เมษายน 19, 2024, 10:14:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 407770 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #435 เมื่อ: กันยายน 17, 2022, 09:39:39 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สังขารุเปกขาในระดับปุถุชนที่เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ 1

ก. ปัญญาในสมถะ คือ ทำสักแค่ว่ารู้ ทำแค่รู้ มีใจผลักออกจากอารมณ์ เคลื่อนไปในอารมณ์ที่ดีกว่า เป็นปัญญาในสมถะ

1. แก้ฟุ้งซ่าน เหม่อลอยไปตามความคิด มีใจอ่อนไหวไหลตามไปในรัก โลภ โกรธ หลง
     ..อาศัยขณิกสมาธิ คือ ความสงบใจ (ในขั้นหยาบนี้ นิวรณ์ อุปกิเลสยังมีรายล้อมอยู่ แต่จิตไม่จับ ไม่ยึด ไม่เสพย์) น้อมเข้ามาในภายใน พิจารณาให้เห็นว่า..

1.1 เพราะใจเราอ่อนไหวไปตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมจึงเร่าร้อน เพราะใจเราอ่อนไหวติดใคร่หมายมั่นในสิ่งที่มากระทบให้ใจรู้ทั้งปวงไปตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมจึงทนอยู่ได้ยาก เพราะใจอ่อนไหวตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมข้องแวะเกลียดชัง ผลักไส ต่อต้าน ไม่อยากพบ ไม่อยากเจอ ไม่อยากให้เกิดมีกับตนจึงทนอยู่ได้ยาก จะบังคับไม่ให้เกิดกับตนก็ไม่ได้ เพราะใจขาดปัญญาทำให้ไม่รู้ว่ามันเป็นแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบที่มันเกิดขึ้นกับใจอยู่ตลอดเวลา อยู่เหนือการควบคุม เป็นทุกข์เพราะใจคอยอ่อนไหวไหลตามสมมติความคิดกิเลสของปลอม

1.2 ความสงบใจจากกิเลส เพราะอาศัยใจปล่อย ละ วาง ไม่ยึด ไม่เสพย์ ใจเราทำสักแต่ว่ารู้ ว่ามันแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบที่เกิดขึ้นให้ใจรู้ มันเป็นเพียงสังขารที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแต่สัมผัสที่ตกกระทบใจแล้วปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดสืบต่อไป เพราะใจรู้ดเังนี้ ไม่สืบต่อดังนี้ ปล่อย ละ วาง ไม่ยึด ไม่เสพย์ ถึงความว่าง ใจว่างจากสมมติกิเลสปรุงแต่งจิต ถึงความสงบ ถึงความไม่มี ถึงความสละคืน เราจึงผ่อนคลายสบายกายใจ เย็นใจไม่เร่าร้อน เป็นสบายกายใจนัก

1.3 เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ให้มีสติเป็นเบื้องหน้า ทำไว้ในใจเคลื่อนใจออกจากอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีใจน้อมไปในการไม่จับ ไม่เอา ไม่ยึด ไม่เสพย์ ถึงความว่าง ความไม่มี ความสละคืน
- ขณะนี้จะเห็นความรู้สึกทั้งปวงเป็นเพียงสังขารที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นให้ใจรู้ ให้ใจหลงเสพย์ จิตจะเคลื่อนออกจากกองสังขารนั้น เกิดมนสิการน้อมใจไปในความสงบ ปล่อย ละ วาง ไม่ติดใจข้องแวะอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง แม้ภายนอก หรือภายใจ (แรกเริ่มที่ฝึกหัดใหม่จะตั้งด้วยมโนกรรม คือ เจตนา อาศัยใจหน่าย ผลักไสจากสังขาร จากธัมมารมร์ทั้งปวง)

1.4 คาถาแก้ความฟุ้งซ่าน

..อย่าไปติดใจข้องแวะมันเลย ติดใจข้องแวะมันไปก็หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ไม่ติดใจข้องแวะมันก็ไม่ทุกข์

- คำว่า "ติดใจ" ในที่นี้ คือ การเอาใจเข้าไปข้องเกี่ยว ยินดี ติดใจ ใคร่ตาม หมายมั่นต้องการปารถนา
- คำว่า "ข้องแวะ" ในที่นี้ คือ เอาใจเข้าไปข้องเกียว ยินร้าย ขุ่นข้อง ขัดเคืองใจ หมายมั่นเกลียดชัง ผลักไส
- คำว่า "มัน" ในที่นี้ คือ ธัมมารมณ์ทั้งปวง สังขารทั้งปวง คือ สิ่งที่รับรู้กระทบสัมผัสในภายนอก อาการความรู้สึกนึกคิดอันเกิดแต่กระทบสัมผัสในภายใน
- การไม่ติดใจข้องแวะ ในที่นี้หมายถึง การไม่เอาใจเข้าไปข้องเกี่ยว คือ ตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจยินดี ยินร้าย รัก ชัง กลัว หลง สักแต่ว่ารู้แล้วก็ปล่อยผ่านไป ไม่เอาใจเอายึดครอง ไม่เอาใจเข้าไปข้องเกี่ยว ใหฟ้เกิดความสืบต่อ


2. แก้ใจไม่มีกำลัง เพราะอาศัยอุปจาระสมาธิ

"คาถาแก้อารมณ์ จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ก็ไม่ยึดสมมติ"
"ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ"

คำสอนของหลวงพ่อเสถียร ถิระญาโน จาก หลวงตาศิริ อินทสิริ

2.1 เพราะใจอยู่เหนือการควบคุม ทำให้ไม่อาจจะทรงอารมณ์นั้นได้ตลอดเวลา เมื่อกิเลสที่จรมาเกิดขึ้นให้ใจรู้ โดยอาศัยเครื่องล่อใจ คือ รูป เสียง กลิ้น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เมื่อใดที่ใจเรารู้สิ่งเหล่านี้โดยสมมติ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์เมื่อนั้น เรามีความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ต่อสิ่งนั้นอย่างไร ความทุกข์ด้วยประการฉันนั้น

2.2 เมื่อได้รู้อย่างนี้แล้วพึงไม่ตั้งความสำคัญมั่นหมายใดๆไว้กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ทำสักแต่ว่ารู้แล้วก็ปล่อยมันไป เราก็จะไม่ยึดสมมติ ก็ไม่มีทุกข์

2.3 ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น เพราะลมหายใจคือ กายสังขาร กายเรานี้อาศัยลมหายใจหล่อเลี้ยงกายไว้จึงยังทรงรูปของมันไว้ได้อยู่

2.4 ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น เพราะลมหายใจเป็นธาตุ ๑ ใน ธาตุ ๖ คือ วาโยธาตุในกายนี้ เคลื่อนไหวเข้าออกในกาย ทำให้กายเคลื่อนตัวเหยียดออก แผ่ออก ขยายออกด้วยลมหายใจเข้า ทำให้กายเคลื่อนตัวผ่อนลง หด คู้เข้าด้วยลมหายใจออก

2.5 ลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ลมหายใจไม่มีโทษ ลมหายใจเป็นที่สบายกายใจ เพราะลมหายใจไม่ใช่เครื่องปรุงแต่งจิต ไม่ใช่เครื่องปรุ่งแต่งสมมติให้จิต รู้ลมหายใจจิตจึงไม่ยึดสมมติ รู้ลมหายใจจิตจึงไม่ปรุงแต่งจิต เพราะลมหายใจไม่ใช่ของปรุงแต่งจิต อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ

คำว่าสมมติ มีจำแนกด้วยกันดังนี้

ก. สมมติความคิด คือความคิดสืบต่อเรื่องราวต่างๆไม่อยู่กับปัจจุบัน ไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ตามที่รักบ้าง ที่ชังบ้าง ที่กลัวบ้าง ที่หลงไมม่รู้ตามจริงบ้าง

ข. สมมติสัจจ์ คือ สภาพอาการแท้จริง ที่มีอยู่จริงเดิมแท้ของธรรมธาตุโดยปราศจากการจำกัดความหมายในอาการนั้นๆ เป็นการรับรู้เอาแค่อาการที่มากระทบสัมผัสจากสิ่งทั้งปวงโดยไม่จำกัดความหมายของสิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ใจ คน สัตว์ สิ่งของ รับรู้ได้ด้วยอาการสัมผัสรับรู้ทางสัมผัสในสฬายตนะ เช่น ลมหายใจก็รู้สักแต่ว่าอาการที่สัมผัสได้ คือ เคลื่อน ไหว พอง หย่อน เป็นต้น

ค. สมมติกิเลส คือ ความรักโลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้นกับจิต เกิดปรุงแต่งให้ใจรู้โดยความอาศัยความคิดสืบต่อ กล่าวคือ..
- ความคิดที่ใคร่เสพย์ ความคิดสมมติสืบต่อเรื่องราวที่ใคร่ ..ความนึกคิดในราคะนั้น มีความหมายรู้สำคัญมั่นหมายของใจเป็นสมุทัย ..ก็เพราะใจเรามีราคะเป็นเครื่องอยู่ที่ตั้งแห่งใจ ด้วยความสำคัญมั่นหมายเอาผูกขึ้นไว้กับใจต่อสิ่งที่รู้อยู่นั้นๆด้วยราคะ ..ใจเราก็รู้สิ่งนั้นด้วยราคะ เมื่อรู้สิ่งใดด้วยราคะ ใจก็จะตรึกถึงนึกถึงราคะ แล้วก็คิดสืบต่อเรื่องราวในราคะ
- เมื่อจิตเสพย์ความคิดที่มีราคะเป็นที่ตั้ง จึงทนอยู่ได้ยาก ทุรนทุราย เร่าร้อนเป็นไฟแผดเผากายใจด้วยไฟราคะ
- โดยกิเลสราคะนี้อาศัยความรู้สึกนึกคิดอันเกิดแต่สัมผัสนี้เป็นธัมมารมณ์เครื่องล่อจิต สิ่งนี้สำคัญที่สุด เพราะละสิ่งนี้ได้จึงเห็นธัมมารมณ์ จึงเห็นธาตุที่แท้จริง

- เมื่อเข้าอุปจาระสมาธิได้ นิวรณ์จะอ่อน ไม่มีความกำหนัด สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล อุปจาระฌาณละเอียดจะเหมือนละกิเลสได้ เหมือนบรรลุธรรมเพราะสงัดจากกิเลส จิตตั้งมั่นไม่สัดส่ายแต่รับรู้ทุกอย่างได้ทั้งภายนอกหรือภายในตามแต่อริริยาบถและกิจการงานที่ทรงอยู่ แต่มันเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ ทำได้เป็นครั้งคราว นึกอกุศลไม่ออก ทรงอารมณ์ได้ทั้งขณะเคลื่อนไหว หรือหยุดนิ่ง

- เมื่อรู้ดังนี้แล้ว เราจะทำไฉนหนอจึงละความรู้อารมณ์ด้วยราคะอย่างนี้ๆไปได้ เมื่อรู้ว่าสำคัญใจด้วยราคะ ตรึกตรองในราคะ จะละก็ละที่เหตุ คือ

      ๑. ความคิดสืบต่อ ก็ละที่การไม่สืบต่อ ทำแค่รู้แล้วปล่อยผ่านมันไป

      ๒. ความนึกถึง ก็ละที่การสำคัญมั่นหมายของใจ คือ การไม่ให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งที่รู้อยู่นั้น ทางแก้ก็เริ่มจาก
          ๒.๑ ความหน่ายระอา คือ กำหนดรู้ทุกข์ในราคะ ที่ร้อนรุ่มเพราะมีราคะ ติดในราคะ เพราะเอาใจเข้ายึดครองราคะ
          ๒.๒ รู้ของจริงต่างหากจากสมมติในสิ่งที่ยึด คือ อาการ ๓๒ ทั้งประการ, ธาตุ ๖, อสุภะกรรมฐาน, สัญญา ๑๐
          ๒.๓ รู้ชัดเหตุแห่งทุกข์นั้น เพราะรู้สิ่งนั้น-ธัมมารมณ์นั้นๆโดยสมมติที่กิเลสวางไว้ล่อใจเราให้หลงตามทางสฬายตนะ จึงสืบต่อสมมติกิเลสอันเร่าร้อน ต้องแก้โดยละสมมติ

      ๓. เมื่อปฏิบัติรวมประการทั้ง ๒ ข้อ ข้างต้นแล้ว เพื่อไม่ให้จิตยึดสมมติกิเลส ไม่เอาสมมติกิเลสมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต ไม่รู้ธัมมารมณ์ด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ..เราก็ต้องไม่ยึดในอาการความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงรวมลงเป็นทางปฏิบัติด้วยประโยคคาถาว่า..

"จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้(ธัมมารมณ์)ก็ไม่ยึดสมมติ ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ คำสอนของหลวงพ่อเสถียร ถิระญาโน จาก หลวงตาศิริ อินทสิริ"

- สัพเพธัมมาอนัตตาติ จะเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัตินี้

- ความสำคัญมั่นหมายของใจ อีกประการหนึ่ง ซึ่งที่มีทับถมในใจมากจนกลายเป็นจริตนิสัยสันดาน ก็คือ นิวรณ์


3. แก้นิวรณ์ ด้วยอาศัยปฐมฌาณ

คาถา ให้เข้าถึง
..เพราะอิงอาศัยนิวรณ์ ความคิด ความจดจำสืบต่อในอกุศลทั้งปวงที่เกิดจากจิต ทำให้ใจเศร้าหมอง เป็นทุกข์
..เพราะความมีจิตแจ่มใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน มีเจตนาเป็นศีล พ้นแล้วจากกิเลสนิวรณ์เป็นสุข

- เมื่ออยู่ในอุปจาระฌาณนิวรณ์ก็อ่อนลงไม่ฟุ้งขึ้น อารมณ์เหมือนสละคืนกิเลสได้แล้ว ปิดการรับรู้ภายนอก เสียงภายนอกเบาจนเหมือนไม่ได้ยินเสียงจากภายนอก เพราะจิตจดจ่อในอารมณ์ที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นลม มีนิมิต หรือว่างโล่ง ไม่มีนิมิต หรือนิ่งอยู่ หรือ มีอาการเหมือนตัวรู้แยกจากความนึกคิดก็ตาม ลมหายใจหายไปบ้าง เหมือนไม่หายใจบ้าง พุทโธดับไปบ้าง หรือเสียงจิตบริกรรมพุทโธอยู่อีกฟากหนึ่ง ไม่ได้อยู่ที่ตัวรู้เหมือนเวลาปกติที่เราเป็น (กล่าวคือเวลาปกติของปุถุชนความรู้จะเป็นอันเดียวกับจิต เจตนาเป็นตัวเดียวกัน อารมณ์ความรู้สึกนึกเป็นอันเดียวกัน)

- เมื่อมีใจน้อมไปในปฐมฌาณ ให้จิตตัวรู้ทิ้งอารมณ์สภาวะธรรมที่อยู่เบื้องหน้า ไม่ใช่ผลักจิตออก แต่เป็นการเคลื่อนอารมณ์ของจิต มีวิธีอยู่ ๒ ประการ ที่ผู้เขียนพอจะมีปัญญาเข้าถึงได้อย่างปุถุชน คือ..

๑. แนบจิตเคลื่อนไหลไปตามลมหายใจ เป็นการยกจิตขึ้นเคลื่อนไปอีกสภาวะหนึ่งตามลมหายใจ (เหมาะกับจิตที่มีกำลังจดจ่อแนบอารมณ์กับนิมิต หรือสี หรือแสงได้ดี) ..โดยเอาจิตจับนิมิตตรงหน้าที่เกิดขึ้นอยู่ไว้มั่น ปักใจแนบเป็นอารมณ์เดียวกับนิมิต แล้วทำไว้ในใจว่า..เราจักเคลื่อนออกจากนิมิตตรงหน้านี้เพื่อเข้าสู่ธรรมที่สูงขึ้น ..โดยเอาจิตแนบตามลมหายใจเข้า(ข้อนี้สำคัญ) เคลื่อนจิตออกจากนิมิตตรงหน้าที่เกิดขึ้นอยู่ เพื่อเลื่อนขึ้นไปในธรรมที่สูงขึ้น  หายใจออกจิตตั้งอารมณ์ในธรรมนั้น
(ธรรมชาติของคนที่กำหนดพุทโธ จะจับลมหายใจเข้าเป็นอันรดับแรก จิตจึงเคลื่อนไปตามความเคยชินดังนี้..)

๒. ทำไว้ในใจละองค์ธรรม เพื่อเข้าถึงองค์ธรรม เป็นการละจากองค์ธรรมหนึ่ง เพื่อเข้าถึงอีกองค์ธรรมหนึ่ง แนบจิตรู้อารมณ์สภาวะองค์ธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน รู้ว่าหากองค์ฺธรรมใดดับ องค์ธรรมใดจะสืบต่อ องค์ธรรมที่เราต้องการจะเคลื่อนไปนั้นต้องสงัดจากองค์ธรรมใด สิ่งใดต้องดับ-สิ่งใดตั้งอยู่จึงเคลื่อนไปจุดนั้นได้ ในที่นี้จะเข้าสู่ปฐมฌาณ เราจับรู้อารมณ์ของอุปจาระฌาณว่ามันมีปรุงแต่งหลายอย่าเกิดขึ้น มีการกระทำ เช่น คิด กระทำใจ มิมิต ยังมีอารมณ์นิวรณ์อ่อนๆ จะความง่วงก็ดี ความหน่ายก็ดี ความเฉยไม่รู้ก็ดี ความจดจ่อนิ่งว่างแต่หน่วงตรึงจิตก็ดี สิ่งนี้คือนิวรณ์ทั้งสิ้น เมื่อรู้แล้วก็ให้ทำไว้ในใจเอาใจแนบอารมณ์จับรู้ที่สภาวะธรรมนั้นไว้เป็นอารมณ์เดียว มีใจอยากออกจากสภาวะธรรมปัจจุบัน ดับสภาวะธรรมนั้น จักเอาใจเคลื่อนออกจากสภาวะนั้น โดยการทำไว้ในใจว่าเพราะอิงอาศัยนิวรณ์ ความคิด ความจดจำสืบต่อ เป็นทุกข์ มีใจถอนออกจากอุปจาระสมาธิ โดบกำหนดหมายใจให้สงัดจากนิมิต สงัดจากความคิด สงัดจากกิเลส กำหนดหมายใจเข้าสู่ปฐมฌาณ (การเคลื่อนของจิตวิธีนี้ จะว่ามีนิมิตก็ไม่ใช่ไม่มีนิมิตก็ไม่ใช่ แต่ที่แน่ชัดคือมีแต่ตัวรู้ และตัวถูกรู้ อาการปรุงแต่งที่ใจรู้ ..ซึ่งจิตตัวรู้จะเกิดความรู้ถึงอาการความรู้สึกขององค์ธรรมที่จิตแนบรู้อยู่เป็นกองธรรมกองหนึ่ง และ จิตตัวรู้จะมนสิการกองธรรมอีกกองที่กำหนดหมาย จากนั้นจิตจะจับรู้ว่ากองธรรมที่กำหนดหมายนั้นตั้งอยู่ที่ใด แล้วจะเคลื่อนตัวไปองค์ธรรมกองนั้น โดยใจเราที่เป็นตัวรู้จะรู้ว่ากองที่เคลื่อนไปนั่นมีสภาวะอาการความรู้สึกอย่างไร เช่น สงบ สงัด เย็นที่สบาย ซาบซ่าน อิ่มเอิบ แช่มชื่น เป็นต้น) นี้เป็นสังขารุเปกขาโดยปัญญาในสมถะ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2022, 04:25:45 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #436 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2022, 08:12:24 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สังขารุเปกขาในระดับปุถุชนที่เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ 2

ต้องรู้ก่อนว่า สิ่งนี้มีแต่พระอริยะสาวก คือ พระโสดาปัติมรรค ขึ้นไปเท่านั้นที่ทำได้ เป็นบุคคลผู้เห็นธรรมแล้วจิตหยั่งลงสู่ธรรมแท้ ไม่กลับกลาย ไม่กลับกลอก

ข. ปัญญาในวิปัสสนา คือ การอบรมอินทรีย์ ทำให้แจ้งในสังขาร จิตรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในโลกุตระ ของคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ คือ มรรค-ผล ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคให้แจ้ง ให้สูงขึ้น จนเข้าถึงอรหันตผล เพราะละอวิชชา ละอุปาทานตัวตนแห่งสังขารอันเป็นสังโยชน์ข้อนั้นๆในแต่ละระดับได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2022, 04:27:00 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #437 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2022, 11:18:36 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การลด ละ เลิก อกุศลกรรม ที่เมื่อทำแล้วกลับฟุ้งซ่าน 1

1. ให้รู้ก่อนว่า..มันจะมีช่วงที่ใจเราต้องการทำอกุศลกรรมนั้นๆอยู่มากในช่วงเวลาหนึ่งที่เราจะเลิกทำ เหตุนั้นมาจากความเคยชินในการทำอย่างนั้นเป็นประจำ จนติดเป็นจริตนิสัย ในขันธสันดาน ถ้าอดทนข่มใจไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนผ่านมันไปได้ จริตนิสัย ขันธสันดานนั้นๆจะอ่อนกำลังลง

- เหตุนั้นเพราะไม่มีการสืบต่ออกุศลอีกด้วยปัญญาสมถะ อาศัยการทรงอารมณ์ไว้เป็นหลัก กล่อมใจให้ออกจากเป็นรอง ตามรู้อารมณ์ความรู้สึก รู้เห็นจริงในความเป็นโลก ละแบบทางโลก .."เอาใจน้อมออกจากอกุศลด้วยอาศัยกุศลธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวอารมณ์จิตใจกดข่ม ถอนออกจากใจ คือ ทมะ จาคะ อุปสมะ แบบสาสวะ สะสมเหตุ".. เป็น อารมณ์สมถะ จนเบาบางลงนานไปกำเริบที

- หรือ หากถอนจนขาดด้วยวิปัสสนาญาณ มันก็จะไม่กำเริบอีก เพราะถึงความว่าง ความสงบ ความไม่มี ความสละคืนแบบอนาสวะ ถอนออกหมด สิ่งนั้นไม่มีตัวตนกับกายใจเราอีก การเอาใจไปผูกความสุขสำเร็จขึ้นไว้กับสิ่งนั้นจึงไม่มีอีก เห็นเป็นสักแต่ว่าธาตุ สักแต่ว่าสิ่งหนึ่งๆที่มีอยู่นับล้านๆแบบในโลก อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้ายแบบล้าานๆอาการ

อธิบาย การทำจนเป็นจริตนิสัย เป็นนิวรณ์ เป็นขันธสันดานแห่งจิต

ก. เป็นนิวรณ์เป็นขันธสันดานจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ ให้หมายรู้ธัมมารมณ์ด้วยกิเลสในประการนั้นๆ

ข. เป็นอวิชชาเกิดจากการลิ้มรสนั้นแล้วชอบใจ แล้วเกิดความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจให้หมายรู้ธัมมารมณ์ด้วยกิเลสในประการนั้นๆ

..นั่นคือ ความหลง ไม่รู้เห็นตามจริง ว่ามันเป็นแค่การเสวยอารมณ์ความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสให้เกิดความยินดี ยินร้าย

..แล้วจดจำสำคัญมั่นหมายเอาไว้กับใจ นำเอามายึดกอดขึ้นไว้เป็นที่ตั้งแห่งจิต
..จนเกิดมีความเอาใจเข้ายึดครอง เอาใจผูกขึ้นไว้ถือเป็นตัวตนแห่งความสุขสำเร็จของตน

..จึงเกิดความหมายปอง แสวงหา แม้ได้มาครองแล้ว เคยลิ้มรสแล้ว ลิ้มรสเต็มที่แล้วก็ยังอิ่มไม้เป็น ยิ่งลิ้มรสยิ่งติดตราตรึงใจหมายปอง นี่เรียกว่า.."กามมันอิ่มไม่เป็น"

..ประการทั้งหมดนี้คือ "อวิชชา" ความหลง ไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ในพระอริยะสัจ ๔ ที่เกิดขึ้นไม่ก่อน ไม่หลัง แต่เดิมไม่มี ปัจจุบันนี้มี ต่อไปจึงมี อาศัยนิวรณ์ ความจดจำสำคัญหมายรู้ในธัมมารมณ์สถิตเป็นขันธสันดาน เป็นอาหารแห่งอวิชชา ดังนี้..



2. ตั้งใจมั่นทำการลด ละ เลิกในอกุศลกรรมแล้ว ใจมีสติรู้ แต่ต้านทานไม่ได้

..เหตุนั้นเพราะเราให้ความสำคัญที่จะลดละเลิกกับมันมากไป จนกลายเป็นการจำจดจำจ้องในมัน ตื่นตัวระวังมากไป จนกลายเป็นความฟุ้งซ่าน ให้ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงในมันบ่อยๆ บ่อยขึ้นจนแทบจะตลอดเวลา

..ดังนี้แทนที่จะลด ละ เลิกมันได้ แต่กลับกลายเป็นสร้างความจดจำหมายรู้ธัมมารมณ์ต่างๆด้วยกิเลสกำเริบฟุ้งขึ้นอีกไม่หยุด นั่นเพราะเราทำความสำคัญมั่นหมายกับใจเอาไว้มากจนเกินความจำเป็นไปว่า ถ้าเจอสิ่งนี้ - ต้องไม่ทำสิ่งนี้ ..แต่กลับกลายเป็นการทำสัญญาย้ำกับใจไว้ว่าสิ่งนี้ย่อมมีคู่กันเสมอ มีสิ่งนี้ ก็จะมีสิ่งนี้

- ทำให้ใจเราจะคอยตรึกนึกถึงมันทุกครั้งเมื่อพบเจอสิ่งหนึ่งที่เราจดจำทำสัญญาคู่กันไว้

..ประการแรกนึกถึงเพราะไม่อยากให้มี ..แต่ธรรมชาติของปุถุชน ..เมื่อตรึกถึงย่อมมีตรองถึง มีคำนึง คิดถึงสืบต่อ

..เช่น ถ้าเจอพระห้ามคิดลามก แล้วจดจำสำคัญมั่นหมายไว้ในใจเอาไว้มาก กลัวจะหลุด กลัวจะบาปอกุศล จนกลายเป็นทำสัญญากับใจไว้ว่า เมื่อเห็นพระ ก็จะต้องมีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันลามกนี้คู่กันไปด้วย แม้ขณะแวบแรกไม่มีแต่ใจนึกก็จะเข้าไปนึกถึงความคิดลามกนั้น เพราะสำคัญใจมากไปจึงกลายเป็นทำสัญญากับใจไว้ให้ทั้ง ๒ สิ่งนี้คู่กัน ..ดังนั้นทุกครั้งที่พบเจอพระเราจะนึกถึงอกุศลธรรมอันลามก เพราะเราทำสัญกับใจเอาไว้นั่นเอง นี่เรียกเพียรแบบผิดๆ ที่เป็นวิปัสสนูปะกิเลส คือ เพียรด้วยการตำจดจำจ้อง มีความตั้งใจดีในกุศลแต่ว่าใจขาดทานกำลัง ศีลกำลัง สติกำลัง สัมปชัญญะกำลัง สมาธิกำลัง ปัญญากำลัง

ทางแก้

ก. อย่าให้ใจเราจำจดจำจ้องกับมันมากไป อย่าให้ความสำคัญกับมันมากไป

..ทำได้โดย ยึดมั่นในมิชฌิมาด้วยอิทธิบาท ๔ คือ ปฏิบัติเดินทางสายกลาง ทำให้ทุกอย่างพอดี ทีสมกัน ด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คือ..

- ไม่ตั้งใจมากไป จนใจเกิดความจำจดจำจ้องระวังในอกุศลกรรม จนตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงอกุศลกรรมตัวนั้นไม่ขาด นี้เรียกเข้าไปใกล้มันมากเกินไป หรือ ให้ความสำคัญกับมันมากไปจนฟุ้งซ่าน เป็นกิเลสนิวรณ์

- ไม่ถอยห่างเกินไป จนเหลาะแหละขาดความใส่ใจที่จะลด ละ เลิก ผลัดวันประกันพรุ่ง

- ทำให้เป็นที่สบายกายใจ ไม่กระสันในผล ทำด้วยใจผ่อนคลายสบายๆ แต่ทำบ่อยๆเนืองๆไม่ละเลย จนเป็นปกตินิสัย กล่าวคือ รู้ว่าการปฏิบัติในกุศลธรรมนี้ๆให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ให้ผลได้ทุกเมื่อ หากมีกำลังมากก็ให้ผลมาก มีกำลังน้อยก็ให้ผลน้อย เราจึงทำเพื่อสะสมเหตุกำลังในพละ ๕ คือ..

..การระลึกใน ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ได้กำลังศรัทธา

..การปฏิบัติทำใน ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ได้กำลังความเพียร

..การประครองกายใจตนใน ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ได้กำลังสติ
..โดยเมื่อมีอกุศลเกิดขึ้น ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยมันไป
..ไม่ใช่ไปพยายามกดข่มมันไว้ไม่ให้เกิดขึ้น เพราะกิเลสสังขารปรุงแต่งจิตไม่ใช่ตัวตน อยู่เหนือการควบคุม มันบังคับไม่ได้ ยิ่งกดข่มยิ่งปะทุ
..แต่ให้เราประครองกายใจตนไว้ไม่ให้หวั่นไหวไหลตามมัน
..เพราะรู้เห็นว่ามันเป็นธรรมชาติของปุถุชนที่จะมีอกุศลในสันดานเกิดขึ้นตามปกติ จิตเดิมแท้มีหน้าที่ทำสักแต่ว่ารู้ รู้แล้วปล่อยมันไป ใจเราแค่ประครองไว้ไม่ให้หวั่นไหวคล้อยตาม ด้วยน้อมใจไปดังนี้..
๑.) ประครองใจตนน้อมไปใน ทาน ..ละโลภปรนเปรอตนทั้งปวง ก็มีทาน และ เป็นเมตตา กรุณา ให้ทาน-ให้อภัยทานแก่ตนเองไม่ให้ถูกไฟราคะแผดเผากายใจ ถึงความอิ่มใจไม่เร้าร้อน รู้จักอิ่ม รู้จักพอ ไม่กระสันใคร่สพย์อีกจึงไม่เร่าร้อน
..ระลึกถึงทาน การสละให้ที่ตนทำมาดีแล้ว ก็เป็นจาคานุสสติกรรมฐาน
๒.) ประครองใจตนน้อมไปใน ศีล ..ละโกรธ เกลียด ชัง ริษยาในใจตน ก็มีศีล และ เป็นการเมตตา กรุณาต่อตนเองไม่ให้ถูกไฟโทสะแผดเผากายใจ ถึงความเย็นใจไม่เร้าร้อน
..ระลึกถึงศีล การเว้นจากความเบียดเบียน ที่ตนทำมาดีแล้ว ก็เป็นสีลานุสสติกรรมฐาน
๓.) ประครองใจตนน้อมไปใน พรหมวิหาร ๔ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อตนเอง และผู้อื่น เป็นการประครองใจตนเองในถึงพร้อมในกุศลทาน กุศลศีล..โดยไม่เร่าร้อน ขุ่นข้องกายใจตน
..อีกทั้งเป็นการอบรมจิตตน ให้ใจนิ่ง เฉย วางใจด้วยความเป็นกลางต่อสิ่งที่มากระทบสัมผัสให้เสวยความรู้สึก ทั้งภายนอกตน(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์) และ ภายในตน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ทำให้กายใจตน ไม่ให้หวั่นไหวไปในอกุศล ถึงความสงบใจไม่เร้าร้อน
..ระลึกถึงพรหมวิหาร ๔ เข้าถึงมหาสติปัฏฐาน ๔ ถึงเจโตวิมุตติ โดยการเอากายอยู่ในเมตตา, เอาเวทนาอยู่ในกรุณา, เอาจิตอยูู่ในมุทิตา, เอาธรรมอยู่ในอุเบกขา, ความว่าง ความไม่มี ความสละคืนได้อุปสมานุสสติ

..การที่ตั้งกายใจคงไว้ซึ่ง ทาน ศีล พหรมวิหาร ๔ ได้กำลังสมาธิ
..กล่าวคือ การนำเอากุศล ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ เข้ามาตั้งไว้ในใจ เป็นเครื่องบ่มใจให้ไม่คลอนแคลนหวั่นไหวถึงความสงบใจจากธัมมารมณ์ทั้งปวง จิตมีกำลังตั้งอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่อาศัยธัมมารมณ์ใดๆมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต
..ระลึกถึงพรหมวิหาร ๔ เข้าถึงเจโตวิมุตติ, อุปสมานุสสติ

..การที่ใจรู้จักเลือกเสพย์ในทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ไม่คล้อยตามความรัก ชัง กลัว หลงไม่รู้เห็นตามจริง ได้กำลังปัญญา
..การที่ใจรู้จัก เลือกเฟ้นธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ กล่าวคือ..
๑. ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
๒. ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
๓. ความวางเฉยที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ ได้กำลังปัญญา

..สิ่งใดเสพย์แล้วกุศลธรรมดับลง แต่อกุศลธรรมพอกพูนขึ้น สิ่งนั้นไม่ควรเสพย์
..สิ่งใดที่เสพย์แล้วกุศลธรรมพอกพูนขึ้น อกุศลธรมดับลง สิ่งนั้นควรเสพย์
..สิ่งใดที่เสพย์แล้วกุศลและอกุศลดับลง สิ่งนั้นต้องรู้กาล รู้ปล่อย รู้ละ และรู้จักวางใจต่อมันให้เป็น
..สิ่งใดเสพย์แล้วกุศลธรรมและอกุศลธรรมเกิดมีขึ้น สิ่งนั้นต้องรู้กาล รู้ปล่อย รู้ละ และรู้จักวางใจต่อมันให้เป็น

ทั้งหมดนี้เป็นการไม่ขึงไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป เอากุศลตั้งเป็นฐานให้จิตแทนอกุศล แทนที่จะนึกระแวงในอกุศล เราเปลี่ยนมาตั้งใจเป็นกุศลธรรมแทน ลดค่าและความกลัวอกุศลลง มันเกิดขึ้นก็แครู้ มันก็ปกติของปุถุชนทั่วไปมีได้ทุกคนแค่มากน้อยต่างกัน ใจเราจะลดความสำคัญของอกุศลธรรมลง แต่มีใจตั้งใจกุศลธรรมมากขึ้น ทำสะสมเหตุไปเรื่อยๆสบายๆไม่กระสันเอาผล รู้ว่าเหตุที่สะสมนี้ให้ผลได้ตามกำลังที่บา่มสะสมมา ในขณะเดียวกันก็เป็นการเลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ถึงความ ปล่อย ละ วาง สงบใจจากกิเลส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2022, 02:17:41 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #438 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2022, 01:03:25 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การลด ละ เลิก อกุศลกรรม ที่เมื่อทำแล้วกลับฟุ้งซ่าน 2

ข. อย่าให้ความสำคัญกับมันมากไป จนเอามันมาผูกขึ้นไว้เป็นความสุขสำเร็จของตน
การให้ความสำคัญว่าควรละอกุศลเป็นสิ่งดี ถูกต้อง แต่หากเราเอาความต้องการที่จะทำให้ได้โดยขาดสติปัญญา จนกลายเป็นยึดกอดเอาความคิดที่จะละมัน จนไปกระตุ้นใจให้นึกถึงมันอยู่เรื่อยๆตลอดเวลา
 
ยกตัวอย่างเช่น คนที่คิดในราคะมาก ไปหาหรือกราบไหว้ครูบาอาจารย์ ใจก็กลัวท่านรู้วาระจิตว่าตนราคะเยอะ จนกลายเป็นระวังมากไป ให้ความสำคัญมากไป เมื่อถึงคราวเจอครูบาอาจารย์กลับกลายเป็นไปคิดถึงราคะแทน แวบแรกตรึกด้วยความหวั่นกลัวพยายามประครอง แต่ในขณะที่กลัวราคะเกิดประครองไม่ให้ราคะเขาแทรกนั้น จิตเราก็ได้จับเอาราคะเป็นที่ตั้งแห่งจิต จากนั้นน้อมไปในสัญญาเก่าที่เคยคิดในราคะเลยสัมผัสรับรู้เคยเกิดขึ้นกับตน ก็ทำให้ราคะฟุ้งขึ้น สร้างความทุกข์ทรมาน กลัวบาปอกุศลแก่ตน ทั้งๆที่เตรียมใจไว้แล้ว ซึ่งจะเป็นการสำคัญใจไว้กับมันมากไป จนกลายเป็นการเอาใจไปผูกขึ้นไว้กับมัน กลับกลายสวนทางเป็นการตริ ตรึก นึก คิด ถึงมันคล้อยตามมันแทน ..นี่เรียกตั้งใจมากไปจนฟุ้งซ่าน สำคัญใจไว้กับมันมากไปจนฟุ้ง จิตขาดกำลัง
 
ทางแก้
 
การที่เราตั้งใจมากไป จนจิตมีสติระวังมันมากไปจนกลายเป็นจำจดจำจ้องให้คอยจับตาความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นเป็นใหญ่ จนไปกระตุ้นให้สติไปกระตุ้นเรียกความคิดถึงมัน ทำให้มันโผล่ขึ้นมาในขณะนั้นๆ ตอนนั้นๆตลอดเวลา
..นี้คือ จิตมีสติมากไปจากความเพียรตั้งใจมากไป จนจิตขาดกำลังเพราะขาดสมาธิ สมาธิ คือ ใจไม่มีกำลัง คิดระวังถึงมันมากไป จนทำให้ใจอ่อนไหวไหลตามมันง่าย

มีวิธีแก้ให้กำหนดหมายทำไว้ในใจดังนี้

1. ทำใจให้ผ่อนคลายสบายๆ

2. อย่าไปติดใจข้องแวะกับความตรึก นึก คิดนั้นๆ

3. อย่าเอาใจไปผูกขึ้นไว้กับมัน เราทำกายใจตามปกติไปสบายๆ

4. มันเกิดขึ้น ก็สลัดมันออกตามลมหายใจ ทำจิตเป็นพุทโธ คือ กิริยาจิตที่รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติ เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม ดังนี้..


- หายใจเข้า กำหนดหมายทำไว้ในใจถึง..ใจตัวรู้ของเรานี้ ลอยขึ้นเหนืออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอกุศลทั้งปวง
(ข้อนี้เป็นทั้งการระงับกายสังขาร ความเจ็บปวดกาย ความฟุ้งซ่านใจ และยังเป็นการฝึกน้อมใจไปเข้าสู่ปัสสัทธิ ความสงบใจจากกิเลส
..ขั้นต้นได้ในขณิกสมาธิ ได้ความสงบใจ
..ขั้นละเอียดจะเป็นอารมณ์ของอุปจาระฌาณ)

- หายใจออก กำหนดหมายทำไว้ในใจถึง..ลมหายใจออกพัดเอาอกุศลธรรมทั้งปวงทิ้งออกไปจากใจตัวรู้ของเรานี้
(ข้อนี้เป็นทั้งการระงับกายสังขาร ความเจ็บปวดกาย ความฟุ้งซ่านใจ และยังเป็นการฝึกน้อมใจไปเข้าสู่ปัสสัทธิ ความสงบใจจากกิเลส
..ขั้นต้นได้ในขณิกสมาธิ ได้ความสงบใจ
..ขั้นละเอียดจะเป็นอารมณ์ของอุปจาระฌาณ)


- หายใจเข้า กำหนดหมายทำไว้ในใจถึง..จิตตั้งมั่นลอยอยู่โดดๆ สว่างไสว ผ่องแผ้ว เย็นใจ ไม่ยื้อ ไม่ทำ ไม่จับ ไม่ยึดสิ่งใด อยู่ในที่ว่าง โล่ง
(ข้อนี้เป็นทั้งการระงับกายสังขาร ความเจ็บปวดกาย ความฟุ้งซ่านใจ เป็นอาโลกสัญญาในอิทธิบาท ๔ และยังเป็นการฝึกน้อมใจไปเข้าสู่วิเวก คนที่เข้าฌาณได้จะรู้สภาวะนี้ จะจำสภาพฌาณได้และยิ่งง่ายต่อการฝึกวสีฌาณ)

- หายใจออก กำหนดหมายทำไว้ในใจถึง..จิตตั้งมั่นลอยอยู่โดดๆ สว่างไสว ผ่องแผ้ว เย็นใจ ไม่ยื้อ ไม่ทำ ไม่จับ ไม่ยึดสิ่งใด อยู่ในที่ว่าง โล่ง
(ข้อนี้เป็นทั้งการระงับกายสังขาร ความเจ็บปวดกาย ความฟุ้งซ่านใจ เป็นอาโลกสัญญาในอิทธิบาท ๔ และยังเป็นการฝึกน้อมใจไปเข้าสู่วิเวก คนที่เข้าฌาณได้จะรู้สภาวะนี้ จะจำสภาพฌาณได้และยิ่งง่ายต่อการฝึกวสีฌาณ)

- หายใจเข้า ทำไว้ในใจแค่เพียงสักแต่ว่ารู้ รู้โดยไม่สำคัญมั่นหมายกับสิ่งใด..จิตเดิมแท้มีหน้าที่แค่รู้ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ไหวตาม ไม่เข้าหา ไม่ผลักไส
(ข้อนี้เป็นการทำให้ใจตัวรู้ของเรานี้ มีกำลังไม่ไหวเอน รู้ว่าธัมมารมณ์มีไว้แค่ให้รู้ไม่ได้มีหน้าที่เสพย์ สิ่งใดเกิดมีขึ้นให้ใจรู้จะจากอาการความรู้สึกภายในตัวรู้ หรือจากอาการภายนอกตัวรู้ ก็สักแต่เป็นแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบ มันเกิดมาแค่ให้รู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ เมื่อมันเกิดขึ้นก็ทำแค่รู้ตามดูมันไป โดยไม่ให้ความหมายไรๆกับมัน
..ขั้นต้นก็จะรู็สึกถึงการเกิดดับของจิต หรือเกิดนิมิตเห็นความเกิดดับของจิตเป็นแสงพุ่งขึ้นโดยที่ใจมีความรู้ว่าแสงนั้นคือคือกิเลสตัวไหน อารมณ์ใด จิตกุศล หรืออกุศล
..ขั้นกลางสัมผหัสได้ถึงนิวรณ์
..ขั้นสุดสันตะติขาด)


- หายใจออก ทำไว้ในใจแค่เพียงสักแต่ว่ารู้ รู้โดยไม่สำคัญมั่นหมายกับสิ่งใด..จิตเดิมแท้มีหน้าที่แค่รู้ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ไหวตาม ไม่เข้าหา ไม่ผลักไส
(ข้อนี้เป็นการทำให้ใจตัวรู้ของเรานี้ มีกำลังไม่ไหวเอน รู้ว่าธัมมารมณ์มีไว้แค่ให้รู้ไม่ได้มีไว้ให้เสพย์ สิ่งใดเกิดมีขึ้นให้ใจรู้จะจากอาการความรู้สึกภายในตัวรู้ หรือจากอาการภายนอกตัวรู้ ก็สักแต่เป็นแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบ มันเกิดมาแค่ให้รู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ เมื่อมันเกิดขึ้นก็ทำแค่รู้ตามดูมันไป โดยไม่ให้ความหมายไรๆกับมัน จิตเดิมแท้มีกน้าที่แค่รู้ ไม่ได้มีหกน้าที่เสพย์ จึงผุดผ่องสว่างไสว
..ขั้นต้นก็จะรู็สึกถึงการเกิดดับของจิต หรือเกิดนิมิตเห็นความเกิดดับของจิตเป็นแสงพุ่งขึ้นโดยที่ใจมีความรู้ว่าแสงนั้นคือคือกิเลสตัวไหน อารมณ์ใด จิตกุศล หรืออกุศล
..ขั้นกลางสัมผหัสได้ถึงนิวรณ์
..ขั้นสุดสันตะติขาด)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2022, 02:16:01 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #439 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2022, 03:15:30 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เมื่อเกิดราคะ โทสะ โมหะ แล้วเมตตาแก่ตนเอง ให้ทานตนเอง, แผ่ศีลให้ตนเอง, ภาวนาพุทโธ + อานาปานสติ

..พึงรู้ด้วยปัญญาก่อนว่า เพราะจิตไม่กำลัง ขาดกำลังใจที่ดี กิเลสนิวรณ์จึงเข้าแทรก เมื่อคล้อยตามธัมมารมณ์ที่ใจรู้อันนั้น ใจเราก็จะฟุ้งซ่านไปตามกิเลสกาม โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ เอนเอียงไปด้วย อคติ ๔ คือ..
รัก(อยาก ใคร่ ยินดี)
ชัง(โกรธ ริษยา ยินร้าย)
กลัว(ข้องใจ ระแวง)
หลง(ไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ปัจจุบัน หลงตามความคิดมี่ชอบ ที่ชัง)

ความฟุ้งซ่าน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาสอนให้ทำความสงบใจจากกิเลส โดยใช้ธรรมแก้กิเลสทีเป็นธรรมตรงข้ามกับกิเลสนั้นเพื่อความตั้งขึ้นแต่จิตและสติ

ก. หากทำด้วยเมตตา

1. เมตตาตนเองโดยทาน คือ การให้ สละให้ ให้ทานตนเอง ถึงการให้อภัยทานแก่ตน คือ การให้ตนมีอิสระสุขพ้นจาก ไฟ คือ ราคะ ที่แผดเผากายใจตน
..เพราะความโลภ ตราตรึงใจ ติดตรึงใจ ให้กระสันใคร่เสพย์ปรนเปรอตนอยู่นั้น ทำให้ใจเราเร่าร้อน ใจกระวนกระวาย ใจระส่ำสั่นไหวไหลตามอารมณ์ใคร่ได้มาครอง ดั่งไฟสุมอยู่ในใจให้เร่าร้อน อยู่เป็นปกติสุขเย็นใจไม่ได้
..ดังนี้การให้อภัยทานแก่ตนเอง จึงเป็นการให้อิสระสุขยินดี สบาย ผ่อนคลาย ไม่เร่าร้อน ไม่มีโทษ ปราศจากเวร ปราศจากภัย ปราศจากความกระสันอยากให้แก่ตนเอง
..นั่นเพราะ ความโลภ กามตราตรึง นันทิติดตรึงใจ ราคะใคร่ปารถนาได้เสพย์นั้น คือ เวร และ ภัยอันตราย ต่อกายใจของเรานั่นเอง มันทำให้เราเร่าร้อนทนอยู่ได้ยาก อยู่เป็นปกติไม่ได้

..เราให้อภัยทานแก่ตนเองได้โดย การสละคืนโลภะ กาม ราคะ ความติดตราตรึงใจใคร่ได้ทั้งปวง เป็นทำให้กายใจเรานั้นถึงความอิ่มใจแก่ตนเอง ให้ความอิ่มพอแก่ตนเอง ให้ความพอเพียงกับตนเอง ใจก็จะไม่เร่าร้อนอยากได้เพราะใจอิ่มแล้ว พอแล้ว มีความอิ่มเต็มกำลังใจ ไม่แสวงหาอีก ด้วยละโลภได้แล้ว

- ตั้งจิตในปัจจุบันขณะนั้นๆว่า ..กามมันอิ่มไม่เป็น ได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ แม้ได้สมใจอยากแล้วก็ยังจะแสวงหาอยู่อีกไม่มีสิ้นสุด กามมันอิ่มไม่เป็น ปัจจุบันนี้สิ่งที่เรามีอยู่ก็เพียงพอแล้ว ควรพอใจกับสิ่งที่มี ปัจจุบันที่มีก็มีค่าพอในสุขนี้แล้ว เราได้เคยแบ่งปันสิ่งของความสุขสำเร็จแก่ผู้อื่นมาแล้ว บัดนี้เราจักให้ทานตนเอง ลมหายใจตั้งไว้ในความอิ่มใจ ไม่ติดใจ ไหลตามสิ่งใด สิ่งภายนอกแค่ของปรนเปรออารมณ์ความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายเท่านั้น ไม่ใช่สุขที่เนื่องด้วยใจอย่างแท้จริง สุขที่เนื่องด้วยใจ คือความอิ่มเอมใจ พอ ไม่ร้อนรุ่ม ดิ้นรนแสวงหา ไม่โลภ ไม่ติดตราตรึงใในสิ่งใด ไม่ใค่ได้หมายปองเสพย์สิ่งใดให้เร่าร้อน ทุกอย่างจะมีจะได้ตามเหตุปัจจัย สิ่งใดที่เป็นของเรามันก็จะเป็นของเราและเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็จะได้มาเอง แต่สิ่งที่ไม่ใช่ของเราอย่างไรก็ไม่ใช่ของเรา ดิ้นรนไขว่คว้าให้ตายก็ไม่ได้มาครอง เพราะใคร่อยากจึงเร่าร้อน เพราะเอาใจเข้ายึดครองหมายปองจึงถูกไฟราคะแผดเผา  ถ้าเราพอแล้ว อิ่มแล้วก็ไม่เร่าร้อนกายใจ ไม่มีใจเข้ายึดครองหมายปองในสิ่งใดให้ร้อนรุ่มอีก ดังนี้..

พิจารณาปรับจิต
- หายใจเข้า กำหนดจิตนึกถึงความพอแล้ว ถอนใจออกจากความใคร่ปารถนา คือ ไฟราคะ ทั้งปวง ไม่เอาลมหายใจเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใด ความสุขสำเร็จของเราไม่ได้เกิดมีขึ้นเพราะได้ครอบครองสิ่งเหล่านั้นตามใจปารถนา แต่อยู่ที่การไม่เอาชีวิต เอาลมหายใจ เอาความสุขทั้งชีวิตของตนไปผูกขึ้นไว้กับมัน
- หายใจออก กำหนดจิตนึกถึงความพอแล้ว ถอนใจออกจากความใคร่ปารถนา คือ ไฟราคะ ทั้งปวง ไม่เอาลมหายใจเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใด สุขที่ได้ครอบครองในสิ่งภายนอกนั้นมันไม่ยั่งยืนทนอยู่ได้นาน มันสุขแค่วูบสาบๆประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น แล้วก็หมดไป ดับไป อยู่ได้นานสุดแค่หมกดลมหายใจเรานี้เท่านั้น แต่สุขจากความอิ่มเต็มกำลังใจจากการไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใดนี้ จะติดตามเราสืบไป เมื่อหวนระลึกถึงเมื่อใดก็อิ่มสุขอยู่เต็มใจในกาลทุกเมื่อ มันอิ่มเอมเต็มกำลังใจ ไม่หน่วงตรึงจิต

อบรมจิตด้วยการให้ทานตนเอง จนเข้าถึงจาคะ
- หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงความไม่เอาใจเข้ายึดครองไปผูกความสุขสำเร็จของตนขึ้นไว้กับสิ่งใด มีใจคลายออก ปล่อยออก
- หายใจออก ทำไว้ในใจถึงความไม่เอาใจเข้ายึดครองไปผูกความสุขสำเร็จของตนขึ้นไว้กับสิ่งใด มีใจคลายออก ปล่อยออก
- หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงความพอเพียงแล้ว มีใจผ่อนคลาย ปล่อยออก
- หายใจออก ทำไว้ในใจถึงความพอเพียงแล้ว มีใจผ่อนคลาย ปล่อยออก
- หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงความอิ่มใจปราศจากสิ่งใดมาหน่วงตรึงจิต ถึงความสละคืนโลภ กาม นันทิ ราคะทั้งปวง
- หายใจออก ทำไว้ในใจถึงความอิ่มใจปราศจากสิ่งใดมาหน่วงตรึงจิต ถึงความสละคืนโลภ กาม นันทิ ราคะทั้งปวง
- หายใจเข้า กำหนดจิตเข้ามารู้ในภายในไม่ส่งออกนอก ตามลมหายใจเข้าผ่าน ปลายจมูก โพรงจมูก หว่างคิ้ว โพรงกระโหลก คอ หน้าอก ท้อง(เหนือสะดือ สะดือ ใต้สะดือรู้ลมได้ถึงจุดไหนเอาถึงจุดนั้น) (เป็นการเอากำลังให้จิต)
- หายใจออก กำหนดจิตเข้ามารู้ในภายในไม่ส่งออกนอก ตามลมหายใจเข้าผ่าน ปลายจมูก โพรงจมูก หว่างคิ้ว โพรงกระโหลก คอ หน้าอก ท้อง(เหนือสะดือ สะดือ ใต้สะดือรู้ลมได้ถึงจุดไหนเอาถึงจุดนั้น) (เป็นการเอากำลังให้จิต)
- หายใจเข้า กำหนดจิตเข้ามารวมไว้ในภายใน นึกถึงความเบา ว่าง โล่ง อิ่มใจ เป็นสุข มีกำลังใจดี ไม่กวัดแกว่งสัดส่าย(เอากำลังให้จิต)
- หายใจออก กำหนดจิตเข้ามารวมไว้ในภายใน นึกถึงความเบา ว่าง โล่ง อิ่มใจ เป็นสุข มีกำลังใจดี ไม่กวัดแกว่งสัดส่าย(เอากำลังให้จิต)
- หายใจเข้า รู้ว่าหายใจเข้า
- หายใจออก รู้ว่าหายใจออก
- ตามรู้ลมหายใจเข้า - ลมหายใจออก

2. เมตตาตนเองโดยศีล คือ การเว้นจากการกระทำที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การตั้งกายใจตนไว้ในศีล คือ การมีกายใจเป็นปกติ มีความสุจริตทั้งกาย วาจา ใจ พ้นจาก ไฟ คือ โทสะ ที่แผดเผากายใจตน
..เพราะโทสะ ปฏิฆะ อรดี ความขุ่นข้องขัดเคืองใจ ยินร้าย โกรธ เกลียด ชัง กลัว ระแวง กังวลนั้น ทำให้ใจเราเร่าร้อน ใจกระวนกระวาย ใจระส่ำสั่นไหวขุ่นขัดผลักไสไม่ต้องการพบเจอ ดั่งไฟสุมอยู่ในใจให้เร่าร้อน อยู่เป็นปกติสุขเย็นใจไม่ได้
..ดังนี้การแผ่ศีลให้แก่ตนเอง จึงเป็นการแผ่เอาความเย็นใจ สบาย ผ่อนคลาย ไม่เร่าร้อน ไม่หวาดกลัว ไม่หวาดระแวง ทำให้กาย วาจา ใจของตนไม่มีเวร ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ปราศจากความริษยา ยินร้าย ขุ่นข้องขัดเคืองใจให้แก่ตนเอง
..นั่นเพราะ โทสะความขุ่นใจ โกรธ อรดีความขุ่นข้องขัดเคืองใจ ยินร้าย ปฏิฆะโกรธ เกลียด ชัง กลัว ระแวง กังวลนั้น คือ เวร และ ภัยอันตราย ต่อกายใจของเรานั่นเอง มันทำให้เราเร่าร้อนทนอยู่ได้ยาก อยู่เป็นปกติไม่ได้

..เราแผ่ศีลให้แก่ตนเองได้โดย การสละคืนโทสะ ทำให้มีความเย็นใจ ไม่เร่าร้อน ไม่กังวล เพราะไม่ระแวง ไม่หวาดกลัว ไม่ขุ่นข้องขัดเคืงใจ ไม่ยินร้าย เพราะตนประพฤติชอบดีแล้ว

- ตั้งจิตในปัจจุบันขณะนั้นๆว่า ..ปัจจุบันนี้เราไม่ได้ละเมิดศีล มีศีล ๕ เป็นต้น ปัจจุบันนี้เราเว้นซึ่งความเบียดเบียนแล้ว แม้ภายนอก และภายในกายใจตน มันเป็นสุขเย็นใจ เบาสบายไม่เร่าร้อน ลมหายใจตั้งไว้ในความเย็นใจ ผ่อนคลาย

พิจารณาปรับจิต
- หายใจเข้า กำหนดจิตนึกถึงถึงความมีศีลของตนในปัจจุบัน ความละเว้นอกุศลกรรมทำความเย็นใจให้เกิดขึ้นในจิต (อาการของผู้มีศีล ใจจะโล่ง สงบ เบาใจ สบายกายใจ ไม่มีความขุ่นช้องชัดเคืองใจ ไม่สะดุ้งหวาดกลัว ไม่ริษยา ไม่ถือกอดจับความขุ่นข้อง มีใจผ่อนคลายปล่อยออก ให้จับเอาอาการนี้)
- หายใจออก กำหนดจิตนึกถึงถึงความมีศีลของตนในปัจจุบัน ความละเว้นอกุศลกรรมทำความเย็นใจให้เกิดขึ้นในจิต (อาการของผู้มีศีล ใจจะโล่ง สงบ เบาใจ สบายกายใจ ไม่มีความขุ่นช้องชัดเคืองใจ ไม่สะดุ้งหวาดกลัว ไม่ริษยา ไม่ถือกอดจับความขุ่นข้อง มีใจผ่อนคลายปล่อยออก ให้จับเอาอาการนี้) ความละเว้นอกุศลกรรมทำความเย็นใจให้เกิดขึ้นในจิต

อบรมจิตด้วยการแผ่ศีลตนเอง จนเข้าถึงอุปสมะ
- หายใจเข้า กำหนดหมายทำไว้ในใจถึง..ใจเราถูกปลดปล่อยจากความเศร้าหมอง หน่วงตรึงจิต ด้วยศีล
- หายใจออก กำหนดหมายทำไว้ในใจถึง..ใจเราถูกปลดปล่อยจากความเศร้าหมอง หน่วงตรึงจิต ด้วยศีล
- หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงการละเว้น(ถอน ละ เว้น ตัด สละคืน) จากความรู้สึกนึกคิดที่เป็นไฟแห่งโทสะ ปฏิฆะ อรดี ริษยาทั้งปวง (อินทรีย์สังวรณ์)
- หายใจออก ทำไว้ในใจถึงการละเว้น(ถอน ละ เว้น ตัด สละคืน) จากความรู้สึกนึกคิดที่เป็นไฟแห่งโทสะ ปฏิฆะ อรดี ริษยาทั้งปวง (อินทรีย์สังวรณ์)
- หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงความว่าง ความสงบ ความไม่มี รวมไว้ในภายใน ละเจตนาที่เป็นไปเพื่อความขุ่นข้องขัดเคืองใจ ยินร้าย ริษยา ระทม เดือดดาน ปะทุ ผูกโกระ(เวร) ผูกแค้น(พยาบาท)
- หายใจออก ทำไว้ในใจถึงความว่าง ความสงบ ความไม่มี รวมไว้ในภายใน ละเจตนาที่เป็นไปเพื่อความขุ่นข้องขัดเคืองใจ ยินร้าย ริษยา ระทม เดือดดาน ปะทุ ผูกโกระ(เวร) ผูกแค้น(พยาบาท)
- หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงความสุจริต ๓ โดยชอบ มีใจสละคืนอุปธิทั้งปวง(ล้างกิเลสออกจากใจ ล้างกิเลสออกจากขันธ์) ถึงความเบา ว่าง โล่ง เย็นใจ แจ่มใส ปราโมทย์
- หายใจออก ทำไว้ในใจถึงความสุจริต ๓ โดยชอบ มีใจสละคืนอุปธิทั้งปวง(ล้างกิเลสออกจากใจ ล้างกิเลสออกจากขันธ์) ถึงความเบา ว่าง โล่ง เย็นใจ แจ่มใส ปราโมทย์
- หายใจเข้า ทำไว้ในใจถึงความเบา ว่าง โล่ง เย็นใจ
- หายใจออก ทำไว้ในใจถึงความเบา สบายกายใจ ผ่อนคลายๆ
- หายใจเข้า รู้ว่าหายใจเข้า
- หายใจออก รู้ว่าหายใจออก
- ตามรู้ลมหายใจเข้า - ลมหายใจออก

3. เมตตาตนเองโดยการภาวนาอบรมจิตให้ปลดเปลื้องจากกิเลส ฝึกให้จิตมีกำลังตั้งอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่เอนไหวไหลตามธัมมารมณ์ความรู้สึกทั้งปวง จิตเข้าถึุงพุทโธ มีจิตเป็นพุทโธ นี่คือเมตตาอันเนื่องด้วยใจ มีลทมหายใจเป็นฐาน มีอาโลกะสัญญาเป็นรูปอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งกสิน เป็นอิทธิบาท ๔

ประการที่ ๑ กำหนดจิตรวบถอนเอาสมมติธัมมารมณ์แห่งกิเลสทั้งปวงที่รายล้อมจิตอยู่ ทิ้งออกจากจิต ตามลมหายใจเข้า-ออก
(เหมาะกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันตามปกติ หรืออยู่ในสถานการณ์ที่กำลังทำกิจการงานต่างๆอยู่)

- หายใจเข้า(รวบดึง ถอน สมมติกิเลส สมมติอารมณ์ สมมติความรู้สึกนึกคิดนั้นๆที่รายล้อมจิตอยู่ รวบดึงออกจากจิตตามลมหายใจเข้า)
- หายใจออก(พัด ซัด เหวี่ยง ผลักออกไปจากใจตนตามลมหายใจออก)
- ทำกายใจให้ผ่อนคลายหายใจเข้า
- ทำกายใจให้เบาโล่งสบายหายใจออก
- หายใจเข้า ระลึก พุท
- หายใจออก ระลึก โธ
- หายใจเข้า กำหนดจิตถึงพุทโธ คือถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม หายใจเข้า
- หายใจออก กำหนดจิตถึงพุทโธ คือถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม หายใจออก
- หายใจเข้า มีจิตเป็นพุทโธ ถึงความเป็นจิตเดิมแท้อันสว่างไสว เบา สบาย เย็นใจ หายใจเข้า
- หายใจออก มีจิตเป็นพุทโธ ถึงความเป็นจิตเดิมแท้อันสว่างไสว เบา สบาย เย็นใจ หายใจออก


ประการที่ ๒ กำหนดจิตถอนออกจากสมมติธัมมารมณ์แห่งกิเลสทั้งปวงที่รายล้อมจิตอยู่ ตามลมหายใจเข้า-ออก
(เหมาะใช้งานในขณะที่กำลังฝึกสมาธิแล้วมีจิตฟุ้งซ่าน หรืออกุศลนิวรณ์แทรกเข้าสมาธิ)

- หายใจเข้า เอาใจ คือ ดวงจิตตัวรู้ของเราลอยขึ้นออกจากสมมติธัมมารมณ์แห่งกิเลส อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวงที่รายล้อมจิตอยู่ ลอยขึ้นตามหายใจเข้า
- หายใจออก เอาใจ คือ ดวงจิตตัวรู้ของเราที่ลอยขึ้นมาตั้งมั่นไว้ แล้วเอาลมหายใจออกพัดเอาสมมติธัมมารมณ์แห่งกิเลส อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวงที่รายล้อมจิตอยู่นั้นซัดปลิวออกไปให้หมด
- หายใจเข้า กำหนดจิตลอยตั้งมั่นอยู่โดดๆในที่โล่ง ว่าง
- หายใจออก กำหนดจิตลอยตั้งมั่นอยู่โดดๆในที่โล่ง ว่าง
- หายใจเข้า ระลึกในพุทโธ เชิญองค์พระพุทธเจ้าเข้ามาสถิตย์อยู่ในใจ
- หายใจออก ระลึกในพุทโธ เชิญองค์พระพุทธเจ้าเข้ามาสถิตย์อยู่ในใจ
- หายใจเข้า เอาจิตเดินตามลม ตามรู้การเคลื่อนตัวลอยไปของลมหายใจเข้า ตามได้จนสุดจุดพักลมได้จนสุด บางท่านถึงจุดเหนือสะดือที่ท้องพองขึ้น บางท่านถึงจุดรวมที่สะดือ หรือบางท่านลึกลงใต้สะดือจุดที่ท้องพองด่านล่าง
(จุดต่างๆล้วนเป็นจุดพักลม คือ จุดที่ใช้กำหนดตั้งลมหายใจเพื่อเข้าฌาณสมาธิทั้งสิ้น)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2022, 02:14:59 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #440 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2022, 02:14:40 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เมื่อเกิดราคะ โทสะ โมหะ แล้วเทำปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกชา

..พึงรู้ด้วยปัญญาก่อนว่า เพราะจิตไม่กำลัง ขาดกำลังใจที่ดี กิเลสนิวรณ์จึงเข้าแทรก เมื่อคล้อยตามธัมมารมณ์ที่ใจรู้อันนั้น ใจเราก็จะฟุ้งซ่านไปตามกิเลสกาม โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ เอนเอียงไปด้วย อคติ ๔ คือ..
รัก(อยาก ใคร่ ยินดี)
ชัง(โกรธ ริษยา ยินร้าย)
กลัว(ข้องใจ ระแวง)
หลง(ไม่รู้เห็นตามจริง ไม่รู้ปัจจุบัน หลงตามความคิดมี่ชอบ ที่ชัง)

ความฟุ้งซ่าน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาสอนให้ทำความสงบใจจากกิเลส โดยใช้ธรรมแก้กิเลสทีเป็นธรรมตรงข้ามกับกิเลสนั้นเพื่อความตั้งขึ้นแต่จิตและสติ

ข. ทำด้วยปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

1. สงบนิ่ง กำหนดหมายในความสงบ ความสบาย ความผ่อนคลาย ความไม่มี
2. อุเบกขาตั้งไว้ในฐานจิต กำหนดหมายในความว่าง ความสงัด ความไม่มี
2. อุปสมานุสสติ กำหนดหมายในความว่าง ความไม่มี ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #441 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2022, 07:58:33 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ละโลภ ได้ทาน มีทานก็อิ่มใจ มีใจสูงเหนือโลภ

ละโกรธ ได้ศีล มีศีลเย็น สะอาดใจ มีใจสูงเหนือโกรธ

ละหลง ได้ปัญญา อบรมสมาธิ ฝึกจิต ภาวนาก็มีกำลังใจ ใจอยู่สูงเหนือหลง

..หลวงปู่บุญกู่ อนุวัฒฑโน พ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้เมตตาสอนกรรมฐานให้แก่เรา

หลวงปู่ท่าน ได้เข้าพระนิพพานในวันที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 05:59 ปัจจุบันบรรดาลูกศิษย์ได้ตั้งสังฆสะรีระของท่าน ที่อาคารหลวงพ่อทรงธรรม วัดอโศการาม บรรดาญาติโยมทุกท่านสามารถเข้าไปสักการะกราบไหว่สังฆสรีระ และ พระธาตุของท่าน ได้ในเดือนนี้ ถึง วันพระราชทานเพลิงศพ ในเดือนพฤศจิกายน 2565




ทาน

..หลวงปู่บุญกู้ท่านได้กรุณาสอนเราไว้ว่า.. ให้สละออกซึ่งสิ่งของปรนเปรอตนที่ใช้ได้เพียงแค่โลกนี้ ไม่ติดตามเราไปด้วย อยู่กับเราได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ไม่มีเงิน ก็สละวัตถุสิ่งของ ไม่มีวัตถุสิ่งของให้สละได้..ก็ใช้แรงกายแรงใจทำกุศลช่วยเหลือ แบ่งปัน มีมากก็ให้มากได้ มีน้อยก็ให้น้อย ไม่มีก็เอาแรงกายแรงใจช่วยงานวัด ทำกุศล

..พระพุทธเจ้านี้ทรงมีพระปัญญาอันยิ่งแล้ว รู้ว่าสัตว์ไม่เสมอกันด้วยกรรม วิบากกรรม.. ไม่ว่าจะเป็นบุญ หรือ บาป ที่ติดตามมาให้เป็นไป ทำให้มั่งมี ร่ำรวย พอใช้ อับจน ต่างๆกันไป

- เหตุแห่งความมั่งมีตราบที่ยังไม่ถึงพระนิพพานนี้ คือ ทานการสละให้ ได้อิ่มเต็มกำลังใจ ผลทานส่งผลให้ไม่อดอยากในภพภูมิภายหน้าต่อไป

- เหตุแห่งการเข้าถึงพระนิพพาน คือ การสละความโลภ กาม นันทิ ราคะ ได้ ผลจากการสละคืนนี้มีใจปลดเปลื้องจากกิเลสเข้าถึงพระนิพพานได้


ดังนี้แล้ว..องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้พระปัญญาอันยิ่ง แล้วทรงโปรดสั่งสอนสัตว์ให้รู้จักเปลี่ยนจากทรัพย์สิน เงิน ทอง สิ่งของ แรงกาย แรงใจ มาเป็นบุญ เพื่อเป็นกำลังส่งต่อบารมีให้ตนเองไม่อับจนในทุกภพชาติจนบารมีเต็มกำลังใจ ดังนี้คือ..

๑. ขั้นต้นเริ่มจากสละสิ่งของภายนอก คือ ทรัพย์สิน เงิน ทอง สิ่งของ แรงกายแรงใจช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกิจการงานด้วยจิตเป็นกุศล ใจเข้าถึงทาน ถึงความอิ่มใจจากการให้
- หากเราสร้างบารมีทาน เมื่อมันเต็ม ทางโลกเราก็มีครบหมดทุกสะดวกสบายอยู่ดีกินดีไม่ลำบาก มีทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว เหลือแค่ทำใจให้พ้นทุกข์อย่างเดียว เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดา และ พระอริยะสาวกอีกหลายรูป ที่ตอนยังเป็นคฤหัสถ์อยู่นั้นมีความเป็นอยู่สุขสบายไม่ลำบาก เพราะท่านได้สะสมบารมีทานมาเต็มแล้ว ก็มีฐานะดี วรรณะดี มีครบพร้อม เหลือแค่เพียงปฏิบัติใจให้พ้นกิเลสได้เท่านั้น เหมือนเราเห็นหลายคนมีฐานะดีสะดวกสบายไม่ต้องทำอะไรมาก มีทุกสิ่งทุกอย่างใช้จ่ายไม่ขัดสน ทำให้ไม่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพ มีเวลามาทำบุญ และปฏิบัติธรรมสบายๆกายใจ นี้เรียกมาสว่างไปสว่าง

๒. ขั้นกลาง ให้รู้จักอภัยทาน คือ ละโทษ งดโทษ เว้นโทษ เว้นภัย เว้นพยาบาท ริษยา ใจเข้าถึงศีล ถึงความสะอาดเย็นใจ



๓. ขั้นสุด ทีใจเป็นทาน เข้าถึงจาคานุสสติ (ส่วนสุดนี้จะรู้ได้เฉพาะตนถึงได้เฉพาะพระอริยะสาวกตั้งแต่โสดาปัติมรรคขึ้นไปเดินเข้าถึงในผล) คือ น้อมเข้ามาภายใน คือ จาคะ เพื่อละโลภ ถึงความมีกำลังใจดี ใจเข้าถึงภาวนา

- ระลึกถึงการได้สละให้อันดีแล้ว ได้เอื้อเฟื้อ ได้เกื้อกูล ได้แบ่งปันประโยชน์สุขสำเร็จดีงามทั้งปวงแล้ว
 
..ต่อผู้ภายนอกแก่ผู้อื่น โดยอาศัยการแบ่งปันสละให้สิ่งของ

..ต่อตนเองภายในกายใจตน โดยอาศัยการสละความอยากใคร่ได้ปรนเปรอกิเลสความเห็นแก่ตัวของตนเอง ความตระหนี่หวงแหน อภิชาทั้งปวง

..เมื่อสละให้ด้วยความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลแบ่งปันแล้ว จิตจะปราบปลื้มใจ ถึงความอิ่มใจแล้ว ทุกๆครั้งที่เราระลึกถึงการให้นั้นเมื่อใด..ก็จะปราบปลื้มอิ่มใจขึ้นมาเมื่อนั้น
(นี้เรียกพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเป็นสิ่งที่ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ..เมื่อน้อมมาสู่ตน คือ การประพฤติปฏิบัติตาม ย่อมเกิดประโยชน์ ..ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน คือ เราสามารถรับรู้ เห็นผลนั้นได้ด้วยตัวเอง)

..ใจเข้าถึงภาวนา ถึงความมีกำลังใจ อบรมจิตเพื่อให้ถึงความสละคืนโลภะทั้งหลาย จิตเดินเข้าสู่ความละเว้นมีใจออกจากความติดใคร่ยินดีทั้งปวง เพราะใจอิ่มเต็มเป็นสุขแล้ว เข้าสู่ฐานที่ตั้งแห่งสมาธิด้วยความมีใจสุจริต จนเข้าถึงอิ่มเต็มในขันธ์ ๕
ไม่ต้องการอีก จิตคลายอุปาทานขันธ์ รู้สึกเหมือนขันธ์แยกกัน
- ตัวรู้แยกจากกาย
- ตัวรู้แยกจากความรุ้สึกอันเกิดแต่กระทบสัมผัส
- ตัวรู้แยกจากความหมายรู้อารมณ์
- ตัวรู้แยกจากสมมติแห่งอารมณ์ความรู้สึกที่ปรุงแต่งจิต
- ตัวรู้แยกจากสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง
- เข้าสู่มหาสติ
- จิตมีกำลัง ทำแค่รู้ ถึงความรู้ชัดด้วยปัญญาลงใจ
- ถึงวิชชา ถึงความไม่มี
- มีใจสละออก สำรอกออก ถึงความสละคืนขันธ์ ๕


- จาคะเข้าถึงพระนิพพานอย่างนี้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2022, 03:39:06 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #442 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2022, 04:05:47 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ศีล

ความปกติของใจ มีศีลก็เย็นใจ ใจสะอาด มีใจปกติ

ความหน่วงตรึงจิต มีอาการที่ให้เร่าร้อน ข้องขัด ติดขัด ขุนข้องขัดคืองใจ อาการที่ใจถูกบีบรัดหน่วง เบียดเสียด ทนอยู่อยู่ได้ยาก ใจไม่ปกติ อาการนี้ชื่อริษยา ยินร้าย เวร โกรธ เกลียด พยาบาท โทสะทั้งปวง

แก้ใจให้ปกติด้วยศีล ศีลเป็นธรรมเย็น เป็นความปกติ เป็นธรรมตรงข้ามกับกิเลส โทสะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 26, 2022, 07:26:35 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #443 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2022, 04:07:07 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ภาวนา

การอบรมจิตนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ สำหรับปุถุชนธรรมใช้ชีวิตในโลกตามปกติทั่วไป กับ ปุถุชนผู้ปฏิบัติตามสิ่งอันพระอริยะสาวกบรรลุอันกระทำแล้ว

1. สำหรับปุถุชนธรรมใช้ชีวิตในโลกตามปกติทั่วไป

เป็นการฝึกสติ สมาธิ ปัญญา แบบคนธรรมดา เพื่อให้ความฟุ้งซ่านลดลง เหตุนั้นเพราะ

๑. การใช้สติในทางโลก

สตืทั่วไป สติทำให้เรารู้ตัว รู้ปัจจุบัน ไม่เหม่อลอย ไม่เลื่อนลอย ระลึกจดจำได้ ไม่หลงลืม

สติที่ตั้งมั่น หากเรามีสติตั้งมั่น ใจเราก็จะตั้งมั่นรู้ในปัจจุบัน มีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ทำให้ตามรู้ในสิ่งต่างๆได้ดี จดจำได้ ไม่หลงลืม ระลึกได้ คือ จดจำนึกย้อนทบทวนได้ หวนระลึกได้ สามารถนึกย้อนทบทวนแยกแยะสิ่งต่างๆได้โดยไม่รวมปะปนกัน ใจมีกำลังรู้ตัวในปัจจุบัน สามารถยับยั้งช่างใจ รู้จักยั้งคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เป็นเหตุให้ทำกิจการงานใดๆด้วยใช้ปัญญา เลือกสิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกในการตัดสินใจและกระทำ
- เมื่อสติตั้งมั่น ก็จะทำให้ใจเราตั้งมั่นตาม เมื่อสติจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ใจเราก็จะจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม สติจึงเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ กรรมฐาน ๔๐ ก็เป็นไปเพื่อให้มีสติตั้งมั่นเป็นเบื้องหน้า ทำให้ใจมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองในท่ามกลาง ใจทำสักแต่ว่ารู้ได้ดีมีใจน้อมไปในวิปัสนาในขั้นสุด

๒. การใช้สมาธิในทางโลก

สมาธิทั่วไป สมาธิทำให้ใจเรามีกำลังจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันได้นาน โดยไม่ฟุ้งซ่าน ใจลอย

สมาธิที่ตั้งมั่น หากเรามีสมาธิตั้งมั่น ทำให้ใจเรามีกำลังตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่คล้อยตามสมมติอารมณ์ความรู้สึกชอบ ชัง พอใจยินดี ไม่พอใจยินดี(ยินร้าย) มีใจจดจ่ออยู่ในกิจการงานที่ทำอยู่นั้นโดยส่วนเดียวได้นาน โดยไม่เอาความคิด ความรู้สึก สิ่งแวดล้อมที่ไม่จำเป็นนอกเหนือจากสิ่งที่ควรทำ หรือ กิจการงานที่ทำในปัจจุบันอยู่นั้นเข้ามาแทรกแทรงปะปน ฟุ้งซ๋าน จนใจไม่อยู่กับสิ่งที่ควรต้องทำหรือกิจการงานที่ทำอยู่นั้น(เป็นอาการที่ใจสัดส่ายส่งจิตออกนอก คือ อ่อนไหวตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดสมมติที่ปรุงแต่งจิต จิตไม่ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน)
- เมื่อเรามีใจตั้งมั่น ไม่อ่อนไหวยินดียินร้ายตามความคิด หรือสิ่งรบเร้า เราสามารถเอาใจจดจ่ออยู่กับกิจการงานที่ทำได้นานตาม ทำให้รู้เห็นในกิจการงานนั้นๆได้อย่างครบถ้วน ทุกความเป็นไป ทุกการเปลี่ยนแปลง ทุกขั้นทุกตอนไม่ตกหล่น จึงเป็นผลทำให้เรามีความเข้าใจในสิ่งนั้นได้ดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2022, 08:30:16 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #444 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2022, 08:39:50 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ 23 ตุลาคม 2565 13:00 ณ วัดอโศการาม

หลวงปู่อุทัย ได้มาแสดงธรรมเทศนา ในงานบำเพ็ญกุศล หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน

  ..คราวนั้นเราได้อธิษฐานจิตขอหลวงปู่อุทัยโปรดเทศนาชี้ทางละอกุศลธรรมอันลามกจัญไรที่เกิดมีแก่ผมด้วยเทอญ ขณะนั้นหลวงปู่อุทัยได้กันมามองมาเบื่องหน้าแนวแถวเรานั่งอยู่ (ไม่ได้หมายว่ามองมาเฉพาะเรา) แล้วหลวงปู่ยิ้มแล้วได้กรุณาแสดงธรรม ให้เราได้รู้ในสัทธรรม คือ ธรรมแท้ ดังนี้ว่า.. มันเกิดจากตัวรู้นี้แหละ ตัวรู้นี้แหละสำคัญ มันรู้ๆไปหมด รู้ดี รู้ชั่ว รู้คิด รู้พูด รู้ทำ ก็ตัวรู้นี้แหละคือเหตุทั่งปวง

  ..จากนั้นกลวงปู่อุทัยได้แสดงธรรมเทศนาต่อ เท่าที่เราพอจะจำได้ หวนระลึกได้ ปรุงแต่งนึกคิดอนุมานเอาได้ โดยอาจไม่ถูกต้องครบพร้อมทั้งหมด จะกล่าวโดยความเข้าใจพร้อมความอนุมานปรุงแต่งนึกคิดของเรามีโดยประมาณความ ดังนี้ว่า..

  ..กุศล อกุศล อัพยกฤต เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันเป็นอนิจจัง  เวียนเกิด เวียนดับไปเรื่อย ไม่ว่าอะไรในโลกก็ไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ ไม่เที่ยง โลกไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

  ..ใจนี้เป็นตัวรู้ก่อนทุกอย่าง วิญญาณคือใจนี้เป็นสิ่งแรกที่รู้อารมณ์ รู้ผัสสะ เกิดที่ตัวรู้ก่อน เมื่อมันรู้ มันก็เกิดการสังขารไปเรื่อย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันเกิดขึ้นของมัน ตั้งอยู่ของมัน ดับไปของมัน วนเวียนไปเรื่อยไม่สิ้นสุด นี้ชื่อวัฏฏะ คือ วนเวียนไป (ขณะนั้นเราพิจารณาตามความว่า..มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของมันนี้ คือ กุศลก็ดี อกุศลก็ดี เป็นกลางไม่ใช่ทั้งกุศลและอกุศลก็ดี เราอนุมานว่ากล่าวถึงอนัตตา คือ บังคับไม่ได้ อยู่เหนือการควบคุม บังคับให้เกิด ให้ตั้งอยู่ ให้ดับไปไม่ได้ มันเป็นไปของมันเอง ไม่ใช่ตัวตน โดยปริยายในตัวของประโยคนี้แล้ว)

  ..หากจะละมัน เราต้องรู้ด้วยตัวเองว่า อะไรทำให้มันเกิดขึ้น อะไรทำให้มันคงอยู่ อะไรทำให้มันดับไป สิ่งใดคือเป็นของมัน ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ มันไม่มีความบังเอิญ ทุกอย่างล้วนเกิดแต่เหตุ จะละก็ละที่เหตุ อะไรคือเหตุแห่งความเกิดขึ้นของมัน อะไรคือเห็นแห่งความตั้งอยู่ของมัน อะไรคือเหตุแห่งความดับไปของมัน ทุกอย่างมันเกิดจากตัวรู้ เหตุคือมันรู้อะไร มันรู้สึกอะไร มันรู้จำอะไร มันปรุงอะไร มันเอาอะไรมานึก มาคิด มาสังขาร

  ..สิ่งที่มันเกิดขึ้น สิ่งที่มันตั้งอยู่ สิ่งที่มันดับไป มันคือรูปกับนาม

รูปนาม ก็คือ ขันธ์ ๕

รูป ก็คือ ธาตุ ๔ แยกรูปออกมาเป็นธาตุ ๔ จำแนกเป็นธาตุ ๑๘ จำแนกออกมาเป็นธาตุทั้งหลาย
นาม ก็แยกออกมา ๔ คือ เวทนา คือนาม สัญญาคือนาม สังขารคือนาม ตัวรู้คือนาม

ธรรมทั้งปวงเมื่อพิจารณาลงขันธ์ ๕ แยกขันธ์ ๕ ออกมา ก็จะเหลือเพียงรูปกับนาม แยกออกมาก็ไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากรูปกับนาม

ที่นี้เมื่อตัวรู้เป็นเหตุรู้ เหตุปรุง เหตุเกิดขึ้น เหตุตั้งอยู่ เหตุดับไป เมื่อเราจะละก็ละที่ตัวรู้ จะดับก็ดับที่ตัวรู้นี้แหละ เหมือนหลวงปู่บุญกู้ ตัวรู้ดับไปแล้ว ก็ไม่มีปรุงแต่งเพิ่มเติม ไม่มีตัวรู้ในธาตุขันธ์นี้อีก
รูป คือ รูปขันธ์ คือ ธาตุ ๑๘ , นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร ตัวรู้ กุศล อกุศล อัพยกฤต เมื่อมันจะเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้นของมัน เมื่อมันจะตั้งอยู่มันก็ตั้งอยู่ของมัน เมื่อมันจะดับไปมันก็ดับไปของมัน มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เราก็ไม่ต้องไปบังคับมัน ไม่ต้องไปปรับแต่งมัน ยิ่งไปบังคับไปปรับแต่งมันยิ่งแปรปรวน บางคนยิ่งเตลิด ยิ่งเป็น เหตุมันอยู่ที่เราสำคัญใจต่อสิ่งที่รู้ว่าจดจำสำคัญมั่นหมายไว้อย่างไร จะทำก็ทำที่ตัวรู้นี้ ทำกายใจให้ปกติสบายๆ

ศีล คือ ความปกติ เป็นความปกติของคน ศีลเป็นความปกติของใจ ถ้าใจปกติอะไรที่ไม่ใช่ความปกติ เกิดขึ้นมันก็รู้ โลภเกิดขึ้นมันก็รู้ โทสะเกิดขึ้นมันก็รู้ เพราะมันไม่ใช่ความปกติ โลภมันไม่ใช่ความปกติ โทสะมันไม่ใช่ความปกติ (ความนี้เราพิจารณาตามในขณะนั้น ได้อนุมานว่า อินทรีย์สังวรเกิดแต่ศีล เจตนาเป็นศีลนี้คืออินทรีย์สังวรณ์, นี้เองมรรค ความสุจริต ๓ คือ ผลที่ศีลลงใจ ใจถึงศีลแล้ว ไม่ลูบคลำศีลแล้ว ไม่พร่องศีลแล้ว ความปกติของใจนี้แล สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เพราะใจถึงก่อน ใจเป็นเหตุ เมื่อใจถึงความปกติ เมื่อศีลลงใจ ความคิดก็ดี คำพูดก็ดี การทำก็ดี ก็จะเป็นปกติตาม..)

- เพราะตัวรู้เป็นเหตุให้เกิดความนึก ความหมายรู้ เมื่อนึกก็จำได้ ก็คิดปรุงแต่ง เป็นวิตกสังขาร วิจารสังขาร

[..โดยนัยย์เมื่อคราวสันตติเราขาดนั้น..
..เมื่อตัวรู้นี้รู้ ขณะรู้อารมณ์อาการเหมือนฟ้าแลบแปลบให้ใจรู้ ให้กระทบ กระเพื่อม ..ก็เหมือนจะมีความจดจำอาการก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ โดยไม่ใช่เนวะสัญญานาสัญญายตนะ แต่เป็นอาการที่จิตมันรู้อยู่ในปัจจุบันกับสังขารแล้วก็ดับ นิ่ง แช่ ว่าง
..เมื่อตัวรู้ดับแล้ว อาศัยความจำที่ทรงจำอาการนั้นๆไว้อยู่ ให้เกิดความติดตราตรึงใจอ่อนๆ ไม่ว่าจะด้วยความหมายรู้ อยากรู้ เพลิน ยินดี ยินร้ายก็ตามจะมีความตราตรึงใจนี้ร่วมด้วยเสมอ (สภาวะนี้เราอนุมานว่า คือ กามอ่อนๆ เพราะถ้ามันไม่สนใจสภาวะธรรมมันก็จะเกิดดับไปเฉยๆ แต่เพราะตัวรู้ตราตรึงอาการนั้นมันจึงทำมโนกรรมจงใจตรึกด้วยความหมายรู้ว่าสิ่งนั้นมันคืออะไร) แล้วก็ดับ
..เมื่อความตราตรึงใจนั้นดับ การจับอารมณ์ก็เกิดขึ้น ความตรึกก็เกิดขึ้น เป็นมโนกรรม
..ตัวรู้มีสภาวะที่ทำความรู้ในสิ่งที่ถูกรู้นั้น มีใจเข้าหาสิ่งที่ถูกรู้นั้น ทำใจไว้ถึงสิ่งที่ตัวรู้ได้รู้แล้วนั้น (อนุมานว่าคือมนสิการ / ตัวรู้ทำความตรึกในสภาพที่เป็นมนสิการ) แล้วก็ดับ
..แต่เมื่อตัวรู้ทำไว้ในใจถึงสิ่งที่ถูกรู้แล้วนั้น มีใจแล่นไปหาสิ่งที่ถูกรู้ (อนุมานว่าคือเจตนา / ตัวรู้ทำความตรึกในสภาพที่เป็นเจตนา) ณ จุดที่ตัวรู้นั้นได้รู้ ..แต่สิ่งที่รู้แล้วนั้นมันก็ดับไปแล้ว เหลือเพียงความจำ ที่ทรงจำไว้ถึงสภาวะที่ถูกรู้นั้น ดังนี้ตัวรู้จึงจับอารมณ์ด้วยความหมายรู้..แต่ว่าอารมณ์ที่จับนั้นเป็นเพียงสิ่งทีทรงจำสภาพของตัวที่ถูกรู้เท่านั้น(อนุมานว่าคือสัญญา  / ตัวรู้ทำความความตรึกในสภาพที่จับสัญญา)
..ตัวรู้นี้แหละที่ทำความตรึก คือ ตัวรู้ทำกิริยาที่จับอารมณ์และน้อมใจไป มีใจแล่นไปหาความจำเพราะอยากรู้ว่าตัวถูกรู้นั้นมันคืออะไร อาการที่นึกถึง อาการที่หวนระลึกถึงด้วยความอยากรู้ว่ามันคืออะไร แล้วความตรึกน้อมใจไปหาสัญญาก็ดับ
..เมื่อความจำได้หมายรู้นั้นเกิดขึ้น ความรู้สึกอันเกิดแต่สัมผัสก็เกิดขึ้น(อนุมานว่าเป็นสมมติของเวทนาที่เป็นอาการความรู้สึก) ความยินดี ยินร้าย ชอบ ชังความคิดสืบต่อเรื่องราวก็เกิด จากนั้นก็ปรุงแต่งสังขารไปไม่สิ้นสุด]


- วิตก วิจาร เป็นวจีสังขาร

- ธาตุ เป็นกายสังขาร ลมหายใจเป็นกายสังขาร

จึงเข้าใจเรื่อง จิต มีจิตสังขาร วิญญาณ มีวิญญาณสังขาร มโน มีมโนสังขาร มากขึ้นไปอีก





สรุปในการละ วาง ดับ ที่เราพอจะมีปัญญาเข้าถึงได้เมื่อได้ฟังเทศนาหลวงปู่อุทัยน้อมมาใส่ตน

1. ทำที่ตัวรู้ รูปนาม กุศล อกุศล อัพกฤต เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วนเวียนไม่สิ้นสุด ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน
2. ละที่เหตุ หาเหตุของมันด้วยแยกขันธ์ แยกรูป แยกนาม เหตุเกิดที่ไหน ละที่นั่น
3. ทำกายใจให้ปกติด้วยศีล เอาศีลเป็นเหตุแห่งกุศล ศีลลงใจ ก็เย็นใจ ใจสะอาดเป็นปกติ ศีลลงใจจะระลึกอกุศลไม่ออก ไม่มีอกุศล มีจิตเป็นพุทโธ มีศีลเป็นอารมณ์อุปจาระฌาณให้ใจปกติสงัดจากกิเลส
4. กิเลสเป็นของไม่ปกติ เป็นของแปลกปลอมของตัวรู้ ใจสะอาดจะรู้ความไม่ปกติ อบรมจิตให้มีกำลังให้ถึงความปกติด้วยศีล ตามลำดับแห่งมรรค ๘ แล้ว จิตเป็นพุทโธจึงเห็นชอบ เห็นชอบจึงมีศีล ศีลนำมาซึ่งความมุ่งมั่นตั้งใจด้วยสติ ทำสติให้เกิดขึ้น สติทำสมาธิให้เกิดขึ้น สมาธิทำปัญญาให้เกิดขึ้น ปัญญาเข้ามหาสติ มหาสติเข้าสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์เข้าถึงวิชชา เข้าถึงพระอริยะสัจ ๔ รอบ ๓ อาการ ๑๒



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 26, 2022, 10:08:16 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #445 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2022, 06:51:46 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา วิญญาณกสิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2022, 01:23:04 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #446 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2022, 11:59:29 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
การที่เราวนๆซ้ำๆเดิมๆ ราคะ ริษยา หลง เพราะเรางมงาย ยึดหลง ว่าสิ่งที่ตนหลงนั้นถูก จริง ใช่ แม้แต่อนัตตายังอุปาทานเป็นตัวตนอนัตตาได้

โดยแท้แล้ว

คนเราเสพย์ธรรมใด ก็อุปาทานธรรมนั้น (อวิชชาเกิดแล้ว)

หลงธรรมใด ก็ยึดกอดธรรมนั้น (อัตตาเอาใจเข้ายึดครองว่าเป็นตัวเป็นตนสืบไป)

นี้เรียกทุกข์ ทุกขอริยะสัจ ไม่รู้ทุกข์ก็ไม่มีทางถึงธรรมได้ (ทุกข์ควรกำหนดรู้)

ดังนั้น.. การจะทำสิ่งที่ตนมุ่งหมายให้สำเร็จได้ ก็ต้องกำจัดความงมงายของตัวเองก่อน ดังนี้..(กำหนดรู้ทุกข์)

เลิกอุปาทานตน เลิกอุปาทานธัมมารมณ์ที่ตนเสพย์ เลิกอปาทานความเชื่อ เลิกอุปาทานธรรม (นี้เป็นส่วนหนึ่งในกาลามสูตร ๑๐ ประการ) เพราะนี้คือโลก เป็นกับดักที่กิเลสวางไว้ล่อใจทางสฬายตนะ

- รู้ความเป็นโลกจึงแสวงหาโลกุตระ
- พ้นโลกจึงเห็นโลกุตระ
..ก็คือเลิกอุปาทาน






เพราะอุปาทาน ราคะ โทสะ โมหะ ยินดี ยินร้าย ริษยา โกรธแค้น อยากเอาชนะ อยากมีอยากเป็น อยากไม่มี หลงอุปาทานด้วยกาม (ทุกขสมุทัย)

- กามตัณหา คือ ตราตรึงใจ ใคร่เสพย์ได้ครอง ยึดอุปาทานตัวตน ไม่รู้ธรรมแท้
- ภวะตัณหา คือ อยากให้สิ่งที่มีที่เจริญใจนั้นตั้งอยู่ตลอดไป
- วิภวะตัณหา คือ อยากให้ไม่มี อยากให้สิ่งไม่เจริญใจไม่มี หรือ อยากให้สิ่งที่มีที่เจริญใจไม่สูญไป

กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ (ทั้งหมดนี้คือธรรม) เป็นตัวทุกข์

ขันธ์ ๕ ภายใน คือ กาย  เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ขันธ์ ๕ ภายนอก ก็ รูป นาม ภายนอก

เมื่อจะละ ละที่ตัวรู้ (ทุกขสมุทัย)
เหมือนหลวงพ่อเสถียร และ หลวงปู่บุญกู้ เมตตาสอนเรา เหมือนหลวงปู่อุทัยได้แสดงธรรมสั่งสอนในวันที่ 23/10/65 ณ วัดอโสการาม






ละตัวรู้นั้นอย่างไร

1. ทำไว้ในใจกำหนดหมายให้ตัวรู้ รู้ว่าธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทุกอย่างมีอายุไขยของมัน มีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา ล่วงพ้นไปไม่ได้ ธาตุก็กลับคืนสู่ธาตุ นานสุดอยู่ได้แค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น (รู้อนิจจัง)
2. กำหนดรู้คุณ และโทษ ในสิ่งทั้งปวง (กำหนดรู้ทุกข์)
3. ทำไว้ในใจกำหนดหมายให้ตัวรู้ รู้ว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ อยู่เหนือการควบคุม สักแต่ว่าธาตุ ๕ มีใจครอง และไม่มีใจครอง (รู้อนัตตา)
4. ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใด (ละอัตตา)
5. ละความสำคัญมั่นหมายของใจในธรรมทั้งปวง คือ เลือกความยินดี ยินร้าย วางเฉย ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์ (เลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์ ผลที่ได้ตามมา คือ อินทรีย์สังวรณ์)
6. ไม่ติดใจข้องแวะโลก
7. ทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน (สุจริต ๓)
8. จิตถึงพุทโธ (นี้คือภาวนา ผลจากภาวนา) คือ..
     - ผู้รู้ (รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ)
     - ผู้ตื่น (ตื่นจากสมมติกิเลสของปลอม)
     - ผู้เบิกบาน (เบิกบานพื้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2022, 12:28:23 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #447 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2022, 01:11:40 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
1. เมื่อพบสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ เป็นทุกข์ เบื่อหน่าย ไม่อยากเจอ นี้คือภาวะอัตตา อุปาทาน ๑
- เป็นอัตตาในภายนอก อกุศลธรรมเกิดขึ้น

2. เมื่อน้อมเข้ามาภายในด้วยรู้ว่า ทุกข์เพราะเอาใจเข้ายึดครองตัวตนในสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ มีใจกำหนดหมายรู้ว่า ควรทำอนัตตา กำหนดใจหมายรู้ในอนัตตา นี้คือภาวะอัตตา อุปาทาน ๒
- อัตตาในอนัตตา กำหนดหมายลูบคลำอนัตตาแล้ว มุ่งหมายในอนัตตา ขณะนั้นตัวตนของอนัตตาเกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตาในกุศลธรรม

3. เมื่อทำไว้ในใจหมายละความขุ่นขัด อาการที่ใจยึดเกาะอารมณ์ความรู้สึก มีใจผลักออก มีใจหมายให้ตัวรู้ทำอนัตตา แล้วเดินจิตทำ ปุถุขนผู้หมายใจนี้ จะให้ผลลัพธ์อยู่ ๒ ประการ คือ

ประการที่ 1 แต่ตัวรู้ก็ทำอนัตตาไม่ได้ นั่นเพราะยึดกอดอนัตตาไว้อยู่ นี้เรียกอุปาทานตัวตนในอนัตตา พยายามบังคับ แต่มันอยู่เหนือการความคุม เพราะนามไม่ใช่ตัวตน นี้เรียกลูบคลำอยู่ด้วยอุปาทานในอนัตตา

ประการที่ 2 จิตเข้าถึงอนัตตา ไม่จับกุศล อกุศล ไม่ยึดอารมณ์ความรู้สึก ไม่กำหนดหมายอนัตตา สักแต่ว่ารู้ ปล่อย ละ วาง ถึงความว่าง ความไม่มี ความสละคืน แม้แบบสาสวะสะสมเหตุ หรืออนาสวะถึงความทำให้มรรคสูงขึ้นไปสู่ผล นี้เรียกอัพยกฤต





สรุป

ทำไว้ในใจกำหนดรู้ที่ตัวรู้ ตัวรู้เป็นตัวยึด ตัวกอด เอาใจออกจากตัวรู้ ให้จิตนี้ที่จรไปทำจิตเดิมแท้คือแค่รู้ ไม่ยึด ไม่กอด ไม่จับ ไม่เสพย์ มีใจปล่อยออก ทั้งความรู้ว่าเพราะอัตตาจึงทุกข์ ๑ ทั้งจิตต้องทำอนัตตา ต้องสละคืน ๑ จิตไม่กำหนดหมาย ถึงธรรมชาติที่สงบ ธรรมชาติที่สบาย ธรรมชาติที่ไม่มี ธรรมชาติที่สละคืน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2022, 01:18:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #448 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2022, 01:22:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
เจริญ อนัตตลักขณสูตร / อาทิตตปริยายสูตร
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #449 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2023, 11:00:34 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
สันโดษ คือ มีกำลังใจดี ใจมีพลัง ใจมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างปกติ ไม่อ่อนไหวไหลเอนพล่านไปตามอารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านดิ้นรน ใจไม่กระเพื่อม ไม่โหยหา ไม่กระสัน ไม่อยาก ไม่เบื่อ ไม่หน่าย ไม่ผลักไส ไม่ข้องขัด แต่อยู่ด้วยความเบาสบายเย็นใจไม่เร่าร้อน

โดดเดี่ยว คือ อยู่ผู้เดียวโดด ไม่มีผู้ใดแวดล้อม แต่ไม่ได้หมายถึงว่าอยู่โดยปกติสุขยินดีไม่เร่าร้อน เพราะใจยังมีครบความต้องการ อากได้ คาดหวัง ผลักไส เหงา เศร้า รัก โลภ โกรธ หลง ใจยังตราตรึง ติดตรึง โหยหา ข้องขัด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2023, 07:07:48 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 06, 2024, 09:51:53 PM