วิธีฝึกวางใจต่ออารมณ์ ให้ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก ทำให้เย็นใจไม่เร่าร้อน
ไม่ตอบโต้กลับสืบต่อความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทั้งปวง ที่ใจเรามีต่อ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทีเนื่องด้วยกาย สัมผัสที่เนื่องด้วยใจที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ใช้ปัญญาใคร่ครวญสิ่งที่เหมาะสมสิ่งที่มากระทบให้ใจเรารู้สึก รัก ชัง กลัว หลง ล้วนแต่อยู่เหนือการควบคุมของเรา เราไม่อาจบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจเราต้องการได้ทั้งสิ้นดังนี้แล้วต้องรู้เข้าใจว่า..สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่อาจควบคุมบังคับได้ มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา มันเป็นแค่ความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่กิเลสวางไว้ล่อให้ใจเราหลงตามทางทวาร ๖ เท่านั้น ไม่ควรสืบต่อให้ความสำคัญ ..แล้วปล่อยวาง คือ รู้จักวางใจให้เป็น คือ รู้ว่าจะจัดการยังไงกับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือ รู้ว่าเราควรจะวางใจของเราไว้อย่างไรกับเรื่องนี้ คือ รู้จักเลือกเฟ้นธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์เช่นว่า.. ไม่ควรเสพย์อารมณ์ความรู้สึก รัก ชัง กลัว หลง ที่เกิดขึ้น โต้ตอบกลับสิ่งที่เหนือการควบคุมของเรานั้น แต่ใช้ปัญญาใคร่ครวญทำความเข้าใจในสิ่งนั้น เลือกเฟ้นถึงความเหมาะในกาลอันควรจะ คิด พูด ทำ ต่อสิ่งนั้นๆ ณ ขณะนั้นๆนี้เรียกปัญญานำ ..แต่หากทานไม่ไหวให้ใช้สมถะนำ คือ สงบเอาใจรวมลงให้จิตมีกำลัง เอาจิตสงบรำงับเป็นปัสสัทธิ เป็นกุศล จิตมีกำลังตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ไหวเอนตามกิเลสเป็นฐานที่ตั้งให้ใช้ปัญญาเลือกเฟ้นใคร่ครวญสิ่งที่เหมาะสมแก่กาล ณ ขณะเวลานั้นๆต่อไป