เมษายน 20, 2024, 04:28:31 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407845 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #405 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 10:55:13 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
โรคไบโพล่า

..ไบโพล่าเป็นการเกิดขึ้นทับซ้อนกันของจิต คือ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ระหว่าง..จิตใต้สำนึกที่เก็บกด กับ จิตตัวรู้ที่ขาดสัมปะชัญญะและสติในปัจจุบัน

1. จิตใต้สำนึกที่เก็บกดของเรา คือ ความจดจำสำคัญมั่นมั่นหมายลึกๆในใจของเรา ที่มีต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดหรือสิ่งที่เรากำลังรับรู้สัมผัสอยู่นั้นๆ เกิดขึ้นกับสมมติอารมณ์ความรู้สึกที่ขัดใจ ชิงชัง โกรธ แค้น กลัว อึดอัด ระอา ผลักไสปะทุขึ้นในใจ อยากระบายออกมา

2. ใจที่รับรู้อารมณ์ของเรา เป็นจิตที่รับรู้ความรู้สึก นึก คิด และสภาพแวดล้อม แต่รู้โดยหลงตามสมมติอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิด ที่เกิดมีขึ้นกับใจในขณะนั้นๆ กล่าวคือ

2.1) ขาด สติ คือ ความระลึกรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกในปัจจุบัน ยับยั้ง แยกแยะได้

2.2) ขาด สัมปะชัญญะ คือ ความรู้ตัวในปัจจุบันว่ากำลังทำอะไร รู้อากัปกิริยาอาการอิริยาบถที่ตนกำลังดำรงอยู่ในปัจจุบัน รู้กิจการงานสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน รู้ตัวว่าใจเรารู้ความรู้สึกใด

- สติและสัมปะชัญญะรวมกันเป็นความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน ทำให้เลือกกระทำ แยกแยะ ยับยั้งสิ่งที่ควทำ ไม่ควรทำทาง กาย วาจา ใจ เราได้

..คนเป็นไบโพล่า คือ คนที่คิดฟุ้งซ่าน(คิดฟุ้งซ่าน คือ นึกถึงหลายๆเรื่องสลับไปมาในเสี้ยววินาที) จะทำให้เกิดภาวะการตรึกถึง นึกถึง หลายสิ่งหลายอย่างสลับไปมาในเฟสเส้นระนาบเวลาเดียวกัน คือ จิตที่ตรึกนึกมันเกิดสลับไวมากติดต่อกันจนเหมือนเกิดขึ้นพร้อมกัน
..ทำให้เราเข้าใจว่ามีใครกระซิบข้างหูตัวเอง
แต่ที่จริงแล้วคือจิตใต้สำนึกเราเอง มี่ิยากจะทำอีกอย่างที่ขัดกับการกระทำที่รู้ตัว
..เช่น ในเสี้ยววินาที เรากำลังนึกถึงสิ่งดี และระหว่างนั้นเราก็นึกถึงการอาละวาด
..ทีนี้เมื่อใจเราจับการนึกถึงสิ่งดีอยู่ ความนึกคิดที่ทับซ้อนกันของจิตใต้สำนึกเรา คือ ความไม่พอใจ โกรธ อยากอาละวาดก็เกิดขึ้นให้ใจเรารับรู้ในชั่วขณะเสี้ยวเวลาติดต่อกัน
..จนกลายเป็นว่า เราหลงความคิดตัวเองว่ามีคนสั่งให้อาละวาด ทั้งๆที่สิ่งนั้นคือความคิดเราเองในจิตใต้สำนึกจองเราเอง

..พอเรารับรู้ความคิดจิตใต้สำนึกนั้นแต่ไม่มีสติระลึกรุ้ยับยั้ง แยกแยะไม่ได้ ก็เลยเข้าใจว่ามีองค์สั่งทำ. เลยอาละวาดตามจิตใต้สำนึกตน. นี่มันองค์บ้า กับ องค์บอชัดๆ
..ทีนี้เราพอจะเข้าใจอาการไบโพล่าในขั้นจิตใต้สำนึกมั้ยครับ

..ทีนี้ไบโพล่าระดับกลาง คือ การที่ใจเราเลือกไม่ได้ หรือลังเล ระหว่างดีกับชั่ว, นิ่งกับโวยวาย, ทำกับไม่ทำ ตามความอยากกระทำของเรา
..เช่น เจอเพื่อนทำให้ไม่พอใจ เกิดความนึกขึ้น 2 อย่างคือ ให้อภัย กับ ด่ามันเลยโวยวายไปเลยเฮ้ย นี่คือการที่เรามีทั้งความรู้สึกดีกับชั่วเกิดขึ้นอยู่คู่กัน แสดงว่าเราเป็นคนดีนะครับนี่ ทีนี้เมื่อเราลังเลใจเลือกไม้ได้ว่าจะทำอะไร จะเลือกทางไหนดี มันก็เกิดความกดดันใจเราขึ้นมา จนเกิดการระเบิดขึ้นของโทสะ จึงเลือกตามสิ่งโกรธ เกลียด ชัง ผลักไส เพื่อระบาย โวยวายออกมา

ทางบำบัดแก้ไข คือ

๑. เมื่อเกิดอาการไบโพล่าขึ้น ให้ระลึกรู้ทันทีว่ามันคือสมมติปรุงแต่งจิตเรา หรือ เสียงในหัวในความคิดที่เกิดขึ้นของเรามันไม่ใช่ใคอื่นที่ไหน ไม่ใช่องค์เทพองค์ใด มันเป็นสมมติของปลอมที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของเรานี่เอง
..ดังนั้น ใจรู้สิ่งใดโดยอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด หรือ รูปใด, เสียงใด สิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ไม่สนสิ่งที่ใจรู้ ก็ไม่ยึดไม่หลงตามสมมติหลอกใจเราทั้งหมด ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น ลมหายใจเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกายให้คงอยู่ได้ เป็นสิ่งที่กายเราต้องการ มารู้ลมหายใจเรานี้ดีที่สุด

..ลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ลมหายใจนี้ไม่มีโทษ ลมหายใจนี้ไม่ทำร้ายเรา
..แล้วก็เอาใจมาจับรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หายใจเข้าสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ กายใจออกสั้นก็รู้ ยาวก็รู้

..หายใจเข้า ระลึก พุท ลากเสียงพุทยาวหรือสั้นตามลมหายใจเข้า
..หายใจออก ระลึก โธ ลากเสียโธยาวหรือสั้นตามลมหายใจออก

..หายใจเข้า ระลึกถึงความว่าง โล่ง เบา สบาย ใจลอยขึ้นตามลมหายใจเข้าอยู่เหนืออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง
..หายใจออก ระลึกถึงความปลดปล่อยกายใจของเรา มันเบา สบาย ผ่อนคลายๆ

..หายใจเข้า เบา ว่าง โล่ง เย็นใจ
..หายใจออก ปลดปล่อย สบาย ผ่อนคลาย

๒. รู้อิริยาบถของตนในปัจจุบัน คือ ปัจจุบันกำลัง ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ ก็รู้ว่าปัจจุบันเรากำลังอยู่ในอิริยาบถนั้นๆ

..ฝึกเดินจงกรรม เริ่มต้นจาก

- ยืนตรงอยู่ ก็รู้ว่ายืน บริกรรมระบึกตามลมหายใจเข้าว่า ยืน ลากยาวตามลมหายใจเข้า ..หายใจออกบรืกรรมระลึก หนอ ลากเสียงยาวตามลมหายใจออก ทำสัก 3 ครั้ง
- เดิน

..ก้าวแรกที่เท้าซ้าย ..ยกเท้าซ้ายขึ้น ขณะเดียวกันกับยกเท้าขึ้นนั้นก็บริกรรมว่า ซ้ายยกหนอ รู้ว่ายกเท้าซ้ายขึ้น ..ย่างก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าค้างไว้อย่าเพิ่งเอาเท้าลง ขณะเดียวกันกับย่างก้าวเท้าไปนั้นก็บริกรรม ย่างหนอ รู้ตัวว่าย่างก้าวเท้าไปอยู่ ..ปล่อยเท้าลงแตะพื้น ขณะเดียวกันกับปล่อยวางเท้าลงแต่พื้นนั้นก็บริกรรม ลงหนอ รู้ตัวว่าปล่อยเท้าลงแตะพื้น

..เท้าขวา ..ยกเท้าขวาขึ้น ขณะเดียวกันกับยกเท้าขึ้นนั้นก็บริกรรมว่า ขวายกหนอ รู้ว่ายกเท้าขวาขึ้น ..ย่างก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าค้างไว้อย่าเพิ่งเอาเท้าลง ขณะเดียวกันกับย่างก้าวเท้าไปนั้นก็บริกรรม ย่างหนอ รู้ตัวว่าย่างก้าวเท้าไปอยู่ ..ปล่อยเท้าลงแตะพื้น ขณะเดียวกันกับปล่อยวางเท้าลงแต่พื้นนั้นก็บริกรรม ลงหนอ รู้ตัวว่าปล่อยเท้าลงแตะพื้น

..ทำแบบนี้ไปเรื่อยวันละ 20 ก้าว

๓. กำลังทำกิจการงานอันใดอยู่ ก็รู้ว่าเรากำลังทำกิจการงานนั้นๆอยู่
..เช่น ..เรียนอยู่ ก็รู้ว่าเรากำลังเรียนอยู่ กำลังเรียนถึงตรงไหน บทใด หัวข้อใด เนื้อหาใด ครูสอนถึงตรงไหน ..อ่านหนังสืออยู่ ก็รู้ว่าเรากำลังอ่านหนังสืออยู่ อ่านถึงบทไหน หัวข้อใด บรรทัดใด เนื้อหาใดก็รู้ ..กำลังกินก็รู้ว่ากำลังกิน กำลังถ่ายอุจจาระก็รู้ว่ากำลังถ่ายอุจจาระ กำลังปัสสาวะก็รู้ว่ากำลังปัสสาวะ กำลังขับรถก็รู้ว่ากำลังขับรถ กำลังจะไปที่ไหน ขับถึงที่ทางใด ทางข้างหน้าเป็นอย่างไร ก็รู้ว่ากำลังขับรถอยู่ เดินทางถึงไหนแล้ว เราจะต้องไปทิศทางใดต่อ

๔. ฝึกอบรมจิต

..สงบนิ่งวันละ 20 นาที ทำใจให้ผ่อนคลายว่างโล่งสบายๆ หรือ จะนั่งสมาธิ หายใจเข้า พุท กายใจออก โธ

..เวลามีอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิด ในความอยากได้ หรือรักใคร่ หรือกระหายอยากได้อยากทำ หรือกระสันใคร่เสพย์ หรือโกรธ หรือเดลียด หรือแค้น หรือชัง กรือกลัว หรือสับสน ไม่รู้ ลังเล หรือพลั้งเผลอ ก็ให้รู้ว่ากำลังเกิดอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิด เหล่านั้นขึ้นกับใจเราอยู่

..เมื่อรู้ว่าอารมณ์ความรู้สึกใดเกิดขึ้น ก็ให้รู้ว่าความรู้สึกนั้นแท้จริงมันเป็นแค่สมมติปรุงแต่งจิตใจเราให้หลงตามความยินดี ยินร้าย ชอบ ชัง กลัว หลง อยากได้ ริษยา ของเราเท่านั้นเองไม่มีเกิดนี้ มันเป็นแค่สมมติความรู้สึกของปลอมที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตให้หลงตามเท่านั้น มันใม่ใช่ตัวตนบุคคลใดของใครทั้งนั้น เราก็อย่าใส่ใจให้ความสำคัญกับมัน มันเกิดก็รู้ว่าเกิด ดับก็รู้ว่าดับ

..เวลาที่มันรู้ มันเกิด มันมี มันดับ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้นมันก็ไม่เคยมีเราในนั้นเลย ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นไปเพราะเรา มันเกิดมันมีเพราะคนอื่น สิ่งอื่น สิ่งนั้น สิ่งนี้ไปทั่ว ..เมื่อมันไม่มีเรา แล้วเราจะใส่ใจมันไปทำไม แล้วกลับมารู้ของจริง คือ ลมหายใจเรา นี้แล

๕. เราจะไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษภัยอะไร หากเราไม่ทำสิ่งใดที่เกินควร ที่ผิดต่อตนเองและผู้อื่น คือไม่ทำผิดต่อศีลธรรม อันดี และไม่คิด พูด ทำสิ่งใดที่มันเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น

..ดังนั้นการที่เราจะใช้ชีวิตอยู่แบบไม่มีทุกข์ โทษ ภัยใดๆมาเบียดเบียนได้ เราก็ต้องทำดังนี้คือ

- มีจิตแจ่มใส(มีใจผ่อนคลาย ปรอดโปร่ง ปราศจากกิเลส เครื่องร้อนใจและความคิดฟุ้งซ่านทั้งปวง)
..ทำได้โดยการฝึกสติสัมปะชัญญะ อบรมจิตตามข้อที่ 1-4 ข้างต้น

- มีใจเอื้อเฟื้อ(เมตตาผู้อื่นเสมอด้วยตน คือ มีความเอ็นดูปรานี ปารถนาดีต่อผู้อื่นให้ได้รับสุขเสมอเหมือนที่ตนเองอยากได้รับ)
..ทำได้โดยแผ่เมตตาให้ตนเองและผู้อื่น

- เว้นจากความเบียดเบียด(ไม่ คิด พูด ทำ ที่เป็นการทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เร่าร้อน หรือฉิบหาย)
..ทำได้โดยถือศีล ๕ ตั้งใจไว้อย่างเดียว คือ จะไม่เห็นแก่ตัว ไม่ทำสิ่งใดเกินงาม ไม่ทำตามความอยากได้ปรนเปรอกายใจตนอันเกินความจำเป็น




บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #406 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 10:55:33 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ความคิดมันคือสมมติปรุงแต่ง

เวลาเราโกรธแค้นใคร หรือ น้อยใจพ่อแม่ เรื่องเหล่านั้นมันจบไปแล้ว น้องแพรวมาพูดกับพี่ในห้องนี้
..ขณะที่น้องแพรวคิดเสียใจนึกถึงสิ่งที่พ่อแม่ทำให้น้อยใจ ยิ่งคิดยิ่งเสีย เหมือนเรื่องราวนั้นกำลังเกินขึ้นอยู่ตรงหน้าในปัจจุบันใช่มั้ยครับ แต่โดยความจริงเนื่องนั้นมันจบไปนานแล้ว ไม่มีเรื่องนั้นอีกในปัจจุบัน
..นี่แสดงว่า ความคิดมันคือสิ่งสมมติปรุงแต่งเรื่องราว ปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกใช่มั้ยครับ มันเป็นของปลอม ของไม่จริงถูกมั้ยครับ
..แล้วทีนี้เราจะไปเอาอะไรกับความคิดความจำความสมมติปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นล่ะ มันของปลอมทั้งนั้น
..ดังนี้จิตรู้สิ่งใด(ด้วยความคิด) สิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด อย่ายึดสิ่งที่จิตรู้ คือไม่ยึดสมมติความคิด จองแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น มารู้ลมหายใจ หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ
เวลาคิดให้คิดในสิ่งดีๆ คิดถึงจิตผ่องใส เบา ว่าง โล่ง สบาย เย็นใจ คิดเอื้อเฟื้อแบ่งปันสุขดีงาม คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ไม่ทำร้ายตนเองและคนอื่น
เวลาเรียนเราใช้ความคืดจำเพื่อทบทวนบทเรียน สูตรคำนวณ เนื้อหาบทเรียน เพื่อทำความเข้าใจ และสอบได้
ใช่ความคิดให้ถูกจุด ก็มีคุณ หลงตามความคิดอกุศลที่เป็นกองทุกข์ก็มีโทษ


อีกประการ ไม่ว่าในโลกความจริง หรือในความคิด หากเราโดนใส่ร้าย เราก็แค่มาทบทวนกายใจเราว่า..

1. ขณะนั้นและปัจจุบันเราดำรงอยู่ด้วย..กาย วาจา ใจ ที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว มุ่งร้ายหมายทำร้ายเบียดเบียนให้คนอื่นฉิบหายแล้วหรือไม่
..ถ้าขณะนั้นและปัจจุบันเราดำรง กาย วาจา ใจ มีความคิด พูด ทำ โดยปราศจากความเห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียนทำร้ายตนเองและผู้อื่น ขณะนั้นเรามีศีลของพระพุทธเจ้า เราเย็นใจได้เลย
..ดังนี้เราบอกกับคนอื่น หรือความคิดใส่ร้ายนั้นได้เลยว่า..ดูก่อน มาร.. เราเว้นจากความเบียดเบียนด้วยศีลธรรมอันดีแล้ว เธอจะทำร้ายเราไม่ได้อีกแล้ว เธอจะใส่ร้ายเราไม่ได้อีก
..แล้วมารในใจ หรือคน หรือความคิดใส่ร้ายใดๆนี้ ก็จะเจ็บปวดทรมานด้วยตัวเขาเอง แล้วก็จะหายไป

2. ถ้าขณะนั้นและปัจจุบัน เรามีสติสัมปะชัญญะ มีใจตั้งมั่นแน่วแน่รู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ รู้เท่าทันสิ่งที่คิด พูด ทำ รู้ยับยั้ง แยกแยะถูก ผิด ดี ชั่ว บาป บุญ คุณ โทษได้อยู่ทุกเมื่อ ไม่ทำผิดศีลธรรม ไม่ทำผิดต่อใคร
..ดังนี้เราบอกกับคนอื่น หรือความคิดใส่ร้ายนั้นได้เลยว่า..ดูก่อน มาร.. เรามีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีความรู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงจิตอยู่ด้วยศีลธรรมอันดีแล้ว เธอจะทำร้ายเราไม่ได้อีกแล้ว เธอจะใส่ร้ายเราไม่ได้อีก
..แล้วมารในใจ หรือคน หรือความคิดใส่ร้ายใดๆนี้ ก็จะเจ็บปวดทรมานด้วยตัวเขาเอง แล้วก็จะหายไป

3. ถ้าขณะนั้นและปัจจุบันเราได้รู้ บาป บุณ คุณ โทษ แยกแยะสิ่งดี สิ่งชั่วได้ แล้วเลือทำในสิ่งดีที่ถูกต้อง ไม่เป็นไปในสิ่งชั่ว ไม่เป็นไปเพื่อทำร้ายเบียดเบียนใครแล้ว จิตเราถูกปลดปล่อยด้วยกุศล คือความฉลาดเลือกทำสิ่งดี ปล่อย ละวางสิ่งชั่วที่ผูกกายใจเราไว้ มีจิตเบาสบาย ไม่หน่วงตรึงจิต
..ดังนี้เราบอกกับคนอื่น หรือความคิดใส่ร้ายนั้นได้เลยว่า..ดูก่อน มาร.. ปัญญาเราเกิดขึ้นแล้ว เรามีจิตแจ่มใสเบิกบานแล้วปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เธอจะทำร้ายเราไม่ได้อีกแล้ว เธอจะใส่ร้ายเราไม่ได้อีก
..แล้วมารในใจ หรือคน หรือความคิดใส่ร้ายใดๆนี้ ก็จะเจ็บปวดทรมานด้วยตัวเขาเอง แล้วก็จะหายไป

4. ถ้าขณะนั้น เราไม่อยู่ใน 3 อย่าง ข้างต้นนั้น  ก็ให้พูดกับคนอื่น หรือเสียงใส่ร้ายในใจได้เลยว่า
..ดูก่อน มาร.. เราพบทาง 3 ประการเพื่อพ้นจากการใส่ร้ายของเธอแล้ว เธอจะทำอะไรเราไม่ได้อีก เธอจะใส่ร้ายเราไม่ได้อีกแล้ว
..แล้วมารในใจ กรือคน หรือความคิดใส่ร้ายใดๆนี้ ก็จะเจ็บปวด ทามารด้วยตัวเขาเอง แล้วก็จะหายไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 10:57:58 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #407 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 11:02:53 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
#เมตตาผู้อื่น#

๑. มีจิตตั้งมั่นอยู่ ด้วยใจหมายให้หมู่สัตว์ได้รับประโยชน์สุขสำเร็จดีงาม น้อมใจไปในความสละ ชำระกิเลสออกจากใจ คือ ปราศจาก รัก ชัง กลัว หลง

..หากสละไม่ได้ ให้ทำความสงบใจผ่อนคลาย โดยตั้งใจว่า
- เราจะไม่เอากิเลสตนไปแผดเผาผู้อื่น
- เห็นเสมอกันด้วยธาตุมีใจครอง, กิเลส, กรรม
- พระพุทธเจ้าทรงแผ่ฉัพพรรณรังสีนำไป

๒. มีใจสงเคราะห์ปลดปล่อยสัตว์จากความทุกข์ ดังนี้..
๒.๑) ภายใน คือ ใจถึงกุศล ปราศจากกิเลสความเร่าร้อนแผดเผากายใจ

- ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
- อย่าได้มีเวรภัย ความโกรธ เกลียด ชิงชัง ซึ่งกันและกันเลย
- อย่าได้มีความพยายาท ผูกแค้น มุ่งร้ายซึ่งกันและกันเลย
- อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจ อย่าได้มีโรคภัยเบียดเบียน อย่าได้มีความหิวกระหาย อย่าได้มีสะดุ้งหวาดกลัวเลย
- ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขกายสุขใจ กินอิ่ม หลับสบาย กายใจเป็นสุข รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ



------------------------------------


คนทุกคนมีร่างกายเหมือนเรา กินแล้วก็ต้องขี้ กินแล้วก็ต้องฉี่เ หมือนกัน เสมอกันไม่ว่าเราหรือใคร

- เรามี เรากิน เราอยู่ เขาก็มี เขาก็กิน เขาก็อยู่
- เขามีรัก ชัง กลัว หลง เราก็มีรัก ชัง กลัว หลง
- เราไม่มีอะไรต่างจากคนอื่นเลย เขาก็เหมือนเรา เราก็ไม่ต่างจากเขา เผลอๆคนอื่นเขาใจสะอาด กายสะอาดกว่าเดราด้วยนะ

- ให้มองคึนอื่นเสมอเหมือนตัวเอง แล้วเมตตาคนอื่นด้วยความเอ็นดู เราอยากให้้คนรักเราก็รักคนอื่น เราอยากให้คนอื่นคิดดีกับเรา เราก็คิอดดีีกับคนอื่น เราอยากสบายไม่มีทุกข์ อยากอยู่เป็นสุขโดยไม่มีรัก ชัง กลัว หลง เราก็เมตตาคนอื่นให้คนอื่นอยู่เป็นสุขไม่มีทุกข์ ปราศจากรัก ชัง กลัว หลง เหมือนเรา
- เวลาเจอใคร เกลียดสิ่งใด ให้ตั้งใจแผ่เอาความปารถนาดีมีสุขต่อเขา เสมอเหมือนเราต้องการให้มีความสุขกายสบายใจเหิดขึ้นกับเรา แผ่ให้เขาไป
..ไม่ว่ากายเรา กายเขาก็เป็นของสกปรกเสมอกัน เป็นของที่มีความเสื่อมโทรมอยู่ตลอดเวลา เราจะำไปรังเกลียดสิ่งที่เสมอเหมือนตัวเรา ก็เท่ากับเรารังเกลียดตัวเอง แผ่เอาใจที่ปราศจากความเกลียดชัง ด้วยใจยินดี เต็มใจ เข้าใจทุกอย่าง เข้าใจโลก เข้าใจความเสมอกัน ควรเอื้อเฟื้อกัน
..หากไปเจอที่สกปรกไม่ดี เราก็เลือกสถานที่ที่สะอาดที่ดีที่พอเหมาะกับเรา หากเลี่ยงสถานที่นั้นไม่ได้ก็ให้เราทำความสะอาดพื้นที่นั้นๆให้พอดีที่เราจะอยู่จะใช้มันได้
..เราทำความสะอาดให้ไปก็เป็นทานบารมีแก่เรา ดังนั้นเราทำไปอย่าไปคิดว่ายุงยากน่ารำคาญ แต่คิดว่าสละทำให้เป็นทาน นี้ได้ทานบารมีด้วย
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #408 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 11:08:06 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
..แก้โรควิตกกังวล..

สงบนิ่ง หายใจเข้านึกถึงความว่าง โล่ง เบา เย็นใจ
หายใจออก นึกถึงความผ่อนคลายๆ สบายกายใจ

ทำสิ ทำเพราะรู้ว่ามันคือสิ่งดี คือชีวิต คืออนาคตเรา คือยารักษาบำบัดจิตเรา รักษาจิตก็แก้ด้วยจิต ดังนั้นให้ตั้งใจมทำ เบื่อก็ทำเพราะเป็นยารักษาบำบัดจิตเรา เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องกินยารักบำบัด

- เวลาที่ฟุ้งซ่านเป็นเวลาที่เหมาะแแก่ ปัสสัทธิ คือ ความสงบใจ

- ความสงบจะมีลักษณะอาการที่..ผ่อนคลาย ปล่อย ละ วาง ไม่ยึด ไม่เกาะ ไม่เกี่ยว ไม่จับ ไม่คิดสิ่งใด มันว่าง โล่ง เบา เย็นใจ เป็นที่สบายกายใจ จิตใจเป็นอิสระสุข พ้นจากเครื่องผูกมัดร้อยรัดหน่วงตรึงใจทั้งปวง



- เวลาเราคิดถึงมัน ให้รู้ว่าเราคิดเรื่องลามกอีกแล้ว แล้วก็ระลึกในใจว่า..คิดหนอๆ (รู้ตัวว่าเรากำลังคิด) แล้วก็ให้รู้ตัวว่าความคิดนั้นมันมีโทษ มันทำให้เราทรมานร้อนรุ่มกายใจอยู่ปกติเย็นนใจไม่ได้ กระสับกระส่ายทรมาน ดังนั้นให้ทิ้งความคิดนั้นไปอย่าสนใจ แล้วไปหาอย่างอื่นทำ ถ้าไม่มีอะไรทำให้อยู่กับปัจจุบัน คือ กำลัง ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ขี้ ฉี่ ขับรถ ทำงาน เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัส ก็ให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ในปัจจุบัน เช่น..

- อยู่อิริยาบถใดก็รู้ แล้วก็ทำใจรู้ว่าเรากำลังทำอิริยาบถนั้นๆอยู่
..ยืนก็ยืนหนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังยืนอยู่) นั่งก็นั่งหนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังนั่งอยู่) นอนก็นอนหนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังนอนอยู่) เดินก็เดินหนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังเดินอยู่) วิ่งก็วิ่งหนอ(รู้ตัวว่ากำลังวิ่งอยู่)

- ทำกิจการงานใดอยู่ก็รู้ว่ากำลังทำงานนั้นๆอยู่ แล้วก็ตั้งใจทำงานนั้นต่อให้เสร็จ
..เรียนอยู่ก็เรียนหนอๆ(รู้ว่าเรากำลังเรียนรู้อยู่ แล้วก็เอาใจจดจ่อการเรียนว่าเรากำลังวิชาอะไร บทไหน หัวข้ออะไร ทำลังเรียนถึงตรงไหน เนื้อหาอะไร)
..อ่านหนังสืออยู่ก็อ่านหนอๆ(รู้ว่าเรากำลังอ่านหนังสืออยู่ แล้วก็เอาใจจดจ่อกับหนังสือที่ออ่านว่า เรากำลังอ่านวิชาอะไร บทไหน หัวข้ออะไร กำลังอ่านถึงตรงไหน เนื้อหาอะไร)
..กินอยู่ก็กินหนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังกินอยู่) ขี้อยู่ก็ขี้หนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังขี้อยู่) ฉี่อยู่ก็ฉี่หนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังฉี่อยู่) ขับรถก็ขับรถหนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังขับรถอยู่)

- รับรู้อะไรได้ก็รู้
..เห็นก็เห็นหนอๆ(รู้ตัวว่ากำลังเห็นอยู่.. โดยมองในปัจจุบันที่เห็น ไม่คิดสืบต่อเกินกว่าที่เห็นในปัจจุบันจนไหลไปในเรื่องลามก ไม่มองส่วนเล็กส่วนน้อย รู้อยู่เฉพาะปัจจุบันที่เห็นไม่คิดสืบต่อ ไม่ให้ความสำคัญใจแล้วก้อปล่อยมันไป)
..ได้ยินก็ได้ยินหนอๆ(รู้ตัวว่าได้ยินเสียง ทำใจแค่รู้ว่าหูได้ยินเสียง ไม่ให้ความสำคัญใจแล้วก็ปล่อยมันไป)
..ได้กลิ่น ได้รู้รสอะไรก็รู้ว่าได้กลิ่น ได้รู้รส สัมผัสกาย ก็แค่รู้ว่าสัมผัสไม่คิดสืบต่อเกินกว่าที่เรารับรู้ไหลไปเรื่องลามก
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #409 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 11:10:06 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ธัมมะจักรกัปปวัตนสูตรโดยย่อ

กล่าวโดยย่อ

ก. ทุกข์ เป็นความไม่สบายกายใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจทั้งหลาย คือ ความมีใจครอง
..เพราะมีใจครองจึง ตัณหา มีภพ มีชาติ มีขันธ์ ๔ และ ขันธ์ ๕
 
ข. สมุทัย เป็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง
..เพราะความไม่รู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ จึงหลงไป จึงรู้สึกในผัสสะ จึงเสวยสมมติเวทนาทางให้หลงไปตามสมมติที่กิเลสวางไว้หลอกจิตทางสฬายตนะ

ค. นิโรธ เป็นความดับทุกข์ คือ ความไม่มีใจครอง
..เพราะไม่มีใจครอง จึงไม่มีตัวตน ไม่มีการแสวงหา และอุปาทานในสิ่งอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์นั้นอีก ภพจึงไม่มี ชาติจึงไม่มี ขันธ์ ๔ และ ขันธ์ ๕ จึงสิ้นไป จิตถึงความเบิกบานพ้นแล้วจากสมมติ

ง. มรรค เป็นทางดับทุกข์ คือ ความรู้เห็นตามจริงต่างจากสมมติ
..เพราะรู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ ดังเช่นว่า..โลกียธรรมอยู่ด้วยกิเลสเพราะความไม่รู้, กิเลสฟุ้งด้วยมีใจครอง, โลกดำรงอยู่ด้วยธาตุอันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์, ของแท้จริงแล้วไม่มีอะไรให้ติดใจข้องแวะได้เลย หาประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ มีแต่สมมติทั้งนั้น, จิตจึงตื่นจากสมมติ ดึงกิเลสขึ้นเพื่อเกี่ยวตัดกิเลสตัณหาอุปาทานออกจากจิต(ญาณ)ด้วยปัญญา

   หากผิดพลาดประการใดขอพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ และท่านผู้รู้ทุกท่านอดโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
..ด้วยเพราะข้าพเจ้าเป็นเพียงปุถุชนผู้น้อมใจไปในโลกกุตระตามที่พระอริยะสาวกบรรลุบทอันกระทำแล้ว แต่เพราะยังปุถุชนอยู่สมมติจึงยังมีมาก ยังรู้เห็นแค่เพียงโลกียะแบบโลกๆ จึงรู้เห็นได้เพียงเท่านี้ พละ ๕ ยังไม่ใี เพิ่งสะสม อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ยังไม่ถึงธรรมแท้ กิเลสตัณหายังมีมากปิดกั้นอยู่, ยังสะสมเหตุอยู่,  ยังไม่มีทาน ศีล ภาวนา, ยังไม่ถึงศีล สมาธิ ปัญญาอันแท้จริง ..แต่ด้วยพราะวันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา วันที่พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบ 3 ประการ จึงใคร่ขอแสดงหัวใจพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร คือ พระอริยะสัจ ๔ มาโดยย่อมาดังนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 11:12:41 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #410 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 11:13:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เรื่องการดูดวงสำหรับคนไบโพล่าจนเกิดการเกลียดชังมุ่งร้าย ให้รู้ว่าแท้จริงมันแค่สิ่งที่คาดเดาเอาเท่านั้น

..ดังนั้นถ้าอบรมกายใจดังนี้ ก็ไม่ต้องกลัว หรือใส่ใจเรื่องใส่ร้ายอะไรอีก และจะไม่ทุกข์อีกเลย

1. อบรมจิตตัวเองให้ผ่องใส มีกำลังใจดี มีพลังจิต มีความฟุ้งซ่านน้อยลงจนหมดไป โดย
- ฝึกสงบนิ่ง ระลึกถึงความว่าง โล่ง เบา เย็นใจ ไม่มีความคิด
- ทำสมาธิ หายใจเข้า..ระลึก พุท. ..หายใจออก..ระลึก โธ.

2. ไม่เห็นแก่ตัว ใจกว้าง มีใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น เสมอด้วยตน
..คือ เอ็นดูปรานีต่อผู้อื่น อยากให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์สุขสำเร็จ เช่นเดียวกันกับที่เราได้รับ หรือที่เราต้องการมี

3. เว้นจากการคิดร้าย มุ่งร้าย หมายทำลายผู้อื่น  เว้นจากการพูดหยาบคาย ดุด่า ใส่ร้ายให้คนอื่นเสียหาย เว้นจากการกระทำที่มุ่งร้าย เบียดเบียนทำร้ายร่างกายจิตใจผู้อื่น หรือ มีศีล ๕ เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2022, 02:23:12 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #411 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2022, 02:56:18 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เอาพรหมิวิหาร ๔ เป็นอารมณ์กรรมฐานในภายในกายใจตน ฝึกพรหมวิหารเจโตวิมุตติ

เมตตา มีรูปนิมิต เอาความสุขอันเนื่องด้วยกายเป็นอารมณ์ ความสุขกายลงใจ มีปกติกายบริบูรณ์ ไม่ลำบากกาย อิ่มหนำสำราญ อุปาทินนกรูปทั้งปวง
- แผ่ไปภายนอกสุขด้วยความมีอุปาทินกรูปอันเกิดแต่กรรมเสมอกัน ที่จิตสัตว์จรมาอาศัยนี้มีความบริบูรณ์ ้เป็นสุขสำเร็จ สวัสดี สำราณ สบาย

กรุณา มีอรูปนิมิต เอาความสุขที่เนื่องด้วยใจไม่อาศัยกายกำกับเป็นอารมณ์ โดยอาศัยความเสวยธัมมารมณ์ความรู้สึก จิตสบาย เย็นใจ ไม่เร่าร้อน
- แผ่ไปภายนอกด้วยใจปราศจากกิเลสทุกข์เครื่องเร่าร้อนใจทั้งปวงเสมอกัน ไม่ยึดเสิ่งภายนอกที่เนื่องด้วยกาย ยังใจให้อยู่เย็นเป็นสุข

มุทิตา มีจิตตนิมิต เอาดวงจิตอันสว่างไสวไม่เศร้าหมอง มีความรู้เป็นอารมณ์ สุข-ทุกข์เกิดที่จิต จิตสุขเพราะไม่เสพย์ทุกข์ จิตทุกข์เพราะไม่เสพย์สุข เพราะมีธัมมารมณ์สิ่งที่จิตรู้เป็นอามิสเครืองยึดเสพย์ พึงรู้ธัมมารมณ์ควรเสพย์
- แผ่ไปด้วยความมีจิตแจ่มใสเบิกบาน มีใจเแอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ยินดีเสมอกัน มีความไม่เศร้าหมองแผ่ไป

อเบกขา มีความไม่มี ความสบาย ความสละคืนเป็นอารมณ์ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ คือ ไม่ยยึดธัมมารมณ์ สัพเพธัมมาอนัตา ธรรม(ธรรมารมณ์)ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน สึุขเพราะไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ เพราะธัมมารมณ์มีความแปรปรวนตลอดเวลา ไม่เที่ยง อยู่เหนือดการคควบคุม เป็นทุกข์ เมื่อทำไว้ในใจต่อธัมมารมณ์ใดล้วนแล้วแต่มีผลสบต่อทั้งสิ้น
- แผ่ไปด้วยความว่าง ความไม่มี ความไม่ยึดเสพย์ ถึงความละเว้นการการกระทำต่อธัมมารมร์ทั้งปวง ความสละคืนทั่วกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2022, 03:22:08 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #412 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2022, 11:29:59 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ซึมเศร้าต้องเมตตาตนเอง ไบโพล่าต้องเมตตาผู้อื่น

แต่ทั้ง 2 อย่าง ต้องมีสติสัมปะชัญญะ โดยฝึกมหาสติปัฏฐาน ๔ ให้รู้ปัจจุบันก่อนเป็นหลักสำคัญ

แล้วก็เอา เมตตานี้ใช้คู่กับอานาปานสติในหมวดกาย และใจ ในหมวดเวทนากับจิต เมื่อคล่องแล้วก็ใช้คู่ดับ สติปัฏฐานทั้ง ๔
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #413 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2022, 11:41:27 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
(1.) แก้เป็นคนคิดมาก ย้ำคิด ย้ำทำ เอาใจไปผูกเกี่ยวไว้ในทุกๆเรื่อง ทั้งในสิ่งที่รัก ที่ชัง ที่กลัว ที่ไม่รู้ความจริง

     ..เวลาเก็บอะไรมาคิดก็นึกเสียว่า ติดใจข้องแวะไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ติดใจข้องแวะไปก็มีแต่ทุกข์ ไม่ติดใจข้องแวะก้อไม่ทุกข์ ..ดังนั้นให้คิดเสียว่าอย่าไปติดใจข้องแวะมันเลย ช่างมัน ปล่อยมันไปบ้าง ให้จิตเราได้พักบ้าง
     ..โดยให้รู้ตัวว่า..เราเอาใจไปข้องเกี่ยวผูกใจไว้กับสิ่งนั้นๆมากไปจนเกินความจำเป็นให้ถูกทุกข์หยั่งเอาแล้ว เราควรปล่อย ควรละ ควรวางมันลงได้แล้ว ไม่ควรใส่ใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับสิ่งนั้นๆจนเกินความจำเป็นที่จะรับรู้ หรือทำในสิ่งนั้นๆ
     ..แล้วทำไว้ในใจถึงความปล่อย ความละ ความวาง ความสละคืน ความไม่ข้องเกี่ยวอีก คลายเงื่อนปมที่ผูกใจไว้ มีใจสลัดออกจากสิ่งนั้นๆ โดยสำเนียกไว้ในใจว่า..

..ติดใจข้องแวะ 100% ก็ทุกข์ 100%

..ติดใจข้องแวะ 75% ก็ทุกข์ 75%

..ติดใจข้องแวะ 50% ก็ทุกข์ 50%

..ติดใจข้องแวะ 25% ก็ทุกข์ 25%

..ไม่ติดใจข้องแวะเลย ก็ไม่ทุกข์เลย

..หมายเหตุ..
     ๑. ติดใจ แปลว่า ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับสิ่งนั้นๆ ในความพอใจยินดี และไม่พอใจยินดี มีความติดตรึงใจยินดี, ข้องใจยินร้าย
     ๒. ข้องแวะ แปลว่า ใส่ใจให้ความสำคัญ, ข้องเกี่ยว
     ๓. ติดใจข้องแวะ แปลว่า ใส่ใจข้องเกี่ยวให้ความสำคัญมั่นหมายของใจในความพอใจยินดี และไม่พอใจยินดี

(2.) แก้เป็นคนคาดหวังกับทุกสิ่ง แคร์คนอื่นไปทั่ว

     ..อย่าเอาความสุขสำเร็จของตัวเองไปผูกขึ้นไว้กับคนอื่น สุข-ทุกข์มันเกิดขึ้นที่กายใจเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร
     ..ดังนั้น อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนเองไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น อย่าเอาเขามาเป็นชีวิต เป็นสุขทั้งชีวิตของเรา ให้รู้จักปล่อยผ่าน รู้จักละ รู้จักวาง ง
     ..ไม่ตั้งความคาดหวังปารถนา ที่จะได้รับผลการตอบสนองกลับให้เป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการจากใคร เพราะเราไม่อาจจะไปคาดหวังปารถนากับสิ่งใดๆในโลกได้ ด้วยไม่มีอำนาจที่จะไปบังคับ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มีความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาจากใครได้
     ..ให้เอาใจมารู้อยู่ที่ปัจจุบัน รู้ลมหายใจ รู้ว่าตนกำลังทำอะไรอยู่ในปัจจุบัน ให้รู้หน้าที่ รู้กิจการงานสิ่งที่ตนต้องทำ สิ่งที่ถูก ที่ควรทำ กล่าวคือ รู้ธัมมารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง) ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์ ได้แก่..

- รู้ความพอใจยินดีต่อารมณ์(โสมนัส) ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์

- รู้ความไม่พอใจยินดีต่ออารมณ์(โทมนัส) ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์

- รู้ความวางเฉยต่ออารมณ์(อุเบกขา) ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์

กล่าวคือ…

- สิ่งใดมีคุณ มีประโยชน์สุขสำเร็จ ทำให้จิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน กุสลพอกพูน มีความรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ ไม่หลงลืม ตั้งอยู่โดยความไม่ประมาท
  ..สิ่งนั้นควรเสพย์

- สิ่งใดไม่มีคุณ ไม่มีประโยชน์ มีโทษ เป็นทุกข์ ยังความเสื่อมมาให้ ไม่รู้ตัว เป็นผู้หลงลืม ตั้งอยู่โดยความประมาท
  ..สิ่งนั้นควรละ

(3.) แก้เชื่อคนง่าย อ่อนไหวง่าย ใจง่าย เจ้าอารมณ์

     ..ใช้ปัญญา ตรองพิจารณารู้เห็นตามจริง ไม่ใช้ความรู้สึกเป็นที่ตั้ง
     ..กล่าวคือ..ความรัก โลภ โกรธ หลง มันคือสมมติกิเลสของปลอมที่วางไว้ล่อจิตให้หลงตาม สิ่งใดมีเกิดขึ้น ก็สักแต่ว่ารู้ว่ามันเกิด แล้วก็ปล่อยมันไป ช่างมัน อย่าสนใจให้ความสำคัญกับมัน อย่าใส่ใจสิ่งที่จิตรู้นั้น
     ..ให้เอากายใจเรามาอยู่กับปัจจุบัน รู้ตัวทั่วพร้อมว่ากำลังทำอะไร ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ฉี่ ขี้ ทำงาน อยู่สภาพแวดล้อมใด ที่บ้าน ที่ตลาด ร้านอาหาร ที่ทำงาน ปัจจุบันตรงหน้าคืออะไร ทำงาน ประชุม เขียนงาน ดูงาน ปฏิบัติงาน ดูหนัง ฟังเพลง พูดคุย เห็นหรือฟังก็รู้แค่ในสิ่งที่เห็นที่ฟังในปัจจุบันไม่คิดสืบต่อเกินความจำเป็นที่จะต้องทำ
     ..ง่ายที่สุด คือ เอาจิตมารู้ลมหายใจ เพราะลมหายใจคือของจริงไม่ปรุงแต่งสมมติ, เป็นของไม่ปรุงแต่ง, ไม่ใช่เครื่องปรุงแต่งจิต"
- หายใจเข้าบริกรรม พุท ลากเสียงยาวสั้นตามลมหายใจเข้ายาวหรือสั้น
- หายใจออกบริกรรม โธ ลากเสียงยาวสั้นตามลมหายใจออกยาวหรือสั้น
- พุทโธ คือ องค์พระ พุทโธ คือ กิริยาจิต เป็นความรู้ของจิต ดังนี้..

๑. กิริยาจิตที่ รู้ ..รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ คือ..
..รู้เห็นสมมติ คือ รู้ว่า..รัก โลภ โกรธ หลง สิ่งที่จิตรู้นี้ คือ สิ่งที่ปรุงแต่งอารมณ์ให้จิตหลงตาม ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ก็ไม่ยึดสมมติ
..รู้ของจริง คือ ลมหายใจเป็นสิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง เป็นที่สงบ สบาย ไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ
..รู้ปัจจุบัน คือ รู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันว่า กำลังรู้สึกนึกคิดอะไร กำลังทำกิจการงานใดๆอยู่ รู้ในปัจจุบันเพียงสิ่งที่เห็น ที่ได้ยิน ที่รู้กลิ่น ที่รู้รส ที่รู้สัมผัสกาย ที่รูปสัมผัสใจ คือ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง รู้โดยไม่คิดสืบต่อเรื่องราวจากมันเกินสิ่งที่รู้อยู่ในปัจจุบันนั้นๆ นี้คือ จิตเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้

๒. กิริยาจิตที่ ตื่น ..ตื่นจากสมมติกิเลสของปลอม คือ..
..เมื่อรู้ว่าสมมติกิเลสของปลอมเกิดขึ้น แล้วทำใจออกจากสมมติกิเลสของปลอมนั้น ไม่จับยึดสมมติกิเลสของปลอมอีก ..แล้วมารู้แค่ของจริง รู้อยู่ที่ปัจจุบัน ทำได้โดย..
..ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ แล้วมารู้ลมหายใจ อันเป็นของที่ไม่ปรุงแต่งจิต ไม่ปรุงแต่งสมมติ รู้ปัจจุบันที่เป็นของจริงไม่คิดสืบต่อสมมติกิเลสจองปลอมจากสิ่งที่รู้อยู่ในปัจจุบัน

๓. กิริยาจิตที่ เบิกบาน ..เบิกบานพ้นจากสมมติกิเลสของปลอม จิตผ่องใส เบิกบาน เบา ว่าง โล่ง สงบ สยาย เย็นใจ ไม่เร่าร้อน
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #414 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2022, 12:05:50 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
จิตที่เป็นปกติ คือ จิตที่ผ่องใส เบิกบาน มีลักษณะที่เบา โล่ง ไม่มีความหน่วงตรึงจิต เย็นใจ ไม่มีความติดใจข่องแวะสิ่งไรๆ รู้สิ่งใดก้อไม่มีใจเข้ายึดครองร่วมเสพย์ จิตมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่อ่อนไหวไหลตามซ่านไปกับสิ่งใด..กล่าวคือ จิตไม่มีกิเลสนั่นเอง

- จิตมีปกติไม่ติดใจข้องแวะ เพราะจิตตั้งมั่น
- จิตมีปกติตั่งมั่น เพราะจิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง
- จิตมีปกติอยู่ได้ด้วยตัวเอง เพราะจิตมีกำลัง
- จิตมีปกติมีกำลังใจดี เพราะเบาใจไม่หน่วงตรึงจิต
- จิตมีปกติเบาใจไม่หน่วงตรึงจิต  เพราะปล่อย
- จิตมีปกติที่ปล่อย เพราะจิตผ่อนคลาย
- จิตมีปกติผ่อนคลาย เพราะจิตไม่ยึดจับ
- จิตมีปกติไม่ยึดจับ เพราะจิตถึงความอิ่มเอมใจ
- จิตมีปกติอิ่มเอมใจ เพราะแช่มชื่น
- จิตมีปีปกติแช่มชื่น เพราะผ่องใส
- จิตมีปกติผ่องใส เพราะมีความเย็นใจ
- จิตมีปกติเย็นใจ เพราะจิตอยู่ด้วยกุศล
- จิตมีปกติอยู่ด้วยกุศล เพราะจิตเป็นศีล
- จิตมีปกติเป็นศีล เพราะจิตมีปกติเว้นจากความเบียดเบียน
- จิตมีปกติเว้นจากความเบียดเบียน เพราะจิตรู้จักสละให้ ละความปรนเปรอตน ไม่เห็นแก่ตัว
- จิตมีปกติสละให้ ละความปรนเปรอตน ไม่เห็นแก่ตัว เพราะจิตมีปกติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
- จิตมีปกติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เพราะเห็นเสมอด้วยตน
- จิตมีปกติเห็นความเสมอด้วยตน เพราะจิตมีปกติเห็นในโลกธรรม ๘
- จิตมีปกติเห็นโลกธรรม ๘ เพราะกำหนดหมายรู้ในไตรลักษณ์
- จิตมีปกติกำหนดหมายรู้ในไตรลักษณ์ เพราะมีหิริพละ โอตัปปะพละ
- จิตมีปกติอยู่ด้วยหิริพละ โอตตัปปะพละ เพราะจิตมีปกติตั้งอยู่ด้วยศรัทธา ๔
- จิตมีปกติตั้งอยู่ด้วยศรัทธา ๔ เพราะจิตมีปกติรู้เห็นตามจริงในกรรม
- จิตมีปกติรู้เห็นตามจริงในกรรม เพราะรู้เห็นในอุปาทินนกรูป อุปาทินนกสังขาร
- จิตรู้เห็นตามจริงในอุปาทินนกรูป อุปาทินนกสังขาร เพราะได้รู้พระสัทธรรม
- จิตได้รู้พระสัทธรรม เพราะพบเจอสัปปะบุรุษ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2022, 12:08:10 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #415 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2022, 12:23:35 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานก่อนวันเข้าพรรษา ปี 2564 การฝึกอบรมจิตให้เป็นปกติ

ก. มีสติรู้อยู่ในอารมณ์ความรู้สึกสึกทั้งปวงที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ทำไว้ในใจถึงความไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งทั้งปวง มีใจผลักออกจากอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ

ข. มีความสำเหนียกอยู่ว่าเราจักไม่ยึดจับสิ่งใด ..หายใจเข้า ..จิตลอยขึ้นพ้นอารมณ์ความรู้สึกทั้งปวง ถึงความว่างโล่ง เบา เย็นใจ

ค. มีความสำเหนียกอยู่ว่าเราจักปล่อย ..หายใจออก ..ผ่อนคลาย เบา สบายใจ

ฝึกทำบ่อยๆสะสมเหตุจนเป็นปกติจิต จะทำให้..เมื่อจิตรู้ว่า ราคะ โทสะ โมหะเกิดขึ้น คลองจิตนั้นควรทำอย่างไร จนเข้าถึงสภาวะตัดแม้เพียงแค่คิดสำเหนียกในใจว่า.. อย่าไปติดใจข้องแวะมันเลย ติดใจข้องแวะร้อย-ก็ทุกข์ร้อย, ไม่ติดใจข้องแวะเลย-ก็ไม่ทุกเลย

ข้อนี้มิใช่ธรรมอื่นใดไกลตัว มิใช่ธรรมเพื่อสละคืนอันสูงเกิน ธรรมทั้งหมด คือ .."อานาปานสติ+เมตตาตนเอง"..เท่านั้นเอง ถ้าหากเราเคยทำได้เข้าถึงได้ เราก็ทำสิ่งยากให้ง่ายได้ ทำของง่ายให้สูงยิ่งๆขึ้นไปได้ เหมือน พุทโธ จากเพียงคำบริกรรมถ้าจิตเข้าถึงพุทธะ ถึงคุณพระพุทธเจ้าได้แล้ว พุทโธ ก็จะเป็นกิริยาจิตของเรา คือ..
- ผู้รู้..จิตรู้ปัจจุบัน จิตรู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ
- ผู้ตื่น..จิตตื่นจากสมมติ จิตมาจับรู้ของจริง ไม่ข้องจับสมมติ
- ผู้เบิกบาน..จิตเบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม พ้นจากสมมติธัมมารมณ์ความรู้สึกทั้งปวง

- ขั้นต้น ที่ได้นี้ก็เป็นปกติจิต จิตมีความปกติ
- ขั้นกลาง จิตก็ทรงอยู่โดยมรรค
- ขั้นสุด จิตก็ถึงความตัด จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้(คือหมดสิ้นทุกข์แล้ว)



บันทึกสืบต่อการกรรมฐาน

...ครั้นแล้วเมื่อข้าพเจ้าเจริญกรรมฐานตามที่หลวงปู่บุญกู้ พระอาจารย์ธัมมะวังโส และพระครูนกแก้วสอน ประกอบกับนั่งสมาธิฟังเทศนาของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงตาศิริ อินทรสิริ และสิ่งที่หลวงพ่อเสถียรสอนโดยตรงให้แก่ข้าพเจ้า จิตอยู่อย่างนี้ตามนี้ ด้วยความเห็นดั่งในขั้นต้น ขั้นกลาง และที่สุดอย่างนั้น แล้วจึงเจริญเข้าสู่..พระธัมมจักกัปปะวัตนะสูตร , อนัตตลักขณะสูตร , อาทิตตปริยายสูตร ตลอดจนอานาปานสติ กสิน พรหมวิหาร ๔ สืบต่อในมหาสติปัฏฐาน ๔ ทำให้สิ่งที่ไม่เคยเข้าใจเลยมาตลอดชีวิต ไม่เคยมี ไม่เคยได้ยิน ได้ฟังจากใคร ก็บังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าตามแต่อธิบายบางส่วนในพระสูตรนั้นไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังรู้อย่างงูๆปลาๆ อย่างปุถุชนคนโง่เขลากิเลสหนายู่ ซึ่งการคิดอนุมานเอามีมากกว่าเห็นสภาพจริง จึงยังมีของปลอมอยู่มาก เพราะยังไม่สามารถแทงตลอด แ ต่ก็ทำให้รู้ได้ว่า ธรรมของสมเด็จพระบรมศาสดานี้เป็นของจริง สามารถรับรู้และเห็น พร้อมเข้าถึงได้จริง ไม่จำกัดกาล เป็นอกาลิโก ควรแก่โอปะนะยิโก คือน้อมมาสู่ตน ดังนี้...


ฮืม? นั่งภาวนาก็หวังเอาจิต จิตคือ ผู้รู้ จิตคือ พุทโธ
ฮืม? อยากได้จิตก็จับเอาลมหายใจไปก่อน เพราะจิตอยู่ในลมหายใจ ผู้รู้ คือ พุทโธ คือ จิต
ฮืม? เอาพุทโธ มาทำไม? เอามาเป็นสรณะที่พึ่ง เมื่อเห็นพุทโธแล้ว ก็เอาสติไปจับเอาพุทโธ
ฮืม? เมื่อลมหายใจหาย จะปรากฎเห็นตัวพุทโธ ขึ้นมา พุทโธ คือ ผู้รู้ ไม่มีตัวตน มีแต่ความรู้ รู้อยู่เฉยๆ นั่นแหละ คือ 'จิต' ของเรา
ฮืม? แล้วก็เอาสติ ไปจับเอาจิต /พุทโธ /ผู้รู้ สติก็ไปรับรู้อยู่กับผู้รู้ อยู่อย่างนั้น เป็นอันว่า เราได้ พุทโธ เห็นพุทโธ ได้จิตแล้ว

ฮืม? หลวงตาศิริ อินฺทสิริ ฮืม?

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??

ฮืม? .."พุทโธ คือ ผู้รู้ อาศัยอยู่ที่ลมหายใจ"

ฮืม?.."จิต คือ ผู้รู้ จิตของเรารู้อยู่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น"

ฮืม?.."โลกบังธรรม"..
ฮืม?.."อารมณ์บังจิต"..
ฮืม?.."สมมติบังวิมุติ"..
ฮืม?.."ขันธ์ ๕ บังพระนิพพาน"..

ฮืม?.."เพิกโลกออกจากธรรม"..
ฮืม?.."เพิกอารมณ์ ..ออกจากจิต"..
ฮืม?.."เพิกสมมติ ..ออกจากวิมุตติ"..
ฮืม?.."เพิกขันธ์ ๕ ..เจอพระนิพพาน"..

ฮืม? ..หลวงตาศิริ อินทสิริ.. ฮืม?
..วัดถ้ำผาแดงผานิมิต ต. บัวเงิน
..อ. น้ำพอง จ. ขอนแก่น

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??

    ฮืม?..สมมติกาย..ฮืม?

ฮืม?ทางเข้าถึงต้องอาศัยอุปจารฌาณ ถึงปฐมฌาณ เมื่อมีความแน่วแน่ดีแล้วบังคับได้ ให้ทำการอธิษฐานจิตขึ้นมาพิจารณา(อย่างนี้ยังเป็นการกำหนดหมายรู้กายในกาย ของแท้เมื่อขันธ์แยกจึงเห็นจริงไม่ต้องกำหนด แต่เข้าไปรู้จริงด้วยตัวของมันเอง จิตทำธัมมะวิจยะก็ทำของมันเองเมื่อมรรครวมเข้าสู่สังขารุเปกขา)
ฮืม?ม้างกายอาการ ๓๒ ประการ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่เราหลงออกมาดูว่า..
ฮืม?เส้นผม..เป็นเราไหม
ฮืม?เส้นผม..เป็นตัวตนของเราไหม
ฮืม?เส้นผม..มีเราไหม
ฮืม?มีเราใน..เส้นผมไหม

ฮืม?ย่อมเห็นชัดว่า..
ฮืม?เส้นผม..ไม่ใช่เรา
ฮืม?เราไม่ใช่..เส้นผม
ฮืม?ในเส้นผม..ไม่มีเรา
ฮืม?ไม่มีเราใน..เส้นผม

ฮืม?เมื่อม้างกายเอาอาการ ๓๒ ประการ มากองๆรวมกันไว้ ก็จะรู้ว่าเราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่เรา ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา นั่นไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ฮืม? หลวงพ่อเสถียร ธิระญาโณ ฮืม?

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??

      ฮืม?.. เวทนา ..ฮืม?

ฮืม?..เวทนา คือ ความรู้สึก
ฮืม?..ธรรมชาติอันบุคคลรู้สึกได้
ฮืม?ละราคานุสัย ในสุขเวทนา
ฮืม?ละปฏิฆานุสัย ในทุกขเวทนา
ฮืม?ละอวิชชานุสัย ในอทุกขมสุขเวทนา
     ➖➖➖➖➖➖➖➖
ฮืม?สุขโสมนัสอันใดเกิดขึ้น
ฮืม?เพราะอาศัยเวทนา
ฮืม?นั้นคือรสอร่อยของเวทนา
ฮืม?เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ฮืม?มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ฮืม?นั้นคือโทษเลวทรามของเวทนา
ฮืม?การกำจัด การละเสีย
ฮืม?ซึ่งฉันทราคะในเวทนา
ฮืม?นั้นคืออุบาย ..
ฮืม?เป็นเครื่องออกจากเวทนา..

 ฮืม? อริยสัจจากพระโอษส์ ฮืม?

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม?

   ฮืม? สมมติเวทนาทางกาย ฮืม?

ฮืม?เมื่อเราม้างกายออก เห็นธาตุในอาการ ๓๒ เห็นในธาตุ ๕ มีใจครอง
ธาตุภายในมีอย่างไร ภายนอกก็อย่างนั้น คือ มีแต่แข็ง อ่อน เอิบอาบ เกาะกุมกัน เคลื่อนไหว พอง หย่อน ร้อน เย็น อบอุ่น เผาไหม้ ช่องว่าง ไม่มีเกินนี้เลย
ฮืม?แต่เพราะใจเราสำคัญมั่นหมายไว้ต่ออาการนั้นๆว่า สุข ทุกข์ เฉยๆ ตามความยินดี ยินร้าย กลางๆ จึงยึดหลงไป
ฮืม?เมื่อรู้ดังนี้จะเห็นสมมติเวทนา คือเหตุแห่งกามคุณ ๕ ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ เพื่อละเวทนา, กามคุณ ๕
ฮืม?สุขอันเนื่องด้วยใจ พุทโธ คือ สุขที่แท้จริง

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม?

ฮืม? สมมติเวทนาทางใจ ฮืม?

ฮืม?จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด
ฮืม?จะสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆก็ดี มันเป็นแค่ความรู้สึก
ฮืม?จะชอบ จะชัง กลางๆก็ดี มันก็แค่ความสำคัญมั่นหมายในอารมณ์
ฮืม?ทั้งหมดล้วนเป็นแค่สมมติธัมมารมณ์ ที่กิเลสวางไว้ล่อจิตทางมโนทวาร ให้จิตเราหลงตามเท่านั้น
ฮืม?ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ก็ไม่ยึดสมมติ
ฮืม?ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญ สักแต่ว่ารู้แล้วปล่อยมันไป
ฮืม?ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น
ฮืม?อย่า..ทิ้ง "พุทโธ"
ฮืม?อย่า..ทิ้ง "ลมหายใจ"

  ฮืม? ..หลวงพ่อเสียร ธิระญาโน.. ฮืม?

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??

     ฮืม?..สมมติจิต..ฮืม?

ฮืม?จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด
ฮืม? รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย สัมผัสใจ ความรู้สึกนึกคิดในรัก ใคร่ อยาก โลภ โกรธ เกลียด ชัง กลัว หลง
ฮืม?ทั้งหมดล้วนเป็นแค่สมมติธัมมารมณ์ที่กิเลสวางไว้ล่อจิตทางมโนทวารให้หลงตามเท่านั้น ของจริงมันดับไปแล้ว แต่ใจเราเอามาตรึกนึก ด้วยหมายรู้ แล้วคิดสืบต่อเรื่องราวตามความจำได้หมายรู้ทำให้เหมือนมันเพิ่งเกิดขึ้น
ฮืม?ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้..ก็ไม่ยึดสมมติ
ฮืม?ลมหายใจนี้ของจริง
ฮืม?อย่าทิ้ง "พุทโธ"..อย่าทิ้ง "ลมหายใจ"

ฮืม? หลวงพ่อเสถียร ธิระญาโน ฮืม?

    ฮืม? ธัมมานุปัสสนา ฮืม?

ฮืม?ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย
ฮืม?..เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป.
ฮืม?ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้
ฮืม?..เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา.
ฮืม?ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม
ฮืม?..เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา.
ฮืม?ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่งให้เป็นของปรุงแต่ง
ฮืม?..เหตุนั้นจึงเรียกว่า สังขาร
ฮืม?ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง
ฮืม?..เหตุนันจึงเรียกว่า วิญญาณ.

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ใช่ตัวตน มีสติตั้งมั่นอยู่ ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักแต่ว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??

  ฮืม? ขันธ์ ๕ ฮืม?

ฮืม?รูป อาศัยธาตุที่พ่อแม่ให้มา ให้จิตเราอาศัยชั่วคราว แล้วก็สลายไป
ฮืม?เวทนา มันจะสุข จะทุกข์ จะเฉย มันก็ไม่เคยมีเราในนั้น ไม่เป็นไปเพราะเรา
ฮืม?สัญญา มันจะจำได้หมายรู้สิ่งใด มันไม่มีเราในนั้นเลย สิ่งที่จำก็ไม่มีปัจจุบันที่เป็นเราเลย
ฮืม?สังขาร มันจะปรุงแต่งจิตอารมณ์ใด นึกคิดสิ่งใด มันก็ไม่มีเราในสิ่งที่ปรุงแต่งนึกคิดนั้นเลย
ฮืม?วิญญาณ มันรู้ๆทุกอย่าง แต่สิ่งที่มันรู้ไม่มีเราในนั้นเลย

ถ้า ขันธ์ ๕ เป็นเรา เมื่อผมร่วง เวทนา,.,.ฯ ดับ เราก็ตายตามมันไปแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ จึงมีไว้แค่ให้ระลึกรู้

    ฮืม? นิวรณ์ ๕ ฮืม?

๑.) กามฉันทะ ให้ภาวนา อสุภะสัญญา /เห็นภายในภายนอก

๒.) พยาบาท ให้ภาวนา อัปปมัญญา ๔ เห็นเสมอด้วยอุปาทินกะสังขาร

๓.) ถีนมิทธะ ให้ภาวนา อนุสสติ ๗
ฮืม?ในสมาธิ : อาโลกสัญญา+สัมมัปปธาน ๔

๔.) อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนา จงกรมธาตุ ยืน (ปฐวี) /ยกส้นขึ้น (เตโช) /เคลื่อนเท้า หน้า หลัง ข้าง (วาโย) /หย่อนเท้าลง (อาโป) /ยืน (ปฐวี)
ฮืม?ในสมาธิ : อานาปานสติ /อุปสมานุสสติ อุเบกขามีมากใจ /เมตตาตนเอง+อานาปานสติ ไม่ยึดสมมติความคิด ทำใจว่าง โล่ง ผ่อนคลาย ถึงความไม่มี ความสละคืน

๕.) วิจิกิจฉา ให้ภาวนา ธาตุ ๔, ๖

ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม??





    ...ทั้งหมดนี้ คือ ธรรมของพระอริยะสาวกผู้ปฏิบัติตรงแล้วของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่ปุถุชนเข้าไปรู้เห็นได้ ถึงได้ เมื่อถึง จิตจะทำความรู้ด้วยตัวมันเองว่า อีกประมาณเท่าไหร่หนอเมื่อเข้าสู่สภาวะอีกจะบรรลุธรรมใดธรรมกหนึ่ง หรือ เมื่อยังธรรมใดให้เกิดขึ้นจะเข้าถึงธรรมนั้นโดยแท้
- หากเป็นโลกกียะมันก็แปรปรวนกลับกรอก แล้วก็ดับใด
- หากเป็นโลกุตรจะไม่แปรปรวรกลับกรอก

    ...วิธีการข่มใจไว้(ทมะ) การปักใจไว้(ขันติ) การมีใจปล่อย(ปัสสัทธิ) การมีใจเบาโล่ง(ปิติ) การมีใจตั้งมั่นรู้ในภายในมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่กวัดแกว่ง(สมาธิ) การละใจ(อุเบกขา) การมีใจสละคืน(จาคะ)..
- ละปฏิฆะอาศัยฉันทะ เมตตาเจโตวิมุตติ ทาน จาคานุสสติ ความเสมอด้วยขันธ์ ๕ ความเสมอด้วยสังขารปรุงแต่งจิต ความเสมอด้วยกิเลส ความเสมอด้วยวิญญาณขันธ์ ความเสมอด้วยจิต เห็นอนิจจสัญญา อนัตตตสัญญา ความเสมอด้วยธาตุ ๖
- ละฉันทะ อาศัยธัมมะวิจยะ ม้างกาย ม้างจิต เห็นอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภะสัญญา เห็นธาตุ ๖ ถึงความอิ่ม
- ละอุเบกขาที่ไม่ควรเสพย์ อาศัยจิต อาศัยธรรม(ธรรม คือ ธัมมารมณ์ ความรู้แจ้งธัมมารมณ์ รู้ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์) อนิจจสัญญา อนัตตสัญา หมายมั่นครอบครองเป็นทุกข์

- สุญญตา คือเห็นโลกเป็นของว่าง ..ที่ว่าว่างนี้..คือว่างจากความเป็นตัวตนบุคคลใด เห็นธรรมชาติของโลกที่มีแต่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เหนือการควบคุม เป็นทุกข์ เป็นธรรมธาตุ ไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเกินนี้ มีแต่ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน
- นี้เรียกการเข้าถึงความไม่มีนั่นเอง ซึ่งมีแต่พระอริยะสาวกเท่านั้นที่ทำได้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2022, 11:40:47 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #416 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2022, 10:55:19 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
กามเกิดมาจากอะไร เรารู้เห็นอะไร -> เราเห็นแล้วนึกถึงอะไร -> เราคิดยังไงกับสิ่งที่เห็นนั้น -> เราให้ความสำคัญใจไว้ยังไงกับสิ่งที่รู้เห็นนั้น -> เราชอบใจตรงไหน -> ตรางตรึงใจสิ่งใด -> เพราะอะไร -> เราจะถอนมันยังไง

การถอด คือ ตามรู้ความรู้สึก ตามรู้อาการ หรือ พิจารณาอสุภะต่อสิ่งที่เห็นนั้น หรือรู้ว่าราคะเกิดแล้วเปลี่ยนอารมณ์ หรือข่มใจไว้ หรือกำหนดรู้ทุกข์ หรือมองเป็นอนิจจัง หรือมองเป็นอนัตตา
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #417 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2022, 11:07:27 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

คาถากันราคะ

ข้าพเจ้าโชคดีที่ครูผู้เป็นพระอริยะสาวกได้สอนซึ่งการละราคะไว้ให้ ซึ่งข้าพเจ้าทำได้ตามสติกำลังของปุถุชน โดยรู้ในใจว่า่หากเข้าถึงที่พระอาจารย์ท่านสอนจะเข้าถึงธรรมใดธรมหนึ่งได้อย่างแน่นอนดังนี้..

การละราคะ เป็น คุณธรรมระดับ พระอนาคามี ดังนั้นถ้าจะให้ถูกต้อง ควรต้องไปทำคุณสมบัติของพระโสดาบันมาให้ได้ก่อน อยากรู้ว่าได้เป็นพระโสดาบันหรือยัง ก็ให้อธิษฐาน เข้าผลสมาบัติดู ถ้าเข้าไม่ได้ ก็แสดงว่ายังไม่ได้เป็น ถ้าเข้าได้ ก็จะทรงผลสมาบัติด้วย สุญญตาสมาบัติเป็นเวลา 24 -30 ชม. ด้วยอำนาจ ผลสมาบัติ ซึ่ง ปัญญาวิมุตติ ก็ต้องทำได้แบบนี้


ดังนั้นคาถากันราคะ สำหรับบุคคลที่ยังไม่เป็น พระโสดาบัน ก็คือ

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ สลับกลับไปมา พร้อมนิมิต

เมื่อนิมิตเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้ภาวนาว่า เกสา อนิจจัง 3 วัน ทุกอย่าง 3 วัน รวมเบ็ดเสร็จ ก็ 15 วัน ถ้าได้จริง ๆ ก็ละราคะได้จริง


การละราคะเริ่มจากเบาไปหาหนัก สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่พระ

1. เมื่อมีความกำหนัด ก็ให้พิจารณา ถึงความเป็นปฏิกูล ในกายตนเอง หากยังละไม่ได้ ก็ให้นึกถึงคุณที่สามารถสะกด ความกำหนัดได้เป็นเวลา ในขณะที่พิจารณาธรรม เช่น ละได้ 1 ชม 1 วัน 1 สัปดาห์ อย่างนี้เป็นต้น ก็จะค่อยเห็นคุณไปเรื่อย ๆ

2. เมื่อมีความกำหนัด สามารถละได้ด้วยการข่มไว้ ได้นาน ก็ให้ละด้วยอำนาจสมาบัติ ชื่อว่า การละอย่างชั่วคราว อำนาจสมาบัติ ทำให้จิตว่าง จากราคะ ( นิวรณ์ ) ได้ ตามกำหนดสมาบัติ

3.เมื่อมีความกำหนด ให้กำหนดวิปัสสนาด้วยอำนาจญาณแห่ง พระสกทาคามี จะเป็นการละถาวร เลย เป็นพระอนาคามี

4.ความกำหนัดไม่มีในพระอนาคามี แล้ว ดังนั้นการละความกำหนัดหมดแค่ พระสกทาคามี


ข้าพเจ้าได้ขอครูโพสท์เพื่อบันทึกไว้ทบทวนแล้วโดยส่วนนี้ผู้อื่นดูได้ เพราะส่วนนี้เป็นส่วนชี้แนะสั่งสอนพื้นฐานทั่วไป ไม่ใช่ส่วนที่ลงลึกในพระกรรมฐาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2022, 11:10:45 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #418 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2022, 07:12:58 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
โรคซึมเศร้า

..สมมติจิต..

จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย สัมผัสใจ ความรู้สึกนึกคิดในรัก ใคร่ อยาก โลภ โกรธ เกลียด ชัง กลัว หลง
ทั้งหมดล้วนเป็นแค่สมมติธัมมารมณ์ที่กิเลสวางไว้ล่อจิตทางมโนทวารให้หลงตามเท่านั้น ของจริงมันดับไปแล้ว แต่ใจเราเอามาตรึกนึก ด้วยหมายรู้ แล้วคิดสืบต่อเรื่องราวตามความจำได้หมายรู้ทำให้เหมือนมันเพิ่งเกิดขึ้น
ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้..ก็ไม่ยึดสมมติ
ลมหายใจนี้ของจริง
อย่าทิ้ง "พุทโธ"..อย่าทิ้ง "ลมหายใจ"

หลวงพ่อเสถียร ธิระญาโน

------------------------------------------------------

บันทึกกรรมฐาน ปี 64 ก่อนเข้าพรรษา เมตตาตนเอง+อานาปานสติ+จาคะ

..ลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ลมหายใจนี้ไม่มีโทษ ลมหายใจนี้เป็นที่สบาย
..แล้วก็เอาใจมาจับรู้ลมหายใจ

..หายใจเข้า ระลึกถึงความว่าง โล่ง เบาสบาย เอาใจลอยขึ้นตามลมหายใจเข้า ลอยอยู่เหนืออารมณ์ความรู้สึกนึกคิด อัดอั้นกายใจทั้งปวง
..หายใจออก ระลึกถึงความปลดปล่อยกายใจของเราออกจากทุกสิ่งทุกอย่าง มันเบา สบาย เย็นใจ ผ่อนคลายๆ

หายใจเข้าจิตเบา โล่ง สบาย เย็นใจ ไม่มีเรื่องเครียด
หายใจออก เบาสบาย เย็นใจ ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย

หายใจเข้า จิตเบา โล่ง สบาย เย็นใจ
หายใจออก ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย


------------------------------------------------------

 
โรคซึมเศร้า

เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำกับความผิดหวังซ้ำๆ เศร้า เหงา กลัว

.. เพราะความเอาใจเข้ายึดครองสิ่งที่อยู่เหนือการควบคลุม ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ยั่งยืนนาน เอาใจเข้ายึดของครองชั่วคราวที่อยู่เหนือการควบคุม ทำให้ใจเศร้าหมอง เกิดความหดหู่ ซึมเศร้า  ไม่ยอมรับความจริง ไม่ยอมรับอารมณ์ ปลงใจจากเหตุการณ์ หรือ ไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ยอมรับสิ่งที่เป็น ไม่ยอมรับว่ามันอยู่เหนือการควบคุม จิตจึงกอดยึดไว้ ปล่อย ละ วาง สละคืนไม่ได้ จนเกิดเป็นความปกติเคยชินของจิต
.. ทำให้เมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่จรมา สังขารปรุงแต่งจิตที่เกิดขึ้นให้ใจรู้(ธัมมารมณ์) แล้วยึดเสพย์ หรือกระทบสัมผัสสิ่งไรๆที่ทำความจดจำสำคัญมั่นหมายผูกขึ้นไว้กับจิตใต้สำนึกที่หดหู่ไม่รับอารมณ์ จึงเกิดอาการซึมเศร้า ทำให้เกิดเหตุการร้ายๆขึ้น เช่น การทำร้ายตัวเอง การฆ่าตัวตาย เป็นต้น
.. โรคซึมเศร้า และไบโพล่า ถือเป็นโรคทางจิตในทางการแพทย์ โดยในส่วนของพระพุทธศาสนานี้ ถือเป็นกิเลสที่นอนเนื่องใจจิตในสันดาร เรียกว่านิวรณ์ ซึ่งมีอยู่ ๕ อย่าง จำแนกได้ 10 เป็นสังโยชน์ 10 เมื่อจะแก้ ก็แก้ได้ด้วยโพชฌงค์ ๗ จำแนกได้ เป็น โพชฌงค์ ๑๔
 
(๑)  ถีนมิทธะ คือความหดหู่ ความง่วงเหงาหาวนอน เป็นหนึ่งในนิวรณ์ ๕

ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน?

ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง.

ถีนะ เป็นไฉน?

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ ความห่อเหี่ยว อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ซึมเศร้า ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.

มิทธะ เป็นไฉน?

ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย ความปกคลุม ความหุ้มห่อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง ความหาวนอน อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ

ถีนมิทธะ เกิดจาก อรติ คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความเมาอาหาร คืออิ่มเกินไป แก้ได้ด้วยอนุสติ คือระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เป็นต้น
 

(๒)  เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร และความที่จิตหดหู่

เมื่อบุคคลมีจิตหดหู่ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่น

เมื่อบุคคลปรารภความเพียรแล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

(๓)  สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะจิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น

สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น

สติ มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง
 

ถีนมิทธะ เป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 อันเป็นสิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ทำให้จิตเศร้าหมอง และทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ซึ่งมีห้าอย่าง คือ กามฉันทะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา


ทีนี้เราจะเอาธัมมะวิจยะ-การวินิจฉัยธรรมใดแก้ จะเอาวิริยะ-ความเพียรใดแก้ จะเอาปิติตความอิ่มใจใดแก้ไขรักษา

ทางแก้ให้ทำดังนี้

1. ให้เรามีสติเป็นเบื้องหน้า แล้วทำธัมมะวิจยะ คือ เอาใจวินิจฉัยเหตุว่า

..อาการที่จิตไม่ยอมรับอารมณ์ หดหู่ ซึมเศร้านี้ เกิดมาแต่ความไม่พอใจยินดีใส่สิ่งใด
..เพราะสิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผล
..เราเอาใจเข้ายึดครองสิ่งนั้นไว้อย่างไร คาดหวังไว้อย่างไรกับมัน
..เมื่อพิจารณารู้ต้นเหตุของมันแล้ว ก็ให้เราพึงรู้ว่า..สิ่งนั้นอยู่เหนือการควบคุมของเรา ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ทุกสสิ่งทุกอย่างไม่อาจได้หรือเป็นไปดั่งใจเราปารถนาทั้งหมดทุกอย่าง สิ่งเหล่านั้นอยู่เหนือการควบคุรุมบังคับของเรา ไม่ใช่ตัวตน มันเป็นเพียงของชั่วคราว ถึงเวลาแล้วก็ดับไป พ้นไป พรัดพราก สูญไป ไม่ควรเอาใจเข้ายึดครอง ไม่ควรติดใจข้องแวะมัน ไม่ควรใส่ใจให้ความสำคัญจนเกินความจำเป็น
..หากเเราเอาใจไปผูกติดใจข้องแวะกับมันร้อย ก็ทุกข์ร้อย หากเราไม่เอาใจไปผูกติดข้องแวะกับมันเลย..ก็ไม่ทุกข์เลย
..สุข และทุกข์นี้ของเรา ไม่ได้ไปเกิดกับใคร สิ่งใด บุคคลใด หากแต่เกิดจากการวางใจของเรานี้เอง คือ หากเราสำคัญมั่นหมายใจกับสิ่งใดมากก็ทุกข์มาก หากเราสำคัญมั่นหมายใจกับสิ่งใดน้อยก็ทุกข์น้อย
..ดังนั้น อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น หรือสิ่งอื่นใด เพราะมันหาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์
..พึงถอนใจที่ยึดกอดมันอยู่นั้นออกไปเสีย

------------------------------------------------------

2. ให้​​​​​ทำ เมตตาตนเอง + อานาปานสติ + จาคะ เพื่อเอาสติตั้งมั่นกับภายในใจตนเอง จิตก็จะมีกำลังตั้งขึ้น เป็นสร้างความสุขให้กายใจตนเอง มีความเพียรดำรงมั่นอยู่ด้วยใจไม่หวั่นไหวไปกับธัมมารมณ์ หรือ ไม่หวั่นไหวไปกับความตรึกนึกถึงสิ่งอื่นใดที่จรมาให้ใจเสพย์ แล้วคิดสืบต่อสิ่งที่นึกนั้นจนเกิดเป็นเรื่องราวให้ใจเศร้าหมอง นอกจากการทำไว้ในใจถึงความสละคืนใจที่เศร้าหมองทั้งปวงของเรา กล่าวคือ
๑.) เป็นการเพียงระวังความคิดเที่ทำให้ใจศร้าหมองที่ยังไม่เกิดขึ้น
๒.) เป็นการเพียรละความคิดที่ทำให้ใจเศร้าหมองที่เกิดขึ้นแล้ว
๓.) เป็นการเพียรทำใจให้เกิดความแจ่มใสเบิกบานขึ้นมา และฉลาดในการเลือกเสพย์อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด
๔.) เป็นการประครองคงความแจ่มใสเบิกบานของใจเอาไว้ ไม่ให้เสื่อม

***วิธีเจริญ สติ และ สมาธิ ใดๆก็ตาม***
1. แรกเริ่มเลยต้องทำให้ใจเป็นกุศลก่อน คือ มีใจปราศจากความคิดกิเลสเครื่องเร่าร้อนเป็นไฟสุมใจ ใจจะเบาสบายไม่ติดใจข้องแวะโลก คิดแต่สิ่งดีงาม ไม่หน่วงตรึงจิต
2. เมื่อใจเป็นกุศลก็จะเกิดความเบา โล่ง เย็นใจ ไม่เร่าร้อน ไม่วอกแวก ไม่คิดมาก จิตใจก็จะผ่องใส
3. เมื่อจิตใจเราผ่องใสก็จะเหมาะแก่การทำสมาธิ

เมื่อรู้เงื่อนไขแล้วก็ให้เจริญปฏิบัติดังนี้

..ทางแก้ไข คือ ยอมรับความจริง เมตตาให้อภัยตนเอง ทำใจให้ผ่อนคลาย ดังนี้

..ยอมรับความจริงกับทุกเรื่องที่เกิดขึ้น หายใจเข้า
..ให้อภัยตนเอง หายใจออก

..อภัยให้ตนเอง หายใจเข้า
..อภัยให้คนเอง หายใจออก

..ทำใจถึงความว่าง โล่ง
หายใจเข้า ใจเราเบาลอยขึ้นตามลมหายใจเข้าพ้นจากความคิดทั้งปวง
..ทำใจว่าเราปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการทั้งปวง.  หายใจออก  จิตเบาโล่ง สบาย ผ่อนคลาย

..หายใจเข้า ว่าง โล่ง เย็นใจ
..หายใจออก ปล่อย เบาใจ ผ่อนคลายๆ


** ทำไปเรื่อยๆจนจิตนิ่ง ถ้ายังไม่นิ่งก็ให้ทำสะสมเหตุไปเรื่อๆ จนถึงจุดๆนึงจะเกิดความอิ่มใจ สงบเบาเพราะใจปล่อย จิตเป็นสุข มีจิตตั้งมั่น มีสติคลุมอยู่ทุกเมื่อ **

------------------------------------------------------

3. เจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อช่วยให้รู้เท่าทันกายใจอยู่ตลอดเวลาไม่ให้เผลอไผล มีผลสืบต่อให้จิตเข้าถึงฌาณรู้เห็นตามจริงในธรรมทั้งปวง
กล่าวโดยย่อ คือ..

ก. รู้เท่าทันกายและใจ

ข. จำแนกจดจำให้มีสติตั้งมั่นขึ้นพิจารณาได้ดังนี้คือ
1. รู้ลมหายใจ หรือ พุทโธ + สัมปะชัญญะ
2. รู้สมมติกาย
3. รู้สมมติใจ

ค. มหาสติปัฏฐานสูตร จำแนกได้ ๔ ประการ คือ
1. กายานุปัสสนา
2. เวทนานุปัสสนา
3. จิตตานุปัสสนา
4. ธัมมานุปัสสนา

1. ก่อนหน้านี้ได้รู้วิธีทำ เมตตา + อานาปานสติ + จาคะ ไปแล้ว เมื่อเราจะเจริญ เราก็เอากรรมฐานกองเดิมนี้แหละทำให้สติตั้งมั่น ไม่วอกแวกอ่อนไหวง่าย รู้ยับยั้งช่างใจ แยกแยะพิจารณาได้ด้วยตัวเอง ไม่อ่อนไหวเอนเอียงไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันเกิดแต่สัมผัสเหล่าใดที่มากระทบกายใจตน

2. เมื่อได้ดั่งข้อที่ 1 นั่นหมายถึง สติและสัมปะชัญญะเรามีกำลังมากขึ้นแล้ว ทำให้มีจิตั้งมั่นอยู่ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วจึงค่อยพิจารณาลง
- สมมติกาย(อาการ ๓๒, ธาตุ ๔, ธาตุ ๖, ป่าช้า ๙, อสุภะ ๑๐, ฌาณสมาธิ)
- สมมติใจ(เวทนา(สมมติเวทนาทางกาย สมมติเวทนาทางใจ), จิต(สมมติธัมมารมณ์), ธรรม(นิวรณ์ ๕, ขันรธ์ ๕, อริยะสัจ ๔))

------------------------------------------------------
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #419 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2022, 07:20:58 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
กุศลจิตเป็นเหตุให้เกิดสมาธิได้ง่าย

*..การจะเข้าสมาธิได้นั้น ต้องอาศัยสุขในกุศลเป็นเหตุให้ถึงสมาธิ*

 

*..ที่กล่าวเช่นนั้น ด้วยเพราะความสุข มีอาการที่แช่มชื่นรื่นรมย์* ทำให้เบาใจ ใจปล่อย ใจสบาย ไม่พะว้าพะวง ไม่ยึดกอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวาดกลัว ไม่โกรธแค้น ไม่ชัง ไม่หลง ไม่หมกมุ่น ดังนี้แล้วจิตจะเข้าสมาธิง่าย เพราะจิตไม่ยึดเกาะธัมมารมณ์ที่รายล้อมจิต ทำให้จิตนี้ผ่องใส แช่มชื่น รื่นรมย์ เบา สบาย ไม่หน่วงตรึงจิต

 

*..แล้วเราจะไปหาสุขแบบนั้นได้จากที่ไหนกันเล่า สุขแบบนั้นเกิดมีได้ด้วยใจที่เป็นกุศล* กุศล แปลว่า ฉลาด คือ จิตเรานี้ฉลาด ฉลาดในธรรม ฉลาดเลือกเสพย์ธัมมารมณ์

*..ดังนี้ กุศลจิต จึงทำให้ใจเบา สบาย เย็นใจ มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ไม่ติดใจข้องแวะโลก _ทำให้สติตั้งขึ้นง่าย_ * *..เป็นเหตุให้ใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สะดุ้งหวาดกลัว ไม่พะวง ไม่สั่นไหว* ไม่ยึดกอดสิ่งใดๆ ไม่อ่อนไหวตามความรู้สึกที่ใจรู้ไปทั่วจนใจไม่มีกำลัง *จิตอยู่โดยปราศจากรัก ชัง กลัว หลง ไม่หน่วงตรึงจิต* *_..นี่คือผลที่ได้เฉพาะหน้าในจิตที่เป็นกุศลตัวเดียวเท่านั้น_*

 

*จิตที่เป็นกุศลนี้..สืบต่อให้ใจแจ่มใส เบิกบาน อันเรียกว่าจิตปราโมทย์*

 

*จิตปราโมทย์นี้..สืบต่อถึงความปิติ อิ่มเอมใจ อิ่มใจ*

 

*- ปิติในขั้นต้น* คือ อิ่มใจ ไม่โหยหา อิ่มเต็มพอ รู้จักพอ

 

*- ปิติในขั้นกลาง และขั้นสุด คือ ปิติ ทั้ง ๕ ได้แก่..*

*๑.) ขุททกาปีติ* ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล

*๒.) ขณิกาปีติ* ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆเป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ เสียวซ่านถึงรูขุมขน

*๓.) โอกกันติกาปีติ* ปีติเป็นระลอก หรือปีติเป็นพักๆ ทำให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกายดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง

*๔.) อุพเพคาปีติ* หรือ อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรง ให้รู้สึกใจฟู แสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา เหมือนลอยขึ้นไปในอากาศ

*๕.) ผรณาปีติ* ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้

 

*ขุททกาปีติและขณิกาปีติ* สามารถเข้าถึงได้ด้วยศรัทธา *โอกกันติกาปีติ* นั้นถ้ามีมากย่อมทำอุปจารสมาธิให้เกิดขึ้น *อุพเพคาปีติ* ที่ยึดติดกับดวงกสิณ ทำให้ทั้งกุศลและอกุศลเกิดขึ้น และขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ *ผรณาปีติ* บุคคลทำให้เกิดขึ้นในสภาวะแห่ง อัปปนาสมาธิ

 

*จิตที่เป็นปิตินี้..สืบต่อถึงความสงบใจจากกิเลส คือ ปัสสัทธิ มีอาการที่ใจปล่อย ไม่ยึดจับสิ่งใด ไม่หน่วงตรึงจิต สงบ สบาย เบาโล่งกายใจ*

 

*จิตที่เป็นปัสสัทธินี้..สืบต่อให้จิตเป็นสุข มีอาการที่แช่มชื่น รื่นรมย์ ปะทุซาบซ่านขึ้นมา ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หน่วงตรึงจิต*

 

*จิตที่เป็นสุขนี้..สืบต่อถึงความมีจิตตั้งมั่น จิตมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง* คือ.. จิตไม่อ่อนไหวไหลพร่าน แล่นไปยึดกอดเอาธัมมารมณ์ใดๆไปทั่ว เพื่อเอามาเป็นเครื่องอยู่ของจิต เพราะอาการที่จิตไม่ยึดเกาะธัมมารมณ์ที่รายล้อมจิต จิตจดจ่ออยู่เป็นอารมณ์เดียว *ตามสติที่ตั้งมั่นรู้เป็นอารมณ์เดียวด้วยกุศล* *อยู่ด้วยใจมีความรู้ตัวทั่วพร้อมเป็นกำลังให้จิต* ไม่ไหวเอนไปตามสิ่งใดๆ *นี้แล คือ สมาธิที่ควรแก่งาน*

 

_ด้วยเหตุดังนี้แล *หากจะทำสมาธิ ก็ต้องทำให้ใจเป็นกุศลให้ได้ก่อน* สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ทรงตรัสสอนทางกุศลไว้ดีแล้วคือ *ความมีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน นั่นก็คือ ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔* ของพระพุทธเจ้า นั่นเอง_

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2022, 10:36:47 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กุมภาพันธ์ 08, 2024, 09:26:17 PM