สนทนาธรรม ฟังธรรม อ่านธรรมะ บทความธรรมะ หลักธรรมคำสอน กฎแห่งกรรม dhamma

ธรรมะออนไลน์ => กระดานถาม-ตอบ => ข้อความที่เริ่มโดย: ประวิต ที่ เมษายน 04, 2012, 08:46:43 PM



หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 04, 2012, 08:46:43 PM
ความรู้อันถูกต้อง เป็นเพียงมุมมองที่เปลี่ยนไป  ::)เข้าใจอย่างที่เราเข้าใจ ในความไม่มี และไม่เป็นจริง ในสิ่งที่เราเห็น และเรารู้สึกว่ามันเคยเป็น และเป็นอย่างนั้นมาก่อน.... นิพพาน....ค่อยว่ากัน.....ผมเองก็แสวงหาเพื่อนร่วมทางเช่นเดียวกัน....หากเพื่อนๆท่านใดสนใจเป็นเพื่อนเสวนา..คลิ๊ก...  


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 05, 2012, 09:28:30 AM
ความเ้ข้าใจและมุมมองที่เปลี่ยนไปในความรู้สึกที่เคยมี เคยเป็นมาก่อน แปรสภาพเป็นความรู้ความเข้าใจ ในสิ่งที่มีอยู่ และเป็นอยู่ ว่าไม่ได้มีอยู่จริง และเป็นจริงตามธรรมชาติเดิมของมัน (ไม่ใช่ความคิดไม่ใช่หลักการใดๆ) ความเข้าใจตัวนี้ให้สังเกตุจากความรู้สึกของเรา ทุกอย่างจะหยุดลง ความรู้สึกเริ่มปลงตกมากขึ้น จิตใจที่เร้าร้อนก็เย็นโดยธรรมชาติ ความสำคัญตนที่มีมากว่ารู้ว่าถูกว่าจริงจะเริ่มเลือนลาง เข้ากับอะไรก็ได้มากขึ้น ยอมและไม่ถกเถียงกับบุคลอื่นๆ ในเมื่อมันไม่มีอะไรเราจะถกเถียงไปทำไม สำคัญตนไปเพื่อประโยนช์อะไร ทำให้เป็นทุกข์เปล่าๆความรู้สึกเร้ารอ้นเปล่าๆ อยู่อย่างสงบไม่ดีกว่าหรือ.... สัมมาทิฏฐิ.....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 06, 2012, 11:08:15 AM
ตั้งมากมายความคิด ตั้งมากามายความรู้ ตั้งมากมายมุมมอง ตั้งมากมายความเชื่อ ตั้งมากมายในสิ่งที่รู้สึกว่าเป็นความจริง ตั้งมากมายที่เรารู้สึกต้องการ ตั้งมากมายที่เราปารถนา ตั้งมากมายของความรู้สึกที่เรารับรู้ ตั้งหลากหลายครูบาอาจารย์ และสิ่งสำคัญคือความรู้สึกว่าตัวเราชีวิตเรา....มันจึงยากเหลือเกินที่จะเข้าใจ....เมื่อมองเห็นของที่วางอยู่ ก็ย่อมรู้สึกว่ามันมีอยู่ เมื่อของตรงนั้นหายไป ก็ย่อมรู้สึกว่ามันหายไปและไม่มีอยู่ แค่เริ่มต้นก็งงเป็นไก่ตาแตกแล้ว  นั้นแหละจึงต้องสังวรณ์  จึงเป็นที่มาของการปฎิบัติสมาธิ ภาวนาไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อความคิดแน่วแน่จนกระจ่างบอกใครก็ไม่ได้จะพูดอย่างไรมันก็พูดไม่ถูก  แล้วทุกอย่างก็เริ่มกระจ่างชัดตามวิถีของการเดินไปตามทางๆนี้ :-*มีกับไม่มี  เป็นจริงกับไม่เป็นจริง  ถูกกับผิด  ใครจะไปรู้ตรงช่องว่างระหว่างกลางมันจะมีของดีซ่อนอยู่ อิๆๆๆ......สัมมาทิฎฐิ.....
 


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: man123 ที่ เมษายน 07, 2012, 07:00:13 PM
สิ่งที่ทำให้ลดทุกข์ หรือนิพพาน ก็คือการวิปัสสนา คือการรู้ตามกายใจของเราไปเรื่อยๆใช่ป่าวครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 07, 2012, 09:08:22 PM
ตราบใดมุมมองของเรายังไม่เปลี่ยน  ความกระจ่างชัดของธรรมชาติในตัวเรา  ยังไม่ปรากฎแก่ความรู้สึกนึกคิดในตัวเราอย่างซาบซึ่งจนเราสลัดความรู้สึกมันออกจากห้วงของความคิดไม่ได้  การตามรู้ในวิถีแห่งกายใจก็เป็นการผูกพันในอัตตาอีกแบบหนึ่งเท่านั้น  จะผ่อนคลายได้บ้างก็เพราะความรู้สึกของเรานั้นผูกติดในการกำหนด ไม่ส่งออกไปตามผัสสะอารมณ์และตามโมนนึก  ทุกข์ที่เกิดจากอารมณ์เหล่านั้นจะผ่อนคลายและลดลงตามลำดับ  แต่เราก็ไม่สามารถสลัดตัวออกจากวังวนได้  เผลอเมื่อไหร่มันก็ตามหลอนเราอีก  ครับ....สัมมาทิฎฐิ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: man123 ที่ เมษายน 08, 2012, 10:07:52 AM
แล้วการปฏิบัติที่ถูกหรือหลุดพ้นควรทำอย่างไรหรอครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 08, 2012, 10:45:02 PM
ตามหลักของความจริง  โดยธรรมชาติเดิมๆของมัน  ตามความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว...ไม่มีสิ่งที่ต้องหลุดพ้น  หรือใครๆี่ต้องถูกกักขัง  มันเป็นเพียง...ปฎิจสมุปบาท (สิ่งนี้มีสิ่งนี้ต้องมี  ก็เท่านั้น)  ฤาเป็นเพียงสิ่งที่อาศัยซึ่งกันและกันทำให้เกิดขึ้นก็เท่านั้นแล...แต่สิ่งที่ผันผวนก็คือ...สัตว์โลกที่มีเผ่าพันธ์เป็นมนุษย์  มีความจำที่มาก  และผลิตผลของความจำก็ขยายความ  เป็น...วิตก...วิจาร...หรือ...ระลึกและจินตนาการ .(ทุกข์) จึงมีเรื่องนั้น เรื่องนี้ให้เราต้องคบคิดตลอดเวลา.(ทุกข์).( มันเป็นเืรื่องจริงนะจ๊ะ....ที่ต้องมีการปฎิบัติแบบเชื่องช้า  และเฉียบพลัน)  เพื่อดับความวิตกวิจาร. และระลึกกับจิตนาการ (ดับทุกข์) วิธีการเหล่านี้มีอยู่จริงครับ... ส่วนวิธีการที่ถูกต้องนั้น  มันขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะชอบแบบเชื่องช้าหรือเฉียบพลัน...เรียนรู้ว่าทาน  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  แล้วค่อยๆปฎิบัติำตามลำดับ....หรือคิดๆๆจนหนึ่งผุดแล้มันก็หยุดคิด   ค่อยๆคิด ค่อยๆเลือกพิจารณานะครับ...สงสัยถามต่อ...สัมมาทิฎฐิ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: man123 ที่ เมษายน 09, 2012, 09:13:09 AM
ขอบคุณครับ แล้วแบบเชื่อช้ากับเฉียบพลันมันเป็นยังไงบ้าง แต่ว่าการลดทุกข์ที่ผมรู้มามันคือการเจริญวิปัสสนารู้ตามกายใจของเรา
ประโยคที่ว่า(การตามรู้ในวิถีแห่งกายใจก็เป็นการผูกพันในอัตตาอีกแบบหนึ่งเท่านั้น  จะผ่อนคลายได้บ้างก็เพราะความรู้สึกของเรานั้นผูกติดในการกำหนด ไม่ส่งออกไปตามผัสสะอารมณ์และตามโมนนึก)
ผมว่ามันไม่ใช่การผูกติดนะครับมันเป็นการเจริญสติรู้ความจริงต่างๆว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นทุกข์อะครับหรือคือการลดทุกข์อะครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 09, 2012, 03:11:42 PM
man123 เราปฎิบัติธรรมมานานแค่ใหนกี่ปีแล้วขอถามหน่อยครับ  กลัวเป็นกัลญาธรรมชี่นำผิด  เพราะภูมิธรรมสภาวะแต่ละบุคลไม่เหมือนกัน  แต่สิ่งใดที่เราทำมันลงไปแล้วรู้สึกว่ามัมผ่อนคลายทุกข์ได้  และเป็นการไม่เบียดเบียนใครหรือตัวเรามันก็แนวทางเดียวกันละครับ  ต่างก็แค่วิถีการ...สัมมาทิฎฐิ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 09, 2012, 03:41:14 PM
เชื่องช้านั้นเป็นการลงมือปฎิบัติตามขั้นตอนของศัทธา  เริมด้วยศีล  สมาธิ  ปัญญา  ในมรรคแปดนั้แหละ  แต่ลำดับจัดของการปฎิบัตินั้นคนละขั้นตอน  ส่วนเฉียบพลันนั้นเป็นการทำให้มุมมองแห่งเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ให้กระจ่างชัดเสียก่อน  แล้วมุมมองจะสอนให้เราปฎิบัติตามองค์มรรค8ต่างๆอย่างถูกวิธีเอง  โดยไม่เป็นการซ้ำซ่อนซ่อนเงื่อนอะไร  เมื่อใดเราทำความกระจ่างชัดแห่งเหตุให้กระจ่างได้  เมื่อนั้นเราจะรู้เองว่าควรทำอย่างไรดีกับชีวิตของเราในการเดินทาง...สัมมาทิฎฐิ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: man123 ที่ เมษายน 09, 2012, 03:49:32 PM
ผมเพิ่งเริ่มครับ ประมาณ 4 เดือนครับผมก็อ่านบทความธรรมมะบ้างสงสัยคงจะคนละวิธีการจริงๆแหละครับเพราะผมละทุกข์โดยการรู้ รูป-นามหรือ กายใจปัจจุบัน มันก็ช่วยให้ผมลดทุกข์ได้มากขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลาที่ปฏิบัติอะครับ หรือที่เรียนว่าเจริญวิปัสสนาอะครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 09, 2012, 09:13:12 PM
ใจเย็นๆทำต่อไปเรื่อยๆเมื่อมีศัทธาในแนวทาง  และมีการปฎิบัติตามแนวทาง  จะเชื่องช้า  หรือเฉียบพลัน  ก็ดีกว่าเราไม่รู้และไม่ใส่ใจต่อทางๆนี้เสียเลยเส้นทางมีใว้ให้เราเดิน  เราก็ต้องเดินต่อไปครับ  (ตถตา  เช่นนั้นแหละครับ)  ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้เดินทางทั้งหลายนะครับ  ถึงเวลาดอกไม้มันจะบานมันก็ต้องบานครับ  ใครๆจะไปห้ามมันไม่ให้บานก็คงบ่ได้ดอก....สัมมาทิฎฐิ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: man123 ที่ เมษายน 10, 2012, 09:05:13 AM
ขอบคุณครับ ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 11, 2012, 09:54:52 PM
ต้ังหัวข้อเอาใว้ว่า  ส้มมาทิฎฐิ - นิพพาน  ยังไม่ได้เขียนบทความเลย   ขอถามท่านทั้งหลายซักหน่อย  ขณะที่ความคิดความรู้สึกของเรากำลังผูกติดในการที่เรากำลังปวดหนัก โดยที่ไม่มีที่ๆจะให้เราระบายหรือปลดทุกข์ได้ใตอนนั้น  ท่านจะกังวลแค่ใหน  และจะทรมานเพียงใด  ท่านก็ได้แต่ต้องอดทน  และทนปลอบใจตัวเองไปเรื่อยๆ  พร้อมแสวงหาที่จะปลดหรือระบายมันด้วย  ในที่สุดท่านก็เจอ  ท่านว่าอะไรครับ...สัมมาทิฎฐิ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: siamclub16 ที่ เมษายน 19, 2012, 09:02:44 PM
ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยคน


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 21, 2012, 09:20:42 PM
ขอบคุณทุกท่านครับสำหรับกำลังใจ....บทความดีไม่ดี..ความหมายดีไม่ดี..คำแปลต่างๆดีไม่ดี...อยู่ที่ตัวท่านเอง..อัตเตหิ..อัตตาโนนาโถ...แร๋ว..กุสะลา  ธัมมา....ธรรมที่เป็นกุศล...ให้ผลเป็นสุข...อะกุสะลา   ธัมมา...ธรรมที่เป็นอกุศล...ให้ผลเป็นทุกข์...อัพพะยากะตา  ธัมมา...ธรรมที่ไม่ตายวายทุกข์...ให้ผลเป็นอุเบกขาธรรม....นิ่งได้ทั้งกายวาจาใจ...ไร้ทุกข์ ไร้โศก ไร้โรค ไร้ภัย...มีใจเหมือนตายด้าน..มีตาเป็นเพียงแว่น...มีหูเป็นเครื่องรับ...มีตับเป็นเครื่่องรู้...มีกู ก็เหมือนไม่มี...ดีแท้หนอถ้าพอใจคิด...5555...ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆท่านที่เป็นเพื่อนร่วมทางๆนี้ด้วยครับ..อันที่จริงม้นก็ไม่มีอะไรมากหรอกที่ต้องพูดต้องเขียน...แต่มันก็เป็นสื่อความหมายที่ดีต่อเพื่อนร่วมทาง...พูดเท่าไหร่ก็ผิดเท่านั้น...เขียนเท่าไหร่ก็ผิดมากเหมือนกัน...แต่หากไม่ทำไม่พูดมันก็ไม่มีประโยชน์อะไรดอกครับท่านผู้อ่านทั้งหลาย.......แต่หากพูดแล้วทำแล้ว...มันมากด้วยสัพยอกทั้งหลาย  ก็ควรสำรวมสักกะหน่อยเหน๋าะ  พีน้อง.....สัมมาทิฎฐิ....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: กอล์ฟ ที่ เมษายน 23, 2012, 04:41:54 AM
สวัสดีครับ คุณน้าพอดีผมเข้ามาดู ผมว่าคุยกันเรื่องศีลห้ากันก่อนดีกว่าไหมครับ
เหมือนกับเรากำลังคุยกันในโลกนี้เป็นปกติ โดยเฉพาะศีลข้อที่ 4 ยิ่งจำแนกออกไปยิ่งสนุกครับ
จะให้มาคิดถึงทางนิพพานผมไม่อยากจะคิดถึงปวดหัวเปล่าๆ(แต่ก็คิด) ผมแค่คิดในสิ่งที่คิดถึงได้ คิดในสิ่งที่ไปถึงได้
ผมอ่านในหนังสือพุทธวัจน์มาว่าสัมมาทิฎฐิเป็นธรรมดาที่โน้มเอียงไปยังทางนิพพานอยู่แล้ว
ครูบาอาจารย์กล่าวไว้ว่าถึงตอนนั้น แม้แต่ความเห็นเราก็ยังไม่มีเลย แล้วแต่จะคิดนะครับผม
ผมแค่มาเล่าให้ฟังอีกอย่างผมก็อาจไม่มาดูตรงนี้อีก ผมถือว่าผมได้ทำหน้าที่แล้ว ด้วยความเคารพ กราบสวัสดีครับ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 23, 2012, 11:31:57 AM
บ่เป็ยหยั๋งดอกพ่อหนุ่ม...ทางนั้นมีไว้ให้เราเดินเราก็เดินไป เหนื่อยเราก็พัก หายเหนื่อยเราก็ไปต่อ บ่เป็นหยั๋งเน๊าะ....โลกนั้นมันปรกติอยู่แล้วละ...แม้แต่มนุษย์ทุกคนก็เป็นปรกติอยู่...แต่สิ่งที่มันผิดปรกตินั้น...มันคืออวิชา...ซึ่งแปลว่าความไม่รู้แจ้งแทงตลอด....มันจึงนำพาให้เกิดเรื่องตั้ง 24 ชั้นฟ้า 25 ชั้นดิน...เดือดร้อนผู้มีความรู้..และมีความเมตตา...ต้องบำเพ็ญตะบะเพื่อหาทางช่วยเหลือ...และช่วยแก้ขัยหาทางออกให้กับชีวิตเราท่านทั้งหลาย...ให้เป็นไปด้วยดี...บ่เป็นหยั๋งดอกพ่อหนุ่ม....หน้าตาดีนะเรา สมแล้วที่เป็นผู้รักษาศีล  ขอนุโมทนาด้วยครับ.....สัมมาทิฎฐิ....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 25, 2012, 10:54:18 PM
....ความรู้ที่ถูกต้องเป็นเพียงแค่มุมมองที่เปลี่ยนไป....  เมื่อตาเห็นรูป  เกิดเป็นจักษุวิญญาณ  มันต้องรู้ตามสัญชาตญาณที่ได้เรียนรู้มา  จะปรุงต่อเป็นแบบใหนก็ขึ้นอยู่กับมุมมอง  หรือจะหยุดก็ขึ้นอยู่ที่ตะบะ  แต่มันก็ต้องรู้เป็นธรรมดา ....รู้อย่างซาบซึ่งแค่นี้เราก็สบายไปหลายชาติแล้วพี้น้องครับ...สัมมาทิฎฐิ....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 27, 2012, 10:39:09 PM
ความรู้ที่ถูกต้องเป็นเพียงมุมมองที่เปลี่ยนไป....(เข้าใจในความมีอยู่ว่าไมมีอยู่จริง..เข้าใจในความรู้สึกที่สำคัญมั่นหมายว่าความเป็นจริงว่าไม่เป็นจริง..เข้าใจตามธรรมชาติเดิมแท้ของชีวิตมันจริง...ว่ามันไม่ได้มีอะไรจริงๆ...ไม่ได้เป็นอะไรจริงๆ...มันไม่ใช่อนิจัง..ทุกข์ขัง..อนัตตา...มันไม่ใช่อะไรทั้งนั้น...ไม่ใช่จริงๆ...ไม่มีอะไรจริงๆ...สิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่นั้นเป็นธรรมชาติล้วนๆ..อย่าสำคัญมันผิดไป...ใส่ใจได้มันก็เป็นเพียงแค่เช่นนั้นเอง..อะไรๆก็เช่นนั้นเอง )....วิถีการเข้าถึงเหตุผลก็มีหลายวิธี...วิธีปฎิบัติก็มีหลายวิธีที่จะเดินตามทางๆนี้...แต่แล้วผู้คนส่วนใหญ่ที่เป็นบุคลที่มีปัญญาอันแหลมคม...ก็มักทำงานในตำแหน่งแถวหน้า...ส่วนผู้มีปัญญาน้อย...ก็มักจะเดินตามหลัง...เมื่เดินแถวหน้าก็มักไม่เคยคิดย้อนหลัง...เลยเตลิดเปิดเปิงถึงบางยี่ขัน...ส่วนคนเดินตามหลังที่มีปัญญาน้อยอยู่แล้วก็ยิ่งเชื่องช้าไปใหญ่..แถมยังคิดเพ้อเจ้อเตลิดเปิดเปิงไปกันใหญ่....กรรมเวรจริงๆชาวพุทธในปัจจุบัน....แต่ก็ช่างมันเถอะในเมื่อมันไม่มีอะไรจริงแล้ว แล้วเราจะไปคิดทำไม...สงสารแต่ท่านที่มีเมตา  มีความการุณาอุตส่าพากเพียรบอกเล่าชี่บอกนั้นแหละ  ทำไมมันจึงปึกแท้เหน๊าะ...ให้แปลก็แปลมั่ว..โถ้ๆๆๆๆ....สัมมาทิฎฐิ.....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ เมษายน 29, 2012, 10:02:00 PM
ปัญหาของการเวียนว่ายตายเกิดเป็นปัญหาเฉพาะหน้า  ของนักปฎิบัติธรรม  เมื่อมีการเกิด  ก็ต้อง มีแก่ มีเจ็บ มี่ไข้  มีความโศกเศร้าเสียใจต่างๆตามมา  มีความสมปรารถนาบ้าง  ไม่สมปรารถนาบ้าง  มีความคับแค้นใจเมื่อไม่สมปรารถนา  อันที่จริงคนเรานั้นมีความทุกข์ต่างๆอยู่ตลอดเวลา  แต่เราไม่เข้าใจและไม่รู้  จะมองเห็นความทุกข์ก็ต่อเมื่ิอเจอกับความไม่สมปรารถนาบ้าง  แต่ก็มไ่รู้  รู้แต่ว่ามันคับแค้นใจไม่พอใจ  ต้องแก้แค้นด้วยการหาทางออก  ทางแรกต้องดิ้นรนให้สมปรารถนาด้วยวิธีการต่างๆ  หรือได้แก้แค้นแก้เผ็ดเพื่อจะเอาชนะมัน  ดิ้นๆๆๆ  แม้แต่ดิ้นเพื่อเอาชนะกิเลส  ก็ต้องหาทางต่างๆเพื่อเอาชนะมัน  บางท่านถือศีลต่างๆเพื่อเอาชนะกิเลส  จนศีลนั้นพันตัวเองอย่างสลัดไม่ได้  ก็จำอวดคนอื่นๆว่าศีลดีที่ตนปฎิบัติเคร่งคัด  จะกินยังต้องถามอีก  ลำบากไหมครับในการดิ้นรน  บางท่านก็กลัวที่จะไม่ได้ทำ  บอกให้ลืมมันบ้าง  ไม่ว่าโลกและธรรม  ไม่หรอกครับ  เขาบอกว่ากลัวที่จะไม่ได้เกิดเป็นเทวดาบ้าง  กลัวเกิดชาติหน้าเกิดมาแล้วจนบ้าง  พระบางท่านก็เทศได้แต่ให้คุณโยมทำบุญมากๆ  จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง  มอมเมากันแต่บุญ  คนเราส่วนใหญ่มันก็ช่างขี้กลัวกันอยู่แล้ว  พอเจอลูกขู่ลูกตื้อก็ไปกันใหญ่  บางคนไปขอเงินพ่อเงินแม่มาทำทานทำบุญ  ไม่ว่าดอกครับการทำบุญ เพรามนุษย์เราก็ต้องพึ่งบุญกันทั้งนั้น  แต่เราต้องระลึกกันบ้าง   ว่าของวิเศษในศาสนานั้นเราจับต้องมันได้ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่  ไม่วาเราจะมีสภาพดำรงค์ชีวิตอยู่แบบไหน  แบบชาวบ้าน  แบบนักบวช  หรือแบบขอทาน  หรือแบบเจ้าสัวเศษฐีทั้งหลาย  สัมมาทิฎฐิในมรรค8  ก็เริ่มที่  1โดยสัมมาทิฎฐินี้แหละครับ  ก่อนที่จะเป็น  สัมมาสังกัปโป  ถ้าไมสามารถเห็นชอบได้ก็ยากยิ่งที่จะดำริชอบได้  ดำริชอบไม่ได้การกระทำในสื่งชอบก็ไม่ได้  นั่นเป็นกระบวนการแห่งมรรคคาปฎิปทา   ความเห็นชอบนั้นเห็นอะไร  ไม่ได้เห็นอะไรหรอกครับพี่น้อง  ก็แค่เห็นอ้ายกายยาววาหนาคืบกว้างศอกนี่แหละ  ว่ามันคืออะไรที่แท้จริง  มันเป็นอะรไที่แท้จริง  เห็นจนถึงที่สุดของมันว่าเป็นหนึ่งไม่คือใคร  ความเห็นตัวนี้จะสอนให้ดำริชอบเอง  และกระทำในสิ่งที่ถูกที่ชอบเอง  ตลอดจนกว่าท่านจะเป็นหนึ่งในตัวท่านเอง   อย่างไม่ต้องสงสัยตลอดเส้นทางเดิน  ท่านจะทำบุญ  ทำทาน  รักษาศีล  เจริญภาวนากรรมฐานใดๆ  ก็ล้วนแต่เป็นประโยชน์ให้กับตัวท่าและคนรอบข้าง  ท่าจะไม่ถกเถียงบุคลใดว่าแนวทางนั้นถูกนั้นผิด  หรือทำแล้วต้องสอบอารมณ์   ถ้าไม่คิดปรุงแต่งตามวัตถุแห่งความเคยชิน   บางครั้งเราไม่ต้องทำอะรไก็ได้   เพียงแค่การไม่คิดปรุงแต่งตาม   ทุกอย่างก็สิ้นสุดลงได้  สุดยอดแห่งการปฎิบัติก็อาจเกิดขึ้นได้ ในขณะนั้น  ความสิ้นสุดแห่งกงล้อก็แตกสบั้นลงได้อย่างไม่คาดคิดมาก่อน......ธรรมชาติไม่เคยทำให้ใครผิด.....ความไม่รู้ไม่เข้าใจต่างหากที่ทำให้เราต้องวิตกสับสนกังวลใจ.....ดิ้นไปอย่างไม่สิ้นสุดตามทาง.....สัมมาทิฎฐิ.....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 04, 2012, 09:49:05 PM
อยากเขียนและอยากบอก(อยาก)  อย่าส่งจิตออกนอก  มันสั้นเกินไป  อย่าคิดปรุงแต่ง  ยิ่งสั้นไปใหญ่  กลัวเป็นกัลญาธรรมที่ไม่ดี  และกลัวไม่มีคนสนใจมัน  ก็จำเป็นต่องร่ายยาวไปหน่อย  กราบขออภัยที่ทำให้ท่านทั้งหลายเป็นกังวล.....สัมมาทิฎฐิ.....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 09, 2012, 09:48:29 PM
สิ่งทีมีรสขม  ย่อมถูกใช้เป็นยาดี
สิ่งที่ฟังแล้วไม่ไพเราะหู นั้นคือคำตักเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง
จากการแก้ไขความผิดให้กลับเป็นถูก  เราย่อมได้รับสติปัญญา
โดยการต่อสู้เพื่อรักษาความผิดของตัวเองเอาไว้  เราย่อมแสดงนิมิตหมายแห่งความมีจิตผิดปรกติออกมา
ผู้ปฎิบัติเพื่อกุศลอันสูงสุด  จะไม่หมิ่นผู้อื่น  ในทุกๆโอกาศที่เขาปฎิบัติอยู่   ไม่ทำลายทางแห่งตนที่กำลังเดินอยู่
ผู้นั้นย่อมใช้สิ่งที่มีรสขม  เป็นยาดีอย่างถูกต้อง........สัมมาทิฎฐิ......


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ พฤษภาคม 13, 2012, 03:35:59 PM
ขออนุญาติสนทนาในกระทู้ด้วยนะครับ หากไม่ตรงประเด็น ไม่เกิดประโยชน์ หรือบิดเบือนใดๆ ก็ขออโหสิกรรมด้วยนะครับ
1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบใช่ไหมครับ อย่างไรเรียกว่าเห็นเห็นชอบครับ เห็นสาวๆสวยๆอย่างนี้เรียกว่าเห็นชอบไหมครับ ก็เพราะว่าผมชอบสวยๆนี่นา พูดว่าเห็นชอบคงไม่ผิดใช่ไหมครับ แต่ในนัยยะของพระธรรมนั้น ความเห็นชอบก็คือ ความเห็นและเข้าใจจริงในสภาวะธรรมใดๆ เช่น
- ความปารถนา ความพรัดพราก ความประสบสิ่งไม่เป้นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ นี่ก็จัดอยู่ในความเห็นชอบเห็นจริงในสัจธรรมนั่น
- ความเห็นจริงในสภาพปรมัตถธรรม คือ สภาพจริงๆที่ใครก็รับรู้ รู้สึกได้ แม้จะเรียกในชื่อบัญญัติที่ต่างกันแต่ก็รับรู้ได้เหมือนกัน เช่น ความร้อน เย็น เคลื่อนตัว ตรึงไหว แข็งอ่อน เสียง กลิ่น สี รส ความคับแค้นใจ ความละเหี่ยไม่สบายกายใจ ความกรีดใจ หวีดใจ อัดอั้น ผ่องใส ปิติ อบอุ่น เฉย อย่างนี้เป็นต้น ทุกคนทุกชนชาติย่อมรู้สึกกับสิ่งนี้ๆได้ แต่เรียกชื่อต่างกันตามแต่ละพื้นที่ที่บัญญัติเรียกขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจตรงกัน หากเห็นสภาพจริงที่ตัดขาดจากสมมติบัญญัตินี้ขึ้น ไม่เหกิดความหมายใดๆที่เป็นบัญญัติ เรียกว่าเห็นจริงในสภาพปรมัตถธรรมเป็นเบื้องต้นใน รูป-นาม
- ความเห็นจริงใน อริยะสัจ ๔ รู้ทุกข์ เห็นทุกข์ รูสภาพทุกข์ เห็นเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ ละที่เหตุปัจจัยแห่งทุกข์ ปฏิบัติตามทางพ้นทุกข์ ถึงสภาพแห่งการพ้นทุกข์ เห็นความจริงและเข้าใจจริงตามอริยะสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเหตุ เห็นปัจจัย เห็นผลในสภาพธรรมที่เป็นจริง
2. นิพพาน เป็นสภาพที่ดับจากกิเลสทั้งปวง หมดซึ่งทุกข์ ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ เป็นต้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าตาย
3. เรื่องการปฏิบัตินั้น ผมไม่รู้ว่าทุกๆท่านปฏิบัติเพื่อสิ่งใด ผมรู้แค่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนีที่เป็นพระศาสดาของผมนั้น พระองค์สอนให้ผมรู้ทุกข์ รู้เหตุของทุกข์ รู้ทางดับทุกข์ ถึงความพ้นทุกข์ ถึงแก่กุศลจิต อุเบกขาจิต เห็นสภาพจริงอันไม่น่าหลงไหลยึดติดเป็น ตัณหา อุปาทาน จนถึงแก่ อัพกตธรรม ไม่ได้สอนให้ปฏิบัติเพื่อเป็นความรู้พูดคุย ให้คนสรรเสริญ ไม่ได้เป็นไปเพื่อฤทธิ์เดช ส่วนใครจะกระทำเพื่อสิ่งใดปฏิบัติยังไงก็ตามแต่ความพอใจยินดีของแต่ละคน
- อนึ่งเมื่อกาลก่อนผมพยายามที่จะพูดบอกกล่าวทั้งไพเราะทั้งหยาบคายน่าเกลียด แต่เมื่อพูดไม่ถูกกาล ไม่เข้าถึงประเด็นแก่จิตผู้ฟัง ไม่เข้าถึงประโยชน์แก่ผู้ฟัง สิ่งใดๆแม้ไพเราะ หรือ หยาบกระด้างก็ดี ย่อมไม่เป็นผล แต่คำพูดใด วาจาใด ที่ก่อเกิดประโยชน์แก่คนอื่น แล้วเรารู้กาลที่จะกล่าวคำนั้น สิ่งนั้นย่อมมีค่ามากแก่ผู้รับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ พฤษภาคม 13, 2012, 05:30:16 PM
วาจาประกอบด้วยประโยชน์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดมมหามุนีตรัสไว้

ผมคิดว่ากระทู้นี้น่าจะเป้นประโยชน์แก่คุณประวิต และ ท่านทั้งหลายที่มาแวะชมสนทนาในกระทู้นี้ เพื่อเป็นวิถีและแนวทางในการใช้สนทนาธรรมและชี้ทางแก่ผู้อื่น แต่ก่อนอื่นเราต้องมีความวางใจกลางๆพิจารณารับฟังคนอื่นก่อนที่จะกระทำการใดๆ เพื่อให้ถูกแก่กาล เหมาะสม และ เป็นประโยชน์ ดังวาจาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ครับ

๑. ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น


๒. ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

๓. อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

๔. ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น


๕. ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

๖. อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 14, 2012, 09:53:01 PM
ิยินดีต้อนรับและเป็นเกียรติตามโอกาศอันสมควร   แด่เพื่อนร่วมทางในทางๆนี้ทุกๆท่าน  รวมถึงท่านเกียรติคุณด้วย  การสนธนาในธรรมทั้งปวง  รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นที่เป็นมุมมองแห่งปัญญา  (สำหรับชาวพุทธ ) แปลว่าผูที่ตื่นขึ้นด้วยปัญญาอันแท้จริง ...จะไม่มองและสนทนาแค่เพียงอาการแสดง  แห่งความเห็นที่มองว่าถูกและผิด  และสำคัญว่าความเห็นของๆเรานั้นถูกแล้วควรแล้ว  หรือความเห็นของใครๆที่เป็นความเห็นต่างกรรมต่างวาระ  ว่าที่เห็นนั้นหรือความเห็นนั้นถูกหรือผิด  หรืออะไรๆที่ถูกต้องเสมอไป  หรือไม่ว่าเพื่อเป็นการที่จะแสดงออกในที่ๆต้องการเอาชนะ  หรือแสดงว่าความคิดเห็นของเรานั้นถูกเสมอไป  หรือแนวทางที่เรากระทำนั้นต้องถูกต้องเสมอไป  หรือว่าเหมาะสมกว่าที่คนอื่นๆเขาปฎิบัติอยู่  สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นตามกาลแห่งการเสวนาของชาวพุทธ  เราจะเปิดกว้างเสมอในมุมมอง เพื่อเป็นประโยนช์ต่อตัวเราเองและคนรอบข้าง  และเพื่อเป้าหมายของศาสนานี้จะได้เป็นไปตามความรู้ถูกต้องอันสูงสุด  แห่งหัวใจแห่งพระศาสนา   เช่นเดียวกันครับสัมมาทิฎฐินั้นก็มีหลายระดับชน  เช่นเห็นสาวสวยก็ต้องรู้สึกชอบ  อันนี้ก็เเป็นสัมมาทิฎฐิเหมือนกัน  แต่เป็นของชาวโลก  ที่ชอบแล้วนำพาความวุ่นวายหรือความเร่าร้อนใจมาสู่เราไม่มีที่สิ้นสุด  หีโนคัมโม  ปุถุโช  ....แต่สัมมาทิฎฐิในศาสนานั้นมี  3 ระดับ  ที่1 นั้นเห็นว่าความละอายต่อบาปทั้งปวงที่ไร้ศีลธรรม  กระทำผิดต่อศีล 5 ก็ดี  ละโมบโลภมากที่ไม่รู้จักพอ จนทำให้ต้องเบียดเบียนตนเองและคนอื่นๆเพื่อที่จะได้มาในของในสิ่งที่ตนชอบ  ไม่ว่าเรื่องรูปหรือนาม  หาความละอายใดๆไม่  แม่ในขณะที่กำลังสำคัญผิดว่าถูก  แต่ถ้ามีความละอายแม้อยู่ในที่ลับและอยู่ในที่แจ้ง  ถึงจะมีใครรู้หรือไม่มีใครรู้ใครเห็นกับเราก็ตาม  เราสามารถดำรงค์ใจในความละอายนั้นได้  และคอยบอกคอยสอนตนอยู่เสมอให้รู้จักละอาย  และพอ   นี้ก็เป็นสัมมาที่1 ของศาสนาครับ  ระดับ 2 นั้นเล่า  ตามรู้ตามเห็นสภาพของสิ่งต่างๆตามภูมิแห่งปัญญาแห่งตนที่ได้ศึกษาตามหลักธรรมแห่งศาสนาอยู่    หรือไม่ก็กำหนดรู้เองตามสภาพแวดล้อมที่เราเผชิญอยู่ ว่าสิ่งใดแปรเปลี่ยนไปไม่คงที่  บังคับไม่ได้  แลปรารถนาสิ่งใดก็ไม่สมปรารถนา  ประสพต่อสิ่งที่ขัดอยู่ในใจเราอยู่เสมอๆมา  จนต้องดิ้นรนแสวงหาทางออกจากสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอมา  อันนี้เป็นความเ็ห็นในการกำหนดรู้ในสิ่งที่เรารู้สึกอึดอัดและอัดอั่นตันใจ ในบางครั้งก็มีคนคิดอยากตัดช่องน้อยเฉพาะตนเหมือนกัน  เพราะเหนื่อยหน่ายในความเครียดทั้งปวง (ทุกข์ ) อันนี้เป็นสัมมาระดับ 2  ส่วนระดับ 3 นั้นเป็นการตามรู้ตามเห็นแห่่งเหตุเกิดทุกข์ทั้งปวง  เมื่อเราเข้าใจในเหตุแห่งการเกิดทั้งหลายทั้งปวงอันสูงสุด  วิถีทางอันถูกต้องต่างๆจะค่อยๆแจ่มชัดขึ้นเรื่อยเองตามธรรมชาติ  ส่วนบทบัญญัติแห่งสมมุติทั้งหลาย  จะกระจ่างเองเมื่อใดเราเข้าใจต่อต้นตอของเหตุเกิดทุกข์ทั้วปวงอย่างแจ่มแจ้งตาม ปฎิจสมุปบาท  คนทุกคนที่เดินในทางๆนี้หรือทางแห่งธรรม  ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน  จะต่างกันก็แค่วืถีแห่งคำสอนของครูอาจารย์และแนวทางในการปฎิบัติ  ทางๆใดที่ไม่สอนให้เราก้าวไปจนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์  ทางนั้นก็เป็นสัมมาต่างระดับก็เท่านั้นเอง  ต่างก็อยู่ในบันไดคนละขั่นในทางๆเดินเดียวกัน  กระผมเองก็เป็นลูกหลานตถาคต...ไฉนเลยจะกล้ากล่าวตู่  พุทธวัจนะของพ่อได้  ศาสน์แห่งการไม่ยอมหลับแม้แต่ในคำกล่าวขานทั้งปวง  ก็เห็นจะมีแค่ศาสน์นี้เท่านั้นและครับท่านทั้งหลาย   ขอขอบคุณในความห่วงใยจากท่านเกรียติคุณ     ไม่ต้องห่วงผมนะครับ   คำว่ามีกับไม่มีมันต่างกันโดยสิ้นเชิง  แต่คำว่าไม่มีในความหมายของผมนั้นผมจะไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนแน่นอน  รับรองครับทุกๆถ้อยคำที่ท่านทั้งหลายเป็นห่วงผมๆจะเก็บไปพิจารนาเพื่อประโยนช์ของผมและคนรอบข้างครับ..สัมมาทิฎฐิ....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ พฤษภาคม 16, 2012, 01:51:07 AM
- อย่างไรก็ตามแต่ ให้คุณเรียนรู้ทุกข์ให้มาก ให้รู้สภาพของทุกข์ ภาวะสภาพจิต ความรู้สึก สภาวะที่เป็นทุกข์ เล่นกับทุกข์ โดยที่ไม่ทุกข์ตาม เพราะรู้เหตุแห่งทุกข์ และ ทางดับทุกข์ รู้มีกตัญญู กระทำตนในวิถีที่ไม่เบยดเบียนตนเองและคนอื่น กระทำใน กายะกรรม วจีกรรม นโนกรรม ที่เป็นกุศล ความหมายของคำว่า กุศล  คือ เว้นกายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีความเอื้อเฟื้อ แบ่งปันสิ่งที่ดีงามเป็นสุข แก่ผู้อื่น ไม่ประกอบไปด้วยความ รัก โลภ โกรธ หลง ที่เป็นการทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น

เรียนรู้สภาพจริงที่เป็นปรมัตถธรรม โดยปราศจากสภาพจิตที่คิดปรุงแต่งเอง
เรียนรู้เข้าถึงสภาพจริงของกุศลจิต ที่ไม่ใช่รู้จากสภาพคิด เป็นสภาพจริงๆที่รู้สึกได้ที่เรียกว่า ปรมัตถ์
เรียนรู้แยกแยะระหว่างเมตตากับความโลภ ที่ไม่ใช่รู้จากสภาพคิด เป็นสภาพจริงๆที่รู้สึกได้ที่เรียกว่า ปรมัตถ์

หาเหตุแห่งทุกข์ของความรัก ว่าเพราะอะไร
หาเหตุแห่งทุกข์ของความโลภ ว่าเพราะอะไร
หาเหตุแห่งทุกข์ของความโกรธ ว่าเพราะอะไร
หาเหตุแห่งทุกข์ของความหลง ว่าเพราะอะไร


- ต้องเรียนรู้เองโดยที่ไม่ต้องไปอ่าน ไม่ฟังเพื่อจดจำ รู้แค่ทางกัมมัฏฐานแบบไหนที่ควรแก่งานพิจารณา

- หากคุณหาเหตุปัจจัยมันได้ คุณหาทางพ้นทุกข์ได้ซึ่งเป็นทางที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย เข้าถึงได้ง่ายและเจริญปฏิบัติได้ง่าย สืบต่อไปจนถึง ความเป็นสัมมาโดยชอบใน อริยะมรรคมีอง ๘ ได้ง่าย ความทุกข์ก็จะเบาบางลงจนถึงหมดไปซึ่งทุกข์ และ สามารถบอกต่อและพูดกับบุคคลใดๆให้ปฏิบัติกระทำต่อด้วยความเข้าใจโดยง่ายเพื่อให้ความทุกข์ของเขาลดลง จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 16, 2012, 08:18:41 PM
กุศลอันสูงสุด  คือความที่เป็นอิสระในตัวของมันเอง  ไม่อิงและไม่อ้างอิงในกระบวนการใดๆในชีวิต  อันนี้คือกุศลอันสูงสุด  ด้วยความเป็นจริงไม่มีสิ่งที่เราต้องดับมัน  แลไม่มีสิ่งๆใดเลยที่เราต้องบรรลุถึงอะไร และไม่มีใครเลยที่ต้องทำอะไรเพื่อให้พ้นหรือรอดพ้น  นั้นคือธรรมชาติเดิมแท้แห่งชีวิต ( ที่ทุกข์ก็เเพราะความคิดและเบื้องหลังของความคิดทั้งนั้น )  จะธรรม หรือโลก  ก็เพราะความคิด  (และที่มีนั่นมีนี่ก็เพราะความคิด  และเบื่องหลังของความคิดทั้งนั้น) ..เมื่อใดตื่นและลืมตาเห็นจริงต่อธรรมชาติเดิมแท้ของชีวิต  มันก็ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราต้องทำ  และคิดมากอีกต่อไป...จิตหนึ่งนี้เท่านั้นที่เป็นพุทธ.....ไม่มีแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย  เพียงแต่สัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆเสีย  และเพราะเหตุนั้น  เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก  การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ  การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สื่งที่เป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ  และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต  แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ  เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะนั้นได้เลย  เขาไม่รู้ว่า  ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง  และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น  พุทธะก็จะปรากฎตรงหน้าเขา  เพราะว่าจิตนี้คือพุทธะนั้นเอง  และพุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง  สิ่งสิ่งนี้เมื้อปรากฎกอยู่ที่สามัญสัตว์  จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่  และเมื่อปรากฎอยู่ที่พระพุทธะเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่  สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกก็ดี  การบำเพ็ญข้อวัตรปฎิบัติคล้ายๆกันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่นำ้ำคงคาก็ดีเหล่านี้นั้น จงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกๆกรณีอยู่แล้ว คือเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยามจะเพิ่มเติมอะไรได้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้นด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆซึงไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ  เมื่อไรโอกาศอำนวยให้ทำก็ทำมันไป  และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว  อยู่เฉยๆก็แล้วกัน
     ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า  จิตนั้นคือพุทธก็ดี  และถ้าเรายังยึดมั่นถือมั่นในรูปธรรมต่างๆก็ดี  แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่  และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับทางโน้นเสียเลย  จิตหนึ่งเท่านั้นที่เป็นพุทธะ  ดังคำตรัสที่ว่า  ผู้ใดเห็นจิต  ผู้นั้นเห็นเรา  ผู้ใดเห็นปฎิจจสมุปบาท  ผู้นั้นเห็นธรรม  ผู้นั้นเห็นตถาคต.....ธรรมชาติเดิมแท้แห่งชีวิต.....ไม่เป็นของสั้นหรือของยาว  มันไม่ใช่สีเขียวหรือเหลือง  มันไม่ใช่สิ่งที่ถูกหรือผิด  มันไม่ใช่ธรรมหรือกิเลส  มันมิได้เกิดหรือว่าดับสูญ  และมันไม่ถูกกักขังโดยประการใดๆ  จึงไม่จำเป็นที่เราต้องปลดปล่อยมันให้เป็นอิสระ.........สัมมาทิฎฐิ.........


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ พฤษภาคม 22, 2012, 02:06:38 PM
งั้นคุณก็คงดับทุกข์ไม่ได้ และ ไม่รู้ทางดับมัน คงได้แค่อ่านหนังสือมาโพสท์ น่าเสียดายนะครับ นี่เรียกว่ามิจฉาทิฐิ ไม่ใช่ สัมมาทิฐิ แสดงว่าคุณไม่ใช่สาวกในพระพุทธศาสนา เพียงแต่อ้างถึงพระพุทธศาสนาและคำพูดต่างๆในหนังสือมากล่าวเท่านั้น น่าเสียดายนะครับ พยายามบอกคนอื่นให้ดูและทำตาม แต่ตนเองกลับไม่รู้จริงรู้แค่ในหนังสือ มิจฉาทิฐิโดยแท้


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 22, 2012, 10:26:46 PM
สันทิฎฐิโก...แปลว่า...เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฎิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก...แปลว่า...เป็นสิ่งที่ปฎิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก...แปลว่า...เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า,ท่านจงมาดูเถิด:
โอปะนะยิโก...แปลว่า...เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหิ...แปลว่า...เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง   ธัมมัง   อะภิปูขะยามิ...แปลว่า...ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง  เฉพาะพระธรรมนั้น...ตะมะหัง  ธัมมัง  สิระสา  นะมามิ...ข้าพระเจ้าน้อบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า......สัมมาทิฎฐิ.....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ พฤษภาคม 23, 2012, 08:57:04 AM
ขอสิ่งทั้งหลายที่คุณกล่าวมานั้น จงเกิดขึ้นแก่คุณในกาลทุกเมื่อเทอญ สาธุ

สัมมาวาจา คือ ไม่พูดพร่ำเพ้อ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดให้ร้ายหรือใส่ร้าย ไม่พูดเท็จ
ขอคุณจงถึงซึ่ง สมาธิชอบ และ ความระลึกรู้ชอบ มีความคิดชอบ ซึ่งดำเนินไปใน สัมมาวาจาได้ง่ายด้ยเทอญ สาธุ

หากคุณน้อมธรรมนั้นเข้ามาใส่ตนจริง พึงเจริญปฏิบัติในธรรมนั้นเสียโดยเร็ว หากเกิดปัญหาถามตอบในการปฏิบัติใดๆ ลองอ่านดูในเวบนี้ครับ ผมดูแล้วหลวงพ่อท่านตอบคำถามได้เป็นประโยชน์มาก

http://www.watkhaophrakru.com/webboard/index.php/board,6.0.html (http://www.watkhaophrakru.com/webboard/index.php/board,6.0.html)

รวมถึงเวบนี้มีครูบาอาจารย์ที่ดีๆหลายท่านให้คำตอบปัญหาทั้งการกัมมัฏฐานปฏิบัติและข้อธรรมเป็นประโยชน์มากครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php (http://www.madchima.org/forum/index.php)


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 23, 2012, 10:40:32 PM
บ่มีประโยนช์อันใดที่เราต้องโต้แย้ง   เพื่อแสดงในทิฎฐิแห่งตน  ว่าธรรมทั้งหลายที่เราเห็นที่เรารู้  เป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด   ...มันมีความแจ่มแจ้งอยู่แล้วทั้งหมดโดยเหตุและผล  ที่มีอยู่ในตัวของมันเองโดยอัตโนมัติ  ตามธรรมชาติ...(... ที่ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ...) จะหาสิ่งที่สมบูรณ์กว่านี้คงไม่มีคำตอบและคำถาม  และมันเป็นสิ่งที่สมบูรณ์กว่า  สัมมาทิฎฐิ  ด้วยประการทั้งปวง   ....สัมมาทิฎฐิ.....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ พฤษภาคม 28, 2012, 11:48:45 AM
สิ่งทั้งหลายที่คุณเป็นอยู่นี้เรียก มานะทิฏฐิ คือ สิ่งอันประกอบด้วยความเชื่อความยึดมั่นแห่งตน จากการรับฟังมา อ่านมา จากคำบอกเล่าต่างๆ จนถือเป็นอัตตาและอุปาทานแห่งตนเป็นที่ตั้ง เหมือนดังลัทธิบูชาไฟหรือพวกชฎิลที่สัมคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ มองพระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่พระอรหันต์ นี่แน่ะ ความสำคัญตนมันเป็นอย่างนี้จึงอยู่อย่างไม่รู้ต่อไป ลองอ่านสิ่งนี้ดูนะครับตาม Link นี้เลยครับ

http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/u-patan4.htm (http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/u-patan4.htm)

- นี่คือสิ่งที่ตัวคุณเป็นอยู่ การลดอัตตาแก่ตนลงนั้น คือความวางใจกลางๆแล้วเปิดใจกว้างออกรับฟังผู้อื่น
- ส่วนทุกข์ที่ก่อเกิดเป็นอัตตาของคุณนั้นเป็นดังนี้ว่า
คุณเกิดความติดข้องใจจากการได้รับรู้อารมณ์มาจากการผัสสะกันทาง สฬายตนะ ซึ่งนั่นก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ (สฬายตนะ+อายตนะภายนอก+วิญญาณ = เกิดผัสสะแก่คุณให้รับรู้อารมณ์ทางวิญญาณนั้นๆ) จากนั้นก็เสพย์รู้เสวยในอารมณ์นั้นแล้วเกิดความพอใจยินดี(โสมนัส)กับสิ่งนั้นๆขึ้นมา เมื่อพอใจยินดีเกิดขึ้นคุณมีความเปรมปิติตั้งความสำคัญมั่นหมายจากเวทนานั้นๆ เมื่อเกิดความสำคัญมั่นหมายของใจแล้ว คุณก็เกิดความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง สมมติประกอบกับ รัก โลภ โกรธ หลง ของตน
- เมื่อสิ่งใดที่คุณตรึกถึงเสพย์ความพอใจยินดีก็เกิด สุขเวทนา สร้างความพอใจยินดีแก่ตนไม่เสื่อมสลายก็เกิดเป็น ภวตัณหา และ กามตัณหา สร้างความอยากมี อยากเป็น ปารถนาใคร่ได้เสพย์อารมณ์นั้นๆ จนมองว่ามีอยู่จริงจนเกิดเป็นอัตตาของตนที่เราต้องมี ต้องได้มา
- เมื่อพบเจอสิ่งใดที่คุณตรึกถึงเสพย์ความไม่พอใจยินดีก็เสวย ทุกขเวทนา ก็เกิดเป็น วิภวะตัณหา นั่นคือ ไม่อยากพบ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากจะผลักหนีให้ไกลตน จนเกิดเป็นตัวตนในความไม่ชอบ ไม่พอใจนั้นๆ
- เมื่อสิ่งใดไม่ใส่ใจ ไม่อยาก ไม่เกลียด ก็เกิดเป็น อุเบกขาเวทนา (โดยที่เป็นอุเบกขาที่เป็นอกุศลจิต ไม่ได้เสพย์ความเป็นกุศลของอุเบกขาจิต)
ทั้ง 3 ข้อนี้แลคือทุกข์ที่เกิดกับคุณในตอนนี้ ดังนั้นละความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี หรือ เฉยๆเลื่อนลอยนั้นไปเสีย โลภะ โทสะ โมหะ จึงไม่เกิดขึ้นแก่คุณ
- แล้วจะละความพอใจยินดีได้ที่ไหน เริ่มแรกนั้นให้ละที่ความสำคัญมั่นหมายของใจ นั่นคือคุณต้องรู้จักหยุด แล้วประมาณถึงสิ่งที่ตนมีอยู่ ยังมีอีกหลายสิ่งที่เรานั้นยังรู้น้อยด้อยมากนัก คิดพิจารณาเปิดใจรับรู้จากส่วนอื่นๆ แล้วรับเอาสิ่งที่คิดว่าเกิดประโยชน์แก่ตนเองไว้ปฏิบัติ สิ่งใดที่ตนมองว่าไม่ใช่ประโยชน์แก่ตน มันอาจจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นก็ได้ ดังนั้นสิ่งใดที่เกิดขึ้นแก่เรา สิ่งนั้นเป็นกำไรชีวิตของเราเสมอ เมื่อรู้อย่างนี้จิตคุณจะลบโทสะ ความคิดต้านทานนั้นๆออกไป เกิดเป็นพื้นที่ว่างมากพอที่จะรับรู้สิ่งใหม่ๆมากขึ้นโดยตัดจากความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีนั้นๆ (สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นสภาพจิตคุณต้องมี สมาธิ สติ สัมปชัญญะ พรหมวิหาร๔ และ ทาน หากไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งในนี้ จิตคุณจะไม่มีทางยอมรับสิ่งอื่นๆเพิ่มเติมนอกจาก อัตตานุปาทาน)
- หากเมื่อละความสำคัญมั่นหมายของใจไม่ได้ตามในวิธีแรกข้างต้น ให้ละที่ความติดข้องใจ นั่นคือ พึงระลึกรู้ว่าเราติดข้องใจเสพย์ความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีใดๆ ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับเรานอกจากความทุกข์ ดังนั้นวางใจกลางๆเปิดใจให้กว้างยอมรับความเป็นจริงตามสัจธรรมที่ว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นไปตามเราปารถนาทั้งหมด เรามีความพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่จำเริญใจเป็นที่สุด ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจนั้นย่อมเกิดขึ้นแก่เราเป็นธรรมดาทุกวัน น้อมจิตเข้าสู่ เมตตาจิต กรุณาจิต คุณก็จะเกิด ทานจิต จนถึงมุทิตาจิต เปิดใจกว้างมากขึ้นที่จะรับรู้ และพิจารณา
- หากแม้ในวิธีที่ 2 นี้ คุณยังไม่ได้แล้วนั้น คุณต้องเรียนรู้เข้าใจใจสภาพที่เป็น นามรูป พึงเห็นสภาพปรมัตถธรรม อันไม่มีตัวตนอันใดๆที่จะก่อเกิดเป็นสิ่งที่น่ายึดถือ ยึดมั่น ตั้งเป็นอัตตานุปาทานแก่ตนเองได้ รวมถึงการเข้าสู่สภาพจิตที่ไม่ติดข้องใจใดๆเพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงแค่รูปและนามอันเรานำมาปรุงแต่งสมมติจากการที่เรารู้อารมณ์ทาง ปัจจะวิญญาณเท่านั้น จนเสพย์เป็นทุกข์ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นและดับไปนอกจากนามรูป ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นและดับไปนอกจากทุกข์

ซึ่งทั้ง 3 วิธีล้วนเป็นสิ่งที่คุณนั้นต้องทำให้กุศลจิตและกุศลกรรมเกิด ตั้งมั่นอยู่ในกุศลจิตและกุศลกรรม รักษากุศลจิตและกุศลกรรมไว้ไม่ให้เสื่อม เมื่อกุศลจิตเกิด ย่อมคิดดี วาจาก็ดี กระทำก็ดี ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้คุณต้องมี ศีล สมาธิ สติ สัมปชัญญา ปัญญา พรหมวิหาร๔ ทาน เป็นที่ตั้งและปัจจัยความดำเนินไป


- ทีนี้ลองพิจารณาดูว่าที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นจริงไหม นี่คือสิ่งที่ผมอธิบายด้วยเหตุและผลให้คุณสามารถได้รู้เห็นตามจริง นี่เป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วตรัสสอนจนมาสู่เราทั้งหลาย นี่คือธรรมอันที่ก่อประโยชน์ได้ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล นี่คือธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสขึ้น นี่คือ ปัจจยตาใน คือปัจจัยความเป็นไป และ อิทัปปัจยตา สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ส่วนย่อยเล็กน้อยเบื้องต้นใน ปฏิจจะสมุปบาท เกี่ยวเนื่องเบื้องต้นใน อริยะสัจ ๔ นี่เป็นเบื้องต้นแห่งความจริง หากคุณยังไม่เห็นแล้วเปิดทัศนคติที่กว้างขึ้น ผมคงไม่กล้าจะสนทนาด้วย เพราะคุณอาจจะบรรลุอรหันต์แล้ว พูดกล่าวสนทนาเรื่องพื้นๆไปกับคุณโดยไม่เจียมตัว เนื่องจากธรรมของผมเป็นแค่ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนให้ความพ้นทุกข์  ไม่ใช่คำสอนให้มีตัวตน ผมคงตกนรกที่ชี้ทางพระอรหันต์อย่างคุณครับ

ขออภัยที่ล่วงเกินท่านผู้รู้ ผู้เจริญ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 29, 2012, 09:18:25 PM
สุดแล้วแต่วาสนา  ชีวิตเกิดมาไม่แน่ไม่นอน  โลกนี้คือละคร  บทบาทบางตอนยอกย้อนหัวใจ  
ขณะที่เรานอนหลับและฝันไป  ในความฝันนั้นมันก็เหมือนความจริง  แต่พอเราตื่นขึ้นมาเป็นปรกติ  เราก็รู้ตัวเองว่าฝันไป  แต่ในบางครายังคิดต่อในความฝันอีกว่าฝันอย่างนี้ดีหรือไม่หนอ  อย่างนั้นดีหรือเปล่าหนอ  (อันนี้เป็นปรกตติของสามัญชนที่ยังมีมุมมองแบบธรรมดาอยู่  เป็นธรรมดาของมยุษย์โลก )  แต่ฝันในขณะลืมตาอยู่นี่ซิ  แล้วใครเล่าจะบอกเตือนเราได้  แม่แต่ตัวเรายังไม่เคยบอกตัวเราว่าฝันไปในการลืมตาตื่น  สติและการศึกษาที่ใคร่ครวญจนมันกลายเป็นการภาวนา  ในภาษาของพวกเราชาวพุทธนั้น  เรียกว่า
วิปัสนากัมมฐาน   .... พวกเราเป็นชาวพุทธด้วยกัน  และยิ่งกว่านั้น .. ยังเป็นผู้ปฏิบัติธรรมด้วยแล้ว ...ควรจะใช้คำพูดและข้อความที่โพสท์นั้นเต็มไปด้วยหลักเมตาธรรม..เหมือนท่านเด็กวัด..ยังจะดีกว่านะ ท่านเกียรติคุณ อย่าเอาความตัดพ้อที่เห็นแย้ง หรือมุมมองที่ไม่ตรงกันมาแสดงยังจะดีกว่า ความคิดเห็นของเรานั้นเราสามารถแสดงได้  แต่มันต้องมิใช่การเอาแพ้เอาชนะ  หรือต้องไม่เป็นการเอาชนะเพื่อชี้ว่าความเห็นของเราหรือของเขาถูกหรือผิด และมันไม่ควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฎิบัติธรรม  และผูที่รู้ในธรรม  และใฝ่ในธรรมอันเป็นทางของความหลุดพ้น   เพราะธรรมมะในศาสนาพุทธของเรา   เป้าหมายอยู่ที่ (.. รู้เห้นเพื่อให้เป็นไปในทางของความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด สลัดสละ  อันเป็นตัณหาทั้งปวง  และอุปปาทานทั้งสิ้น..) ไม่เกิดประโยนช์แต่ยังจะทำให้จิตเราเศร้าหมองมัวหม่น วนเวียนอยู่ในอุปาทานแห่งทิฎฐิที่สำคัญมั่นหมาย  ผู้รู้จริงในธรรมล้วนประกอบด้วยความเมตตาการุณา  และความอ่อนน้อมถ่อมตนในทุกๆโอกาศที่มีการสนทนาในธรรมและการแสดงในธรรมทั้งหลาย  เพราะธรรมที่แท้จริงอยู่เหนือ .. ความที่ว่าถูกหรือผิด  และอยู่เหนือทั้งเหตุและผลทั้งปวง  .....หากจะเป็นการดีในโพธิสัตว์ธรรม   ถ้าเรามีมุมมองและความเห็นในความที่เรารู้ใธรรมมะทั้งหลาย ..เราก็เขียนในกระดานธรรม  ที่เป็นบทความธรรมมะ  ในเว็บของ  ธรรมมะออนไลน์ซิ ที่เป็นกระดานธรรม  โพสท์ข้อความธรรมมะที่เป็นประโยนช์ต่อเืพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้เขาได้ศึกษาและเรียนรู้ในหลักการแห่งธรรมของศาสนา  ทุกๆบคลที่เปิดอ่านจะได้รับประโยนช์แลอานิสงฆ์แห่งธรรม  ดีเสียกว่าที่เราจะถกในมูลแห่งความถูกหรือผิด  แต่อย่าลืมนะ  หลักของชาวพุทธที่แท้จริงนั้น  คือความเมตตาการุณา  และความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในตัณหาทั้งปวง  และเพื่อความสงบสุขอย่างยิ่งที่ไม่มีสิ่งใดเจือปน ... นัตถิ  สันติ ปะรัง สุขขัง .. สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี...สัมมาทิฎฐิ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 30, 2012, 09:00:47 PM
สูงสุดก็คืนสู่สามัญ   จากการที่เห็นแก่ตัว  ก็กลับไปสู่ความการรุณาที่มีใจกว้าง  จากที่เคยจองหองพองขน  ก็กลับไปสู่ความอ่อนน้อมถ่อมตน 
ความลำพอง ผยองทั้งหลายก็ถูกปราบด้วย  อนัตตา
เดินตามรอยพ่อ เป็นอยู่อย่างพอเพียง
...สัมมาทิฎฐิ.... 


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ พฤษภาคม 31, 2012, 06:13:01 AM
ขอโทษที่ช่วยคุณไม่ได้  ขออภัยด้วยครับ พระพุทธเจ้าประวิต


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 31, 2012, 07:54:04 PM
สุดแล้วแต่วาสนา  ชีวิตเกิดมาไม่แน่ไม่นอน  โลกนี้คือละคร  บทบาทบางตอนยอกย้อนหัวใจ  เหอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆแล้วแต่กรรมเวรครับท่าน
ทำดีย่อมได้ดี  ทำชั่วย่อมได้ชั่ว  ปฎิบัติถูกทางทุกข์สงบ  ปฎิบัติผิดทางทุกข์เพิ่ม  เหอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ... หลอกคนอื่นนั้นง่ายดาย
แต่หลอกตัวเราซิ.......  นรกชัดๆๆๆๆๆ.....สัมมาทิฎฐิ....อย่างคุณประวิตครั๊บบบบบบๆๆๆๆๆๆ   

สิ่งทีมีรสขม  ย่อมถูกใช้เป็นยาดี
สิ่งที่ฟังแล้วไม่ไพเราะหู นั้นคือคำตักเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง
จากการแก้ไขความผิดให้กลับเป็นถูก  เราย่อมได้รับสติปัญญา
โดยการต่อสู้เพื่อรักษาความผิดของตัวเองเอาไว้  เราย่อมแสดงนิมิตหมายแห่งความมีจิตผิดปรกติออกมา
ผู้ปฎิบัติเพื่อกุศลอันสูงสุด  จะไม่หมิ่นผู้อื่น  ในทุกๆโอกาศที่เขาปฎิบัติอยู่   ไม่ทำลายทางแห่งตนที่กำลังเดินอยู่
ผู้นั้นย่อมใช้สิ่งที่มีรสขม  เป็นยาดีอย่างถูกต้อง........สัมมาทิฎฐิ......




หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: สันต์ ธรรมะ ที่ มิถุนายน 07, 2012, 11:08:34 PM
พระพุทธเจ้า ได้กล่าวไว้ว่านิพพานเป็นเช่นไรดังนี้
http://www.dharma-of-buddha.blogspot.com/2012/06/blog-post_04.html (http://www.dharma-of-buddha.blogspot.com/2012/06/blog-post_04.html)


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ มิถุนายน 08, 2012, 09:53:17 PM
ชอบไม่ชอบ  สิ้นสุด อยู่ที่ใจ  เพราะอะไรๆ  ใจบอกได้  อย่างแน่นอน    ใจให้ก่อ  ใจให้เกิด  เกิดคือใจ    จะอะไร อะไร  ถามใจจะดีกว่า 
ใจก็คือ  กายยาววา  หนาคืบ  และกว้างสอก     ไม่เคยหลอก  ให้ใครๆ  ที่ศึกษา   ว่ากายนี้  กว้างศอกจริง  ดั่งวาจา
ที่เป็นมา  และเป็นไป  ใจทั้งนั้น  แล ...   ไม่มีสัมมาทิฎฐิ  แลนิพพาน  จะพานพบ  จะประสพ  ก็สิ่ง  สักแต่ว่า
สิ่งใดๆที่เรียนรู้  ที่ผ่านมา  สักแต่ว่า  เฉยๆ  มาแล้วไป    ไร้ที่อยู่  ไร้ที่ตั้ง  ไม่เหมือน  ดั่งความคิด    ไร้จุตติ  ไร้สถิต  ที่ไหนๆ 
ไม่คงอยู่  ไม่เปลี่ยนแปลง    .....คืออะไร....ใครตอบได้  จะเฉลยเอ่ยสัมพันธ์............สัมมาทิฎฐิ...นิพพาน....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ สิงหาคม 28, 2012, 09:30:17 PM
ถ้าในโลกนี้  ไม่ว่าทางธรรม  หรือทางโลก  ไม่มีความจริงเลยแม้ซักสิ่งๆเดียว  แม้แต่ความรู้หนึ่ง  แล้วเราจะไปทำอะำไรมันได้  สร้างมันขึ้นมาก็หลอกตัวเราเองไปวันๆ  โถ่ๆๆๆๆๆๆๆๆ 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) :( :( :( :( :( :( :(


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ สิงหาคม 29, 2012, 08:11:58 PM
ครับถ้าในความเป็นจริง  ถ้าในโลกนี้  ไม่ว่าทางโลก  หรือทางธรรม  ตามที่เราเข้าใจ  และคิดว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้จริงๆ  ไม่ว่าจะอะไรๆ เราก็หลอกหลอนตัวเราเองไปวันๆ จนกว่าเราจะตายทจากโลก ตามทำเนียมแห่งโลกและธรรม...สัจจริง....ไม่ได้โกหก....เราก็จะได้และเห็นแค่นั้นจริง


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ กันยายน 15, 2012, 07:55:48 PM
สูงสุดก็คืนสู่สามัญ   จากการที่เห็นแก่ตัว  ก็กลับไปสู่ความการรุณาที่มีใจกว้าง  จากที่เคยจองหองพองขน  ก็กลับไปสู่ความอ่อนน้อมถ่อมตน 
ความลำพอง ผยองทั้งหลายก็ถูกปราบด้วย  อนัตตา  อนัตตาที่เกิดจากการใคร่ครวญจนช่ำชอง
เดินตามรอยพ่อ เป็นอยู่อย่างพอเพียง
...สัมมาทิฎฐิ....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ กันยายน 28, 2012, 09:59:45 PM
.....ถ้าในโลกนี้....ไม่มีความจำ   และจินตนาการ   ของหมู่มนุษย์นี้.....ความสมดุลย์ของธรรมชาติแห่งชีวิตทั้งหลาย   คงไม่พี้ยนหนัก
คิดไปคิดมา   ก็สงสารเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน.......แค่ความจำ   และจินตนาการ     ชีวิตต้องดิ้นรนมากมายเหลือเกิน   แค่มุมมอง  มันเหลือเชื่อจริงๆๆ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ ตุลาคม 10, 2012, 09:39:01 PM
ความรู้สึกที่เชื่อว่า   มันเป็นอย่างนั้นๆจริงๆ  ตามมุมมองของเรา   ไม่ว่าสิิ่งใดๆ  ในฝ่ายโลก  หรือฝ่ายธรรมก็ตาม   นั้นยังเป็นมุมมองที่หลงผิดอยู่
จินตนาการตั้งมากมายที่มวลมนุษย์เราสร้างมันขึ้นมา  มันก็หลอนให้เราดิ้นตามมัน  ตามความรู้สึกแห่งเราที่เข้าใจเช่นนั้นๆ  หลอกหลอนตัวเองทั้งๆที่ตื่นลืมตา
ม่วนและสนุกสนาน  กับจินตนาการของเรา  ไม่โทษใครๆดอก   เพราะธรรมชาติแห่งการเกิดและการเรียนรู้ตามสภาพแวดล้อม  มันนำพาให้ชีวิตของเราให้เป็นไปอย่างนั้นจริงๆ.......เราไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมีปัญญาและมุมมองอันแหลมคม.....เพียงแค่เห็นก็แจ้งในวงจรของชีวิต  จึงดิ้นรนและแสวงหาทางออกของชีวิต
                     มุมมองในการเรียนรู้และยั้งคิด  จะช่วยให้เราเข้าใจในความเป็นจริง   ไม่ใช่เรียนรู้แล้ว  แล้วม่วนไปกับความคิดที่เราเรียนรู้มัน  มันจะไปกันใหญ่  เหมือนโลกในปัจจุบัน  ท่านสาธุชนผู้เจริญทั้งหลาย


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ ตุลาคม 19, 2012, 09:11:31 PM
จินตนาการของชีวิตที่กู่ไม่กลับ  คือความผิดอันมหันต์ของชีวิต  เราเรียกว่าเวทนาทั้งหลายก่อให้เกิดตัณหาทั้งปวง  ฝังใจจนลึกซึ่ง  สถิตในที่นั้นๆ  จนยากที่จะแยกแยะและใคร่ครวญ  มันเป็นทิฎฐิหรือมุมมองของความเห็นที่เราไม่อาจโต้แย้งได้  แต่เชื่อเถิดครับท่านผู้เจริญทั้งหลาย  ทุกข์ก็คือทุกข์วันยังค่ำ  แม้ว่าเราจะไม่ใคร่ครวญก็ตามที   แต่คนทุกวันนี้คงเห็นความทุกข์ ก็แค่เรื่องไม่สมหวังละมัง.........ไม่เป็นไรครับท่าน  ค่อยๆเรียนกันไป......


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: somchai_eee ที่ ตุลาคม 20, 2012, 11:50:22 PM
เห็นจิตเห็นใจว่าไม่ใช่เรา เมื่อไหร่ ความยึดมั่นในความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่ จะพังทะลายลงเอง

สาธุครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ ตุลาคม 23, 2012, 09:54:45 PM
สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี  เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น
สิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ  เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยอาศัยกันแล้วจึงดับ  
แม้ไม่ใคร่ครวญ  ตามรู้หรือไม่ตามรู้   มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น  เป็นไปตามธรรมชาติ  ตามลักษณะของธรรมชาติ  เป็นอยู่อย่างนั้นของมันเองตามปรกติธรรมดาของมัน  ไม่ใช่จิต  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่อะไรเลย  จะกล่าวอย่างไรก็ไม่ถูก  หยุดใช้ความรู้สึกกับมันว่าเยี่ยงไร...มันสิ้นสุด..สุดของสัมมาทิฎฐิ - นิพพาน


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤศจิกายน 23, 2012, 11:45:58 AM
เห็นชาวพุทธทั้งหลายเปิดอ่าน และให้ความสนใจ  ในสัมมาทิฏฐิ และนิพพาน ก็รู้สึกดีใจครับ  เชื่อเถอะครับว่านิพพานมีจริง  และเราก็สามารถทำให้แจ้งได้ในปัจจุบันนี้จริงๆ  ขออนุโมธนากับทุกท่านครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ ธันวาคม 22, 2012, 10:00:18 PM
สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี  เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น
สิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ  เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยอาศัยกันแล้วจึงดับ...........สิ่งใดเกิดด้วยปัจจัย  สิ่งนั้นก็ดับด้วยปัจจัยนั้นๆ  เพราะอวิชาเป็นปัจจัยจึงก่อให้สังขารเกิด........เพราะอวิชาดับเป็นปัจจัยจึงก่อให้สังขารดับ...มันก็เช่นนั้นเองท่านผู้เจริญ.....แล้วอวิชาคืออะไรละ...ก็ไอ้สหมองปึกนั้นแหละครับท่านผู้อ่าน....สัมมาทิฎฐิแลนิพพาน....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ มกราคม 17, 2013, 08:40:57 PM
สหมองปึกยังไม่พอ  แถมยังบวกจิตนาการบ้าๆเข้าไปอีก  เลยเตลิดเปิดเปิงถึงบางยี่ขัน โถ่พระคุณเจ้า  กระทำลงไปจริงๆเถอะไม่นานเราจะเข้าใจ  ในบริบทของมัน  ที่เราเรียกว่า  สัมมาทิฎฐิกับนิพพาน........................


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ มกราคม 19, 2013, 09:39:41 PM
วันนี้วันพระ 8 ค่ำ เดือน2 เลยปรารถนาที่จะเขียนให้ไพเราะซักหน่อยครับท่านผู้อ่าน หลังจากใช้บทบู้มานาน...เหมือนหนังจีนกำลังภายในเลย..
........ประโยนช์ในการอ่านและฟังนั้นมีมาก  ถ้าเราใคร่ครวญให้มาก  ในบทความที่เราสนใจ  ใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญอีกกระทำบ่อยๆๆกระทำเสมอๆ
ไตร่ตรองและใคร่ครวญอยู่เป็นนิจ  หรือเป็นประจำทุกวันทุกเวลาที่เรามีโอกาศคิดและใคร่ครวญหรือทดลองกระทำ...นี้แหละครับคือการภาวนา  ที่จะทำให้เรานั้นมีปัญญาที่แท้จริงและเข้าใจต่อธรรม  ที่เป็นธรรมมะแบบสัมมาทิฎฐิที่แท้จริง  ปฎิบัติในศีลก็ไม่เป็น...ศีลละพัตตามาตร..เขียนตามบาลีไม่ถูก(หรือหลงงมงายในศีล  หรือข้อวัตรแห่งตน) ....มีสมาธิก็ไม่มุ่งในทางสงบ....มีธรรมมะหรือก็เป็นเพียงธัมมารมณ์.....ที่นำมาเล่าขานมิรู้จบ
..........อนิจัง  แปลว่าไม่เที่ยง   สิ่งเดียวถ้าเรารู้และใคร่ครวญอยู่เป็นนิจ  หรือกระทำบ่อยๆในการคิดละรึก  เช่นคิดกลับไปและคิดกลับมา  ดูบ่อยๆดูเนืองๆ  จากที่รู้เฉยๆ  ให้มันเริ่มอยู่ในความรู้สึกของเรามากขึ้น  ถี่ขึ้นจนมันอยู่ในใจเราตลอดเวลา...คิดมากขนาดนี้บวชไม่สึกแน่ๆท่านเอย  
บันใดขั้นที่1-2-3-4-5-6-7-8-9-มันก็เกิดขึ้นเองต่อเนื่องตามวันเวลา เป็นไปตามธรรมชาติของความรู้ที่เราใคร่ครวญ...รู้ขั้นที่ 1-2-3 ยังอาจถกเถียงคนอื่นๆอยู่  แต่ถ้ารู้ในขั้น 4-5-6คงไม่ถกเถียงใครต่อใครแล้วได้บ้าง..ว่าแล้วมันเริ่มปลงได้จริงๆ.. (เพราะมันรู้นานและเคยชินจนเริ่มเป็นธรรมชาติของใจแห่งตนมากขึ้น)  7-8-9  ทำเอาเองนะคับรู้แล้วว่ามันไม่มีอะไร  มาบอกกันบ้างเด้อพ่อคุณ.....สัมมาทิฎฐิ-นิพพาน.....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ มกราคม 29, 2013, 09:19:48 PM
สาธุ...


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2013, 09:07:34 PM
ความคิด-ความรู้-สังขาร-อารมณ์-สิ่งเหล่านี้คือ-มิฐฉาทิฎฐิและสัมาทิฎฐิ-สองสิ่งนี้มีเหมือนกันและเป็นสิ่งเดียวกัน-จะแตกต่างกันก็เพียงอารมณ์-ที่เสวยในความรู้-หรือความคิด-หรือสังขาร-ที่ปรุงแต่งในขณะนั้น-อารมณ์ที่เสวยในขณะจิตปรุงแต่งจะแตกต่างกันออกไป--คิดหรือปรุงอย่างมีตัวตนแบบบ้าคลั่ง-เขาเรี๊ยกว่าพวกคนชั้นต่ำ-ที่คิดและปรุงแบบบ้าตามกิเลส-ตัณหา-อุปาทานแห่งตน--คิดอย่างมีความรู้-ที่ร่ำเรียนมา-และได้คิดใคร่ครวญดีแล้ว-แต่ก็ยังบ้ากับอารมณ์ของความคิดอยู่--พวกนี้คนชั้นกลาง--คิดในความรู้ที่ร่ำเรียนมาโดยแยบคาย-หรือใคร่ครวญดีแล้ว-ทราบซึ้งแล้ว-จนมีสติ-บอกสอนตนเองได้ดี  และคอยเตือนตนเองอยู่เนืองๆ-ให้ทรงอารมณ์ ในความรู้ ความคิดแห่งตนได้--แต่ยังก้าวไม่ข้ามพ้นความมี หรือความเป็นได้--พวกนี้คือคนชั้นสูง--อะไรๆๆจะมี จะอยู่ หรือจะไป ในวันนี้เพลานี้--จะถูกหรือผิด--ดีหรือชั่ว--หรืออะไรก็ตาม--เขารู้อย่างมีสติและนิ่งเฉยได้บ้างตามสมควรแห่งครรลอง--เขาคืออริยะบุคลที่กำลังเดินทาง..............สัมมาทิฎฐิ........


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ มีนาคม 09, 2013, 09:46:26 PM
ขอให้ทุกท่านทีเปิดอ่านในบทความ  มีความสุขครับ แตกฉานในทิฎฐิ 62  บทความดีไม่ดี  ท่านเป็นผู้พิจารณา  กระผมมีเวลา  จะมาเขียนแสดงต่อไปเรื่อยๆ  ตามแนวทางของ......สัมมาทิฎฐิ  และ  นิพพาน.......


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ มีนาคม 16, 2013, 08:36:49 PM
ความรู้ที่ถูกต้องเป็นเพียงมุมมองที่เปลี่ยนไป..จะรู้อย่างไรก็ช่าง   ถ็าใช้ความรู้นั้นข่มใจตนเองยังมิได้   นั้นคือความรู้แบบชิวๆ............
ในทัศนะของเรา แบบสัมมาทิฎฐิ.....ความรู้นั้นต้องเป็นไปในทิศทางของการปลง และทำใจให้สงบ  จะสงบในความวุ่นวาย  หรือสงบแบบปลีกวิเวก   หรือสงบในอุกเบกขาธรรม   อันนั้นก็แล้วแต่บารมีของแต่ละบุคล      .ให้ยอมรับความเป็นจริงตามธรรมชาติ  ไม่แก่งแย่งชิงดี  ไม่ดื้อดึงในความคิดของตนเอง  ไม่ยกตนข่มผู้อื่น  แค่เพียงข้อวัตรบ้าๆบอๆ   เป็นอยู่ด้วยหลักเมตตาธรรม  เข้าใจผู้อื่น  ด้วยหลักธรรมที่ว่า  สัพพะชีวิตทั้งปวงก็มีครรลอง  มนุษย์ทุกตนก็มีความรู้สึกนึกคิดเช่นกัน   ไม่อวดตนในความรู้แห่งตน   เพราะความรู้ทั้งปวงไม่จริงซักสิ่งเดียว....สิ่งที่จริงคือไม่รู้อะไรเลย.............สัมมาทิฎฐิ และ นิพพาน


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ พฤษภาคม 24, 2013, 09:05:22 PM
สัพเพสังขาราอนิจา
สัพเพธัมมา..อนัตตาติ
อนัตตาเป็นหลักธรรมอันสูงสุด...ในเมื่อไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนอย่างแท้จริง...ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น...แล้วอะไรเล่าที่เป็นตัวตน
...สัมมาทิฐิและนิพพาน....


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ กันยายน 19, 2013, 10:03:11 PM
เห็นผู้คนสนใจในแนวทางมากมาย ก็เลยอยากเขียนต่อ
ผู้ที่วิ่งเลาะตามฝั่งนั้นมีเป็นจำนวนมาก เพราะติดยึดในทิฎฐิที่ซ่อนเงื่อนของตนเองนั้น วิจิกิจฉา ครับบุคลใดไม่เคยก้าวผ่านนิวรณ์5 ด้วยกำลังอาณาปาณสติ  บุคลเหล่านั้นจะแสดงธรรมก็เพียงการแสดงทิฎฐิแห่งตนเท่านั้นเอง  ความสงบรำงับจากอารมณ์หยาบ ด้วยอณาปาณสติ จะทำให้เราแยกอารมณ์ออกว่า  นั้นคือธรรมมะหรือทิฎฐิ ไม่เกี่ยวกับเรียนสูงหรือต่ำ จริงไม่จริงลองทำดู...........สัมมาทิฎฐิและนิพพาน


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ กรกฎาคม 06, 2015, 09:26:06 PM
เห็นผู้คนสนใจในแนวทางมากมาย ก็เลยอยากเขียนต่อ
ผู้ที่วิ่งเลาะตามฝั่งนั้นมีเป็นจำนวนมาก เพราะติดยึดในทิฎฐิที่ซ่อนเงื่อนของตนเองนั้น วิจิกิจฉา ครับบุคลใดไม่เคยก้าวผ่านนิวรณ์5 ด้วยกำลังอาณาปาณสติ  บุคลเหล่านั้นจะแสดงธรรมก็เพียงการแสดงทิฎฐิแห่งตนเท่านั้นเอง  ความสงบรำงับจากอารมณ์หยาบ ด้วยอณาปาณสติ จะทำให้เราแยกอารมณ์ออกว่า  นั้นคือธรรมมะหรือทิฎฐิ ไม่เกี่ยวกับเรียนสูงหรือต่ำ จริงไม่จริงลองทำดู....ครับเราต้องทำมันด้วยตัวเราเอง..สงบด้วยตัวเราเอง....ความรู้ในธรรมะที่มันมีในตัวเราจะบอกเราเองว่า..อะไรคือผิด..อะไรคือถูก.....(มันจะเป็นกรรมหนักที่เราแสดงธรรมโดยความหลง)...คนที่เคยทำสมาธิได้ในระดับการละนิวรณ์...จะเข้าใจในอารมณ์ของตัวเองทันที..ว่าเมื่อก่อนที่อารมณ์ยังทำสมาธิไม่ได้..กับอารมณ์ที่มีสมาธิแล้ว..มันต่างกันอย่างไร..และมุมมองของเราเองมันจะต่างกันอย่างไร...จะเข้าใจอะไรได้อีกมากมายเลยครับ..ทำมันให้ได้จริงๆนะครับ...แล้วท่านจะเข้าใจเอง..ว่าความคิดที่วิตกวิจารณ์..กับความรู้ที่แท้จริงมันต่างกันอย่างไร.....สัมมาทิฎฐิและนิพพาน


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ กรกฎาคม 08, 2015, 08:37:25 PM
สาธุท่าน ไม่เจอกันนานนะครับ ยินดีที่ท่านกลับมาโพสท์ต่อครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับใครหลายๆคน ทั้งหัดปฏิบัติอยู่ ทั้งระดับที่ปฏิบัติมานาน และทั้งระดับที่อยากทำให้ยิ่งๆขึ้นไป ครับ

 ;) ;) :-X :-X :-X :-X


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ กรกฎาคม 09, 2015, 02:40:28 PM
ยินดีเช่นกัน ความมุ่งหวังของเพื่อนร่วมทางในโพธิสัตว์ธรรมไม่มีอะไรมุ่งหวังในการตอบแทน
การฝึกตัวเราที่ยิ่งขึ้นไป...อธิจิตเต จะอาโยโค การหมั๋นทำจิตให้สูงขึ้นนั้นเป็นหน้าที่ของเรา
การรักษาจิตไม่ให้ตกต่ำก็เป็นหน้าที่...แต่ในยุคปัจจุบันการทำจิตให้สูงขึ้นมันยากพอควร..ต้องอาศัยศัทธาและความเพียรมาก..ต้องข่มใจตัวเองจากราคะที่แวดล้อมตัวเรา...ขอให้ทุกท่านจงหมั๋นในการฝึกสมาธิ มันจะช้วยให้มุมมองของเราคมยิ่งขึ้นครับ กินน้อยนอนน้อย อะไรที่มันเป็นภาระก็ลืมๆตัดๆทิ้งๆมันซะบ้าง เดี๋ยวตัวมันจะเบาไปเอง อย่าไปเคร่งทางใดทางหนึ่งให้มันมากจนเกินไป มีสติอยู่ที่ลมหายใจ..แล้วสติมันก็จะอยู่กับเรา..มันไม่มีอะไรมากหรอกครับอย่าไปวิตกวิจารณ์มันมาก......มันเป็นเพียงหน้าที่ๆเราต้องทำ..จนกว่าสังขารจะแตกดับ...มันเป็นหน้าที่ๆเราต้องรู้ และ.ต้องทำ ..........สัมมาทิฏฐิและนิพพาน


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: ประวิต ที่ มีนาคม 31, 2022, 04:40:03 AM
สมาธิที่พระพุทธองค์ทรงสอนสาวกทั้งหลาย
...อานาปานสติ 16ขั้นตอน+++
????อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, แล้วอานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มาก
????มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่
????อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
????จัตตาโร สะติปัฐฐาเน ปะริปูเรนติ
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์
????จัตตาโร สะติปัฏฐานา ภาวิตา พะหุลีกะตา
สติปัฏฐานทั้งสี่อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
????สัตตะ โพชฌังเค ปะริปูเรนติ
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์
????สัตตะ โพชฌังคา ภาวิตา พะหุลีกะตา
โพชฌงค์ทั้งเจ็ดอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
????วิชชา วิมุตติง ปะริปูเรนติ
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
????กะถัง ภาวิตา จะภิกขะเว อานาปานะสะติ, กะถัง พะหุลีกะตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
????มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
จึงมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่
????อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้
????อะรัญญะคะโต วา
ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม
????รุกขะมูละคะโต วา
ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม
????สุญญาคาระคะโต วา
ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม
????นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตวา
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว
????อุชุง กายัง ปะณิธายะ, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา
ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น
????โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่นั้นเทียว, หายใจเข้า, มีสติอยู่, หายใจออก
????(๑) ทีฆัง วา อัสสะสันโต, ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้ายาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว, ดังนี้
????ทีฆัง วา ปัสสะสันโต, ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
เมื่อเราหายใจออกยาว, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกยาว, ดังนี้
????(๒) รัสสัง วา อัสสะสันโต, รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้าสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้าสั้น, ดังนี้
????รัสสัง วา ปัสสะสันโต, รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
เมื่อเราหายใจออกสั้น, ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกสั้น, ดังนี้
????(๓) สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๔) ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้
(จบ จะตุกกะที่หนึ่ง)
????(๕) ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๖) สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๗) จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๘) ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้
(จบ จะตุกกะที่สอง)
????(๙) จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๑๐) อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๑๑) สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๑๒) วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่, จักหายใจออก, ดังนี้
(จบ จะตุกกะที่สาม)
????(๑๓) อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๑๔) วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๑๕) นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้
????(๑๖) ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจเข้า, ดังนี้
????ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ย่อมทำในบทศึกษาว่า, เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ, จักหายใจออก, ดังนี้
(จบ จะตุกกะที่สี่)
????เอวัง ภาวิตา โข ภิกขะเว อานาปานะสะติ, เอวัง พะหุลีกะตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว, ทำให้มากแล้ว, อย่างนี้แล
????มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่
????อิติ
ด้วยประการฉะนี้แล
ท่านใดสงสัยหรืออยากถามข้อมูล..สอบถามแอดมินเพจได้นะครับ


หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ - นิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: เกียรติคุณ ที่ เมษายน 06, 2022, 10:56:01 PM
สาธุขออนุโมทนาครับ

บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters