เมษายน 19, 2024, 08:29:12 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407803 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #315 เมื่อ: มกราคม 23, 2018, 11:48:03 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ 24/1/61 ธรรมที่ทำให้อิ่ม ฆ่าตัณหาที่ไม่รู้จักอิ่ม

หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน ท่านกรุณาสอนเราว่า

..ละโลภได้ทาน ละโกรธได้ศีล ละหลงได้ปัญญา

..สุขทางโลกมันสุขที่เนื่องด้วยกาย อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้

..สุขทางธรรมมันเนื่องด้วยใจที่อิ่มพอ มันติดตามไปทุกภพชาติจนถึงนิพพาน



โลภ มันอยากได้แสวงหาไม่รู้จักพอ ได้มาเท่าไหร่มั่นอิ่มไม่เป็น จะทำยังไงให้มันอิ่มเป็นนะ

โทสะ มันร้อน มันเดือด เย็นไม่ได้ พอไม่เป็น จะทำยังไงให้มันอิ่มไม่ร้อน เย็นใจ ปล่อย ละ วาง พอเป็นนะ

กาม มันตราตรึงยินดี ให้ใจใคร่ได้ลิ้มสัมผัส จนหมกมุ่น ร้อนรุ่ม ระส่ำ เสพย์เท่าไหร่ก็ไม่พอ อิ่มไม่เป็น จะทำยังไงให้มันอิ่ม มันพอเป็นนะ

..เมื่อเราวิตกแบบนี้ ทำไว้ในใจแบบนี้ ลองน้อมดูธรรมที่เกิดขึ้น หวนระลึก และนั่งสมาธิด้วยทำมิจฉาให้เห็นความเป็นไปของมัน แล้วน้อมเอาคำสอนของหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน ผู้เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเรา มาลงใจเจริญในใจขึ้น ทำให้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของมัน ด้วยความเป็นปุถุชนที่รู้น้อยของเรา จึงเห้นทางแก้ให้อิ่มกิเลส พอไม่ต้องการ ไม่ไหลตามกิเลสอีกตามความเป้นปุถุชนของเราได้ ดังนี้..


ก. โลภ ละโลภได้ทาน
  ความติดใจยินดี อยากได้ต้องการ เร่าร้อน ร้อมรุ่มเพื่อให้ได้มาครองอิ่มไม่เป็น หวงแหน มีใจเข้ายึดครองตัวตนในโลกทั้งปวง ไม่รู้ตัว ไม่รู้จริง ไม่รู้พอ ทะยานอยากต้องการ อยากมี อยากเป็น ภวะตัณหา / ทานทำให้อิ่มใจ
ธรรมที่แก้ให้อิ่ม.. ใช้ทาน(การกระทำที่ให้) ภาวนาลงในโพชฌงค์+จาคะ เพื่อละ ให้อิ่มใจ อิ่มเต็มกำลังใจ ดังนี้

๑. ทำไว้ในใจถึงการที่เราเป็นผู้ให้สงเคราะห์คนอื่น
...(เราเป็นผู้สงเคราะห์โลก..หวังให้คนอื่นได้ประโยชน์สุขดีงาม..แล้วทำการให้)

๒. จิตจับที่จิต ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลกทั้งปวง ไม่ติดใจยึดเกี่ยวสิ่งไรๆในโลก จิตแผ่น้อมไปในการสละ
...(ทำความสงบใจ ไม่ซ่านไหลตามสิ่งทั้งปวง สงบนิ่งรวมจิตลงไว้ภายในจิตไม่ส่งออกนอก ไม่ติดใจหลงตามสมมติความคิดของกิเลสที่ใช้หลอกล่อจิตให้ไหวตาม ทำความสงบใจจากกิเลส สงบนิ่งน้อมใจไปในการสละ ละอุปาทานความเข้าไปยึดถือเห็นเป็นตัวตนต่อสิ่งนั้นๆ..ด้วยทำไว้ในใจถึงการสละไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆทั้งปวงในโลก เพราะมันอยู่ได้นานสุดแค่เพียงหมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น สุขทางโลกมันเนื่องด้วยกาย เป็นสัมผัสที่ไม่ยั่งยืน อิ่มไม่เป็น บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ความรู้จักอิ่ม รู้จักหยุด รู้จักพอนี้มันทำให้ใจเราสบายเป็นสุขที่เนื้องด้วยใจ มันอิ่มเต็มกำลังใจ พอ จะอิ่มได้ก็ต้องสละ ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลก)


ข. โทสะ ละโทสะได้ศีล
   ความข้องแวะ ขัดเคือง ติดข้อง ขัดข้อง ความเร่าร้อน ร้อมรุ่ม คับแค้น อัดปะทุ ระเบิด ขุ่นเคือง กลัว ระแวง ริษยา ยินร้าย ชิงชัง ผูกเกลียด ผูกโกรธ หมายรู้อารมร์ด้วยความเกลียดชังพยาบาทไม่รู้ตัว ทะยานอยากกระเสือกกระสนผลักไสหลีกหนี ไม่ต้องการพบ ไม่อยากเจอ ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น วิภวะตัณหา  / ศีลทำให้ใจเป็นปรกติ มีความเย็นใจไม่เร่าร้อน
ธรรมที่แก้ให้อิ่ม.. ใช้ศรัทธาอันประกอบด้วยศีล ภาวนาลงในโพชฌงค์+เมตตาตนเอง ลงเจโตวิมุติ ความเย็นใจ ผ่องใส เบิกบาน ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก แผ่ความสุขด้วยกาย สุขด้วยใจ จิตรวมไว้ภายใน ปล่อย ละ วาง ไม่ทำเจตนาให้ล่วงบาปอกุศล ดังนี้

๑. ทำไว้ในใจถึงความเสมอนด้วยตนสงเคราะห์ลงในศรัทธาอันประกอบด้วยศีล
...(ก. มีกรรม วิบากรรม เป็นแดนเกิด ติดตาม อาศัย ให้เข้าครองขันธ์ ๕ ด้วยกรรมเหมือนกับเรา มีรูปกานและจิตใจที่งามหรือทรามต่างๆกันไป ทำผิดที่ผิดทางขัดใจคน ทำดีไม่ได้ดี ทำคุณคนไม่ขึ้น (มามืด) หรือ วิบากชั่วทำให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ทำดีไม่ได้ มีใจกุศลเกื้อกูลผู้อื่นไม่ได้ ต้องเห็นแก่ตัว ตระหนี่ ริษยา หวาดกลัว ระแวง ทำกายและใจให้ร้อนรุ่มเะร้าร้อนติดข้องทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่ทุกๆขณะจิต ไม่มีปรกติที่เย็นกายสบายใจ ผ่องใส สงบสุข(ไปมืด))
...(ข. สิ่งมีชีวิตจิตใจเสมอกัน ย่อมมีความรู้สึก ความรัก โลภ โกรธ หลง เสมอด้วยกัน เรามีเขาก็มี เรามีอยากเขาก็มีอยาก เรามีรักเขาก็มีรัก เรามีโลภเขาก็มีโลภ เรามีโกรธมีชังเขาก็มีโกรธมีชัง เรามีหลงเขาก็มีหลง เมื่อเราและเขาต่างก็มีเสมอกันล้วนแต่เป็นไปด้วยกรรมการกระทำทางกาย วาจา ใจความรู้สึก นึกคิด ปรุงแต่งสมมติทั้งปวงล้วนมาจากความยึดหลงเสมอกัน เรามีความรู้ในธรรมอบรมจิตสูงกว่าเขาดีกว่าเขา เราควรสงเคราะห์เขา เราก็อย่าไปโกรธแค้น เกลียดชังเขา ให้เขารับกรรมชั่วเพิ่ม จะทำให้เขาเป็นคนดีไม่ได้ ถ้าดีได้จะเว้นจากความเบียดเบียนทั้งสิ้นนี้)
...(ค. สงเคราะห์เมตตาตนเอง โกรธ แค้น พยาบาท มันทำให้เราเร่าร้อน ร้อนรุ่ม เดือดดาน กายใจไม่เป็นปรกติ อยู่โดยความเย็นกายสบายใจไม่ได้ ไม่มีกายใจเป็นปรกติ จะอยู่ที่ใดก็สบายเย็นใจสงบเบาสบายไม่ได้ ก็เพราะเราผูกเวรโกรธเคือง ผูกพยาบาทมุ่งร้ายนี้แล
    ที่เราอยากฆ่าสัตว์ อยากได้ของผู้อื่น อยากครอบครองบุคคลอันเป็นีท่รักของผู้อื่น อยากพูดทำร้ายผู้อื่นหรือพูดเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยความมิชอบ ความเสพย์สิ่งที่ทำให้ระลึกยับยั้งฉุกคิดแยกแยะดีชั่วไม่ได้ ทั้งหมดล้วนเพราะเราใจร้าย คิดร้าย มุ่งร้าย ใจชั่ว ไม่สงสารตนเองและผู้อื่นใจชั่วไม่สนว่าผู้อื่นจะต้องเจ็บปวดทุกข์ยากคับแค่นทรมานแค่ไหน มีแต่ใจเร่าร้อนที่จะทำชั่วนั้นก็เพราะด้วยโทสะนี้แล
    เราละโทสะได้ เราก็เย็นใจสบายไม่เร่าร้อน เมตตาตนเองสงเคราะห์ตนเอง ให้ตนมีปรกติที่ไม่เร่าร้อยเย็นใจ ไม่มีเวรภัย ผูกโกรธใคร ไม่มีพยาบาทผูกแค้นใครในกายใจตน)
...(ง. ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนเอง ไปผูกขึ้นไว้กับใคร หรือสิ่งอื่นใดในโลก ก็เมื่อเราได้พิจารณาตามในข้อ ก., ข., ค. ข้างต้นนี้แล้วจะเห็นได้ทันทีว่า ความสุขสำเร็จของเรานี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้อื่นหรือสิ่งอื่นใดเลย มันอยู่ที่กายใจเรานี้เท่านั้น เมื่อเราไม่เอาใจเข้ายึดครองตัวตนสิ่งใดภายนอกว่าเป็นความสุขสำเร็จตน ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใดๆในโลก จึงไม่มีใจยึดครองสัมผัสที่รักที่ชังต่อสิ่งไรๆในโลก ดังนี้แล้วใจที่หมองไหม้สุมด้วยไฟโทสะเราไม่มี จิตใจอันชั่วร้าย ที่คิดชั่ว มุ่งร้ายทำลายหมายปองครอบครองฉุดพรากเอาชีวิต สิ่งของ บุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นก็ไม่มี เราจะอยู่ที่ใดพบเจออะไรก็เย็นใจไม่ร้อนรุ่ม เมื่อเราเอาความสุขสำเร็จของตนเองไปผูกขึ้นไปกับสิ่งทั้งปวงในโลก ความไม่สมปารถนา ประสบสิ่งอันไม่เป้นที่รักที่เจริญใจ
    กล่าวคือ..ด้วยเราเอาใจหมายปองเข้ายึดความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจว่า..เราต้องได้รับสัมผัสได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสกาย ได้สัมผัสใจแบบนี้ๆ ตามที่ใจตนยินดีก็เรียกว่าสุข หากเราพบเจอการกระทำกระทบสัมผัสใดๆที่ไม่ใช่แบบที่ตนสำคัญมั่นหมายไว้ในใจไว้ว่าเป็นสุขมันก็ทุกข์ ทั้งๆที่ทุกอย่างมีความเป็นไปของมันตามกรรม จะมี จะได้ จะลำบาก จะดับสูญ จะเป็นไปก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ให้เราต้องพบเจอเท่านั้น เพราะเอาใจเข้ายึดครองสิ่งที่รัก จึงมีสิ่งที่ชัง
    เพราะใจมุ่งร้ายหมายปองจึงเร่าร้อนประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจทั้งสิ้นนี้ ดังนี้พึงละทิ้งเสียซึ่งการเอาความสุขสำเร็จของตนเองไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เพราะมันหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ถอนใจออกเสียว่านั้นไม่ใช่สุขแต่จริงของเรา สุขแท้จริงนี้ก็เหมือนความรู้สึกทรี่เราเมตตาตนเองจนตนเองไม่เร่าร้อนหมกไหม้จากไฟโทสะ ความสุขสำเร็จทั้งปวงอยู่ที่เราไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้นนี้นั่นเอง สุขอยู่ที่ใจไม่ใช่สัมผัสภายนอก การสงบสำรวมระวังอินทรีย์มีศีลสังวรณ์ด้วยถอนใจออกจากสมมติ ความคิดร้าย มุ่งร้ายหมายปองก้าวล่วงเบียดเบียนใครเราย่อมเย็นใจเป็นสุขเพราะปราศจากไฟแห่งโทสะ
    ดังนั้นสงบใจรวมทุกอย่างไว้ในภายในใจ ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆเห็นเพียงธรรมชาติของโลก ธรรมชาติที่เนื่องด้วยกรรม ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกนึกคิดเป็นใหญ่ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใครหรือสิ่งอื่นใดในโลก มีใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เข้าใจกัน เห็นความเสมอด้วยตนดังนี้ จึงประกอบด้วยสุข)

๒. จิตจับที่จิต ไม่เอาใจข้องแวะ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งทั้งปวงในโลก จิตแผ่น้อมเอาความเย็นใจเป็นที่สบายไม่ทีใจข้องแวะสิ่งไรๆน้อมไปในการสละ
...(ทำความสงบใจ ไม่ซ่านไหลตามสิ่งทั้งปวง สงบนิ่งรวมจิตลงไว้ภายในจิตไม่ส่งออกนอก ไมติดใจข้องแวะสมมติความคิดของกิเลสที่ใช้หลอกล่อจิตให้ไหวตาม ทำความสงบใจจากกิเลส ทำไว้ในใจถึงความไม่ติดใจข้องแวะความรู้สัมผัส ความคิด ความรู้สึกไรๆ สงบนิ่ง ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใคร สิ่งอื่นใด หรือสัมผัสไรๆในโลก น้อมใจไปในตวามเมตตาสงเคราะห์ตังเราเองให้ไม่เร่าร้อน มีใจเป็นปรกติ เว้นจากความผูกโกรธ แค้น พยาบาท เบียดเบียน เพื่อให้ตนถึงความปรกติเย็นใจ เป็นที่สบายกายใจ แจ่มใสเบิกบาน ไม่ขุ่นร้อน ข้องเดือนเผาไหม้กายใจตน เมื่อความไฟโทสะดับจิตจะเย็นสบายปราโมทย์อิ่มใจเป้นสุขขึ้นมาทั้นที เมื่อรู้ดังนี้แม้เขายังทำสิ่งที่เบียดเบียนทำร้ายผู้อืนอยู่สัตว์ย่อมไม่เป็นปรกติมีความเร่าร้อนอยู่ทุกขณะ ไม่เย็นกายสบายใจ เมื่อดับไฟคือโทสะนี้ได้จิตจึงจะเป็นที่สบาย เหมือนที่เกิดขึ้นแก่เรา รวมจิตไว้ภายในจิตมีกำลัง มีอาการที่แผ่ น้อมเอาความเย็นกายสบายใจ เบาใจเป็นปรกติสุขของเรานี้แผ่ไปให้สัตว์ได้รับ ให้เขาเป็นปรกติ ถึงความเย็นกายสบายใจไม่เร่าร้อน ไม่เบียดเบียนกันเพราะความปรกติด้วยศีลอันประกอบด้วยความเกื้อกูลสละ สงเคราะห์ ไมซ่านไหวสูญเสีย ไม่ทำเจตนาที่ล่วงอกุศลให้เป็นบาปกรรม รู้ ปรกติ วาง)


- โมหะ ละความลุ่มหลงได้ปัญญา ด้วยรู้ของจริงต่างหากจากสมมติของปลอม

ค. กาม ละกามได้ความสุขที่เนื่องด้วยใจไม่อิงอามิส
  เพราะรู้แต่สมมติไม่รู้จริง จึงติดตรึงหมายใจในสัมผัสที่รู้สึกหมายรู้อารมณ์ ละกามจิตก็ผ่องใส ไม่หลงสมมติ กาม คือ ความรู้สึกที่มันตราตรึงยินดี หน่วงตรึงจิตให้ไหลตามอารมณ์
- มีอาการที่เกาะติดแนบชิดไหลตามอารมณ์ที่รู้สัมผัสอยู่นั้น เหมือนใจไหลไปตามสิ่งที่จิตรู้
- มีอาการที่ใจกระเพื่อมถูกดูดเกาะติดแนบชิดไหลตามอารมณ์ที่รู้สัมผัสอยู่นั้น เหมือนใจไหลไปตามสิ่งที่จิตรู้ ใจถูกดูดให้ไหลตามด้วยอารมณ์นั้น เพราะใจไม่มีกำลังอยู่ด้วยตนเองไม่ได้ ไม่หนักแน่น ไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่มีหลัก ปลิวไหวไปตามแรงดูดนั้นไปเรื่อย แต่กลับยินดีในแรงดูดที่ทำให้ใจลอยไหวไปนั้น
- ทำให้ติดตึงหมกมุ่น โหยหาย เร่าๆร้อนๆ ร้อนรุ่มที่จะได้เสพย์เสวยรสอารมณ์นั้นๆ ยิ่งเสพย์ยิ่งติดตรึงเสพย์เท่าไหร่ก็ไม่พอ อิ่มไม่เป็น จิตสำคัญมั่นหมายยกเอาสิ่งที่โหยหานั้นมายึดกอดไม่ห่าง..ให้ตราตึงตรึกถึงอยู่ตลอด กามตัณหา / กามเกิดแต่ควมดำริถึง ตรึกถึงด้วยหมายรู้อารมณ์ในกาม นันทิ ราคะ เมถุน ทำปัจจุบันสัญญาล้างสัญญาความรู้อารมณ์ด้วยกาม
- อุปมาดั่งแม่เหล็กเคลื่อนรอยๆ ลูกตุ้มที่เบาก็ถูกดูดกวัดแกว่งลอยตามไปติดแที่แม่เหล็กนั้น ถึงแม้แม่เหล็กจะอยู่ห่างไม่ชิดติดลูกตุ้ม ลูกตุ้มที่เบาไม่มีน้ำหนั่งมั่นคงพอย่อมลอยเคลื่อนไหวไปตามแม่เหล็ก ไม่ว่าแม่เหล็กจะเคลื่อนไปไหน ทิศทางใด ลูกตุ้มที่ควรจะหนักแน่นนิ่งอยู่ ก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพล่านแล่นตามแม่เหล็กนั้นทุกครั้งไป ก็เมื่อลูกตุ้มนั้นหนักแน่นมีน้ำหักมั่นคงหนักหน่วง แม่เหล็กนั้นก็ไม่สามารถจะดูดเหล็กนั้นให้เคลื่อนตามได้
- อุปมานี้ฉันใด แม่เหล็กก็เป็นเหมือนตัวสมมติที่มากระทบให้จิตรู้ สภาวะการกระทบที่ทำให้ใจกระเพื่อมรู้สัมผัสของสมมตินี้ก็เป็นเหมือนผัสสะ แรงดึงดูดที่ดูดใจให้กระเพื่อมไหวตามก็เป็นเหมือนกาม ลูกตุ้มเหล็กก็เป็นเหมือนใจเราฉันนั้น
- เมื่อแม่เหล็กเคลื่อนมาใกล้ลูกตุ้มก็เกิดการกระทบสัมผัสกระเพื่อมที่ลูกตุ้ม การกระทบสัมผัสนั้นเป็นสัมผัสทางอายตนะ ที่กิเลสวางไว้หลอกใจ ให้ใจกระเพื่อมตาม ด้วยแรงดึงดูดจากอารมณ์สมมติซึ่งแรงดึงดูดนั้นคือกามนั้นเอง กามดูดจิตให้ไหวตราตรึง ติดตรึงไหลตามแนบชิดแม่&#




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:31:29 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #316 เมื่อ: มกราคม 26, 2018, 08:41:06 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ 26/1/61 เรื่องกามที่วิตกในใจ หลวงปู่ได้เทศนาไขข้อข้องใจให้หมด

กาม เราเห็นตรงเหมือนที่หลวงปู่แสดงธรรมไขข้อข้องใจให้ว่าเราทำถูกไหมหรือผิดไหม

ทานที่สละ ศีลที่สำรวม อบรมจิตให้เห็นจริง ถึงจริง ได้จริง เราไม่ทำไปรู้ไปจำมา พลิกแพลงพูดยังไง สิ่งนั้นจะได้มาก หรือน้อย เขาก็ได้ มันก็เป็นของเขา ไม่ใช่เราได้ หากเราลงมือทำเอง สิ่งได้มานั้นจะมากหรือน้อย เราก็ได้ มันก็เป็นของเรา ไม่ใช่คนอื่นได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:01:18 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #317 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2018, 10:45:38 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1. ม้างกายเห็นธาตุ เห็นธาตุรู้เวทนาจากสัมผัสอันเนื่องด้วยกาย ไม่เอาใจเข้ายึดครองธาตุเห็นเวทนาอันเนื่องด้วยใจ อุเบกขาอันบริสุทธิ์เห็นจิตสังขาร จิตจับที่จิตเห็นจิตปลอม จิตปลอมหลุดเห็นจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ถึงธรรมเห็นกิเลสนิวรณ์ เห็นเหตุให้เกิด-เหตุให้ดับแห่งนิวรณ์รู้ตัวตนอวิชชา เห็นอวิชชาเข้าพระอริยะสัจ ๔ ถอน

2. ทิ้งกายเห็นเวทนา ละเวทนาเห็นจิต ถอนจิตเห็นธรรม เห็นนิวรณ์ ถอนอวิชา

3.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 10:01:24 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #318 เมื่อ: เมษายน 11, 2018, 03:25:44 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)

             [๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
             [๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์
ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม
มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดใน
สกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความ
ประณีต ฯ
             [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น
ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ
             ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้-
*เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ
ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความ
แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ
             พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ
             [๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนใน
โลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต ฯ
             [๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้
มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา
วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน
สรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ
             [๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ
ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ
             [๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไป
เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน
หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ
             [๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตาย
ไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น
มนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย
และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
             [๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่
โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความ
ขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ
แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ
ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
             [๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ
นับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจ
ริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ
             [๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความ
เคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ-
*โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
คนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา
ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ
             [๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย
เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป
แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ
             [๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมี
โภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ
             [๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควร
ลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน
เกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคน
กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่
สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่
บูชาคนที่ควรบูชา ฯ
             [๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควร
ลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคน
ที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิด
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควร
แก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคน
ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ
             [๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร
เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ
ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร
ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ
             [๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น
อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
คนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ
             [๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะŨ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:32:10 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #319 เมื่อ: มกราคม 10, 2020, 01:40:11 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ธรรมละสังโยชน์ ๓


1. สัทธาพละ --> ถึงกรรมบถ(จิตรู้เห็นเข้าถึงทางกรรม) ใช้ละ.. สีลัพพตปรามาส

2. วิริยะพละ สติพละ สมาธิพละ --> จิตรู้เห็นเข้าถึงฉันทะ และปฏิฆะ ใช้ละ.. สักกายทิฏฐิ

3. ปัญญาพละ --> ญาณทัศนะ ความรู้เห็นตามจริง ใช้ละ.. วิจิกิจฉา


บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #320 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2020, 01:07:56 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
โสดาปัตติมรรค

- ถึงพระรัตนตรัย
- ทาน ศีล ภาวนา มีครบต่อเนื่องด้วยตัวมันเอง
- ศีลไม่กลับกลอก
- จิตตั้งในกุศล
- มุ่งตรงพระนิพพาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:32:30 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #321 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2020, 04:04:54 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อุปมาธรรมละกามราคะเพื่อเดินไปสู่การเหลือเพียงกามฉันทะ

    อุปมาธรรมละกามราคะเพื่อเดินไปสู่การเหลือเพียงกามฉันทะนี้.. ซึ่งสภาพจริงมันเป็นปัจจัตตัง เหมือนหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านกรุณาสอนไว้ว่า..เราทำเราก็ได้ เราทำได้ที่เรามันก็เป็นของเรา เขาทำเขาได้เราเอามาพูดมันก็เป็นของเขาได้ไม่ใช่เราได้ เมื่อพูดไปก็เหมือนประกาศสิ่งที่เขาได้โดยเราแอบอ้างเท่านั้น อย่างนั้นแล้วศีลจะไปหาเอาลูบคลำเอาที่ไหน ..ดังนี้ความรู้โดยส่วนตัวนี้ผมบันทึกไว้เพื่อใช้ทบทวนกรรมฐาน จะไม่ปะติดปะต่อ ไม่เรียบเรียง แต่รู้ได้ด้วยตัวเอง
     หากท่านใดแวะชมต้องแยะแยะจริงแท้ถูกผิด หากตีความได้น้อมนำทำตามแล้วเจริญได้ดีถูกตรง ก็ขอให้ท่านรู้ไว้เลยว่าธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ไม่มีพระพุทธเจ้าจะไม่มีพระธรรม ไม่มีพระธรรมจะไม่มีพระสงฆ์ ไม่มีพระสงฆ์ก็จะไม่มีผู้เผยแพร่ธรรมแท้มาสู่เรา

อุปมาธรรมละกามราคะ เพื่อเดินไปสู่การเหลือเพียงกามฉันทะนี้ พอจะจำแนกเพื่อบันทึกกรรมฐานไว้ได้ดังนี้..


วันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตรงกับวัน มาฆะบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

กามมันอิ่มไม่เป็น ตราบใดที่ยังไม่อิ่มกามก็มีอยู่ทุกเมื่อ ซึ่งจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่ที่กำลังของจิต การละกามทั้งปวง จึงต้องทำให้ใจอิ่ม เมื่อใจอิ่มมันก็รู้จักพอ ..เมื่อใจมันพอ มันเบื่อหน่าย ระอา ..มันก็คลายในกามราคะ..นิพพิทา-วิราคะ -> ถอนออกสละคืน

การละกามในคน 2 ประเภท
 
1. คนที่อิ่มแล้ว ..ความอิ่มเต็มใจ ความพอ ไม่ต้องการอีก ย่อมมีใจน้อมไปในนิพพิทา วิราคะ เป็นไปเพื่อละกาม
     ..ธรรมนั้นเป็นไฉน อุปมาเหมือนดั่งบุคคลผู้กินอิ่ม ไม่โหยหา ไม่ต้องการ มีความพอแล้ว ไม่กระหาย
     - อุปไมยดั่งอาหารที่กินเป็นของโลกียะ
     - อุปไมยความอยากได้ต้องการโหยหากระหายนั้นเป็นกาม
     - อุปไมยความอิ่มพอนั้นเป็นความเต็มใจน้อมไปในการสละ เป็นอาหารเป็นกำลังในนิพพิทา วิราคะ

    ..จะเห็นได้ว่า ความอิ่มพอนี้ มันอิ่มที่ใจ เกิดที่ใจ ทำที่ใจ ซึ่งมีธรรมใช้ในหลายอย่างซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ดีแล้ว โดยกรรมฐานอันเป็นคุณแห่งการละนั้นก็เปรียบได้เหมือนการกำหนดเดินจิตกรรมฐานแห่งธรรมดังนี้ คือ..
     - อุปมาเปรียบเหมือนดั่งผู้เจริญจาคานุสสติ ความว่าสิ่งนี้เต็มแล้วเรามีแล้วได้แล้ว เพียงพอแก่เราแล้ว ..จิตถึงจาคะ คือ ถึงความเต็มกำลังใจน้อมเพื่อคลายกำหนัด เกิดนิพพิทา วิราคะ สละคืน
     - อุปมาเปรียบเหมือนคนอบรมจิตคลายสมมติกาย ทำที่ใจ ความเห็นในสมมติใจ ความเห็นในสมมติธรรม ความไม่ติดใจข้องแวะ ความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่อธรรมสังขาร ความดำรงมั่นอยู่ การเดินจิต การถอน สละคืน



2. คนที่ยังไม่อิ่ม ..หากยังไม่อิ่ม ก็ต้องมารู้เห็นของจริง จนเกิดความหน่าย ความระอา นิพพิทา วิราคะ เพื่อละกาม
     ..ธรรมนั้นเป็นไฉน อุปมาเหมือนดั่งบุคคลผู้ยังไม่ได้กิน กินแล้วแต่ก็ยังไม่อิ่มยังไม่พอ ยังอยากได้ต้องการโหยหากระหายอยู่ไม่ขาด
     - อุปไมยดั่งอาหารที่กินเป็นของโลกียะ
     - อุปไมยความอยากได้ต้องการโหยหากระหายนั้นเป็นกาม
     - อุปไมยความยังไม่ได้กิน คือ ยังไม่เคยลิ้มลองสัมผัส
     - อุปไมยความกินแล้วยังไม่อิ่ม ไม่พอ คือ ความได้เสพย์แล้วมีแล้วแต่ไม่เต็มในใจ ไม่เพียงพอในใจ ยังโหยหา การทำให้อิ่มในกามไม่ใช่ต้องเสพย์กาม ด้วยยิ่งเสพย์ตามมันไปให้มากเท่าไหร่ กามมันก็อิ่มไม่เป็น แม้ได้ครบหมดทั้งโลกมันก็ยังอิ่มไม่เป็น เหมือนโอ่งน้ำก้นรั่วให้เทน้ำไปเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม ยิ่งคิดคำนึงถึงยิ่งโหยหา

    ก. ดังนั้นทำความอิ่มนี้ทำที่ใจให้มันอิ่ม ทำความหน่าย ความระอา ความถอน ถึงความสำรอกออก ซึ่งมีธรรมใช้ในหลายอย่าง เช่น..

     - สัญญา ๑๐
     - อสุภะสัญญา หรือ ทวัตติงสาการ หรือบางที่เรียกแทนโดยกายคตาสติ ความเห็นจริงในภายในกายนี้แล เป็นของไม่สะอาด มีอยู่เพียงเท่านั้น อาศัยหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ มีผม เล็บ ฟัน เป็นต้นให้ดูงาม ม้างกายออกจนไม่มีเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน คลายฉันทะถึงอนัตตา
     - อาทีนวสัญญา เห็นเพียงที่ประชุมโรค ไม่ควรยินดี เป็นไปเพื่อคลายฉันทะถึงความหน่ายระอาในกายนี้
     - จตุธาตุววัตถาน, ธาตุวิภังค์-ธาตุ ๖ เห็นสภาพจริง อาศัยจิตนี้จรมาอาศัย มีใจเข้ายึดครอง ความไม่ใช่ตัวตน
     - อสุภะ ๑๐ ความเห็นตามจริงในกายนี้ ถึงความไม่เที่ยง
     - พรหมวิหาร ๔ เจโตวิมุตติ

     ข. ซึ่งกรรมฐานข้างต้นจะทำความหน่ายระอาต่อใจอย่างไร ..ก็อุปมาเปรียบการกำหนดเดินไปของจิตอันเป็นธรรมกื้อกูลในวิราคะให้เข้าใจได้เหมือน..
     - อุปมาเปรียบเหมือนดั่งใช้ฉันทะละฉันทะ คือ ความเต็มใจยินดีออกจากกาม ความเห็นในสิ่งที่ยินดียิ่งกว่า เปรียบเหมือนใช้ทานละโลภ คือ มีใจยินดีในอริยะทรัพย์ ควายความตระหนี่หวงแหน ละความอยากได้ใคร่มีใคร่เสพย์ในโลกียะทรัพย์อันปรนเปรอตนเกินความจำเป็น
     - อุปมาสภาพธรรมแห่งนิพพิทา วิราคะ คือ จิตถึงสัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายในความไม่เพลิดเพลินโลกียะทั้งปวง จิตถึงสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ถึงความความหน่าย ระอา จิตน้อมไปเพื่อคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความสละคืน
     - อุปมาการเดินจิตเปรียบเหมือนดั่ง..พรหมวิหาร ๔ เจโตวิมุตติ หรือ ธาตุวิภังค์-ธาตุ ๖ ..อบรมจิตเห็นในสมมติกาย ความเห็นในสมมติใจ ความเห็นในสมมติธรรม ความติดใจข้องแวะเป็นทุกข์ ความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่อธรรมสังขาร ความดำรงมั่นอยู่ การเดินจิต ถอน สละคืน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2020, 09:49:07 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #322 เมื่อ: กันยายน 06, 2021, 02:09:21 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกัมมัฏฐาน 6/9/64

   *บันทึกกรรมฐานทั้งสิ้นทั้งปวงนี้* ล้วนแต่เป็นความรู้อย่างปุถุชนอย่างข้าพเจ้าจะเข้าไปรู้ัเห็น อนุมาน คาดคะเน ตรึกนึกพิจารณาหลังจากการปฏิบัติได้สภาวะนั้นๆตามที่บันทึกไว้นี้แล้ว ซึ่งยังไม่ถูกต้องและตรงตามจริง ยังสักแต่เป็นเพียงธรรมสมมติ ยังไม่แจ้งแทงตลอดก ยังทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต้องการ ยังไม่ถึงวสี แต่เคยเข้าถึงได้เนืองๆพอที่จะรู้อาการที่จิตนี้มนสิการธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามที่สมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาตรัสสอน อันมีพระอรหันตสงฆ์ พระอริยะสงฆ์นำพระธรรมเหล่านี้มาเผยแพร่สั่งสอนให้ข้าพเจ้าได้รับรู้ แล้วมาฝึกสืบต่อในแบบที่ตนพอจะมีปัญญาอย่างปุถุชนเข้าใจได้เท่านั้น
    ด้วยเหตุดังนี้ หากแนวทางใดผิดเพี้ยนไม่ตรงตามจริง ท่านที่แวะเข้าชมบันทึกนี้ทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า เป็นเพียงธรรมที่ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้วพิจารณายได้อย่างปุถุชนเท่านั้น ยังไม่แจ้งแทงตลอดถูกต้องและตรงตามจริงตามที่พระพุทธศาสดาทรงตรัสสอน
    หากธรรมนี้เป็นจริงมีประโยชน์เหล่าใดทั้งปวงแก่ท่านที่แวะเยี่ยมชม ก็ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดจงรู้ไว้ว่า พระธรรมคำสอนทั้งปวงของสมด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่ได้ทรงตรัสสอนมานี้ประกอบไปด้วยคุณ หาประมาณมิได้ ใช้ได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกจริตนิสัย สามารถพลิกแพลงให้เข้ากับจริตตนแล้วนำมาใช้งานได้อย่างง่ายแต่มีคุณประโยชน์สูง เห็นผลได้ไม่จำกัดกาล ดังนี้


อริยะสัจ ๔ กัมมัฏฐาน

เป็นกัมมัฏฐานโดยส่วนตัวของข้าพเจ้า เฟ้นเห็นตัวทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ แจ้งชัดความดับทุกข์ ถึงทางดับทุกข์ แบบสาสวะ คือ สะสมเหตุ โดยส่วนตัวเท่านั้น

คือ แนวทางการเจริญ พระอริยะสัจ ๔ แบบสาสะ สะสมเหตุ เพื่อเข้าถึงความ ไม่มีใจครอง เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม  มีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ไม่ติดใจข้องแวะโลก เป็นผล

- โดยการเจริญพระอริยะสัจ ๔ กรรมฐานนี้ กว้างมาก เพราะเป็นการใช้กรรมฐานทั้ง ๔๐ หรือกองใดกองหนึ่งตามจริต ตั้งเป็นฐานจิต ฐานสมาธิ เข้าสู่อารมณ์ญาณทัสนะ คือ ใช้กรรมฐานทุกกองเจริญเข้าในมหาสติปัฏฐาน ๔  กาย เวทนา จิต ธรรม ตั้งฐานรู้ชัด + สัมมัปปธาน ๔ + อิทธิบาท ๔


ยกตัวอย่างเช่น

๑. พุทโธ+ลม สะสมมัคสมังคี มรรคสามัคคีรวมกัน เห็นสมมติกาย เห็นสมมติใจ(เวทนา และจิต เข้าสู้ธัมมารมณ์) เฆ็นสมมติธรรม(เห็นขันธสันดารของจิต)

๒. เมตตา(อาจจะกำหนดตามลมหายใจ เพื่อไม่ซ่านออกนอก และคลุมอารมณ์กัมมัฏฐาน) สะสมมัคสมังคี มรรคสามัคคีรวมกัน เห็นสมมติกาย เห็นสมมติใจ(เวทนา และจิต เข้าสู้ธัมมารมณ์) เฆ็นสมมติธรรม(เห็นขันธสันดารของจิต)

พิจารณาเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ แจ้งชัดความดับทุกข์ มรรครวมขึ้นโครตภูญาณ ทำโพชฌงค์ เข้าสังขารุเปกขา รอบ ๓ อาการ ๑๒ แห่งพระอริยะสัจ ๔ เกิดขึ้น มีปัญญาญาณเกิดขึ้นตัดสังโยชน์

หมายเหตุที่ ๑
- โดยส่วนตัวของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้ามีใจน้อมทำอย่างนี้ เพื่ออบรมจิตสะสมเหตุใน ปฏิสัมภิทาญาณ และ ปารถนาพุทธภูมิ
- ความรู้นี้มันเกิดขึ้นเอง อาจเป็นแนวทางที่ผิด ไม่ถูกตรงตามจริง และข้าพเจ้าไม่รู้ธรรม จึงจำกัดเรียกเฉพาะทางที่ข้าพเจ้าใช้เจริญในกรรมฐานทั้ง ๔๐ และ ญาณทัสนะ ด้วยองค์ธรรมเพื่อเฟ้นเห็นตัวทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ แจ้งชัดความดับทุกข์ ถึงทางดับทุกข์ ดังนี้ว่า อริยะสัจ ๔ กัมมัฏฐาน

หมายเหตุที่ ๒
- มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นกรรมฐานในญาณทัศนะ ที่เข้าได้กับทุกกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ให้เป็นไปเพื่อ ญาณทัสนะ เพื่อโพชฌงค์ เพื่อวิมุตติ
- ทำไมพระป่าท่านสอนกายก่อน เพราะกายนี้เห็นง่ายสุด กายนี้คือที่ตั้งต้นแห่งเป็นสมาธิ เราอาศัยกายนี้อยู่ จับต้องได้ เห็นได้ สัมผัสได้ง่ายสุด เป็นฌาณ ๔ ใครรู้ลมหายใจก็รู้กายรู้ธาตุ ไม่รู้ลมก็ไม่รู้ธาตุ ม้างกายออกก็จะเห็นอนัตตา เห็นเวทนา เห็นจิตทันที จะอบรมจิตภาวนาได้ ดังความว่า..ทิ้งกายเห็นจิต ส่วนที่เรามามองกันว่าความรู้สึกนี้ๆ อาการนี้ๆ เพราะไม่มีสมาธิ ไม่อบรมสมาธิ ก็คือไม่อบรมกาย มันจะเห็นแต่ความคิดตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เป็นเหตุให้หลงความคิดตัวเอง ไม่มีวิปัสนาเห็นแต่วิปัสนึก
- ดังนั้นผู้ที่กล่าวว่าพระป่าไม่เชี่ยวชาญขิต ข้อนี้ผิดมาก เพราะเชี่ยวชาญจึงรู้ทางรู้อุบาย และสอนได้ เพราะเชี่ยวชาญจิต ถึงบรรลุธรรมได้

** สมดั่งที่..องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ตรัสกับ สัจจกนิครนต์ ว่า ดูกร! อัคคิเวสนะ! อบรมกายเธอยังไม่รู้จักเลย เธอจะรู้การอบรมจิตได้อย่างไร **

- สมดั่งคำ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฺฒโน ท่านสอนให้เห็นธาตุ ๖ เข้าธาตุวิภังค์ และสมดั่ง หลวงตาศิริ อินฺทสิริ ท่านสอนไว้ว่า หลงกายก็ม้างกายดู หลงใจก็ม้างกายดู การม้างกายก็ตือ กายานุปัสสนา การม้างใจก็คือ เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ลงธัมมานุปัสนา เป็นขันธ์ เห็นอนุสัยกิเลสอันนอนเเนื่องในจิต จิตทำรอบ ๓ อาการ ๑๒ ดั่งท่านว่าดังนี้..

หมายเหตุที่ ๓
- ความมีจิตแจ่มใจ (คือ ปราศจากกิเลสเครื่องเร่าร้อนหน่วงตรึงจิต คือ มีจิตเป็น พุทโธ แล้วนั่นเอง)
- มีใจเอื้อเฟื้อ (คือ มีใจเมตตา ทาน ถึง จาคะ)
- เว้นความความเบียดเบียน (คือ มีเจตนาเป็นศีล คือ ศีลลงใจ)
..เป็น สุจริต ๓ คือ มรรค เกิดขึ้นเมื่อมีอินทรีย์สังวรณ์บริบูรณ์
..ผลทั้งปวงเหล่านี้ย่อมเกิดแก่ผู้รู้ธรรมแท้ เจริญปฏิบัติมาดีแล้ว
(ไม่ได้หมายถึงตัวข้าพเจ้าถึงแล้วดังที่กล่าวมา เพียงแต่บันทึกทางธรรมนี้ไว้เท่านั้น)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:37:34 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #323 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:05:52 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
แก้ปัญหาชีวิตด้วย อริยะสัจ ๔

- ทุกข์ หรือปัญหาชิวิตของเราเป็นแบบไหน
- เหตุแห่งทุกข์ หรือต้นเหตุปัญหาของเราคืออะไร
- ความดับทุกข์ หรือหมดสิ้นปัญหาของเราเป็นแบบไหน
- ทางดับทุกข์ หรือทางแก้ปัญหาของเราคืออะไร


๑. ทำความเข้าใจในทุกข์ หรือปัญหาชีวิต เพื่อรู้ตัวทุกข์ หรือปัญหานั้น และเหตุสืบต่อของมัน
๒. ละที่เหตุแห่งทุกข์ หรือต้นเหตุของปัญหา
๓. ทำความสิ้นไปแห่งทุกข์ หรือความหมดสิ้นปัญหาให้แจ้ง เพื่อรู้ว่าความสิ้นทุกข์ หรือปัญหามีได้เพราะอะไร ทำสิ่งใด ละสิ่งใด
๔. ทำในทางดับทุกข์ หรือทางแก้ไขปัญหาให้มาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:51:46 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #324 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:06:18 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
นำ มรรค ๘ มาใช้ในชีวิต

๑. เห็นชอบ คือ มีวิธีคิดและความรู้ถูกต้องตามจริง มีปัญญาเลือกเฟ้นความคิดและอารมณ์
๒. คิดชอบ คือ ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก ในการใช้ชีวิตและแก้ปัญหา
๓. พูดชอบ คือ พูดจาสุภาพ อ่อนน้อม มีประโยชน์ ไม่ให้ร้ายกัน
๔. ประพฤติชอบ คือ ทำตัวสุภาพอ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว
๕. เลี้ยงชีพชอบ คือ ดำรงชีพโดยสุจริต
๖. เพียรชอบ คือ มีความมุ่งมั่นด้วยสติ ไม่หมกมุ่น
๗. ระลึกชอบ คือ รู้ปัจจุบัน ยั้งคิดช่างใจ แยกแยะถึงผลลัพธ์ก่อนพูด-ทำ
๘. ตั้งมั่นชอบ คือ มีความจำจ่อ เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ ไม่ส่งจิตออกนอก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:49:45 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #325 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:06:56 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อิทธิบาท ๔ ใช้ในชีวิต

๑. ฉันทะ คือ ชอบ เพลิน พอใจยินดีในสิ่งที่ทำ อาศัยรู้ว่าเป็นประโยชน์สุข, หน้าที่, สิ่งที่ให้ผลดีภายหน้า
- ฉันทะ..บังเกิดแล้วเต็มใจ

๒. วิริยะ คือ เพียรด้วยสติ กำลังใจดี มุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ทำไม่ย่อท้อ อาศัยฉันทะ
- วิริยะ..พลังภายในต่อสู้

๓. จิตตะ คือ มีความจดจ่อเอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ ไม่ทอดทิ้ง อาศัยวิริยะ
- จิตตะ..ตั้งหน้าไปให้ถึงที่สุด

๔. วิมังสา คือ ไตร่ตรองให้รู้และเข้าใจแจ้งชัดตามจริง รู้เหตุปัจจัยผล ควรเพิ่ม-ลดตรงไหน อาศัยจิตตะ
- วิมังสา..เข้าใจรู้ย่อมได้เห็นผล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:40:40 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #326 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:07:14 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พละ ๕ มาใช้ในชีวิต

สัทธาพละ คือ เชื่อด้วยปัญญารู้เห็นตามจริง รู้ชัดว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อเสมอ

วิริยะพละ คือ มีกำลังใจมุ่งมั่นในการเรียนหรือทำงาน ไม่ย่อท้อ อาศัยความเต็มใจทำโดยให้สิ่งที่เรามุ่งมั่นทำอยู่นั้นสร้างความสุขให้เรา หรือรู้ว่ามันคือหน้าที่, คืออนาคตของเรา

สติพละ คือ มีความรู้ตัว รู้สิ่งที่ทำในปัจจุบันอยู่ทุกเมื่อ ยั้งคิดแยกแยะได้ ไม่เผลอตัว

สมาธิพละ คือ มีใจจดจ่อ เอาใจใส่ในบทเรียนหรือการงาน ไม่ฟุ้งซ่าน

ปัญญาพละ คือ หมั่นเรียนรู้ สังเกตุสอดส่อง ทำความเข้าใจในบทเรียนหรือการงาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:42:22 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #327 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:26:44 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
หัวใจนักปราชญ์ ๔

๑. ฟัง คือ ตั้งใจ ดู/ฟัง ศึกษาเรียนรู้เนื้อหา ขั้นตอนวิธีทำ

๒. คิด คือ คิดวิเคราะห์ สังเกตุ ทำความรู้ความเข้าใจตามในสิ่งที่กำลังดูศึกษาอยู่นั้น

๓. ถาม คือ ไม่เข้าให้ถาม หาความรู้เพิ่ม แล้วฝึกทำให้ชำนาญ หรือตั้งคำถามไว้ในใจ(ตั้งสมมติฐาน) เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องตามจริง แล้วเลือกเฟ้นทำ(ทดลองทำหาความจริง) ตามสมมติฐานนั้น

๔. จด คือ จดบันทึก เมื่อรู้และเข้าใจถูกต้องตามจริงแล้ว ก็จดไว้ทบทวนกันลืม โดยจดในแบบที่เราเข้าใจได้ง่าย ครบถ้วน มีหัวข้อ-ขั้นตอน-องค์ประกอบ-ความเป็นไป และผลลัพธ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:49:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #328 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:27:43 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วุฒิธรรม ๔ มาใช้ในชีวิต

1. สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ) คือ “หาครูดี” มีความรู้และนิสัยดีจริง สอนได้ถูกตรงตามจริงทั้งแนวทางและการปฏิบัติ

2. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังธรรม) คือ “ฟังคำครูให้ชัด” ต้องฟังคำครูให้เข้าใจไม่คลาดเคลื่อน รู้เนื้อหา-หัวข้อ-แนวทาง-ผล และจำกัดความได้

3. โยนิโสมนสิการะ (ตริตรองธรรม) คือ “ตรองคำครูให้ลึก” ไตร่ตรองให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามจริงในสิ่งนั้นๆ

4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม) คือ “ทำตามครูให้ครบ” น้อมเอาวิธีคิด-คำสอน-กาลควรใช้-การปฏิบัติมาทำให้ดีครบถ้วน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:49:01 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #329 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:28:23 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
..หัวใจเศรษฐี อุ อา กา สะ..

๑. อุฏฐานสัมปทา คือ ขยันด้วยปัญญา
- ขยันทำงาน และใฝ่รู้ศึกษาในงาน
- รู้จักประยุกต์ใช้งาน ฉลาดปรับตัวให้ดีเข้ากับคน, กาล, สิ่งแวดล้อม

๒. อารักขสัมปทา คือ รู้จักแบ่งเก็บ-แบ่งใช้
- รู้รักษาโลกียะทรัพย์
- รู้รักษาอริยะทรัพย์ สิ่งที่โจรลักไม่ได้

๓. กัลยามิตตา คือ คบเพื่อนดี
- คบมิตรด้วยความดี ขยัน จริงใจ ใฝ่กุศล
- อีกประการคือ มีสติ-ปัญญากำกับรู้ คือ รู้แยกแยะพิจารณาอยู่ทุกเมื่อ

๔. สมชีวิตา คือ รู้จักพอเพียง
- รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักประมาณตน

..ทำได้ “ไม่มีจน”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:47:11 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 13, 2024, 03:15:06 AM