เมษายน 24, 2024, 11:23:18 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จะเป็นคู่สร้างคู่สม เมื่อมีสมธรรม ๔ ประการ  (อ่าน 4666 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 11:11:06 PM »

Permalink: จะเป็นคู่สร้างคู่สม เมื่อมีสมธรรม ๔ ประการ
จะเป็นคู่สร้างคู่สม เมื่อมีสมธรรม ๔ ประการ

ชีวิต คู่ครองนี้ มีคำเรียกตามนิยมว่า ชีวิตสมรส ในทางพระพุทธศาสนามีคำสอนว่า ชีวิตสมรสที่จะมีความสุข ราบรื่น มั่นคงยืนยาวได้นั้น คู่สมรสควรมีคู่ธรรมที่สมหรือสม่ำเสมอกัน อันจะพึงเรียกได้ว่า สมธรรม ๔ ประการ คือ สมศรัทธา สมศีลา สมจาคา และ สมปัญญา สมธรรม ๔ ประการนี้ เป็นฐานรองรับชีวิตคู่ครองในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าฆราวาสธรรม ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้ว เพราะแสดงถึงความมีคุณสมบัติสมกันและความมีลักษณะนิสัยสม่ำเสมอกันของคู่ ครอง ซึ่งจะทำให้ผู้สมรสทั้งสองสมชีพหรือสมชีวี คือมีชีวิตที่สมหรือเสมอกัน สมธรรม ๔ ประการ นั้น คือ

๑. สมศรัทธา มีศรัทธาสมหรือเสมอกัน ศรัทธานั้นหมายถึงความเชื่อ ความเลื่อมใส หรือความใฝ่นิยม เช่น ความเชื่อถือในลัทธิศาสนา ความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัย และความใฝ่นิยมในคุณค่า หรือสิ่งที่ยึดถือเข้าใจว่าเป็นความดีงามต่าง ๆ ความมีศรัทธาสมกันย่อมเป็นสิ่งสำคัญเบื้องแรกที่จะทำให้ชีวิตครองเรือน กลมกลืนสนิทสนมแน่นแฟ้น เพราะศรัทธาเป็นเครื่องหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิด และเป็นพลังชักจูงใจในการดำเนินชีวิตและกระทำกิจการต่าง ๆ ความมีศรัทธาสมกัน ตั้งต้นแต่ความเชื่อถือในลัทธิศาสนาอย่างเดียวกัน ตลอดจนการมีรสนิยมแนวเดียวกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตสมรส ถ้าศรัทธาเบื้องต้นไม่เป็นอย่างเดียวกัน ก็ต้องตกลงปรับให้เป็นไปด้วยความเข้าใจต่อกัน

๒. สมศีลา มีศีล คือความประพฤติสมหรือเสมอกัน คือ มีความประพฤติที่เข้ากันได้ อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจ ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือขัดแย้งรุนแรงต่อกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งปากร้าย ชอบกล่าวคำหยาบคาย อีกฝ่ายหนึ่งได้รับการอบรมกวดขันมาทางด้านการพูดจาสุภาพอ่อนหวาน ทนฟังคำหยาบ ไม่ได้ หรือฝ่ายหนึ่งชอบเป็นนักเลงหัวไม้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งชอบชีวิตสงบไม่วุ่นวาย ก็อาจเป็นทางเบื่อหน่ายร้าวฉานเลิกร้างกัน หรืออยู่อย่างทนทุกข์ทรมาน

๓. สมจาคา มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละสมหรือเสมอกัน ในชีวิตของบุคคลที่ต้องติดต่อเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เริ่มแต่ญาติมิตรสหายเป็นต้นไปนั้น ธรรมข้อสำคัญที่จะต้องแสดงออกอยู่เสมอก็คือ ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีใจกว้างขวาง การช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน หรือในทางตรงข้าม ก็เป็นความ ตระหนี่ ความมีใจคับแคบ กระด้าง คู่ครองที่มีจาคะไม่สมกันย่อมมีโอกาสเกิด ความขัดแย้งกระทบกระเทือนจิตใจกันอยู่เรื่อยไป ทำให้ชีวิตครอบครัว เป็นชีวิตที่เปราะ มีทางที่จะแตกร้าวได้ง่าย

๔. สมปัญญา มีปัญญาสมหรือเสมอกัน ปัญญาหมายถึงความรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดีชั่ว รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ความรู้จักคิด ความสามารถในการ ใช้ความคิดและเข้าใจในเหตุผล ความมีปัญญาสมกันมิได้หมายความว่าคู่ครองทั้งสองฝ่ายจะต้องได้เล่าเรียน ศิลปวิทยาการ ทรงความรู้เชี่ยวชาญเหมือน ๆ กัน แต่หมายถึงการมีความคิด การรู้จักรับฟังและเข้าใจในเหตุผลของกันและกัน และการช่วยเป็นคู่คิดของกันและกันได้ อย่างที่กล่าวกันง่าย ๆ ว่าพูดกันรู้เรื่อง คุณธรรม ข้อนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะสามีภรรยาเป็นผู้อยู่ร่วมใกล้ชิดกันทุกเวลา จำต้องมีความเข้าใจกัน ร่วมคิดร่วมปรึกษาหารือกัน บรรเทาข้อหนักใจ และช่วยกันหาทาง แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นกำลังแก่กันและกันได้ ความมีปัญญาสมกันนี้ นอกจากเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจทำให้มีความสนิทสนมกันด้วยดีแล้ว ยัง ทำให้ชีวิตของคู่ครอง ทั้งสองฝ่ายเป็นชีวิตที่ส่งเสริมคุณค่าเพิ่มกำลังแก่กันและกันอีกด้วย

พระ บรมศาสดาตรัสแสดงว่า สมธรรม ๔ ประการ นี้ จะเป็นเหตุให้คู่สามีภรรยาได้พบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้าตามความประสงค์ สมดังพุทธพจน์ที่ยกขึ้น เป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า อากงฺเขยฺ ยํเจ คหปตโย อุโภ ชานิปตโย” ดังนี้เป็นต้น แปลความว่า ถ้าคู่สามีภรรยา หวังจะได้พบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้าแล้วไซร้ ทั้งสอง พึงเป็นผู้มีศรัทธาสมกัน มีศีลสมกัน มีจาคะสมกัน มีปัญญาสมกัน ดังนี้

ความ สมหรือเสมอกันของคู่ครองตามหลักธรรม ๔ ประการนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะบุคคลทั้งสองมามีชีวิตอยู่ร่วมกันใกล้ชิดยิ่งกว่าใคร ๆ จนใน ทางโลกกล่าวว่าเป็นบุคคลเดียวกัน การที่จะมารวมเข้าด้วยกันจึงต้องอาศัยความประสานกลมกลืนเหมาะสมกันตามทาง ธรรมดังกล่าวมา

จะร่วมชีวิตกันทั้งที ควรคิดให้ดีว่าจะเป็นคู่ประเภทใด

การ อยู่ครองเรือนของคู่สมรสนั้น เป็นการร่วมกันนำชีวิตทั้งสองผ่านเหตุการณ์ทั้งปวงทั้งที่ดีและร้ายไปด้วย กัน เป็นชีวิตที่ร่วมสุขร่วมทุกข์ทั้งปวง ในแง่นี้ ท่านจึงถือว่าทั้งสองฝ่ายเป็นเพื่อนหรือเป็นสหายกัน และเป็นเพื่อนที่ยิ่งกว่าเพื่อนใด ๆ เพราะร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ ร่วมรับสุขทุกข์ครบถ้วนพร้อมกันกว่าเพื่อนอื่น ๆ ดังพุทธภาษิตที่ว่า “ภริยา ปรมา ขา” แปลว่า ภรรยาเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง หรือ ภรรยาเป็นยอดสหาย โดยความหมายว่าเป็นคู่ร่วมสุขร่วมทุกข์ดังอธิบายมาแล้ว

อนึ่ง พึงสังเกตว่า ในทางพระศาสนา ท่านแสดงเพื่อนใกล้ตัวไว้อีกบุคคลหนึ่ง ดังพุทธภาษิตว่า “มาตา มิตฺตํ เก ฆเร” แปลว่า มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน พุทธภาษิตนี้มิได้ขัดแย้งกับพุทธภาษิตข้อก่อนที่ว่าภรรยาเป็นเพื่อนอย่าง ยิ่งนั้นแต่ประการใด เพราะเพ่งความคนละอย่าง ในพุทธภาษิตข้อก่อน ท่านมุ่งแสดงลักษณะความเป็นไปของชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่มองเห็นได้ในภาย นอกว่า ภรรยาเป็นผู้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสามี ส่วนในพุทธภาษิตข้อหลัง ท่านมุ่งแสดงถึงคุณธรรมในใจ เพราะคำว่ามิตร มีความหมายเพ่งเล็งไปในทางด้านจิตใจและคุณธรรมมากกว่าคำว่าสหายและเพื่อน ตามพุทธภาษิตข้อที่ ๒ นี้ จึงมีความหมายว่า ในบ้านของแต่ละคน มีมารดาเป็นผู้มีเมตตามีความปรารถนาดีต่อบุตร เป็นที่วางใจ พึ่งอาศัยได้อย่างแท้จริง เป็นมิตรแท้คู่บ้าน แน่นอนอยู่ท่านหนึ่งแล้ว

ใน กรณีนี้ หากภรรยาผู้ใดสามารถปฏิบัติตนทำจิตใจให้เป็นมิตรแท้ มีเมตตาปรารถนาดีต่อสามีได้อย่างแท้จริงเหมือนอย่างมารดาแล้ว พระบรมศาสดา ก็ตรัสยกย่องภรรยานั้นว่าเป็น มาตาสมภริยา หรือ มาตาภริยา คือ ภรรยาเสมอด้วยมารดา หรือ ภรรยาเยี่ยงมารดา ส่วนภรรยาผู้มีคุณธรรมอย่างอื่นก็ตรัสเปรียบไว้เหมือนพี่น้องหญิง เหมือนเพื่อนเป็นต้น ดังที่เคยตรัสสอนนางสุชาดา ผู้เป็นสะใภ้ของอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า มีภรรยาอยู่ ๗ ประเภท เป็นฝ่ายร้าย ๓ ประเภท และฝ่ายดี ๔ ประเภท คือ

๑. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต ได้แก่ภรรยาผู้มีจิตประทุษร้าย ปรารถนาความเสื่อมเสียหายแก่สามี ดูหมิ่นและคิดหาทางทำลายสามี
๒. โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร ได้แก่ภรรยาผู้ล้างผลาญทรัพย์สมบัติที่สามีหามาได้
๓. อัยยาภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย ได้แก่ภรรยาผู้ไม่ใส่ใจการงาน เกียจคร้าน รับประทานมาก ปากร้าย หยาบคาย ใจ*ม ข่มสามี
๔. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา ได้แก่ภรรยาผู้หวังดีทุกเวลา คอยห่วงใยรักษาสามีเหมือนมารดาปกป้องบุตร และประหยัดรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว ได้แก่ภรรยาผู้เคารพสามีดังน้องกับพี่ มีใจอ่อนโยน คล้อยตามสามี
๖. สขีภริยา ภรรยาเยี่ยงสหาย ได้แก่ภรรยาที่พบสามีเมื่อใดก็ปลาบปลื้ม ดีใจเหมือนเพื่อนพบเพื่อนผู้จากไปนาน เป็นคนมีตระกูล (ได้รับการศึกษาอบรม) มีความประพฤติดี รู้จักปฏิบัติสามี
๗. ทาสีภริยา ภรรยาเยี่ยงทาส ได้แก่ภรรยาที่ยอมอยู่ในอำนาจสามี ถูกขู่ตะคอกเฆี่ยนตี ก็อดทนได้ ไม่โกรธตอบ

คนดีมาครองคู่คือเอาคุณค่าของชีวิตมาเสริมกัน และทวีกำลังในการสร้างสรรค์

พรรณนาความ ตามที่แสดงมาทั้งหมดนี้ ควรถือเอาสาระสำคัญที่เป็นใจความอย่างหนึ่งว่า หลักธรรมสำหรับการครองเรือน ที่สอนให้คู่ครองมีความสมกันทั้งหลายก็ดี ให้รู้จักปฏิบัติหน้าที่ถนอมรักษาน้ำใจกันด้วยประการต่าง ๆ ก็ดี รวมทั้งหมดนี้ล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อให้การครองเรือนของคู่สามีภรรยา เป็นไปในทางที่ส่งเสริมคุณค่าแห่งชีวิตของกันและกัน และเป็นเครื่องอุปถัมภ์ส่งเสริมเพิ่มพูนกำลังแก่กัน เช่น เมื่อมีคุณธรรมความดีอยู่แล้ว ก็จักได้บำเพ็ญ คุณธรรมความดีเหล่านั้นให้เพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อกระ ทำประโยชน์ตนอยู่ก็จักได้กระทำประโยชน์นั้นให้เข้มแข็งหนักแน่น ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นอยู่ ก็จักได้มีกำลังช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์นั้นให้กว้างขวางได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นการสร้างเสริมความสุขความเจริญก้าวหน้าทั้งแก่ชีวิตตนเอง ชีวิตคู่ครอง และชีวิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงสังคมส่วนรวม ทำตนให้เป็นผู้ควรได้ชื่อว่าเป็น สัตบุรุษ หรือสัปปุรุษ ซึ่งเป็นบุคคลที่ดีมีค่า ตามความ หมายของพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์แสดงปฏิปทาของสัตบุรุษว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แก่บิดามารดา แก่บุตรภรรยา แก่คนรับใช้ และกรรมกร แก่มิตรและผู้ร่วมงาน แก่บรรพชน แก่รัฐ แก่ทวยเทพ และแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาเมฆที่ตกลงมายังข้าวกล้าให้เจริญงอกงามทั่วกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ ความเกื้อกูล และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก ฉะนั้น”

ประโยชน์ สุขอันกว้างขวางซึ่งเกิดมีเพราะสัตบุรุษเช่นนี้ ย่อมต้องเริ่มต้นจากวงแคบออกไปก่อนตามลำดับ คือเริ่มจากครอบครัว และเริ่มจากการประพฤติ ปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่ครองทั้งสองแต่ละฝ่าย เมื่อคู่ครองต่างฝ่ายมีคุณธรรมและรู้จักปฏิบัติหน้าที่ของตน เป็นกำลังส่งเสริมแก่กัน ทำชีวิตครอบครัวให้มีความสุขความเจริญแล้ว ก็จะแผ่ขยายประโยชน์สุขนั้นออกไปให้กว้างขวางได้สำเร็จสมความปรารถนา ดังนั้น ชีวิตครองเรือนที่มุ่งหมายในพระศาสนาจึงได้แก่ชีวิตที่คู่วิวาห์ มาร่วมอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน เพิ่มพูนคุณค่าแห่งชีวิตทั้งสอง ทวีกำลังในการบำเพ็ญประโยชน์ ุขให้ภิญโญแผ่ไพศาล คู่สมรสใดดำเนินชีวิตครอบครัวของตน ให้มี คุณลักษณะสมดังที่ได้พรรณนามา ก็จักได้ชื่อว่าเป็นคู่ครองที่ควรยกย่องสรรเสริญ ควรนับว่าเป็นชีวิตครองเรือนที่ประสบความสำเร็จด้วยดี

คู่ครองที่ดี

คู่ครองที่ดี ที่จะเป็นคู่ร่วมชีวิตกันได้ นอกจากกามคุณแล้ว ควรมีคุณสมบัติ และประพฤติตามข้อปฏิบัติ ดังนี้

ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสอดคล้อง กลมกลืนกัน เป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองกันได้ยืดยาว เรียกว่า สมชีวิธรรม ๔ ประการ คือ

๑. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชา แนวความคิดความเชื่อถือ หรือหลักการต่างๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดียว กันหนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากัน ลงกันได้
๒. สมสีลา มีศีลสมกัน มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะสอดคล้อง ไปกันได้
๓. สมจาคา มีจาคะสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พอกลมกลืนกัน ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน
๔. สมปัญญา มีปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง
(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๕๕/๘๐)

ข. คู่ชื่นชมคู่ระกำ หรือ คู่บุญคู่กรรม คือ คู่ครองที่มีคุณธรรม ลักษณะนิสัยความประพฤติปฏิบัติ การแสดงออกต่อกัน ที่ทำให้เกื้อกูลกันหรือถูกกัน ก็มี ต้องยอมทนกันหรืออยู่กันอย่างขมขื่น ก็มี ในกรณีนี้ ท่านแสดงภรรยาประเภทต่าง ๆ ไว้ ๗ ประเภท คือ

๑. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต คือ ภรรยาที่มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ดูหมิ่น และคิดทำลายสามี
๒. โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร คือ ภรรยาชนิดที่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ
๓. อัยยาภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย คือ ภรรยาที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน ปากร้าย หยาบคาย ชอบข่มสามี
๔. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา คือ ภรรยาที่หวังดีเสมอ คอยห่วงใย เอาใจใส่สามี หาทรัพย์มาได้ก็เอาใจใส่ คอยประหยัดรักษา
๕. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว คือ ภรรยาผู้เคารพรักสามี ดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจ มักคล้อยตามสามี
๖. สขีภริยา ภรรยาเยี่ยงสหาย คือ ภรรยาที่เป็นเหมือนเพื่อน มีจิตภักดี เวลาพบสามีก็ร่าเริงยินดี วางตัวดี ประพฤติดี มีกิริยามารยาทงาม เป็นคู่คิดคู่ใจ
๗. ทาสีภริยา ภรรยาเยี่ยงนางทาสี คือ ภรรยาที่ยอมอยู่ใต้อำนาจสามี ถูกสามีตะคอกตบตี ก็อดทน ไม่แสดงความโกรธตอบ
(องฺ. ตฺตก. ๒๓/๖๐/๙๒)

ท่าน สอนให้ภรรยาสำรวจตนว่าที่เป็นอยู่ ตนเป็นภรรยาประเภทไหน ถ้าจะให้ดี ควรเป็นภรรยาประเภทใด สำหรับชายอาจใช้เป็นหลักสำรวจอุปนิสัยของตน ว่าควรแก่หญิงประเภทใดเป็นคู่ครอง และสำรวจหญิงที่จะเป็นคู่ครองว่าเหมาะกับอุปนิสัยตนหรือไม่

แม้สามีก็ย่อมมีหลายประเภทพึงเทียบเอาจากภรรยาประเภท ต่าง ๆ เหล่านั้น

จาก : http://sathira-dhammasathan.org/index.p ... 15582.html




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 22, 2024, 05:09:36 PM