เมษายน 20, 2024, 04:09:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407840 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #330 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:37:36 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สังคหวัถุ ๔ มาใช้ในชีวิต

๑. ทาน คือ การมีน้ำใจไมตรีเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกัน การแบ่งปันสิ่งของที่ควรให้แก่กัน

๒. ปิยะวาจา คือ การเจรจากันด้วยถ้อยคำสุภาพ ไม่พูดโกหก ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ไม่ใส่ร้ายส่อเสียด ไม่ดูหมิ่น ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่พูดให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย หรือแตกแยกกัน

๓. อัตถจริยา คือ การประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน ไม่คิดร้ายต่อกัน เว้นจากการกระทำเบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน

๔. สมานัตตตา คือ มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีความจริงใจต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

นี้คือธรรมอันเป็นกัลยาณมิตร




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:31:10 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #331 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:37:47 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ราชสังคหวัตถุ ๕

๑. อัสสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงเรื่องพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรและกสิกรรม

๒. ปุริสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงคน ส่งเสริมคนดีที่มีความรู้ความสามารถให้รู้จักทำงานทำหน้าที่ของตน ๆ

๓. สัมมาปาสะ ความฉลาดในการดูแลสุขทุกข์ของประชาชนโดยการส่งเสริมอาชีพให้มีอยู่มีกิน

๔. วาชเปยยะ การพูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ รู้จักชี้แจงแนะนำด้วยถ้อยคำที่เหมาะสม เชื่อถือได้ มีประโยชน์ก่อให้เกิดความสามัคคี

๕. นิรัคคฬะ การบริหารบ้านเมืองไม่ให้มีเสี้ยนหนาม ไม่ให้มีโจรขโมย ประชาชนมีชีวิตที่เป็นสุขอย่างดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:30:06 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #332 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:38:17 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ราชสังคหวัตถุ ๕ หัวหน้างาน

๑. อัสสเมธะ ฉลาดในการดูแลรักษาขยายผลงาน แจกจ่ายงานให้เหมาะสม ไม่ลำเอียง

๒. ปุริสเมธะ ฉลาดในการบำรุงคน ส่งเสริมคนดีมีความรู้ความสามารถให้มีหน้าที่การงานที่ดีเหมาะสม ควรที่เขาได้รับ

๓. สัมมาปาสะ ฉลาดในการดูแลรับฟังสุขทุกข์พนักงาน ส่งเสริมความรู้ในงานต่างๆให้ทำงานได้ดี มีค่าตอบแทนเหมาะสม

๔. วาชเปยยะ การพูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ รู้จักชี้แจงแนะนำด้วยถ้อยคำที่เหมาะสม เชื่อถือได้ มีประโยชน์ก่อเกิดความสามัคคี

๕. นิรัคคฬะ การบริหารงานไม่ให้มีอุปสรรค ให้ทีมงานมีสุขกับการทำงาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:29:06 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #333 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:38:55 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ปุริสธรรม ๗ ในการเรียน

1. ธัมมัญญุตา
รู้หลักการเรียนรู้ วิธีคิด วิธีทำในบทเรียน รู้หน้าที่ รู้กฎเกณฑ์โรงเรียน

2. อัตถัญญุตา
รู้จุดมุ่งหมายในสิ่งที่ทำอยู่ มีเป้าหมายชัดเจน

3. อัตตัญญุตา
รู้ตน ว่ามีความรู้แค่ไหน ด้อยวิชาใด จุดใดที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม

4. มัตตัญญุตา
รู้ประมาณตน รู้ความพอดี

5. กาลัญญุตา
รู้เวลาที่ควรคิด-พูด-ทำอย่างไร

6. ปริสัญญุตา
รู้สังคมภายในห้องเรียน สังคมโรงเรียน สภาพแวดล้อมว่าเป็นอย่างไร

7.  ปุคคลัญญุตา
รู้ว่าใครมีนิสัย ความรู้ ความสามารถอย่างไง ควรคบหากับเขายังไง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:28:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #334 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:40:33 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อธิษฐานธรรม ๔ การเรียน

๑. ไม่พึงประมาทปัญญา คือ ไม่ประมาท ละเลยการเรียน หรือความรู้ต่างๆแม้ว่าเล็กน้อย ต้องทำความรู้ความเข้าให้แจ้งชัด ชำนาญ

๒. พึงตามรักษาสัจจะ คือ ในที่นี้หมายเอาเรื่องผลสำเร็จตามจริง ทำให้แจ้ง ทำให้ถึงเป้าหมายขึ้นมาได้จริงตามที่ตั้งใจไว้ รักษาได้โดยไม่ประมาทปัญญา

๓. พึงเพิ่มพูนจาคะ คือ สละทิ้งหมดความรักสบาย เพ้อฝัน ฟุ้งซ่าน ขี้เกียจ หดหู่ เบื่อหน่าย ยิ่งเพิ่มพูนจาคะมาก ปัญญาเราก็ยิ่งเข้าถึงสัจจะได้มากเท่านั้น

๔. พึงศึกษาอุปสมะ คือ จิตที่ทำจาคะสละคืนหมดสิ้น เป็นจิตที่ปกติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2022, 09:28:27 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #335 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:40:59 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฆราวาสธรรม ๔ ธรรมผู้ครองเรือน

๑. สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน

๒. ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ

๓. ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส

๔. จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่างๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 09:32:46 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #336 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:41:20 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ปุริสธรรม ๗ ในการทำงาน

๑. ธัมมัญญุตา
รู้หลักการ รู้งาน รู้เหตุไปสู่ผลต่างๆ รู้กฎเกณฑ์หน้าที่ของตน
 
๒. อัตถัญญุตา
รู้จุดมุ่งหมาย-ผลลัพธ์สืบต่อในสิ่งที่ทำอยู่

๓. อัตตัญญุตา
รู้สถานภาพตนว่า มีความรู้ สติปัญญา ความสามารถยิ่งหย่อนจุดใด

๔. มัตตัญญุตา
รู้ประมาณตน รู้พอดี

๕. กาลัญญุตา
รู้สิ่งที่ควรคิด-พูด-ทำ เหมาะกับสถานการณ์

๖. ปริสัญญุตา
รู้สังคมภายในแผนก-องค์กร-ประเทศ-โลก ว่ามีวิถีชีวิต-สถานการณ์อย่างไร

๗. ปุคคลัญญุตา
รู้ว่าใครมีทัศนคติ นิสัย ภูมิความรู้ ถนัดอย่างไร ควรปฏิบัติและเข้าหาเขายังไง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 09:34:03 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #337 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:41:42 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อธิษฐานธรรม ๔ การงาน

๑. ไม่พึงประมาทปัญญา คือ ไม่ประมาท ละเลยการทำความรู้ความเข้าใจให้แจ้งชัดในทุกส่วนทุกขั้นตอนงานที่ทำ หรือเกี่ยวข้องจนชำนาญ

๒. พึงตามรักษาสัจจะ คือ ในที่นี้หมายเอาเรื่องผลสำเร็จตามจริง ทำให้แจ้งทำให้ถึงเป้าหมายขึ้นมาได้จริง ตามที่ตั้งใจไว้ รักษาได้โดยไม่ประมาทปัญญา

๓. พึงเพิ่มพูนจาคะ คือ สละทิ้งหมดความรักสบาย โลภอยากได้ ฟุ้งซ่าน ขี้เกียจ หดหู่ เบื่อหน่าย ยิ่งเพิ่มพูนจาคะมาก ปัญญาเราก็ยิ่งเข้าถึงสัจจะได้มากเท่านั้น

๔. พึงศึกษาอุปสมะ คือ จิตที่ทำจาคะสละคืน มุ่งชนะแบบ Win Win
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 09:35:12 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #338 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:42:01 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สมชีวิธรรม ๔ ธรรมอันเป็นคู่สมรส

- สมสัทธา (มีความเชื่อเสมอกัน) คือเป็นคนคอเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน

- สมสีลา (มีความดีเสมอกัน) คือ มีศีลเสมอกัน มีความประพฤติเสมอกัน ไม่ใช่ อาทิ คนหนึ่งชอบออกงานสังคม อีกคนชอบสันโดษ

- สมจาคา(มีความเสียสละเสมอกัน) คือ ต้องเสียสละกิเลสส่วนตัว อย่าถืออัตตาของเรา อย่าถือเธอถือฉัน

- สมปัญญา (มีปัญญาเสมอกัน) มีความสามารถในการใช้ปัญญา และความสามารถในการใช้เหตุผลเสมอกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 09:36:04 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #339 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:43:00 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อริยทรัพย์ ๗ ทรัพย์ภายใน ๗ ประการ

๑. ศรัทธา ความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น เชื่อว่าทุกการกระทำ(กรรม) มีผลสืบต่อเสมอ(วิบากกรรม)

๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม เว้นการเบียดเบียน

๓. หิริ ความละอายใจต่อการทำความชั่ว

๔. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว

๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก

๖. จาคะ สงเคราะห์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อบรมจิตให้ปราศจากกิเลสอยู่เสมอ

๗. ปัญญา ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 09:37:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #340 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:43:23 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
อธิษฐานธรรม ๔

ปัญญา คือไม่ประมาทปัญญาในธาตุทั้ง ๖ รู้ชัดใน ธาตุทั้ง ๖ นี้ว่า "ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา"

สัจจะ คือ ความจริง เรื่องนิพพาน เป็นสิ่งที่ต้องตามรักษา ทำให้แจ้งทำให้ถึงขึ้นมา รักษาได้โดยไม่ประมาทปัญญา เข้าถึงด้วยปัญญา

จาคะ คือ การสละกิเลสออก จึงเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มพูนทำให้มาก เราสละกิเลสออกได้มากเท่าไหร่ คือปัญญาของเราที่จะเข้าถึงสัจจะได้มากขึ้นเท่านั้น

อุปสมะ คือ จิตที่จาคะสละออก ราคะ โทสะ โมหะหมดสิ้น นั่นคือความสงบราบคาบ เป็นสุดยอดสันติ สันติจึงเป็นธรรมที่พึงศึกษา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2022, 04:47:54 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #341 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:43:39 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สัมปทา ๘ ธรรมผู้ครองเรือน ที่ศรัทธาพระพุธเจ้า

อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา  ๑ สัทธาสัมปทา ๑ ศีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล ฯ
๑. คนหมั่นในการทำงานด้วยปัญญา
๒. ไม่ประมาท
๓. จัดการงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ
๔. ตามรักษาทรัพย์ที่หามาได้
๕. มีศรัทธา
๖. ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ
๗. ปราศจากความตระหนี่
๘. ชำระทางสัมปรายิกัตถประโยชน์(ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา) เป็นนิตย์

ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา ในพระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #342 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:43:48 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
คติธรรมจาก จูฬสัจจกสูตร ๑

เป็นเรื่องราวของสัจจกนิครนถ์ ผู้ยโส หลงตนว่าเก่ง รู้มาก ขนาดโต้วาทีกับเสา เสายังล้มพัง ได้ไปโต้วาทีกับพระพุทธเจ้าหมายทำลาย โดยสัจจกนิครนถ์ถือว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวตน สั่งได้ บังคับได้ เพราะเห็นพระราชาสั่งบังคับผู้ใต้บัญชา ฆ่า เนรเทศคนที่ควรทำได้ ถูกพระศาสดาทำลายมานะกลับว่า ถ้าเป็นตัวตนของเราก็สามารถบังคับขันธ์ ๕ ให้ไม่เสื่อม ให้งามประณีต ไม่เจ็บป่วย ไม่เสื่อมดั่งใจได้ แต่บังคับไม่ได้เพราะไม่ใช่ตัวตน

คติธรรมทั้งทางโลกและทางธรรม
๑. อย่าหลงตน อย่าหลงสิ่งที่ตนเป็น-อย่างหลงสิ่งที่ตนรู้เห็นว่าเป็นที่สุด
๒. ควรมีปกติอ่อนน้อม คือ มีสัมมาคารวะ มีนิวาโต มีสันตุษฐ๊ มีกตัญญุตา
๓. เรายังบังคับตนให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จะไปเอาอะไรกับผู้อื่น ไม่มีสิ่งใดเป็นไปดั่งใจเราต้องการได้ ทุกสิ่งอยู่เหนือการควบคุม แม้บางสิ่งที่บังคับควบคุมได้นั้นมันก็ได้แค่เพียงชั่วคราวไม่ยั่งยืน
๔. อย่าสำคัญมั่นหมายกับใจต่อตัวตนบุคคลใด แม้แต่ตัวเราขันธ์เรานี้เอง ว่าเป็นตัวตนจับต้องได้ บังคับได้ อยู่การควบคุมของตน เพราะไม่มีสิ่งใดคงอยู่ยั่งยืนนาน นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นไปของมัน ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน (ธัมมารมณ์ คือสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2022, 04:47:22 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #343 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:44:21 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฮืม? ..นำธรรมมาใช้ในชีวิต.. ฮืม?

เครื่อมดื่มที่มี คาเฟอีนสูง มีผลต่อระบบสมองส่วนกลางให้ทำงาน ทำให้นอนไม่หลับ คิดฟุ้งอยู่ตลอดเวลา เมื่อเสพย์มากกระตุ้นการฮอโมนส์ทางเพศ ทำให้มีภาวะความต้องการทางเพศร่วมด้วย

ในทางธรรมนี้ จัดเป็นวิตก ฟุ้งซ่าน ไม่หลับเพราะฟุ้งคิดตลอดเวลา มีอารมณ์ทางเพศเพราะมีวิตกความนึกในราคะเมถุน มีวิจารความคิดใคร่ควรญในราคะเมถุน เป็นอันมาก

ดังนี้แล้ว เมื่อจะแก้ แก้ด้วย ปัสสัทธิ คือ ละความคิด ทำใจให้ว่าง สงบ ผ่อนคลาย ไม่คิดมาก ไม่ส่งจิตออกนอก รู้ลมหายใจบริกรรม พุทโธ แทนความคิดฟุ้งซ่าน
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #344 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2022, 11:44:47 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

๑. ทุกข์ ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕  

๒. สมุทัย ควรละ คือ ตัณหา
- กามตัณหา อยากได้สิ่งที่ตราตรึงใจที่ยังไม่ได้เสพย์..อวิชชา
- ภวตัณหา อยากให้สิ่งที่มีคงอยู่ไม่เสื่อมไป..นิจจสัญญา
- วิภวตัณหา อยากให้ที่มีไม่ดับสลายไป..อัตตสัญญา

๓. นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือ สิ้นอุปาทาน

๔. มรรค ควรทำให้มาก คือ ละกิเลสทั้งหลาย ให้เหลือเพียงปัญญา

*คติธรรมนำมาใช้ในชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม*
๑. ธัมมารมณ์ สิ่งที่ใจรู้ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน อย่าเอาใจไปผูกขึ้นไว้
๒. ใช้ปัญญา คือ อริยสัจ ๔ ในการดำรงชีพ
๓. อย่าทำตามใจอยาก ให้ทำด้วยปัญญา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 25, 2022, 09:53:26 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 20, 2024, 02:11:53 PM