สนทนาธรรม ฟังธรรม อ่านธรรมะ บทความธรรมะ หลักธรรมคำสอน กฎแห่งกรรม dhamma

ธรรมะออนไลน์ => บทความธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: ไหลเย็น ที่ สิงหาคม 17, 2013, 11:49:05 PM



หัวข้อ: ทวาร 6
เริ่มหัวข้อโดย: ไหลเย็น ที่ สิงหาคม 17, 2013, 11:49:05 PM
 ทวาร 6
       1. จักขุทวาร (ทวารคือตา )
       2. โสตทวาร (ทวารคือหู )
       3. ฆานทวาร (ทวารคือจมูก )
       4. ชิวหาทวาร (ทวารคือลิ้น )
       5. กายทวาร (ทวารคือกาย )
       6. มโนทวาร (ทวารคือใจ )

 
    อารมณ์ 6
รูปารมณ์
สัททารมณ์
คันธารมณ์
รสารมณ์
โผฏฐัพารมณ์
ธัมมารมณ์


      วิญญาณ 6
จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ


      เหตุ 6
โลภะเหตุ
โทสะเหตุ
โมหะเหตุ
อโลภะเหตุ
อโทสะเหตุ
อโมหะเหตุ


ธัมมารมณ์  6
1. ปสาทรูป 5.  (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
2. สุขุมรูป 16.
3. จิต.
4. เจตสิก.
5. นิพพาน.
6. บัญญัติ.


    จริต 6
ราคจริต
โทสจริต
โมหจริต
วิตกจริต
สัทธาจริต
พุทธิจริต


   อภิญญา 6
อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้
ทิพพโสต มีหูทิพย์
เจโตปริยญาณ รู้ใจผู้อื่นได้
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป




หัวข้อ: ทวาร 6
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ สิงหาคม 18, 2013, 11:03:22 AM
สาธุขอบคุณที่เผยแพร่ให้รู้ในอภิธรรมเบื้องต้นที่ควรรู้นี้ครับ


หัวข้อ: ทวาร 6
เริ่มหัวข้อโดย: ไหลเย็น ที่ สิงหาคม 19, 2013, 11:11:33 AM
ขอบคุณครับ ท่านเกียรติคุณ  

การได้เข้าไปศึกษาพระอภิธรรม ทำให้เข้าใจคำศัพท์ในพระสูตรได้ชัดเจนขึ้น เช่น คำว่า เวทนากับอารมณ์ จิตกับวิญญาณ เหตุกับปัจจัย

( อันนี้ขอคุยกันแบบสบายๆนะครับ ไม่เน้นวิชาการ ผิดพลาดประก่รใค ขออภัยล่วงหน้านะครับ )

คำว่า อารมณ์ ที่เราใช้ในภาษาชาวบ้านทั่วไป จะหมายถึงความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ ชื่นชมยินดี โกรธ โมโห รัก ชอบ เกลียด เหล่านี้เป็นต้น ตัวอย่าง คนทะเลาะกัน เราจะพูดว่า เขาอยู่ในอารมณ์โกรธ  คนที่หงุดหงิดก็พูดว่า เขาอยู่ในอารมณ์โมโห หนุ่มสาวก็จะอยู่ในอารมณ์รักใคร่

แต่เมื่อมาศึกษาพระอภิธรรมแล้ว อารมณ์ที่เราใช้พูดกันนั้น หมายถึง เวทนา // ซึ่งมีอยู่ 5 อย่างคือ สุขกาย ทุกข์กาย สุขใจ(โสมนัส) ทุกข์ใจ(โทมนัส) และ อุเบกขา  

ส่วนที่ว่า อารมณ์รักใคร่ คือ โลภะ  
อารมณ์โกรธ ก็คือ โทสะ
อารมณ์ชื่นชมยินดี คือ ปีติ
อารมณ์หงุดหงิด คือ อุทธัจจะ กุกกุจจะ

**********
คำว่า อารมณ์ ใน อภิธรรม หมายถึง สิ่งที่มาปรากฏให้จิตรู้  มี 6 อย่าง คือ รูปารมณ์ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เห็น .. สัทธารมณ์ หมายถึง เสียงต่างๆที่ได้ยิน..... กลิ่น รส สัมผัส ก็ทำนองเดียวกัน
ส่วนที่ปรากฏทางใจ เรียกว่า ธัมมารมณ์

ซึ่งอารมณ์ทั้ง 6 ก็ต้อง อาศัย ทวารทั้ง 6 เป็นที่เกิดหรือที่รับอารมณ์   หากทวารเสียหาย เช่น ตาบอด ก็ไม่สามารถรับ รูปารมณ์ได้ หรือ หูหนวก ก็ไม่สามารถรับ สัททารมณ์(เสียงต่างๆ)

เห็นได้ว่า อารมณ์ ไม่ใช่ความรู้สึก  // อารมณ์ไม่มี รัก โกรธ ชอบ ชัง  // รัก โกรธ ชอบ ชัง เป็นการปรุงแต่งของ เจตสิก มี โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเจตสิกที่มาปรุงแต่ง กลายเป็น เหตุ 6





หัวข้อ: ทวาร 6
เริ่มหัวข้อโดย: ไหลเย็น ที่ สิงหาคม 19, 2013, 11:32:09 AM
คำว่า จิตกับวิญญาณ ใน อภิธรรม นั้น วิญญาณ เป็น ส่วนหนึ่งของจิต // อธิบายเป็นภาษาตรรกะ ก็คือ จิต เป็น เซตใหญ่  // วิญญาณ เป็น สับเซต ของจิต //   วิญญาณ คือ การ รู้ ของจิต // ซึ่งก็อาศัย ทวารทั้ง 6 จึงเป็น วิญญาณ 6 //

ส่วนคำว่า วิญญาณ ที่เราพูดกันว่า ล่องลอยไปเกิดในภพใหม่  ใน อภิธรรม หมายถึง จิต //  วิญญาณ แตกดับไปพร้อมกับทวาร ตอนที่เราตาย เพราะ ร่างกายแตกดับ ทวารก็แตกดับไปด้วย ดังนั้น วิญญาณ คือ การรับรู้ทางทวาร ก็ ย่อมหายไป // แต่ จิต ไม่แตกดับ  ยังคงสืบต่อ ที่เรียกว่า วิถีจิต // คือ จิตดวงสุดท้าย ที่เรียกว่า จุติจิตดับลง ก็มี ปฏิสนธิจิต เกิดต่อทันที เป็นการก้าวล่วงสู่ภพใหม่ // วิถีจิตยังคงทำงานสืบต่อไปโดยไม่หยุด ไม่แตกสลาย //



หัวข้อ: ทวาร 6
เริ่มหัวข้อโดย: ไหลเย็น ที่ สิงหาคม 20, 2013, 09:32:05 AM
เหตุ และ ปัจจัย

เหตุ มี 6 คือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นฝ่าย อกุศล // อโลภะ อโทสะ อโมหะ(ปัญญา) เป็นฝ่ายกุศล และ อพยากฤต (วิบาก และ กริยา)

เมื่อว่าเจาะจงเฉพาะ อกุศล มีเท่าไร // ในอกุศลจิต มี โลภะมูลจิต โทสะมูลจิต โมหะมูลจิต รวมกันได้ 12 ดวง

และ อกุศลเจตสิก มี 14 ดวง ได้แก่ โมหะ อหิริก อโนตตัปปะ อุทธัจจะ -- โลภะ ทิฏฐิ มานะ --- โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ --- ถืนะ มิทธะ --- วิจิกิจฉา

อกุศลจิต ทุกดวงจะมีเจตสิกเหล่านี้  โมหะ อหิริก อโนตตัปปะ อุทธัจจะ อยู่ด้วยเสมอ
 เช่น โลภะมูลจิต ก็จะมี โลภะ (และหรือ ทิฏฐิ มานะ) โมหะ อหิริก อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
       โทสะมูลจิต ก็จะมี โทสะ (และหรือ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ)  โมหะ อหิริก อโนตตัปปะ อุทธัจจะ

การเรียนรู้ อกุศลเจตสิกเหล่านี้ ทำให้เราได้รู้ว่าขณะนี้จิตเป็น อกุศลอยู่หรือไม่ เช่น เมื่อเราทำบุญด้วยมีโลภะ แสดงว่าเราได้ทำบุญด้วย อกุศลจิต // กาย และ วาจา ขณะทำบุญเป็นกุศล แต่ ใจเป็นอกุศล // นั่นคือ ไม่ได้ทำครบทั้ง กาย วาจา ใจ -- ขาดซึ่งบุญทาง ใจ และเป็นส่วนสำคัญที่สุด -- ผลที่ได้ จึงไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

***********

ส่วนฝ่าย กุศลจิต ทุกดวงจะต้องประกอบด้วย เจตสิกกลุ่มนี้เสมอคือ สัทธา สติ หิริก โนตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตตรมัฌชัตตตา
จะเห็น สัทธา เป็นเจตสิกที่นำหน้ามาก่อน // ( สัทธา ก่อให้เกิด กุศล )

การได้เรียน อภิธรรม ทำให้ได้รู้ว่า กุศลเจตสิก ไม่เกิดร่วมกับ อกุศลเจตสิก // หมายความว่า กุศล เกิดพร้อมกับ อกุศลไม่ได้ // เช่น สัทธา เกิดพร้อมด้วย โลภะฯลฯ  ไม่ได้ // สติ เกิดพร้อมด้วย โทสะ โมหะ ฯลฯ ไม่ได้ // 

***********
แต่มีเจตสิก กลุ่มหนึ่ง ที่เกิดได้กับ กุศล และ อกุศล ได้แก่ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ // เจตสิก กลุ่มนี้ ทำกุศลก็ได้ ทำ อกุศลก็ได้




หัวข้อ: ทวาร 6
เริ่มหัวข้อโดย: รันตา ที่ สิงหาคม 29, 2013, 03:29:44 PM
เยี่ยมเลยแบบนี้

บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters