เมษายน 20, 2024, 06:14:46 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มหาปัฏฐาน ในชีวิตประจำวัน  (อ่าน 10058 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 10:55:13 PM »

Permalink: มหาปัฏฐาน ในชีวิตประจำวัน
มหาปัฏฐาน เป็นพระอภิธรรมคัมภีร์ลำดับที่ ๗ และเป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะอันตรธานเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีร์ภาพด้วยปัจจัยแห่งปรมัตถธรรม

ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเสวยวิมุตติสุขนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมตามลำดับจนถึง มหาปัฏฐาน ทำให้เกิดฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็นที่อัศจรรย์

***************

ด้วยเหตุที่ มหาปัฏฐานมีความสำคัญ และ ควรรักษาให้อยู่นานเท่าที่สุด จึงดำริที่จะนำเนื้อหามาแสดง
โดยมุ่งหวังให้เข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักศึกษาอภิธรรม  โดยตัดบางส่วนที่ยากแก่การอธิบายออก(ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ภายหลัง)
และการนำมาเปรียบเทียบใช้กับชีวิตประจำวันเท่าที่ทำได้
ดังนี้

ว่าด้วยปัจจัย ๒๔ หรือโดยพิศาร ๕๒





บันทึกการเข้า

ไหลเย็น
รู้ธรรมคือรู้ตน
ผู้ดูแลบอร์ด
พุทธบุตร
*****

พลังความดี : 101


เพศ: ชาย
อายุ: 47
กระทู้: 391
สมาชิก ID: 565


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 11:24:32 PM »

Permalink: มหาปัฏฐาน
[๑] เหตุปจฺจโยติ:

เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฺฐานานฺจ รูปานํ เหตุปจฺจเยน ปจฺจโยติ.

********************
เหตุ มี ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ๓ อย่างนี้เป็น อกุศลมูล
และ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ(หรือปัญญา) ๓ อย่างนี้เป็น กุศลมูล

ที่ชื่อว่า มูล เพราะเป็นรากที่หยั่งลึกลงในดิน ทำให้ลำต้นตั้งมั่นได้มั่นคง
พืชที่ไม่มีรากเช่นสาหร่ายย่อมไม่มีความมั่นคง
หากเปรียบ กรรม เป็นเช่นผืนดิน จิตเป็น ต้นไม้ แล้วกุศลมูล และ อกุศลมูล คือรากที่ยึดลงไปในดิน
ทำให้ต้นไม้นั้นให้มั่นคงหนักแน่น การส่งผลของกรรมก็หนักแน่น ทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายชั่ว

- จิตในเวลาใกล้ตาย -
บุคคลที่มี โลภะ ย่อมไปเกิดใน เปรตภูมิ
บุคคลที่มี โทสะ ย่อมไปเกิดใน นรกภูมิ
บุคคลที่มี โมหะ ย่อมไปเกิดใน เดรัจฉาน
บุคคลที่มี อโลภะ อโทสะ ย่อมท่องเที่ยวใน สุคติภูมิ เป็น มนุษย์และเทวดา
บุคคลที่มี ปัญญา สามารถทำ ฌาน ย่อมไปเกิดใน พรหมภูมิ
บุคคลที่มี ปัญญา สามารถทำ มัคค ย่อมไปเกิดใน สุทธาวาสภูมิ และ เข้าถึง นิพพานในที่สุด

- ว่าด้วยการนำเกิด -
เมื่อจิตดวงสุดท้ายที่ชื่อว่า จุติจิตดับลงแล้ว จิตดวงใหม่ก็เกิดต่อทันทีในภพชาติใหม่ เรียกว่า ปฎิสนธิจิต
ปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น หากไม่มีกำลังของ กุศลเหตุ(อโลภ อโทส อโมห) ย่อมเกิดในสภาพที่ไม่ดี ๓ แบบคือ
๑.เกิดใน อบายภูมิ มี นรก เปรต เดรัจฉาน เป็นต้น
๒.เกิดเป็น เทวดาชั้นต่ำ มี ภุมมเทวดา ไม่มีวิมานอยู่ เป็นต้น
๓.เกิดเป็น มนุษย์พิการ ไม่สมประกอบ มี บ้า ใบ้ บอด หนวก เป็นต้น

หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของ กุศลเหตุ ย่อมได้เกิดเป็น มนุษย์ที่สมประกอบ หรือ เทวดาที่มีวิมานอยู่
หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของฌาน ย่อมได้เกิดเป็น พรหม
หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของโสดาหรือสกทาคามัคค ย่อมพ้นอบายแน่นอน ได้เกิดในสุคติอย่างเดียว
หากปฎิสนธิจิตที่เกิดขึ้น ได้กำลังของอนาคามีมัคคฌาน ย่อมได้เกิดในสุทธาวาสภูมิ

จะเห็นได้ว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์สมบูรณ์ต้องมีกุศลเหตุติดตัวมาเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรเสียโอกาสในการสร้างกุศลเหตุให้ยิ่งๆขึ้นไป โดยเฉพาะสร้างปัญญาจนได้ มัคคญาณ สามารถเข้าถึงพระนิพพานในที่สุด

   โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูลเหตุ           แห่งกิเลส อกุศล ผลแห่งบาป

   อโลภา อโทสา อโมหา พึงทราบ       เป็นสุขตราบ สวรรค์ อย่างมั่นคง

   ปุถุชน ปนกิเลส มีเหตุหก                จิตมักตก อยากละโมบ โลภโกรธหลง

   พระอริยะ ละโลกีย์ มีจิตปลง             โลภโกรธหลง  วางลง ตรงมรรคา

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 15, 2024, 02:34:23 AM