อธิบาย
1. กรรม คือ การกระทำต่างๆทางกาย วาจา ใจ, ส่วนวิบากกรรม คือ ผลของการกระที่ตนได้รับจากการกระทำนั้นๆ
..ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาเมื่อทรงตรัสรู้ ทำความรู้แจ้ง จึงได้ทรงเห็นแจ้งแทงตลอดว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นแดนเกิด เพราะผลของกรรมที่ทำมานั้นแลทำให้เกิดมา "ทั้งมี และ ไม่มี หรือ กลางๆ" ซึ่ง อายุ วรรณะ สุขะ พละ ด้วยประการดังนี้
- บางคนมีโภคทรัพย์ สมบัติ ฐานะ สภาพแวดล้อมที่ดี มิตร สหาย ครอบครัว - บางคนไม่โภคทรัพย์ สมบัติ ฐานะ สภาพแวดล้อมที่ดี มิตร สหาย ครอบครัว
- บางคนมีโอกาส - บางคนด้อยหรือขาดโอกาสที่ดีๆ
- บางคนพบพระพุทธศาสนา - บางคนไม่มีโอกาสพบพระพุทาธศาสนาถึงแม้จะเคยได้ยินก็ตาม (ดูฝรั่งที่มาบวช กับฝรั่งที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา หรือรู้แต่ไม่สนใจ)
- บางคนมีความเชื่อ วิถีการสอน วิธีคิด แนวทาง มุมมองความเห็น คิด พูด ทำ ดำรงชีพโดยชอบธรรม - บางคนเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด ดำรงชีพผิดดำรงชีพอยู่ด้วยความเร่าร้อน เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ชอบยุ่งเกี่ยวพรากเอาของคืนอื่น รังแก ข่มเหง ทำร้ายคนอื่นเป็นต้น
- บางคนมีความเอื้อเฟื้อ - บางคนตระหนี่จนตายเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์
- บางคนมีสุขภาพดี ไม่มีโรค ไม่เจ็บป่วย - บางคนเจ็บป่วยตลอดเวลา เป็นโรคร้าย
- บางคนร่างกายงดงามหมดจรดครบ 32 ประการ - บางคนขี้เหร่ไม่งาม และพิการ
- บางคนทำอะไรก็ดี ถูกหมด ไปเจริญ มีสมบัติไหลเข้ามาให้ได้ใช้จ่ายและคงไว้อยู่ไม่มีหมด - บางคนทำดีให้ตายก็ผิด ไม่เจริญ ไม่ถูกกาล ทำคุณไม่ขึ้น มีแต่ความฉิบหาย มีสมบัติสิ่งใดก็ต้องสูญไปให้หมด
- บางคนมีความฉลาด บางคนโง่ด้อยปัญญาความรู้
- บางคนจิตใจดีงาม เย็นใจ ไม่เร่าร้อน มีจิตผ่องใส มีใจเแื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน - บางคนจิตใจหยาบช้า ต่ำทราม จิตใจหมดมุ่น ติดใคร่ อยากได้ ไม่รู้จักพอ ตระหนี่หวงแหน มีชีวิตอยู่ด้วยความเร่าร้อนคอยเบียดเบียนคนอื่น
..เราทุกคนได้เกิดเป็นคนนี้ยาก เพราะต้องมีศีลมาก่อนจึงเกิดเป็นคนได้ การเกิดเป็นคนว่ายากแล้ว การเกิดมาพบเจอได้ฟังเรียนรู้พระสัทธรรม ธรรมแท้ในพระพุทธศาสนานี้ยากยิ่งกว่า ดังนั้นที่เราต่างคนต่างก็มีต่างๆกันไป เพราะสัตว์โลกคือเราทุกคนนี้มีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นที่พึ่งพาอาศัย เราทำกรรมได้ก็ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น
- เรามีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เว้นจากความเบียดเบียน เกิดชาติใดเราก็มี
- เรามีจิตหมกมุ่นมัวหมอง เศร้าหมอง หวนแหนตระหนี่ เบียดเบียนอยากได้ ผูกใจข้องเกี่ยว หมายพราก ฝั่กใฝ่หมายใจเอาของเขามาครอบครอง เบียดเบียน รังแก ทำร้ายคนอื่น ้กิดมาชาติใดก็ถึงความไม่มี หรือมีมาก็ต้องสูญไป
- กรรมใดมีมากกรรมนั้นย่อมส่งผลก่อน กรรมใดมีน้อยย่อมส่งผลน้อย ไม่มีเลยก็ไม่ส่งผล
..ดังนั้นพระพุทธศาสดาจึงทรงสอนเน้นให้รู้จักกรรมแท้ๆ วิบากกรรม กรรมที่ส่งผลให้ได้รับ หากเราทำกรรมดีมีมากกว่ากรรมขั่วกรรมดีก็ส่งผลเต็ม จนกรรมชั่วแทบจะส่งผลไม่ได้ หรือไม่มีผลกับเราเลย(เช่นสิ่งที่สูญเสียเพื่อชดใช้กรรมนั้นไปอาจเป็นเพียงเล็กน้อยไม่มีค่ามากสำหรับเรา เป็นต้น) ด้วยเหตุอย่างนี้ๆพระตถาคตเจ้านั้นจึงทรงสั่งสอนให้ทำดี ไม่ประมาท เพื่อสะสมบุญบารมีเป็นกำไรชีวิตให้ติดตามเราไปทุกภพชาติ (ตรงนี้คงตอบคำถามในใจเรื่องกรรมเก่าได้บ้างนะครับ ทั้งประเทศ ศาสนา ความเชื่อ ลัทธิ ที่สุดก็ไม่พ้นกรรม)
2. ทำปัจจุบันติดข้องในสมมติความคิดแห่งอดีตที่ล่วงเลยมาแล้ว สมมติความคิดแห่งอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ขจัดความเศร้าหมองใจด้วย..เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ คือ
ก. ความพอใจยินดีสำราญใจที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
ข. ความไม่พอใจยินดีขุ่นข้องใจที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
ค. ความสงบด้วยวางใจไว้กลางๆไม่ติดใจข้องแวะทั้งความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินร้ายที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
- ทมะ(ความข่มใจจากกิเลส มีความคิดโดยชอบเปรียบเทียบคุณประโยชน์ ระหว่างความเสื่อมสูญที่มีเทียบกับสิ่งที่ยังคงไว้ได้อยู่ หากเราจะทำสิ่งใดลงไป หรือ พิจารณาต่อเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นต้น)
- อุปสมะ(ความสงบใจจากกิเลส ความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกด้วยเห็นว่าหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ความไม่ผูกเวร ไม่ผูกโกรธแค้นทั้งตนเองและผู้อื่น ยังจิตใจให้ผ่องใสเกิดขึ้น เย็นสงบกายสบายใจไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก เข้าสู่อุเบกขาจิตที่วางเฉยต่อสังขารทั้งปวง)
- เมื่อสงบ ก็ไม่ฟุ้งซ่าน จิตได้พัก ทำงานเป็นระบบ ยังปัญญาให้เกิดขึ้น ฉลาดเข้าใจเข้าถึงทั้งความรู้เห็นตามจริงใจวิถีทางโลก และ วิถีทางธรรม