เมษายน 19, 2024, 11:31:54 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๙. อิทธิปาทวิภังค์  (อ่าน 20259 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« เมื่อ: มีนาคม 15, 2019, 12:46:46 AM »

Permalink: ๙. อิทธิปาทวิภังค์
๙. อิทธิปาทวิภังค์

             [๕๐๕] อิทธิบาท ๔ คือ
             ๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
*สังขาร
             ๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
             ๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
             ๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร]
             [๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
             ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธิ
นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิด
ขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำ
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อ
ความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความ
บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
             ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๐๗] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
             ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
             สมาธิ เป็นไฉน
             ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
             ปธานสังขาร เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความ
ประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด
นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
             ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึง
แล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิ
ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
             คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
             คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร]
             [๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
             ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
มิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศล-
*ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร
             วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๐] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ
             สมาธิ เป็นไฉน
             ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต  ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
             ปธานสังขาร เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร
             ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยวิริยะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธาน-
*สังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ
การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง
ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
             คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
             คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร]
             [๕๑๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
             ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธินี้
เรียกว่า จิตตสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้
เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความ
ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
             จิตตสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้น เข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า จิตตสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๓] ในบทเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
             จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต
             สมาธิ เป็นไฉน
             ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
             ปธานสังขาร เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร
             ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยจิต สมาธิและ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-
*สังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๔] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
             คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
             คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร]
             [๕๑๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
             ถ้าภิกษุทำปัญญาให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธินี้เรียกว่า วีมังสาสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
มิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศล-
*ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประ
คองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาว-
*ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
             วีมังสาสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วีมังสาสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๖] ในบทเหล่านั้น วีมังสา เป็นไฉน
             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด นี้เรียกว่า วีมังสา
             สมาธิ เป็นไฉน
             ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
             ปธานสังขาร เป็นไฉน
             การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร
             ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวีมังสา สมาธิ
และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิ-
*ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
             [๕๑๗] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
             คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
             คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

สุตตันตภาชนีย์ จบ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=508




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ 4 ชั่วโมงที่แล้ว