พฤษภาคม 24, 2024, 05:10:49 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มงคล คืออะไร ใน 3 วัยที่สำคัญ  (อ่าน 8333 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 09:35:16 AM »

Permalink: มงคล คืออะไร ใน 3 วัยที่สำคัญ
มงคล คืออะไร ใน 3 วัยที่สำคัญ

มงคล คือ เหตุแห่งความเจริญ หรือเครื่องหมายแห่งความเจริญ

มงคลในศาสนาพุทธ
มงคลในศาสนาพุทธ คือ การนิมนต์ขอให้พระภิกษุสวดมงคลสูตร เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญ หรือเพื่อให้เกิดความสิริมงคล ในงานพิธีที่เป็นมงคลต่าง ๆ พระสงฆ์จะต้องสวดมนต์บทนี้เสมอ เรียกกันว่า เป็นบทบังคับก็ว่าได้ เมื่อพระสงฆ์เริ่มต้นสวดมงคลสูตร (อะเสวะนา...) จะเป็นช่วงที่เจ้าภาพจะต้องเดินไปจุดเทียนที่ บาตรน้ำมนต์ จากนั้นประเคนบาตรน้ำมนต์แก่ประธานในพิธีสงฆ์ เมื่อสวดมงคลสูตรจบแล้ว พระภิกษุก็จะ รดน้ำมนต์ ให้แก่ผู้มาร่วมพิธีกรรม เพื่อมอบความเป็นมงคลให้ หรือมอบความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ผู้มาร่วมงานมงคล

ความจริง มงคลสูตร 38 ประการนั้น มีประโยชน์มากถ้านำไปปฏิบัติ (มิใช่การรับแต่น้ำมนต์ที่ประพรม การรับน้ำมนต์โดยไม่ปฏิบัติจะไม่เกิดประโยชน์) จะเป็นมงคลแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างแท้จริง พระพุทธองค์ทรงเทศนาเรียงลำดับข้อไว้อย่างมีระเบียบดียิ่ง เพื่อให้เป็นหลักปฏิบัติตามลำดับอายุของมนุษย์ เริ่มแต่ ปฐมวัย, มัชฌิมวัย และ ปัจฉิมวัย โดยขอยกตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านเห็นดังต่อไปนี้

ปฐมวัย
ในที่นี้ขอกำหนดว่ามนุษย์ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี เรียกว่าปฐมวัย ปกติเป็นวัยที่ยังไม่สมควรจะออกครองเรือนตามลำพังตน ควรเป็นวัยแห่งการศึกษาเล่าเรียน เป็นระยะเวลาของการเตรียมตัวที่จะออกไปครองเรือนในอนาคต มักจะอยู่ในความปกครองของบิดามารดา พวกปฐมวัยควรปฏิบัติตามมงคลสูตรตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 อย่างเคร่งครัด คือ
1. ไม่ให้คบคนพาล (เพื่อจะได้ไม่ตกต่ำในทางที่ชั่ว)
2. ให้คบบัณฑิต (เพื่อให้พบแต่ความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต)
3. ให้บูชาบุคคลที่ควรบูชา (เพื่อให้เกิดแบบอย่างที่ดี)
4. ให้อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม (เพื่อสะดวกในการศึกษาเล่าเรียน)
5. ให้สะสมบุญเรื่อยไป (เพื่อเป็นทุนไปสู่ความสุขสำเร็จ)
6. ให้ตั้งตนไว้ชอบ (เพื่อให้มีเส้นทางชีวิตที่ถูกต้อง)
7. ให้เป็นผู้ฟังมาก (เพื่อจะได้มีความรอบรู้)
8. ให้ศึกษา ศิลปวิทยา (เพื่อให้มีพื้นฐานการประกอบอาชีพการงานที่ดี)
9. ให้มีระเบียบวินัยดี (เพื่อให้มีหลักการที่ดีในการดำรงชีวิต)
10. ให้มี วาจาสุภาษิต (เพื่อให้เกิดความมีเสน่ห์ในตัวเอง)

ถ้าผู้ที่มีอายุภายใน 25 ปีแรกของชีวิต ได้ลงมือปฏิบัติตามมงคลสูตรเพียง 10 ข้อ ดังกล่าวนี้ บุคคลเหล่านี้จะเป็นคนดี เข้าไหนเข้าได้ เพราะสังคมต้อนรับ ปราศจากผู้รังเกียจ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเพื่อประโยชน์แก่ปวงชน ถ้าเราเคารพพระพุทธองค์อย่างแท้จริงแล้ว เราก็สมควรนำมงคลสูตรของพระพุทธองค์มาเป็นข้อปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของตน ซึ่งนับว่าเป็นมงคลแก่ตนเองเป็นอย่างยิ่ง

มัชฌิมวัย
ในที่นี้ ขอกำหนดว่ามนุษย์ที่มีอายุตั้งแต่ 26 ปี ถึงอายุ 50 ปี เรียกว่าอยู่ในช่วง “มัชฌิมวัย” เป็นวัยที่ต้องดำเนินชีวิตไปตามลำพัง ไม่ควรจะต้องพึ่งบิดามารดาอีกต่อไป ต้องออกไปเผชิญกับเหตุการณ์ของสังคมโลก เป็นวัยที่จะต้องตั้งตัวตั้งหลักฐาน รับผิดชอบในการดำรงชีวิต ในมัชฌิมวัยควรปฏิบัติตามมงคลสูตรเพิ่มขึ้นอีก 20 ข้อ ตั้งแต่ข้อ 11 ถึงข้อ 30 คือ
11. ให้ บำรุงบิดามารดา (เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณคน)
12. ให้ สงเคราะห์บุตรธิดา (เป็นแบบอย่างที่ดี)
13. ให้ สงเคราะห์ภรรยา (เป็นการแสดงความรับผิดชอบ)
14. ไม่ให้การงานอากูล (กิจการงานใดไม่คั่งค้าง)
15. ให้ บำเพ็ญทาน (จิตใจจะมีเมตตาสูง)
16. ให้ ประพฤติธรรม (เพื่อความสงบของชีวิต)
17. ให้ สงเคราะห์ญาติ (เกิดเคราะห์ร้ายก็มีญาติช่วย)
18. ให้ ประกอบการงานดี ไม่มีโทษ (อาชีพสุจริตชีวิตปลอดภัย)
19. ให้ เว้นจากการทำบาป (เพื่อไม่ต้องชดใช้หนี้กรรม)
20. ให้ เว้นจากการเสพของเมา (ให้เป็นคนมีสติอยู่เสมอ)
21. ไม่ให้ประมาทในธรรมทั้งหลาย (ให้มีความคิดรอบคอบ)
22. ให้ เคารพบุคคลที่ควรเคารพ (เราจะได้รับความเคารพตอบ)
23. ไม่ให้เย่อหยิ่ง (จะมีคนให้ความนับถือ)
24. ให้ มีสันโดษ (จิตใจจะไม่วุ่นวาย)
25. ให้ มีความกตัญญู (เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดี)
26. ให้ ฟังธรรมตามกาล (เพื่อให้มีดวงตาเห็นธรรม)
27. ให้ มีขันติ (จิตใจจะมีความสุขสงบ)
28. ให้ เป็นผู้ว่าง่าย (ทำให้ได้รับความรักจากผู้อื่น)
29. ให้ เข้าหาสมณะผู้สงบ (ทำให้เข้าใจธรรมะที่แท้จริง)
30. ให้ สนทนาธรรมตามกาล (ทำให้มีปัญญาเพิ่มพูล)

ถ้ามนุษย์อายุระหว่าง 26 ปี ถึง 50 ปี ได้ลงมือปฏิบัติตามมงคลสูตรของพระพุทธองค์เพิ่มขึ้นอีก 20 ข้อ ตั้งแต่ข้อ 11 ถึงข้อ 30 ดังกล่าวนี้ บุคคลเหล่านั้นจะประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรืองในการดำรงชีวิต จะไม่ประสบความทุกข์ แม้ในขณะที่ถึงอายุขัยที่จะตาย วิญญาณก็จะไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ถ้าจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะได้เกิดเป็นมนุษย์ที่มีฐานะสูง ถ้าเราเคารพพระพุทธองค์อย่างแท้จริงแล้ว เราก็สมควรนำมงคลสูตรของพระพุทธองค์มาเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของตน ความเป็นมงคลก็จะเกิดแก่ตนเองและครอบครัว

ปัจฉิมวัย
ในที่นี้ ขอกำหนดว่ามนุษย์มีอายุตั้งแต่ 51 ปี ถึงสิ้นอายุขัย เป็นระยะชีวิตที่จะต้องช่วยตัวเองแสวงหา อริยทรัพย์ อริยสมบัติ เพราะเป็นช่วงเลยกึ่งกลางของชีวิต เดินทางเข้าสู่บั้นปลายของชีวิตเหมือนต้นไม้ใกล้ฝั่ง จะล้มลงเมื่อใดก็ได้ ควรจะช่วยตนเองในการสร้างอริยสมบัติก่อนตาย ซึ่งไม่มีใครจะช่วยเราได้ โดยช่วยให้วิญญาณของเรามีคุณสมบัติสูงกว่าเดิม วิธีช่วยตัวเองนับว่าดีที่สุดนั้น คือการหาโอกาสฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ด้วยการวิปัสสนากรรมฐาน อาจจะศึกษาเรื่องความตายเพื่อจะได้ตายนอกสมมติ คือการหลุดพ้นจาก สังสารวัฏ ไม่ควรให้ตายในสมมติคือการหมุนเวียนอยู่ในวัฏสงสารเท่านั้น การตายในสมมตินั้น จะต้องกลับมาเกิดเพื่อรับความทุกข์ต่อ ๆ ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด วิธีปฏิบัติเพื่อให้ตายนอกสมมตินั้น คือการปฏิบัติตามมงคลสูตรของพระพุทธองค์ โดยปฏิบัติเพิ่มขึ้นอีก 8 ข้อ ตั้งแต่ข้อ 31 ถึงข้อ 38 คือ
31. ให้บำเพ็ญเพียรเผากิเลสให้หมดไป (ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน)
32. ให้ ประพฤติพรหมจรรย์ (ออกบวช หรือ บวชใจด้วยเนกขัมมบารมี)
33. ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ (ให้ตระหนักรู้ในทุกข์ และเหตุที่เกิดทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์)
34. ให้ทำนิพพานให้แจ้ง (วิปัสสนาภาวนาจนได้นิโรธสมาบัติ)
35. ไม่ให้จิตหวั่นไหวในโลกธรรม (ทำจิตไม่ให้ติดยึดในลาภ/ยศ/สรรเสริญ/สุข)
36. ไม่ให้จิตเศร้าหมอง (ทำจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)
37. ไม่ให้จิตมีมลทิน (ทำจิตให้เป็นอุเบกขาตลอดเวลา)
38. ให้มีจิตเกษม (ไม่ให้มีเครื่องดึงรั้งไว้ในภพคือถึงซึ่งพระนิพพาน)

มงคลสูตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งแต่ข้อ 31 ถึงข้อ 38 นี้ มีพุทธประสงค์จะให้ช่วยตัวเองไปทาง โลกุตตรธรม ช่วยให้ตายนอกสมมติ คือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เป็นการหลบหนีการเกิด เพราะว่า พระตถาคต สั่งสอนให้ตระหนักว่า “การเกิดเป็นทุกข์” ชาวพุทธที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป เมื่อบุตรธิดามีอาชีพการงาน หรือสามารถดำรงชีวิตได้ตามลำพังแล้ว หรือ ทรงตัวได้ดีบนขาของเขาได้แล้ว ชาวพุทธผู้มีอายุสูงก็สมควรช่วยตนเองไปในทาง โลกุตตรวิสัย ควรฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ด้วยการวิปัสสนากรรมฐานให้มาก และให้บ่อย หากปฏิบัติตามมงคลสูตรของพระพุทธองค์เช่นนี้ ความเป็นมงคลก็จะเกิดแก่วิญญาณของตน เมื่อกายแตกละจากโลกนี้ไป วิญญาณของตนก็จะไปสู่ สุคติภูมิ หรือพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

ถ้าเราสมมติว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแม่ครัว พระพุทธองค์ทรงปรุงอาหารไว้ เพื่อคน 3 วัย วัยแรกเพื่อให้มนุษย์ในปฐมวัยได้บริโภค วัยที่ 2 เพื่อให้มนุษย์ในมัชฌิมวัยได้บริโภค และวัยที่ 3 ปรุงไว้ให้มนุษย์ในปัจฉิมวัยได้บริโภค แต่มนุษย์จะบริโภค หรือไม่บริโภคนั้น เป็นเรื่องของมนุษย์ที่สามารถเลือกเส้นทางของตนเองได้ พระตถาคต ได้แต่ทรงปรุงอาหารไว้ให้เท่านั้น และทรงชี้ทางให้โดยมีพระกรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่เท่านั้น
จึงขออนุญาตเชิญชวนเพื่อนพนักงานทุกระดับ และทุกท่าน หันมาบริโภคอริยทรัพย์ด้วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คิดดี พูดดี และทำดี ให้ตลอดอายุขัยของเรา นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปเถิด


dhammajak.net




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ กุมภาพันธ์ 26, 2024, 11:24:51 AM