สนทนาธรรม ฟังธรรม อ่านธรรมะ บทความธรรมะ หลักธรรมคำสอน กฎแห่งกรรม dhamma

ธรรมะออนไลน์ => บทความธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: เด็กหน้าวัด ที่ มกราคม 31, 2012, 10:31:49 AM



หัวข้อ: โลภะกับชีวิต
เริ่มหัวข้อโดย: เด็กหน้าวัด ที่ มกราคม 31, 2012, 10:31:49 AM
โลภะกับชีวิต

การศึกษาธรรมของชาวพุทธทั้งหลายส่วนใหญ่จะเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือ เพื่อต้องการทำให้ชีวิตของตนมีความสุข ….แต่แตกต่างกันตรง..ระดับของความสุข….ที่ตนเองต้องการนั่นเอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกื้อกูลบุคคลเหล่านี้ โดยทรงจำแนกธรรมออกมาเป็นหมวดหมู่ให้แก่พวกเขาได้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น ทศพิธราชธรรม ..ราชภัฏธรรม…สัปปุริสธรรม..ฆราวาสธรรม…ธรรมโลกบาล หรืออริยธรรม เป็นต้น

เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วไม่ว่า ใครจะมีความต้องการความสุขในระดับใน เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่า พวกเขาย่อมต้องเคยทุกข์ยาก หรือรับรู้ว่าความทุกข์ยากนั้นมีอยู่และอาจเกิดแก่ตน จึงไม่ปรารถนาภาวะเช่นนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไขปัญหาให้บุคคลทั้งหลายได้ทราบว่า ..การมีชีวิตนั่นแหละนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งปวง..แล้วชีวิตของเรานี้มาจากไหนเล่า?… การเกิดขึ้นของชีวิตล้วนมาจากอำนาจของโลภะ…และการมีชีวิตย่อมนำไปสู่การกระทำกรรมที่เป็นบุญ-บาปเรื่อยไป

โลภะก่อชีวิตขึ้นมาได้อย่างไร

โลภะ คือ ความปรารถนาในอารมณ์ต่างๆอันเกิดจากทวารทั้ง ๖ และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ย่อมจะฝังมั่นลงไว้ภายในจิตใจกลายเป็นอุปาทานทำให้อยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องมีการแสดงพฤติกรรมเพื่อสนองรากเหง้าที่ฝังอยู่นี้ เช่น….เมื่อมีคนมายกย่องชมเชยว่าเราเป็นคนเก่ง มีปัญญาดี มีความรู้ความสามารถมาก ..เราก็ย่อมจะยิ้มแย้มแจ่มใสพอใจ ทั้งนี้เพราะอำนาจของอุปาทานที่เก็บไว้ในใจหนุนเนื่องให้แสดงความพอใจออกมาเป็นพฤติกรรมคือการยิ้มแย้ม ( โลภมูลจิตที่เป็นโสมนัสเวทนา)
หรือแม้ว่าจะไม่เกิดโลภะโดยตรงทันที เช่น เมื่อถูกว่ากล่าวติเตียนว่าเป็นคนเกียจคร้าน โง่เง่าเต่าตุ่น ก็จะเกิดความไม่พอใจซึ่งความไม่พอใจนี้มาจากอำนาจของอุปาทานที่แอบแฝงอยู่ในใจว่า ..อยากจะให้มีแต่คำชม.. อำนาจของความไม่พอใจที่เป็นโทสมูลจิตนี้ ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนผลักดันให้เราไปหาความพอใจจนได้ เช่น พยายามท่องจำเพื่อให้ได้รับคำชม เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ..จะเห็นได้ว่า อำนาจของความไม่พอใจ เป็นตัวที่ทำให้มีการดิ้นรนเสาะแสวงหาความพอใจต่อไปใหม่ ซึ่งก็หนีความโลภหรือโลภะไม่ได้เลย
เมื่อพิจารณาแล้วเราก็ต้องยอมรับว่า เรามีความปรารถนาอันเป็นโลภะนี้เกิดขึ้นตลอดวัน บางครั้งก็มากเสียจนทำให้เราล่วงศีล ก่อทุจริตกรรมทางกายและวาจา….. และไม่ว่าจะมีกำลังมากหรือน้อยต่างก็ล้วนสะสมไว้ในจิต(เพราะจิตวิจิตร) ความพอใจในอารมณ์นี้ก็จะเพิ่มพูนเข้มข้นขึ้นมากมายก่ายกอง เป็นปัจจัยให้มีกำลังผลักดันหนุนส่งให้ก่อเกิดการปฏิสนธิในภพชาติต่อไป แล้วก็สั่งสมกรรมกิเลสเช่นนี้ซ้ำวากอยู่ในสังสารวัฏฏ์

เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ยังอยากเห็นสิ่งสวยงาม อยากได้ยินเสียงที่ไพเราะ จิตก็ย่อมเห็บความปรารถนาที่จะเห็นจะได้ยินเอาไว้โดยปริยาย ..เมื่อชีวิตถึงที่สุดจึงต้องเป้นไปตามกำลังแรงของความปรารถนาอันเป็นโลภะนั้น..กัมมชรูปก็จะสร้างกายปสาทขึ้นมาเพื่อจะได้เห็นได้ยิน เป็นต้น (กลไกการตายการเกิดนี้มีสภาวธรรมมากมาย ซึ่งปรากฏรายละเอียดในพระอภิธรรมปิฎก)

เมื่อมนุษย์ผู้มีปัญญาได้ศึกษาธรรมแล้ว ก็จะเห็นตามคำสอนของพระพุทธองค์ว่า ..วิธีกำจัดความทุกข์ให้ราบคาบลงได้ ก็จะต้องกำจัดที่ต้นเหตุ คือ โลภะ(สมุทัย) เมื่อปราศจากโลภะ..ก็จะไม่มีความเกิด 
เมื่อไม่มีความเกิด..การกระทำกรรมที่เป็นบุญ-บาปย่อมหมดไป  เมื่อหมดสิ้นการกระทำกรรม..จิต เจตสิก และกัมมชรูปก็ไม่ก่อขึ้นมาอีก  จึงสิ้นสุญจากการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร….นิพพานํ ปรมํ สุขํ..

cโลภะเป็นสิ่งที่ทำลายยากเพราะมีความเหนียวแน่นมาก ต้องอาศัยระยะเวลาและการฝึกฝน โดยเริ่มจากการศึกษาให้เกิดปัญญา เพื่อลดความเห็นแก่ตัว และเพียรพยายามเดินไปบนทางที่พระพุทธองค์ทรงชี้ให้ คือ มัชฌิมาปฏิปทา อันได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา
การศึกษาจะทำให้เรารู้ว่า…ชีวิตของเรานี้ประกอบไปด้วยรูปกับนาม แยกออกเป้นขันธ์ ๕ ที่ครอบคลุมไว้ด้วยไตรลักษณ์
การศึกษาจะทำให้เรารู้ว่า…นาม กับ รูป เป็นคลละสิ่งกัน และมีเหตุปัจจัยให้เกิด
การศึกษาจะทำให้เรารู้ว่า…นามมีทั้งจิต และเจตสิก ซึ่งมีความต่างกัน
การศึกษาจะทำให้เรารู้ว่า…เจตสิกนั่นแหละคือสิ่งที่มีพิษสง ทำให้เกิดความเป็นไปทางใจ เช่น รัก เกลียด ชอบ ชัง สุข ทุกข์ เป็นต้น แล้วผลักดันให้ออกมาทางกายและวาจา
การศึกษาจะทำให้เรารู้ว่า…รูปมีถึง ๒๘ อย่าง และมีความแตกต่างกัน
การศึกษาจะทำให้เรารู้ว่า…รูปภายใน กับ รูปภายนอกนั้นไม่เหมือนกัน
การศึกษาจะทำให้เรารู้ว่า…ปัจจุบันธรรม กับ ปัจจุบันอารมณ์นั้นมีความต่างกัน

แต่ความรู้เหล่านี้ไม่อาจก่อประโยชน์อย่างจริงแท้ให้แก่ผู้ที่มีเป้าหมาย(จอมปลอม)เพื่อความสุขอันสถาพร เพราะต้องการใช้ความรู้เป็นเพียงเครื่องประดับดุจผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ที่บางครั้งอาจก่อให้เกิดการกระพือโหมของโลภะให้มากขึ้น หากถือตนว่าเป็นผู้มีความรู้มากกว่าผู้อื่น มีความเหนือกว่าผู้อื่นในปริยัติ
แต่ความรู้เหล่านี้จะก่อประโยชน์อย่างจริงแท้ให้แก่ผู้ที่นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อการไปสู่เป้าหมายอย่างแท้จริงด้วยความเพียร

บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters