เมษายน 20, 2024, 12:17:46 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กัลยาณมิตร  (อ่าน 6706 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 08:17:12 AM »

Permalink: กัลยาณมิตร
การพิจาณาว่าล่วงศีลหรือไม่ล่วงอยู่ที่การครบองค์ ตัวอย่างศีลข้อที่ ๓

มีองค์ดังนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

  กาเมสุมิจฉาจารนั้น  มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง   คือ

          เป็นบุคคลต้องห้าม ๑   

          จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น ๑

          การประกอบการเสพ ๑

          การยังมรรคให้ดำเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ ๑ 


พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ -หน้าที่ 291
 
         ๑.  อคมนียวัตถุ                          (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)

         ๒.  ตสมึ  เสวนจิตตํ                    (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)

         ๓.  เสวนปฺปโยโค                       (พยายามเสพ)

         ๔.  มคฺเคน  มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึงมรรค)
        พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289
             
                                     ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร

                            ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า   กาเมสุมิจฉาจาร  ต่อไป

              คำว่า   กาเมสุ   ได้แก่การเสพเมถุน.     การประพฤติลามกอันบัณฑิต

ติเตียนโดยส่วนเดียว    ชื่อว่า    มิจฉาจาร.         แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ   ได้แก่

เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง  ที่เป็นไปทางกายทวารโดยประ

สงค์อสัทธรรม  ชื่อว่า  กาเมสุมิจฉาจาร.
 

                                             อคมนียฐาน 


 ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น    มีหญิง  ๒๐ จำพวก ได้แก่หญิงที่มารดารักษา

 เป็นต้น   ๑๐ จำพวกแรก  คือ

                ๑.  หญิงที่มารดารักษา

                ๒.  หญิงที่บิดารักษา

                ๓.  หญิงที่มารดาบิดารักษา

                ๔.  หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา

                ๕ . หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา

                ๖.  หญิงที่ญาติรักษา

               ๗.  หญิงที่ตระกูลรักษา

               ๘.  หญิงที่มีธรรมรักษา

               ๙.  หญิงที่รับหมั้นแล้ว

              ๑๐. หญิงที่กฎหมายคุ้มครอง

         และหญิงที่เป็นภรรยามีการซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้  คือ

              ๑.  ภรรยาที่ซื้อไถ่มาด้วยทรัพย์

              ๒.  ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ

              ๓.  ภรรยาที่อยู่ด้วยโภคะ

              ๔.  ภรรยาที่อยู่ด้วยผ้า

              ๕.  ภรรยาที่ทำพิธีรดน้ำ  (จุ่มน้ำ)

              ๖.  ภรรยาที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ.

              ๗.  ภรรยาที่เป็นทาสีในบ้าน

              ๘.  ภรรยาที่จ้างมาทำงาน

              ๙.  ภรรยาที่เป็นเชลย

              ๑๐.  ภรรยาที่อยู่ด้วยกันครู่หนึ่ง

                 หญิง  ๒๐ พวกนี้  ชื่อว่า  อคมนียฐาน  (คือฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)

ก็บรรดาหญิงทั้งหลาย   หญิง ๑๒  จำพวก ที่บุรุษไม่ควรล่วงเกิน คือ  หญิงที่รับ

หมั้นและกฎหมายคุ้มครองแล้วรวม ๒ จำพวก และหญิงที่เป็นภรรยา ๑๐ จำพวก

มีหญิงที่เป็นภรรยาไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น  นี้  ชื่อว่า  อคมนียฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

         [๒๐๑]    ดูก่อนคฤหบดีบุตร   ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง    อันสามีพึง

บำรุงด้วยสถาน ๕  คือ  ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑   ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑  ด้วย

ไม่ประพฤตินอกใจ ๑  ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑  ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑.

         ดูก่อนคฤหบดีบุตร      ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง     อันสามีบำรุงด้วย

สถาน ๕  เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕  คือ  จัดการงานดี ๑

สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี ๑   ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑   รักษาทรัพย์ที่

สามีหามาให้ ๑   ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑.
การศึกษา "พระอภิธรรม" โดยละเอียด

เป็นปัจจัยให้ "เกิดความเข้าใจ" ในสภาพของ "เวทนาเจตสิก"

ซึ่งเกิดกับจิต ได้อย่างถูกต้อง.


มิฉะนั้น ก็จะพอใจ หลง-ติดใน โสมนัส-เวทนา

หรือ สุข-เวทนา   หรือ อุเบกขา-เวทนา

โดย "ไม่รู้" ว่า

เวทนาขณะใด.....เป็น กุศล

เวทนาขณะใด...เป็น อกุศล

เวทนาขณะใด...เป็น วิบาก

 เวทนาขณะใด....เป็น กิริยา


.


ใน อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

สนิมิตต วรรคที่ ๓  ข้อ ๓๒๘

มีข้อความว่า


"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ที่เป็นบาป-อกุศล  มีเวทนา จึงเกิดขึ้น  ไม่มีเวทนา ก็ไม่เกิดขึ้น

เพราะ ละ-เวทนา  นั้นเสีย   ธรรม ที่เป็นบาป-อกุศล เหล่านี้   จึงไม่มี

ด้วยประการดังนี้ ฯ"


แสดงว่า  "เวทนาเจตสิก" ซึ่งหมายถึง สภาพที่รู้สึก หรือ ความรู้สึก

เป็นที่ตั้งแห่ง "ความยึดมั่น" อย่างเหนียวแน่น.!


ฉะนั้น เมื่อ ไม่รู้ "ลักษณะของเวทนา" ตามความเป็นจริง

ก็ไม่สามารถ "ละ" ความรู้สึก ว่า "เป็นเรา" ได้.


การรู้ ลักษณะของ เวทนา-เจตสิก นั้น

เกื้อกูลให้ "สติ" เริ่ม ระลึก รู้ ลักษณะของเวทนา ได้.


มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะ ระลึกได้เลย ว่า  ในวันหนึ่ง ๆ นั้น มี เวทนาเจตสิก

เช่นเดียวกับที่ ในวันหนึ่ง ๆ นั้น ก็มีสภาพธรรมที่ปรากฏ ทางตา  ทางหู   

ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย และ ทางใจ เพราะ จิตเกิดขึ้น-รู้-สภาพธรรมนั้น ๆ


แต่ลองคิดดู ว่า


ถ้า เห็น แล้ว ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย...ก็ ไม่เดือดร้อน.?


ถ้า ได้ยิน แล้วไม่รู้สึกอะไรเลย...........ก็ ไม่เดือดร้อน.?


เมื่อได้กลิ่น  ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ แล้วไม่รู้สึกอะไรเลย...ก็ไม่เดือดร้อน.?


เมื่อไม่เดือดร้อน....ก็ย่อมไม่มีบาป-อกุศลธรรม ใด ๆ ทั้งสิ้น.?


แต่  เมื่อมี "ความรู้สึก" เกิดขึ้น จึงติด และ ยึดมั่นในความรู้สึก

และ อยากได้ สิ่งที่ทำให้รู้สึกดีใจ  เป็นสุข.


ซึ่ง ความติด  ยึดมั่น  และ ความอยากได้สิ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นสุข นี้เอง

เป็นปัจจัยให้อกุศลธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นบ่อย ๆ เนือง ๆ  โดยไม่รู้ตัว.


ธรรมทั้งหลาย เป็น อนัตตา

ไม่มีใครสามารถยับยั้ง ไม่ให้ เวทนาเจตสิก เกิดขึ้น ได้

ไม่ว่า จิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์ ขณะใด  ขณะนั้น ก็ต้องมีเวทนาเจตสิก เกิดขึ้น

และ "รู้สึก-ในอารมณ์-ขณะนั้น" ด้วยทุกครั้ง.!


ขณะนี้.!

เวทนา-เจตสิก ย่อมเป็นเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง

คือ  อุเบกขาเวทนา  สุขเวทนา  ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา  โทมนัสเวทนา.


การศึกษาพระธรรม

ไม่ใช่เพียงเพื่อให้รู้จำนวน หรือ รู้ชื่อ

แต่ เพื่อให้ รู้ลักษณะของความรู้สึก ที่กำลังมี ในขณะนี้.


แม้ ความรู้สึกนั้น มีจริง...เกิดขึ้น  แต่ ก็ดับไปแล้ว.!


ฉะนั้น  เมื่อไม่รู้  "ลักษณะที่แท้จริงของความรู้สึก"

ก็ย่อม "ยึดถือความรู้สึก" ว่า  เป็นเราซึ่งเป็นสุข   เป็นเราซึ่งเป็นทุกข์

เป็นเราที่ดีใจ  หรือเสียใจ  หรือเฉย ๆ


ฉะนั้น ตราบใด ที่ "สติ" ยังไม่เกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของความรู้สึก

ย่อมไม่มีทางที่จะ "ละคลาย" การยึดถือ สภาพธรรม ว่า เป็นสัตว์  บุคคล  ตัวตน.


เพราะว่า ทุกคน ยึดมั่น-ในความรู้สึก ว่า เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิต.!


ทุกคน ต้องการความรู้สึก ที่เป็นสุข  ไม่มีใครต้องการ ความรู้สึกที่เป็นทุกข์

ฉะนั้น  ไม่ว่าจะมีทางใด ที่ทำให้เกิดสุขเวทนา หรือ โสมนัสเวทนา

ก็ย่อมจะพยายาม-ขวนขวาย-ให้เกิดความรู้สึกนั้น

โดยที่ไม่รู้ ว่า ขณะนั้น....เป็นการติด

เป็นความพอใจ  ยึดมั่น-ในความรู้สึก 

ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป.


เมื่อ ความรู้สึก เป็นสิ่งที่สำคัญ...ที่ทุกคนยึดถือ.!


พระผู้มีพระภาคฯ  จึงทรงแสดง เวทนาเจตสิก เป็น เวทนา-ขันธ์

เป็นขันธ์หนึ่ง ใน ขันธ์ทั้ง ๕

เพราะว่า เวทนาเจตสิก หรือ ความรู้สึก นั้น

เป็นสภาพธรรมที่สำคัญมากชนิดหนึ่ง

ซึ่ง เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งหลาย

ว่า เป็น สัตว์ บุคคล  ตัวตน.


ฉะนั้น  การที่ "สติ" จะเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง

ที่เกิดขึ้น และ ปรากฏ

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระอุทายี
             [๔๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ-
*บัณฑิกะคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี
เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก ครั้งนั้น มีสตรีหม้ายผู้หนึ่ง รูปงาม น่าดู น่าชม ครั้นเวลาเช้า ท่านพระ-
*อุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินไปทางเรือนของสตรีหม้ายนั้น ครั้นแล้วนั่งเหนือ
อาสนะที่เขาจัดถวาย จึงสตรีหม้ายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุทายี กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระอุทายีได้ยังสตรีหม้ายนั้น ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว
สตรีหม้ายนั้นได้กล่าวปวารณาท่านพระอุทายีว่า โปรดบอกเถิด เจ้าข้า ต้องการสิ่งใดซึ่งดิฉันสามารถ
จัดหาถวายพระคุณเจ้าได้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้
             พระอุทายีขอร้องว่า น้องหญิง ปัจจัยเหล่านั้น ไม่เป็นของหาได้ยากสำหรับฉัน ขอจง
ให้ของที่หาได้ยากสำหรับฉันเถิด
             สตรีหม้ายถามว่า ของอะไร เจ้าขา
             อุ. เมถุนธรรม จ้ะ
             ส. พระคุณเจ้าต้องการหรือ เจ้าคะ
             อุ. ต้องการ จ้ะ
             สตรีหม้ายนั้นกล่าวว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ แล้วเดินเข้าห้อง เลิกผ้าสาฎกนอนหงาย
บนเตียง
             ทันใดนั้น ท่านพระอุทายีตามเข้าไปหานางถึงเตียง ครั้นแล้วถ่มเขฬะรดพูดว่า ใครจัก
ถูกต้องหญิงถ่อย มีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้แล้วหลีกไป
             จึงสตรีหม้ายนั้นเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล
พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย ประพฤติ
พรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม ดังนี้เล่า ติเตียนว่า ความเป็นสมณะของพระสมณะ
เหล่านี้ไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้
พินาศแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็นสมณะของพระสมณะ-
*เหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพนทะนาว่า
พระสมณะเหล่านี้ ขาดจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ขาดจากความเป็นพราหมณ์
แล้ว ไฉนพระสมณะอุทายีจึงได้ขอเมถุนธรรมต่อเราด้วยตนเอง แล้วถ่มเขฬะรดพูดว่า ใครจัก
ถูกต้องหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้แล้วหลีกไป เรามีอะไรชั่วช้า เรามีอะไรที่มีกลิ่นเหม็น
เราเลวกว่าหญิงคนไหนอย่างไร ดังนี้
             แม้สตรีเหล่าอื่นก็เพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นผู้ไม่ละอาย
ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ ยังจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย
ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรมดังนี้เล่า ติเตียนว่า ความเป็นสมณะของพระ
สมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะ
เหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะของ
พระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพน-
*ทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ขาดจากความเป็นพระสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ ขาดจากความ
เป็นพราหมณ์แล้ว ไฉน พระอุทายีจึงได้ขอเมถุนธรรมต่อสตรีนี้ด้วยตนเอง แล้วจึงถ่มเขฬะรด
พูดว่า ใครจักถูกต้องหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ดังนี้ แล้วหลีกไป นางคนนี้มีอะไรชั่วช้า นางคนนี้
มีอะไรที่มีกลิ่นเหม็น นางคนนี้เลวกว่าสตรีคนไหน อย่างไร ดังนี้
             ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคามจริงหรือ?
             ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตน
ด้วยกาม ในสำนักมาตุคามเล่า
             ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่
เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความ
ถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมี
ความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือ
มั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น
             ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ
เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อ
เป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับทุกข์
เพื่อปราศจากตัณหาเครื่องร้อยรัดมิใช่หรือ
             ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม
การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้ม เพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย
อเนกปริยาย มิใช่หรือ
             ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่-
*เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่
เลื่อมใสแล้ว
             พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตาม
พระวินัย ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
             ๘. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอ
กามของตนในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง สตรีใด บำเรอ
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม เช่นเรา ด้วยธรรมนั่น นั่นเป็นยอดแห่ง
ความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
             [๔๑๕] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด
มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น
เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด
             บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถ
ว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ
โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อ
ว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้
แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อม
เพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้
             ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์
             บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตที่ถูกราคะย้อมแล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโทสะประทุษร้าย
แล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปรปรวน แต่ที่ว่าแปรปรวนในอรรถนี้ ทรงประสงค์
จิตที่ถูกราคะย้อมแล้ว
             ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบซึ้งถึงถ้อยคำเป็นสุภาษิต ทุพภาษิต วาจาชั่ว
หยาบ และสุภาพ
             บทว่า ในสำนักมาตุคาม คือ ในที่ใกล้มาตุคาม ในที่ไม่ห่างมาตุคาม
             บทว่า กามของตน ได้แก่ ความใคร่ของตน เหตุของตน ความประสงค์ของตน การ
บำเรอของตน
             บทว่า นั่นเป็นยอด คือนั่นเป็นเลิศ ประเสริฐ สูงสุด อุดม เยี่ยม
             บทว่า สตรีใด ได้แก่นางกษัตริย์ พราหมณี หญิงแพศย์ หรือหญิงศูทร
             บทว่า เช่นเรา คือเป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็น
ศูทรก็ตาม
             บทว่า มีศีล คือ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากมุสาวาท
             บทว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ผู้เว้นขาดจากเมถุนธรรม
             ที่ชื่อว่า มีกัลยาณธรรม คือ เป็นผู้ชื่อว่ามีธรรมงาม เพราะศีลนั้น และเพราะ
พรหมจรรย์นั้น
             บทว่า ด้วยธรรมนั่น คือ ด้วยเมถุนธรรม
             บทว่า บำเรอ คือ อภิรมย์
             บทว่า ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุน คือ ด้วยถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม
             บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัส
เรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
สตรีคนเดียว
             [๔๑๖] สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
             สตรี ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนใน
สำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม
ของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม
ของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์คนเดียว
             บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตน
ในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
             บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอ
กามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
             บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ
แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
             บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอ
กามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษคนเดียว
             บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม
ของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
             บุรุษ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนใน
สำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
             บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
             บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม
ของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
             บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม
ของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉานตัวเดียว
             สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ-
*แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
             สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของ
ตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
             สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
             สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง
การบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
             สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรี ๒ คน
             [๔๑๗] สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
             สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอ
กามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
             สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว
คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
             สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ
แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
             สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน
             บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
             บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว
คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด
และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว
คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน
             บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ
แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว
คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ
แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว
คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว
             สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว มีความกำหนัด
และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองตัว มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง
การบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองตัว มีความกำหนัด และกล่าว
คุณกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองตัว มีความกำหนัด
และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
             สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองตัว มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-บัณเฑาะก์
             สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับ
อาบัติสังฆาทิเสส
             สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง
การบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
             สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด
และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒ ตัว
             สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว
คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ
ถุลลัจจัย
             สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด
และ




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 11:54:12 AM