สนทนาธรรม ฟังธรรม อ่านธรรมะ บทความธรรมะ หลักธรรมคำสอน กฎแห่งกรรม dhamma

ธรรมะออนไลน์ => บทความธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: ไหลเย็น ที่ มิถุนายน 30, 2014, 12:36:31 PM



หัวข้อ: กิเลส ต้นเหตุแห่งภพชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ไหลเย็น ที่ มิถุนายน 30, 2014, 12:36:31 PM
กิเลส คำนี้เรามักพบในวลีต่างๆมากมาย เช่น

เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลสอยู่

กัมมัฏฐานเป็นหลักปฏิบัติมีไว้เพื่อทำให้จิตสงบจากกิเลส

เมื่อมนุษย์ถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำแล้วจิตก็จะแกว่งไปตามอำนาจกิเลส ไม่สามารถทรงตัวอยู่ในความนิ่งสงบได้

การที่จิตจะเป็นกลาง หยุดนิ่ง ไม่ไหลเวียนไปตามอำนาจของกิเลสเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากยิ่ง

กิเลสแม้เพียงน้อยก็อย่าประมาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลส ที่จรมา

ขจัดกิเลส อันเป็นต้นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด

นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี บุคคลเหล่าใด กำจัดเสียแล้ว บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สังโยชน์ หมายถึง กิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้กับทุกข์

ใจนี้เป็นใหญ่ แต่หากว่าเราเปิดช่องให้กิเลสครองใจ กิเลสก็กลายเป็นใหญ่แทน ถึงตอนนั้นแล้วใจก็ต้องคล้อยตามกิเลส ธรรมชาติของใจ โดยเฉพาะใจที่ไม่มีการอบรม มักคล้อยตามกิเลส ยิ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้น ยั่วยุ ปลุกเร้า ก็จะทำให้คนเราหลงตามกิเลสไปไม่มีที่สิ้นสุด


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSufnNEi2okZ8ofaYuP_IaZPP3EqAL2ePiiRzj0ItiD5gE-XPQf)

*************************

กิเลส คือ สิ่งที่เศร้าหมองเร่าร้อน

จากพระอภิธรรม  ได้แบ่ง ประเภทของ กิเลส เป็นหลายลักษณะ คือ
 
แบ่งตามความละเอียด มี ๓ อย่างคือ

๑.อนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียดที่นอนนิ่งอยู่ในสันดานอย่างเงียบๆ ไม่ปรากฎตัว จนกว่าจะมีสิ่งเร้ามากระทบ จึงจะปรากฏ

๒.ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต เมื่อกระทบกับอารมณ์ต่างๆ แต่ยังควบคุมไว้ได้ ไม่แสดงออกมา

๓.วีติกกมกิเลส คือ  กิเลสที่มีกำลัง จนควบคุมไม่ได้  ต้องล่วงทุจริตกรรมออกมาทางกาย วาจา จนทุศีลเป็นต้น


********

อกุศล แบ่งเป็นกอง ได้ ๙ กอง คิือ

1. อาสวะ

2. โอฆะ

3. โยคะ

4. คันถะ

5. อุปาทาน

6. นีวรณะ

7. อนุสัย

8. สังโยชน์

9. กิเลส

*****************

ก่อนจะรู้จักกิเลสกองใดๆ ต้องเริ่มด้วยการรู้จัก อนุสัย ก่อน

อนุสัย เป็นกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ตราบใดที่ยังไม่บรรลุความเป็นพระอรหันต์

อนุสัยจึงเป็นธรรมชาติที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผยให้ใครได้เห็น เว้นแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ที่สามารถรู้อนุสัยของสัตว์ทั้งหลายได้

ธรรมดา อนุสัยกิเลสนั้น ไม่แสดงออกให้ปรากฏทางทวารใดทวารหนึ่งเลย ต่อเมื่อมีอารมณ์ต่างๆมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจแล้ว

อนุสัยกิเลสที่สงบอยู่นั้น ก็จะแปรสภาพเป็นปริยุฏฐานกิเลส คือกิเลสอย่างกลางปรากฏขึ้นทางใจ เป็นความยินดี ยินร้ายต่อ

อารมณ์ที่ปรากฏนั้น ถ้าปริยุฏฐานกิเลสนี้ มีกำลังมากขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยแก่ วีติกกมกิเลส เป็นกิเลสอย่างหยาบ ปรากฏเป็นการ

กระทำทางกาย ทางวาจาขึ้นมา เกิดการล่วงศีล เป็นต้น

***

ธรรมที่ละกิเลสทั้ง ๓ นี้ คือ...

ศีล         ประหาร          วีติกกมกิเลส (กิเลสอย่างหยาบ)

สมาธิ      ประหาร          ปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสอย่างกลาง)

ปัญญาในมัคคจิต    ประหาร      อนุสัยกิเลส (กิเลสอย่างละเอียด)

*********************
อนุสัย มีองค์ธรรมที่เป็นปรมัตถ์ ๖ ตัวคือ

โลภะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ มานะ วิจิกิจฉา

โลภะ  คือ ความโลภ ความต้องการ ติดใจ อยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากไม่มี อยากไม่เป็น

โทสะ ความขุนเคือง ผลักไส

โมหะ ความหลง ความโง่ ความไม่รู้สภาพตามความเป็นจริง

ทิฏฐิ ความเห็นผิด ยึดมั่นเป็นตัวเป็นตน เป็นของตนย่อมถูก เป็นคนอื่นต้องผิด

มานะ ความเย่อหยิ่ง ความยกตนว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา

วิจิกิจฉา ความลังเล ความไม่เชื่อในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์





หัวข้อ: กิเลส ต้นเหตุแห่งภพชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ไหลเย็น ที่ กรกฎาคม 05, 2014, 08:02:22 PM
อาสวกิเลส  คือ กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต เหมือนสุราที่ดองไว้  หรือเปรียบเหมือนกระแสน้ำ ที่พัดพาสัตว์ให้ไหลไปๆ

เป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายอยู่ในห้วนน้ำคือวัฎฎะสงสาร  พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ไหลไปในภูมิต่างๆถึงภวัคคภูมิ

(ภวัคคภูมิ คือ ภูมิสูงสุดของสัตว์แต่ละระดับ เช่น รูปพรหม อรูปพรหม)  อาสวะ มีด้วยกัน ๔ อย่าง คือ


กามาสวะ ได้แก่ ความติดใจ อยากได้รักใคร่อยู่ในกามคุณมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ภวาสวะ ได้แก่ ความติดอยู่ในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่

ทิฏฐาสวะ ได้แก่ ความเห็นผิด ยึดว่ามีตัวตน ของเรา ของเขา ตนเท่านั้นถูก คนอื่นผิด

อวิชชาสวะ ได้แก่ ความไม่รู้ตามจริง ความโง่ความหลงอยู่กับทุกข์ว่าคือสุข

***************

อาสวะ ปรากฏขึ้นเมื่อมีสิ่งมากระทบ เช่น เห็นรูปงามๆ  ได้ยินเสียงเพราะๆ เกิดติดใจ เป็น กามาสวะ

และอยากให้อยู่ในสภาวะนี้นานๆ  เป็น ภวาสวะ แล้วยึดมั่นเป็นตัวตน เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็น ทิฏฐาสวะ

ในที่สุดก็ไม่รู้ว่าแท้จริงนั้น เป็น ทุกข์ ไม่ใช่สุข เป็น อวิชชาสวะ

*******

อาสวะ ว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์แล้วมี ๓ ตัวคือ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ

ซึ่งแท้จริงแล้ว องค์ธรรมทั้ง ๓ ตัวนี้ ก็คือ อนุสัย ที่นอนเนื่องไม่ปรากฎคัว แอบอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง

ต่อเมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบกับ อายตนะ ต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เกิดความติดใจปรากฎตัวออกมา คือ โลภะ นั่นเอง

มีความยึดติดปรากฎออกมา นั่นคือ ทิฎฐิ  และมีความหลงว่าเป็นความ สุข  ก็คือ โมหะ

และด้วย โลภะ ทิฏฐิ โมหะ นี่เองที่ซัดสัตว์ทั้งหลายให้ต้องเวียนว่ายอยู่ในภพต่างๆ




  





หัวข้อ: กิเลส ต้นเหตุแห่งภพชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ไหลเย็น ที่ กรกฎาคม 13, 2014, 06:39:17 PM
โอฆะ คือ ห้วงน้ำที่ทับถมจมสัตว์ทั้งหลายไม่ให้โผล่ผุด หมายถึงสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิด

วนเวียนในวัฎฎะ เหมือนจมอยู่ในห้วงน้ำอยู่นั่นแหละ  มี ๔ อย่างคือ

กาโมฆะ  ภโวฆะ  ทิโฐฆะ   อวิชโชฆะ  แปลความว่า กามประดุจห้วงน้ำที่ทำให้สัตว์จมอยู่

ภพและภาวะทั้งหลายระดุจห้วงน้ำที่ทำให้สัตว์จมอยู่  ทิฏฐิทั้งหลายระดุจห้วงน้ำที่ทำให้สัตว์จมอยู่

และ อวิชชาะดุจห้วงน้ำที่ทำให้สัตว์จมอยู่

************

โยคะ คือ เครื่องผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในสังสารวัฎฎ์ ก็มี ๔ เช่นเดียวกันคือ

กามโยคะ  ภวโยคะ  ทิฎฐิโยคะ  อวิชชาโยคะ ความหมายคล้ายคลึงกับ โอฆะ

อกุศลที่ชื่อว่า อาสวะ โอฆะ และ โยคะ จะมี ๔ เช่นเดียวกัน และความหมายเดียวกันคือ ทำให้สัตว์วนเวียนอยู่ในวัฎฎะ

อาสวะ คือ การพัดพาสัตว์ให้ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ วนเวียนไม่สิ้นสุด

โอฆะ คือ การทำให้สัตว์จมอยู่ในวัฎฎะ

โยคะ คือ การผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฎฎะ

ทั้งสามนี้ก็มีองค์ธรรมปรมัตถ์อย่างเดียวกัน คือ โลภะ ทิฎฐิ โมหะ

************

เดิมที โลภะ ทิฎฐิ โมหะ ก็เป็นอนุสัยกิเลสนอนสงบนิ่งไม่ปรากฎตัวอยู่ในขันธสันดาน ติดตัวมาเกิดทุกภพทุกชาติ

เมื่อมีอารมณ์มากระทบ เช่น เห็นรูปสวยๆ  ได้ฟังเสียงเพราะๆ  ได้กลิ่นหอมๆ เป็นต้น อนุสัยทั้งสามก็ปรากฎขึ้นกลุ้มรุมจิตใจ

เกิดความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ยึดเป็นตัวเป็นตน หลงว่าเป็นสุขทั้งๆที่จริงคือทุกข์ เรียกว่า อาสวะ หรือ โอฆะ ก็ได้ หรือ โยคะ

กิเลสทั้งสามนี้แหละ ที่ทำให้ต้องวนเวียนอยู่ในวัฎฎะ คือภพต่างๆ ต้องเวียนเกิด-ตาย ไม่สิ้นสุด เหมือนถูกพัดพาไป  หรือเหมือนจมอยู่

และเหมือนถูกผูกติดอยู่นั่นเอง




หัวข้อ: กิเลส ต้นเหตุแห่งภพชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: หทัยพฤก ที่ สิงหาคม 14, 2014, 02:35:42 PM
เพื่อนจะไม่มีชาติภพอีกต่อไป

maxbet (https://www.youtube.com/channel/UCa_YooM2abupwVKeHMLyP5Q/about)

บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters