เมษายน 20, 2024, 01:21:21 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเข้าใจ "ฌาน"  (อ่าน 1818 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
พรหมสิทธิ์
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 42
กระทู้: 22
สมาชิก ID: 3173


เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 14, 2020, 07:15:59 PM »

Permalink: ความเข้าใจ "ฌาน"
ความเข้าใจ "ฌาน"

    ฌาน (absorption) แปลว่า การเพ่ง องค์แห่งปฐมฌาน มี ๕ ดังนี้

    วิตก คือ คิดอารมณ์ คิดเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คิดสิ่งใดก็ได้ หรือกังวล (Vitakka; Initial application; Thought conception; thought)

    วิจาร คือ เคล้าคลึงอารมณ์ นำสิ่งที่เรากังวล นำอารมณ์ที่วิตกนั้นมาวิเคราะห์ พิจารณา (Vicara; Sustained application; Discursive thinking; deliberation)

    ปิติ คือ ดีใจ หมายความว่า สรุปว่าสิ่งที่มาวิเคราะห์นั้นสรุปได้หรือยังไม่สรุป  ถ้าเกิดปิติก็จะสรุปได้  (Piti; joy; rapture; delight; zest; interest)

    สุข คือ สรุปว่าดี พึงพอใจแล้ว (Sukha; 1.happiness; ease; joy; comfort; pleasure, 2.physical or bodily happiness or ease)

    เอกกัคตา คือ สรุปแน่นอน และดำรงอารมณ์อยู่ ณ จุดนั้น (Ekaggata; one-pointedness (of mind); mental one-pointedness; concentration)

    ฉะนั้น เราไม่จำเป็นต้องไปนั่งสมาธิก็ได้ฌานได้ คิดสิ่งใดให้ครบองค์ประกอบก็ได้ฌานแล้ว ถ้าหากเป็น ฌานที่ ๒ จะไม่มีวิตกและวิจาร หมายถึง เราสรุปแล้ว แต่ยังคงดำรงอยู่ให้เป็นสุข เราสรุปว่าสุขแล้ว ก็ให้เราดำรงว่าสุขอยู่

    ถ้าเราไม่สามารถจะดำรงสุขตรงนั้นก็จะต้องตกจากฌาน ๑ มาเริ่มต้น วิตก วิจาร ใหม่

    ถ้าเราจับพวงมาลัยรถ เราสามารถดำรงความคิดพวงมาลัยตลอดได้ แต่จะเป็นขั้นๆ ขั้น ๑ ขั้น ๒ ขั้น ๓ ขั้น ๔ แต่สุดท้ายเราก็ต้องหลุดออกจากฌาน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่ใช่วิธีที่แก้ทุกข์ที่แท้จริง คือรู้แต่ของ แต่ไม่รู้เป็นอะไร แก้ทุกข์ไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงดึงออกมา ดึงออกมาอย่าให้ไปถึงที่สุดแล้วนิ่งไว้ ให้ดึงออกมาเข้าสู่ตัวที่ ๓ แล้วให้เข้าสู่ตัววิปัสสนา ให้นำมาคิดว่าเป็นอะไร เอากำลังสมาธิตรงนี้ไปคิดต่อ ไปวิจัยต่อว่าเป็นเพราะอะไร ด้วยอริยสัจ ๔ วิปัสสนาจึงเป็นเช่นนี้ ดึงออกมาวิเคราะห์วิจารณ์ว่ามันคืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไรใช้หลักของอริยสัจ ๔ เอาการกระทำของเรามาคิดวิเคราะห์ โดยใช้กำลังของฌาน

    เหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ถ้าสมาธิไม่ดีเราก็ต่อไม่ได้ เหมือนกับร้อยเข็ม เราต้องอาศัยตัวสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิเราร้อยเข็มไม่ได้ คือเอาพลังความต่อเนื่องของฌานมาใช้ตัววิจาร นี่แหละคือ "ญาณ" (Nana; knowledge; real knowledge; wisdom; insight) ญาณก็จะไปเข้าใจว่าตรงนี้ทุกข์เพราะอะไร เกิดเพราะอะไร ฯลฯ นี่แหละคือวิปัสสนา แล้ววิปัสสนาไปคิดอะไร ไปคิดฐานแห่งกรรม กรรมตัวนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นอย่างไร แก้ไขยังไง

    เราได้ฌานก็คือได้กำลัง แล้วเราจะเอากำลังนี้ไปใช้กับอะไร บางคนมีกำลังแต่ไปดำรงไว้เฉยๆ คือได้แต่ฌาน

^_^  ..._/_...  ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

#อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กุมภาพันธ์ 08, 2024, 08:08:53 AM