เมษายน 20, 2024, 08:53:41 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 29 30 [31]  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407872 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #450 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 11:54:41 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
`จาคะ อธิษฐานธรรม ๔ โดยธรรมนี้เกิดเห็นโดยส่วนตัวแต่ผมผู้เดียว ไม่ใช่โดยตรงจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาตรัสสอน จึงไม่ใช่ธรรมของจริงแท้ ยังเป็นเพียงธรรมปลอม หากแต่เป็นความรู้ด้วยการเข้าถึงสภาวะธรรมโดยส่วนตัวของปุถุชนอย่างผมพอจะมีปัญญาเข้าถึงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นได้ เคยเห็นจิตกระทำแล้วบ้าง อาจแม้เพียงโลกียะ หรือจิตหลอกจิตก็ตามแต่ แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า เราฝึกสมาธิเพื่อสิ่งใด การเข้าฌาณ คลองฌาณเบื้องต้นนั้น จิตมีมโนกรรมอย่างไรเท่านั้น มิได้อวดอ้างแอบอ้างความสืบต่อหรือแจ้งว่าตนบรรลุธรรมใด เป็นเพียงบันทึกกรรมฐานส่วนตัวของผมเท่านั้น`

*แต่หากธรรมนี้ทางนี้ทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจและให้ผลได้ ให้รู้ไว้เลยว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ผลได้ไม่จำกัดกาล และมีคุณมาก มีดังนี้เป็นต้นครับ*

จาคะ คือ การเผื่อแผ่เสียสละ เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจช่วยเหลือ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว

- ในทางธรรม คือ สละคืนอุปธิทั้งปวง คือ กิเลสตัณหาทั้งปวง อิ่มเต็มขันธ์ ๕ จิตเคลื่อนไปแทงขึ้นสังขารุเปกขาทำความแจ้งชัดในมหาสติปัฏฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม อันยิ่งแล้วสำเร็จในอรหันตผล ถึงซึ่งพระนิพพาน

- ในทางโลก คือ การสะสมเหตุจาคะ ได้ดังนี้..
      ๑.) สละความเห็นแก่ได้ รู้จักให้ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน..เป็นการสลัดทิ้งความตระหนี่ หวงแหน ใคร่ได้
           ..ผลที่ได้ คือ ทานที่ถึงจาคะ คือ รู้ประมาณ รู้จักพอ รู้จักอิ่มเป็น (คือ สละสิ่งของปรนเปรอตนเอื้อเฟื้อแก่ผู้อื่น เพื่อความเกื้อกูลกัน)..ซึ่งทำให้เรามีความเผื่อแผ่ มีมิตรมาก มีความอิ่มเอิบใจ และไม่อ่อนไหวกับสิ่งล่อใจจนหลงผิดทำผิดพลาด
      ๒.) สละความเห็นแก่ตัว รู้จักใจกว้างให้อภัย อดโทษ เว้นโทษ ละเว้นนระงับความเบียดเบียนกัน..เป็นการสลัดทิ้งความผูกโกรธ ผูกแค้น ผูกพยาบาท
           ..ผลที่ได้ คือ จาคะที่ถึงศีล (คือ สละความเห็นแก่ตัวสุขสบายส่วนตน สละความสุขปรนเปรอตน เพื่อความสุขร่วมกันกับผู้อื่นโดยปราศจากการเบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน)..ซึ่งทำให้เราไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีความเย็นใจไม่เร่าร้อน ไม่หวาดกลัว ไม่พะวง ไม่หวาดระแวงด้วยไม่มีการล่วงกรรมคือกระทำผิดเบียดเบียนทำร้ายต่อผู้ใดโดยชอบธรรม มีจิตผ่องใส และไม่เกิดการกระทำวู่วามโดยขาดความยั้งคิดได้
      ๓.) สละความสำคัญตัวถือตน รู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่สำคัญตนว่าสำคัญต่อผู้ใดหรือสิ่งใด พึงตระหนักรู้ว่าเราก็เป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบของสิ่งนั้นหรือสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยมีหน้าที่ทำอะไรบ้างได้เท่านั้นเอง
           ..ผลที่ได้ คือ จาคะที่ถึงภาวนา ละความถือตัวสำคัญตน (มานะทิฏฐิ), ละความเห็นสำคัญว่าเป็นเรา เป็นของเรา (อัตตานุทิฐฐิ), ละความยึดมั่นถือมั่นเอาใจเข้ายึดครอง (อุปาทาน)..เป็นการสลัดทิ้งความยึดหลงทนงตน ..ซึ่งทำให้เราไม่เป็นคนยกตนข่มท่าน ทะนงตน และหลงตนจนประมาทพลาดพลั้งได้




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2024, 03:39:28 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #451 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2024, 03:03:59 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฝึกสมาธิเพื่ออะไร จิตทำมโนกรรมอย่างไรจึงเข้าสู่ฌาณได้ง่าย

ฝึกสมาธิเพื่ออะไร จิตทำมโนกรรมอย่างไรจึงเข้าสู่ฌาณได้ง่าย

`ธรรมนี้เกิดเห็นโดยส่วนตัวแต่ผมผู้เดียว ไม่ใช่โดยตรงจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาตรัสสอน จึงไม่ใช่ธรรมของจริงแท้ ยังเป็นเพียงธรรมปลอม หากแต่เป็นความรู้ด้วยการเข้าถึงสภาวะธรรมโดยส่วนตัวของปุถุชนอย่างผมพอจะมีปัญญาเข้าถึงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นได้ เคยเห็นจิตกระทำแล้วบ้าง อาจแม้เพียงโลกียะ หรือจิตหลอกจิตก็ตามแต่ แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า เราฝึกสมาธิเพื่อสิ่งใด การเข้าฌาณ คลองฌาณเบื้องต้นนั้น จิตมีมโนกรรมอย่างไรเท่านั้น มิได้อวดอ้างแอบอ้างความสืบต่อหรือแจ้งว่าตนบรรลุธรรมใด เป็นเพียงบันทึกกรรมฐานส่วนตัวของผมเท่านั้น`

*แต่หากธรรมนี้ทางนี้ทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจและให้ผลได้ ให้รู้ไว้เลยว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ผลได้ไม่จำกัดกาล และมีคุณมาก มีดังนี้เป็นต้นครับ*





*เราฝึกสมาธิ..เพื่อให้จิตตั้งมั่นด้วยสติ มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง*

*เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยสติ..ก็จะเกิดผู้รู้*

*เมื่อจิตเป็นผู้รู้ชัด..ก็จะเกิดผู้ตื่น*

*เมื่อจิตเป็นผู้ตื่น..จิตก็จะเกิดนิพพิทา*

*เมื่อเป็นนิพพิทา..จิตจะน้อมเข้าฌาณได้ง่ายและไว* _(เหตุเพราะจิตหน่ายต่อโลก จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นในโลก ใจคลายจากสภาพแวดล้อมของโลกความเป็นโลกที่เป็นอยู่ ที่ยึดอยู่ ที่อยู่จับอยู่ ที่ติดตรึงใจ ที่ตราตรึงใจไว้อยู่นั้นๆ คือ คลายจากกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ จิตจะจับที่ลมหายใจ (ตลอดจนต้นลมหายใจและปลายลมหายใจ) หรือจับนิมิตทางลม หรือจับกสินนิมิต หรือนิมิตต่างๆได้มั่น ..จิตคลายออกจากโลกโดยอาศัย..ลมหายใจ หรือนิมิตเหล่านั้น เพื่อเคลื่อนออกจากโลก แล้วยกจิตขึ้นอยู่ในสภาวะที่ใจไม่กวัดแกว่ง เอนเอียง อ่อนไหว คล้อยตาม น้อมใจไปในโลก ใจมีพลังตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เคลื่อนจิตเข้าฌาณได้ง่าย สติที่เกิดพร้อมบริสุทธิ์..จะจดจำคลองธรรมคลองเข้าฌาณได้ง่าย ดังนั้นไม่ต้องไปจำจดจำจ้องคลองธรรม วสีใดๆ ให้ปล่อยมันเคลื่อนไป เมื่อเข้าได้บ่อยๆก็จะเกิดความรู้พร้อมในคลองธรรมหรือวสีเอง จะได้วสีก็ต้องฝึกบ่อนๆให้เข้าได้บ่อยๆจิตจะเห็นของธรรม ขณะเข้าจิตอยู่กับปัจจุบันอาจจะไม่นึกถึงการจดจำสภาวะ แต่เมื่อสติบริสุทธิ์ทุกๆครั้งที่ออกจากสมาธิก็จะยังคงเหลือสัญญาอยู่เสมอ เพราะสัญญาเกิดพร้อมด้วยสติระลึกรู้)_

*เมื่อจิตเข้าฌาณอันเป็นสัมมาสมาธิได้..จิตก็จะเกิด สุจริต ๓ (มรรคมีองค์ ๘)*

เมื่อจิตเป็นฌาณพร้อมด้วยสุจริต ๓ (มรรคมีองค์ ๘)..มรรคก็จะสืบต่อได้นานด้วยกำลังฌาณสมาธิ

เมื่อสุจริต ๓ (มรรคมีองค์ ๘) สืบต่อได้นาน ก็จะเกิดมัคสมังคีอ มัคสามัคคีกันเป็นองค์เดียว
_(เห็นชอบ คิดชอบ วาจาชอบ ประพฦฤติชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ รวมเป็นองค์เดียว ทั้งหมดนี้เป้นสถภาวะธรรมในองค์ธรรมเดียว)_

*เมื่อกิดมัคสมังคี (มรรคสามัคคีรวมกันเป็นหนึ่ง)..จิตก็จะแทงขึ้นญาณทัสนะ คือ มหาสติปัฏฐาน ๔*

*เมื่อจิตเข้าถึงมหาสติปัฏฐาน ๔..ก็จะเกิดสัมโพชฌงค์ ๗*

*เมื่อเกิดเกิดสัมโพชฌงค์ ๗ ก็จะเกิดสู่วิชชา ปัญญา ฌาณ*

*เมื่อเข้าสู่วิชชา ปัญญา ฌาณ ก็จะถึง พระอริสัจ ๔ ใน รอบ ๓ อาการ ๑๒*
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2024, 03:34:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #452 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2024, 04:17:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การดูลมในอาณาปานสติเพื่อวสีฌาณ

`การดูลมในอาณาปานสติเพื่อวสีฌาณ ธรรมนี้เกิดเห็นโดยส่วนตัวแต่ผมผู้เดียว ไม่ใช่โดยตรงจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาตรัสสอน จึงไม่ใช่ธรรมของจริงแท้ ยังเป็นเพียงธรรมปลอม หากแต่เป็นความรู้ด้วยการเข้าถึงสภาวะธรรมโดยส่วนตัวของปุถุชนอย่างผมพอจะมีปัญญาเข้าถึงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นได้ เคยเห็นจิตกระทำแล้วบ้าง อาจแม้เพียงโลกียะ หรือจิตหลอกจิตก็ตามแต่ แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า เราฝึกสมาธิเพื่อสิ่งใด การเข้าฌาณ คลองฌาณเบื้องต้นนั้น จิตมีมโนกรรมอย่างไรเท่านั้น มิได้อวดอ้างแอบอ้างความสืบต่อหรือแจ้งว่าตนบรรลุธรรมใด เป็นเพียงบันทึกกรรมฐานส่วนตัวของผมเท่านั้น`

*แต่หากธรรมนี้ทางนี้ทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจและให้ผลได้ ให้รู้ไว้เลยว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ผลได้ไม่จำกัดกาล และมีคุณมาก มีดังนี้เป็นต้นครับ*

1. ดูลมหายใจเข้ายาวหรือสั้น ดูลมหายใจออกยาวหรือสั้น
    - เพื่อรู้ว่าขณะที่จิตเราเริ่มนิ่งขึ้น ละเอียดขึ้น ลมหายใจมีลักษณ์อย่างไร ลมหายใจนั้นสั้นหรือยาว แรงหรือเบา ช้าหรือเร็ว

2. เมื่อจิตละเอียดขึ้น นิ่งขึ้น สงบขึ้น น้อมเข้าสมาธิ ลมหายใจเป็นอย่างไร
    - จิตเราจับสภาวะใดของลมหายใจ..ต้นลมหายใจเข้า-ต้นลมหายใจออก หรือ ตามลมหายใจที่เคลื่อนเข้าจากต้นลมไปจนสุดปลายลม-ตามลมหายใจที่เคลื่อนออกจากต้นลมไปจนสุดปลายลม หรือ จิตทำความรู้ลมเคลื่อนเข้า..จิตจับที่ปลายลมหายใจเข้า-จิตทำความรุ้ลมเคลื่อนออก..จิตจับที่ปลายลมหายใจออก หรือ จิตจับนิมิตใดตามลมหายใจเข้า-จิตจับนิมิตใดตามลมหายใจออก หรือ เกิดนิมิตทางลมหายใจเข้า-ออกเเมื่อจิตเคลื่อเข้าสมาธิ
    - ลมหายใจมีลักษณะอย่างไร ละเอียดอ่อนบางเบาเหมือนแทบไม่หายใจแต่รู้ว่ามีลมเคลื่อนหล่อเลี้ยงกายอยู่ หรือ ลมหายใจแรง ลมหายใจยาวหรือสั้น (สังเกตุที่ปลายลมหายใจ ดูปลายลมหายใจเข้า ปลายลมหายใจออก จะเข้าใจสภาวะกายสังขาร คือ ลมหายใจที่น้อมเข้าสมาธิ) หรือ ลักษณะนิมิตและการจับนิมิตของจิตเป็นอย่างไร กล่าวคือ ..นิมิตมีลักษณะอย่างไร อาการของนิมิตเป็นแบบไหน อาการของจิตที่จับนิมิตในตอนนั้นเป็นอย่างไร อารมณ์ของจิตต่อนิมิตเป็นไฉน จิตจับนิมิตแบบใด จับในเบื้องหน้า จับเป็นพื้นกว้าง หรือ จิตจับนิมิตเบื้องหน้าไว้ มีใจหน่ายออกจากนิมิตเบื้องหน้า หรือ จิตจับนิมิตเบื้องหน้าไว้ มีใจน้อมออกไปสู่ความว่าง ความสงบ ความไม่มี หรือจิตเห็นนิมิตเบื้องหน้าอยู่นั้นด้วยความไม่มีอะไรเป้นที่ว่าง โล่ง เป็นที่สบาย เป้นสิ่งไม่มี แล้วน้อมใจออกยกจิตขึ้นไปในความไม่มี

3. เมื่อถึงสมาธิจิตอยู่ที่ลมหายใจ หรือทิ้งลมหายใจ หรือคงลมหายใจไว้ หรือจิตจับที่นิมิตอื่นใดเฉพาะหน้า ไม่สนกาย ไม่สนสิ่งภายนอก ไม่สนลมหายใจ ไม่ใช้ความคิดแล้ว กล่าวคือ..ในสภาวะนั้นๆมีลักษณะอาการอย่างไร









.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.


ต่อ......
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 29 30 [31]  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ 11 ชั่วโมงที่แล้ว