เมษายน 20, 2024, 01:06:04 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทานพิธี  (อ่าน 16361 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 08:26:34 PM »

Permalink: ทานพิธี
ทานพิธี

        พิธีถวายทานต่าง ๆ  เรียกว่า ทานพิธี  ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะทานพิธีสามัญ
ที่จำเป็นและนิยมบำเพ็ญกันอยู่ทั่วไป  และจะกล่าวเฉพาะระเบียบปฏิบัติกับ
คำถวายของฝ่ายทายกเท่านั้น   ส่วนเรื่องราวละเอียดของทานพิธีนั้น ๆ  พร้อมทั้ง
เหตุผลต่าง ๆ  จักกล่าวในเล่มต่อไปข้างหน้า
        การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน  ในพระพุทธศาสนา
เรียกวัตถุที่ควรให้เป็นทานนี้ว่า "ทานวัตถุ"  ท่านจำแนกไว้ ๑๐ ประการ  คือ (๑)
ภัตตาหาร (๒)  น้ำรวมทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (๓)  ผ้าเครื่องนุ่งห่ม
(๔)  ยานพาหนะสงเคราะห์ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย (๕) มาลัยและดอกไม้
เครื่องบูชาชนิดต่าง ๆ (๖)  ของหอม หมายถึงธูปเทียนบูชาพระ (๗)  เครื่องลูบไล้
หมายถึง  เครื่องสุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด  มีสบู่ถูตัวเป็นต้น (๘)
เครื่องที่นอนอันควรแก่สรณะ (๙)  ที่อยู่อาศัย  มีกุฏิเสนาสนะ  และเครื่องสำหรับ
เสนาสนะ  เช่น  เตียงตู้โต๊ะ   เก้าอี้  เป็นต้น (๑๐)  เครื่องตามประทีป  มีเทียนจุด
ใช้แสง ตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า  เป็นต้น  ทั้ง ๑๐ ประการนี้ควรแก่การ
ถวายเป็นทานแก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอยหรือบูชาพระตามสมควร  แต่การ
ถวายทานนี้มีนิยม  ๒ อย่าง คือ ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า
ปาฏิบุคคลิกทาน  ถวายไม่เจาะจงรูปใดมอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอย
เองอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า  สังฆทาน  สำหรับปาฏิบุคคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรม
อะไรในการถวาย  เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธาจะถวายสิ่งไร  แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด
ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้นเป็นรายบุคคลสำเร็จเป็นทานแล้ว  และผู้รับ
ปาฏิบุคลิกทานจะอนุโมทนาอย่างไรนั้นก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน ฉะนั้น
เรื่องปาฏิบุคลิกทาน  จะยกเสียไม่นำมาบรรยายในที่นี้  แต่สำหรับสังฆทาน  เป็น
การถวายสงฆ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด  จัดเป็นการสงฆ์ไม่ใช่การบุคคล
ดังกล่าว  จึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรมโดยเฉพาะการถวายและการอนุโมทนา
ของสงฆ์ย่อมมีพิธีปฏิบัติ  ฉะนั้น ในหมวดนี้จึงจะกล่าวทานพิธีเฉพาะส่วนที่
ถวายเป็นการสงฆ์อย่างเดียว  และทานที่ถวายสงฆ์นั้น  แม้มีกำหนดวัตถุเป็น  ๑๐ ชนิดแล้ว  ก็มีนิยมถวายวัตถุใน ๑๐  ชนิดนั้นเป็นรายการ ๆ  แยกคำถวาย
ต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นถวายอะไรก็ตามเมื่อสงเคราะห์ ก็อยู่ใน
ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ คือ จีวร  บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานเภสัช
ทั้งนั้น  และการถวายก็มีนิยมเป็น  ๒ คือ  ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น ๆ เรียกว่า
กาลทาน  ๑ ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาลอีก  ๑ ทั้งหมดนี้ย่อมีระเบียบพิธี
ในการถวาย  ส่วนใหญ่ก็คล้าย ๆ กัน  โดยหลักซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
                                   ระเบียบพิธี
        ๑. หลักสำคัญของการถวายทานเป็นการสงฆ์มีอยู่ว่า ต้องตั้งใจถวายเป็น
สงฆ์จริง ๆ  อย่าเห็นแก่หน้าบุคคลผู้รับว่า เป็นภิกษุหรือสามเณร  เป็นพระสังฆเถระ
หรือพระอันดับ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะเป็นเหตุให้จิตใจไขว้เขวเกิดความยินดียินร้าย
ไปตามบุคคลผู้รับ  ซึ่งจะเสียพิธีสังฆทานไป ควรทำใจว่า  ผู้รับจะเป็นบุคคลชนิดใด ๆ
ในขณะตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว  ก็ถวายทานนั้น  ๆ อุทิศให้เป็นสงฆ์จริง ๆ
        ๒.   ตระเตรียมทานวัตถุที่ต้องการถวายให้เสร็จเรียบร้อย  ตามศรัทธาและ
ทันเวลาถวาย  ถ้าเป็นภัตตาหาร จีวร  และคิลานเภสัช ซึ่งเป็นวัตถุยกประเคนได้
จะเป็นของถวายเนื่องด้วยกาลหรือไม่ก็ตาม ต้องจัดให้ถูกต้องตามนิยมของ
ทานชนิดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นเสนาสนะหรือเครื่องเสนาสนะซึ่งต้องก่อสร้างกับที่
และเป็นของใหญ่ใช้ติดที่ต้องเตรียมการตามสมควร
        ๓.  เผดียงสงฆ์  คือ แจ้งความประสงฆ์ที่จะถวายทานนั้น ๆ  ให้สงฆ์ทราบ
ถ้าเป็นภัตตาหาร หรือจีวร คิลานเภสัช  ซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่ทั่วไปแก่สงฆ์ทุกรูป
ในวัดก็จะให้เจ้าอธิการสงฆ์โดยเฉพาะเจ้าอาวาสจัดพระสงฆ์ผู้รับให้ตามจำนวน
ต้องการและนัดแนะสถานที่กับกำหนดเวลาให้เรียบร้อยด้วย ถ้าเป็นเสนาสนะ
หรือเครื่องเสนาสนะ  ซึ่งปรกติจะต้องก่อสร้างภายในวัดอยู่แล้ว  ก็ขอผู้แทนสงฆ์
ตามจำนวนต้องการ  และนัดกำหนดวันเวลารับ  ส่วนสถานที่รับก็ควรเป็นบริเวณ
ที่ตั้งเสนาสนะหรือเครื่องเสนาสนะนั้น ๆ๔.  ในการถวายทานนั้น  ถ้ามีพิธีอื่นประกอบด้วย ก็เป็นเรื่องของพิธี 
แต่ละอย่าง ๆ ไป  เฉพาะพิธีถวายทานเมื่อถึงกำหนด  ฝ่ายทายกพึงดำเนินพิธี
ดังนี้
        ก.    จุดธูปเทียนหน้าที่บูชาพระ ถ้ามีตั้งอยู่ด้วย
        ข.    อาราธนาศีล  และรับศีล
        ค.   ประนมมือกล่าวคำถวายทานนั้น ๆ ตามแบบ  ในการกล่าวคำถวายนี้
                ทุกครั้งต้อง นโม  ก่อน ๓  จบ ถ้าถวายรวมกันมากคน ควรว่า นโม
                พร้อมกันก่อน แล้วหันหน้ากล่าวนำคำถวายให้ผู้อื่นว่าตามเป็นคำ ๆ
                ทั้งคำบาลี และคำแปลจนจบ แต่คำแปลในบางกรณีที่มีคำถวายบาลี
                ยืดยาวจะเว้นไม่กล่าวก็ได้  ต่อนั้นถ้าเป็นของควรประเคนก็ประเคน
                จะประเคนสิ่งของประเภทอาหารแต่เที่ยงแล้วไปหาได้ไม่ อนึ่ง เสนาสนะ
                หรือวัตถุที่ใหญ่โต  ไม่สามารถจะยกประเคนได้ ถ้าประสงค์จะประเคน
                ใช้น้ำหลั่งลงบนหัตถ์ของสงฆ์ผู้เป็นประธานเป็นพิธี  ก็ถือว่า  ได้ประเคนแล้ว
        ๕.     พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา  เพื่อรับสังฆทานตามธรรามเนียมของทาน
นั้น ๆ แล้ว บางพวก  ในขณะที่ทายกล่าวคำถวายทานประนมมือเป็นอาการ
แสดงถึงการรับทานโดยเคารพ เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบแล้วเปล่งวาจา  สาธุ
พร้อมกัน บางพวก  เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบแล้วจึงประนมมือ  เปล่งวาจา  สาธุ
ทั้งนี้ สุดแต่จะควรสถานใดกล่าวไว้ตามที่เคยเห็นเท่านั้น เมื่อเสร็จการประเคนแล้ว
พึงอนุโมนทาด้วยบท
        ก.  ยถา...
        ข.  สพฺพีติโย..................................................................................................
        ค.  บทอนุโมทนาโดยควรแก่ทาน
        ฆ.  ภวตุ  สพฺพมงฺคลํ.....................................................................................
        ๖.   ขณะพระสงฆ์อนุโมทนา ทายกพึงกรวดน้ำ เมื่อพระเริ่มบท ยถา....
พอถึงบท  สพฺพีติโย... เป็นต้นไป  พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบ  ๓ หน
เป็นอันเสร็จพิธีถวายทาน
       คำถวายสังฆทาน                                   (ประเภทสามัญ)
        อิมานิ  มยํ  ภนฺเต  ภตฺตานิ, สปริวารานิ,  ภิกฺสงฺฆสฺส,  โอโณชยาม,
สาธุ  โน  ภนฺเต,  ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ,  ภตฺตานิ,  สปริวารานิ,  ปฏิคฺคณฺหาตุ,
อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ,  หิตาย, สุขาย.
                                           คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ภัตตาหาร กับทั้ง
บริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์   ของพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ภัตตาหาร  กับทั้งบริวาร
เหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
สิ้นกาลนามเทอญ.
                                      คำถวายสังฆทาน
                              (ประเภทมตกภัตอุทิศผู้ตาย)
        อิมานิ  มยํ  ภนฺเต  มตกภตฺตานิ,  สปริวารานิ,  ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม,
สาธุ  โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, มตกภตฺตานิ,  สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
อมฺหากญฺเจว,  มาตาปิตุอาทีนญฺจาตกานํ, กาลกตานํ, ทีฆรตฺตํ,  หิตาย, สุขาย.
                                             คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย  มตกภัตตาหาร
กับทั้งบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  มตกภัตตาหาร
กับทั้งบริวารเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลายด้วย  แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายมีมารดาบิดา เป็นต้น  ผู้ทำกาละล่วงลับ
ไปแล้วด้วย สิ้นกาลนาน เทอญ.
                                       คำถวายสลากภัต
        เอตานิ  มยํ ภนฺเต, สลกาภตฺตานิ, สปริกวารานิ,  อสุกฏฺ€าเน, €ปิตานิ,
ภิกฺขุ สงฺฆสฺส,  โอโณชยาม, สาธุ  โน  ภนฺเต  ภิกฺขุสงฺโฆ, เอตานิ, สลากภตฺตานิ,
สปริวารานิ,  ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ,  หิตาย, สุขาย.
          คำแปล          ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลาย  ซึ่งตั้งไว้  ณ ที่โน้น
นั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายแก่พระภิกษุสงฆ์  ของพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่ง
ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านั้นของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข
แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน เทอญ.
                               คำถวายข้าวสาร
        อิมานิ  มยํ  ภนฺเต  ตณฺฑุลานิ, สปริวารานิ,  ภิกฺขุสงฺฆสฺส,  โอโณชยาม,
สาธฺ  โน  ภนฺเต,  ภิกฺขุสงฺโฆ,  อิมานิ, ตณฺฑุลานิ,  สปริวารานิ,  ปฏิคฺคณฺหาตุ,
อมฺหากํ  ทีฆรตฺตํ,  หิตาย,  สุขาย.
                                      คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ข้าวสารกับทั้ง
เครื่องบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ของพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสาร
กับทั้งเครื่องบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
และความร่มเย็นเป็นสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ตลอดกาลนาน  เทอญ.
                     คำถวายเภสัชทานมีน้ำผึ้งเป็นต้น
        สรโท  นามายํ ภนฺเต, กาโล สมฺปตฺโต,  ยตฺถ  ตถาคโต อรหํ
สมฺมาสมฺพุทฺโธ,  สรทิกาพาเธน  อาพาธิกานํล  ภิกฺขูนํ  ปญฺจ  เภสชฺชานิ,
อนุญฺาสิ,  สปฺปึ,  นวนีตํ,  เตลํ, มธํ,   ผาณิตํ,  มยนฺทานิ,  ตกฺกาลสทิสํ,
สมฺปตฺตา, ตสฺส ภควโต,  ปญฺตฺตานุคํ, ทานํ  ทาตุกามา, เตสุ  ปริยาปนฺนํ,
มธํ จ,  เตลํ  จ,  ผาณิตํ  จ,  ภิกฺขูนญฺเจว,  สามเณรานญฺจ,  โอโณชยาม,  สาธุ  โน
ภนฺเต,  อยฺยา  ยถา  วิภตฺตา,  มธุทานํ  จ,  เตลํ  จ,  ผาณิตํ จ,  ปฏิคฺคณฺหนฺตุ,
อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
            คำแปล          ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  บัดนี้สรทกาลมาถึงแล้ว  ในกาลใดเล่า  พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงอนุญาตเภสัช  ๕ อย่าง  คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อาพาธ ด้วยโรคเกิดในสรทกาล  บัดนี้
ข้าพเจ้าทั้งหลาย  มาถึงกาลเช่นนี้แล้ว  ปรารถนาจะถวายทานตามพระพุทธานุญาต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงถวายน้ำผึ้งกับน้ำมันและน้ำอ้อย อันนับเข้าใน
เภสัช  ๕ อย่างนั้น แก่ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย  ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงรับ
มธุทาน  เตลทาน  และผาณิตทาน  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  ตามที่แจกถวายแล้วนั้น ๆ
เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน  เทอญ.
                       คำถวายเสนาสนะ  กุฏิ วิหาร
        อิมานิ มยํ  ภนฺเต,  เสนาสนานิ,  อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส,
ภิกฺขุสงฺฆสฺส,  โอโณชยาม,  สาธุ  โน  ภนฺเต,   ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, เสนาสนานิ,
ปฏิคฺคณฺหาต, อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ, หิตาย,สุขาย.
                                       คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  เสนาสนะเหล่านี้
แก่พระภิกษุสงฆ์  ผู้มีทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี  ยังไม่มาก็ดี  ขอพระภิกษุสงฆ์
จงรับเสนาสนะเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่
ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน  เทอญ.
                           คำถวายศาลาโรงธรรม
        มยํ ภนฺเต,  อิมํ  สาลํ, ธมฺมสภาย,  อุทฺทิสฺส,  จาตุทฺทิสสฺส,  ภิกขุสงฺฆสฺส,
โอโณชยาม, สาธุ โน  ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ,  อิมํ  สาลํ,  ปฏิคฺคณฺหาตุ,  อมฺหากํ,
ทีฆรตฺตํ,  หิตาย,  สุขาย.
      คำแปล          ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริฐ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ศาลาหลังนี้แก่
พระภิกษุสงฆ์  ผู้มีในทิศทั้ง ๔ อุทิศเพื่อเป็นสถานที่แสดงธรรม  ขอพระภิกษุสงฆ์
จงรับศาลาหลังนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.
                                คำถวายผ้าวัสสิกสาฎก
        อิมานิ  มยํ  ภนฺเต,  วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ,  ภิกฺขุสงฺฆสฺส,
โอโณชยาม, สาธุ  โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงโฆ,  อิมานิ, วสฺสิกสาฏิกานิ,  สปริวารานิ,
ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ,  หิตาย, สุขาย.
                                             คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ผ้าอาบน้ำฝน
กับทั้งบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ผ้าอาบน้ำฝน
กับทั้งบริวารเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน เทอญ.
หมายเหตุ :-  ถ้าไม่มีเครื่องบริวารถวายพ่วงด้วย  ก็ตัดคำบาลีว่า "สปริวารานิ"
                     และคำแปลว่า "กับทั้งหลาย"     ออกเสียงทุกแห่ง
                                 คำถวายผ้าจำนำพรรษา
        อิมานิ มยํ  ภนฺเต, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส,
โอโณชยาม,  สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ,  อิมานิ,  วสฺสาวาสิกจีวรานิ,  สปริวารานิ,
ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ หิตาย,  สุขาย.
                                               คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ผ้าจำนำพรรษา
กับทั้งบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ผ้าจำนำพรรษา
กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข   แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.
        คำถวายผ้าอัจเจกจีวร          อิมานิ มยํ  ภนฺเต,  อจฺเจกจีวรานิ,  สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส,
โอโณชยาม,   สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ,  อิมานิ,  อจฺเจกจีวรานิ,  สปริวารานิ,
ปฏิคฺคณฺหาตุ,  อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
                                     คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ผ้าอัจเจกจีวร
กับทั้งบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ผ้าอัจเจกจีวร
กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.
                                 คำถวายผ้าป่า
        อิมานิ มยํ  ภนฺเต,  ปํสุกูลจีวรานิ,  สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส,
โอโณชยาม, สาธุ  ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ,  อิมานิ,  ปํสุกูลจีวรานิ,  สปริวารานิ,
ปฏิคฺคณฺหาตุ,  อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ, หิตาย,  สุขาย.
                                      คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวร
กับทั้งบริวารเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ผ้าบังสุกุลจีวร
ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน  เทอญ.
                           คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๑)
        อิมํ,  สปริวารํ,  ก€ินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส,  โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
                                        คำแปล
        ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ผ้ากฐินจีวร  กับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์.
        คำถวายผ้ากฐิน  (แบบ ๒ )                  อิมํ  ภนฺเต  สปริวารํ,  ก€ินจีวรทุสฺสํ,  สงฺฆสฺส,  โอโณชยาม, สาธุ  โน
ภนฺเต,  สงฺโฆ,  อิมํ,  สปริวารํ,  ก€ินจีวรทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ.
อิมินา ทุสฺเสน,  ก€ินํ,  อตฺถรต,  อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ, หิตาย,  สุขาย.
                                       คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร
กับทั้งบริวารนี้ แก่พระสงฆ์  ขอพระสงฆ์จงรับ  ผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้า
ทั้งหลาย รับแล้วจงกรานกฐิน  ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน เทอญ.
                      คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา
        อิมานิ มยํ  ภนฺเต,  ทีปธูปปุปฺผวรานิ,  รตนตฺตยสฺเสว, อภิปูเชม,
อมฺหากํ, รตนตฺตยาสฺส  ปูชา,  ทีฆรตฺตํ, หิตสุขาวหา, โหตุ, อาสวกฺขยปฺปตติยา.
                                         คำแปล
        ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริฐ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาธูปเทียน
และดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้  แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้
จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาม จงเป็น
ไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน  เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลส เทอญ.
                     คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
        มยํ  อิมิยา ปทีเปน, อสุกาย,  นมฺมทาย,  นทิยา,  ปุลิเทน €ิตํ, มุนิโม,
ปาทวลญฺชํ, อภิปูเชม,  อยํ, ปทีเปน,  มุนิโน ปาทาวลญฺชสฺส, ปูชา, อมฺหากํ,
ทีฆรตฺตํ,  หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
                 คำแปล          ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา  ซึ่งรอยพระพุทธบาท  ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย
ในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้น  ด้วยประทีปนี้  กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท  ด้วย
ประทีปนี้ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้น
กาลนาน  เทอญ.
                               คำถวายธงเพื่อบูชา
        มยํ  อิมินา,  ธชปฏาเกน,  รตนตฺตยํ  อภิปูเชม, อยํ  ธชปฏาเกน,
รตนตฺตยปูชา,  อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย , สํวตฺตตุ.
                                         คำแปล
        ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งพระรัตนตรัย  ด้วยธงแผ่นผ้านี้  กิริยาที่บูชา
พระรัตนตรัย   ด้วยธงแผ่นผ้านี้  ของจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่
ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ.   
                                    คำถวายเวจกุฎี
        มยํ  ภนฺเต,  อิมํ, วจฺจกุฏึ, อาคตานาคตสฺส,  จาตุทฺทิสสฺส,  ภิกฺขุสงฺฆสฺส,
โอโณชยาม,  สาธุ  โน    ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ,  อิมํล  วจฺจกุฏึ  ปฏิคฺคณฺหาตุ,  อมฺหากํ,
ทีฆรตฺตํ,  หิตาย, สุขาย.
                                          คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  เวจกุฎีหลังนี้
แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี  ยังไม่มาก็ดี  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ
เวจกุฎีหลังนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน เทอญ.
คำถวายสะพาน          มยํ  ภนฺเต, อิมํ,  เสตุ  มหาชนานํ,   สาธารณตฺถาย,  นิยฺยาเทม,  สาธุ โน
ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมสฺมึ,  เสตุมฺหํ,  นิยฺยาทิเต,  สกฺขิโก  โหตุ, อิทํ,  เสตุทานํ,
อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ,  หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
                                    คำแปล
        ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอมอบถวาย  ซึ่งสะพานนี้
เพื่อประโยชน์ทั่วไป  แก่มหาชนทั้งหลาย  ขอพระสงฆ์จงเป็นพยาน  แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลายในสะพานที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้มอบให้แล้วนี้  ขอเสตุทานนี้  จงเป็นไป
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน  เทอญ.

แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ - หน้าที่ 44- 54




บันทึกการเข้า
EmmaMiaMi
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 2
กระทู้: 2
สมาชิก ID: 3286


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2021, 12:27:57 PM »

Permalink: ทานพิธี
 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ 3 ชั่วโมงที่แล้ว