เมษายน 19, 2024, 07:22:56 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิธีรักษาอุโบสถ  (อ่าน 12298 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 08:42:17 PM »

Permalink: พิธีรักษาอุโบสถ
                            พิธีรักษาอุโบสถ 
        อุโบสถ  เป็นเรื่องของกุศลกรรมสำคัญประการหนึ่งของคฤหัสถ์  แปลว่า
การเข้าจำ เป็นอุบายขัดเกลากิเลสอย่างหยาบให้เบาบาง  และเป็นทางแห่งความ
สงบ  ระงับอันเป็นความสุขอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา  เพราะฉะนั้น  พุทธ-
ศาสนิกชนผู้อยู่ในฆราวาสวินัย  จึงนิยมเอาใจใส่หาโอกาสประพฤติปฏิบัติตาม
สมควร  อุโบสถของคฤหัสถ์ที่กล่าวนี้มี ๒ อย่าง คือ  ปกติอุโบสถอย่าง ๑  ปฏิชาคร
อุโบสถอย่าง   ๑ อุโบสถที่รับรักษากันตามปรกติเฉพาะวันหนึ่งคือหนึ่งอย่างที่
รับรักษาเป็นพิเศษกว่าปรกติ คือ  รักษาคราวละ  ๓ วัน  จัดเป็นวันรับวันหนึ่ง วัน
รักษาวันหนึ่ง  และวันส่งวันหนึ่ง เช่น จะรักษาอุโบสถวัน ๘ ค่ำ  ต้องรับและ
รักษามาแต่วัน ๗ ค่ำ  ตลอดไปถึงสุดวัน ๙ ค่ำ คือ ได้อรุณใหม่ของวัน ๑๐ ค่ำ
นั่นเอง จึงหยุดรักษา อย่างนี้เรียกว่า  ปฏิชาครอุโบสถ  ทั้ง ๒ อย่างนี้  ต่างกันเฉพาะ
วันที่รักษามากน้อยกว่ากันเท่านั้น  และการรักษาอุโบสถทั้ง ๒ อย่างนี้  โดยเนื้อแท้
ก็คือสมาทานรักษาศีล  ๘ อย่างเคร่าครัด เป็นเอกัชฌสมาทานมั่นคงอยู่ด้วยความ
ผูกใจจนตลอดกาลของอุโบสถที่ตนสมาทานนั้น  จึงเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์
สำคัญดังกล่าวแล้ว
        การรักษาอุโบสถนี้ ประกอบด้วยพิธีกรรมซึ่งปฏิบัติกันมาโดยระเบียบ
ต่อไปนี้
                                          ระเบียบพิธี
        ๑. เมื่อตั้งใจจะรักษาอุโบสถวันพระใด  พึงตื่นแต่เช้ามืดก่อนรุ่งอรุณ
ของวันนั้นพอได้เวลารุ่งอรุณของวันนั้น  พึงเตรียมตัวให้สะอาดเรียบร้อยตลอดถึง
การบ้วนปากแล้วบูชาพระเปล่งวาจกอธิษฐานอุโบสถด้วยตนเองก่อนว่า  "อิมํ
อฏฺ€งฺคสมนฺนาคตํ  พุทฺธปญฺตฺตํ  อุปโปสถํล อิมญฺจ รตฺตึ  อิมญฺจ  ทิวสํ
สมฺมเทว  อภิรกฺขิตงํ  สทาทิยามิ" ความว่า "ข้าพเจ้าของสมาทานอุโบสถพุทธ-บัญญัติ
  อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้  เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี  มิให้ขาดมิให้  ทำลายตลอดคืนหนึ่งและวันหนึ่งในเวลาวันนี้"
ดังนี้  แล้วยับยั้งรอเวลาอยู่ด้วย
อาการสงบเสงี่ยมตามสมควร  รับประทานอาหารเช้าแล้วไปสู่สมาคม  ณ วัดใด
วัดหนึ่ง  เพื่อรับสมาทานอุโบสถศีลต่อพระสงฆ์ตามประเพณี
        ๒.  โดยปรกติอุโบสถนั้น  เป็นวันธรรมสวนะ  ภายในวัดพระสงฆ์สามเณร
ย่อมลงประชุมกันในพระอุโบสถหรือศาลาการเปรียญ เป็นต้น  หลังจากฉัน
ภัตตาหารเช้าแล้ว  บางแห่งมีทำบุญตักบาตรที่วัดประจำทุกวันพระ  ภิกษุสามเณร
ลงฉันอาหารบิณฑบาตพร้อมกันทั้งวัด  เสร็จภัตตาหารแล้วขึ้นกุฏิทำสรีรกิจ
พอสมควร  แล้วลงประชุมพร้อมกันอีกครั้งหนึ่งตอนสายประมาณ  ๙.๐๐  นาฬิกา
ต่อหน้าอุบาสกอุบาสิกา  แล้วทำวัตรเช้า พอภิกษุสามเณรทำวัตรเสร็จ  อุบาสก-
อุบาสิกา  พึงทำวัตรเช้าร่วมกันตามแบบนิยมของวัดนั้น ๆ
        ๓.  ทำวัตรจบแล้ว หัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม  พึงคุกเข่าประนมมือ
ประกาศองค์อุโบสถ ทั้งคำบาลีและคำไทย  ดังนี้
                               คำประกาศองค์อุโบสถ
        อชฺช  โภนฺโต  ปกฺขสฺส  อฏฺ€มีทิวโส เอวรูโป  โข  โภนฺโต  ทิวโส,  พุทฺเธน
ภควตา  ปญฺตฺตสฺส  ธมฺมสฺวนสฺส  เจว,  ตทตฺถาย อุปาสกอุปาสิกานํ
อุโปสถสฺส  จ กาโล  โหติ,  หนฺท  มยํ  โภนฺโต  สพฺเพ  อิธ  สมาคตา,   ตสฺส ภควโต
ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติยา  ปูชนตฺถาย,  อิมญฺจ  รตฺตึ  อิมญฺจ  ทิวสํ  อฏฺ€งฺค-
สมฺนฺนาคตํ  อุโปสถํ  อุปวสิสฺสามาติ, กาลปริจฺเฉทํ  กตฺวา  ตํ ตํ  เวรมณึ
อารมฺมณํ  กริตฺวา,  อวิกฺขิตฺตจิตฺตา หุตฺวา สกฺกจฺจํ  อุโปสถํ สมาทิเยยฺยาม,
อีทิสํ  หิ อุโปสถํ  สมฺปตฺตานํ  อมฺหากํ  ชีวิตํ มานิรตฺถกํ  โหตุ.
                                       คำแปล
        ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถอันพร้อมไปด้วย
องค์แปดประการให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั้งกันก่อนแต่สมาทาน
ณ บัดนี้ด้วยวันนี้  เป็น  วันอัฏฐมีดิถีที่แปด แห่งปักษ์มาถึงแล้ว  ก็แหละวันเช่นนี้
เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ในประชุมกันฟังธรรมและเป็นกาลที่จะรักษา
อุโบสถของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การ   ฟังธรรมนั้นด้วย  เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่
ได้มาประชุมพร้อมกัน  ณ ที่นี้
พึงกำหนดกาลว่า จะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนี้  แล้วพึงทำความ
เว้นโทษนั้น ๆ  เป็นอารมณ์ ( คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑  เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขา
ไม่ให้ ๑ เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๑ เว้น จากเจรจาคำเท็จ
ล่อลวงผู้อื่น  ๑ เว้นจากดื่มกินสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
เว้นจากบริโภคอาหารตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่
๑ เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ  และการดูการละเล่น แต่
บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่กุศลทั้งสิ้น  และทัดทรงประทับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้
ของหอมเครื่องประดับเครื่องทำ  เครื่องย้อม  ผัดผิวทำกายให้วิจิตรงดงามต่าง ๆ
อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ๑  เว้นจากนั่งนอกนเหนือเตียงตั่งม้า
ที่มีเท้าสูงเกินประมาณและที่นั่งที่นอนใหญ่   ภายในมีนุ่นและสำลีเครื่องปูลาด
ที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่าง ๆ  ๑)  อย่าให้จิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น  พึงสมาทานเอา
องค์อุโบสถทั้งแปดประการโดยเคารพ  เพื่อจะบูชาสมเด็จพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
นั้นด้วยธรรมานุธรรมปฏิบัติ  อนึ่ง  ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึง
วันอุโบสถเช่นนี้  จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย
หมายเหตุ :-     คำประกาศนี้สำหรับวันพระ  ๘ ค่ำทั้งข้างขึ้นและข้างแรม  ถ้าเป็น
                        วันพระ ๒๕  ค่ำเปลี่ยนบาลีเฉพาะคำที่ขีดเส้นใต้ว่า ปณฺณรสีทิวโส
                        และเปลี่ยนคำไทยที่ขีดเส้นใต้เป็นว่า "วันปัณณรสีดิถีที่สิบห้า"
                        ถ้าเป็นวันพระ ๑๔ ค่ำ  เปลี่ยนบาลีตรงนั้นว่า จาตุทฺทสีทิวโส  และ
                        เปลี่ยนคำไทยแห่งเดียวกันว่า" วันจาตุททสีดิถีที่สิบสี่" สำหรับ
                        คำไทยภายในวงเล็บ  จะว่าด้วยก็ได้  ไม่ว่าด้วยก็ได้  แต่มีนิยมว่า
                        ในวัดที่ท่านให้สมาทานอุโบสถศีลบอกให้สมาทานทั้งคำบาลี  และ
                        คำแปลในตอนต่อไปเป็นข้อ  ๆ เวลาประกาศก่อนสมาทานนี้
                        ไม่ต้องว่าคำในวงเล็บเพราะพระท่านจะบอกให้สมาทาน  เมื่อจบ
                        ประกาศนี้แล้ว  สำหรับวัดที่ท่านให้สมาทานอุโบสถศีลแต่เฉพาะ
                        คำบาลีเท่านั้นไม่บอกคำแปลด้วย  เวลาประกาศก่อนสมาทานนี้
                        ควรว่าความในวงเล็บทั้งหมด
๔.  เมื่อหัวหน้าประกาศจบแล้ว  พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ 
อุบาสกอุบาสิกาทุกคน  พึงนั่งคุกเข่ากราบพร้อมกัน  ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนา
อุโบสถศีลพร้อมกันว่าดังนี้
                มยํ  ภนฺเต, ติสรเณ  สห,  อฏฺ€งฺคสมนฺนาคตํ,
                อุโปสถํ ยาจาม. (ว่า ๓ จบ )
                ต่อนี้  คอนตั้งใจรับสรณคมน์และศีลโดยเคารพ คือ ประนมมือ
        ๕.   พึงว่าตามคำสั่งที่พระสงฆ์บอกเป็นตอน ๆ ไป คือ
                นโม.............................(๓ จบ)
                พุทฺธํ   สรณํ  คจฺฉามิ  ฯลฯ
                ตติยมฺปิ  สงฺฆํ  สรณํ  คจฺฉามิ.
        เมื่อพระสงฆ์ว่า "ติสรณคมนํ  นิฏฺ€ิตํ"  พึงรับพร้อมกันว่า "อาม  ภนฺเต"
แล้วท่านจะให้ศีลต่อไป  คอยรับพร้อมกันตามระยะที่ท่านหยุดดังต่อไปนี้
        (๑)  ปาณาติปาตา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
        (๒)  อทินฺนาทานา  เวรมณี สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
        (๓)  อพฺรหฺมจริยา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
        (๔)   มุสาวาทา เวรมณี  สิกฺขาปทํ สามาทิยามิ.
        (๕)  สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺ€านา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
        (๖)   วิกาลโภชนา เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
        (๗)  นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา  มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑน-
                วิภูสนฏฺ€านา เวรมณี  สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ.
        (๘)  อุจฺจาสยนมาสยนา  เวรมณี สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ.
อิมํ อฏฺ€งฺคสมนฺนาคตํ,  พุทฺธปญฺตฺตํ  อุโปสถํ,  อิมญฺจ  รตฺตึ  อิมญฺจ  ทิวสํ,
สมฺมเทว  อภิรกฺขิตงํ  สมาทิยามิ.
        หยุดรับเพียงเท่านี้  ในการให้ศีลอุโบสถนี้ตลอดถึงคำสมาทานท้ายศีล
บางวัดให้เฉพาะคำบาลี  มิได้แปลให้  บางวัดให้คำแปลด้วย ทั้งนี้สุดแต่นิยมอย่างใด
ตามความเหมาะสมของบุคคลและสถานที่นั้น ๆ  ถ้าท่านแปลให้ด้วย พึงว่าตาม
เป็นข้อ ๆ และคำ ๆ ไปจนจบ ต่อนี้พระสงฆ์จะว่า" อิมานิ  อฏฺ€สิกฺขาปทานิ
อุโปสถวเสน  มนสิกริตฺวา, สาธุกํ  อปฺปมาเทน  รกฺขิตพฺพานิ " พึงรับพร้อมกัน
เมื่อท่านกล่าวจบคำนี้ว่า  "อาม ภนฺเต"  แล้วพระสงฆ์จะว่าอานิสงส์ศีลต่อไป  ดังนี้
     สีเลน  สุคตึ ยนฺติ          สีเลน  โภคสมฺปทา          สีเลน  นิพฺพุตึ   ยนฺตึ      ตสฺมา สีลํ  วิโสธเย.
        พอท่านว่าจบ  พึงกราบพร้อมกัน  ๓ ครั้ง  ต่อนี้นั่งราบพับเพียบประนมมือ
ฟังธรรมซึ่งท่านจะได้แสดงต่อไปนี้
        ๖.  เมื่อพระแสดงธรรมจบแล้ว  ทุกคนพึงให้สาธุการและสวดประกาศตน
พร้อมกัน  ดังนี้
                                  สาธุ  สาธุ  สาธุ
        อหํ  พุทฺธญฺจ   ธมฺมญฺจ                   สงฺฆญฺจ   สรณํ  คโต,
        อุปาสกตฺตํ  เทสสึ                            ภิกฺขุสงฺฆสฺส  สนฺมุขา.
        เอตํ  เม สรณํ  เขมํ                           เอตํ  สรณมุตฺตมํ,
        เอตํ  สรณมาคมฺม                            สพฺพทุกฺขา  ปมุจฺจเย.
        ยถาพลํ  จเรยฺยาหํ                            สมฺมาสมฺพุทธสาสนํ,
        ทุกฺขนิสฺสรณสฺเสว                             ภาคี  อสฺสํ   อนาคเต.
หมายเหตุ : -   คำสวดประกาศข้างต้นนี้  ถ้าผู้ว่าเป็นผู้หญิง  พึงเปลี่ยนคำที่ขีด
                        เส้นใต้ไว้  ดังนี้
                        คโต  เปลี่ยนเป็นว่า คตา
                        อุปาสกตฺตํ  เปลี่ยนเป็นว่า  อุปาสิกตฺตํ
                        ภาคี อสฺสํ  เปลี่ยนเป็นว่า  ภาคินิสฺสํ
                        นอกนั้นว่าเหมือนกัน
        เมื่อสวดประกาศนี้จบแล้ว  พึงกราบพร้อมกันอีก ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี
ตอนเช้าเพียงเท่านี้
        ๗.  ต่อนี้ผู้รักษาอุโบสถพึงยับยั้งอยู่ที่วัด  ด้วยการนั่งสมาทานธรรมกันบ้าง
ภาวนากัมมัฏฐานตามสัปปายะของตนบ้าง  หรือจะท่องบ่นสวดมนต์และอ่าน
หนังสือธรรมไร ๆ  ก็ได้ถึงเวลาพึงรับประทานอาหารเพลให้เสร็จทันกาลก่อนเที่ยง
เสร็จแล้วจะพักผ่อนหรือปฏิบัติอะไรที่ปราศจากโทษก็แล้วแต่อัธยาศัย  พอได้เวลา
บ่ายหน้าเย็นจนค่ำ  พึงประชุมกันทำวัตรค่ำตามแบบนิยมของวัดนั้น ๆ ในภาค
บ่ายจนถึงเย็นนี้ บางแห่งทางวัดจัดให้มีเทศน์โปรดอีกกัณฑ์หนึ่ง ถ้ามีเทศน์
 พระผู้เทศก์จะลงมาเทศน์  เมื่อจบทำวัตรตอนนี้หัวหน้าพึงนั่งคุมเข่ากราบพระ
๓ ครั้ง แล้วกล่าวอาราธนาธรรมพิเศษโดยเฉพาะ ว่าดังนี้
        จาตุทฺทสี   ปณฺณรสี                     ยา จ  ปกฺขสฺส  อฏฺ€มี,
        กาลา  พุทฺเธน  ปญฺตฺตา            สทฺธมฺมสฺสวนสฺสิเม.
        อฏฺ€มี โข  อยนฺทานิ                       สมฺปตฺตา  อภิลกฺขิตา,
        เตนายํ  ปริสา ธมฺมํ                        โสตุง  อิธ  สมาคตา.
        สาธุ  อยฺโย  ภิกฺขุสงฺโฆ                    กโรตุ  ธมฺาเทสนํ,
        อยญฺจ ปริสา สพฺพา                        อฏฺ€ิกตฺวา  สุณาตุ  ตนฺติ.
หมายเหตุ :-      คาถาอาราธนาธรรมนี้  ใช้เฉพาะวันพระ  ๘ ค่ำ  ทั้งข้างขึ้นและ
                        ข้างแรม  ถ้าเป็นวันพระ ๑๕ ค่ำเปลี่ยนคำที่ขีดเส้นใต้ไว้เป็นว่า
                        "ปณฺณรสี"  ถ้าเป็นวันพระ  ๑๔ ค่ำ  เปลี่ยนคำนั้นเป็นว่า "จาตุทฺทสี"
                        นอกนั้นเหมือนกัน
        ๘.  เมื่ออาราธนาจบแล้ว  พระจะขึ้นแสดงธรรม  พึงนั่งฟังธรรมโดยเคารพ
อย่างพิธีตอนเช้า  พอเทศน์จบ  ทุกคนพึงให้สาธุการและสวดประกาศตนพร้อมกัน
อย่างเดียวกับที่ว่าท้ายเทศน์ในภาคเช้า และสวดประกาศต่อท้ายติดกันไปอีกว่า
                                กาเยน  วาจาย  ว เจตวา วา,
                                พุทฺเธ  กุกมฺมํ  ปกตํ  มยา ยํ,
                                พุทฺโธ  ปฏิคฺคณฺหตุ  อจฺจยนฺตํ,
                                กาลนฺตเร  สํวริตุง  ว  พุทฺเธ.
                                กาเยน  วาจาย ว เจตสา วา,
                                ธมฺเม  กุกกมฺมํ  ปกตํ มยา ยํ,
                                ธมฺโม  ปฏิคฺคณฺหตุ  อจฺจยนฺตํ,
                                กาลนฺตเร  สํวริตงํ  ว ธมฺเม.
                                กาเยน  วาจาย  ว เจตสา วา,
                                สงฺเฆ  กุกมฺมํ  ปกติ  มยา  ยํ,
                                สงฺโฆ  ปฏิคฺคณฺหตุ  อจฺจยนฺตํ,
                                กาลนฺตเร  สํวริตงํ  ว สงฺเฆ.
๙.  ถ้าไม่มีเทศน์กัณฑ์เย็นนี้  พอทำวัตรจบ  ผู้ประสงค์จะกลับไปพักผ่อน  ที่บ้าน 
พึงขึ้นไปลาหัวหน้าสงฆ์บนกุฏิ หรือหัวหน้าสงฆ์จะลงมารับลาในที่ประชุม
ก็แล้วแต่ธรรมเนียมของวัดนั้น  ๆ ส่วนผู้ประสงค์จะค้างที่วัดไม่กลับบ้านก็ไม่
ต้องลา  แต่ถ้ามีเทศน์ด้วยดังกล่าว ผู้จะกลับบ้านพึงบอกลาต่อพระผู้เทศก์  เมื่อ
สวดประกาศตอนท้ายเทศน์จบลงแล้วได้ทันที  คำลากลับบ้านพึงว่าดังนี้
                                หนฺททานิ  มยํ ภนฺเต,  อาปุจฺฉาม.
                                พหุกิจฺจา  มยํ  พหุกรณียา.
        พระสงฆ์ผู้รับสภา  จะเป็นในที่ประชุมฟังเทศน์  หรือบนกุฏิก็ตามพึงกล่าว
คำว่า "ยสฺสทานิ  ตฺมฺเห  กาลํ  มญฺถ"  ผู้ลาพึงรับพระพร้อมกันว่า "สาธุ
ภนฺเต"  แล้วกราบพร้อมกัน ๓  ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี.

แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ - หน้าที่ 16 - 22




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ 8 ชั่วโมงที่แล้ว