร่างกายเราก็มีของแบบนั้นอยู่เต็มท้อง เต็มหลอดอาหาร เต็มกระเพาะและลำไส้ แล้วในกายเรานี้จะยังมีสิ่งใดให้ยึดว่างดงามไม่น่าเกลียด ว่าเป็นตัวตนของเราได้อีกเล่า ก็ถ้าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเราแล้ว เราหรือที่เป็นกองอาหารหรือคำข้าวที่เพิ่งเคี้ยวกลืนลงท้องเข้าไปอยู่ในกายเป็นอาหารใหม่เหล่านั้น เราหรือที่เป็นอาหารเก่าที่ถูกดูดซับพลังงานและสารอาหารแล้วถูกขับออกมาทางช่องอากาศคือรูทวารหนักที่เรียกว่า “ขี้” นั้น
..ก็ถ้าอาหารใหม่หรืออาหารเก่ามันเป็นเรา เป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็ต้องเป็นคำข้าวที่เคี้ยวเข้าไปนั้น เป็นขี้ที่ถูกขับออกมาทางช่องอากาศคือรูทวารหนักนั้นๆ
..เมื่อมันถูกขับออกมาจากร่างกายแล้วทำไมเรายังไม่ตาย ทพไมเรายังมีชีวิตอยู่ได้อีกหนอ ก็ไม่เห็นว่าจะมีเราอยู่ในอาหารใหม่หรืออาหารเก่าเหล่านั้นเลย แล้วจะเอาสิ่งใดมาพูดได้ว่ากายนี้อาการทั้ง ๓๒ แระการนี้เป็นเรา เป็นตัวตนของเราได้อีกเล่า
..เราหรือที่เป็นอาหารใหม่ เราหรือที่เป็นอาหารเก่าคือขี้ ก็ถ้าเราไม่ใช่อาหารใหม่หรืออาหารเก่าคือขี้แล้วร่างกายนี้จะเป็นเรา เป็นตัวตนของเราได้อย่างไรเล่า ดังนั้นร่างกายนี้จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา สักแต่มีไว้อาศัยเพื่อทำบารมีความดี และ ทาน ศีล ภาวนา เท่านั้น ดังนี้

(อาหาเรปฏิกูลบรรพ ลงอาการ ๓๒ ลงอสุภะกรรมฐาน)


** อาหาเรปฏิกูล นี้..ไม่ใช่ว่าเพราะรู้ว่าตนติดรสชาติเพลิดเพลินในรสแล้วคายทิ้ง ไม่ใช่ติดในรูปอาหารแล้วคายทิ้ง
** แต่ท่านให้พิจารณาระลึกรู้ตามรู้ทันว่าตนยังติดในรสหรือหน้าตาอยู่แบบนี้อยู่เท่านั้น
** ส่วนที่ให้คายออกมานั้น คือ ให้คายมาพิจารณาดูอาหารใหม่ในกาย ดูอาหารที่เราตักเข้าปากไปมันเป็นยังไง ดูอาหารที่ร่างกายเราต้องการดูซับพลังงานมันเป็นแบบไหน ไม่ใช่ที่รสชาติล้ำเลิศหรือหน้าตาที่งดงามของอาหารที่ร่างกายเราต้องการ แต่เป็นอาหารที่มีหน้าตาและรสชาติอย่างที่เราคายออกมาดูนั้นแหละที่ร่างกายเราต้องการเลี้ยงชีพ

ตัก
เคี้ยว
คาย
พิจารณา

คลุกๆคนๆ
กวนๆรวมกันในจานเดียว
อาหารใหม่ในท้อง

อาหารเก่า คืออาหารใหม่ที่ถูกดูดซับเอาพลังงานแล้วเหลือเป็นกากส่งออกมาทางช่องอาการ คือ รู้ทวาร รู้ก้น รู้ตูดเรานี้เอง ออกมาเป็นขี้นั้นแหละ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 24, 2016, 03:45:19 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #254 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2016, 03:46:44 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน 25 สิงหาคม แนวทางปลงใจทางโลกให้เข้าถึงสมาธิ

ขออภิวาทแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ขอนมัสการพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว อันเป็นเครื่องของจากกองทุกข์
ขอนอบน้อมพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงตามพระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว

      ธรรมเหล่าใดที่ผมจะเผยแพร่ต่อไปนี้ เป็นพระธรรมตามที่พระพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดาตรัสสอน และ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้เป็นสงฆ์ของพระพุทธเจ้าได้เทศนาเผยแพร่สั่งสอนมาตรงดีแล้ว ซึ่งตัวผมนี้ได้นำเอาพระธรรมเหล่านั้น มาเป็นที่ตั้งมั่นปฏิบัติถึงแนวทางทำไว้ในใจให้เข้าถึงปฏิบัติได้ตามจริตของผม และเห็นผลได้จริงไม่จำกัดกาลในแบบปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปที่แสวงหาทางพ้นทุกข์อย่างผมพอจะมีปัญญาเข้าถึงได้
- หากธรรมทั้งปวงที่จะเผยแพร่แบ่งปันแก่กัลยาณมิตรทั้งหลายเหล่านี้ บิดเบือน ผิดพลาด ไม่ตรงตามจริง เป็นของปลอมไม่ทำให้แจ้งชัดเห็นตามพระบรมศาสดาตรัสสอนได้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงรู้ไว้ว่า ธรรมเหล่านี้กลั่นมาจากความคิดปรุงแต่งไปตามความเข้าไม่ถึงธรรมที่แท้จริงของผมแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมที่พระพุทธเจ้าและไม่ใช่ธรรมตามจริงที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเทศนาสอนมา
- แต่หากธรรมทั้งปวงเหล่านี้ทำให้ท่านทั้งหลายเข้าถึงธรรมที่พระศาสดาตรัสสอนได้ ให้ผลได้ตามจริง ขอให้ท่านทั้งหลายจงรู้ไว้เถิดว่า นี้แหละคือธรรมที่พระพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดาตรัสสอนไว้ดีแล้ ที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายถ่ายทอดไว้ดีแล้ว ทำให้เห็นผลได้ไม่จำกัดกาล แค่เราทำไว้ในใจ(มนสิการ น้อมใจไป) ให้เข้าถึงได้เท่านั้นเอง
บัดนี้ ข้าพเจ้าขอเผยแพร่แบ่งปันแสดงธรรมเรื่อง แนวทางปลงใจทางโลกให้เข้าถึงสมาธิ  ดังนี้..

     เวลาที่เราจะทำสมาธิให้ได้ดีและไว เราก็ต้องตัดทางโลกให้ได้ เราต้องละทางโลกให้ได้ก่อนจึงจะเข้าทางธรรมได้ ...อุปมาเหมือนเมื่อเราจะนอนหลับ เราก็ต้องละความตื่นอยู่ออกไปฉันใด การเข้าทางธรรมก็ได้นั้น เราก็ต้องละความยึดเหนี่ยวทางโลกทิ้งออกไปให้หมดด้วยฉันนั้น
     แล้วจะละทางโลกออกไปอย่างไรได้ จะปลงใจทางโลกอย่างไร ไม่ต้องไปปลงที่ไหนให้ยาก ก็ปลงที่กายและใจเรานี้ ..ตัดกายนี้ทิ้งออกไปได้ จิตก็ไม่ยึดไม่พวงทางกายอีก แต่จิตมันก็จับอารมณ์ความรู้สึกที่ใจเพียงอย่างเดียว ทำแต่นี้ได้ก็เป็นอันว่าจิตมันจะจดจ้องอยู่กับความตรึกหน่วงนึกคิดถึงอารมณ์ที่กำลังปรุงแต่งอยู่เบื้องหน้านั้นๆ แล้วก็ตัดสมมติกิเลสอารมณ์ทางโลกที่ใจออกไปให้ได้ จิตมันก็น้อมเข้ามาทางธรรมได้เองแล้ว

๑. สมมติ (คิดพิจาณาให้ของจริงต่างหากจากสมมติกาย สมมติใจ สมมติกิเลส ถึงอนัตตาความไม่ใช่ตัวตน)
๒. มรณัสสติ(ระลึกถึงความตาย ถึงอนัตตาความเป็นปฏิภาคต่อกันบังคับไม่ได้)
๓. อนัตตา(คิดพิจารณาให้ถึงอนัตตาความไม่มีอยู่จริง)


๑.  วิธีเจริญ สมมติ

๑.๑ สมมติกาย
- เจริญ อสุภะสัญญา หรือ ปฏิกูลบรรพ หรือ ทวัตติงสาการ นั่นคือ ม้างกายในอาการทั้ง ๓๒ ประการออกมานั้นเอง เวลาจะเจริญให้ทำพุทโธตั้งอยู่เฉพาะหน้าก่อนจนจิตสงบ (ตรงนี้ผู้ที่ได้ฌาณหายใจเข้าสุดปุ๊บมันเข้าอารมณ์สมถะได้เลย มีอานาปานสติไว้ภายในทันที หากเรายังไม่มีฌาณยังไม่ได้ขณิกสมาธิคือ สมาธที่ได้ความสงบให้ตั้งมั่นพุทโธระลึกถึงพระพุทธเจ้าไว้เบื้องหน้าจนกว่าจิตจะมีอาการวูบวาบๆแวบหนึ่งเหมือนขนลุกซู่ลมกระจายออกทางรูขุมขนมีอาดการตัดความฟุ้งซ่านใจออกแล้วก็ถึงสงบ อันนี้เรียกขณิกสมาธิ) จากนั้นเริ่มพิจารณาดังนี้

ก.  รูปขันธ์เรานี้มันมีความแปรปรวน ผันแปร เกิดดับอยู่ทุกวันๆทุกขณะๆ ดับรูปของเมื่อวาน จึงเกิดรูปของวันนี้ขึ้นมาได้  แล้วก็เสื่อมสภาพไปตามสภาพแวดล้อม กาลเวลา และความปรุงแต่งแปรปรวนภายในกาย มีความดับสูญไปเป็นทีั่สุด ไม่คงทนอยู่ได้นานเลย นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เอง เมื่อเกิดขึ้น ก็แก่ ก็เจ็บ ก็ตาย กล่าวคือ..
- ก่อนที่ดวงจิตของเราจะมาอาศัยร่างกายที่พ่อและแม่ให้เรามานี้ ครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่มั่น, หลวงปู่ฝั้น, หลวงตามหาบัว, หลวงปู่บุญกู้ ท่านสอนเอาไว้ว่า..กาลก่อนนั้นเราก็เคยอาศัยร่างกายอื่นมาแล้ว เกิดเป็นคนบ้าง เป็นสัตว์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง ดวงจิตเรานี้เดินทางไปเรื่อยไม่มีที่สิ้นสุด ที่ดวงจิตของเรามาอาศัยอยู่ในกายนี้ได้นั้น เพราะอาศัย น(น้ำ)เป็นธาตุของมารดา โม(ดิน)เป็นธาตุของบิดา ผสมกันเข้าไป มีไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เองปฏิสนธิวิญญาณ เข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุนโมนั้น (ปฏิสนธิวิญญาณ คือ จิตหรือวิญญาณที่แสวงหาที่เกิดมาปฏิสนธิในครรภ์ เป็นจิตที่เกิดใหม่ในกลละที่แบ่งเพศหญิงหรือชายไว้แล้วนั้น ปฏิสนธิจิตหรือปฏิสนธิวิญญาณ คือ มโน..ใจ เป็นดวงจิตที่เป็นตัวทำให้กำเนิดขึ้นมา เป็นตัวเวียนว่ายตายเกิดปฏิสนธิขึ้นในร่างกายตามภพภูมินั้นๆที่ท่องเที่ยวไป กล่าวตือ ก็ตัวเรานี้แหละ พระป่าท่านเรียก ใจ หรือ มโน ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ) เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละก็จะค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง และเปสิคือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา๒ หัว๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ นั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือเมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือนโมเป็นดั้งเดิม ..จะเห็นได้ว่า แม้ในการก่อเกิดผมเข้ากันเป็นตัวคนนีั้ ก็มีการดับไปของสิ่งหนึ่งเพื่อเกิดขึ้นของสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นไม่คงทนอยู่ได้นานเลย เช่น เมื่อกลละดับ..อัมพุชะจึงเกิดมีขึ้น เมื่ออัมพุชะดับ..ฆนะและเปสิจึงเกิดขึ้นได้ เมื่อฆนะและเปสิดับรูปจิ้งเหลนดับไป..จึงเกิดเป็นรูปร่างคนมีแขนขาขึ้นมาได้ นี่แหละมันมันเกิดดับอยู่ทุกขณะแล้วจึงมาเป็นเราในปัจจุบันนี้เอง
- เมื่อเราคลอดออกมาสภาพร่างกายของเราก็เป็นทารก ช่วยตัวเองยังไม่ได้ มองไม่เห็น ก็เมื่อมีใจเข้ายึดครองในดวงตา ดวงตาที่ไม่มีใจครองก็ไม่มีแล้ว ก็จึงมองเห็นสิ่งต่างๆได้ ก็เมื่อสภาพร่างกายในวัยทารกนี้ดับไป ทุกวันๆ กายใหม่ที่เจริญวัยก็จึงเกิดขึ้นได้ ย่างเข้าสู่วัยเยาว์
- ก็เมื่อสภาพร่างกายในวัยเยาว์นี้ดับไป สภาพร่างกายในวัยรุ่นก็จึงเกิดขึ้นมีได้
- ก็เมื่อสภาพร่างกายในวันรุ่นเรานี้ดับไป ก็จึงเกิดสภาพร่างกายในวัยกลางคนนี้ขึ้นมาได้
- ก็เมื่อสภาพร่างกายในวัยกลางคนเราดับไป ก็จึงเกิดสภาพร่างกายของเราในวัยชราขึ้นมาได้
- สุดท้ายกายนี้ก็ดับสูญสลายไป แล้วเราจะไปยึดเอาอะไรได้บ้างจากกายนี้ ดังนี้แลจึงกล่าวได้ว่า จิตเราเดินทางมาอาศัยกายที่พ่อแม่เราสร้างมาให้นี้ ก็เพราะจะใช้กายนี้เพื่อทำดีสะสมบารมีของเรา ถ้าไม่มีพ่อแม่เราก็มาเกิดกำเนิดขึ้นไม่ได้ในโลกนี้ พ่อแม่จึงมีคนมาก เมื่อเราใช้กายที่พ่อแม่ให้มานี้อบรมกุศล ทาน ศีล ภาวนา สั่งสมบารมีธรรม ก็แสดงว่าเราได้ทดแทนคุณของบิดามารดาเป็นพื้นฐานแล้ว แล้วเมื่อเลี้ยงดูท่าน ดูแลท่านอย่างดี บอกกุศลธรรมแก่ท่านให้ท่านได้รู้ตาม ก็ยิ่งเป็นการทดแทนคุณบิดามารดาตามพระตถาคตตรัสสอนไว้ดีแล้วในเรื่อง กตัญญู กตเวที ต่อบิดา มารดา บุพการี

นี่ทำให้เราเห็นชัดเลยว่า กายเรานี้มันเกิดดับๆอยู่ตลอดเวลา เพราะคนเก่าดับไปคนใหม่จึงเกิดมีขึ้น ก็คนในวัยเด็กดับไป คนในวัยหนุ่มจึงมีเกิดขึ้น เพราะคนในวัยหนุ่มดับไป คนในวัยชราจึงเกิดมีขึ้นได้ สมดั่งพระนาคเสนตอบปัญหากับพระเจ้ามิลินทร์ไว้ สมกับที่พระศาสดานี้ตรัสสอนไว้ว่า รูปปังอนิจจัง รูปไม่เที่ยง

- ก็รูปเรานี้แต่เราสามารถบังคับให้มันเป็นไปดั่งต้องการคงสภาพที่พอใจไว้ ไม่ให้สภาพที่ไม่พอใจนี้เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ปารถนาให้เป็นนั่น โน่น นี่ตามใจต้องการก็ไม่ได้ จะไปหมายบังคับมันด้วยหมายว่า
..ตาเป็นเรา ตาเป็นของเรา ตาเป็นตัวตนของเรา ขอตาจงอย่าฟ่าฟาง จงมีตาอันงดงาม ไม่เป็นโรค ไม่สายตาสั้น ไม่สายตายาว ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ปวด ได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ แม้รูปที่รู้ด้วยตานั้นเราจะไปบังคับได้ไหมว่าขอรูปที่รู้นี้จงอยู่ตลอดไปเถิด ขอรูปนี้อย่าดับไปเลย ยังคับให้ดวงตามันเห็น มันมอง มันรู้เอาแต่รูปที่ชอบ ไม่เห็นรูปที่เกลียดได้หรือไม่ ก็ไม่ใช่ ดังนี้จึงชื่อว่า แม้ร่างกายเราก็ดี ดวงตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราใช้รับรู้สิ่งภายนอกอยู่นี้ก็ดี ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นตัวตนของเรา เราไม่ใช่ตา ตาไม่ใช่เรา เราไม่มีในตา ตาไม่มีในเรา ดังนี้

ข. รูปขันธ์ ที่เรารักที่เราหวงแหนที่เรากลัวจะเสียมันไปอยู่ทุกๆขณะนี้มันเป็นเพียงของไม่สะอาดมีอาการ ๓๒ ประชุมสงเคราะห์รวมกันอาศัยกันและกันเพื่อพยุงไว้อยู่เท่านั้น ให้เข้าอุปจาระฌาณ ปฐมฌาณ จิตว่างจากกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว ให้อธิษฐานจิตขอให้เกิดนิมิตอันเป็นร่างกายเรานี้ขึ้นมา แล้วแยกมันออกไปทีละอาการๆ ถอดมันออกมาทีละอาการๆ โดยพิจารณาอาการทั้ง ๓๒ ประการ เช่น ถอดเล็บ ถอดผม ถอดขน ถอดฟัน ถอดหนัง ถอดก้อนเนื้อ ถอดเส้นเอ็น ถอดเลือด นสมอง ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ถอดกระดูก ออกมากองๆไว้ก็ไม่มีอะไรทั้งสิ้นที่เป็นเรา หรือ จะม้างออกมาพิจารณาอย่างหนึ่งก็ได้
.. เช่น เส้นผมนี้ที่หลุดร่วงออกมาจากกายนี้ เส้นผมนั้นหรือที่เป็นเรา เราหรือที่เป็นเส้นผม เส้นผมมีเราในนั้นไหม มีเราในเส้นผมนั้นไหม หากเส้นผมนั้นเป็นเราแล้ว มันร่วงออกมาทำไมเรายังไม่ตายหนอ และเราก็ต้องบังคับให้มันไม่หงอกไม่ร่วงได้ใช่ไหม แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเลย แล้วอย่างนี้จะเอาอะไรมากล่าวว่า เส้นผมนั้นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนแห่งเรา เราเป็นเส้นผม มีเราในเส้นผมได้เล่า ..แล้วเมื่อเส้นผมมันหงอกหรือหลุดร่วงออกมาแล้ว..มันมีค่าเกินกว่าสิ่งหนึ่งๆที่มีอยู่ทั่วไปในโลกที่มีสัมผัสอันอ่อนนุ่ม หรือแข็งไหม แล้วที่สุดมันก็ย่อยสลายไปตามกาลเวลาและความปรุงแต่งแปรปรวนเป็นไปของมันใช่ไหม ไม่คงอยู่ได้นานเลย ดังนี้แล้วจะเอาอะไรมากล่าวมายึดได้ว่าเส้นผมมีในเรา เพราะมันก็แค่สิ่งที่มีลักษณะอ่อนบ้างแข็งบ้างตามธรรมดาทั่วๆไปในโลกสิ่งหนึ่งเท่านั้น เหมือนที่เรารู้สึกได้กับสภาพแวดล้อมทั่วไปรอบๆตัวของเรานั่นเอง แม้นเมื่อเราม้างกายถอดอาการทั้ง ๓๒ ประการที่เหลืออยู่นั้นออกมากองๆไว้ ก็ไม่สามารถจะเข้าไปยึดครอง หมายมั่นสิ่งไรๆได้ว่า นั่นเป็นตัวตน เพราะจะมีให้เห็นอยู่ก็เพียง อาการทั้ง ๓๒ ประการทั้งหลายเหล่านั้นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่มีในเรา เราไม่มีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นเรา เราไม่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน แต่อาศัยเอาสิ่งนั้นๆมาประกอบสงเคราะห์เข้าร่วมกัน จึงสมมติเอาสิ่งที่รวมๆกันขึ้นมานี้ว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเราหรือใคร บุคคลใด สัตว์ใด สิ่งใด เท่านั้นเอง พระโสดาบันขึ้นไปท่านเห็นอย่างนี้

ค. รูปขันธ์ ภายนอกก็ดี ภายในกายเรานี้ก็ดี ล้วนเต็มไปด้วยโรค เป็นที่ประชุมโรคทั้งปวง พิจารณาตามพระศาสดาสอนใน อาทีนวสัญญา ดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ

ก็โรคทั้งหลายเหล่านี้แลมีเกิดขึ้นในกายเราอยู่ทุกๆขณะ แม้ไม่ตั้งอยู่ไม่แสดงผลให้เห็นอยู่ แต่มันก็ทนหิว ทนเจ็บ ทนปวดไม่ได้ ไม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 26, 2016, 11:55:51 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 10, 2024, 05:30:40 AM