เมษายน 19, 2024, 07:23:59 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407799 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #420 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2022, 09:48:19 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิธีฝึกวางใจต่ออารมณ์ ให้ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก ทำให้เย็นใจไม่เร่าร้อน

ไม่ตอบโต้กลับสืบต่อความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทั้งปวง ที่ใจเรามีต่อ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทีเนื่องด้วยกาย สัมผัสที่เนื่องด้วยใจที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ใช้ปัญญาใคร่ครวญสิ่งที่เหมาะสม

สิ่งที่มากระทบให้ใจเรารู้สึก รัก ชัง กลัว หลง ล้วนแต่อยู่เหนือการควบคุมของเรา เราไม่อาจบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจเราต้องการได้ทั้งสิ้น

ดังนี้แล้วต้องรู้เข้าใจว่า..สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่อาจควบคุมบังคับได้ มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา มันเป็นแค่ความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่กิเลสวางไว้ล่อให้ใจเราหลงตามทางทวาร ๖ เท่านั้น ไม่ควรสืบต่อให้ความสำคัญ ..แล้วปล่อยวาง คือ รู้จักวางใจให้เป็น คือ รู้ว่าจะจัดการยังไงกับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือ รู้ว่าเราควรจะวางใจของเราไว้อย่างไรกับเรื่องนี้ คือ รู้จักเลือกเฟ้นธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์

เช่นว่า.. ไม่ควรเสพย์อารมณ์ความรู้สึก รัก ชัง กลัว หลง ที่เกิดขึ้น โต้ตอบกลับสิ่งที่เหนือการควบคุมของเรานั้น แต่ใช้ปัญญาใคร่ครวญทำความเข้าใจในสิ่งนั้น เลือกเฟ้นถึงความเหมาะในกาลอันควรจะ คิด พูด ทำ ต่อสิ่งนั้นๆ ณ ขณะนั้นๆ

นี้เรียกปัญญานำ ..แต่หากทานไม่ไหวให้ใช้สมถะนำ คือ สงบเอาใจรวมลงให้จิตมีกำลัง เอาจิตสงบรำงับเป็นปัสสัทธิ เป็นกุศล จิตมีกำลังตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ไหวเอนตามกิเลสเป็นฐานที่ตั้งให้ใช้ปัญญาเลือกเฟ้นใคร่ครวญสิ่งที่เหมาะสมแก่กาล ณ ขณะเวลานั้นๆต่อไป




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2022, 10:36:08 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #421 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2022, 10:32:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิธีแผ่เมตตาให้ถึงเจโตวิมุตติ

การแผ่เมตตาให้เอาพุทโธแผ่ไป คือ ให้เอาจิตที่เป็นพุทโธ

ผู้รู้ คือ รู้ปัจจุบัน รู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ

ผู้ตื่น คือ ตื่นจากสมมติ ไม่ข้องเสพย์อกุศลธรรมอันเร่าร้อน ตื่นจากสมมติธัมมารมณ์ทั้งปวง ไม่ยึดกอดเอา..ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ..มาสุมไฟแผดเผากายใจตนอีก

ผู้เบิกบาน คือ เป็นผู้มีกายใจเบิกบานพ้นแล้วจากสมมติธัมมารมณ์กิเลสของปลอม ถึงความเย็นใจไม่เร่าร้อน

เมตตา คือ การเอาจิตที่เป็นพุทโธแผ่ไปในภายนอกต่อบุคคลอื่นนั่นเอง โดยอาศัยรูป อาศัยนิมิต อาศัยความเสมอกันด้วยอุปาทินนกะรูป อุปาทินนกะสังขาร เป็นที่หมายให้จิตเราที่เป็นพุทโธนี้แผ่ไป
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #422 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2022, 12:14:44 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน พระราชพรหมญาณ ----> หน้า 69

*พิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ*

         อันนี้ไม่มีอะไรพิศดาร ท่านสอนให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยให้พิจารณาเป็นปกติ เมื่อเห็นว่าขันธ์ ๕ ป่วยก็รักษา เพื่อให้ทรงอยู่ แต่เมื่อมันจะพังก็ไม่ตกใจ หรือมันเริ่มป่วยไข้ ก็คิดว่า ธรรมดามันต้องเป็นอย่างนี้ เราจะรักษาเพื่อให้ทรงอยู่ ถ้าทรงอยู่ได้ ก็จะอาศัยเพื่องานกุศลต่อไปถ้าเอาไว้ไม่ได้ มันจะผุพังก็ไม่มีอะไรหนักใจ ความทุกข์จะเกิดแก่ตัวเองหรือใคร อะไรก็ตามไม่ผูกจิตติดใจอย่างนี้ จนกระทั่งบรรลุอรหัตตผล ตามนัยที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ใน ขันธวรรคแห่งพระไตรปิฎก

 *(จบวิปัสสนาญาณโดยย่อเพียงเท่านี้)*
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #423 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2022, 02:25:51 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
วิธีแผ่กรุณาให้ถึงเจโตวิมุตติ

การแผ่กรุณา ให้เอาอิสระสุขในพุทโธที่เนื่องด้วยใจแผ่ไป ให้จิตเข้าถึงพุทโธ

คือ มีอิสระสุขอันเนื่องด้วยความแจ่มในเบิกบานใจไม่ข้องด้วยกาย อิสระสุขที่ไม่อิงอามิสกามคุณ ๕ คือ อิสระสุขความเบิกบานใจที่ไม่ข้องอิงอามิสด้วยกายอีก

ผู้รู้ คือ รู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ กายเป็นของชั่วคราว เป็นสักแต่ว่าธาตุ เป็นมูลมรดกธาตุที่พ่อแม่ให้มาอาศัยชั่วคราว มีเจ็บ ป่วย ไข้ เสื่อมโทรม ผุพังสลายไป ธาตุคืนสู่ธาตุ เมื่อยังกายอยู่ก็ต้องหิว กระหาย เจ็บปวด ปวด ไม่ใช่ตัวตน อยู่เหนือการควบคุม สักแต่ว่าธาตุ ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไมเป็นเรา เราไม่ใช่มัน มันไม่ใช่เรา ความโหยหาทั้งปวงมาจากความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ติดตรึง ตราตรึง สำคัญมั่นหมายใจไว้ ทำให้กระหายที่ใจ เมื่อไม่ข้องด้วยกายอยู่อีกคือสุขอันบริสุทธิ์ ละสุขที่เนื่องด้วยกาย ถึงสุขที่เนื่องด้วยใจ สุขที่เนื่องด้วยกายมันอิ่มไม่เป็น สุขที่เนื่องด้วยใจ มันอิ่มเป็น ไม่ต้องใช้สิ่งใดมาอิงอาศัย

ผู้ตื่น คือ ตื่นจากสมมติ ไม่ข้องเสพย์ความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทางกาย แล้วสำคัญมั่นหมายใจให้ติดตรึง ตราตรึงใจ กระหาย ต้องการ โหยหา มีใจอกออกจากสมมติเวทนาทางกาย คือ กามคุณ ๕

ผู้เบิกบาน คือ เป็นผู้มีกายใจเบิกบานพ้นแล้วจากสมมติธัมมารมณ์กิเลสของปลอม ถึงความเย็นใจไม่เร่าร้อน


กรุณา คือ การเอาจิตที่เป็นพุทโธแผ่ไปในภายนอกต่อบุคคลอื่น โดยไม่ข้องด้วยสมมติเวทนาทางกาย ไม่ยึดในกามคุณ ๕ ปักลงไปในจิตอย่างเดียว เอาความเป็นพุทโธเบิกบานพ้นจากสมมติไม่ติดตรงตรึงใจกามคุณ ๕ ของจิตนี้แผ่ไป ไม่ยังกายอยู่อีก พ้นจากกายไปก็พ้นจากกามคุณ ๕ ให้จิตตั้งเอาแสง เอาพระรัศมี หรือพระฉัพพรรณรังษีแห่งพุทธะที่กว้างไปไม่มีที่สิ้นสุดของจิตที่เป็นพุทโธนั้นเป็นอารมณ์ออกจากกาย ออกจากกามคุณ ๕ จนถึงความว่าง ความไม่มีในกามคุณ ๕ ทั้งปวงนั้นแผ่ไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2022, 07:47:56 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #424 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2022, 09:40:06 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทำไว้ในใจถึงจิตที่เป็นพุทโธ (กรรมฐานด้วยพุทโธ)

1. มีอานาปานสติ + พุทโธ เป็นเบื้องหน้า ทำพุทโธเป็นวิตก ด้วยทำไว้ในใจถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทำจิตเป็นพุทธะ เข้าถึงพุทธะตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ด้วยธรรมแห่งพุทธานุสสตินั้น จิตเราเป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า

2. ผู้รู้ คือ รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ทำกายใจให้สบายๆ ผ่อนคลาย โล่งๆสบาย ไม่หน่วงตรึงจิต วางจิตไว้ในท่ามกลาง ทำสักแต่ว่ารู้ สิ่งที่รู้ๆอยู่นั้นไม่ว่า ความรู้สึกอันเกิดแต่ผัสสะ วิตก วิจาร  มโนภาพ ว่างเปล่า ล้วนแล้วแต่เป็นอาการหนึ่งๆของจิตทั้งสิ้น เป็นเพียงธัมมารมณ์ที่จิตรู้ ทำไว้ในใจโดยจิตอยู่ท่ามกลางสักแต่ว่ารู้ว่ามีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ข้องเสพย์ ไม่สืบต่อ

3. ผู้ตื่น คือ ตื่นจากสมมติ เมื่อรู้ของจริงต่างหากจากสมมติสักแต่ว่าธัมมารมณ์ที่ใจรู้นี้มีทั้งที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์ ไม่ว่าจะความ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ล้วนมีทั้งสิ่งที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์ พึงตั้งจิตไว้มั่น ความไว้ในภายในไม่ข้องเสพย์ ต่อเมื่อจิตเข้าไปคลุกคลีแนบอารมณ์ในสิ่งใด พึงประครองใจไว้ได้เพียงสักแต่ว่ารู้ รู้ตามไป เห็นความเป็นไปของมัน ดูอยู่ก็รู้ว่าดู เห็นอยู่ก็รู้ว่าเห็น ปรุงอยู่ก็รู้ว่าปรุง เอานิมิตนั้นเป็นเครื่องให้ใจรวมไว้ แต่ประครองไม่ให้เข้ามากไป ไม่ถอยออกมากไป ให้รู้ตามว่ามีสิ่งนี้เกิดขึ้น เรื่องราวๆ อารมณ์ความรู้สึกแบบนี้ เกิดขึ้นด้วยการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย เราดูอยู่ นิมิตใดกำหนดขึ้นมาก็รู้ว่ากำหดขึ้นมาเอง นิมิตใดเกิดขึ้นเองก็รู้ว่าเกิดขึ้นเองด้วยมีเหตุปัจจัยภายในมโน มนะ ที่ทำให้เกิดขึ้น ปรุงแต่งไป สักแต่ว่าธัมมารมณ์ เราใช้รู้ใช้ดูเพื่อเข้าใจจิต มีความรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ แนบอารมณืก็รู้ แล้วปล่อยไป ตามรู้ไป (เวลาที่จิตแนบอารมณ์มันมักจะตัดส่วนอื่นภายนอกแต่เรามีสติรู้อยู่ว่ามีสิ่งนี้เกิด ราวกับจิต แยกจากกัน จิตหนึ่งแนบชิดคิดตาม หรือแนบนิ่งก็ตาม แต่อีกจิตรู้ว่ามันคืออะไรกำลังทำอะไร นี้คือตัวแล นี่มีสัมปะชัญญะร่วมสติ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม กล่าวถึงความเป็นผู้ตื่น คือมีความรู้ตัวทั่วพร้อมนี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสติและสัมปชัญญะ)

๔. ผู้เบิกบาน คือ เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม

ในขั้นต้น คือ จิตมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง รู้จักละ รู้จักปล่อย รู้จักวาง ไม่ข้องเสพย์ ไม่สืบต่อ

ในขั้นกลาง คือ นิวรณ์ออ่อนกำลัง จิตไม่มีอกุศล ระลึกอกุศลไม่ออก นึกในอกุศลเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก (มีในชั้นฌาณ)

ในขั้นสุด คือ มรรคสามัคคีกันรวมลงเป็น 1 แทงตลอดสังขารุเปกขา ถึงความสละคืนกิเลสทั้งปวง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2022, 10:55:56 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #425 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2022, 09:28:05 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ฮืม? [ ๑๔๕ ] ดูกรราหุล! ฮืม?

ฮืม? เธอจงเจริญ เมตตาภาวนาเถิด
เพราะเมื่อ เธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละพยาบาทได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ กรุณาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญกรุณาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละวิหิงสาได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ มุทิตาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละอรติได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ อุเบกขาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละปฏิฆะได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ อสุภภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอสุภภาวนาอยู่
ฮืม?จักละราคะได้?ฮืม

ฮืม? เธอจงเจริญ อนิจจสัญญาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่
ฮืม?จักละอัสมิมานะได้?ฮืม
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #426 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2022, 09:56:14 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ริษยา มีอาการที่ขัดใจด้วยมีอรดีตั้งในจิต มีความยินร้าย ติดใจข้องแวะ ขุ่นข้องขัดเคืองใจ ความผลักไส วิภวะตัณหา

การแก้ริษยา ครูบาอาจารย์ท่านว่าเบื้องต้นให้เลิกเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น

ขั้นกลางให้เจริญมุทิตาภาวนา ยินดีไปกับความสุขสำเร็จ
็ของผู้อื่น ประดุจเหมือนเห็นบุคคลอันเป็นที่รักได้ประสบความสำเร็จดีงาม

ขั้นสุด ริษยาเพราะยึดมั่นถือมั่นตัวตนในสิ่งนั้น อาศัยความสำคัญมั่นหมายของใจ คือ ยินดีในสิ่งยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตนนั้นๆ เมื่อยินดีก็มีโลภะเป็นมูลฐานให้เกิดภวะตัณหา ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น

เมื่อเกิดความยินดี อยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ย่อมเกิดปฏิฆะไปในตัวทันที มีความสำคัญมั่นหมายของใจยินร้ายในสิ่งที่ตนไม่ต้องการไปด้วย อรดี คือ ความยินร้าย ยินร้ายถึงความไม่ได้ดั่งที่ใจตนต้องการนั่นเอง ก็เกิดผลักไส ไม่ต้องการ

ทีนี้เมื่อเห็นคนอื่นได้ในสิ่งที่ตนต้องการ อยากได้ อยากมี อยากเป็น แต่ตนนั้นไม่ได้ ไม่มี ไม่เป็นอย่างที่ต้องการแบบเขา ก็เกิดริษยา อรดีขึ้นในใจอ่อนๆ ไม่มีมุทิตาจิต เริ่มจากอยากได้อย่างเขา หนักขึ้นก็เกิดการเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับสิ่งที่เขามี และไม่พอใจสิ่งที่ตนมีตนเป็น หนักขึ้นใจก็พาล ชิงชัง เกลียดชังที่ผู้อื่นได้ แต่ตนไม่ได้ สืบต่อให้ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะแผดเผากายใจตน ด้วยความยึดมั่นถือมั่นตัวตนในสิ่งนั้นๆนั่นเอง

ดังนี้พึงละที่ใจ คือ ละไฟกระหาย กระสันอยาก ด้วยละความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความอยากเกิดแต่โลภะเป็นมูล ละความอยากได้อยากมี ละภวะตัณหาด้วยการละโลภะ ละโภะด้วยละความอยากทั้งปวงเกิดแต่ความสำคัญมั่นหมายของใจถึงความยินดีในสิ่งนั้นๆว่าเป็นสุข

ละความสำคัญมั่นหมายของใจด้วยเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นมันอยู่เหนือการควบคุมของเรา ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ถึงแม้ได้มาครองก็อยู่กับเราเพียงชั่วคราว นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ไม่สามารถบังคับให้อยู่กับเราตลอดไปได้ มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา เพราะสิ่งทั้งปวงที่ใจเรารับรู้ยึดมั่นถือมั่นอยู่นั้นไม่ใช่ตัวตน

เมื่อรู้ว่าเป็นอนัตตาก็ไม่ควรเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้ ละความเอาใจเข้ายึดครองด้วยความรู้เห็นตามจริงว่ามันเป็นเพียงสมมติสิ่งหนึ่งๆที่สร้างขึ้นที่มีในอยู่ในโลกนับล้านๆแบบให้ใจเรารู้เท่านั้น เราทำเพียงแค่รู้ แล้วเข้าใจว่ามันอยู่เหนือการควบคุม แล้วอย่าไปติดใจข้องแวะมัน คือ อย่าใส่ใจให้ความสำคัญกับมันเกินความจำเป็น โดยพึงรู้ว่ามันไม่ใช่สุขของเรา สุขทุกข์เกิดที่ใจเรานี้ ไม่ได้เกิดที่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่ทั้งชีวิตของเรา ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา เราไม่ได้ยังกายได้อยู่นี้เพราะสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา สักแต่เป็นเพียงสมมติสิ่งหนึ่งๆในโลกที่มีอยู่นับล้านๆอย่าง  หากเอาใจเข้ายึดครองมันว่าเป็นตัวตนของเรา ย่อมยังความฉิบหายมาให้ ความปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อยู่เหนือการควบคุมย่อมมีแต่ทุกข์ ไม่ติดใจข้องแวะใส่ใจให้ความสำคัญก็ไม่ทุกข์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2022, 09:01:20 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #427 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2022, 09:56:46 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
*การพอใจในสิ่งที่ตนมี เป็นการละโลภ ละกาม ละราคะ ละเบียดเบียนริษยา*

ริษยา
- อย่าคิดเปรียบเทียบว่าตนได้ตนเสีย เขาได้ตนไม่ได้ เราทำเยอะกว่า เขาไม่ทำ ให้พอใจในสิ่งที่ตนมีตนได้เราก็จะไม่มีการเปรียบเทียบ มีใจยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น จิตเป็นพุทโธ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่มีการได้การเสีย มีแต่สิ่งนี้มีประโยชน์สุข หรือไม่มีประโยชน์สุข มีใจเกื้อกูล ดังนี้จะเห็นว่าสิ่งนั้นๆไม่ได้อยู่ที่ปริมาณ ใครทำมาก ทำน้อย ใครได้ ใครเสีย แต่อยู่ที่เราเห็นสัตว์มีสุขสำเร็จดีงาม สุขนั้นเกิดที่ใจ
- เห็นว่าแม้เล็กน้อยของตนที่มีที่ได้ ก็คือยังได้มา แม้เล็กน้อยก็คือเรายังมีอยู่ ส่วนสิ่งที่เขาได้มานั้นมันไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่เจ้าของมัน เราจึงไม่ได้มา เราเป็นเจ้าของสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นตามที่มีสะสมมา สิ่งนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แต่เป็นของเขาเราจึงไม่ได้ครอบครอง
- การที่ผู้อื่นมีผู้อื่นได้ ย่อมยังประโยชน์สุขแก่เขา เมื่อเราแม้ยังเป็นผู้แผ่ซึ่งสุขอยู่นี้ควรยินดีกับเขาในประโยชน์สุขสำเร็จของผู้ คือ ประโยชน์สุขสำเร็จดีงามของผู้อื่น คือ ความสุขของเรา เราจักเป็นผู้มีใจแผ่ไปไม่มีประมาณด้วยประการดังนี้ เพราะนั่นคือเราได้เห็นสัตว์พ้นทุกข์นั่นเอง
- ขัดใจ ยินร้ายต่อสัมผัสที่ได้รู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัสกาย ก็พึงละความติดใจข้องแวะในอารมณ์ที่รู้นั้นๆไปเสีย สิ่งนั้นหาประโยชน์สุขไรๆต่อเราไม่ได้ มีแต่ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ แผดเผากายใจตน
- แต่หากเรามีใจยินดีเป็นสุขไปด้วยในประโยชน์สุขสำเร็จดีงามที่เขาทำ เขามี เขาเป็น ที่เราได้รับรู้ทาง หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสกาย เราจะไม่ร้อน จะเย็น เบาใจ

*คลองเข้ามุทิตาจิต คือ เอาจิตจับที่จิต รู้จักอิ่ม รู้จักพอ รู้จักเต็ม ยินดีในสิ่งที่ตนมีตนได้ มีจิตที่แผ่สุขเกื้อกูล ยินดีในความไม่มีทุกข์แก่หมู่สัตว์ คงความสุขนั้นไว้ตั้งในจิต ไม่ติดใจข้องแวะ ไม่ขัดไม่ข้องใจ*

- แต่ถ้าเขาได้มาโดยมิชอบ มิใช่กุศล เบียดเบียน พึงรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นของร้อน สุขนั้นของเขาไม่บริบูรณ์ ย่อมมีความเสื่อม ไม่เที่ยง ไม่คงทนอยู่ได้นาน เขาก็ต้องเร่าร้อนแสวงหาสุขนั้นอันไม่เที่ยงอยู่ร่ำไป เราพึงเห็นว่าเขาถูกทุกข์หยั่งเอาแล้ว สุขนี้ชั่วคราว สุขนี้เหมาะแก่เขาแล้ว พึงยินดีกับเขาเสียว่า เขาได้รับสุขจากสิ่งไม่เที่ยง ก่อนที่เขาจะไม่มีโอกาสได้รับ หรือมันจะสุญสลายไป อย่างน้อยก็ยังทำให้เขาได้เคยสุข เมื่อสัตว์เป็นสุข พอใจสิ่งที่มี ย่อมไปแสวงหา ย่อมไม่เบียดเบียนกัน ดังนี้ตอนที่เขาได้รับสุขนั้น เขาก็จะเลิกเบียดเบียนกันแม้ชั่วขณะหนึ่งก็ตาม ก็จะไม่มีทุกย์แก่สัตว์ พึงยินดีต่อเขา แต่พึงวางใจรู้ว่า สุขโดยไม่ชอบธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อยู่เหนือการควบคุม ไม่ใช่ตัวตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2022, 01:30:35 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #428 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2022, 10:15:11 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดในอดีต จะด้วยรักก็ดี โหยหาก็ดี ใคร่ได้ก็ดี ต้องการก็ดี อยากได้ อยากให้มีให้เป็นก็ดี โกรธก็ดี เกลียดก็ดี ชังก็ดี ผลักไสก็ดี ใจลอยแนบชิดไปในอารมณ์ความรู้สึก สัมผัสที่ชอบที่ชังไรๆก็ดี ไม่อยู่ในปัจจุบันกับสิ่งที่ทำอยู่เป็นอยู่

โดยให้ทำดังนี้..

ก.) รู้ว่าหวนระลึกถึงอยู่ โหยหาอยู่ ผลักไสอยู่ แล้วให้บอกกับใจตนว่า
๑. มันผ่านมาแล้ว เป็นอดีตไปแล้ว
๒. มันล่วงเลยมาแล้ว ปัจจุบันนี้ไม่มีอยู่แล้ว
๓. สิ่งนั้นมันคือเรื่องราวเก่าๆเรื่องหนึ่งๆในชีวิต ที่เราได้พบเจอ ได้เคยได้สัมผัสแล้ว ปัจจุบันไม่มีอยู่แล้วในตอนนี้

ข.) บอกกับใจตนให้รู้สัจธรรมว่า..สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่คงทนอยู่ได้นาน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาจะล่วงพ้นไปไม่ได้เลย สุดท้ายก็ดับไป หมดไป สูญไป บังคับไม่ได้ หมายให้คงอยู่ก็ไม่ได้ หมายให้มันไม่เกิดขึ้นกับตนก็ไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่เหนือการควบคุมของเรา เราสักแต่เพียงรู้ให้ความเข้าใจมันว่ามันเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน การเอาใจเข้ายึดครองสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนก็มีแต่ทุกข์ เราเอาใจเข้ายึดครองด้วยกิเลส เพราะรัก เพราะชัง เพราะไม่เข้าใจในความเป็นจริงของมัน โลกมันเป็นแบบนี้ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เหนือการควบคุม ไม่ใช่ตัวตน บัดนี้เราได้เห็นความจริงของโลก คือสัจธรรมนี้แล้ว ดังนี้..

ค.) เอาจิตมาจับรู้ที่ลมหายใจเข้าออกของเรานี้ ลมหายใจไม่มีทุกข์ ลมหายใจไม่มีโทษ ลมหายใจเป็นที่สบาย ลมหายใจคือของจริง ด้วยเหตุว่า
- ลมหายใจเป็นของจริง เพราะเป็นธาตุ ๔ ในกายนี้ คือ วาโยธาตุ ที่หล่อเลี้ยงให้กายนี้
- ลมหายใจเป็นของจริง เพราะไม่ใช่ของปรุงแต่งจิต ไม่ใช่เครื่องปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกทั้งปวง

ง.) ปล่อยใจผ่อนคลายตามลมหายใจเข้า ปล่อยใจผ่อนคลายตามลมหายใจออก ทำไว้ในใจถึงความปล่อย ละ วาง สละคืนอารมณ์ความรู้สึกแห่งสมมติทั้งปวงออกจากกายใจตน
..ทำให้เป็นที่สบายกายใจ ผ่อนคลาย สงบลง

จ.) กลับมารู้ปัจจุบัน รู้กิจการงานที่กำลังทำอยู่ เอาใจแนบกับปัจจุบัน กับกิจการงานที่ทำอยู่ ปัจจุบันนี้แหละคือความสุข ไม่มีฟุ้ง ไม่มีคิด พ้นจากสมมติธัมมารมณ์ที่กิเลสวางไว้ล่อให้ใจเราหลงตาม พ้นจากไฟคือราคะ พ้นจากไฟคือโทสะ พ้นจากไฟคือโมหะ ที่แผดเผากายใจตน

การที่ใจเราทำสักแต่ว่ารู้ โดยรู้ว่าสัจธรรมของโลกมันเป็นแบบนั้น มีใจไม่ถือ ไม่ยึดครอง ไม่ยึดกอด ไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หน่วงตรึงจิต ไม่ทำให้ใจเราเศร้าหมอง การไม่ติดใจข้องแวะโลกหรือสิ่งทั้งปวงในโลกย่อมไม่เป็นทุกข์
..ติดใจข้องแวะร้อยก็ทุกข์ร้อย
..ติดใจข้องแวะห้าสิบก็ทุกข์ห้าสิบ
..ไม่ติดใจข้องแวะเลยก็ไม่ทุกข์เลย

การเอากายใจมาทำสักแต่ว่ารู้ในปัจจุบัน รู้กิจการงานที่ควรทำมันไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ ความคิดสมมติปรุงแต่งกิเลสใดๆก็ไม่อาจจะทำร้ายเราได้อีกเลย ดังนี้

ตั้งแต่ข้อ ก. จนถึง ข้อ จ. ทั้งหมดนี้ คือ พุทโธ เป็นการเดินจิตให้ใจเข้าถึงพุทโธ มีใจเป็นพุทโธ คือ..
๑. ความเป็นผู้รู้ รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ
๒. ความเป็นผู้ตื่น ตื่นจากสมมติ (คือ สมมติความคิด สมมติกิเลสอันเป็นอารมณ์ความรู้สึกหน่วงนึกปรุงแต่งของจิตที่ใจรู้ ที่กิเลสวางไว้ล่อใจให้หลงตามทางสฬายตนะ)
๓. ความเป็นผู้เบิกบาน คือ มีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน พ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม เบาสบาย เย็นใจ
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #429 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2022, 10:15:23 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
แก้อุทธัจจ กุกกุจจะ
ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ก็ให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน ไม่สงบ เครียด หงุดหงิด จะมีอาการที่ระคน ปะปน อยู่กับสิ่งปัจจุบันไม่ได้ เคืองขัด ไม่เจริญใจ

อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็น 2 คำ คือ อุทธัจจะ กับ กุกกุจจะ อุทธัจจะ หมายถึง ความ ฟุ้งซ่าน อึดอัด กลัดกลุ้ม กังวล ทำให้เกิดความเครียด ความหงุดหงิด ในคำภาษาไทยใช้ อุทธัจจ คือความฟุ้งซ่าน ความประหม่า ความขวยเขิน กุกกุจจะ หมายถึง ความรำคาญใจ ความวิตก กังวล ทำให้อึดอัด กลุ้มใจ เมื่อนำรวมกันเป็น อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

ทางแก้
1. การกล่อมจิต หรือใช้เครื่องล่อใจ
- มีสติเป็นเบื้องหน้า ให้หาความเพลิน อาศัยตัณหาละตัณหา
- มีสติเป็นเบื้องหน้า ให้หาความเต็มใจ ยินดีในสิ่งปัจจุบันที่เป็นอยู
2. เจริญ ปัสสัทธิ จิตแล่นเข้า ทมะ อุปสมะ
- ทำความรู้ว่า มันคืออาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบที่เกิดขึ้นให้ใจรู้(ธัมมารมณ์)
- เจริญพุทธานุสสติ ภาวนาพุทโธ
..หายใจเข้าบริกรรมว่า..พุท นึกถึงความรู้ว่าอาการนี้คือกิเลสนิวรณ์ เราจักตื่นจากกิเลสนิวรณ์ไม่หลงตามความรู้สึกที่ฟุ้งซ่าน ไม่สงบของใจที่รู้อยู่นี้
..หายใจออกบริกรรมว่า..โธ นึกถึงความว่าง ความสงบ ความไม่มี พ้นจากอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันระคน สับสน ไม่สงบ ที่หน่วงตรึงจิตให้ไหลตามนี้อยู่อีก ..มีใจเข้าถึงความเบา เย็นใจ ไม่เร่าร้อน เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติธัมมารมณ์กิเลสของปลอมทั้งปวง
ยังจิตให้ถึงซึ่งพุทธะ คือ
..ผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ
..ผู้ตื่นจากสมมติกิเลสของปลอม(ความคิด ความรู้สึกโดยสมมติสัจจ์)
..ผู้เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติธัมมารมณ์กิเลสของปลอง เครื่องเร่าร้อนแผดเผากายใจตนทั้งหลาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2022, 10:17:02 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #430 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2022, 09:10:58 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
มุทิตาภาวนา

1. ถึงความเป็นอนัตตาในภายนอก ถึงความเป็นอนัตตาในภายใน คือ กาย และ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวงที่ใจรู้ ที่เกิดขึ้นกับใจตนนี้ก็มิใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
2. ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
3. เพราะมีตัวตนจึงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนก็ไม่ทุกข์
4. สุขแท้เกิดขึ้นที่ใจเรานี้เท่านั้น ความพ้นไปจากตัวตนเป็นสุข
5. เอาจิตจับที่จิต จิตทำแค่รู้ ไม่เอาใจเข้ายึดครองตัวตนสิ่งใดๆทั้งปวง ถึงความไม่มีใจครอง รูป และ ธัมมารมณ์ทั้งปวง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2022, 09:20:59 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #431 เมื่อ: กันยายน 04, 2022, 12:51:48 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
คาถาศักดิ์สิทธิ์ ที่หลวงปู่มั่น ภาวนาอยู่เสมอ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธธัสสะ

ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิ มูตตะมัง
จะตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกัง ปะวัตตตะ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง ฯ

(สวด 9 จบ)

สวดเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันอันตรายทั้งปวง


คำแปล :

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระพุทธองค์
ผู้ทรงชนะมารทั้งห้า
ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาวิมุติ
ผู้ทรงประกาศอริยสัจสี่
ผู้ยังให้พระธัมมจักรให้หมุนไป
ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้
ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้าเทอญ

(ใช้ท่องเพื่อป้องกันอันตรายทั่งปวง ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก)
เป็นพระคาถาปราบมารจาก พระอาจารย์มั่น ภูริตโต ใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ไม่ว่าจะ
เป็นจากอุบัติเหตุในบ้าน, อุบัติเหตุบนท้องถนน หรือแม้แต่อันตรายที่อาจจะเกิดได้จากคน สัตว์
หรือสิ่งของต่าง ( รวมถึงผู้ที่มักจะมีมารผจญ หรือขัดขวาง ทำให้เกิดอุปสรรคนานัปการ ใครที่
ดวงตก ก็สามารถใช้พระคาถานี้ สวดเพื่อพลิกฟื้นชะตาได้เช่นกัน


นอกนั้นยังสามารถสวดพระคาถาบริกรรมนึกถึงพุทธคุณน้อมจิตเข้าสมาธิ หรือใช้ในการตั้งสติสัมปะชัญญะ ปัญญา ในการดำรงชีพทางโลกได้อีกด้วย ดังนี้..

ชนะมารในภายใน

คือ..ชนะกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นภายในกายใจตนทั้งปวง ประครองใจไว้ให้ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปกับกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นในกายใจตน เห็นสักแต่เพียงธัมมารมณ์ ที่เกิดขึ้นให้ใจรู้ สัพเพธัมมาอัตตาตื ธัมมารมณ์ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ใช่ตัวตนของเรา สักแต่เพียงว่าเกิดขึ้นให้ใจรู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์
- ทำไว้ในใจประดุจดั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่ทรงไม่หวั่นไหวต่อมาร ลูกสาวของพญามารทั้ง ๓ คือ ตัณหา ราคะ อรดี ทั้งปวง แม้จะเข้ามารายล้องตัวท่าน (จิต มนะ มโน) ก็ไม่หวั่นไหวต่อกิเลส(ตัณหา ราคะ อรดี) หยั่งความสงบลงในกายใจ ใข้ปัญญาต่อกรกิเลสตัณหา(ตัณหา ราคะ อรดี)ทั้งปวง
ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ความร่านรน อยากได้อยากเอาเพื่อตน
ราคา (=ราคะ) คือ ความกำหนัด ความติดใคร่ในอารมณ์
อรดี (=อรติ) คือ ความไม่ยินดี ไม่พอใจ
มาจากคำว่า อ (ไม่) + รติ (ความยินดี)


เช่นว่า...

1. หากเรามีใจอยากได้ต้องการในสิ่งใด คน สัตว์ สิ่งของ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข  ก็ให้รรู้ว่าธิดามาร คือ นางตัณหา เข้ามาครอบงำจิตใจเราแล้ว
- ให้เราพึงมีใจตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่อนางตัณหา พึงรู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่นเพราะว่าเราเอาใจเข้ายึดครองตัวตนในสิ่งนั้นๆ จึงเอาความสุขสำเร็จของตน เอาลมหายใจของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งนั้นๆ ดังนี้พึงละการเอาความสุขสำเร็จ-เอาลมหายใจของออกจากสิ่งนั้นๆ ด้วยเห็นว่า สุขที่ได้จากสิ่งอื่นอย่างอื่นไม่ยั่งยืน สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สุขอันยั่งยืน มันอิ่มไม่เป็น ได้แล้วก็ยังทะยานอยากโหยหาอีกไม่สิ้นสุด เมื่อลิ้มรสมันแล้วก็อยากให้มันคงอยู่ ไม่เสื่อมไป ไม่ต้องให้จางสูญสลายไป อยากให้อยู่กับตนตลอดไป ไม่ต้องการสิ่งที่ตนไม่ชอบ ที่ตนขัดใจ ยังความเสื่อมให้ตน วนเวียนไปไม่สิ้นสุด แต่ก็หาทำได้ไม่ เพราะทุกสิ่งอยู่เหนือการควบคุมของเรา อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ไม่ติดตามไปด้วย
- สุขแท้จริงอยู่ที่กายใจตน จะเกิดมีได้ด้วยความไม่เอาใจเข้ายึดครองตัวตนในสิ่งใด ถึงความไม่มีตัวตน ถึงความไม่มีใจครองเป็นสุข มันเบา เย็นใจ สิ่งเหล่านั้นที่เคยทำให้กายใจเราร้อนรุ่มสุมไฟก็มิอาจทำร้ายเราได้อีก

2. หากใจเรามีความกระสันอยาก กระหายใคร่ได้มาเสพย์มาครอบครอง ก็ให้รู้ว่าธิดามาร คือ นางราคะ เข้ามาครอบงำจิตใจเราแล้ว
- ให้เราพึงมีสติเป็นเบื้องหน้า พึงรู้ชัดว่ารสอารมณ์ทั้งปวง มันไม่ใช่ตัวตน สักแต่เพียงมีไว้ให้ระลึกรู้อไม่ได้มีไว้ให้ครอบครอง ติดเเสพย์ สักเป็นแต่ว่าธาตุ ๕ อ่อนแข็ง เอิบอาบ เกาะกุมกัน ซาบซ่าน เคลื่อนไหว พอง ตรึง หย่อน ร้อน เย็น ว่างเปล่า ช่องว่าง ให้รู้สึกรับรู้สัมผัสได้ ความเอาใจเข้ายึดครองตัวตน ติดใจใคร่เสพย์ร้อย ก็ทุกข์ร้อง ติดใจใคร่เสพย์ห้าสิบก็ทุกข์ห้าสิย ไม่ติดใจใคร่เสพย์เลยก็ไม่ทุกข์เลย ดังนี้แล้วพึงไม่ควรติดใจใคร่ในสิ่งนั้นๆ มันเป็นสักแต่ว่าธาตุ ไม่ใช่ของเรา ไมเป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เป็นของว่างเปล่า มีไว้แค่ให้ระลึกรู้ว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุต่างๆที่อิงอาศัยแค่ชั่วคราวแล้วก็ต้องสละคืน ไม่ได้มีไว้ให้ใจเข้ายึดครอง

3. หากเราเกิดมีใจยินร้าย คือ ขุ่นข้องขัดเคืองใจ ริษยา ก็ไม่หวั่นไหวต่อธิดามาร คือ นางอรตี มาครอบงำจิตใจเราแล้ว
- ให้เราพึงใช้น้ำเมตตา เมตาใคร เราก็เมตตาตนเองนี่แหละ เอาน้ำเมตตารดใจตนไม่ให้เร่าร้อน ขุ่นขัด สิ่งที่ข้องขัดล้วนเหนือการควบคุม ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใข่ตัวตนของเรา เป็นอนัตตา เมื่อไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของตนจะดิ้นคว้าไปก็มีแต่ทุกข์ ข้องแวะขุ่นขัดร้อยก็ทุกข์ร้อย ข้องแวะขุ่นขัดห้าสิบก็ทุกข์ห้าสิบ ไม่ข้องแวะขุ่นขัดเลยก็ไม่ทุกข์เลย หยั่งความสงบลงใจด้วยเอาน้ำเมตตารดใจตนเอง เมตตาตนเอง สงสารตนเองที่เร่าร้อนกับสิ่งไม่ใช่ตัวตน ทำกายใจให้ผ่อนคลาย ปล่อย ละ วาง สละคืน ถึงความเย็นใจ

ดังนี้..
- ความไม่ติดใจข้องแวะ คือ ไม่เอาใจเข้ายึดครอง ถอนใจออกจากฉันทะ ปฏิฆะ รตี ราคะ อรตี ตัณหา
- การไม่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับใคร ไม่เอาลมหายใจของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใด คือ การรู้ว่าสุขเกิดที่ใจ สุขภายนอกมันอิ่มไม่เป็น จะสุขใจได้ก็ด้วยความไม่มีใจครอง ้ข่าถึงความว่าง ความไม่มีตัวตน ความสละคืนตัวตนและอุปธิทั้งปวง



ชนะมารในภายนอก

คือ..ปัญหาต่างๆ ทั้งบุคคล ปัญหาแวดล้อมที่ถาโทมเข้ามาดั่งพญามารยิงห่าธนูใส่พระศาสดาฉันนั้น เแต่พระศาสดาก็ไม่หวั่นไหวด้วยพระปัญญาอันยิ่งรู้แจ้งแทงตลอด เราผู้ศึกษาอยู่ก็ควรเจริญปัญญาตามเพื่อพิชิตปัญหาต่างๆดังนี้คือ
1. รู้งาน
2. รู้เหตุ รู้ผล รู้กระทบ รู้สืบต่อ
3. รู้ตน
4. รู้ขอบเขต
5. รู้คน
6. รู้กาล กาลใดควรนิ่ง ควรอด ควรละ ควรปล่อย ควรวาง กาลใดควรพูด ควรทำ ควรแสดง (บางตนการปล่อยให้เขาพูด ทำ ไปจนอิ่ม เขาก็จะรู้จักรับฟัง / บางคนเตลิด ก็ต้องใช้ความรู้แจ้งชัดแทงตลอดตามจริงเข้าสงบระงับเขา / บางคนชอบแถไปเรื่อย เมื่อตนผิดชอบเปลี่ยนเรื่องพูดให้เผลตาม เราก็ต้องใช้ความรู้ชัดตามจริง และเจาะจงที่จุดมุ่งหมายไม่แปรผันนั้นสู้เขาเพื่อไม่ให้หลงประเด็นตาม ไม่หวั่นไหวกับการชักแม่น้ำที่เขานำมาพูดกลบเกลื่อน แต่เจ่ะประเด็นจี้ชุดที่ต้องการ)
7. รู้ว่าสิ่งใดทำแล้วมีประโยชน์ สิ่งใดทำแล้วไม่เกิดประโยชน์
8. รู้พระอริยะสัจ ๔
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 12, 2022, 09:29:52 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #432 เมื่อ: กันยายน 12, 2022, 02:26:57 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การไม่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น มีทางปฏบัติหลายระดับ เริ่มจากเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดดังนี้

1. อิงอามิส หาเครื่องล่อใจ กล่อมจิต

     ..คือ เอาใจไปจับยึดในสิ่งอื่น ไม่ให้ตนเอาใจไปผูกความสุขสำเร็จขึ้นไว้กับเขา เพื่อให้ใจเราไม่ดึงเอาเขามาตั้งไว้ในใจ ตัดเขาออกไปจากใจ ไม่เอาเขามาเป็นเครื่องอยู่ของใจ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวกับเพื่อน ออกกำลังกาย ออกไปดูฟ้า ดูน้ำแทนที่จะคำนึงถึงเขา

- หากเป็นกิจการงาน การเรียน ก็ให้เอาการเรียน หรือ กิจการงานเป็นหลัก เช่น
..หาความสนุกในการเรียน หรือกิจการงาน เอาชนะขีดจำกัดตนเองในการเรียน หรือกิจการงาน
..ตลอดจนเอาใจจับอยู่กับการเรียน หรือกิจการงาน รู้ว่าตนกำลังทำงานอะไร รู้กำลังทำสิ่งไหน ปัจจุบันกำลังทำอะไร แล้วต้องทำสิ่งใดต่อไป

2. เจริญในสัมปชัญญะ เอาใจน้อมเข้ามารู้กับหน้าที่และสิ่งที่ตนต้องทำในปัจจุบัน

     ..เมื่อยังเอาใจไปผูกไว้กับคนอื่นสิ่งอื่นอยู่ ชื่อว่ายังไม่พ้นจากการเอาใจไปผูกขึ้นไว้หาที่เกาะอยู่ ให้มีสติเป็นเบื้องหน้ารวมใจเข้ามาภายในเฉพาะตน ทำความรู้ตัวทั่วพร้อม เอาจิตอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับสิ่งที่มี อยู่กับกิจการงานที่ทำ รู้อยู่กับหน้าที่ของตนในงาน ในฐานะ ในสิ่งที่ต้องทำ ทำด้วยรู้หน้าที่ของตน ไม่ส่งจิตออกนอก "นี้เรียก..เจริญมหาสติปัฏฐาน คือ สัมปชัญญะบรรพ ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

3. สัมมาทิฏฐิ คือ รู้พระอริยะสัจ ๔

3.1) กำหนดรู้ทุกข์ ทุกข์ของเราคือะไร ทุกข์ของเราเป็นไฉนหนอ พิจารณาให้เห็นทุกข์จากการเอาสุขของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น
..ก็เมื่อเอาใจเราไปผูกขึ้นไว้แล้วมันเป็นอย่างไรเรา มันสุข หรือทุกข์ มันเร่าร้อน หรือเย็นใจ มันสบาย หรือทนอยู่ได้ยาก ก็ที่มันทุกข์เพราะอุปาทานในเขา การกระทำของเขา ผลตอบรับของเขา สิ่งที่เขาทำกับเรา หรือ ผลที่เราได้รับจากการกระทำทั้งปวงของเขา เพราะอุปาทานว่าสิ่งนี้เราควรได้ สิ่งนี้เราควรมี สิ่งนี้ควรเป็นของเรา และ สิ่งนั้นไม่ควรแก่เรา สิ่งนั้นไม่ควรเกิดมีกับเเรา สิ่งนั้นไม่ควรให้เราได้รับ..ใช่หรือไม่ (*อุปาทาน คือ การเอาเอาใจเข้ายึดครอง ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นๆ*) ทั้งที่แท้แล้วไม่ใช่ตัวตนบุคคลของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา อยู่เหนือการควบคุม ก็เมื่อมันเป็นทุกข์ ควรแล้วหรือที่เราจะอุปาทานเขาต่อไป เมื่อรู้ว่าทุกข์คืออุปาทานเขา หากเราไม่อุปาทานเขาเราก็จะไม่ทุกข์(นี่เราเห็นเป้าหมายแล้ว คือ เห็นตัวทุกข์ และเห็นสิ่งที่ต้องทำให้ถึงที่สุดแห่งมัน เห็นสิ่งที่เราจะต้องทำให้ถึงความจบสิ้นแห่งมันแล้ว นี่เรียกเห็นตัวทุกข์)
..ก็แล้วเราจะละอุปาทานเขาเช่นไร มันต้องมีเงื่อนต้นแห่งอุปาทานนั้นๆ ถ้าจะให้ขาดไม่ใช่ตัดกิ่งใบ ต้องตัดรากถอนโคนให้สิ้น ดังนี้แล้วเราจึงควรเฟ้นหาเหตุ หาเงื่อนต้นแห่งทุกข์ คือ อุปาทานนั้นๆของเรา

3.2) เฟ้นหาเหตุแห่งทุกข์นั้น หากเรายังเข้าไม่ถึงญาณทัสนะเพียงใด คือ ยังสันตะติไม่ขาด ยังไม่เห็นของจริง ไม่ถึงสังขารุเปกขา ก็ให้เรามีสติเป็นเบื้องหน้า ตั้งจิตให้มั่น แต่ปล่อยกายใจให้ผ่อนคลาย น้อมเข้ามาในภายใน มีใจสงบอยู่ดูความเคลื่อนไหวของจิต น้อมใจไปพิจารณาย้อนทวนกระแสจิตกลับว่า..

..ทำไมหนอเราถึงเอาความสุขไปผูกขึ้นไว้กับเขา เราต้องการอะไร ติดใจข้องแวะใจสิ่งใด ยินดีอย่างไร ยินร้ายอย่างไร อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ของเรา

..เหตุแห่งความยินดียินร้าย ติดใจข้องแวะต่อเขานั้นคืออะไร เมื่อพิจารณาแล้วจะรู้ว่าเกิดขึ้นเพียงเพราะเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้น การกระทำ ผลตอบกลับ ผลสะท้อนกลับ จากสิ่งเหล่านั้น-บุคคลเหล่านั้นที่มีต่อเรา ให้เราได้รับ หรือ ผลประโยชน์ที่เราได้รับ ผลได้ ผลเสีย ด้วยปริมาณที่กระทบ ที่ได้รับตอบกลับเท่านั้นเอง "นี่เองที่ทำให้เราเป็นคนเห็นแก่ตัว" เมื่อรู้ดังนี้แล้วจะทำให้เรารู้ทันทีว่า..เหตุนั้นเพราะกิเลสตัณหานั่นเอง เพราะกิเลสตัณหาจึงมีปริมาณ จึงมีมาก-น้อย จึงมีได้-มีเสีย

..แล้วกิเลสตัวไหนที่ทำให้เราติดใจข้องแวะยินดี ยินร้ายต่อการกระทำของเขา หรือ สิ่งที่มากระทบ หรือ ปริมาณอย่างนั้น ตัวรัก ตัวโลภ ตัวโกรธ หรือตัวหลง กล่าวโดยย่อ คือ ใจไม่เป็นกลาง เอนเอียงเพราะรัก ชัง กลัว หลงไม่รู้แจ้งเห็นจริง (รวมไปถึงไม่รู้กรรม ไม่รู้ผลสืบ ไม่รู้พระอริสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นกิเลสตัวไหน
(สังเกตุดูจากคนที่เรารัก ที่เราชัง ที่เรากลัว ที่เราไม่รู้ตามจริง เรามีผลตอบกลับจากการกระทำเขาอย่างไร แม้ในการกระทำเดียวกัน หรือมากกว่ากัน เราแบ่งแยกด้วย อคติ ๔ อย่างนี้ เราจึงเป็นผู้เห็นแก่ตัว เราเป็นผู้เห็นแก่ตัวก็ด้วย ไฟจากราคะ ไฟจากโทสะ ไฟจากโมหะนั่นเอง)

..เมื่อรู้ว่ากิเลสตัวไหนที่ทำให้ใจเรายินดี ยินร้าย แล้วเอาความสุขสำเร็จและลมหายใจของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เราก็จะเห็นกรรม เราจะรู้ทันทีว่า..
..เพราะมีมโนกรรมอย่างไร ด้วยใจอ่อนไหวไหลตามอารมณ์ความรู้สึกอันเกิดแต่กระทบสัมผัสแบบไหนจึงทนอยู่ได้ยาก ทำให้ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ แผดเผากายใจตน ..เมื่อพิจารณาแล้วจะรู้ว่าใจไม่มีความรู้ชัด เพราะใจไม่มีกำลัง เพราะใจไม่มีพลัง ใจขาดพลัง ไม่มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่รู้ตัว แยะแยะไม่ได้ จึงแล่นหาธัมมารมณ์เป็นเครื่องอยู่ จึงอ่อนไหวไหลตามกิเลสได้ง่าย

- เหตุที่ใจเราขาดความรู้ ขาดกำลัง แยกแยะไม่ได้ เป็นเพราะเหตุใด เป็นเพราะอะไรหนอ ทำไมเราไม่มีพลังใจ เมื่อพิจารณาโดยแยบคายแล้วจะรู้ว่า..

..เพราะใจเราขาดกำลังปัญญา จึงไม่รู้ว่านี้เป็นทุกข์ นี่เป็นโทษ นี้เป็นเหตุ นี้เป็นความพ้นทุกข์ นี่เป็นทางพ้นทุกข์ จึงปล่อยใจให้อ่อนไหวไหลพล่านไปทั่ว ไม่สามารถวิเคราะห์ แยกแยะพิจารณา คุณ และโทษ สิ่งที่มากระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อ่อนไหวไปตามความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัส จิตรู้สิ่งใดก็อ่อนไหวตาม

..ที่ใจเราขาดปัญญา เป็นเพราะอะไรหนอ มีอะไรเป็นเหตุ เมื่อพิจารณาดีแล้วจะเห็นว่า..ทุกครั้งที่เราทำกิจการงานใดด้วยใจที่ตั้งมั่น จดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้นเป็นหนึ่งเดียว ไม่สัดส่าย ไม่ส่งจิตออกนอก คือ ใจไม่ฟุ้งซ่านคิดไปเรื่องอื่นไปทั่ว สืบต่อความคิดจนใจไม่อยู่กับกิจการงานที่ทำ ใจติดอยู่กับสมมติความคิดที่เป็นอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ที่รักที่ใคร่บ้าง ที่เกลียดที่ชังบ้าง ที่ไม่รู้แจ้งเห็นจริงบ้าง) ทำให้เราจดจำได้ สามารถทำความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์พิจารณาอย่างถี่ถ้วนได้ จนเข้าถึงใจ ความรู้ลงใจ แจ้งชัดใจได้ ก็ที่เราเรียกว่าใจตั้งมั่นนี้..มันก็คืออาการของสมาธิ ดังนั้นเหตุแห่งปัญญา ก็คือ สมาธิ ดังนี้เหตุที่ใจขาดปัญญา เพราะไม่มีกำลังสมาธิ แล้วสมาธิสำคัญอย่างไรต่อปัญญา
..ในทางธรรม เพราะสัมมาสมาธิทำให้ใจตั้งมั่นรู้อยู่ร่วมกับสติสัมปชัญญะ ไม่คลอนแคลนหวั่นไหว ใจมีกำลังตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอิงอาศัยเอาสิ่งใดมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต จิตแยกจากขันธ์ แยกจากธัมมารมณ์ เป็นญาณทัสนะเพื่อน้อมใจไปในสังขารุเปกขา(สังขารุเปกขาคือ ญาณ ปัญญา มีสังขาร และอุเบกขา เป็นความวางเฉยต่อสังขาร)
- สังขารุเปกขาในสมถะ คือ วางเฉยต่อสังขาร มีใจคลายออกจากสังขารเพื่อเลื่อนฌาณ เช่น วางเฉยนิวรณ์เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน วางเฉยต่อวิตกวาจารเพื่อเข้าทุติยฌาณ วางเฉยปิติเพื่อเข้าตติยฌาณ วางเฉยสุขและทุกข์เพื่อเข้าจตุถฌาณ วางเฉนรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตสัญญาเพื่อเข้าอรูปฌาณอากาสานัญจายตนะฌาณ ไปตลอดถึงฌาณ ๘ เนวสัญญานาสัญยตนะ สมาบัติ
- สังขารุเปกขาในวิปัสสนา คือ มรรค ๘ สามัคคีกันรวมเป็นหนึ่งเดียว แทงทะลุขึ้น มีธรรมเอกผุดขึ้นเข้าสู่ญาณทัสสนะในสังขารุเปกขา รู้เห็นตามจริงในนามรูป เมื่อรู้เห็นตามจริงจนกระจ่างใจ เกิดความหน่าย คลายกำหนัด จิตเข้าถึงความว่าง ความไม่มี ความสละคืน ปัญญาตัด สำรอกออกซึ่งอุปธิทั้งปวง ปุถุชนเข้าสังขารุเปกขาเพื่อเข้าถึงโสดาปัติมรรคขึ้นไป ส่วนพระเสขะเข้าสังขารุเปกขาเพื่อเข้าถึงมรรคทื่สูงขึ้น จนบรรลุอรหันต์ผล
..ในทางโลก สมาธิช่วยให้ความฟุ้งซ่านหายไป ใจสงบเกิดความเบาสบายผ่อนคลาย ข้อสำคัญคือทำให้จิตเราได้พัก จิตของเราจะทำงานตลอดเวลาเข้าไปรรับรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลาจนไม่ได้พักเลย ทำให้ใจไม่มีกำลังอ่อนไหว ฟุ้งซ่าน ขาดการแยกแยะยั้งคิดพิจารณาโดยแยบคายได้ง่าย สมาธิยังช่วยทำให้ใจเราจัดระเบียบความรู้ ความคิด ความจำ อย่างเป็นระบบบ จัดเก็บเป็นที่เป็นทาง เรียกใช้ความรู้ ความคิด ความจำได้ง่าย ถูกที่ที่จัดเก็บไว้ เรียงลำดับอย่างเป็นระบบ เป็นที่เป็นทางมากขึ้น มีความรู้ผุดขึ้นโดยไร้กรอบคววามคิด

..เหตุที่ใจเราขาดกำลังสมาธิ เป็นเพราะอะไรหนอ เพราะจิตไม่ตั้งมั่น ไม่แน่วแน่ ไม่มีกำลัง จิตไม่มีกำลังเพราะเราส่งจิตออกนอกตลอดเวลา ไม่รวมเข้าไว้ในภายใน ไหลพล่านไปตามกระแสทำเจตนามโนกรรมตามกิเลสที่รายล้อมจิต เพราะไม่รู้เห็นว่ามันสักแต่ว่าเป็นธัมมารมณ์ที่เกิดขึ้นให้ใจรู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ ที่ไม่รู้จักธัมมารมณ์และไหวเสพย์เพราะขาดกำลังสติ ขาดการภาวนาอบรมจิต จึงแยกแยะไม่ได้

..เหตุที่ใจเราขาดกำลังสติ ใจไม่มีความรู้ตัวทั่วพร้อมตั้งมั่นอยู่ เป็นเพราะอะไรหนอ ด้วยเพราะใจมีอกุศลทับถมไว้มาก จึงมีความคิดแล่นไปในอคติเอนเอียงอยู่ตลอดเวลา จิตจึงมีอกุศลเป็นใหญ่กว่าความรู้ตัว อกุศลมีมากเพราะใจขาดความเอื้อเฟื้อ ยังความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่ และขาดการอบรมจิต

..เหตุที่ใจเราขาดความเอื้อเฟื้อ ยังความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีใจเศร้าหมองอยู่ เป็นเพราะอะไรหนอ เพราะขาดกุศลธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน คือ ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ และการภาวนาอบรมจิต

..ก็แล้วเหตุที่บุคคลขาดทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ และการภาวนาอบรมจิต เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า นั่นเพราะไม่รู้ในบาป บุญ คุณ โทษนั่นเอง

..เหตุที่บุคคลไม่รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า นั่นเพราะไม่รู้ในกรรม

..เหตุที่บุคคลไม่รู้ในกรรม เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เพราะไม่รู้ใน ศรัทธา ๔ ในข้อที่ว่าด้วยเรื่องกรรม ผลของกรรม คือ เรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ให้ผล เป็นกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นผู้อาศัย เราจะทำกรรมใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท คือว่าจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป

..เหตุที่บุคคลไม่รู้จัก ศรัทธา ๔ ไม่รู้จักกรรม ไม่เข้าใจ ไม่ใส่ใจกรรม เป็นเพราะอะไรหนอ ด้วยเพราะไม่รู้ ไม่ห็นตามจริง ไม่ยอมรับ ไม่เข้าถึงใน โลกธรรม ๘ (อนิจจัง)

..เหตุที่บุคคลไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ ในโลกธรรม ๘ (อนิจจัง) เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เพราะความมีใจครอง และการเอาใจเข้ายึดครอง ยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน)

..เหตุที่บุคคลเอาใจเจ้ายึดครอง เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เพราะความเห็นว่ามีตัวตน เป็นตัวตน เป็นของๆตน ความยึดถือตัวถือตน ความเป็นตัวเป็นตน (อัตตา)

..เหตุที่มีอัตตา ตัวตน เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เพราะมีอวิชชา ความไม่รู้เห็นตามจริง ไม่แทงตลอด ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ไม่รู้ในอริยะสัจ ๔

..เหตุที่มีอวิชชา ไม่รู้ในพระอริยะสัจ ๔ เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เพราะไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังพระสัทธรรม คือ ธรรมแท้

..เหตุที่ไม่ได้ฟังพระสัทธรรม คือ ธรรมแท้ เป็นเพราะอะไรหนอ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เพราะไม่มีโอกาสได้พบเจอสัปปบุรุษ

3.3) เมื่อรู้ว่าเหตุแห่งทุกข์มันมีอย่างนี้ๆแล้ว เราย่อมรู้ว่าสิ่งใดที่ควรละ เราจะละเหตุแห่งทุกข์นั้นอย่างไร จะทำไฉน เราจึงจำเป็นต้องทำความดับทุกข์ให้แจ้ง เพื่อให้รู้ว่าความสิ้นไปแห่งทุกข์นี้เป็นไฉน และทางอันที่เราควรทำเพื่อละเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นอย่างไร โดยพิจารณาว่า..
..สิ่งใดมีเกิดขึ้น แล้วทำให้สิ่งใดดับไป
..สิ่งใดดับไป แล้วทำให้สิ่งใดมีเกิดขึ้นได้
..สิ่งใดมีเกิดขึ้น จึงทำให้สิ่งนั้นมีตาม
..สิ่งใดดับไม่มี จึงทำให้สิ่งนั้นดับไม่มีตาม
..ในตอนนี้ ปัจจุบันนี้ เราขาดสิ่งใด เรามีสิ่งใด สิ่งใดควรคงไว้ สิ่งใดควรเพิ่มเติมให้มากขึ้น
..เมื่อกำหนดพิจารณารู้จนแจ้งใจแล้ว คือ ได้รู้เห็นตามจริงกระจ่างใจแล้ว สิ่งรู้แจ้งเห็นจริงนั้นคือทางดับทุกข์ของเรา บุคคลทั้งหลาย

3.4) เมื่อรู้ทางดับทุกข์ แล้วก็เจริญในทางนั้นให้มาก
- แล้วสิ่งใดที่จะช่วยให้ทางดับทุกข์ของเรานั้นถูกตรง และเราสามารถทำให้เราเข้าถึงความดับทุกข์นั้นได้จริง เราก็ต้องทำด้วยความเต็มใจยินดี มีความเพียรด้วยสติ มีใจตั้งมั่นไม่วอกแวก ท้อแท้เหนื่อยหน่าย คอยใช้ปัญญาสอดส่องดูแล คือ มีอิทธิบาท ๔ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็จะถึงความดับทุกจบ์ที่ถูกต้องได้จริง

-----------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2022, 11:38:44 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #433 เมื่อ: กันยายน 15, 2022, 09:42:59 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
- ดังนี้เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา เมื่อทรงจะแสดงพระสัทธรรม

..จึงทรงแสดงผลก่อนเหตุ เพื่อให้บุคคลสัมผัสได้ รู้เห็นได้ เข้าใจได้ง่าย คือทุกข์ และนิโรธ ให้บุคคลมีใจน้อมไปหาเหตุได้ง่าย คือ สมุทัย และมรรค

..จึงทรงแสดงอนิจจัง คู่กับ อนัตตา

..จึงทรงแสดงโลกธรรม ๘ คู่กับ กรรม และผลสืบต่อของกรรม

..จึงทรงแสดงกรรม และผลสืบต่อของกรรม คู่กับ บาป บุญ คุณ โทษ ให้รู้จักกำหนดรู้ทุกข์

..จึงทรงแสดงบาป บุญ คุณ โทษ คู่กับ ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ภาวนา พิจารณารู้เหตุแห่งทุกข์ เห็นความดับทุกข์ และทางพ้นทุกข์ เพื่อให้เข้าถึงพระอริยะสัจ๔
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #434 เมื่อ: กันยายน 17, 2022, 12:41:31 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
 [๑๒๐] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ฯ
             ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเป็นไป
ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจาก
สังขารนิมิต ฯลฯ จากกรรมเครื่องประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความ
บังเกิด จากความอุบัติ จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศก
จากความรำพัน ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ
ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
             [๑๒๑] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
แลวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปทุกข์ สังขารนิมิตเป็นทุกข์
ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ปัญญา
เครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความ
เกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็น
สังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
             [๑๒๒] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง
และวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความ
คับแค้นใจมีอามิส ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ ความ
คับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
             [๑๒๓] ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ
เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขา
ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็น
สังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติ
เป็นสังขาร ชาติเป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร
ความโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร
ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม
๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ
             [๑๒๔] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๘ ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิต
ไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ การ
น้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ การน้อมจิต
ไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ ฯ
             [๑๒๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วย
อาการ ๒ เป็นไฉน ฯ
             ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ การ
น้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ นี้ ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓
เป็นไฉน ฯ
             พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อม
มีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ
             การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย
อาการ ๓ เป็นไฉน ฯ
             ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ พิจารณาแล้วเข้าผล-
*สมาบัติ ๑ วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ
อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ นี้ ฯ
             [๑๒๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็น
อย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา
มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป แม้พระเสขะยินดีสังขารุเปกขา
ก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนามีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัย
แห่งปฏิสนธิต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ
เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้ ฯ
             [๑๒๗] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์
และเป็นอนัตตา แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็น
สังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา การน้อมจิต
ไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็น
อย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้ ฯ
             [๑๒๘] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน
ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของ
พระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและ
อัพยากฤตอย่างนี้ ฯ
             [๑๒๙] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญ
วิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏ
ดีในการนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจาก
ราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้ ฯ
             [๑๓๐] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้
พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจาก
ราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขาของปุถุชนของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกัน
โดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๑๓๑] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อต้องการ
ได้โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง
ขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณา
สังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง
ได้แล้ว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่าน
ผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละ
กิเลสไม่ได้อย่างนี้ ฯ
             [๑๓๒] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและของท่านผู้
ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
             พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา
แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา
แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหาร-
*สมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขาของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพ
แห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้ ฯ
             [๑๓๓] สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา
เท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
             สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
             สังขารุเปกขา ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้
ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์
เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้
อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา
เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
*สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขา ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วย
อำนาจสมถะ ฯ
             [๑๓๔] สังขารุเปกขา ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
             ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต
กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
... เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อ
ต้องการได้อนาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อนาคามิผล
สมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตมัค เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ ... เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑
... เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ สังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา
ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก
ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็น
สังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
วิปัสสนา ฯ
             [๑๓๕] สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤต
เท่าไร สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ
                          ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็นโคจรภูมิของสมาธิ-
                          จิต ๘ เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒ เป็นโคจรภูมิของพระ-
                          *เสขะ ๓ เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓
                          เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘ เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐
                          สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้
                          พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน
                          สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๔๓๔-๑๕๘๓ หน้าที่ ๕๙-๖๕.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1434&Z=1583&pagebreak=0
             ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=22
             ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=120
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[120-135] http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=120&items=16
             อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6330
             The Pali Tipitaka in Roman :-
[120-135] http://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=120&items=16
             The Pali Atthakatha in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6330
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
http://84000.org/tipitaka/read/?index_31
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 12, 2024, 05:40:34 AM