สนทนาธรรม ฟังธรรม อ่านธรรมะ บทความธรรมะ หลักธรรมคำสอน กฎแห่งกรรม dhamma

ธรรมะออนไลน์ => คาถา บทสวดมนต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 10, 2014, 03:18:32 PM



หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 10, 2014, 03:18:32 PM


สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)


ขออภิวาทแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนมัสการแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม



       ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ

       หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด
       ซึ่งพระสูตรทุกๆบท คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ เป็นหนทางแห่งมรรคและผลทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ด้วยเหตุดังนี้ ท่านทั้งหลายจงเจริญในพระสูตรทั้งหลายพร้อมน้อมนำมาเจริญปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งมรรคและผลด้วยประการทั้งปวงนี้เทอญ

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




บทนำ


      หลายๆคนมักจะบอกว่าสมัยพุทธกาลไม่มีสวดมนต์ ไม่รู้ว่าจะสวดไปทำไม บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้โง่ ถึงแม้จะกล่าวว่าตนจบเปรียญธรรมประโยคสูงๆ หรือ เป็นครูผู้สอนศิษย์มากมายแต่เขาก็คือคนโง่ที่อวดความไม่มีปัญญาของตน เป็นครูอาจารย์ผู้ลวงโลก อาศัยพระพุทธศาสนา หากินเพื่อ ลาภ ยศ สักการะ แก่ตน หากบุคคลใดไม่เข้าใจบทสวดมนต์ หรือ  พระสูตรใดๆ พระปริตรใดๆ เขาก็มิอาจเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้แม้คำเดียว เพราะจริงๆแล้วบทสวดมนต์ทั้งหลายคือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นบทสวดเพื่อใช้ในกิจการงานต่างๆ ผู้ไม่สวดมนต์คือผู้ที่ไม่ถึงซึ่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เข้าถึงพระธรรมคำสอนจริงๆต่อให้ศีลนั้นมี 1000 ข้อ ท่านก็ถือได้โดยง่าย และ ท่านจะไม่ตำหนิพหรือเปลี่ยนแปลงระวินัยเลยด้วยมองว่าเป็นของถูกเป็นสิ่งดีเป็นกรรมฐานทั้งหมด ดังนี้..

       ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกันได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริงในบทสวดมนต์ทั้งหลายเพื่อการระลึกถึง สวดมนต์และปฏิบัติได้ถูกต้องไม่บิดเบือดตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ใช่การกระทำด้วยกิเลสเครื่องล่อใจ แต่ทำเพราะเห็นว่าเมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา

       บทสวดมนต์พระสูตร พระปริตรทั้งหลาย นั้นมีทั้งข้อวัตรปฏิบัติ แนวทางกรรมฐานทั้งหลาย หรือ ด้วยบารมีใด การปฏิบัติอย่างไร เพราะเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น จึงส่งผลต่างๆเกิดขึ้นมา ด้วยพรรณดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรสวดมนต์น้อมรับธรรมปฏิบัติทั้งหลายนี้ๆเข้ามาสู่ตน เพื่อการปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..


      ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่ "เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว" และ ส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่ "คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องที่ยังมีชีวิตอยู่" ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ



หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 10, 2014, 04:44:29 PM

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๑


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ระลึกว่าเรานั้นกราบลงแทบพระบาทพระพุทธเจ้า
จากนั้นให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าดังนี้ว่า
ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้แจ้งโลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นครูผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนเทวดาและมุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ (พุทธานุสสติกรรมฐาน)


เอวัมเม สุตัง
( ข้าพเจ้า ( คือพระอานนท์เถระ ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ )
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
( สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า )
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ
( เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี )
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
( ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า )

แล้วให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกว่าพระพุทธเจ้ามีพระกรุณาดุจห้วงมหันต์นพ
ได้ทรงเทศนาตรัสสอนพระธรรมนี้ๆ พระสูตรนี้ๆ ให้แก่เรา เพื่อเป็นทางเพื่อความหลุดพ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
ป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ (ธัมมนุสสติกรรมฐาน)


เทฺวเม ภิกขะเว อันตา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ )
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
( อันบรรพชิตไม่ควรเสพ )

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
( คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด )
โน ( เป็นธรรมอันเลว ) คัมโม ( เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน ) โปถุชชะนิโก ( เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ) อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ )

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค
( คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด )
ทุกโข ( ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส )
อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ )
สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ )
สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ )
สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( การระลึกชอบ )
สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
(ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ )

น้อมจิตเข้าพิจารณาในธรรมดังนี้

ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )
[น้อมจิตพิจารณาถึงความที่เราเกิดขึ้นมานี้ มีความทุกข์กายและใจอย่างไรบ้าง เช่น ไม่กินไม่ได้ ไม่นอนไม่ได้ ไม่ขี้ก็ไม่ได้ ไม่เยี่ยวก็ไม่ได้ แต่ละวันต้องดำเนินชีวิตลำบากายและใจอย่างไร ไม่ว่าคนรวย คนจน หรือสัตว์ใดๆ บุคคลใดๆ ต่อให้สุขสบายอย่างไรย่อมหนีไม่พ้นความทุกข์นี้
(คำว่า ชาติ แปลว่า การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า ชาตินี่รวมไปถึงความเกิด เกิดขึ้น ชนิด จำพวกในสิ่งต่างๆ คน สัตว์ สิ่งของ จนถึงสภาพธรรมปรุงแต่งใดๆ การเกิดขี้นของสังขารใดๆทั้งปวงด้วยไม่ว่าจะเป็น รูปธรรม และ นามธรรม ทั้ง 2 หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง(ปฏิจจสมุปบาท)เช่น เมื่อเกิดความโกรธเราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความความปารถนาใคร่ได้เราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความกำหนัดยินดีเรามีสภาพกายและใจอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เมื่อเราพรัดพรากเรามีสภาพกายและใจเป็นอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เป็นต้น)]


ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงสภาพที่เมื่อแก่ชรา เมื่อเราแก่ตังลงการมองเห็นก็ฝ่าฟางลำบาก การจะขยับกายก็ลำบาก การเคี้ยวการกินก็ลำบาก จะไปไหนมาไหนก็ลำบาก จะขับถ่าย ขี้ เยี่ยวก็ลำบาก เวลาเมื่อเจ็บป่วยก็ทรมานไปทั้งกายและใจ อย่างนี้ๆเป็นต้นที่เรียกว่า แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงความตายเป็นเบื้องหน้า เมื่อตายแล้วต้องวนเวียนในวัฏฏะสงสารอีกเท่าไหร่ และ ไม่รู้ว่าเมื่อตายไปจะเกิดในภพภูมิใด สัมภเวสี เปรต หรือ สิ่งใด เมื่อตายแล้วต้องไปชดใช้กรรมใดๆอีก เมื่อจะมาเกิดใหม่ก็ไม่รู้จะเกิดเป็นคนหรือสัตว์ แม้เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นขอทาน คนพิการ อยู่ยากลำบาก หรือ กินดีอยู่ดีก็ฌยังไม่รู้

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
( แม้ความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ต้องการ อยากจะผลักหนีให้ไกลตนแต่ก็ต้องพบเจอโดยหนีไม่พ้น เราเป็นทุกข์ไหม]

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราต้องพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักคือ เลิกกับคนรักหรือคนรักตาย สัตว์ที่รักหายหรือตายไป ของที่รักพังทลายสูญหายไป เราเป็นทุกข์ไหม]

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราไม่ได้สิ่งใดๆตามที่ใจปารถนา คือ จีบสาวไม่ติด ทำกิจการงานแล้วผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่หวังไว้ ไม่ได้สิ่งของตามที่ใจปารถนา เราเป็นทุกข์ไหม]

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )
[น้อมจิตหวนระลึกพิจารณาดังนี้
๑. รูปขันธ์ คือ ร่างกาย เมื่อเข้าไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตน เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ จิตย่อมใคร่ปารถนาในกายให้ได้ให้เป็นไปตามที่ใจตนปารถนาไม่หยุด เมื่อไม่ได้ตามที่ใจปารถนาก็เป็นทุกข์ เมื่อเสื่อมโทรมก็เป็นทุกข์
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความเสวยอารมณ์ความรู้สึก ความสุขกาย ทุกข์กาย ไม่สุขไม่ทุกข์ทางกาย ความสุขใจ ทุกข์ใจ อุเบกขาทั้งกุศลและอกุศล เมื่อเรารู้อารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์)ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ใดๆแล้วเกิดเวทนา เมื่อเป็นสุขแล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอุปาทานว่านี่เป้นเรานี่เป็นของเราว่า สิ่งนี้ๆทำให้เราเป็นสุข เราก็แสวงหา ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ เมื่อเราได้ประสบพบเจอในอารมณ์ใดๆที่ไม่เป็นไปตามที่เรานั้นตั้งความพอใจยินดีเอาไว้ว่าเป็นสุข เราก็เกิดความทุกข์ทันที ก็สำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจว่าสิ่งนี้ๆเป็นสุข เป็นทุกข์
๓. สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ เมื่อเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาสัญญาใดๆแม้ในเรื่องใดสิ่งใดที่ผ่านมาแล้ว เมื่อเข้าหวนระลึกถึงความทรงจำใดๆย่อมก่อให้เกิด ความปรุงแต่งจิตคิดไปต่างๆนาๆ เม่ื่อเสพย์ความพอใจยินดีก็ปารถนา เสพย์ความไม่พอใจยินดีก็อยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก่อให้เกิดเป็นทุกข์
๔. สังขาร คือ ความปรุงแต่งจิต สิ่งที่เกิดขึ้นประกอบกับจิต ดับไปกับจิต เช่น ความรัก โลภ โกรธ หลงใดๆ เมื่อใจเรามีความติดใจกำหนัดปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ ขุ่นมัวขัดเคืองใจ อัดอั้นคับแค้นกายและใจ ผูกเวร ผูกพยายาบาท ลุ่มหลงมัวเมา เมื่อเราเข้ายึดมั่นถือมั่นกับความปรุงแต่งจิตนั้นๆ มันเป็นทุกข์ใช่ไหม
๕. วิญญาณขันธ์ คือ ใจ ความรู้อารมณ์ เช่น รับรู้การกระทบสัมผัสใน สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เมื่อเข้าไปมั่นมั่นถือมัุ่นกับสิ่งที่รู้อารมณ์ใดๆโดยวิญญาณขันธ์นี้ ไม่ว่าจะมองเห็นสี เห็นรูปใดๆ แล้วพอใจยินดีเข้าไปยึดว่าสวยงาม ก็ติดใจเพลิดเพลินใคร่ปารถนายินดีที่จะเสพย์อารมณ์นั้นๆ เมื่อเห็นแล้วไม่ชอบพอใจยินดี ก็ว่าไม่สวยไม่งาม ก็ไม่ปารถนาอยากจะผลักไสให้ไกลตนก็เป็นทุกข์]


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )
โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )
นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน )
ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )

กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ -
[ความเห็นว่าเที่ยง(สัสสตทิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆมีอยู่ไม่สูญไป เช่น ตายแล้วก็เกิดใหม่อีกไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด])

ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น [ความทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆที่พอใจยินดี])

วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น -
[ความเห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆสูญไม่มีอีก เช่น ตายแล้วจะไม่มีการกลับมาเกิดอีก])

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด )
จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )
มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ )
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว ( ความเลี้ยงชีวิตชอบ ) สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( ความระลึกชอบ ) สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )






หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 10, 2014, 04:50:12 PM

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๒


อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ )

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ )
[มีสติหวนระลึกพิจารณาถึงการดำเนินไปในชีวิตประจำวันของเรา ว่าเราต้องประสบพบเจอกับสิ่งใดๆบ้าง แลเมื่อได้รับการกระทบสัมผัสในอารมณ์ใดๆเหล่านั้นแล้ว เรามีความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งเสพย์เสวยอารมณ์ทางใจอย่างไรบ้าง หรือ มีความรู้สึกอาการทางกายอย่างไรบ้าง ให้กำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรานี้อยู่ให้เป็นประจำ จะทำให้เห็นแจ้งในทุกข์]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว )
[เมื่อเรากำหนดรู้ทุกข์ รู้ในอารมณ์ความรู้สึกอาการทางกายและใจเมื่อได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆแล้ว แลเห็นทุกข์ตามจริงอันเป็นผลจากการได้เสพย์ ไม่ได้เสพย์ หรือ ผลอันเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆที่ได้รับรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นแล้ว จิตใจเราย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นๆอารมณ์นั้นๆ เพราะเห็นว่ามันหาประโยชน์สุขไรๆอันแท้จริงไม่ได้นอกจากทุกข์เท่านั้น แลเห็นตามจริงว่าสุขที่ได้รับจากการเสพย์อารมณ์ไรๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นไปเพราะเกิดแต่ความติดใจเพลิดเพลิน กำหนัดยินดีเท่านั้น แล้วก็ต้องมาตะเกียกตะกายไขว่คว้าทะยานอยากหามาให้ได้สมกับความเพลิดเพลินใจปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ หรือ ทะยานอยากจะมีจะเป็นอย่างที่ตนเองตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีไว้ หรือ ทะยานอยากจะผลักหนีจากสิ่งอันที่ตนตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ว่าไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี ไม่เกิดเพลิดเพลิน มีแต่ความมัวหมองเศร้าหมองใจ หรือ ทุกข์อันเกิดแต่ความพรัดพรากบ้าง ไม่สมปารถนาบ้าง ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจไม่พึงปารถนาบ้าง ทุกข์อันเป็นไปในความเพลิดเพลินกำหนัดยินดีบ้าง เป็นต้น (นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดรู้ทุกข์)]

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ )

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละเสีย ).
[ก็เมื่อเราได้กำหนดรู้ทุกข์ในชีวิตประจำวันอย่างแจ่มแจ้งแล้ว เราก็จะรู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น เห็นว่าทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เกิดขึ้นมาแต่เหตุไรๆ แล้วเพียรละที่เหตุนั้นเสีย]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะนันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว )

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ )

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง )
[เมื่อแลเห็นสมุทัยแล้ว รู้สิ่งที่ควรละแล้วความดับไปในทุกข์ในขั้นต้นย่อมเกิดขึ้นแก่กายและใจเราแล้ว เช่น ติดเหล้า เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ก่อนกิน โดยหวนระลึกถึงว่าทุกข์จากการกินเหล้าเป็นไฉน มึนเมา เจ็บป่วย เมื่อยล้า เงินไม่มี เสียงาน อารมณ์ร้อน ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ทั้งหมด เมื่อทำเสร็จแล้วก็เป็นทุกข์มหันต์ ระลึกถึงรสชาติที่ได้เสพย์มันว่า รสชาติมันเฟื่อนลิ้นเฟื่อนคอ เหม็นมีกลิ่นฉุน กินแล้วก็ร้อนคอร้อนท้องไม่อิ่มเหมือนข้าว หาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากความติดใจเพลิดเพลินแล้วก็มาผจญกับความสูญเสียอันหาประมาณมิได้ นี่เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ในเหล้า ทำให้เห็นคุณและโทษจากเหล้า จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในเหล้า สืบต่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ลงในธรรมและมีความเพียรตั้งมั่นที่จะออกจากทุกข์นั้น จิตย่อมน้อมหวนระลึกหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เหล่านี้คือเหล้า เหตุที่ทำให้เราอยากกินเหล้าคือสิ่งใดหนอ เมื่อหวนระลึกพิจารณาถึงก็จะเห็นว่า ความอยากนี่เอง ทำไมถึงอยากกินเหล้า ก็เพราะเราคอยตรึกนึกถึงมันนี่เอง ทำไมตรึกนึกถึงเสมอๆ ทีเรื่องที่ควรตระหนักถึงกลับไม่คิดถึง เมื่อหวนระลึกถึงก็จะเห็นว่าเหตุนั้นเพราะเราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับเหล้าไว้มาก ที่เราให้ความสำคัญกับเหล้าเพราะสิ่งใดหนอ เมื่อหวนพิจารณาจะเห็นว่าเพราะเราพอใจยินดีในเหล้านี่เอง ก็เพราะพอใจยินดีในเหล้าเลยยึดมั่นถือมั่นเอาโสมนัสเวทนาจากเหล้ามาเป็นที่ตั้งแห่งจิตแทนสติ+สัมปชัญญะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว เรารู้สมุทัยที่ควรละแล้ว เมื่อตั้งความเพียรที่จะละแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าเมื่อไม่พอใจยินดี ไม่ให้ความสำคัญในเหล้า ความอยากเหล้านี้ย่อมหายไป และ สภาพทางกาย สภาพแวดล้อม การเงิน ฯลฯ จะต้องดีขึ้นมากอย่างแน่นอน เมื่อเรามี ความเห็น ความคิดถึง ความตรึกถึง ความนึกถึง ความตรองถึง ความคำนึงถึง น้อมพิจารณาเช่นนี้ๆเป็นเบื้องต้นแล้ว จิตเราย่อมละวางความสำคัญมั่นหมายของใจในเหล้า ย่อมละความพอใจยินดีในอารมณ์ที่จะเสพย์ลง จิตใจเราย่อมแช่มชื่น ปราโมทย์ ผ่องใส อันเป็นผลเกิดจากกุศลจิตที่จะดับทุกข์นั้น ความดับทุกข์แม้เพียงแค่้คิดจะละเหตุนี้ ยังเกิดขึ้นแก่้เราเป็นเบื้องต้นแล้ว(แม้เป็นเพียงอุดมคติคือจากความคิดก็ยังสุขเลยนะครับ) เมื่อทำความดับทุกข์ให้แจ้ง กายและใจเราย่อมน้อมไปเพื่อปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งถึงความดับทุกข์อันแท้จริง ด้วยเห็นว่าเมื่อดับทุกข์เหล่านี้ได้แล้วผลลัพธ์มันเเป็นสุขเช่นนี้ๆ]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว )

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ )

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ )
[เมื่อทำนิโรธให้แจ้งแล้ว เห็นความสุขอันเกิดแต่ความดับทุกข์นั้นแล้ว เริ่มแรกอาจจะเห็นว่ามีแนวทางมากมายหลายทางที่จะดำเนินปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์นั้น เมื่อเราได้เพียรปฏิบัติในทางพ้นทุกข์ให้มากแล้วเราก็จะเห็นว่า ทางพ้นจากทุกข์เหล่านั้น คือ มรรคมีองค์ ๘ นี้เอง (การเจริญปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ทั้งหลายหากถึงความเป็นสัมมาแล้ว จะสงเคราะห์ลงในมรรค ๘ ได้ทั้งหมด มรรค ๘ จึงเป็นเรือข้ามฝั่งที่ใหญ่มากเพียงลำเดียวที่พระพุทธเจ้าจอดไว้ให้เรา ขึ้นอยู่แต่ว่าเราจะขึ้นเรือลำนี้ไหม)
ดังนั้นที่เราควรเจริญปฏิบัติให้มาก คือ มีกายสุจริต วาจาสุริต มโนสุจริต อันเกิดแต่ ศีล พรหมวิหาร๔(พรหมวิหาร๔นี้ เบื้องต้นปฏิบัติให้เจริญเมตตาจิตให้มากให้สภาพจิตเกิดเมตตาต่อกันจนเกิดเป็นสมาธิจะให้ผลดีมาก) ทาน สมาธิ ปัญญา(ความรู้แจ้งรู้เห็นตามจริงอันเกิดขึ้นด้วย สัมปชัญญะ+สติ และ สมาธิอันควรแก่งาน หรือ เจริญปฏิบัติใน กุศลกรรมบท๑๐ เป็นต้น จนเข้าถึงมรรค๘ อย่างแท้จริง อันเป็นเหตุให้ นิโรธอันแท้จริงเกิดแก่เรา)]



ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา
ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว )





หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 10, 2014, 05:12:09 PM

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๓


เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น )

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว )

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา
เครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ )

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ
( ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว )
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
( ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก )

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
( พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว )
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
( พระภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า )

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
( ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ )
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ
( จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ )
"ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ"
( ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" )

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
( ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว )
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
( เหล่าภูมิเทวดา ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
( ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ )

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
(เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ"
( "นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ" )

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
( โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ )

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
( ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป )

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
( ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก )

อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
( ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ )

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
( ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า )

อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ
( โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ )

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
( เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว
ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ )



หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 10, 2014, 05:31:38 PM

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ) # ๔


หมายเหตุ

รอบ 3 อาการ12 หมายความถึง การหยั่งรู้ หยั่งเห็น ในอริยสัจ 4 ครบ 3 รอบ หยั่งรู้ หยั่งเห็นในทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค
วนเวียนไปจนครบ 3 ครั้ง ครั้งละ 4 รวมเป็น 12 ครั้ง จนชัดแจ้งและชัดเจน มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 จนไม่มีข้อกังขา เรียกว่าบริสุทธิ์ พระองค์ก็ทรงบรรลุ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.....เป็นวิสัยของพระโพธิสัตย์ทุกพระองค์ที่ต้องกระทำก่อนที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ..คือการพิจารณาในอริยสัจ 4 ครบสามรอบสามวาระ หรือที่เรียกว่า ญาณทัสนะ 3 อันได้แก่

1. สัจจญาณ
2. กิจจญาณ
3. กตญาณ

ในอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


ขอขอบพระคุณท่าน  พระรวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร  ที่มาจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068 (http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068)


-------------------------------------------------------------------------------------------------


รอบ 3 อาการ12 หมายถึง การหยั่งญาณทัสสนะ ๓ ลงในอริยะสัจจ์ ๔ ขอรับ
ที่ว่า ญาณทัสสนะ ๓ คือ

๑. สัจจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือ
ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจ คือ
ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย
ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ

๓. กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ
ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว


ขอขอบพระคุณท่าน  Kanya  ที่มาจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068 (http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068)



หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 10, 2014, 05:36:21 PM

บทสวดชุมนุมเทวดา ๑๒ ตำนาน


สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตังนุภาโว สะทา รักขะตูติ
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีเมตตา จงแผ่เมตตาจิต ด้วยคิดว่า
ขออานุภาพพระปริตร จงรักษาพระราชาผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน
พร้อมด้วยราชสมบัติ พร้อมด้วยราชวงศ์ พร้อมด้วยเสนามาตย์
อย่ามีจิตฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตร


สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ขอเชิญเหล่าเทพเจ้าซึ่งสถิตย์อยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี
และภุมมเทวดา ซึ่งสถิตย์อยู่ในวิมานหรือยอดเขาและหุบผา ในอากาศก็ดี


ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ในเกาะก็ดี ในแว่นแคว้นก็ดี ในบ้านก็ดี
ในต้นพฤกษาและป่าชัฏก็ดี ในเรือนก็ดี ในที่ไร่นาก็ดี


ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
เทพยดาทั้งหลาย ซึ่งสถิตย์ตามภาคพื้นดิน รวมทั้งยักษ์ คนธรรพ์ และ พยานาค
ซึ่งสถิตย์อยู่ในน้ำ บนบก และที่อันไม่ราบเรียบ ก็ดี



ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้
คำใดเป็นของพระมุนีผู้ประเสริฐ ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงสดับคำข้าพเจ้านั้น


ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม


จบบทสวดชุมนุมเทวดา



หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 11, 2014, 02:42:52 PM

ธชัคคสูตรบรรยาย # ๑


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐

    จะเล่าตำนานสวดมนต์ต่อ ตำนานที่ ๕ ในเจ็ดตำนานคือ ธชัคคสูตร จัดเป็นพระปริตรที่ ๕ คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง เทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูรซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่า

     เมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดา จึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธง หรือ ชายธงของพระองค์หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้
     ส่วนพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ความกลัวก็จะหายไป
     พระสูตรนี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า ก็จะทำให้ความกลัวต่าง ๆ หายไปได้ ก็เป็นพระสูตรที่สอนให้เจริญพุทธานุสสติเป็นต้น นั้นเอง
     และเรื่อง เทวาสุรสงคราม ที่ว่าเป็นเรื่องเคยมีมานั้น ก็มีเรื่องโดยสังเขปว่า ท้าวสักกะจอมเทพได้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ว่าอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุซึ่งตั้งอยู่กลางใจโลก และที่ตรงนั้นเป็นที่อยู่ของอสูรทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะไปอยู่ ทีแรกก็อยู่ร่วมกับอสูรทั้งหลาย แต่มายหลังก็ได้หาวิธีขับอสูรทั้งหลายออกไป ฝ่ายอสูรทั้งหลายต้องเสียรู้ท้าวสักกะต้องถอยออกไปอยู่ภายนอก ก็มีความผูกใจแค้น ถึงคราวก็ยกมารบกับหมู่เทพซึ่งเข้ามายึดถิ่นฐานเดิมของตนเสียทีหนึ่ง ก็เกิดสงครามระหว่างเทพกับอสูรทั้งหลายกันทีหนึ่ง และอสูรทั้งหลายก็ต้องถอยไปทุกที แต่ว่าถึงคราวก็ยกมารบใหม่ เล่าว่าอย่างนั้น เรียกว่าเทวาสุรสงคราม เป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว และนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันก็สันนิษฐานว่า คงจะมีสงครามแย่งถิ่นกันระหว่างชาวอริยกะซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในอินเดียกับหมู่ชนชาวพื้นเมือง ดังที่แสดงเล่าไว้ในพุทธประวัติตอนต้นนั้น ก็เป็นเค้ามูลของเรื่องเทวาสุรสงคราม ซึ่งแม้พระพุทธเจ้าก็ทรงอ้างมาเล่านี้ และแม้ในสมัยพุทธกาลเอง เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเก่ามาแล้ว จึงใช้คำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเคยมีมาแล้ว

พระสูตรนี้ก็เป็นพระสูตรที่นับถือกันพระสูตรหนึ่ง มีคำแปลตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้

     ตั้งต้นพระสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ เอกํ สมยํ ภควา เป็นอาทิ ซึ่งแปลความเป็น ลำดับ ว่า
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถปิณฑิกคหบดี ใกล้เมืองสาวัตถี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุเหล่านั้นจึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า
     พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว สงครามแห่งเทพดากับอสูร ได้เกิดประชิดกันแล้ว
     ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพ เรียกหมู่เทพในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดแก่หมู่เทพ ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด
     ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงหรือยอดธงของเรานั่นแหละ เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่ ความกลัวความหวาดสะดุ้งหรือขนพองสยองเกล้า อันใดจักมี อันนั้นจักหายไป ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดี เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าอันมีจักหายไป
     ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดี ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อวรุณ เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่ ความกลัวความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองใสยองเกล้ที่จักมี ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสาณ
     เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสาณอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักมีก็จักหายไป
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นแล คือการแลดูชายธงของเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดีก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อวรุณก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสาณก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักมี ก็จักหายไปได้บ้าง ไม่หายไปบ้าง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า ท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพ เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดั่งนี้
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแล กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าว่า เพื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ทีโคนไม้ก็ตาม ไปอยู่ที่เรือนเปล่าก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะด้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่บังเกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า

อิติปิ โส ภควา อรหฺ สมฺมาสมฺพุทโธ แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อรหํ เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา
สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคโต เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว
โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้โลก
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย
พุทฺโธ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภควา เป็นผู้จำแนกธรรม ดั่งนี้

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรมว่า

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สนฺทิฏฺฐิโก เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง
อกาลิโก เป็นธรรมให้ผลไม่มีกาล เป็นของไม่มีกาลเวลา
เอหิปสฺสิโก เป็นธรรมอันจะพึงเรียกร้องให้มาดูได้
โอปนยิโก เป็นธรรมอันบุคคลควรน้อมเข้ามาใส่ใจ หรือควรน้อมเข้ามาในตน
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ เป็นธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตัวดังนี้

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว หรือปฏิบัติเป็นธรรมแล้ว หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความรู้แล้ว
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ คือ คู่แห่งบุรุษบุคคลทั้งหลาย ๔
อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรสักการะที่พึงนำมาบูชา
ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ
ทกฺขิเนยฺโย เป็นผู้ควรทักษิณาคือของทำบุญหรือควรทำบุญ
อญฺชลิกรณีโย เป็นผู้ควรอัญชลีคือควรพนมมือไหว้ คือแสดงความเคารพ
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพอง สยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะด้ง เป็นผู้ไม่หนี ดั่งนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นั้นอีกว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือที่โคนไม้ หรือในเรือนว่าง พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ มัยก็จะไม่พึงมีแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธซึ่งเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญที่สุดในโลก ประเสริฐแห่งนรชน ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านมาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล




หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 11, 2014, 03:53:01 PM

ธชัคคสูตรบรรยาย # ๒


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐

     พระสูตรนี้มีคำแปลโดยความดังที่ได้แสดงมา ในการสวดมนต์เมื่อมีเวลามาก หรือในพิธีใหญ่ที่ต้องการให้สวดพระสูตรเต็ม ก็สวดพระสูตรเต็ม ในการสวดมนต์ทั่วไป สวดจำเพาะอนุสสรณปาฐะ คือปาฐะที่เป็นอนุสสรณะ คือเป็นเครื่องระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ก็คือสวด อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นต้น ต่อด้วย สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโมเป็นต้น ต่อด้วย สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นต้น ก็คือสวดจำเพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เท่านั้น
     อันนำสวดด้วยคำว่า อนุสสรณปาฐะ คือ เป็นปาฐะบาลี หรือถ้อยคำที่แสดงอนุสสรณะ คือคำที่สำหรับระลึกถึง ก็หมายถึงระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นเนื้อหาสำคัญของพระสูตรนี้ กับสวดตอนท้ายพระสูตรอันเรียกว่านิคมคาถา ที่แปลว่าคาถาตอนท้าย ตั้งต้นด้วยคำว่า อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา เป็นต้น ที่แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือที่โคนไม้ หรือในเรือนว่างเรือนเปล่า ดั่งนี้เป็นต้น
     ต่อไปนี้นั่งขัดสมาธิ เรื่องอานาปานสติยังมีต่อ แต่ว่าเท่าที่ได้แสดงแนวทางปฏิบัติมาแล้วอันเป็นขั้นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือสติปัฏฐานขั้นพิจารณากาย ก็เป็นการเพียงพอสำหรับที่จะใช้ฝึกหัดปฏิบัติ จึงจะแสดงถึงกรรมฐานข้ออื่น อันควรถือเป็นข้อปฏิบัติสับเปลี่ยนกับอานาปานสติ และข้อกรรมฐานทีจะแนะในวันนี้ก็คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติสังฆานุสสติ ดั่งที่สอนให้ปฏิบัติในธชัคคสูตรนี้ อันนับว่าเป็นกรรมฐานข้อหนึ่ง
     การระลึกถึงพระพุทธเจ้าอันเรียกว่า พุทธานุสสติ นั้น ที่ใช้ปฏิบัติก็คือระลึกถึงพระคุณดังบทที่สวดว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ เป็นต้น แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ คือเป็นผู้ไกลกิเลส ควรไหว้ควรบูชา สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้เองชอบดั่งนี้เป็นต้น วิธีระลึกนั้น

     วิธีที่หนึ่ง ก็คือการระลึกถึงบทพระพุทธคุณ ยกขึ้นมาทีละบท เช่นบทว่า อรหํ ยกขึ้นมาว่า อรหํ และก็พิจารณาไปตามความว่าเป็นผู้ไกลกิเลส คราวนี้ อิติปิ ที่เป็นคำต้นนั้นแปลว่า เพราะเหตุนี้ ๆ ก็คือระลึกขยายความออกไปว่า เพราะเหตุที่พระองค์ทรงเป็นผู้บรรลุถึงธรรมที่ตัดกิเลสได้อย่างนี้ ๆ ฉะนั้น จึงทรงเป็นผู้ไกลกิเลส คือสิ้นกิเลส และกิเลสที่สิ้นนั้นก็สิ้นทั้งหมด ทั้งกิเลสที่เป็นชั้นหยาบ ชั้นกลาง ชั้นละเอียด กิเลสที่เป็นชั้นหยาบก็คือที่เป็นชั้นแรงอันทำให้ละเมิดทางกาย ทางวาจา เช่นฆ่าเขาบ้าง ลักของเขาบ้าง ปรากฏเป็นกรรมกิเลสออกมา ที่เป็นอย่างกลาง ก็คือที่บังเกิดขึ้นเป็นนิวรณ์กลุ้มกลัดอยู่ในจิตใจ ที่เป็นอย่างละเอียด ก็คือที่เป็นอาสวอนุสัย นอนจมหมักหมมอยู่ในจิต สืบเป็นจิตสันดานฝ่ายเศร้าหมอง ละได้หมดจึงเป็นผู้สิ้นอาสวะ คือกิเลสที่ดองสันดานได้หมด จึงเป็นผู้ไกลจริง ๆ คนสามัญทั่วไปนั้น ยังไม่ไกล ยังอยู่กับกิเลส แม้ว่ากิเลสส่วนหยาบจะไม่ปรากฏ เพราะรักษาศีลมีศีล กิเลสอย่างกลางไม่ปรากฏเพราะมีสมาธิ แต่ว่ากิเลสอย่างละเอียดที่เป็นอาสวอนุสัย ยังดองจิตสันดานอยู่ เป็นตะกอนนอนก้น เป็นน้ำที่บนพื้นผิวในตุ่มก็ใสแต่ว่าก้นตุ่มนั้นมีตะกอน ถ้าไปกวนน้ำขึ้นเมื่อใดตะกอนฟุ้งขึ้นมา น้ำในตุ่มก็ขุ่นไปทั้งหมด จิตคนสามัญก็เหมือนกัน ในขณะที่ดูใสตะกอนกิเลสยังอยู่ แต่เมื่อประสบอารมณ์มายั่วยวนเข้า ตะกอนกิเลสก็ฟุ้งขึ้นมาปรากฏเป็นนิวรณ์ หรือเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลง เป็นราคะ โทสะ โมหะ จิตก็ขุ่นมัวจึงยังไม่ไกลกิเลส แม้ว่าดูจิตจะใสเหมือนอย่างไกล แต่อันที่จริงนั้นใกล้ คืออยู่กับกิเลส อยู่กับอาสวอนุสัย แต่พระพุทธเจ้านั้นละได้หมด ด้วยทรงบรรลุมรรคผลนิพพาน ตัดกิเลสได้สิ้นเชิงทั้งหมด จึงเป็น อรหํ เป็นผู้ไกลกิเลส เมื่อเป็นผู้ไกลกิเลส ก็เป็นผู้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจสิ้นเชิง ก็เป็นผู้ที่ควรไหว้ ควรบูชาอย่างแท้จริง อย่างนี้แหละที่เรียกว่า อิติปิ ที่แปลว่า แม้เพราะเหตุนั้น ๆ คือเป็นอย่างนี้ ๆ พระองค์จึงทรงเชื่อว่า เป็นอรหันต์ เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา และก็ยกบท สัมมาสัมพุทโธ ขึ้นมาทีละบทแล้วก็พิจารณาไป ในบทพระธรรมคุณก็เหมือนกัน ในบทพระสังฆคุณก็เหมือนกัน

     วิธีที่สอง กำหนดสวดมนต์นี่แหละเป็นกรรมฐาน ก็กำหนด อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นต้น สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นต้น สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นต้น ให้จิตอยู่กับบทสวดมนต์นี้ วิธีที่สองนี้เป็นวิธีสาธยายกรรมฐาน แต่ว่าสาธยายอยู่ในจิต คือว่าจิตสวดมนต์ นึกถึงบทสวด และในการระลึกถึงบทสวดนั้นเมื่อมีความเข้าใจอยู่แล้ว ใจก็เข้าถึงอรรถคือ เนื้อความไว้ด้วย แต่ว่าถ้าไม่เข้าใจ รู้จักไม่เข้าถึงอรรถคือเนื้อความ ได้แต่พยัญชนะคือถ้อยคำแต่ก็ทำให้ใจรวมได้ และก็ด้วยเหตุที่พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณนั้นเป็นบทที่บริสุทธิ์ แม้จิตจะระลึกถึงโดยพยัญชนะ ไม่รู้ความ ก็ยังเป็นการดี เพราะเป็นบทที่บริสุทธิ์ ไม่มีบทไหนที่ไม่บริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างยิ่งจริง ๆ จิตก็อยู่กับบทสวดที่บริสุทธิ์ ก็ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ และ แม้ในการเจริญอานาปานสติที่หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ ก็เป็นการเจริญพุทธานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อเจริญหายใจเข้า ธัม หายใจออก โม ก็เป็นการเจริญธรรมานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อใช้หายใจเข้า สัง หายใจออก โฆ ก็เป็นการเจริญสังฆานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก







ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/somdej-21.htm

 (http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/somdej-21.htm)


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 12, 2014, 11:15:23 AM


ธชัคคสูตร


ป้องกันความสะดุ้งหวาดกลัว


บทขัดธชคฺคสุตฺตํ

ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ
ปติฏฺฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยํ วิย สพฺพทา
และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย
สพฺพูปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี
คณนา น จ มุตฺตานํ
แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด
ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ


ธชัคคสูตร # ๑


เอวัม เม สุตังฯ
ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้สดัลมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ
เสด็จพระทับอยู่ที่เชตะวันวิหารอารามของอนาถปิณฑิกะเศรษฐีใกล้เมืองสาวัตถี
ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกขุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว

ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้

ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

(หยุด)

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เรื่องดึงดำบรรพเคยมีมาแล้วเทวาสุระสังคาโม
สงครามแห่งเทพดากับอสูร

สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ
ได้เกิดประชิดกันแล้ว
อะถะโข ภิกขะเว สักโก
ครั้งนั้นแล ภิกขุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช
เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี
พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดา ผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
โส ปิหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา

อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อ ปชาบดี
ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี

อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
ทีนั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ
วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายบแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิส
อันนั้นจักหายไป
สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ที่นั้นท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน
อีสานัสสะ หิโว เทวะราาชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
เพราะว่าท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่ออีสานอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะตีติฯ
อันนั้นจักหายไปดังนี้

ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล
สักกัสสะ วา เทวานะ มินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม
ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดี ก็ตาม
วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ วรุณ ก็ตาม
อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ อีสาน ก็ตาม
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ
อั้นนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่หายบ้าง
ตัง กิสสะเหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา
อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป
ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้


อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ
ดูก่อนภิกขทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม
อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด
มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อันุสสะเรยยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั้นเทียวว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็น พุทธานุสสติ ดังนี้้


(หยุด)

อิติปิ
แม้เพราะเหตุนี้ๆ

โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา (ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทรงละเว้นการทำความชั่วทั้งหมด จึงทรงหมดสิ้นความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งปวง)

สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง (ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ตรัสรู้ ทรงรู้แจ้งทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมีวิธีให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอน แม้พระองค์ทรงมีความรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นจากครูอาจารย์หลายสำนัก แต่ความรู้ที่ทรงรับนั้นไม่ใช่ความรู้เพื่อพ้นจากทุกข์ พระองค์ทรงบรรลุความรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง)

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ (ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติปฏิบัติดี หมายถึง ความรู้ก็สมบูรณ์ดีเยี่ยมและความประพฤติดีงาม ทรงสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่ทรงรู้และปฏิบัติ ทรงสั่งสอนชาวโลกอย่างใดก็ทรงปฏิบัติอย่างนั้น ทั้งความรู้และความประพฤติสมดุลกัน พระพุทธเจ้าทรงมีความรู้และความประพฤติดีจนทำพระองค์ทรงพ้นจากกิเลสและความทุกข์ได้ แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามพระองค์จนได้บรรลุถึงความสุขในที่สุด)

สุคะโต
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว  (หมายถึง วิถีทางที่เสด็จไปดีงาม พระองค์เสด็จไปสู่อริยมรรคที่ดีงาม คือ ทางประเสริฐสู่พระนิพพานนั่นเอง พระองค์เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินไปสู่ผลสำร็จไม่ถอยหลัง ไม่ถอยกลับตกจากฐานะที่บรรลุถึง ทรงดำเนินไปในทางอันถูกต้อง ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ไม่หลงไปในทางที่ผิด นี้เป็นความหมายของ สุคะโต หรือพระตถาคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว และยังหมายถึง เสด็จไปดีเพื่อผู้อื่น คือ เสด็จไปที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดสวัสดี เช่น เสด็จไปกลับใจโจรองคุลิมาลให้เป็นคนดี เป็นต้น)

โลกะวิทู
เป็นผู้ทรงรู้โลก (ทรงรู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงรู้แจ้งความจริงของโลก โลกในที่นี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ที่เป็นไปต่างๆ ได้ทรงแนะนำสั่งสอนได้ตรงตามที่เขาต้องการ เป็นเหตุให้เขาปฏิบัติตามแล้วได้รับผลสำเร็จ)

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า (ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า หมายถึง ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะสมแก่บุคคล ทรงสอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญาและทำให้เขาบรรลุที่พึงได้เต็มตามกำลังความสามารถของเขา)

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย (ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ครูได้ดียอดเยี่ยม ทรงแนะนำพร่ำสอนชาวโลกด้วยพระกรุณาคุณ หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นหลัก ทั้งประโยชน์ในปัจจุบันคือชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้าและประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน)

พุทโธ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว (ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น หมายถึง ไม่ทรงหลง ไม่ทรงงมงาย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นจากความหลงงมงาย และทรงเป็นผู้เบิกบาน หมายถึง มีพระทัยผ่องใส บำเพ็ญพุทธกิจได้ครบถ้วนบริบูรณ์)

ภะคะวาติ
เป็นผู้จำแนกธัมม์ ดังนี้ (ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ทรงหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ทรงประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา แม้มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายพระองค์ได้ และทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม หมายถึง ทรงอธิบายธรรมโดยนัยต่างๆ เหมาะสมแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง จนได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติของเขา)

มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา
อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงตามระลึกถึงพระธัมม์ว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วระลึกถึงคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
ให้เราได้เห็นทางพ้นทุกข์ เป็น ธัมมานุสสติ ดังนี้้




หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 12, 2014, 11:17:10 AM

ธชัคคสูตร # ๒

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธัมม์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

สันทิฏฐิโก
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อเราน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติ ย่อมเห็นผลจากการเจริญปฏิบัตินั้นด้วยตัวเอง ซึ่งจะไปรู้เห็นโดยผู้อื่นปฏิบัติแทนไม่ได้ เหมือนดั่งการกินข้าว
- ผู้กินข้าวเขาย่อมรู้รสชาติในคำข้าวนั้น มีความอิ่มท้องดำรงชีพอยู่ได้
  แต่ผู้ไม่ได้กินสักแต่เพียงมองดูเขากิน แม้จะรู้ดีว่าผู้กินนั้นจะต้องอร่อยและอิ่มท้อง
  แต่ก็ย่อมไม่รู้รสในคำข้าวนั้นและอิ่มท้องไม่ได้ฉันใด
- ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนย่อมเป็นดั่งคนกินข้าว
  ผู้ที่ละเลยต่อการเรียนรู้และปฏิบัติจริง แม้จะรู้ว่าพระธรรมนั้นเป็นสิ่งดี
  แต่ก็ไม่รู้รสชาติและรับรู้ความอิ่มเต็มจากการเจริญปฏิบัติ
  ดั่งคนไม่ได้กินข้าวสักแต่เพียงมองอยู่ฉันนั้น)


อะกาลิโก
เป็นของไม่มีกาลเวลา (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อน้อมนำมาพิจารณาปฏิบัติเมื่อไหร่ ย่อมได้รับผลจากการปฏิบัติได้เมื่อนั้นไม่จำกัดกาล)

เอหิปัสสิโก
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้ (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมที่ปฏิบัติแล้วให้ผลแห่งการหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้ไม่จำกัดกาล
เป็นธรรมอันเป็นเครื่องปฏิบัติใน มรรค และ ผล
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศล ที่ควรแก่การบอกต่อให้ผู้อื่นได้รู้ตาม)


โอปะนะยิโก
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ (พระธรรมนั้นใดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมอันงามแห่งกุศลที่ได้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน)


ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นของอันวัญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้ (เป็นสิ่งที่วิญญูชน ๓ คือ ผู้รู้ ๓ จำพวก (แค่หัวข้อก็รู้ อธิบายจึงรู้ แนะนำจึงรู้) พึงรู้เฉพาะตน คือ จะต้องรู้ด้วยตนเอง มิใช่ว่าจะมีผู้อื่นรู้แทนได้ หรือมิใช่วาจะไปรู้แทนผู้อื่นได้)

ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธัมม์อยู่
ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระธัมม์
อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ
ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
ตั้งจิตมั่นระลึกถึงคุณของพระอริยะสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็น สังฆานุสสติ ดังนี้้


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว (คือ ผู้ที่เดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน มีความสำรวมกาย-วาจา-ใจ อบรมกาย-วาจา-ใจ เจริญบนทางแห่งกุศลศีล-ทาน-ภาวนา เป็นผู้อยู่บนทางแห่งมรรค)

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว (คือ ผู้ที่ปฏิบัติได้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนตรงตามจริงไม่บิดเบือน คือเป็นผู้อยู่ในทางแห่งมรรคที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้นำพาไปสู่ผล)

ญายะ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว (คือ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามจริงอยู่บนทางแห่ง "มรรค ๔" ให้เป็นไปเพื่อเสวยใน "ผล ๔" อันเกิดจากทางแห่งมรรคนั้น)

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว (คือ สัมมาวาจา เจรจาชอบ และ สัมมากัมมันตะ ความประพฤติชอบ อันเกิดแต่ สัมมาทิฐิ + สัมมาสังปัปปะ กล่าวคือ ดำรงกาย-วาจา-ใจ ด้วยมีศีลสังวร เจริญใน "สัลเลขสูตร" เป็นต้น อันเป็นที่เกิดแห่ง สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ให้รู้เห็นตามจริงได้ดำเนินไปในสัมโพชฌงค์ ๗ จนไปสู่ผล คือ วิมุตติ)

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่(มรรค ๔ ผล ๔ คือ ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลขึ้นไป) นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย
ท่านเป็นผุ้ควรสักการที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน(ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก) ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

(หยุด)


สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปะหิยยิสสะติ
อันนั้นจักหายไป

ตัง กิสสะ เหตุ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

ตะถา คะโต หิ ภิกขะเว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว

อะภิรุ อัจฉัมภี
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด

อะนุตราสี อะปะลายีติฯ
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล

อิทะมะโวจะ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้

อิทัง วตวานะ สุคะโต
พระองค์ผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา
ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้อีกว่า


อะรัญเญ รุกขะมูเล วาสุญญาคาเรวะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า
หรือในรุกขมูล หรือในเรือนเปล่า


อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ
ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย

โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ    
โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน

อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธัมม์
นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธัมม์
นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อันเป็นเครื่องนำออก ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว

อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

เอวัมพุทธัง สะรันตานังธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ
พระธัมม์และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้


ภะยัง วา ฉัมภิตัตตังวา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแล




หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 12, 2014, 12:40:22 PM

มงคลสูตร


บทความโดยย่อบทหนึ่งใน อนุสสติสูตร เป็นบทว่าด้วย เทวตานุสสติ

[๒๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่
เทวดาเหล่าดาวดึงส์อยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่
เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด
อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้แล..


อนุสสติฏฐานสูตร จบ

(อนุสสติฏฐานสูตร อาหุเนยยวรรคที่ ๑ ปฐมปัณณาสก์ ฉักกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ภาค ๓
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๖)
ขอขอบคุณที่มาจาก  อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ


(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ แม้ของตนเช่นนี้ๆดั่งเทวดาเหล่านั้น เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ อันที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วเหมือนดั่งเทวดาเหล่านั้นเช่นนี้ๆ เป็น "เทวตานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


ตำนานมังคละสุตตัง


(http://3.bp.blogspot.com/_mbE_hJsNoHw/TMFUsla_IuI/AAAAAAAABFI/KAgOZ3YtyQs/s1600/CaptureWiz455.jpg)


       หมู่มนุษย์ทั้งหลาย ในชมพูทวีป มาประชุมกันที่ประตูเมือง แล้วต่างก็พากันพูดคุยกันว่า สิ่งที่ตนนับถือเป็นมงคล ต่างฝ่ายต่างก็พากันถกเถียงกัน ในความเป็นมงคลของสรณะแห่งตน จนบังเกิดโกลาหล หาข้อยุติไม่ได้ พวกภุมเทวดา และเทพารักษ์ เมื่อได้ฟังพวกมนุษย์คิดและถกเถียงกัน ในข้อที่เป็นมงคล ก็พากันถกเถียงกันบ้าง จนเกิดโกลาหลรุกรามขึ้นไปจนถึงชั้นพรหม สิ้นเวลาไปจนถึง ๑๒ ปี ก็ยังไม่มีผู้ใดชี้เด็ดขาดลงไปได้ว่า สิ่งใดเป็นมงคล
       
       จนร้อนถึง ท้าวสุทธาวาส มหาพรหม จึงได้ประกาศ แก่หมู่เทพและมนุษย์ทั้งหลายว่า นับแต่นี้ไปอีก ๑๒ ปี องค์พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า จักทรงตรัสแสดงมงคลทั้งหลาย ให้เราทั้งหลายฟัง ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
       
       เมื่อกาลล่วงเลยมา สิ้นเวลาได้ ๑๒ ปี พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จอุบัติในโลกนี้แล้ว พวกเทวดาก็ต่างพากันไปถามปัญหาว่าอะไรเป็นมงคลแก่องค์อินทร์ องค์อินทร์ก็ไม่สามารถตอบปัญหาได้ จึงชวนกันไปเฝ้า พระบรมศาสดา เพื่อทูลถามปัญหา แล้วก็มอบหน้าที่ให้เทพยดาองค์หนึ่งเป็นผู้ถามปัญหา
       
       เมื่อความรู้ไปถึง เทพทุกชั้นฟ้า ต่างก็พากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อสดับมงคลคาถา รวมเป็นมีจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ จักรวาล





กล่าวโดยอรรถกถา

               เทพบุตรนั้นเชิญเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลให้ประชุมกันในจักรวาลอันเดียวนี้ เพื่อต้องการจะฟังมงคลปัญหา ได้เห็นแล้วซึ่งเทวดา มารและพรหมทั้งปวงผู้เนรมิตอัตภาพให้ละเอียด ประมาณเท่าปลายขนทรายเส้นหนึ่งเป็น ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ บ้าง ๓๐ บ้าง ๔๐ บ้าง ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง ๗๐ บ้าง ๘๐ บ้างผู้ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ผู้รุ่งโรจน์ก้าวล่วง (เทพ, มาร, และพรหม) เหล่านั้น ด้วยพระสิริและพระเดช และได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ที่ยังไม่ได้มาในสมัยนั้นด้วยใจ เพื่อจะถอนเสียซึ่งลูกศรคือความสงสัยของเทพเจ้าและมนุษย์ทั้งปวง จึงได้ทูลว่า
               เทพเจ้าและมนุษย์เป็นอันมากหวังอยู่ซึ่งความสวัสดี คือปรารถนาความสวัสดีแห่งตน จึงพากันคิดมงคลทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้ซึ่งข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ตามความอนุมัติของเทพเจ้าเหล่านั้น และด้วยความอนุเคราะห์ของมนุษย์ทั้งหลาย ขอจงตรัสบอกซึ่งมงคลอย่างสูงสุด คือว่าขอพระองค์ได้อาศัยความอนุเคราะห์ต่อข้าพระองค์ทั้งหลาย โปรดตรัสบอกมงคลอันสูงสุด เพราะจะนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียวแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น. การไม่คบ คือการไม่เข้าไปนั่งใกล้ ชื่อว่า อเสวนา ในพระคาถานั้น. ในคำว่า พาลานํ มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดย่อมอ่อนแอ เหตุนั้นชนเหล่านั้นชื่อว่า คนพาล.
               ถามว่า ย่อมอ่อนแอ เพราะเหตุไร?
               ตอบว่า ชนทั้งหลายย่อมเป็นอยู่สักว่าลมหายใจเข้าออก. อธิบายว่า ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยปัญญา. ซึ่งคนพาลทั้งหลายเหล่านั้น.
               ในคำว่า ปณฺฑิตานํ มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด ย่อมดำเนินไปด้วยปัญญา เหตุนั้นชนเหล่านั้นชื่อว่า บัณฑิต. อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมดำเนินไปด้วยญาณคติในประโยชน์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ. ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น.
               การคบ คือการเข้าไปนั่งใกล้ ได้แก่ การมีบุคคลนั้นเป็นสหาย การมีบุคคลนั้นเป็นเพื่อนชื่อว่า เสวนา.
               การทำสักการะ การทำความเคารพ การนับถือและการกราบไหว้ ชื่อว่า บูชา.
               คำว่า ปูชเนยฺยานํ หมายถึง ผู้ควรแก่การบูชา.
               คำว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบรวมการกระทำทั้งหมดคือ การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ เข้าด้วยกันแล้วตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด
               มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านจงถือเอาในคำที่ท่านถามว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ทั้ง ๓ นี้ว่า เป็นมงคลอันสูงสุดก่อนดังนี้ก่อน นี้คือการอธิบายบทแห่งพระคาถานี้.
               ส่วนการอธิบายเนื้อความแห่งพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบอย่างนี้.
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลานํ การไม่คบคนพาลทั้งหลายดังนี้เป็นต้น.


- มงคลสูตรนี้ เป็นธรรมอันว่าด้วยการปฏิบัติชอบ เป็นทางเจริญแห่งมรรค คือ ประกอบด้วย ศีล ทาน ภาวนา เป็นข้อเจริญปฏิบัติที่เหล่าเทวดาทั้งหลายไปทูลกราบขอข้อเจริญปฏิบัติกับพระตถาคตผู้เป็นพระบรมครู มนุษย์และเทวดาทั้งหลายพึงทำ แม้เทวดาทั้งหลายก็เจริญปฏิบัติให้บรรลุบททั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาเช่นนี้ๆ เมื่อเราผู้เป็นมนุษย์นั้นเจริญปฏิบัติกระทำในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ดีแล้ว ย่อมนำประโยชน์สุขมาให้แต่ตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง แลเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปจุติในสุคติภูมิอยู่บนสวรรค์นั้น






ความหมายของคำว่า มนุษย์

               สัตว์โลกที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะอรรถว่าเป็นเหล่ากอแห่งพระมนู ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า สัตว์โลกทั้งหลายที่ชื่อว่ามนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง.
               มนุษย์เหล่านั้นมี ๔ จำพวก คือ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ๑ พวกมนุษย์ชาวอมรโคยาน* ๑ พวกมนุษย์อุตตรกุรุ ๑ พวกมนุษย์ชาวปุพพวิเทหะ ๑.
               มนุษย์ชาวชมพูทวีป ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.

ชมพูทวีป หมายถึง โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ ดังมีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าแสดงดังนี้

ทวีปต่างๆในจักรวาล
๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
-มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
-สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง
-ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน
-ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"

๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เป็นแผ่นดินกว้าง ๙,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
-มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้วผลึก
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
-มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"

๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
-มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
-มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"

๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
-มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
-มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
-มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)" ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
-มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว






ขอขอบคุณที่มาบทขัดมังคลสุตตังโดยย่อจาก
http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html (http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html)
ขอขอบคุณอรรถกถาจาก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=317 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=317)
มนุษย์ จักรวาล หนื่นแสนโกฏฺิโลกธาตุ มีใน จูฬนีสูตร เป็นต้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5985&Z=6056 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5985&Z=6056)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=520

 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=520)


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 12, 2014, 02:57:03 PM

มงคลสูตร


(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะคาถาโย ภะนามะ เส.)


- มงคลสูตรนี้ เป็นธรรมอันว่าด้วยการปฏิบัติชอบ เป็นทางเจริญแห่งมรรค คือ ประกอบด้วย ศีล ทาน ภาวนา เป็นสิ่งอันผู้ชื่อว่า มนุษย์และเททวดาทั้งหลายพึงทำ แม้เทวดาทั้งหลายก็เจริญปฏิบัติให้บรรลุบททั้ง ๓๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาเช่นนี้ๆ เมื่อเราผู้เป็นมนุษย์นั้นเจริญปฏิบัติกระทำในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้ดีแล้ว ย่อมนำประโยชน์สุขมาให้แต่ตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง แลเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปจุติในสุคติภูมิอยู่บนสวรรค์นั้น



เอวัมเม  สุตัง
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ)
ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,            
เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา,
สมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า,
สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน,
เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของ
อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม,
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี,
อะถะ  โข  อัญญะตะรา  เทวะตา,
ครั้งนั้นแล เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง,
อะภิกกันตายะ  รัตติยา,
ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว,
อะภิกกันตะวัณณา,
มีรัศมีอันงามยิ่งนัก,
เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง,
ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง,
โอภาเสตะวา, เยนะ  ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ,
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในที่ใด
ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น,
อุปสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทตวา,
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว,

เอกะมันตัง  อัฏฐาสิ,
ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง,
เอกะมันตัง  ฐิตา  โข  สา  เทวะตา,
ครั้นเทพยดานั้น
ยืนในที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล,

ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ,
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า,
พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ,
หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก,
มังคะลานิ  อะจินตะยุง  อากังขะมานา  โสตถานัง,        
ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย,
พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง.
ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด.
                                               

(ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)

   อะเสวะนา  จะ  พาลานัง,
การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑,          
ปิณฑิตานัญจะ  เสวะนา,
การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑,
ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง,
การบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย ๑,        
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,

   ปะฏิรูปะเทสะวาโส  จะ,
การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑,
ปุพเพ  จะ  กะตะปุญญะตา,
การเป็นผู้มีบุญ อันทำแล้วในกาลก่อน ๑,
อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ,                                                    
การตั้งตนไว้ชอบ ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ,
              
   พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ,
การได้ฟังมาแล้วมาก ๑, ศิลปศาสตร์ ๑,
วินะโย  ตะ  สุสิกขิโต,
วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑,
สุภาสิตา   จะ  ยา  วาจา,
วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,
การบำรุงมารดาและบิดา ๑,
ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห,
การสงเคราห์ลูกและเมีย ๑,
อะนากุลา  จะ  กัมมันตา,
การงานทั้งหลายไม่อากูล ๑,
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ทานัญจะ  ธัมมะจะริยา  จะ,
การให้ ๑,  การประพฤติธรรม ๑,
ญาตะกานัญจะ  สังคะโห,
การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑,
อะนะวัชชานะ  กัมมานิ,
กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ๑.
เอตัมมังตะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   อาระตี  วีระตี  ปาปา,
การงดเว้นจากบาป ๑,
มัชชะปานา  จะ  สัญญะโม,
การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ๑.
อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ,
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑.
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   คาระโว  จุ  นิวาโต  จะ,
การเคารพ ๑   การไม่จองหอง ๑,
สันตุฏฐี  จะ  กะตัญญุตา,
ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑,
การเป็นผู้รู้อุปการะ อันท่านทำแล้วแก่ตน ๑,
กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง,
การฟังธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ขันตี  จะ  โสวะจัสสะตา,
ความอดทน ๑,  การเป็นผู้ว่าง่าย ๑,
สะมะณานัญจะ  ทัสสะนัง,
การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑,
กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา,
การเจรจาธรรมโดยกาล ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ตะโป  จะ  พรัหมะ  จะริยัญจะ,
ความเพียรเผากิเลส ๑,
ความประพฤติอย่างพรหม ๑,
อะริยะสัจจานะ  ทัสสะนัง,
การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑,
นิพพานะสัจฉิกิริยา  จะ,
การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ  จิตตัง,
จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลาย
ยัสสะ  นะ  กัมปะติ,
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว,
อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง,
ไม่มีโศก  ปราศจากธุลี   เกษม,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,

   เอตาทิสานิ  กัตวานะ,
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว,
สัพพัตถะ  มะปะราชิตา,
เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง,
สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ,                                    
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง,
ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมัง,
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด  ของเทพยดา
และมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.


- เมื่อเราทำไว้ในใจเจริญระลึกในมงคลทั้ง ๓๘ ประการนี้มาเป็นที่ตั้งแห่งสติ ด้วยระลึกว่าพระตถาคตผู้เป็นสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าตรัสสอนแก่ท้าวมหาพรหมให้เจริญปฏิบัติดังนี้และแม้เทวดาหมู่ใดทั้งหลายบนสวรรค์ทั้งปวงก็พึงกระทำให้บรรลุบทในมงคงทั้ง ๓๘ ประการนี้ ด้วยเหตุดังนี้เราก็ควรน้อมนำปฏิบัติเจริญในใจอยู่เนืองๆซึ่งมงคลทั้ง ๓๘ ประการนั้นแล้วกระทำออกมาทางกายและวาจา ย่อมถึงซึ่งอนุสสติ ๖ อันว่าด้วย "เทวตานุสสติ" และ ทำให้เราเข้าถึงซึ่งทางแห่งมรรค อันสืบเนื่องไปสู่ผล ที่พระโสดาบันเป็นต้นพึงกระทำให้บรรลุบท เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ไม่ก้าวลงสู่สิ่งที่ชั่วและแม้เมื่อจะละโลกนี้ไปแล้วก็ไม่ก้าวล่วงสู่นรกย่อมขึ้นไปสู่แดนสุคติภูมิที่เหล่าเทวดาอาศัยอยู่ด้วยประการฉะนี้


ขอขอบคุณที่มาบทสวดมนต์แปลจาก
http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

 (http://namthan01.blogspot.com/2013/07/blog-post.html)


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 12, 2014, 03:09:06 PM

ตำนานรัตนสูตร ( ยังกิญจิ)


          ในอรรถกถารัตนสูตรกล่าวว่า แต่เดิมกรุงเวสาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชี มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาธัญญาหาร อาณาประชาราษฏร์ร่มเย็นเป็นสุข
          มาคราวหนึ่งในสมัยพุทธกาล เกิดฝนเเล้ง ขาดแคลนอาหารถึงขนาด คนยากจนอดตาย ซากศพถูกทิ้งเกลื่อน พวกอมนุษย์ได้กลิ่นก็พากันเข้าไปทำอันตรายซ้ำเต็ม ทำให้คนตายมากขึ้น อหิวาตกโรคก็เกิดโรคระบาด ทำให้คนตายเหลือที่คณานับ นครเวสาลีประสบภัย ๓ ประการพร้อมกันคือ

๑. ทุพภิกขภัย ( ข้าวยากหมากแพง )
๒. อมนุษย์ ภัย ( ผีรบกวน )
๓. โรคร้าย ( เกิดอหิวาตกโรค )


          เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่าง ๆ ดังกล่าว

          เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใดจึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิศาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

          เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมื่องราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชา ของหอมและทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาง และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

          พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกันให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพรองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบลรมศาสดาจะเสด็จกลับ

          ทางเมืองไพศาลี ซึ่งตั้งอยู่ห่างฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปราบทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยนำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึกถึงพระศอเช่นกัน

          ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิดก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

          บรรดากษัตริย์สิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คันกั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์ กรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

          พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

          เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน

          ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคาร กลางพระนคร ด้วยของหอมและผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้งพระอานนท์ทำพระปริตอารักขาทั่วพระนครแล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้ง หนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

          พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา






บทขัดระตะนะสุตตัง


- ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสันทิฏฐิโต วา อะสัปปุริสะโต วา จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะมะนิสัปปะทีปิอัจฉะตะ รัจฉะสุกะระมะหิสะ ยักขะรักขะสาทีหิ นานาภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา อารักขังคัณหันตุ ฯ
- ขอเหล่าเทพดาจงคุ้มครองให้พ้นจากราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อมนุสสภัย อัคคีภัย อุทกภัย ภัยจากปีศาจ ภัยจากเคราะห์ร้ายยามร้าย จากโรคภัยไข้เจ็บ จากอสัทธรรม จากมิจฉา ทิฏฐิ คือความเห็นผิด จากคนชั่ว จากภัยต่างๆ อันเกิดแต่สัตว์ร้ายนานาชนิด และจากอมนุษย์ มียักษ์และนางผีเสื้อน้ำ เป็นต้น จากโรคต่างๆ จากอุปัททวะต่างๆ

- ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา ฯ
- เราทั้งหลาย จงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ดังพระอานนทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทร ในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกขกิริยาชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์นวโลกุตรธรรม ๙ ดังนี้ แล้วกระทำพระปริตรตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลี

- โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
โรคามะนุสสะทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
- เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่ง พระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์ และข้าวแพงในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.







ขอขอบคุณที่มาของ ตำนาน รตนสูตร
http://www.dhammathai.org/buddha/g74.php (http://www.dhammathai.org/buddha/g74.php)
ขอขอบคุณที่มาของ อรรถกถา ตำนาน รตนสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314)
ขอขอบคุณที่มาของ บทขัดรตนสูตร
http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=386.0 (http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=386.0)



หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 12, 2014, 03:21:00 PM

รตนสูตร # ๑

ตั้งสัจจาธิษฐาน ขอพระรัตนตรัยอำนวยความสวัสดี


ก. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณอันยิ่งใหญ่ของพระรัตนตรัยอันไม่มีใครเสมอเหมือน
ได้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะดังพระสูตรที่เราจะสาธยายดังต้อไปนี้คือ


๑. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย
อันข้าพเจ้ากล่าวโดยเคารพเถิด

ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงฟังข้าพเจ้า

เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ฯ
ขอท่านทั้งหลาย
จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ซึ่งเขาทั้งหลาย
ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
เพราะเหตุนั้นแล
ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท
ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด


ข. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีพระคุณและพระกรุณาที่สูงค่าอันหาที่เปรียบไม่ได้
เป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
แผ่ประกาศก้องไปสู่ ภูต สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นให้ได้รับรู้ตามพระสูตรนี้
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจร
ะลึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างนั้น


๒. ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
สักเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
หรือรัตนะใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ
ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะสุวัตติ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

ค. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
น้อมระลึกถึงพระธรรมคำสอนอันเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลส
และความพ้นจากกองทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเผยแพร่ให้รู้ตาม
เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมอันสูงค่ากว่าธรรมใดๆ
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงพระธรรมอย่างนั้น


๓. ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น
ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส
เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

ง. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ด้วยทรงเป็นผู้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
น้อมระลึกถึงพระธรรมคำสอนอันเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลส
และความพ้นจากกองทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเผยแพร่ให้รู้ตาม
เป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อสมถะได้แก่กุศลสมาธิและวิปัสสนาญาณได้แก่ปัญญารู้แจ้ง
น้อมระลึกถึงคุณแห่งธรรมอันเป็นไปเพื่อสัมมาสมาธิ
และคุณแห่งสัมมาสมาธิอันทำให้จิตตั้งมั่น ให้เกิดเห็นยถาภูญาณทัสนะ
ถึงนิพพิทาญาณด้วยวิปัสสนาณาณอันถึงความหลุดพ้นเป็นวิมุตติ
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงคุณแห่งสัมมาสมาธินัั้น


๔. ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทรงสรรเสริญสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด

สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้

สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
สมาธิอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ ก็จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด

จ. ให้กำหนดจิตระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธายิ่ง
ซึ่งเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์นั้นแล้ว
เป็นผู้ที่ควรแก่การกราบไหว้ต้อนรับ เป็นผู้ที่ควรแก่การทำทักษิณาทาน
เป็นผู้เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบไป
พร้อมน้อมจิตเราสวดมนต์ด้วยสภาวะจิตอันกำหนดไว้ในใจ
ระลึกถึงคุณแห่งสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านัั้น


๕. เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา
บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น
ย่อมมีผลเป็นอันมาก

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๖. เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี
ดำเนินไปในศาสนา ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือ พระอรหัตตผลแล้ว

ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
จึงได้เสวยอมตะรส คือ
ความสงบเย็น จากความเร่าร้อนทั้งปวง

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๗. ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว
ลมทั้งสี่ทิศ ไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ ฉันใด

ตะถูปะมัง สัปปุริง วะทามิ โย
อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
เราตถาคตกล่าวว่า
สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสัจธรรม ก็มีอุปมาฉันนั้น นั่นแล

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๘. เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลาย
ที่พระบรมศาสดา ผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง
ทรงแสดงดีแล้ว ให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
บุคคลเหล่านั้น ถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งภพที่ ๘
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๙. สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ,
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
สังโยชน์ ๓ ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ
อันพระโสดาบันละได้แล้ว
เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสนะ

จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้ว
จากอบายภูมิทั้ง ๔

ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน
คือ ฐานะอันหนัก ๖ ประการ

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๐. กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย
ทางวาจา หรือทางใจ อยู่บ้างก็จริง

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผย ไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
ความที่บุคคลเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว
เป็นผู้ไม่ปกปิดความผิดไว้นี้
อันเราตถาคตกล่าวแล้ว

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๑. วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะ มาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
พุ่มไม้ในป่า แตกยอดในเดือนคิมหันต์
แห่งคิมหันตฤดูฉันใด

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
พระตถาคตเจ้า
ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

นิพพานะคามิง ปะระมังหิตายะ
ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน
เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย
ก็มีอุปมาฉันนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๒. วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐ
ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ
ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ
ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ

อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า
ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๓. ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
กรรมเก่า ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว
กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
พระอริยบุคคลเหล่าใด
มีจิตอันหน่ายแล้ว ในภพต่อไป

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬ หิฉันทา
พระอรหันต์เหล่านั้น
มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว
ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน
เหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด




หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 13, 2014, 06:37:16 PM

รตนสูตร # ๒

ตั้งสัจจาธิษฐาน ขอพระรัตนตรัยอำนวยความสวัสดี


ฉ. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดังนี้คือ


๑๓. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี
ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


ช. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระธรรมเป็นสรณะดังนี้คือ


ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


ซ. เบื้องต้นให้กำหนดจิตระลึกถึงภูตทั้งหลาย อมนุษษย์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย
แล้วกระทำไว้ในใจด้วยความสงเคราะห์แก่เขาเหล่านั้น
ตั้งจิตทำไว้ในใจด้วยปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ถึงคุณของพระรัตนะตรัยดังสาธยายมานี้แล้ว
ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้ถึงซึ่งพระสงฆ์เป็นสรณะดังนี้คือ


ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข.
เหล่าภูตทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี
ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี
ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะสะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว
อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด


รตนสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ฯ





หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 19, 2014, 09:30:29 PM

กะระณียะเมตตะสูตร


หลวงปู่ดู่ดำริ-บทสวดกรณียเมตตาสูตร บทแผ่เมตตานี้คือพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้า


(http://www.craftsonsales.com/media/catalog/product/cache/1/image/265x265/9df78eab33525d08d6e5fb8d27136e95/CX-EV-CPA48.jpg)


                    มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ลูกศิษย์ท่านนึงกำลังสนทนาธรรมกับหลวงพ่อดู่ หลวงพ่อดู่ท่านเปรยว่า "เคยได้ยินเรื่องพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้าไหม" ลูกศิษย์เรียนท่านว่าไม่เคยได้ยินหมายถึงอะไร หลวงพ่อท่านเลยเล่าเรื่อง "เมื่อครั้งที่พระภิกษุออกไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าได้วันแรก ๆ เทวดาหรือรุกขเทวดาที่ประจำอยู่ตามต้นไม้ ก็อวยชัยให้พรดี แต่เมื่ออยู่นานไป ก็ทำท่าเหมือนกับมาหลอกพระ ทำให้พระต้องหนีออกจากป่า จึงกราบทูลกับ พระพุทธเจ้าว่า ควรจะทำอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เราจะมอบพระขรรค์เพชร ไปให้พวกเธอ พระขรรค์เพชร ในที่นี้ คือ การเจริญเมตตา หรือกรณียเมตตาสูตร ซึ่งมีอยู่ใน 12 ตำนาน เป็นการกล่าวถึงกิจของพระสงฆ์ที่ควรกระทำ การแผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ตั้งแต่สัตว์ไม่มีขา สัตว์มีขา ภูตผีปีศาจทั้งหลาย เมื่อพระภิกษุเอาบทกรณียเมตตาสูตรมาสวด แล้วก็แผ่เมตตาไปให้เทวดาทั้งหลายนั้น เทวดาทั้งหลายก็ไม่ได้มารบกวนท่าน ทำให้การบำเพ็ญสมณธรรมลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งเหล่านั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ หลวงพ่อท่านบอกว่า "เวลาที่ข้าทำพระขรรค์ให้แกนั้น ข้าก็ใช้บทนี้ด้วย บทนี้เป็นบทสำคัญ เวลาเดินป่าหรือเวลาไปที่หนึ่งที่ใดก็ตามให้ใช้สวด หมั่นสวดให้จำได้อยู่เสมอ มีอานุภาพมาก หรือแม้แต่เราผ่านศาลไปที่หนึ่งที่ใด เราใช้เพียงคำว่า เมตตัญจะ สัพพะโล กัสมัง มานะ เทวดาที่ประจำอยู่ศาลก็จะมาส่งเป็นทอด ๆ ไปจนสุดทาง







คาถาแผ่เมตตา (กรณียเมตตาสูตร) แบบย่อ หลวงปู่่ขาว อนาลโย วัดถ่ำกลองเพล ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ดังนี้


(http://www.santidham.com/tatu1st/tatu/present/p-kao/1.jpg)

พุทธะ เมตตัง จิตตังมะมะ พุทธะ พุทธานุภาเวนะ

ธัมมะ เมตตัง จิตตังมะมะ ธัมมะ ธัมมานุภาเวนะ

สังฆะ เมตตัง จิตตังมะมะ สังฆะ สังฆานุภาเวนะ


ใช้ ภาวนาก่อนจบการปฏิบัติภาวนา เป็นการแผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล หรือภาวนาบ่อย ๆเป็นพรหมวิหารภาวนา มีอานิสงค์มาก หลวงปู่เคยภาวนาคุยกับพญาช้างในป่่ามาแล้ว







ขอขอบคุณที่มาของบทสวด กะระณียะเมตตะสูตร-แปล จาก http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=386.0 (http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=386.0)

ขอขอบคุณที่มาของคำแปลและเกร็ดสาระความรู้จาก http://www.visudhidham.com/

 (http://www.visudhidham.com/)


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 19, 2014, 09:31:17 PM

กะระณียะเมตตะสูตร


พึงกำหนดจิตทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นมิตรที่ดีกับคนและสัตว์ทั้งปวงบนโลกนี้
เราจักกระทำคุณอันงาม เป็นกิจอันประกอบไปด้วยประโยชน์
ซึ่งเป็นกิจที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้นพึงกระทำบรรลุบทอันดีแล้วดังนี้ คือ


กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ
ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

กิจอันใด อันพระอริยะเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว
กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ


สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด
ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย


สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข
มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด


พึงกำหนดจิตทำไว้ในใจว่า เราจักไม่เป็นศัตรูกับใครทั้งปวง
เราจักเป็นมิตรที่ดีกับสิ่งทั้วงปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในที่ใดๆในโลกนี้ก็ตาม
จะอยู่ในที่แคบ ที่กว้าง ที่โล่ง ในป่า ในโพรงไม้ ในน้ำ ในดิน หรือ ในซอกใดมุมใดพื้นที่ใดก็ตาม
เราจักจักไม่มีความติดใจข้องแวะต่อใคร จักเป็นผู้ไม่ผูกโกรธแค้นเคืองพยาบาทใคร
ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอความสุขสวัสดิ์ดีจงมีแก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง
(น้อมจิตสละแผ่เอาบุญบารมีทั้งปวงที่เรามีอยู่นั้น ได้นำพาความสุขสวัสดิ์ดี
ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงบนโลกนี้ไปสู่เขาเหล่านั้น)
ซึ่งมีเป็นต้นดังต่อไปนี้ คือ


เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา )
หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ


ทีฆา วา เย มะหันตา วา
มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

เหล่าใดยาวหรือใหญ่
หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี


ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น
จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด


นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ


มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง
อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

มารดาถนอมลูกคนเดียว
ผู้เกิดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด


เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

พึงเจริญเมตตา มีในใจ
ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น


---------------------------------------------------

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

บุคคลพึงเจริญเมตตา
มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น


อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น
ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี

สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
นอนแล้วก็ดี
เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด


เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า
เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้


ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา
บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว


เมื่อเจริญจิตทำไว้ในในเช่นนี้ๆ อธิษฐานเช่นนี้ๆ พระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้าย่อมสำแดงเดชไปทุกที่ บทสวดมนต์นี้ คือพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้า เป็นอาวุธที่ว่าด้วยเมตตา ซึ่งเมื่อจะสวดมนต์กระทำบริกรรมภาวนาใดๆในบทสวดมนต์พระสูตรนี้ ให้พึงทำไว้ในใจตั้งจิตแผ่ของไปอยู่นี้ๆ "เมตตาพรหมวิหาร ๔ คือ ความรักใคร่ปารถนาดีอันน้อมไปในการสละ" ย่อมเกิดขึ้นแก่จิตเราทันที


ขอขอบคุณที่มาบทสวดมนต์แปลจาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=23152

 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=23152)


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 19, 2014, 09:31:52 PM

สัลเลขสูตร

พุทธพจน์ และ พระสูตร ๓๙.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒



           เป็นพระสูตรที่แสดงธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสต่างๆ  และยังแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งในเบื้องต้นเรื่องรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ทั้ง ๘ นี้ว่า ยังไม่ใช่หนทางหรือเครื่องขัดเกลากิเลสให้ถึงความเป็นอริยะหรือพ้นทุกข์  เนื่องจากผู้เขียนเล็งเห็นว่าศรัทธาอันดีงามอย่างถูกต้องในพระสูตรจากพระองค์ท่าน เมื่อนำมาเจริญวิปัสสนาหรือพิจารณาด้วยปัญญาอาจเป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติบ้าง จักได้ปฏิบัติได้ถูกต้องแนวทางแห่งพุทธธรรมโดยแท้จริง  เนื่องจากในปัจจุบันนี้  การปฏิบัติการเผยแผ่มักไปเน้นกันเสียแต่ในรูปแบบของสมถสมาธิหรือสมถกรรมฐานกันอย่างจริงจังล้วนๆเป็นส่วนใหญ่ด้วยอวิชชา ทั้งโดยรู้ตัวด้วยเจตนาบางประการ และทั้งด้วยความไม่รู้หรืออวิชชาว่า ไม่ใช่หนทางด้วยความเข้าใจผิดต่างๆ  ต่างจึงไม่เคยนำพาไปเป็นเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญปัญญากันอย่างจริงจังเลย  หรือพิจารณาเพียงพอได้ชื่อว่าได้พิจารณาเท่านั้นเองไม่เห็นความสำคัญ และมักเข้าใจผิดไปว่า ได้เจริญวิปัสสนา หรือได้ปฎิบัติพระกรรมฐานอย่างบริบูรณ์ดีงามแล้ว จึงเกิดการหลงผิดไปติดเพลินกันเป็นจำนวนมากมาย  ด้วยการไปติดเพลินหรือนันทิในฌานหรือสมาธิในรูปแบบต่างๆ ดังได้อธิบายไว้ในเรื่องติดสุข และเรื่องถาม-ตอบปัญหาสมาธิ ที่กลับกลายเป็นการดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทธรรมเสียโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา อันกลับกลายเป็นยังให้เกิดทุกข์ชนิดรูปภพและอรูปภพอันเร่าร้อนเผาลนรุนแรงโดยไม่รู้ตัว  อันสัลเลขสูตรนี้ พระองค์ท่านได้ทรงตรัสไว้อย่างแจ่มแจ้งดีงามตามความเป็นจริงอันยิ่งแล้วว่า ฌาน,สมาธิอันเป็นมรรคปฏิบัติอันสำคัญยิ่งก็ตามที และเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่ให้เป็นสุข  แต่ยังไม่ใช่เครื่องขัดเกลาหรือเครื่องดับกิเลสตัณหาแต่โดยตรง  ฌานสมาธิจึงยังต้องนำไปเป็นเครื่องหนุน ในการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญปัญญา จึงจะเป็นไปเพื่ออริยะหรือเพื่อการดับทุกข์อย่างแท้จริงได้


สัลเลขสูตร

ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส



            [๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อย แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง
ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง(การกล่าวถึงเรื่องต่างๆในทางโลก) ย่อมเกิดขึ้นในโลก(ย่อมเกิดเป็นธรรมดา)
เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ  (ใน)การละทิฏฐิเหล่านั้น  (ใน)การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น
ย่อมจะมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า
            [๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ
ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตา(การกล่าวถึง ว่าเป็นตัวตนหรือของตัวของตน)บ้าง
ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลก(การกล่าวถึงเรื่องต่างๆในทางโลก)บ้าง  ย่อมเกิดขึ้นในโลก(เป็นธรรมดา)
ก็ทิฏฐิเหล่านั้น  ย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์(สิ่งที่จิตไปกำหนด)ใด  นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด  และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นมิใช่ของเรา  เรามิใช่นั่น  นั่นมิใช่อัตตาตัวตนของเรา  
ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น  การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น  ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
รูปฌาน ๔
             [๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ วิเวกอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมา)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เรา(ยัง)ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า  (ยัง)เป็น(เพียงแค่)ธรรมเครื่องอยู่(เครื่องอาศัยให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
พึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม เครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
อรูปฌาน ๔
             [๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน อยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน ฌานอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
             อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ




ขอขอบคุณที่มาของ ธรรมอธิบาย และ สัลเลขสูตรแปล จาก
http://www.nkgen.com/386.htm (http://www.nkgen.com/386.htm)

**ในวงเล็บนั้นท่านผู้โพสท์และเจ้าของเวบใช้เป็นคำขยายความภาษาทางโลกเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายกว่าเชิงอรรถ**




หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 24, 2014, 11:27:51 AM

สัลเลขสูตร (๒)

ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส



[๑๐๔]    ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ

เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน
ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็น ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.(ละความเบียดเบียนเป็นศีล)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.(เว้นจากปาณาติบาต)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการลักทรัพย์.(เว้นจากอทินนาทาน)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักประพฤติพรหมจรรย์.(เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงด เว้นจากการกล่าวเท็จ.(เว้นจากมุสาวาท)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด.(เว้นจากปิสุณาวาจา)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ.(เว้นจากผรุสวาจา)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ.(เว้นจากสัมผัปปลาปะ)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะ(ทรัพย์สินสิ่งของมีค่า)ของผู้อื่น
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.(ละอภิชฌา)
[ละอภิชฌาได้ ย่อมเว้นจากปาณาติบาต,อทินนาทานและกาเมสุมิจฉาจารได้,ทำกุศลธรรมที่ควรเสพย์ให้เจริญขึ้นได้]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่มีจิตพยาบาท.
(ละพยาบาท [มีใจหมายทำร้ายให้ผู้อื่นถึงความฉิบหายจากความผูกโกรธ] ย่อมได้ "เมตตา")


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเห็นชอบ.(สัมมาทิฏฐิ)
[เห็นในอริยะสัจจ์]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความดำริชอบ.(สัมมาสังกัปปะ)
[กุศลวิตก ๓ เป็นต้น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วาจาชอบ.(สัมมาวาจา)
[กล่าวแต่วาจาที่ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์เว้นจากสุสาวาททั้งปวง]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีการงานชอบ.(สัมมากัมมันตะ)
[ประพฤติชอบ (ทางกาย) มีศีลสังวร เป็นต้น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี อาชีพชอบ.(สัมมาอาชีวะ)
[เลี้ยงชีพชอบ ดำรงชีพชอบ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเพียรชอบ.(สัมมาวายามะ)
[สัมมัปปธาน ๔ เป็นต้น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สติชอบ.(สัมมาสติ)
[ระลึกชอบ,ระลึกรู้ชอบ,หวนระลึกรู้ชอบ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สมาธิชอบ.(สัมมาสมาธิ)
[จิตตั้งมั่นชอบ,ตั้งจิตมั่นชอบ มีจิตจดจ่อควรแก่งานให้รู็เห็นตามจริง]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี ญาณชอบ.(สัมมาญาณ)
[ปัญญาชอบ ปัญญารู้เห็นตามจริง ยถาภูญาณทัสนะ ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วิมุติชอบ.(สัมมาวิมุตติ [หลุดพ้นชอบ])

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.(ความหดหู่และเคลิมเคลิ้มเซื่องซึม ความง่วงเหงาซึมเซา)
[ละโมหะ ย่อมได้ความแช่มชื่นผ่องใส มีความเพียรขยัน]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.(คิดนึกเรื่อยเปื่อย คิดวนเวียนปรุงแต่ง จิตส่งออกไปภายนอก)
[ละความฟุ้งซ่านย่อมได้ความสงบ คือ สมาธิ มีจิตตั้งมั่น]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักห้าม พ้นจากวิจิกิจฉา.(ความคลางแคลงสงสัย)
[ละโมหะอันเป็นไปในความสงสัยย่อมได้ปัญญา เจริญปฏิบัติและพิจารณาจนเห็นตามจริง]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความโกรธ.
[ละโทสะ ย่อมไม่เร่าร้อน ร้อนรุ่มกายใจ และ ได้เมตาและศีล]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่ผูกโกรธไว้.
(ละความผูกเวร ย่อมได้ เมตตาและศีล)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ สัปปุริสธรรม ๗)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ยกตนเทียมท่าน.
(ละมานะทิฐิ และ อัตตานุทิฐิ ไม่ยกตนเทียมท่าน ย่อมได้ ความสำรวมกายใจ,สัปปุริสธรรม ๗)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความริษยา.
[ละความริษยา ย่อมได้ มุทิตาพรหมวิหาร ๔ เป็นบารมี]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความตระหนี่.
[ละโลภะ ย่อมได้ กรุณาพรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นบารมี]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ โอ้อวด.
[ไม่โอ้อวดตน ย่อมละมานะทิฐิในตนได้ ย่อมละอัตตานุทิฐิได้ เข้าถึงสัปปุริสธรรม ๗]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ มีมารยา.
(ละมารยา ย่อมได้ สุจริต ๓ และ มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ ดื้อด้าน.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ ดูหมิ่นท่าน.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ สัปปุริสธรรม ๗,มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ว่าง่าย.
(ละมานะทิฐิ ความหลงตน ว่ายาก ถือตน ย่อมได้ มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี กัลยาณมิตร.
(ละการคบมิตรชั่ว คบกัลยาณมิตร ย่อมได้ สัมมาทิฐิ ปัญญา มงคล ๓๘ ประการ)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนไม่ประมาท.
[ความไม่ประมาท ย่อมสำเร็จได้ใน ศีลสงวร ความสำรวมกาย-วาจา-ใจ]


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนมีศรัทธา.(ความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล)
(ศรัทธา ๓ เชื่อเรื่องกรรม ผลของกรรม เชื่อการตรัสรู้เองโดยชอบของพระพุทธเจ้า)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น ผู้มีหิริในใจ.(ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.(ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสุตะมาก.(การเล่าเรียน สดับฟัง ศึกษาหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญ)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ปรารภความเพียร.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม
ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.(เจริญในสัมมัปปธาน ๔)

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา.
(อาศัยสัมาสติ+สัมมาสมาธิ จนเกิดปัญญารู้แจ้งตามจริง ทำลายความยึดถือตัวตน ความเห็นว่าเที่ยง เพื่อออกจากทุกข์)


เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.

[๑๐๕]    ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาท(จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมกัน, การเกิดขึ้นแห่งความคิด, ความคิดที่เกิดขึ้น, ที่เกิดขึ้นแห่งความคิด, ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นหรือเกิดแบบกะทันหัน) ว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
    ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
    ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย





- จะเห็นได้ว่าทั้งหมดใน วรรค [๑๐๔] และ [๑๐๕] นี้ "พระพุทธเจ้าตรัสสอนเลยว่าการหลุดพ้นถึงวิมุตติได้ไม่ใช่แค่ จิต สมาธิ หรือ สติอย่างเดียวเท่านั้น จะต้องมีศีลสังวรเป็นหลักอยู่ทุกขณะด้วย"
- ดังนั้นให้เราพึงระลึกเจริญในศีลอันงามนี้อยู่ทุกขณะ โดยต้องเจริญในพรหมวิหาร ๔ และ ทาน ร่วมไปด้วย ศีลก็จะหมดจดงดงาม ขจัดสิ้นซึ่งกิเลส เป็นมงคลอันดีนำพาไปซึ่งความเป็น พระอริยะ เป็นทางมรรคและผล เมื่อเราเจริญระลึกอยู่ใน ศีลสังวร(ความสำรวมระวังในศีลไม่เบียดเบียนทางกายและวาจา) เมื่อหวนระลึกถึงศีลอันเราทำบริบูรณ์ดีแล้วนั้น ก็เป็น "สีลานุสสติ" ความระลึกเอาศีลเป็นที่ตั้งแห่งสติ คือ ระลึกเอาศีลข้อที่ไม่ขาดไม่ทะลุ อันบริสุทธิ์ดีแล้วมาเป็นที่ตั้งแห่งสติ





หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 25, 2014, 09:45:13 AM

สัลเลขสูตร (๓)

ว่าด้วยทางหลีกเลี่ยงคนชั่ว



             [๑๐๖] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับหลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น

อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับ หลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น
ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล
--> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เบียดเบียน

             การงดเว้นจากปาณาติบาต --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
             การงดเว้นจากอทินนาทาน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.
             การประพฤติพรหมจรรย์ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน.
             การงดเว้นจากมุสาวาท --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.
             การงดเว้นจากปิสุณาวาจา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
             การงดเว้นจากผรุสวาจา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
             การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
             ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
             ความไม่พยาบาท --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
             ความเห็นชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.   (สัมมาทิฏฐิ)
             ความดำริชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.   (สัมมาสังกัปปะ)
             การกล่าววาจาชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวาจาผิด.   (สัมมาวาจา)
             การงานชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.   (สัมมากัมมันตะ)
             การเลี้ยงชีพชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด.   (สัมมาอาชีวะ)
             ความเพียรชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเพียรผิด.   (สัมมาวายามะ)
             ความระลึกชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.   (สัมมาสติ)
             ความตั้งใจชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตั้งใจผิด.   (สัมมาสมาธิ)
             ความรู้ชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.   (สัมมาญาณ - สัมมาปัญญา)
             วิมุตติชอบ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวิมุตติผิด.   (สัมมาวิมุตติ)

(ทั้ง ๑๐ ข้างต้นนี้ เรียก สัมมัตตะ ๑๐  หรือการปฏิบัติหรือภาวะที่ถูกต้อง  หรือมรรคมีองค์ ๑๐ ของพระอริยเจ้า)

             ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลถูกถีนมิทธะครอบงำ.
             ความไม่ฟุ้งซ่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
             ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย.
             ความไม่โกรธ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.
             ความไม่เข้าไปผูกโกรธ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เข้าไปผูกโกรธ.
             ความไม่ลบหลู่คุณท่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน.
             ความไม่ยกตนเทียมท่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักยกตนเทียมท่าน.
             ความไม่ริษยา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.
             ความไม่ตระหนี่ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.
             ความไม่โอ้อวด --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.
             ความไม่มีมารยา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.
             ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อด้าน.
             ความไม่ดูหมิ่นท่าน --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
             ความเป็นผู้ว่าง่าย --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.
             ความเป็นผู้มีมิตรดี --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
             ความไม่ประมาท --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.
             ความเชื่อ --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.
             ความละอายต่อบาป --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
             ความสะดุ้งกลัวต่อบาป --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
             ความเป็นพหูสูต --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
             การปรารภความเพียร --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
             ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
             ความถึงพร้อมด้วยปัญญา --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
             ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยง่าย --> เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยยาก.


             [๑๐๗] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง
             กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้เบียดเบียน.
             การงดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
             การงดเว้นจากอทินนาทาน ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ ลักทรัพย์ ฯลฯ

             ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่ายเป็นทางสำหรับ ความเบื้องบนของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก





หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กันยายน 25, 2014, 09:45:55 AM

สัลเลขสูตร (๔)

ว่าด้วยอุบายบรรลุนิพพาน



            [๑๐๘] ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จม อยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
             ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
             ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
              ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่น ดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด.
            ดูกรจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล --> ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เบียดเบียน.
            การงดเว้นจากปาณาติบาต --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
            การงดเว้นจากอทินนาทาน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลักทรัพย์.
            การประพฤติพรหมจรรย์ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เสพเมถุนธรรม.
            การงดเว้นจากมุสาวาท --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเท็จ.
            การงดเว้นจากปิสุณาวาจา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
            การงดเว้นจากผรุสวาจา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
            การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
            ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
            ความไม่พยาบาท --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
            ความเห็นชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
            ความดำริชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความดำริผิด.
            การกล่าววาจาชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีวาจาผิด.
            การงานชอบ(ประพฤติชอบ [ทางกาย]) --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการงานผิด.
            การเลี้ยงชีพชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
            ความเพียรชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
            ความระลึกชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
            ความตั้งใจชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความตั้งใจผิด.
            ความรู้ชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
            วิมุตติชอบ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความพ้นผิด.
            ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำ.
            ความไม่ฟุ้งซ่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
            ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความสงสัย.
            ความไม่โกรธ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักโกรธ.
            ความไม่เข้าไปผูกโกรธ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ผูกโกรธ.
            ความไม่ลบหลู่คุณท่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน.
            ความไม่ยกตนเทียมท่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ยกตนเทียมท่าน.
            ความไม่ริษยา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ริษยา.
            ความไม่ตระหนี่ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ตระหนี่.
            ความไม่โอ้อวด --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้โอ้อวด.
            ความไม่มีมารยา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมารยา.
            ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดื้อด้าน.
            ความไม่ดูหมิ่นท่าน --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
            ความเป็นผู้ว่าง่าย --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ว่ายาก.
            ความเป็นผู้มีมิตรดี --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
            ความไม่ประมาท --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ประมาท.
            ความเชื่อ --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่ศรัทธา.
            ความละอายต่อบาป --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
            ความสะดุ้งกลัวต่อบาป --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
            ความเป็นพหูสูต --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
            การปรารภความเพียร --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
            ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
            ความถึงพร้อมด้วยปัญญา --> เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
            ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย --> เป็นทาง สำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก.

            [๑๐๙] ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว
             เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว
             เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว
             เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้ แสดงแล้ว
             เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้
             ดูกรจุนทะ กิจอัน ใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอ ทั้งหลายแล้ว
             ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล.


             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.





พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ ทรงแสดงสนธิ ๕
พระสูตรนี้ ชื่อสัลเลขสูตร ลุ่มลึก เปรียบด้วยสาคร ฉะนี้.
จบ สัลเลขสูตร ที่ ๘






๑. พระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระบรมครูยิ่งใหญ่ไม่มีใครเสมอเหมือนในสามโลก พระองค์ทรงได้ตรัสพระธรรมเช่นนี้ๆกับพระอรหันตสาวกของพระองค์ แล้วพระอรหันตสาวกของพระองค์นั้นได้นำมาเผยแพร่ให้เราได้รับรู้ถึงทางจพที่เข้าถึงมรรคและผล ซึ่งโดยใจความสรุปโดยย่อแล้ว พระตถาคตเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า การที่จะบรรลุสู่วิมุตติ หรือ มรรค ๑๐ ได้นั้น ไม่ใช่มีเพียง สมาธิ หรือ ปัญญาเท่านั้น แต่ต้องดำรงในศีล คือ ความไม่เบียดเบียนทางกายและวาจาด้วย หากไม่มีศีล มีสมาธิก็ยากที่จะเข้าสู่กุศล มีปัญญาก็เป็นปัญญาอันมิชอบ
๒. ดังนั้นแล้วด้วยเหตุอย่างนี้ๆ..ผู้ปฏิบัติเพื่อถึงความเป็นอริยะถึงวิมุตติความหลุดพ้นชอบจะขาดไม่ได้เลยซึ่งศีล อันเป็นฐานเป็นที่ตั้งให้ "จิตตุปบาทอันเป็นสัมมาเกิดขึ้น๑" เป็นฐานที่ตั้งให้ "เราหลีกเลี่ยงออกจากอภิชฌา อสัปปุริสธรรม อกุศลธรรมทั้งปวง๑" เป็นฐานที่ตั้งให้ "กาย-วาจา-ใจ ถึงซึ่งความเป็นเบื้องบน๑" เป็นฐานเป็นที่ตั้งให้ "เราเข้าถึงความดับสนิทซึ่งกิเลส๑"
๓. ด้วยเหตุดังนี้ เมื่อย่อกล่าวถึงความถึงซึ่งทางแห่งพระอริยะ คือ มรรค และ ผล อันเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่แล้ว ต่องเจริญใน ศีล-สมาธ-ปัญญา สงเคราะห์ร่วมกัน ไม่อย่างนั้นจะถึงซึ่งทางแห่ง มรรค ๑๐ ไม่ได้เลย
๔. ดังนั้นแล้วพึงสำรวจดูศีลของตนและเจริญในสัลเลขะเบื้องต้นด้วยวิธีดังนี้
    ๔.๑ เมื่อตื่นขึ้นมาให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ พึงหายใจเข้าระลึก พุท หายใจออก ระลึก โธ จนจิตสงบสบาย (หากมีสติอยู่จะไม่หลับ หากสติมีน้อยจะหลับต่อทันทีครับข้อนี้จึงพึงมีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเราตื่นนอนแล้วกำลังทำสมาธิอยู่ มีสติระลึกรู้ว่าเรานั้นกำลังกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่)
    ๔.๒ พึงทำไว้ในในว่า เราจักเป็นมิตรที่ดีต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดบุคคลใดก็ตาม ไม่ตั้งความพอใจไม่พอใจต่อเขา จะไม่ติดใจข้องแวะต่อเขา จะไม่เป็นศัตรูกับใคร จะมีความปารถนาดีให้เขาด้วยความเป็นมิตรที่ดีดังนี้ ให้เต็มกำลังใจในเมตตานั้น
    ๔.๓ พึงหวนระลึกถึงศีล มีศีล ๕ เป็นต้น อันที่เราได้ทำมาดีแล้วตลอดวันได้สำเร็จบริบูรณ์ดีแล้ว เป็น "สีลานุสสติ" เมื่อมีส่วนไหนที่ยังขาดอยู่ก็ตั้งใจเจริญให้บริบูรณ์ดีงาม ให้เต็มกำลังใจในศีลนั้น แล้วพึงทำไว้ในใจว่า เราจักไม่กระทำไรๆทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทำร้ายบุคคลใด สัตว์ใดๆทั้งปวงบนโลกนี้
    ๔.๔ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้มีจิตสงเคราะห์ อนุเคราะห์ แบ่งปันให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใดบุคคลใดก็ตาม ให้เต็มกำลังใจแห่งกรุณานั้น
    ๔.๕ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักทำลายความตะหนี่ ความโลภปรนเปรอตน จักถึงความเป็นผู้ให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใดบุคคลใดก็ตาม ตามสติกำลังที่ทำได้ให้เต็มกำลังใจในทานนั้น
    ๔.๖ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้ไม่ริษยาใคร จักมีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้เสร็จผลปารถนาอันดีและคงไว้ซึ่งภัณฑะของเขา แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใดบุคคลใดก็ตาม ให้เต็มกำลังใจในมุทิตานั้น
    ๔.๗ พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้วางใจไว้กลางๆ ไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี จะเว้นซึ่งอคติ ๔ คือ
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะชอบเป็นพิเศษ ๑
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ความไม่ชอบ ๑
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะไม่รู้จริง ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก ไม่รู้เท่าทันการณ์ หรือ เพราะสงสาร ๑
    - เราจักเป็นผู้ไม่ลำเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ ๑
    - ทำไว้ในใจว่าเราจะเจริญอย่างนี้ๆให้เต็มกำลังใจในอุเบกขานั้น
๕. เมื่อสำรวจดูตนดีแล้วพร้อมทำไว้ในใจที่จะเจริญปฏิบัติใน ศีล พรหมวิหาร ๔ ทาน สมาธิ ปัญญา แล้ว ความที่เราจะประครองอยู่ให้สำเร็จได้นั้น จะขาดไม่ได้เลย คือ "สัมมัปปธาน ๔" เพราะ ปธาน ๔ หรือ ความเพียร ๔ นี้เป็นการเจริญสติ มีสติดำรงมั่นใน กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เพียรละใน อกุศลที่ยังไม่เกิด หรือ เกิดขึ้นแล้ว๑ ทำกุศลให้เกิดขึ้น๑ คงกุศลไว้๑ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อมไป๑ ประหารซึ่งอภิชฌาด้วยการเลือกธรรมที่ควรเสพย์ คือ ทำให้กุศลเกิดขึ้นอกุศลธรรมเสื่อมลงนั่นเอง ดำรงในศีลสังวร พรหมวิหาร๔ สมาธิ โดยอัตโนมัติ จนเกิดซึ่งปัญญาญาณเห็นธรรมที่ควรเสพย์บ้างกล่าวโดยย่อคือ เห็นสภาวะจริงว่าเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆที่ไม่น่าใคร่บ้างทำให้เกิดการรักษากุศลไว้ คงกุศลไว้ไม่ให้เสื่อม ด้วยมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ ไปจนถึง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น





หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 01, 2014, 08:35:31 AM

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร # ๑

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



[๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด ฯ


[๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า

   พ. ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด

   ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ


[๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า

   พ. ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ

[๖๗๖]   ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้
   ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ


   พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน ฯ

   ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ

   พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ

   ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ


[๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ


[๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖

มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น

ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป

ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก

เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ

พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ



[๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัย

อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มี

ธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดน

สัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัย

อายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ

๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึก

รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง

แห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหา

แล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึก

ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง

นึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึก

โทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความ

หน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญา(ความไม่หลง, ความรู้เห็นตามจริง, อโมหะ)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

มีสัจจะ(ความจริง, ความไม่อนุมาน, ความเป็นเหตุเป็นผล)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

มีจาคะ(การสละ, การให้ปัน, อโลภะ)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

มีอุปสมะ(ความสงบใจจากกิเลส)เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

   ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔

นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ



[๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ

พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติ(ความสงบ)เท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ

อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ



[๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก

ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน

คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ

ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้

สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า

ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น

พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต

คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ



[๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก

ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา

เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ

ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป

ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย

ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา

ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ

ได้ ฯ



[๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย

นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม

ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว

ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน

กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน

และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม

ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น

แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ



[๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก

ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน

คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป

ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ

ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ

ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา

ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ



[๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี

ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน

ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย

ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด

ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ

ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น

อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่

ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้

จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ



[๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล

ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข

บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ

นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ

ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่

ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม

เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง

เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป

ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด

เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ








หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 01, 2014, 08:35:40 AM

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร # ๒

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



[๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้

สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป

สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ

นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ

ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา

บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่

ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม

เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง

เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป

ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด

เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น

สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย

และผ่องแผ้ว ฯ



[๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง

ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู

ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย

และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง

ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด

ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง

อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม

อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ

เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา

อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล

ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ-

*จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้

ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น

ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่

อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา

ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน

นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้

เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ

เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น

ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่

อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน

และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้

อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม

ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง

อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น

จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย

เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่

หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง

อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา

นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่

ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน

ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต

เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น

ของสงบ ฯ



[๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้

จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น

ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ

เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ

เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ

รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี

กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก

อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้

ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ

หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง

ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่

นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ

ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่

ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน

เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก

ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ

อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้

ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล

นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท

ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม

นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว

ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย

ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น

อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม

รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้

กล่าวแล้ว ฯ



[๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น

ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป

ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ

เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ

ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น-

*สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น

สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ

ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี

ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม

ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง

เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย

จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว

ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส

เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ

กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น

เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้

ของเราไว้เถิด ฯ



[๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา

พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ

ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล

พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า

แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี-

*พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่

ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ



[๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่
เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ
รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ
แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ

ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ

[๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ

[๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ
ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน
เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ



จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐







เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๘๗๔๘ - ๙๐๑๙. หน้าที่ ๓๗๐ - ๓๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=8748&Z=9019&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=8748&Z=9019&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=673 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=673)
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/? (http://www.84000.org/tipitaka/read/?)
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14 (http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14)





หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 01, 2014, 08:35:55 AM

มหาราหุโลวาทสูตร

เรื่องพระราหุล # ๑




            [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี  เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตราวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า. แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
อันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด
ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.


             พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่พระสุคต รูปเท่านั้นหรือ?

            พ. ดูกรราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.


             [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคทรงโอวาท
ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตรได้เห็น
ท่านพระราหุลผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว
บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า อานาปานสติภาวนา
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
ครั้งนั้น เวลาเย็น
ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผล มีอานิสงส์?
ธาตุ ๕



            [๑๓๕] ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตนเป็นของหยาบ
มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ
มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าปฐวีธาตุเป็นภายใน. ก็ปฐวีธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน. ปฐวีธาตุนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ.



            [๑๓๖] ดูกรราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? อาโปธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป
มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน. ก็อาโปธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุเหมือนกัน. อาโปธาตุนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.



            [๑๓๗] ดูกรราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? เตโชธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกาย
ให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายในอาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้า
ไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน. เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็น
เตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ จิตย่อม
คลายกำหนัดในเตโชธาตุ.



            [๑๓๘] ดูกรราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน? วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้
ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าวาโยธาตุเป็นภายใน. ก็
วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุเหมือนกัน. วาโยธาตุ
นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.



            [๑๓๙] ดูกรราหุล ก็อากาสธาตุเป็นไฉน? อากาสธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก
ก็มี. อากาสธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตนเป็นอากาศ มีลักษณะว่าง
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน
ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
ไม่ทึบเป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน อันกรรมและกิเลส
เข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาสธาตุ เป็นภายใน. ก็อากาสธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
อันใด อากาสธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุเหมือนกัน. อากาสธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคล
เห็นอากาสธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ จิต
ย่อมคลายกำหนัดในอากาสธาตุ.



ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕


            [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อ
เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จัก
ไม่ครอบงำจิตได้.
ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือ
เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอ
ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
ดูกรราหุล
เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด
เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะ
อันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลาย
บ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอ
จงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอ
ได้.
ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้น
ก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วย
ลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ
ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.






หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 01, 2014, 07:55:12 PM

มหาราหุโลวาทสูตร

เรื่องพระราหุล # #




การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง

            [๑๔๕] ดูกรราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
จักละพยาบาทได้. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละ
วิหิงสาได้. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้.
เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้. เธอจง
เจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา
ภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้.



อานาปานสติภาวนา

            [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.




จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.











             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๒๕๔๑ - ๒๖๘๑.  หน้าที่  ๑๑๑ - ๑๑๖.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0)
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133)
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/? (http://www.84000.org/tipitaka/read/?)สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_13 (http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_13)






หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 02, 2014, 02:44:19 PM

ปุณโณวาทสูตร


            [๗๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะออกจากที่หลีก-
*เร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี-
*พระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี-
*พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดสั่งสอนข้าพระ
องค์ ด้วยพระโอวาทย่อๆ พอที่ข้าพระองค์ได้สดับธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้ว
จะเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออก ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ฯ


             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป

            ท่านปุณณะทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ


             [๗๕๕] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรปุณณะ มีรูปที่รู้ได้ด้วย
จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น
นันทิ(ความติดเพลิดเพลินยินดี) ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้นได้
เพราะนันทิเกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดนะ ปุณณะ ฯ

            ดูกรปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
             ดูกรปุณณะ มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
             ดูกรปุณณะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
             ดูกรปุณณะ มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
             ดูกรปุณณะ มีธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุ
เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยติดใจธรรมารมณ์นั้น นันทิย่อมเกิดแก่เธอผู้
เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้นได้ เพราะเหตุคือนันทิ
เกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดนะ ปุณณะ ฯ



            [๗๕๖] ดูกรปุณณะ มีรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุไม่
เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น นันทิของเธอผู้ไม่เพลิด
เพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น ย่อมดับไป เพราะนันทิดับ
เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับนะ ปุณณะ ฯ


            ดูกรปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
             ดูกรปุณณะ มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
             ดูกรปุณณะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
             ดูกรปุณณะ มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
             ดูกรปุณณะ มีธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้าภิกษุ
ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้น นันทิของเธอ
ผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้น ย่อมดับไป
เพราะนันทิดับ เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับนะ ปุณณะ ฯ


             ดูกรปุณณะ ก็เธออันเรากล่าวสอนด้วยโอวาทย่อๆ นี้แล้ว จักอยู่ใน
ชนบทไหน ฯ

            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อันพระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนด้วย
โอวาทย่อๆ นี้แล้ว มีชนบทชื่อสุนาปรันตะ เป็นที่ที่ข้าพระองค์จักไปอยู่ ฯ



             [๗๕๗] พ. ดูกรปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้ายหยาบช้า
นัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ เธอจักมีความคิด
อย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ

            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จัก
บริภาษข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาว
สุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยฝ่ามือ ข้าแต่พระผู้มี-
*พระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์มีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



             [๗๕๘] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักให้การ
ประหารเธอด้วยฝ่ามือ เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ

            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยก้อนดิน
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



             [๗๕๙] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารเธอด้วยก้อนดิน เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ

            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า
พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีหนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยท่อนไม้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



             [๗๖๐] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารเธอด้วยท่อนไม้ เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ

            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยศาตรา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้น อย่างนี้ ฯ



             [๗๖๑] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารเธอด้วยศาตรา เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ

            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้การ
ประหารข้าพระองค์ด้วยศาตรา ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ปลิดชีพเราเสียด้วยศาตราอันคม
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



             [๗๖๒] พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลิดชีพ
เธอเสียด้วยศาตราอันคม เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น ฯ

            ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักปลิดชีพ
ข้าพระองค์ด้วยศาสตราอันคม ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า มีเหล่า-
*สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่อึดอัดเกลียดชังร่างกายและชีวิต พากันแสวงหา
ศาตราสังหารชีพอยู่แล เราไม่ต้องแสวงหาสิ่งดังนั้นเลย ก็ได้ศาตราสังหารชีพแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ ฯ



             [๗๖๓] พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วย "ทมะ" และ "อุปสมะ" ดังนี้แล้ว
จักอาจเพื่อจะอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้แล ดูกรปุณณะ เธอจงสำคัญกาลที่ควร
ในบัดนี้เถิด ฯ

            ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ แล้วเก็บเสนาสนะ
ถือบาตรจีวรเดินทางจาริกไปยังที่ตั้งสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับ
ได้ลุถึงสุนาปรันตชนบทแล้ว ฯ


             [๗๖๔] เป็นอันว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น
แล ท่านพระปุณณะได้ให้พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทกลับใจแสดงตนเป็น
อุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง กลับใจแสดงตนเป็นอุบาสิกา
ประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง และตัวท่านได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓
ภายในพรรษานั้นเหมือนกัน ครั้นสมัยต่อมา ท่านได้ปรินิพพานแล้ว ฯ

             ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้ว
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุณณะที่
พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ นั้น ทำกาละเสียแล้ว เธอมีคติ
เป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร ฯ


             [๗๖๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุณณกุลบุตร เป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรม
สมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุณณกุลบุตรปรินิพพานแล้ว ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ



จบ ปุณโณวาทสูตร ที่ ๓





             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๙๖๔๑ - ๙๗๔๕.  หน้าที่  ๔๐๘ - ๔๑๒.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=9641&Z=9745&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=9641&Z=9745&pagebreak=0)
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754)
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/? (http://www.84000.org/tipitaka/read/?)สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14 (http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14)






หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 02, 2014, 02:44:32 PM

อุปาลีสูตร # ๑

ธรรมสำหรับผู้ทำสมาธิ แล้วฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิโดยเฉพาะ # ๑


             [๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่า
และราวป่าอันสงัด

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและ
ราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว
ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย

             ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจักซ่องเสพเสนาสนะ
คือ ป่าและราวป่าอันสงัดผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน
ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง มาถึงเข้า
ช้างตัวนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่น
บ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมากลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้ว
พึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตาม
ต้องการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อมได้การ
ลงในน้ำลึก


             ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือเสือ
ปลาพึงคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นอะไรและช้างใหญ่เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่
ห้วงน้ำนี้แล้วจึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมา
แล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทัน
ได้พิจารณา กระต่ายหรือเสือปลานั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักลอยขึ้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้นเป็นสัตว์มีร่างกายเล็ก ย่อม
ไม่ได้การลงในห้วงน้ำลึก แม้ฉันใด ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อ
ไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวัง
ข้อนี้ คือ จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

             ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย ย่อมเล่นมูตรและคูถของ
ตน ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้เป็นการเล่นของ
เด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิงมิใช่หรือ ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า เป็นอย่างนั้น
พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัยความ
แก่กล้าแห่งอินทรีย์ ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลายที่เป็นของเล่นของพวกเด็กๆ คือ
เล่นไถน้อยๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้ เล่นตวงทราย เล่น
รถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การ
เล่นนี้ เป็นการเล่นดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ ฯ
             อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัยความ
แก่กล้าแห่งอินทรีย์ เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ด้วยรูปทั้งหลาย
อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน
ชวนให้กำหนัด ด้วยเสียงทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยหู ... ด้วยกลิ่นทั้งหลายอัน
บุคคลพึงรู้ด้วยจมูก ... ด้วยรสทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะ
ทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน
ชวนให้กำหนัด ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็น
การเล่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ ฯ
             อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรอุบาลี ก็พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของ
พระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้
ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

  คฤหบดี บุตรแห่งคฤหบดี หรือผู้เกิดมาในภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น
แล้วได้ศรัทธาในตถาคต ประกอบด้วยการได้ศรัทธาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้
อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัด
แล้วไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกบวช
เป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่
แล้วปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิต

.....................................(แก้โดยการดำรงชีพด้วยศีลสังวร)

             เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย
  -  ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู
มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
  -  ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้
ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
  -  เว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง
ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก ละวาจาส่อเสียด
เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตก
ร้าวกัน หรือฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน
สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้
พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ
กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วน
มากรักใคร่ พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำ
ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
  -  ภิกษุนั้นเว้นขาดจากการ พรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี
งดการฉันในเวลาวิกาล
  -  เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องการประโคมดนตรีและการดูการเล่นอันเป็น
ข้าศึกแก่กุศล
  -  เว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของ
หอมและเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว
  -  เว้นขาดจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
  -  เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อการขาย
เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การฉ้อโกงด้วยของปลอม และการฉ้อโกงด้วยเครื่องตวงวัด
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง
  -  เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
  -  ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ
ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด
     ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร
ท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้น
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่มีโทษเฉพาะตน ฯ

.....................................(แก้โดยการดำรงชีพด้วยสำรวมใจ อบรมใจ)

             ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ(ส่วนเล็กส่วนน้อย)
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ
นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่า
ย่อมรักษามนินทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสเฉพาะตน ฯ


.....................................(แก้โดยการดำรงชีพด้วยทรงสติสัมปชัญญะ)

             ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความ
รู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียด
ออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมทำความรู้สึก
ตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น
การพูด การนิ่ง


             ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์
สังวรอันเป็นอริยะนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะนี้ ย่อมซ่อง
เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้  หรืออยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้
บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละความโลภในโลกแล้ว มีจิต
ปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย
คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ทั้งปวงอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็น
ผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
แล้ว เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ฯ






หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 02, 2014, 02:45:42 PM

อุปาลีสูตร # ๒

ธรรมสำหรับผู้ทำสมาธิ แล้วฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิโดยเฉพาะ # ๑


            ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการนี้ได้แล้ว
(ทุรพล คือ มีกำลังน้อย, อ่อนแอ, มัวหมอง, เสื่อมลง)
(ทําปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการเป็นไฉน
-  นิวรณเ์ครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑ ,
-  นิวรณเ์ครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑,
-  นวิรณเ์ครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ๑,
-  นวิรณเ์ครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑,
-  นิวรณเ์ครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑.)

 สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
 ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้
 เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน
มิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน
มิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้
(ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการ
อยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึง
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ ดูกรอุบาลี
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีต
กว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า วิญญาณไม่มี
ที่สุด ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน-
*ฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด ธรรมชาตินี้ประณีต ดังนี้ ดูกรอุบาลี เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการ
อยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ

             ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ และอาสวะของ
ภิกษุนั้นเป็นกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอุบาลี เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า
การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
            อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามี
อยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวก
เหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ดูกรอุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์
เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี ฯ



จบสูตรที่ ๙






             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๔๖๑๐ - ๔๗๙๒.  หน้าที่  ๑๙๙ - ๒๐๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=4610&Z=4792&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=4610&Z=4792&pagebreak=0)
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=99 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=99)
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/? (http://www.84000.org/tipitaka/read/?)สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=24&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=24&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD)









หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 12, 2014, 11:09:44 PM


อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อุบาสกวรรคที่ ๕


๙. อุปาลีสูตร




               อรรถกถาอุปาลิสูตรที่ ๙              
               อุปาลิสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ทุรภิสมฺภวานิ หิ ได้แก่ มีได้ยาก หาได้ยาก. ท่านอธิบายว่า ผู้มีศักดิ์น้อยไม่อาจที่จะยึดไว้ได้.
               บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ความว่า ป่าใหญ่และป่าทึบ ชื่อว่าอรัญญะ เพราะสำเร็จองค์ของความเป็นป่า. ชื่อว่าวนปัตถะ เพราะละเลยแวกบ้าน เป็นสถานที่หมู่คนไม่เข้าไปใกล้.
               บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ ไกลเหลือเกิน.
               บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวกที่ทำยาก.
               บทว่า ทุรภิรมํ ได้แก่ ไม่ใช่ยินดีได้ง่ายๆ.
               บทว่า เอกตฺเต แปลว่า ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว.
               ทรงแสดงอะไร.
               ทรงแสดงว่า แม้เมื่อกระทำกายวิเวกได้แล้ว ก็ยากที่จะให้จิตยินดีในเสนาสนะนั้น. จริงอยู่ โลกนี้มีของเป็นคู่ๆ กันเป็นที่ยินดี.
               บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ได้แก่ เหมือนนำไป เหมือนสีไป.
               บทว่า มโน ได้แก่ จิต.
               บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส ได้แก่ ผู้ไม่ได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ.
               ทรงแสดงอะไร.
               ทรงแสดงว่า วนะทั้งหลาย เหมือนจะกระทำจิตของภิกษุเช่นนี้ให้ฟุ้งซ่านด้วยเสียงใบหญ้าและเนื้อเป็นต้น และสิ่งที่น่ากลัวมีอย่างต่างๆ.
               บทว่า สํสีทิสฺสติ ได้แก่ จักจมลงด้วยกามวิตก.
               บทว่า อุปฺปิลวิสฺสติ ได้แก่ จักลอยขึ้นเบื้องบนด้วยพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.
               บทว่า กณฺณสนฺโธวิกํ ได้แก่ เล่นล้างหู.
               บทว่า ปิฏฺฐิสนฺโธวิกํ ได้แก่ เล่นล้างหลัง.
               ทั้งสองอย่างนั้น การจับงวงและรดน้ำที่หูสองข้าง ชื่อว่ากัณณสันโธวิกะ. รดน้ำที่หลัง ชื่อว่าปิฏฐิสันโธวิกะ.
               บทว่า คาธํ วินฺทติ ได้แก่ ได้ที่พึ่ง.
               บทว่า โก จาหํ โก จ หตฺถินาโค ความว่า เราเป็นอะไร พระยาช้างเป็นอะไร ด้วยว่าทั้งเราทั้งพระยาช้างนี้ก็เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งพระยาช้างนี้ก็ ๔ เท้า ทั้งเราก็ ๔ เท้า แม้เราทั้งสองก็เสมอๆ กันมิใช่หรือ.
               บทว่า วงฺกํ ได้แก่ ไถน้อยๆ สำหรับเด็กเล่น.
               บทว่า ฆฏิกํ ได้แก่ เครื่องเล่นเวียนไปรอบๆ. ท่านอธิบายว่า เครื่องเล่นที่จับหางไว้บนอากาศวางหัวลงดิน หมุนเวียนไปทั้งข้างล่างข้างบน (กังหันไม้).
               บทว่า จิงฺคุลิกํ ได้แก่ เครื่องเล่นมีล้อที่ทำด้วยใบตาลเป็นต้น หมุนไปได้เพราะลมดี (กังหันใบไม้). ทะนานใบไม้เรียกว่า ปัตตาฬหกะ พวกเด็กๆ เอาใบไม้ต่างทะนานนั้นตวงทรายเล่น.
               บทว่า รถกํ ได้แก่ รถน้อยๆ.
               บทว่า ธนุกํ ได้แก่ ธนูน้อยๆ.
               คำว่า โว ในคำว่า อิธ โข ปน โว เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ในโลกนี้แล.
               บทว่า อิงฺฆ ในคำว่า อิงฺฆ ตฺวํ อุปาลิ สงฺเฆ วิหราหิ นี้เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเตือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเตือนพระเถระ เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ท่ามกลางสงฆ์ มิใช่ทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่พระเถระนั้น.
               เพราะเหตุไร.
               เพราะพระศาสดาทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า พระเถระอยู่ในเสนาสนะป่าจักบำเพ็ญได้ แต่วาสธุระอย่างเดียว (วิปัสสนาธุระ) บำเพ็ญคันถธุระไม่ได้ แต่พระเถระเมื่ออยู่ท่ามกลางสงฆ์บำเพ็ญธุระแม้ทั้งสองนี้ได้ แล้วจักบรรลุพระอรหัต ทั้งจักเป็นหัวหน้าในฝ่ายวินัยปิฎก ดังนั้นจำเราจักกล่าวความปรารถนาแต่ก่อนและบุญเก่าของเธอ จักสถาปนาภิกษุนี้ไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศของเหล่าภิกษุผู้ทรงวินัยในท่ามกลางบริษัท เมื่อทรงเห็นความข้อนี้ จึงไม่ทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่พระเถระ.




จบอรรถกถาอุปาลิสูตรที่ ๙



              




หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 12, 2014, 11:10:10 PM
๔. ทีฆนขสูตร
เรื่องทีฆนขปริพาชก
             [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.
             ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.
             อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้. อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้น
ละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.
ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท
             [๒๗๐] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวง
ไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่ง
ควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของ
สมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างกิเลส
อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น. อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้
ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่อง
ความเห็นของข้าพเจ้า.
             อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา นั้นส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลส
อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุ
เพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้าง
ธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.
             [๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ผู้ที่มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า เราจะ
ยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้
มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความ
ทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี. เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความ
เบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน
และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ
การสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ใน
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น
วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา
ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑.
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี
เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความ
ทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย
ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย. การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ
บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควร
แก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่ง
ทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้
เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มัก
กล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็น
อย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมี
ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี. วิญญูชน
นั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน
ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น
ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
             [๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจาย
เป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็น
ดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า
เป็นของมิใช่ตน. เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความ
อยู่ในอำนาจของกายในกายได้.
เวทนา ๓
             [๒๗๓]  อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
สุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ใน
สมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น
แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.
             [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค. ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
แก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข-
*ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.
ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
             [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอัน
ทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๔๖๖๑ - ๔๗๖๘.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0)
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269)
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/? (http://www.84000.org/tipitaka/read/?)สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=13&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=13&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD)


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 19, 2014, 10:47:04 AM
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
ทีฆนขสูตร เรื่องทีฆนขปริพาชก
               ๔. อรรถกถาทีฆนขสูตร               
               ทีฆนขสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
               ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สูกรขาตายํ๑- ณ ถ้ำมีชื่ออย่างนี้ว่า สูกรขาตา.
____________________________
๑- บาลีว่า สูกรขตายํ.

               มีเรื่องกล่าวไว้ว่า ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ถ้ำนั้นเกิดภายในพื้นแผ่นดินซึ่งงอกขึ้นในพุทธันดรหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง สุกรตัวหนึ่งคุ้ยฝุ่นในที่ใกล้เขตปิดถ้ำนั้น. เมื่อฝนตกได้ปรากฏเขตปิดเพราะถูกฝนชะ พรานป่าคนหนึ่งเห็นเข้าจึงคิดว่า เมื่อก่อนไม่มีผู้มีศีลอยู่ในถ้ำ เราจักปรับปรุงถ้ำนั้น. จึงขนฝุ่นออกกวาดถ้ำให้สะอาด แล้วทำฝารอบด้านประกอบประตูหน้าต่าง ทำถ้ำให้มีบริเวณลาดด้วยทรายดังแผ่นเงิน ทำอย่างวิจิตร ฉาบปูนขาวจนสำเร็จเรียบร้อยเป็นอย่างดี แล้วปูเตียงและตั่งได้ถวายเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถ้ำลึกขึ้นลงสะดวก.
               บทว่า สูกรขาตายํ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงถ้ำนั้น.
               บทว่า ทีฆนโข เป็นชื่อของปริพาชกนั้น.
               บทว่า อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้า.
               เพราะเหตุไร ทีฆนขปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้า.
               เล่ากันมาว่า ทีฆนขปริพาชกนั้น เมื่อพระเถระบวชได้ครึ่งเดือนคิดว่า หลวงลุงของเราไปสู่ลัทธิอื่นที่ผิดแล้วดำรงอยู่เป็นเวลานาน. แต่บัดนี้เมื่อหลวงลุงไปเฝ้าพระสมณโคดมได้ครึ่งเดือนแล้ว ประสงค์จะไปด้วยหวังว่า เราจะฟังข่าวของหลวงลุงนั้น. เราจักรู้คำสอนอันรุ่งเรืองนั้นหนอ. เพราะฉะนั้น ทีฆนขะจึงเข้าไปเฝ้า.
               บทว่า เอกมนฺตํ ฐิโต ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
               นัยว่า ในขณะนั้น พระเถระยืน๒- ถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. ปริพาชกด้วยมีหิริโอตตัปปะในหลวงลุง จึงยืนทูลถามปัญหา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอกมนฺตํ ฐิโต ดังนี้.
____________________________
๒- บาลีว่า นิสินฺโน นั่ง.

               บทว่า สพฺพํ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา คือสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ควรแก่เรา.
               ปริพาชกกล่าวด้วยความประสงค์ว่าปฏิสนธิทั้งหลายไม่ควร ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันปริพาชกนั้นแสดงว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าขาดสูญ.
               แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพรางความประสงค์ของปริพาชกนั้น แล้วทรงแสดงถึงโทษในความไม่ควร จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยาปิ โข เต ดังนี้.
               ในบทนั้นมีความว่า แม้ความเห็นของท่านก็ไม่ควร คือ แม้ความเห็นที่ท่านชอบใจยึดถือไว้ครั้งแรกก็ไม่ควร.
               บทว่า เอสา เจ เม โภ โคตม ทิฏฺฐิ ขเมยฺย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หากความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า. ความว่า หากความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เราของเราผู้เห็นว่า เพราะสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา พึงควรไซร้. ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพํ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา. แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น. แม้ความเห็นนั้นก็ควรเหมือนความเห็นนี้แม้ถือเอาด้วยการถือเอาสิ่งทั้งปวงฉันนั้น. ปริพาชกกล่าวด้วยเข้าใจว่าเรารู้โทษที่ยกในวาทะของตนขึ้นอย่างนี้ แล้วรักษาวาทะนั้น. แต่โดยอรรถย่อมรับว่าความเห็นนั้นของปริพาชกไม่ควรแก่เราดังนี้.
               อนึ่ง สิ่งทั้งปวงไม่ชอบใจแก่เราด้วยความเห็นนั้นของผู้ที่มีความเห็นไม่ควรไม่ชอบ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นความเห็นที่ชอบใจ. แม้ผู้นั้นพึงเป็นผู้ไม่ควรไม่ชอบใจ เพราะเหตุนั้นจึงย่อมรับได้ว่า สิ่งทั้งปวงย่อมควรย่อมชอบใจ. แต่ปริพาชกนั้นไม่รับข้อนั้น. ย่อมถือความขาดสูญแห่งอุจเฉททิฏฐิแม้นั้นอย่างเดียวเท่านั้น.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิโต โข เต อคฺคิเวสฺสน ฯลฯ อญฺญญฺจ ทิฏฺฐึ อุปาทิยนฺติ ความว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นมากกว่า คือมากกว่าคนที่ละได้ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้นบทว่า อโต เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่าผู้ละได้. ความว่า คนเหล่าใดละได้ คนเหล่านั้นจักถามว่า คนเหล่าใดเล่าละไม่ได้. และคนเหล่านั้นแหละมีมากกว่า.
               หิ อักษรในบทนี้ว่า พหู หิ พหุตรา มีมาก คือมากกว่า นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า มากกว่า มากกว่า.
               แม้ในบทว่า ตนู หิ ตนุตรา มีน้อยคือน้อยกว่า ตอนหลังก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า เย เอวมาหํสุ คือ ชนเหล่าใดกล่าวแล้วอย่างนี้.
               บทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น คือยังละความเห็นเดิมไม่ได้ ยังยึดถือความเห็นอื่นอีก.
               อนึ่ง ในบทนี้มีอธิบาย ดังต่อไปนี้
               ยึดถือแม้ความเที่ยงแล้ว ก็ไม่ละความเที่ยงนั้น ไม่สามารถจะยึดถือความขาดสูญหรือ ความเที่ยงแต่บางอย่างได้. ยึดถือแม้ความขาดสูญแล้ว ก็ไม่ละความขาดสูญนั้น ไม่สามารถจะยึดถือความเที่ยง หรือความเที่ยงแต่บางอย่างได้. ยึดถือแม้ความเที่ยงแต่บางอย่างแล้วไม่ละความเที่ยงแต่บางอย่างนั้น ไม่สามารถยึดถือความเที่ยงหรือความขาดสูญได้.
               อนึ่ง ไม่ละความเที่ยงเดิม สามารถยึดถือความเที่ยงอื่นได้.
               อย่างไร.
               เพราะสมัยหนึ่งยึดถือว่ารูปเที่ยงแล้ว สมัยต่อมาไม่ยึดถือรูปล้วนๆ เท่านั้นว่าเที่ยง แม้เวทนาก็เที่ยง แม้วิญญาณก็เที่ยง.
               ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงแต่บางอย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะ ก็เหมือนในขันธ์.
               ท่านกล่าวบทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ อุปาทิยนฺติ ละความเห็นนั้นไม่ได้และยังยึดถือความเห็นอื่นดังนี้ หมายถึงความข้อนี้.
               พึงทราบความในวาระที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า อโต เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่ายังละไม่ได้. ความว่า ผู้ใดยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจักถามว่า ผู้ใดเล่าละได้. ผู้นั้นแหละมีน้อยกว่า.
               บทว่า ตํ เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ น อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และยังไม่ยึดถือความเห็นอื่น. ความว่า ละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ถือเอาความเห็นอื่น.
               อย่างไร.
               เพราะในสมัยหนึ่งยึดถือว่า รูปเที่ยง แล้วสมัยต่อมาเห็นโทษในความเห็นนั้น แล้วละได้ด้วยคิดว่า ความเห็นของเรานี้หยาบ คือย่อมสละได้ว่า มิใช่ความเห็นว่ารูปเที่ยงอย่างเดียวเท่านั้นหยาบ เห็นว่าแม้เวทนาก็เที่ยงหยาบ แม้วิญญาณก็เที่ยงหยาบเหมือนกัน.
               ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงบางอย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะก็เหมือนในขันธ์ ฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่น.
               บทว่า สนฺติ อคฺคิเวสฺสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภขึ้น เพราะเหตุไรเจ้าลัทธิที่ถือว่าขาดสูญนี้ ย่อมปิดบังลัทธิของตน แต่เมื่อกล่าวคุณของลัทธินั้นจักทำลัทธิของตนให้ปรากฏ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลัทธิที่เหลือเป็นอันเดียวกันแล้ว เพื่อทรงแสดงแยกจากกันจึงทรงปรารภเทศนานี้.
               พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สราคาย สนฺติเก ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ดังต่อไปนี้. ใกล้กิเลสเครื่องยินดีในวัฏฏะด้วยอำนาจราคะ คือใกล้กิเลสเครื่องผูกในวัฏฏะ ด้วยเครื่องผูกคือตัณหาและทิฏฐิ.
               อธิบายว่า กลืนด้วยความยินดีในตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐินั่นเองแล้วใกล้ความยึดมั่นและความถือมั่น.
               พึงทราบความในบทมีอาทิว่า วิราคาย สนฺติเก ใกล้เพื่อคลายความกำหนัดดังต่อไปนี้
               พึงทราบความโดยนัยมีอาทิว่า ใกล้เครื่องความยินดีในวัฏฏะ.
               อนึ่ง ในบทนี้ ความเห็นว่าเที่ยงมีโทษน้อย มีความคลายช้า. ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก มีความคลายเร็ว.
               อย่างไร.
               เพราะผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมไม่รู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่. ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัว พอใจยินดีในวัฏฏะ. อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมไม่สามารถละความเห็นได้เร็ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าความเห็นว่าเที่ยงนั้นมีโทษน้อย คลายช้า.
               ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมรู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงไม่ทำกุศล. เมื่อทำอกุศลย่อมไม่กลัว ไม่ชอบใจไม่ยินดีวัฏฏะ อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมละความเห็นได้เร็ว สามารถบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าได้. เมื่อไม่สามารถก็สะสมบุญบารมีเป็นสาวกแล้วนิพพาน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก คลายเร็ว.
               แต่ปริพาชกนั้นกำหนดความนั้นไม่ได้ จึงพรรณนาสรรเสริญความเห็นนั้น ครั้นกำหนดได้ว่า ความเห็นของเราดีแน่นอน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุกฺกํเสติ เม ภวํ ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.
               บัดนี้ เพราะปริพาชกนี้เปี่ยมด้วยความเห็นว่าขาดสูญเท่านั้น ดุจน้ำเต้าขมเต็มด้วยน้ำส้ม. ปริพาชกนั้นยังทิ้งน้ำส้มไม่ได้ จึงไม่สามารถใส่น้ำมันน้ำผึ้งเป็นต้นลงในน้ำเต้า. แม้ใส่ลงไปแล้วก็ถือเอาไม่ได้ฉันใด ปริพาชกนั้นยังละความเห็นนั้นไม่ได้ จึงไม่ควรเพื่อได้มรรคผลฉะนั้น. เพราะฉะนั้นเพื่อให้ปริพาชกละทิฏฐินั้น จึงทรงเริ่มบทมีอาทิว่า ตตฺร อคฺคิเวสฺสน.
               บทว่า วิคฺคโห คือ การทะเลาะ.
               บทว่า เอวเมตาสํ ทิฏฺฐีนํ ปหานํ โหติ การละคืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้ คือ ครั้นเห็นโทษแห่งการทะเลาะแล้วจึงละทิฏฐิเหล่านั้นได้.
               ปริพาชกนั้นคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการทะเลาะเป็นต้นนี้. จึงละความเห็นว่าขาดสูญนั้นได้.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรัสว่า เราจักให้ปริพาชกบำเพ็ญโอสถอันอมตะไว้ในหทัย ดุจบุคคลใส่เนยใสและเนยข้นเป็นต้น ลงในน้ำเต้าที่คายน้ำส้มออกแล้วฉะนั้น เมื่อจะทรงบอกวิปัสสนาแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อยํ โข ปน อคฺคิเวสฺสน กาโย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ก็กายนี้เป็นที่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดังนี้.
               ท่านกล่าวความของบทนั้นไว้แล้วในวัมมิกสูตร.
               แม้บทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.
               บทว่า โย กายสฺมึ ฉนฺโท ได้แก่ ความอยากในกาย.
               บทว่า เสนฺโห ความเยื่อใย คือความเยื่อใยด้วยตัณหา.
               บทว่า กายนฺวยตา คือความอยู่ในอำนาจของกาย. อธิบายว่า กิเลสอันเข้าไปสู่กาย.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปกรรมฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอรูปกรรมฐานจึงตรัสว่า ติสฺโส โข เวทนา ๓ เป็นอาทิ.
               เมื่อจะทรงแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นไม่ปนกัน จึงตรัสว่า ยสฺมึ อคฺคิเวสฺสน สมเย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ในสมัยใดเป็นอาทิ.
               ความย่อในบทนั้นมีดังนี้
               สมัยใด เสวยเวทนาอย่างเดียวในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้น สมัยนั้นเวทนาอื่นชื่อว่านั่งคอยดูวาระหรือโอกาสของตนย่อมไม่มี. โดยที่แท้เวทนายังไม่เกิดหรือหายไปดุจฟองน้ำแตก.
               บทมีอาทิว่า สุขาปิ โข ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นเป็นจุณวิจุณไป.
               บทว่า น เกนจิ วิวทติ ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ คือย่อมไม่กล่าวร่วมกันกับแม้พวกมีวาทะว่าขาดสูญว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าเที่ยงเพราะมีทิฏฐิว่าเที่ยง. ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับผู้มีวาทะว่าเที่ยงบางพวกว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าเที่ยง เพราะถือเอาทิฏฐิว่าเที่ยงนั้นนั่นแหละ. พึงประกอบเปลี่ยนแปลงวาทะแม้ ๓ อย่างด้วยประการฉะนี้.
               บทว่า ยญฺจ โลเก วุตฺตํ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน คือพูดไปตามโวหารที่ชาวโลกพูดกัน.
               บทว่า อปรามสํ ไม่ยึดถือ คือไม่ยึดถือธรรมไรๆ ด้วยการถือมั่น
               สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า๓-
                         ภิกษุใด เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะบรรลุพระอรหัต
                         เป็นผู้ทรงร่างกายไว้เป็นครั้งสุดท้าย ภิกษุนั้นพึงกล่าว
                         ว่าเราย่อมกล่าวดังนี้บ้าง พึงกล่าวว่าพวกเขาย่อมกล่าว
                         กะเราดังนี้บ้าง เป็นผู้ฉลาด รู้สิ่งกำหนดรู้กันในโลก
                         พึงพูดไปตามโวหารนั้น.
               พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า๔- ดูก่อนจิตตะ ตถาคตพูดไปตามสิ่งที่รู้กันในโลก ภาษาของชาวโลก โวหารของชาวโลก บัญญัติของชาวโลก แต่ไม่ยึดถือด้วยทิฏฐิ.
____________________________
๓- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๖๕   ๔- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๓๑๒

               บทว่า อภิญฺญา ปหานมาห พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง. ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเที่ยงแห่งธรรมเหล่านั้นในบรรดาความเที่ยงเป็นต้นด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละความเที่ยง. ทรงรู้ความขาดสูญ ความเที่ยงแต่บางอย่างด้วยปัญญารู้ยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละความเที่ยงแต่บางอย่าง. ทรงรู้รูปด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละรูป พึงทราบความในบทนี้โดยนัยมีอาทิดังนี้แล.
               บทว่า ปฏิสญฺจิกฺขโต เมื่อพระสารีบุตรสำเหนียก คือเห็นตระหนัก.
               บทว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุจฺจิ จิตพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น คือจิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันดับแล้วด้วยความดับสนิทคือไม่เกิดอีกเพราะไม่ถือมั่น.
               ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรดุจบุคคลบริโภคอาหารที่เขาตักให้ผู้อื่นแล้ว บรรเทาความหิวลงได้ เมื่อส่งญาณไปในธรรมเทศนาที่ปรารภผู้อื่นจึงเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต แทงตลอดที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณและปัญญา ๑๖ แล้วดำรงอยู่.
               ส่วนทีฆนขะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วดำรงอยู่ในสรณะทั้งหลาย.
               ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ ทรงจบเทศนานี้ แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔.
               องค์ ๔ เหล่านี้ คือวันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑ ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตนๆ ไม่มีใครนัดหมายมา ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้อภิญญาหกทั้งนั้น ๑ มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ๑.

               จบอรรถกถาทีฆนขสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ตุลาคม 19, 2014, 11:09:55 AM
๑๐. อนุรุทธสูตร
             [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน
แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่
ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่
ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ
ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วย
หมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้
มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคล
ผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะ
แล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไป
ปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง
เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ
ที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ อนุรุทธะ
ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย
มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่
ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำ
ให้เนิ่นช้า ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก
มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ
จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล
จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย
ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี
หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด
แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้
สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี
คัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี
ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และ
จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต
ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จัก
ปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอด
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิด
ชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส-
*วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน
ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน
ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร
อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
ฉะนั้น ฯ
             ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน
แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
เสด็จจากวิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน
แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้
หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว
ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก
๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความ
ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑ ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้
สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคล
ผู้เกียจคร้าน ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑ ธรรมนี้
ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มี
ปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบ
ใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้
สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ
ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ
ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้
สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ
บุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป
เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต
ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร
มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึง
กิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล
ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง
มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่
ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ
ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ
             ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้น
เจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระ-
*อรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้
ในเวลานั้นว่า
                          พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
                          ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย
                          พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริ
                          ไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
                          ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึง
                          ธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุ
                          วิชชา ๓ แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา
                          กระทำแล้ว ฯ
จบคหปติวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. อุคคสูตรที่ ๑  ๒. อุคคสูตรที่ ๒  ๓. หัตถสูตรที่ ๑
๔. หัตถสูตรที่ ๒  ๕. มหานามสูตร  ๖. ชีวกสูตร  ๗. พลสูตรที่ ๑
๘. พลสูตรที่ ๒  ๙. อักขณสูตร  ๑๐. อนุรุทธสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๔๗๑๗ - ๔๘๗๖.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๑๐.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=4717&Z=4876&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=4717&Z=4876&pagebreak=0)
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=120 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=120)
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/? (http://www.84000.org/tipitaka/read/?)สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23 (http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_23)


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ธันวาคม 16, 2014, 09:50:23 PM

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ ว่าด้วย อนุสสติ ๖ # ๑

เรื่องเกี่ยวกับอนุสสติ

อนุสสติเป็นธรรมในหมวดแห่งสมถะ เพื่อความเป็นไปแห่งสมาธิและความหลุดพ้นครับ ในวรรคที่ยกมาวันนี้มีหลายพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับอนุสสติ น่าสนใจมากๆครับ

พระสูตรยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ขอขอบพระคุณท่าน พญาเหยี่ยว

ที่มาจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aragorn&month=03-2006&date=02&group=4&gblog=78 (http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aragorn&month=03-2006&date=02&group=4&gblog=78)


***********************************

อนุตตริยวรรคที่ ๓


๑. สามกสูตร



[๒๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหาร ชื่อโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เทวดาตนหนึ่ง เมื่อปฐมยามผ่านไป มีวรรณะงามยิ่งนัก ยังโปกขรณีย์วิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาตนนั้นได้กล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น เทวดาตนนั้นทราบว่า พระศาสดาของเราทรงพอพระทัย จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ฯ

ครั้งนั้น เมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาตนหนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มีวรรณะงามยิ่งนัก ยังโปกขรณีย์วิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ครั้นเทวดาตนนั้นได้กล่าวคำนี้แล้ว อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้วได้หายไป ณ ที่นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิใช่ลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ด้วยยาก ที่เธอทั้งหลายเสื่อมจากกุศลธรรม แม้เทวดาก็รู้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๓ ประการแม้เหล่าอื่น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลเสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักเสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็จักเสื่อมจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล และชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวงก็ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ฯ
[ธรรมอันเป็นที่ตั้งของความเสื่อมจากกุศลธรรมของภิกษุ6ประการคือ
1.ความเป็นผู้ชอบการงาน ไม่ปฏิบัติธรรม
2.ความเป็นผุ้ชอบคุย
3.ความเป็นผู้ชอบหลับ
4.ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
5.ความเป็นผู้ว่ายาก
6.ความเป็นผุ้มีมิตรชั่ว]


จบสูตรที่ ๑





๒. อปริหานิยสูตร

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ไม่เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็ไม่เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็จักไม่เสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวงก็ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ฯ
[ธรรมอันเป็นที่ตั้งของความไม่เสื่อมจากกุศลธรรมของภิกษุ6ประการคือ
1.ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
2.ความเป็นผุ้ไม่ชอบคุย
3.ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ
4.ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
5.ความเป็นผู้ว่าง่าย
6.ความเป็นผุ้มีมิตรดี]


จบสูตรที่ ๒






หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ธันวาคม 16, 2014, 09:52:20 PM

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ อนุสสติ ๖ # ๒

๓. ภยสูตร

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า ทุกข์ นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า โรค นี้เป็นชื่อของกาม คำว่า ฝี นี้เป็นชื่อของกาม คำว่า เครื่องขัดข้อง นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า เปือกตม นี้เป็นชื่อของกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า ภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกาม ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากภัยแม้ที่มีในปัจจุบัน ไม่พ้นจากภัยแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่าภัยนี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่าทุกข์ ... โรค ... ฝี ... เครื่องขัดข้อง ... เปือกตมนี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกามนี้ ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในปัจจุบัน ไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่า เปือกตม นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เราเรียก ภัย ทุกข์ โรค และสิ่งทั้ง ๒ คือ เครื่องขัดข้อง
เปือกตม ว่าเป็นกาม เป็นที่ข้องของปุถุชน เพราะเห็นภัย
ในการยึดถือ ซึ่งเป็นแดนเกิดของชาติและมรณะ ชนทั้งหลาย
จึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ดำเนินไปในนิพพาน อันเป็นที่
สิ้นชาติและมรณะ ชนเหล่านั้น ถึงแดนเกษม มีสุข ดับ
สนิทในปัจจุบัน ผ่านพ้นเวรและภัย ล่วงทุกข์ทั้งปวง ฯ
[คำว่ากามนี้อาจเรียกได้เป็นอย่างอื่นอีก6ลักษณะคือ
1.เรียกชื่อของกามว่าภัย เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากภัยในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
2.เรียกชื่อของกามว่าทุกข์ เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากทุกข์ในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
3.เรียกชื่อของกามว่าโรค เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากโรคในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
4.เรียกชื่อของกามว่าฝี เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากฝีในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
5.เรียกชื่อของกามว่าเครื่องขัดข้อง เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากเครื่องขัดข้องในปัจจุบันและในสัมปรายภพ
6.เรียกชื่อของกามว่าเปือกตม เพราะผู้กำหนัดในกาม จึงไม่พ้นจากเปือกตมในปัจจุบันและในสัมปรายภพ]


จบสูตรที่ ๓





๔. หิมวันตสูตร


[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า ฯ
[ภิกษุประกอบด้วยธรรม6ประการพึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม6ประการนั้นคือ
1.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ
2.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ
3.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ
4.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ
5.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
6.ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ]


จบสูตรที่ ๔







หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ธันวาคม 16, 2014, 10:02:25 PM

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ อนุสสติ ๖ # ๓

๕. อนุสสติฏฐานสูตร

[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัดดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรามีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วยจาคะเช่นใด ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ
[พระผุ้มีพระภาคตรัสสอนถึงอนุสสติ 6ประการ คือ
1.อริยสาวกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า พระองค์เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือพุทธานุสสติ
2.อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผุ้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือธรรมานุสสติ
3.อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผุ้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นเนื้อนาบุญของโลก เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสังฆานุสสติ
4.อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนว่า ไม่ขาด ไม่เศร้าหมอง เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสีลานุสสติ
5.อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ปราศจากความตระหนี่ สละทรัพย์ของตนเป็นทานแก่ผุ้มีธรรมอยู่เนืองๆ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือจาคานุสสติ
6.อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด จึงถึงซึ่งความเป็นเทวดานั้น อันศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น แม้เราก็มีอยู่ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือเทวตานุสสติ]


จบสูตรที่ ๕





๖. กัจจานสูตร

[๒๙๗] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว คือ ข้อที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ถึงโอกาสได้ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสสติ ๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบจญกามคุณ อริยสาวกนั้นแล ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ฯลฯ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ฯลฯ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ ฯลฯ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ จาคะ ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น แม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ อริยสาวกผู้นั้นแล ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์ เป็นมหรคต ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว คือ ข้อที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้การถึงโอกาสได้ ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ
[ท่านพระมหากัจจานะได้เทศนาธรรมเรื่องอนุสสติ6ประการว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ในข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ถึงโอกาสที่จะหลุดพ้นในโลกที่คับแคบเพราะประกอบด้วยกามคุณ5 อนุสสติ6ประการคือ
1.อริยสาวกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า พระองค์เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือพุทธานุสสติ
2.อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผุ้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือธรรมานุสสติ
3.อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผุ้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นเนื้อนาบุญของโลก เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสังฆานุสสติ
4.อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนว่า ไม่ขาด ไม่เศร้าหมอง เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือสีลานุสสติ
5.อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ปราศจากความตระหนี่ สละทรัพย์ของตนเป็นทานแก่ผุ้มีธรรมอยู่เนืองๆ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือจาคานุสสติ
6.อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด จึงถึงซึ่งความเป็นเทวดานั้น อันศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น แม้เราก็มีอยู่ เมื่ออริยสาวกระลึกเช่นนี้ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม พ้นจากตัณหาและกามคุณ5 นี่คือเทวตานุสสติ]



จบสูตรที่ ๖






หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ธันวาคม 16, 2014, 10:03:18 PM

กรรมฐานและอานิสงส์จากการเจริญ อนุสสติ ๖ # ๔

๗. สมยสูตรที่ ๑

[๒๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้นภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุไม่รู้ ไม่เห็น ซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อตนอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อผมอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
[พระผู้มีพระภาคทรงสั่งสอนว่า เวลาที่ควรแก่การเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ คือ
1.ภิกษุถูกกามราคะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละกามราคะนั้น
2.ภิกษุถูกความพยาบาทครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาทนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละความพยาบาทนั้น
3.ภิกษุถูกถีนมิทธะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งถีนมิทธะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะนั้น
4.ภิกษุถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะนั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะนั้น
5.ภิกษุถูกวิจิกิจฉาครอบงำ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งวิจิกิจฉานั้น และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉานั้น
6.ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นซึ่งหนทางปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะโดยลำดับ พึงเข้าไปสอบถามภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจเพื่อทราบถึงหนทางปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อตนกระทำไว้ในใจโดยชอบแล้ว และขอให้ท่านแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะ]


จบสูตรที่ ๗





๘. สมยสูตรที่ ๒


             [๒๙๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุชั้นเถระหลายรูป อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน
ใกล้เมืองพาราณสี ครั้งนั้นแล เมื่อภิกษุชั้นเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่โรงฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนหนอแล ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อกล่าวกันอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระ
ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับ
จากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า สมัยนั้น ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น แม้ความ
เหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต แม้ความเหน็ดเหนื่อยเพราะฉันอาหาร
ของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น ก็ยังไม่สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัย
ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหารด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
ไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหาร
ด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น สมาธินิมิตใด
ที่ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นได้ทำไว้ในใจในกลางวัน สมาธินิมิตนั้นก็ยังฟุ้งซ่าน
อยู่ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น
ก็ยังตั้งอยู่ในโอชา (มีโอชารสแห่งอาหารแผ่ซ่านไปทั่วตัว) ความสบายย่อมมีแก่
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น เพื่อทำไว้ในใจซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ฉะนั้น สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯ
             เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกะภิกษุชั้น
เถระทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะ
พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่
ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่
ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑
ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุ สมัยที่ควร
เพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้แล ฯ


จบสูตรที่ ๘







หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ธันวาคม 16, 2014, 10:29:06 PM
๙. อุทายีสูตร
             [๓๐๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอุทายีมาถามว่า
ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๒ ว่า
ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว
ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๓ ว่า
ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ดูกรท่านอุทายี พระ-
*ศาสดาตรัสถามท่าน ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ผมได้ยิน
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติ ฯ
             ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์
เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัส
ถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า ดูกรอานนท์ อนุสสติมีเท่าไรหนอแล ท่านพระ-
*อานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติมี ๕ ประการ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่
พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ ย่อมตั้งสัญญาว่า
เป็นกลางวันอยู่ เธอกระทำอาโลกสัญญาว่ากลางวันไว้ในใจ ฉันใด กลางคืน
ก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจปลอดโปร่ง อันนิวรณ์ไม่
พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่างด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้
ญาณทัสสนะ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้า
ขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มเต็มด้วยสิ่งไม่สะอาดมีประการ
ต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็น
อนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้าตายแล้ว
วันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน พองขึ้น มีสีเขียวพราว มีหนองไหลออก
เธอย่อมน้อมซึ่งกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แลย่อมมีอย่างนั้นเป็น
ธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็น
สรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงกา นกตะกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอก
หรือสัตว์ปาณชาติต่างๆ กำลังกัดกิน เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า
กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความ
เป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก
มีเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ และเลือด
มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก
เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเครื่องผูก เรี่ยรายไปตามทิศต่างๆ คือ กระดูกมือ
ทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูก
เอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะทางหนึ่ง เธอย่อมน้อม
กายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อม
เป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูก
เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราด
เป็นกองเกินหนึ่งปี เป็นท่อนกระดูกผุ เป็นจุรณ เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไป
เปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น
ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ
สุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้บริสุทธิ์อยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุหลายประการ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติ
๕ ประการนี้แล ฯ
             พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสสติข้อที่ ๖ แม้นี้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสติ
นั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูกรอานนท์ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ
จบสูตรที่ ๙


หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ ธันวาคม 16, 2014, 10:31:18 PM
๑๐. อนุตตริยสูตร
             [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑
ปาริจริยานุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่
ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว เป็น
ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรัก
ตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือ
สาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความ
บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มี
ความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า
ทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ
             ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ
ต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจ
เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่
หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระ
ตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่ง
สัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธา
ตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรม
ของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนา
นุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือ
ได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้
มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้
ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของ
พระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ
ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษา
ศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้น
เป็นการศึกษาที่เลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้ง
มั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิต
บ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอด
เยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้ง
หลาย ... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธา
ตั้งหมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษา
อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ
สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก
นี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ
บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุง
นี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว ... ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้
ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ...
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรัก
ตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนา
นุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
             ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก
นี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึก
ถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่
เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน
ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่า
การระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ
ก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ
บรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มี
ศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อม
ระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ
                          ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภา
                          นุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง
                          เจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึง
                          อมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษา
                          ตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็น
                          ที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ
จบอนุตตริยวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
             ๑. สามกสูตร ๒. อปริหานิยสูตร ๓. ภยสูตร ๔. หิมวันต
สูตร ๕. อนุสสติฏฐานสูตร ๖. กัจจานสูตร ๗. สมยสูตรที่ ๑
๘. สมยสูตรที่ ๒ ๙. อุทายีสูตร ๑๐. อนุตตริยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters