เมษายน 20, 2024, 05:55:29 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407856 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #390 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 12:50:32 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การอบรมจิต เมื่ออยู่กับคนชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ตัว หน้าไหว้หลังหลอก

   คนเอาเปรียบเห็นแก่ตัวในโลกนี้มีทุกที่ จะไปที่ไหนก็ต้องพบเจออย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการที่เราจะอยู่ร่วมกับเขาได้จึงสำคัญ เพราะหากแม้หนีจากที่นี่ได้ ที่อื่นก็มี อยู่ที่จะมีมากหรือน้อยเท่านั้นเอง แต่ไม่มีสักที่ที่จะไม่มีเลย วิธีใช้ชีวิตร่วมกับเขา คือ

1. อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น
..สุขทุกข์มันอยู่ที่ใจของเรา มันเกิดขึ้นที่ใจ ตั้งอยู่ก็ตั้งที่ใจของเรา มันดับก็ดับที่ใจของเรา ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นภายนอก
..ที่ปุถุชนทั่วไปเห็นว่าสุขทุกข์นั้นเกิดมาจากบุคคลนั้น บุคคลนี้ทำให้เป็น แต่แท้จริงแล้วเราแค่ยึดเอาเขามาเป็นตัวแปรความคิดของเราให้เกิดสุขหรือทุกข์เท่านั้น นี่จะเห็นได้ว่าใจเราทำและใจเราเสพย์เองทั้งนั้น
..เมื่อรู้แล้วว่าสุขทุกข์อยู่ใจเราคิดเราทำ เกิดที่ใจ ดับที่ใจ เราก็ไม่จำเป็นต้องเอาความสุขของตนไปผูกขึ้นไว้กับใครอีกต่อไป ไม่ค้องไปคาดหวังการตอบสนองกลับจากใครให้เป็นไปดั่งที่ใจเราชอบเราต้องการ ไม่ต้องไปคาดหวังการตอบสนองความต้องการในใจเราจากใคร เพราะมันหาประโยชน์สุขแท้จริงใดๆไม่ได้เลย นอกเสียจากทุกข์ และทุกข์เท่านั้น ..เมื่อเราไม่เอาใจไปผูกไว้กับใครคนนั้น คนนี้ ไม่คาดหวังการตอบสนองกลับจากใครว่าเขาทำแบบไหนจึงจะเป็นสุขของเรา เขาแบบไหนเป็นทุกข์เรา เราก็ไม่ทุกข์เพราะเขาอีก
..ดังนี้แล้วเราจึงไม่ควรใส่ใจให้ความสำคัญกับใครมากเกินความจำเป็น ไม่ควรเอาเขามาเป็นสุข หรือทุกข์ของเรา และหากเขาเป็นตัวทุกข์ของเรา เราก็ยิ่งไม่ควรเอาเขามาผูกตั้งไว้กับใจของเราให้เราเป็นทุกข์อีก

2. สุขและทุกข์เป็นของร้อน
..เมื่อเห็นว่าการยึดทั้งสุขและทุกข์มันทำให้ใจเร่าร้อน ดั่งไฟสุมใจแผดเผากายใจตนให้มอดไหม้ ก็ให้รู้ว่า สุข และทุกข์นั้นเป็นแค่เพียง.. ความรู้สึกอันเกิดแต่อารมณ์สัมผัส(คือ ธัมมารมณ์ สิ่งที่ใจรับรู้ทั้งปวง), เป็นความรู้สึกเสวยอารมณ์อันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จะเข้าไปยึดเอาว่า..ขอสุขนี้จงเกิดขึ้นกับเราตลอดไปก็ไม่ได้ จะบังคับความรู้สึกสุขให้อยู่กับเราตลอดไปก็ไม่ได้ ย่อมไม่มีอำนาจใดๆไปบังคับมันได้ เพราะมันเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยปรุงแต่งจิตให้ใจเสวยอารมณ์ ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตนของเรา สุขไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สุข สุขไม่มีเราในนั้น ไม่มีเราในสุข เป็นเพียงความรู้สึกเสวยอารมณ์อันเกิดแต่สัมผัสเท่านั้นไม่มีอื่นอีก มีความแปรปรวนตลอดเวลา ไม่คงทนอยู่ได้นาน แล้วก็เสื่อม บังคับไม่ได้ ไม่มีอำนาจใดจะไปบังคับมันให้เป็นดั่งใจได้ ็ถ้าสุขทุกข์นั้นเป็นเรส เป็นของเราแล้ว เราก็ย่อมบังคับมันให้เป็นไปดั่งใจได้ แต่ก็หาทำได้ไม่ เพราะสุขและทุกข์ไม่ใช่เรา ไม่มีไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรม  ความเข้าไปยึดถือเอาสุขและทุกข์ อุปาทานยึดเอาตัวตนในสุขและทุกข์ ย่อมเป็นไฟเผากายใจเราให้หมองไหม้ ดังนั้นสุขก็ดี ทุกข์ก็ก็ดี สักแต่มีไว้แค่เพียงให้ระลึกรู้ ไม่ได้มีไว้ให้ยึด เพราะเป็นของร้อน

3. อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน
..ให้มองเขาว่าไม่ข้องเกี่ยวกับงานเรา งานนั้นมีเรารับผิดชอบเต็มๆคนเดียว เป็นหน้าที่ของเรา เขาไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับหน้าที่ของเรา
..อุปมาเหมือนเวลาเราทำงานร่วมกับใคร แล้วสลับกันพักเที่ยง หรือมีกิจธุระได้รับมอบหมสยงานอื่นให้ทำอยู่ เหลือเราทำงานนั้นๆอยู่คนเดียว เมื่อเราทำงานคนเดียวโดยไม่มีเขามายุ่งเกี่ยว เราก็ยังทำงานนั้นได้ ไม่ว่างานจะเยอะ หรือจะน้อย เราก็ต้องรับผิดชอบทำตามหน้าที่ให้แล้วเสร็จทันตามกำหนดเวลา หรือปริมาณจำนวนนั้นๆ
..ดังนี้จะเห็นว่า งานของเราไม่เกี่ยวกับเขาเลย งานจะมีมากหรือน้อย จะสำเร็จได้มันไม่เกี่ยวกับเขาเลย มันอยู่ที่เราทำทั้งนั้น อย่างนี้เราจะเริ่มละตัวตนของเขาออกไปได้แล้ว เริ่มเห็นเขาไม่มีบทบาทในชีวิตเราแล้ว ไม่มีความคาดหวังการตอบสนองกลับความต้องการในใจของเรา ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญกับเขา
..จนที่สุด เขาก็แค่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง กองธาตุ ๖ หรือขันธ์ ๕ กลุ่มกองหนึ่งที่มีรายล้อมเราเท่านั้น ไม่ใช่ตัวตน แค่ของว่างเปล่า แม้เรามองเห็นได้ สัมผัสได้ พูดคุยด้วยได้ แต่ไม่มีบทบาทอะไรกับชีวิตเราอีกเลย แค่ของว่าง แค่อนัตตา

เคล็ดลับประครองใจใน 3 ข้อข้างต้น

- วิบากกรรม+ทานบารมี
(หากทานเรามีมากจะมีคนช่วนเหลือเราเอง แต่ที่ไม่มีคนช่วยเหลือ เพราะชาติก่อนไม่เคยวละให้ หรือช่วยเหลือใครไว้เลย หรือเราอาจเคยเอาเปรียบเขามาในกาลก่อน ดังนั้นเราก็ยกให้เขาเป็นทานไป เพื่อสะสมบารมีทานของเราเอง ละเว้นความผูกแค้นคิดเบียดเบียนเขาจนเบียดเบียนใจตนเองให้เป็นทุกข์หมองไหม้สละให้เขาไปเป็นอภัยทาน)
- ให้เจริญเมตตาตนเอง+อานาปานสติ+จาคะ
- ให้เจริญเมตตาแก่ผู้อื่น โดยเอาผลจากการเมตตาตนเองนั้นแผ่ไป

อาฬวกยักษ์ ผู้กระด้างปราศจากความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่างทรหดยิ่งกว่ามาร ตลอดราตรี พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกมาดีแล้ว ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้นขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 12:52:58 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #391 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 12:55:09 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
"พุทโธ เป็นอย่างไร"

" .. หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า "เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก" ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด "ความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำรา หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย" ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด

แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้ "รู้จากจิตของเรานั่นแหละ จิตของเราสงบเราจะรู้เอง" ต้องภาวนาให้มาก ๆ เข้า "เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง" ความรู้อะไร ๆ ให้มันออกจากจิตของเรา

"ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด" ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว "อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต" แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง

"ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ" แล้วพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา "เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร" แล้วรู้เอง .. เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย .. "

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #392 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 12:56:10 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การรนำพระอริยะสัจ ๔ มาใช้ในทางโลก # ๑
ความเป็นพระอริยสัจ ๔ คือ

(.)*ทุกข์ คือ มีใจครอง*(.)

(.)*สมุทัย คือ ไม่รู้*(.)

(.)*นิโรธ คือ ไม่มีใจครอง*(.)

(.)*มรรค คือ ทำความรู้แจ้งเห็นจริง*(.)


การนำพระอริยะสัจ ๔ มาใช้ในทางโลก # ๒
อริยะสัจ ๔ ที่นำมาให้ได้ใช้สะสมเหตุในทางโลก

1. ทุกข์ คือ การประพฤติปฏิบัติตัวของเราที่ก่อเกิดปัญหาชีวิต

2. สมุทัย คือ Adtitude ทัศนคติ มุมมอง ความเชื่อ, Mindset แนวทางความคิด อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของเราที่มีต่อสิ่งต่างๆ ส่งผลให้เกิดการกระทำต่างๆ

3. นิโรธ คือ ความสุขสำเร็จหมดสิ้นปัญหาของเรา

4. มรรค คือ Mindset การจัดการทางความคิด และการกระทำ, ปรับเปลี่ยน Adtitude ทัศนคติ มุมมอง ความเชื่อ เพื่อความขจัดสิ้นปัญหา


การนำพระอริยะสัจ ๔ มาใช้ในทางโลก # ๓
อริยะสัจ ๔ ใช้แก้ปัญหาชีวิต

- ทุกข์ หรือปัญหาชิวิตของเราเป็นแบบไหน
- เหตุแห่งทุกข์ หรือต้นเหตุปัญหาของเราคืออะไร
- ความดับทุกข์ หรือหมดสิ้นปัญหาของเราเป็นแบบไหน
- ทางดับทุกข์ หรือทางแก้ปัญหาของเราคืออะไร

๑. ทำความเข้าใจในทุกข์ หรือปัญหาชีวิต เพื่อรู้ตัวทุกข์ หรือปัญหานั้น และเหตุสืบต่อของมัน
๒. ละที่เหตุแห่งทุกข์ หรือต้นเหตุของปัญหา
๓. ทำความสิ้นไปแห่งทุกข์ หรือความหมดสิ้นปัญหาให้แจ้ง เพื่อรู้ว่าความสิ้นทุกข์ หรือปัญหามีได้เพราะอะไร ทำสิ่งใด ละสิ่งใด
๔. ทำในทางดับทุกข์ หรือทางแก้ไขปัญหาให้มาก
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #393 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 12:59:11 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
โพชฌงค์แก้โรคซึมเศร้า

แก้หดหู่ ซึมเศร้า ห่อเหี่ยว เป็นอาการที่ใจถูกบีบอัดให้ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีที่ให้ตั้งขึ้น ไม่มีเครื่องยึด ความไหว ความไม่ได้ ความไม่มี หดหู ดิ่งลง ทนอยู่ไม่ได้ ลงเป็นอาการซึมเศร้าภาวะทางจิต

ทางแก้ให้เดินโพชฌงค์ตามกาล โดยธรรมฆ่า ถีนะ มิทธะ คือ
1. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
2. วิริยสัมโพชฌงค์
3. ปีติสัมโพชฌงค์

ธัมมะวิจะยะ คือ การทำความรู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้น เห็นชัดในธรรมชาติ ถึงสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ของเรา บังคับไม่ได้ ไม่มีอำนาจจะไปบังคับให้เป็นไปดั่งใจได้ ไม่ใช่ตัวตน มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ไม่คงอยู่ยั่งยืนนาน นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น
..การเอาใจยึดครอง เอาใจไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งทั้งปวงในโลก คาดหวัง ใคร่ปารถนาเกินความจำเป็นล้วนแล้วแต่หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ เพราะทุกอย่างมีความแปรปรวนเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปในบังคับบัญชาของใคร
..ทำเหตุให้ดี เหตุดีมีมาก สิ่งดีย่อมแสดงผล ..แต่หากเหตุดีมีน้อย เหตุไม่ดีมีมาก สิ่งไม่ดีย่อมแสดงผล มันเป็นธรรมดาตามเหตุปัจจัย ตามผลของการกระทำ คือ กรรม เราเป็นทายาทกรรม
..เลือกเฟ้นธรรมอันเหมาะสมแก่กาลนั้นให้จิตตั้งขึ้นด้วยสติ เห็นถึงความเป้นปกติตามธรรมชาติ ไม่มีใครฝืนธรรมชาติได้ ไม่ว่า เทวดา มาร พรหม ยม ยักษ์ทั้งปวง

ดังนี้แล้ว เมื่อเกิดผิดหวัง ท้อแท้ หดหู่ เสียใจ ซึมเศร้า ให้หน่วงนึกในใจว่า มันเป็นเรื่องธรรมชาติ อยู่เหนือการควบคุมของเรา เราไม่มีอำนาจอันใดไปบังคับควบคุมมันให้เป็นดั่งใจได้ สิ่งที่เหนือการควบคุมของเรา มันไม่ใช่ความผิดของเรา เราทำเต็มที่แล้ว ดีที่สุดแล้ว ทุกอย่างย่อมกลับคืนสู่ธรรมชาติ คือ อยู่ในรูปของความไม่ใช่ตัวตน แปรปรวน ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนอยู่ได้นาน เอาใจเข้ายึดครอง เอาใจไปผูกขึ้นไว้ ตั้งความปารถนากับมันก็มีแต่ทุกข์ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งนั้นๆย่อมไม่ทุกข์

วิริยะ ความเพียร เมื่อรู้ความเป็นธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงด้วยธัมมวิจยะนั้นแล้ว ย่อมรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ควรเสพย์ ไม่ควรเอามาเป็นเครื่องยึด ไม่ควรเอามาตั้งไว้ในใจ เมื่อรู้แล้วก็สักแต่ว่ารู้ รู้ว่าไม่ใช่สิ่งควรเสพย์แล้วปล่อยมันไป ความหดหู่ ซึมเศร้า ห่อเหี่ยว เป็นอาการที่ใจถูกบีบอัดให้ทนอยู่ไม่ได้เป็นทุกข์ แล้วตั้งหน้าไปที่จะไม่จับเอาความขุ่นใจนั้นมาเสพย์ น้อมใจไปในสิ่งดีงามให้เกิดขึ้น สิ่งที่นึกถึงเมื่อไๆหร่แล้วมีความอิ่มใจ ซาบซ่าน ผ่องใส กระปี้กระเป่า
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #394 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 12:59:50 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
มีสติพร้อม
จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #395 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:00:15 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทำด้วยใจสงบ
เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน
เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน
เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #396 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:00:33 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บริจาค
ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอ ก
การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน
เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ 
การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #397 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:00:50 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
หยุดพิจารณา
คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน
และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือ หยุดพิจารณา
แล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา  ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #398 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:01:10 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
โลกิยะหรือโลกุตระ
คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้
คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ?
ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว
ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ? แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน  เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #399 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:03:07 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1. สมมติกิเลส  มันเป็นสมมติอารมณ์ที่ให้ค่าอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ให้ความหมายว่าอาการแบบนี้ๆเรียกว่า รัก โลภ โกรธ หลง แต่เป็นการให้ค่าความสำคัญมั่นหมายของใจต่อความรู้สึกจนทนอยู่ได้ยาก
- ถ้าในส่วนที่พระอริยะท่านสอนคือ มันคือสมมติธัมมารมณ์ที่ใจรู้ ที่เกิดขึ้นรายล้อมจิตทั่วไป ซึ่งวางไว้ล่อใจให้หลงตามทาง มโนทวาร ..มันแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบทั้วไป ไม่มีอะไรเกินนี้

2. สมมติความคิด คือ ปรุงแต่งสืบต่อจากที่รู้อยู่ในปัจจุบัน เป็นการสืบต่อเรื่องราวไปตามอารมณ์ต่างๆ ส่งจิตออกนอก
- หรือ การหวนระลึก คำนึงถึง สิ่งที่ผ่านมาแล้ว หรือเรื่องที่ยังไม่เปิดขึ้น แล้วปรุงแต่งเรื่องราวสืบต่อตามความรัก ชัง กลัว หลง จนทำให้เหมือนเรื่องนั้นกำลังเกิดขึึ้นอยู่ต่อหน้าในปัจจุบันนั้นๆ ทั้งๆที่ผ่านมาแล้ว หรือยังไม่เคยเกิดขึุ้นเลย
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #400 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:05:26 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน 28 ต.ค. 64 คลองธรรมมุทิตาจิต

๑. หมั่นทำปัตตานุโมทนามัย คือ อนุโมทนา สาธุ ไปกับเขา

๒. เอาใจเราน้อมไปรับรู้ความสุขสำเร็จจากเขา เวลาที่ใครมีสุข ไม่ว่าบุคคลอันเป็นที่รัก ญาติ มิตร หรือศัตรู
     ๒.๑. ให้เราน้อมใจเราไปจับเอาความรู้สึกของเขา ดูว่า ..ความสุขนั้นมันเป็นแบบไหนนะ มันมีความรู้สึกเป็นอย่างไร มั เย็นใจ นอิ่มเอม มันซาบซ่าน แช่มชื่น ฟูฟ่อง รื่มรมย์จิตใจยังไง
     ๒.๒. เมื่อเราจับรู้ความรู้สึกสุขจากเขาได้ ให้เอาความรู้สึกนั้นมาน้อมใส่กายใจ เราจะรู้ว่าความสุขสำเร็จของเขานั้นทำให้เราเป็นสุขได้ด้วย
     ๒.๓. จะเห็นว่า..ที่เรามีความสุขไปกับเขาด้วย เพราะตอนนั้น..ใจเราจับที่ความสุขสำเร็จของผู้อื่น ปลื้มใจยืนดีไปกับความสุขสำเร็จที่เขามี ใจเราปราศจากความติดข้องสงสัย ไม่มีความขุ่นใจ ขัดเคืองใจ ในสุขนั้นที่เขามี เพราะเราเอาใจรับรู้ถึงความเติมเต็มบริบูรณ์ไม่พร่องไม่ขาดนั้น ข้อนี้ทำให้เห็นว่า แค่เราเป็นสุขไปความสุขสำเร็จของเขา ไม่ว่าจะเป็นใคร เราก็มีความสุขเต็มอิ่มเกิดขึ้นกับใจแล้ว ไม่มีความขาด ไม่มีความด้อย ไม่มีความยินดีกับสิ่งทั้งปวง แม้ขณะนั้นตนเองไม่ได้มีอะไรเลยก็ตาม

๓. เมื่อพิจารณาคลองธรรมแล้ว ..เราจะเห็นว่า สุขทุกข์ มันเกิดขึ้นที่กายใจเรานี้เอง ไม่ได้ไปเกิดกับที่อื่น หรือสิ่งอื่นใดเลย ดังนี้แล้ว..เราริษยาเขาเกิดขึ้นได้ด้วยเพราะเรารู้สึกขาด เรารู้สึกด้อย เรารู้สึกไม่มี ไม่เราพอใจสิ่งที่ตนเองมี ที่ตนเองได้รับ เราละโมบอยากได้ไม่พอใจสิ่งที่ตนมี แล้วคิดว่าสิ่งนั้นที่เขาได้ควรเป็นของตน ตนควรได้รับ ริษยา อยากเป็นอย่างเขา อยากเหนือกว่าเขา ..ทั้งที่ตนไม่ขาด ไม่พร่อง แต่ทำให้ตนขาดพร่อง เพราะไม่รู้ค่าในตนเอง ไม่เห็นคุณค่าสิ่งที่มี ของแม้เล็กน้อยประการใดแม้ได้มาก็ถือว่าได้ ของใดไม่ได้มานั้นเพราะยังไม่ถึงเวลาของเรา ลาภสักการอย่างนั้นไม่ได้มีมาเพื่อเรา เพราะเรายังพร่องอยู่ หรือเราอยังใส่ใจไม่เพียงพอ ทำไม่เพียง หรือทำไม่ถูกจุด ยังจับหลักไม่ได้ หรือเพราะความเพียรพยายามของเรายังไม่เต็มที่ หรือเพราะสติยังตั้งมั่นไม่พอ หรือเพราะใจเรายังไม่มีกำลังจดจ่ออันควรแก่งาน หรือเพราะการทำความรู้ความเข้าใจของเรายังไม่เพียงพอชัดแจ้ง ทำให้ยังไม่ถึงเวลาแห่งความสำเร็จของเรา ..เพราะเราไม่เข้าใจในจุดนี้ตรงนี้.. เราจึงริษยาเขาเพียงเพราะสำคัญมั่นหมายไว้ในใจว่า.. เราจะต้องได้เท่านั้น ต้องได้เท่าคนนั้น เราจะต้องได้เท่าคนนี้ เราจะต้องได้มากกว่าคนโน้น เราจะต้องได้ดีกว่า หรือเสมอกัน ข้อนี้บ่งบอกถึงความที่เราบกพร้อง ขาด ด้อย มีปมด้อย เพราะเราสร้างมันขึ้นมาแก่กายใจตนเองทั้งสิ้น

---------------------------------------------------

มุทิตากรรมฐาน

๑. เมื่อรู้ว่าสุขทุกข์เกิดขึ้นที่ใจ ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะใจเราน้อมไปส่งออกไปหากิเลสที่รายล้อมเกาะกุมใจทั้งสิ้น จิตที่เกิดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดไรๆ ไม่ว่าจะเป็นรัก โลภ โกรธ หลง ชอบ ชัง เฉย ล้วนแล้วแต่เป็นธัมมารมณ์ที่เกิดขึ้นให้ใจรู้เสพย์ทั้งสิ้น หากไม่ส่งจิตไปหมายรู้หมายเสพย์ซึ่งธัมมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจเรา ใจเราก็จะมีกำลัง ก็จะไม่ทุกข์ ที่ใจอ่อนแรง อ่อนแอ อ่อนไหวง่าย เป็นทุกข์ ..ก็เพราะน้อมใจไปหาอารมณ์ทั้งสิ้น

๒. เมื่อรู้ดังนี้แล้ว..ให้เอาจิตจับที่จิต จิตส่งเข้าใน ทวนกระแสเข้าไปในใจ รวมไว้ที่ฐานจิต ไม่ทำเจตนาต่ออารมณ์ ทำความรู้อยู่ที่ใจตน เป็นการคงทุกอย่างไว้ในภายใน ไม่สัดส่ายสูญเสียออกไปที่ไหน

๓. ไม่ว่าอะไรจะเกิดรู้ ก็ทำสักแต่ว่ารู้ไม่เข้าหา ไม่น้อมใจไป รู้ปักหลักปักตอตรึงอยุ่ที่ใจที่ตัวผู้รู้ จนกายเป็นเพียงผู้แล ไม่ส่ง ไม่ซ่าน ไม่ทำ

หมายเหตุ
๑. สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวโดยมีความรู้อยู่เป็นอามณ์
๒. เป็นการสร้างกำลังให้จิต
๓. จิตทำสักแต่ว่ารู้ โดยไม่ส่งออกนอกได้
๔. เป็นเหตุฝึกทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #401 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:06:48 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน 28 ต.ค. 64 การสาธุ เป็นการอนุโมทนา เป็นมุทิตา

สมัยใดเมื่อเราสาธุการ มีใจอนุโมทนาต่อใครแล้ว เรามีใจเบิกบาน เบา เย็นใจ อิ่มใจ ปราศจากความเคลือบแคลงใจ ริษยา สมัยนั้นชื่อว่า เราถึง มุทิตาจิต

การสาธุการ หรือ อนุโมทนาจิตนี้..เป็นข้อเบื้องต้นง่ายๆให้เราเข้าใจอาการของจิตที่เป็นมุทิตา

*** ยกตัวอย่างเช่น ***

 ..หากใครสักคนที่เราชอบใจ เอ็นดู ให้ความสำคัญ ทำในสิ่งที่ดีงามให้เราปราบปลื้มใจ ยินดี หรือ มีใครโพสท์ธรรมใดที่เราเจริญใจ เราทำการสาธุการ คือ มีใจอนุโมทนาเขาด้วยความเต็มใจ บริสุทธิ์ใจ

 ..กล่าวคือ.. มีใจปราศจากความริษยา เคลือบแคลงใจ ไม่มีอรดี ไม่ริษยา ไม่พอใจยินดี, ไม่มี ปฏิฆะ เกลียดชัง ต่อเขา
 ..ด้วยเรามีใจเห็นว่า ..สิ่งนี้ดี มีประโยชน์ดีงามต่อเขาและเรา หรือผู้อื่นก็ตาม สิ่งนี้ยังให้เกิดประโยชน์สุขสำเร็จดีงามอันควรที่เขาจะได้รับ นั่นคือใจเราถึงมุทิตาจิตแล้ว

***************************

การให้ทาน กับการอนุโมทนาสาธุ ในโลกเรานี้เหมือนกันอยู่ด้วยประการดังนี้คือ

1. ให้ทานเพื่อผ่านๆ หรือ กล่าวอนุโมทนาสาธุแบบผ่านๆ

2. ให้ทานด้วยหวังผล หรือ อนุโมทนาสาธุเพื่อหวังผล

3. มีใจเป็นทานจิตพร้อมด้วยกรุณา หรือ มีใจเป็นอนุโมทนาจิตพร้อมด้วยมุทิตาจิต

4. มีทานจิตสละคืนโลภะ หรือ มีอนุโมทนาจิตสละคืนโทสะ ริษยา ความไม่พอใจยินดี อรดี

***************************
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #402 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:08:24 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ถ้าเราเป็นผู้รู้สมมุติอันนี้

เมื่อมันจับไข้...ก็หาหยูกยาให้มันกิน
เมื่อมันร้อน...ก็อาบน้ำให้มัน
เมื่อมันเย็น...ก็หาความอบอุ่นให้มัน
เมื่อมันหิว...ก็หาข้าวให้มันกิน

แต่ให้เรารู้ว่าให้ข้าวมันกิน...มันก็จะตายอยู่
แต่ในเวลานี้ยังไม่ถึงคราวจะตาย
เหมือนถ้วยใบนี้...ยังไม่แตก
ก็รักษาถ้วยใบนี้...ให้มัน เกิดประโยชน์เสียก่อน

หลวงพ่อชา สุภทฺโท
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #403 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:14:02 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
**  บันทึกกรรมฐาน 10/10/65
ความว่า สัพเพธัมมา อนัตตาติ  คือ ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน
**

..แท้แล้ว ธรรมทั้งปวงที่ว่านี้ คือ ธัมมารมณ์ เป็นสิ่งที่ใจรู้ กว่าวคือ สิ่งที่ใจรู้ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน เราไม่ต้องไปมองอื่นไกลว่าเป็นสิ่งภายนอกภายใน หรือไม่ต้แงไปแปลผิดว่า สัพเพธรรมมา อนัตตา คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อุปาทานธรรมใด แต่มันคือ ธัมมารมณ์สิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง ใจรู้อะไร ใจมันรู้หมดทั้งภายนอกภายใจนี้แหละ ทุกสิ่งที่ใจรู้มันต่อต่อมาเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ใจรับรู้ทั้งหมด ไม่มีเว้น ดังนั้นมัวไปตัดไม่มองภายนอกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันจะเป็นการสร้างอุปาทานไตรลักษณ์ขึ้นในใจเราทั้งสิ้น ค้องมองย้อนมาดูในภายในกายใจตนนี้แหละ สิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง รู้อะไรบ้างล่ะ
..รู้อ่อน รู้แข็ง งามประณีต สวย ทราม หยาบ ไม่สวย ล้วนรวมลงความรู้สึกที่ใจตอบสนองกลับทั้งสิ้น คือ เสวยสุขโสมนัส ทุกขโทมัน อขมสุขขมทุกขอุเบกขา ชอบ ชัง ตราตรึง ติดตาม ใคร่ได้ อยากให้คงอยู่ไม่เสื่อม ผลักไส ไม่อยากให้เกิดขึ้น ไม่อยากพบเจอ กระวนกระวาย หมกมุ่น ดิ้นรน แสวงหา มันเกิดขึ้นที่ใจทั้งหมด มันรู้ที่ใจ เกิดที่ใจทั้งหมด เมื่อมองเห็นธัมมารมณ์ ก็จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแท้ๆ แม้ในไตรลักษณ์ ก็ไม่ใช่ตัวตนให้ลูบคลำ ให้จิตรู้ จิตจำนงค์ มันแปรปรวนไปของมันตามเหตุปัจจัย แต่ไม่มีสิ่งใดที่จะไม่ดับไปในที่สุด หรือเราจะมีอำนาจบังคับให้มันแสดงความไม่มีตัวตนให้ประจักษ์ดั่งใจเราต้องการก็ไม่ได้ ไตรลักษณ์ ก็เป็นธัมมารมณ์ เมื่อรู้ดังนี้ จึงจะไม่ยึดสมมติเอาได้ แต่ไม่ใช่เห็นแค่นิดหน่อยจะลงใจได้ ต้องสะสมไปจนใจมันอิ่มเต็มในปัญญา

..ด้วยประการดังนี้.. จึงสมกับ หลวงตาสิริ และ หลวงพ่อเสถียร ที่กรุณาสอนข้าพเจ้าไว้ว่า อย่ายึดสิ่งที่จิตรู้ จิตรู้สิ่งใดล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ก็ไม่ยึดสมมติทั้งหมด ลมหายใจนี้เป็นของจริง ไม่ใช่ของปรุงแต่ง ไม่ใช่เครื่องปรุงแต่งจิต เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีไว้เพื่อปรุงแต่งจิต ไม่ใช่ของสมมติ เป็นวาโยธาตุ ที่มีทั้งภายใน และภายนอก เป็นสิ่งที่กายต้องการ อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ

..นั่นเพราะอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างมันปรุงมาแล้วให้ใจรู้ แม้ในสภาวะธรรมจริง..แต่หากเข้าไปรู้โดยมีใจกำหนดหมายรู้ให้เป็นนั่นเป็นนี่-สืบต่อมีอย่างนั้นอย่างนี้-มีอาการรูปร่างแบบนี้แบบนั้น..มันก็เป็นสิ่งปรุงสืบต่อมาแล้วให้เห็น..เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งสืบต่อ
..ดังนี้แล้ว..การเข้าไปรู้โดยความไม่ปรุง ไม่ทำ ไม่กำหนดหมาย ไม่ถือเอาโดยนิมิต จึงชื่อว่าของจริง ..สิ่งไม่ปรุง คือ ความไม่มี
..สมดั่งพระบรมศาสดาตรัสสอนว่า โลกเป็นของไม่มี จงเห็นโลกเป็นของว่าง จึงถึงจิตอันบริสุทธิ์แท้จริง
..สมดั่งพระศาสดาตรัสไว้ และพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวกับพระอานนมหาเถระไว้ว่า ธรรมชาตินั้นสงบ ธรรมชาตินั้นสบาย ความว่าง ความไม่มี สุญญตา ความสละคืน จาคะ

ก. ด้วยประการฉะนี้ สัพเพ ธัมมา อนัตตา คือ ธัมมารมณ์ ทั้งปวง ดังนี้..

ข. จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ก็ไม่ยึดสมมติ อย่าทิ้งลมหายใจ ลมหายใจคือของจริง ไม่ใช่ของปรุงแต่ง ไม่ได้มีไว้เพื่อปรุงแต่งจิต เป็นวาโยธาตุ ลมหายใจ คือสิ่งที่กายต้องการ เป็นกายสังขาร ไม่มีลมหายใจก็ตาย อย่าทิ้งพุทโธ เพราะพุทโธ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือกิริยาจิตที่เป็นมหาปัญญา เพราะพุทโธ คือกิริยาจิตที่รู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ(รู้ปัจจุบัน รู้สมมติ รู้ของจริง), คือกิริยาจิตที่ตื่นจากสมมติ(มีใจออกจากสมมติกิเลสของปลอม ไม่เสพย์สมมติ), คือกิริยาจิตที่เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม(แจ่มใส เบิกบาน เย็นใจ สงบ สบาย ไม่เร่าร้อน)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 01:22:34 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #404 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2022, 01:17:21 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน 10/10/65

ก.) เหตุเพราะ..ไตรลักษณ์ เป็นปฏิฆะต่อ ตัณหา ๓ การรู้ไตรลักษณ์ จึงเป็นไปเพื่อละ ตัณหา แต่การอัตตาไตรลักษณ์ คือ ปุถุชน ส่วนพระอริยะสาวกนั้น คือ ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน อัตตาไตรลักษณ์จึงมีเพีนงปุถุชนเท่านั้น

ข.) มรรค คือ ละกิเลสตัณหา จนเหลือเพียงแต่ปัญญาล้วนๆ โดยการเข้าถึงดังนี้..

๑. รู้เห็นตามจริงในทางกรรม ทุกๆการกระทำมีผลสืบต่อ ทำให้เข้าถึงสัทธาพละ

๒. ทำดี ละชั่ว เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสัมมัปปธาน ๔ เพื่อประโยชน์ดังนี้..
- เพื่อตัดกำลังของกิเลสตัณหาในใจตน
- เป็นเหตุให้สัมปะชัญญะ คือ ความรู้ตัว รู้เท่าทันการกระทำทางกาย วาจา ใจ และ สติ คือ ความระลึกรู้ รู้เท่าทันความคิด มีสติสัมปชัญญะเกิดบ่อยขึ้นจนมีกำลังให้สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้

๓. มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติตั้งมั่นจดจ่อกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่ได้นาน ก็จะรู้เท่าทันธัมมารมณ์ คือ รู้เท่าทันจิต ทันกิเลสตัณหา แยกแยะได้ ยับยั้งได้ จำแนกได้ รู้ผลสืบต่อได้ชัด รู้ธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ รู้สิ่งที่ควรทำ เป็นสติพละ
- เป็นเหตุให้จิตมีกำลังเพราะตั้งอยู่ ไม่สัดส่ายอ่อนไหวตามสมมติธัมมารมณ์ที่กิเลสวางไว้ล่อจิตทางมโนทวาร
- เมื่อจิตไม่กระเพื่อม อ่อนไหว สัดส่ายออกนอกไหลตามกิเลสไปทั่ว จิตก็จะทำงานน้อยลง จิตก็จะเริ่มมีแรงกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปอิงอาศัยธัมมารมณ์เป็นเครื่องอยู่ นี้เป็นสมาธิพละ

๔. เข้าถึงสมาธิ
- ประการที่ ๑ เพื่อให้จิตตั้งมั่น มีกำลังไม่อ่อนไหวตามกิเลส ทำให้ความคิดลดลง ความปรุงแต่งน้อยลง กิเลสอ่อนกำลังลง เข้าไปเห็นสภาพธรรมตามจริง(สภาวะจิตเห็นจิต)โดยปราศจากจิตปรุงแต่งให้เป็นไป(สภาวะจิตหลอกจิต)มากขึ้น คือ ญาณทัสนะ สมดั่งพระบรมศาสดาตรัสว่า..สัมมาสมาธิ เป็นเหตุใกล้แห่งปัญญา
- ประการที่ ๒ เพื่อให้จิตจดจ่อตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวอยู่ได้นาน เพื่อเห็นความเป็นจริงของสังขารเจ้าถึงสภาพวะธรรม หากสมาธิไม่พอเข้าได้แค่วูบวาบๆกำลัวจะตั้งมั่น หรือกำลังจะถึงสภาวะธรรมจิตก็หลุดออกมาแล้ว) จนจิตอ่อนควรแก่งาน(คือ กิเลสไม่มีกำลังให้จิตอ่อนไหวตาม) ถึงปัญญาแท้ เห็น ธัมมารมณ์ทั้งหลายเป็นอนัตตา ถึงความตัด

ค.) อนุมาน คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ อย่างที่ปุถุชนพอจะสามารถลูบคลำได้ ดังนี้..

๑. จิตที่แล่นลงมรรค คือ ไม่กลับกลาย ไม่เสื่อมอีก

๒. พระโสดาบัน คือ รู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เป็นไปเพื่อบังคับ ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจบังคับของเรา อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นไปด้วยกรรม มีกรรรมให้ผล เป็นทายาทกรรม ความหมกมุ่นเป็นที่ตั้งแห่งไฟแผดเผาใจ

๓. พระสกิทาคา คือ มีใจน้อมไปเห็นโทษในกาม แม้ความตราตรึงใจก็เป็นทุกข์ มีจิตตรงต่อพระนิพพาน

๔. พระอนาคามี คือ ละเสียซึ่งความตราตรึงใจในสิ่งทั้งปวง เพราะล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ตัวตน มีความแปรปรวนอยู่ทุกขณะเป็นธรรมดา แต่ด้วยจิตนี้ไม่ตาย ยังคงหมายรู้ ไม่อุปาทานขันธ์ภายนอก แต่อุปาทานจิต

๕. พระอรหันต์ คือ รู้แจ้งแทงตลอดถึงซึ่งสัพเพธัมมา อนัตตาติ คือธรรมทั้งปวง(ธัมมารมณ์ทั้งปวง)ที่ใจรู้ ไม่ใช่ตัวตน จิตไม่ทำอุปาทานขันธ์อีก แต่จะอุปาทานเฉพาะกิจ คือ เมื่อต้องใช้พูด คุย ฟัง สนทนา กระทำทางกาย ทำกิจของสงฆ์ ก็จึงทำมโนสัญเจตนาอุปาทานขันธ์ คือ ยึดเฉพาะขันธ์นั้นๆมาใช้ตามหน้าที่ของมัน เราจึงเห็นว่าพระอรหันต์ ยืน เดิน นั่ง นอน พูด คุย เหมือนคนปกติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2022, 01:22:55 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 05, 2024, 05:10:17 AM