เมษายน 20, 2024, 05:45:50 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จักร ๔  (อ่าน 11142 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 03:55:40 PM »

Permalink: จักร ๔
จักร ๔
๑.          ปฏิรูปเทสวาสะ   อยู่ในประเทศอันควร.
๒.          สัปปุริสูปัสสยะ   คบสัตบุรุษ.
๓.          อัตตสัมมาปณิธิ   ตั้งตนไว้ชอบ.
๔.         ปุพเพกตปุญญตา   ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน.
 
ธรรม  ๔  อย่างนี้  ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ
 
ธรรมอะไร ชื่อว่าจักร  มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
   ธรรมที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นดุจล้อรถที่นำไปสู่ที่หมาย ชื่อว่าจักร
   มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า พหุการธรรม ธรรมมีอุปการะมากต่อชีวิต 
ประเทศเช่นไร  เรียกว่าประเทศอันสมควร ?
ทางโลก    หมายถึง     ประเทศที่มีภูมิลำเนาและถิ่นฐาน  อันเหมาะสม แก่การครองชีพของตน ๆ  โดยกิจการต่าง ๆ 
ทางธรรม  หมายถึง     ประเทศที่มีสัตบุรุษคือท่านผู้มีสันดานสงบระงับ
คบสัตบุรุษ  คือ ทำอย่างไร ?
คือ  การไปมาหาสู่  ทำความสนิทสนมกับท่าน(ผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ผู้มีกายวาจาใจ อันสงบระงับ หรือ ผู้ประกอบด้วย ธรรมของสัตบุรุษ มีความเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล เป็นต้น )ตามสมควรแก่ฐานะ นั้น ๆ 
ธรรมทั้ง ๔  มีปฏิรูปเทสวาสะ  เป็นต้น   ทำไมจึงชื่อว่าจักร ?
   เพราะธรรมะเหล่านั้นนำผู้ประพฤติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเป็นดุจล้อรถนำไปสู่ที่หมาย จึงชื่อว่าจักร
คบสัตบุรุษ ต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร จึงจะเกิดผลดี ?
จะต้องเป็นผู้ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ  เมื่อฟังแล้วต้องใช้โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วด้วยอุบายที่ชอบ  และต้องประกอบด้วยธัมมานุธัมมปฏิบัติ  ประพฤติธรรมอันสมควรแก่ธรรม จึงจะเกิดผลดี
ประพฤติเช่นไร  เรียกว่า  อัตตสัมมาปณิธิ  (ตั้งตนไว้ชอบ) ?
การตั้งตนอยู่ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ ละชั่วประพฤติดี ทำตนให้เป็นหลักฐาน เป็นที่พึ่งของตนและคนอื่นได้  รู้จักวางตน ปราศจากอคติ มีความเคารพในผู้ใหญ่ มีความรักใคร่ในผู้น้อย ตั้งตนไว้ในประโยชน์ทั้ง ๓ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ ปรมัตถประโยชน์ ตั้งอยู่ในสุจริตธรรม  บำเพ็ญทาน  รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น เรียกว่าอัตตสัมมาปณิธิ (ตั้งตนไว้ชอบ)
อัตตสัมมาปณิธิ  (ตั้งตนไว้ชอบ) หมายความว่าอย่างไร ?
   หมายความว่า ตั้งกายและจิตให้ถูกต้องตามคลองธรรม เช่น ตั้งตนไว้ในศีล ในศรัทธา ในจาคะ ในสุจริต ในกุศลกรรมบถ ในความเพียร ในความซื่อตรงต่อเวลา หน้าที่ บุคคล  ในความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง  วางตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ เพศ ภูมิ
ปุพเพกตปุญญตา แปลว่าอะไร  หมายความว่าอย่างไร ?
   แปลว่า ความเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้แล้วในปางก่อน
   หมายความว่า ความเป็นคนที่เคยได้สร้างคุณงามความดี เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้นไว้ ในวันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน หรือชาติก่อน
จักร  ๔  เป็นเหตุและผลเนื่องกันอย่างไร  ?
  การรู้จักเลือกถิ่นที่อยู่อันเหมาะ แก่การประกอบหน้าที่การงาน การรู้จักคบคนดี มีความประพฤติดี มีความรู้ดี   การรู้จักปรับปรุงตนให้ดีขึ้น เหตุผลทั้ง ๓ ประการนั้น  จะสำเร็จได้ตลอดก็ต้องอาศัยความที่มีบุญ คือ ความดี อันได้กระทำไว้แล้วในชาติปางก่อนเป็นเหตุส่งเสริมให้ชีวิต   ก้าวหน้า นำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเป็นดุจล้อนำไปสู่ความเจริญ
ในจักรทั้ง  ๔  จักรที่เท่าไร มีคุณแรงกล้ากว่าจักรทั้งปวง ?
จักรที่  ๓  (อัตตสัมมาปณิธิ  การตั้งตนไว้ชอบ) สำคัญกว่าจักรอื่น
เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่าการอยู่ในปฏิรูปเทศก็ดี การได้คบกับสัตบุรุษก็ดี  การทำบุญไว้ในปางก่อนก็ดี  จักสำเร็จผลได้ก็ด้วยอาศัยความตั้งตนไว้ชอบ   บุคคลแม้เป็นผู้มีบุญได้กระทำความไว้ในกาลก่อน  แต่ภายหลังไม่รู้จักตั้งตน  ความดีที่ได้ทำมาก็ไม่อาจส่งเสริมได้ 
จักรธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
   การอยู่ในประเทศอันสมควร ย่อมมีโอกาสได้ประพฤติธรรม และประกอบสัมมาอาชีพได้โดยสะดวกและปลอดภัย มีโอกาสได้คบกับสัตบุรุษ ได้รับคำตักเตือนให้ปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง เมื่อได้รับคำแนะนำแล้ว ก็ตั้งตนไว้ชอบ เช่นตั้งอยู่ในศีล ศรัทธา จาคะ เป็นต้น หากตนได้เคยสร้างบุญกุศลไว้ในชาติก่อน หรือ ปีก่อน เดือนก่อน วันก่อน บุญนั้นจะรวมกับบุญที่ทำในปัจจุบัน เป็นกำลังให้พัดผันให้ตนหมุนไปสู่ความเจริญ
 
 
 
อัตตสัมมาปณิธิ  กับ  ปุพเพกตปุญญตา  เป็นเหตุผลกันอย่างไร ?
อัตตสัมมาปณิธิ เป็นเหตุของปุพเพกตปุญญตา  ในชาติหน้าและเป็นผลจากชาติที่แล้วมา 
ส่วนปุพเพกตปุญญตา  เป็นเหตุของ  อัตตสัมมาปณิธิ  ในชาตินี้




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 23, 2024, 11:06:37 AM