สนทนาธรรม ฟังธรรม อ่านธรรมะ บทความธรรมะ หลักธรรมคำสอน กฎแห่งกรรม dhamma

ธรรมะออนไลน์ => บทความธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: เด็กหน้าวัด ที่ สิงหาคม 20, 2010, 08:14:57 AM



หัวข้อ: การเรียน การศึกษา การปฏิบัติธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: เด็กหน้าวัด ที่ สิงหาคม 20, 2010, 08:14:57 AM
การเรียน การศึกษา การปฏิบัติธรรม
หัวข้อของบทความนี้ ถ้าคนมีสมองสติปัญญาที่กว้างไกล ก็จะคิดพิจารณาแบบกว้างๆเกี่ยวกับธรรมะ  และคงคิดว่า ศาสนาทุกศาสนา ก็ย่อมมีธรรมะ เฉกเช่นเดียวกัน เพียงแต่ธรรมะในแต่ละศาสนานั้น แตกต่างกันไปในหลักการที่นำมาสอน ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึง แต่ในบทความนี้ จะกล่าวถึง การเรียน การศึกษา และการปฏิบัติธรรม เป็นชั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางประกอบในการเรียน การศึกษา และการปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา เท่านั้น
การเรียน การศึกษา และการปฏิบัติธรรม ทางพุทธศาสนานั้น ล้วนผสมผสานกัน ล้วนร่วมกัน หรือผสมรวมกัน
 ในที่นี้หมายความว่า ทั้งการเรียน การศึกษา ก็คือ การปฏิบัติธรรม รูปแบบหนึ่ง
หรือ ในการปฏิบัติธรรม ก็คือ การเรียน การศึกษา ในรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ หลักธรรมทางพุทธศาสนานั้น เป็นหลักความจริงตามธรรมชาติ ซึ่งผู้ที่เรียน ที่ศึกษา ที่ปฏิบัติ ต้องทำความเข้าใจให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติ ต้องทำความเข้าใจให้ดี ให้ถ่องแท้ว่า หลักธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ เพียงเขียน หรือกล่าว ในเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
ซึ่งผู้เรียน ผู้ศึกษา ผู้ปฏิบัติ จะต้องคิดพิจารณา ในทุกด้าน ไม่ใช่ทำตัวเป็นนกแก้วนกขุนทอง เรียนแบบ และ เลียนแบบ เพียงอย่างเดียว
ศาสนาพุทธ มีข้อพิเศษอยู่ตรงจุดนี้และขอรับ
บรรดา พระสงฆ์ หรือผู้คงแก่เรียน ทั้งหลาย ก็อย่าได้มีทิฏฐิ ให้พิจารณาตามที่ข้าพเจ้าได้สอนไป ให้พิจารณาให้ดี ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ตามหลักความจริง ตามหลักธรรม แห่งชีวิต มนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
ข้าพเจ้าเขียนบทความหลายๆเรื่องขึ้นมา เพื่อจะแสดงธรรมตามยุคตามสมัย พวกท่านหลายๆท่านคงอาจจะไม่เกิดความเข้าใจ เพราะมัวหลงอยู่กับตำรา โดยไม่ได้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติ
หลายๆคน หลายๆท่าน ยกเอาข้อความเพียงข้อความเดียวจากตำรามากล่าว โดยไม่ได้ศึกษา ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้   
ในตำรา หรือ ในพระไตรปิฎก มีทั้ง หลักธรรมะ และหลักปฏิบัติ ซึ่ง ทั้งหลักธรรม และหลักปฏิบัติ ก็ล้วนเป็นสิ่งๆเดียวกัน เป็นมรรค เป็นผล เกี่ยวเนื่อง ต่อเนื่อง สัมพันธ์กัน

บางคนบางท่าน ไม่เข้าใจในเรื่องอัตตา และอนัตตา ดันหลงไปเข้าใจว่า พุทธศาสนา ไม่ได้สอนให้ยึดในอัตตา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ที่กล่าวว่าไม่ถูกต้องนั้น ก็เพราะ อัตตา หรืออนัตตา นั้น เป็นการสอนในเฉพาะเรื่อง เฉพาะอย่าง เฉพาะกาล ไม่ใช่หลักธรรมะ ไม่ใช่แก่นแห่งธรรมะ 
กรรมฐาน ๔๐ กอง อันได้แก่ อสุภกรรมฐาน ๑๐,อนุสติกรรมฐาน ๑๐,กสิณ ๑๐, พรหมวิหาร ๔, อรูป ๔, อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑,จตุธาตุววัตถาน
ล้วนเป็นการแสดงถึง ความมีอัตตา ทั้งสิ้น ไม่มีอันไหนไม่เป็นอัตตา หรือไม่มีอัตตา
อย่างนี้เป็นต้น
ด้วยเหตุที่กล่าวไป ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น พระสงฆ์ หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป ได้ทำความเข้าใจ ได้เรียน ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติธรรม จากตำรา หรือจากพระไตรปิฎก ให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ใช่เรียนแบบ และหรือ เลียนแบบ โดยไม่ใช่สมองสติปัญญา คิดพิจารณา

และต้องขอย้ำเตือนท่านทั้งหลายเอาไว้ว่า ในตำรา หรือในพระไตรปิฎกนั้น บ้างก็อาจจะเขียนหรือมีไว้เพียงด้านเดียว ไม่ได้มีไว้อย่างครบทุกด้าน แต่บางอย่างก็แจกแจงไว้โดยละเอียด ตามความรู้ ตามความเข้าใจ ตามศัพท์ภาษา ตามยุคตามสมัย ขอให้คิดพิจารณาให้ดีเถิด
อีกประการที่สำคัญยิ่ง ซึ่งท่านทั้งหลายควรได้ทำความเข้าใจ และได้ตระหนัก และระลึกนึกถึงเอาไว้ว่า 
“ไม่ว่าจะเป็น การเมือง การปกครอง การใช้ชีวิตในสังคม ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการปฏิบัติงาน หรือพฤติกรรม การกระทำทุกรูปแบบ ล้วนมี ล้วนเป็น ล้วนอาศัย และล้วนจำเป็นต้องใช้ หลักธรรมทางศาสนา ทั้งสิ้น”

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑ มิ.ย. ๒๕๕๓
 
 
 

บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters